พระราชินี : ธุรกิจการบิน คือ 1 ใน 19 สาขาของดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ที่ ม. ราชภัฏ ถวาย
21.18 น. ของ 14 ต.ค. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ 38 แห่ง และนายกสภามหาวิทยาลัยสวนดุสิต เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายครุยวิทยฐานะแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี จำนวน 19 สาขา รวม 39 ชุด
ผศ. จรูญ ถาวรจักร์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นผู้นำนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ 38 แห่ง และนายกสภามหาวิทยาลัยสวนดุสิต เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
ครุยวิทยฐานะแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี จำนวน 19 สาขา รวม 39 ชุด ที่ทรงรับ ได้แก่
1. ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร และมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
2.ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพัฒนาสังคม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
3.ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
4.ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนและสังคม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
5.ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
6.ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
7.ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมบริการ (วิชาเอกธุรกิจการบิน) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
8.ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารและการพัฒนาชุมชนของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
9.ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธุรกิจการบิน ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
10.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
11.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
12.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
13.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
14.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
15.นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
16.รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
17. บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
18. บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
19. บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
พระราชประวัติ
สมเด็จพระราชินีสุทิดา ทรงมีพระนามเดิมว่า สุทิดา ติดใจ
พระราชสมภพ: 3 มิ.ย. 2521
การศึกษาและการทรงงาน:
พ.ศ.2543 ทรงสำเร็จการศึกษาระดับชั้นปริญญาตรีนิเทศศาสตรบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
พ.ศ. 2543-2546 พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัทแจลเวย์ จำกัด
พ.ศ. 2546-2551 พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
1 พ.ค. 2562 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชินี ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน
4 พ.ค. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
หลักสูตรการอบรมด้านการบิน
8 ธ.ค. 2543 ทรงสำเร็จการฝึกและการศึกษาตามหลักสูตรการบินของหน่วยฝึกการบินพลเรือน กองทัพอากาศ ทรงทำการบินกับเครื่องบินแบบ Cessna T 41
16 ม.ค. 2554 ทรงสำเร็จการฝึกและศึกษาตามหลักสูตรการบินทหารบกอากาศยานปีกติดลำตัว ชั้นมัธยม ของโรงเรียนการบินทหารบก ทรงทำการบินกับเครื่องบินแบบ Cessna T 41
6 ธ.ค. 2554 ทรงสำเร็จการฝึกและศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนการบิน กองทัพอากาศ ทรงทำการบินกับเครื่องบินแบบ CT-4E และ PC-9
ทรงฝึกและศึกษาการบินเพิ่มเติมที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ทรงผ่านการทดสอบและได้รับใบอนุญาตนักบินของสหภาพยุโรป ออกใบอนุญาตโดยสำนักงานการบินพลเรือนแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ดังนี้ ใบอนุญาตนักบินส่วนบุคคล PPL (A) ทรงทำการบินกับเครื่องบินแบบ Cessna 172, Mooney M-20, Piper PA-34 Seneca และใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี CPL(A) โดยมี Type Rating ของเครื่องบินแบบ Boeing 737 300-900 และใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก (ATPL -Theory)
ทรงได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก จากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
หลักสูตรอบรมด้านการทหารและอื่น ๆ
11 พ.ค. 2553 ทรงสำเร็จการฝึกหลักสูตรวิชาทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ของโรงเรียนและศูนย์ฝึกหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
10 ธ.ค.2554 ทรงสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรชั้นนายร้อย-ชั้นนายพัน หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
ปีการศึกษา 2556 ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรประจำ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 91
ปีการศึกษา 2557 ทรงสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประจำ วิทยาลัยการทัพบก ชุดที่ 59
24 ธ.ค.2559 ทรงสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ส่งทางอากาศ ของโรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ
ที่มา :: https://www.bbc.com/thai/thailand-54560849?at_custom1=%5Bpost+type%5D&at_custom2=facebook_page&at_custom4=8947D0BE-0F03-11EB-B689-2A7196E8478F&at_campaign=64&at_medium=custom7&at_custom3=BBC+Thai&fbclid=IwAR3K7C4jw0NySly5JycP6f0T4gCvKkJqur0acjhMIC-1QKUVMv-KxgOT-D8