เทศกาลมหาพรต (Lent)
เทศกาลมหาพรต (คาทอลิก) หรือเทศกาลเข้าสู่ธรรม (โปรเตสแตนต์) (อังกฤษ: Lent; ละติน: Quadragesima แปลว่า ที่สี่สิบ) เป็นหนึ่งในเทศกาลสำคัญของศาสนาคริสต์ เริ่มต้นจากวันพุธรับเถ้าและสิ้นสุดวันอีสเตอร์ รวม 40 วัน โดยเทศกาลนี้มีไว้เพื่อระลึกถึงพระทรมานและการคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ โดยกิจที่คริสต์ศาสนิกชนปฏิบัติในช่วงนี้คือการอธิษฐาน การบริจาคสิ่งของ การอดอาหาร และการไม่ฟุ่มเฟือย
ทั้งนี้ระยะเวลา 40 วันมีความสำคัญเนื่องจากเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิลมีความเกี่ยวข้องกับตัวเลข 40 ไม่ว่าจะเป็น การบำเพ็ญเพียรอดอาหารของพระเยซูเป็นเวลา 40 วัน โมเสสอยู่บนเขากับพระเจ้า 40 วัน เกิดน้ำท่วมโลกในสมัยโนอาห์ 40 วัน และการอพยพของชาวยิวเข้าสู่ดินแดนแห่งพันธสัญญาก็ใช้เวลายาวนานถึง 40 ปี อย่างไรก็ดีเมื่อนับวันจริง ๆ แล้วจะเป็น 46 วัน เนื่องจากชาวคริสต์จะไม่จำศีลอดอาหารในวันอาทิตย์ จึงเหลือเพียง 36 วันและต้องเพิ่มวันจำศีลอีก 4 วันให้ครบ 40 วัน เทศกาลมหาพรตจึงเลื่อนมาเริ่มในวันพุธ (วันพุธรับเถ้า) ต่างกับเทศกาลอื่น ๆ ที่เริ่มจากวันอาทิตย์แรก ธรรมเนียมนี้ปฏิบัติกันในเฉพาะฝั่งศาสนาคริสต์ตะวันตก ส่วนในศาสนาคริสต์ตะวันออกจะเริ่มต้นวันจันทร์ เรียกว่า "วันจันทร์สะอาด" (Clean Monday)
ชาวคริสต์หมู่มากฉลองเทศกาลนี้ (เช่น โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และแองกลิคัน) ขณะที่บางกลุ่มเริ่มให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้มากขึ้น (เช่น คริสตจักรแบปทิสต์)
การปฏิบัติ
วันพุธก่อนวันอาทิตย์แรกของเทศกาลมหาพรต สัตบุรุษจะรับเถ้าเป็นการเริ่มต้นเทศกาลมหาพรต พิธีเสกและโรยเถ้า ตามปกติจะทำในพิธีมิสซา หลังอ่านพระวรสารและบทเทศน์ ซึ่งให้ความหมายว่า พระวจนะของพระเป็นเจ้าเป็นพลังสำคัญที่ปลุกเร้าจิตใจของคริสตชนให้สำนึกตน กลับใจ และใช้โทษบาปในเทศกาลมหาพรตนี้
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการถ่อมตน ในเทศกาลนี้จึงมีการปฏิบัติต่าง ๆ ดังนี้ :
- ตามโบสถ์ต่าง ๆ ในช่วงระหว่างเทศกาลจะจัดดอกไม้น้อยลง เชิงเทียนบนพระแท่นก็จะเปลี่ยนเป็นเชิงเทียนแบบเรียบง่าย ดนตรีจะบรรเลงเบา ๆ
- เมื่อประกอบพิธีกรรม บาทหลวงจะสวมอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์สีม่วง ซึ่งสื่อความหมายถึงการถ่อมตน สำนึกผิด
- การอดอาหาร
- มี "กระปุกมหาพรต" ให้ชาวคริสต์อดออมนำไปบริจาคให้ผู้ยากไร้
- ภาวนาเป็นพิเศษ ทั้งตามโบสถ์และตามบ้านเรือน
ทั้งนี้ในระหว่างเทศกาลชาวคริสต์ควรสำรวมจดจ่อใจอยู่ที่พระเยซู สำนึกว่าตนเป็นคนบาป ตระหนักว่าต้องการให้พระเจ้าช่วยเหลือ กลับใจ สารภาพขอให้พระเจ้าอภัย และสร้างสัมพันธ์กับพระเจ้าใหม่ โดยตระหนักได้จากบทภาวนาของประธานของพิธีก่อนเริ่มเทศกาลที่เน้นย้ำคุณลักษณะดังกล่าว:
ข้าแต่พระเจ้า ขอโปรดให้ข้าพเจ้าทั้งหลายเริ่มเทศกาลมหาพรต ต่อสู้กับกิเลสด้วยการถือศีลอดอาหาร โปรดประทานความช่วยเหลือให้ข้าพเจ้าทุกคนรู้จักบังคับตนอย่างเข้มแข็ง เพื่อสามารถต่อต้านความชั่วร้ายฝ่ายวิญญาณด้วยเถิด
เมื่อครบ 40 วันเป็นวันฉลองพระเยซูคืนพระชนม์ เหมือนกับการอดทนลำบากในช่วงเทศกาล แต่เมื่อตอนท้ายจะมีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ (วันปัสกา) เฉกเช่นเดียวกับหลักความเชื่อที่ว่าพระเยซูถูกตรึงกางเขน ปฏิบัติอย่างต่ำต้อยที่สุด แต่พระองค์จะเสด็จมาใหม่ในพระสิริรุ่งโรจน์
เทศกาลมหาพรต
ความหมายของเทศกาลมหาพรต
| |||||
Date of Easter (2000-2099)
Date of Easter (2000-2099)
Years | Easter Date | Years | Easter Date | Years | Easter Date | Years | Easter Date | Years | Easter Date |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
2000 | April 23 | 2001 | April 15 | 2002 | March 31 | 2003 | April 20 | 2004 | April 11 |
2005 | March 27 | 2006 | April 16 | 2007 | April 8 | 2008 | March 23 | 2009 | April 12 |
2010 | April 4 | 2011 | April 24 | 2012 | April 8 | 2013 | March 31 | 2014 | April 20 |
2015 | April 5 | 2016 | March 27 | 2017 | April 16 | 2018 | April 1 | 2019 | April 21 |
2020 | April 12 | 2021 | April 4 | 2022 | April 17 | 2023 | April 9 | 2024 | March 31 |
2025 | April 20 | 2026 | April 5 | 2027 | March 28 | 2028 | April 16 | 2029 | April 1 |
2030 | April 21 | 2031 | April 13 | 2032 | March 28 | 2033 | April 17 | 2034 | April 9 |
2035 | March 25 | 2036 | April 13 | 2037 | April 5 | 2038 | April 25 | 2039 | April 10 |
2040 | April 1 | 2041 | April 21 | 2042 | April 6 | 2043 | March 29 | 2044 | April 17 |
2045 | April 9 | 2046 | March 25 | 2047 | April 14 | 2048 | April 5 | 2049 | April 18 |
2050 | April 10 | 2051 | April 2 | 2052 | April 21 | 2053 | April 6 | 2054 | March 29 |
2055 | April 18 | 2056 | April 2 | 2057 | April 22 | 2058 | April 14 | 2059 | March 30 |
2060 | April 18 | 2061 | April 10 | 2062 | March 26 | 2063 | April 15 | 2064 | April 6 |
2065 | March 29 | 2066 | April 11 | 2067 | April 3 | 2068 | April 22 | 2069 | April 14 |
2070 | March 30 | 2071 | April 19 | 2072 | April 10 | 2073 | March 26 | 2074 | April 15 |
2075 | April 7 | 2076 | April 19 | 2077 | April 11 | 2078 | April 3 | 2079 | April 23 |
2080 | April 7 | 2081 | March 30 | 2082 | April 19 | 2083 | April 4 | 2084 | March 26 |
2085 | April 15 | 2086 | March 31 | 2087 | April 20 | 2088 | April 11 | 2089 | April 3 |
2090 | April 16 | 2091 | April 8 | 2092 | March 30 | 2093 | April 12 | 2094 | April 4 |
2095 | April 24 | 2096 | April 15 | 2097 | March 31 | 2098 | April 20 | 2099 | April 12 |
เทศกาลมหาพรต” เป็นช่วงเวลาแห่งการเตรียมใจเริ่มจากวันพุธรับเถ้าจนถึงวันอีสเตอร์รวมทั้งหมด 46 วัน
พุธรับเถ้า (Ash Wednesday)
เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของศาสนาคริสต์ โดยเป็นวันเริ่มต้นของเทศกาลมหาพรต ซึ่งจะมีระยะเวลา 46 วันก่อนวันปัสกา แต่ละปีวันที่จะเปลี่ยนไปเพราะยึดตามวันปัสกาเป็นหลัก
ชื่อวันมาจากการที่บาทหลวงจะใช้นิ้วหัวแม่มือแตะเถ้าและทำเครื่องหมายกางเขนบนหน้าผากของชาวคริสต์ หรืออาจจะโรยเถ้าบนศีรษะซึ่งสื่อความหมายถึงความสุภาพถ่อมตนต่อพระเจ้า สำนึกถึงความต้อยต่ำของตนเอง เนื่องจากในสมัยพระคัมภีร์เถ้าเป็นสัญลักษณ์ของการไว้อาลัย ชาวคริสต์เกือบทุกนิกายจะมีพิธีนี้ ทั้งคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และแองกลิกัน
วันพุธรับเถ้า (Ash Wednesday)
- วันพุธที่ 14 ก.พ. 2024
- วันพุธที่ 5 มี.ค. 2025
- วันพุธที่ 18 ก.พ. 2026
- วันพุธที่ 10 ก.พ. 2027
อาทิตย์ทางตาล (Palm Sunday)
มีบันทึกในประวัติศาสตร์ว่าพระเยซูทรงเสด็จเข้าสู่เยรูซาเล็มเหมือนอย่างกษัตริย์ผู้พิชิต เหตุการณ์ถูกบันทึกในพระกิตติคุณทั้งสี่ฉบับคือ มัทธิว 21:1–11, มาระโก 11:1–11, ลูกา 19:28, และยอห์น 12:12–19 ที่เรียกว่าทางตาลเพราะประชาชนต้อนรับพระองค์ด้วยการปูเส้นทางด้วยเสื้อผ้าและใบปาล์ม หรือใบตาล เพื่อให้พระเยซูทรงลาผ่านเข้ามายังเยรูซาเล็ม ประเด็นสำคัญคือพระเยซูเสด็จมาอย่างผู้พิชิตเพื่อพระองค์จะทรงยอมสิ้นพระชนม์ไถ่บาปเราบนไม้กางเขนในสัปดาห์ต่อมาในวันศุกร์ประเสริฐ (Good Friday) และวันอีสเตอร์ (Easter Sunday) ในวันอาทิตย์
วันอาทิตย์ทางตาล (Palm Sunday)
- วันอาทิตย์ที่ 24 มี.ค. 2024
- วันอาทิตย์ที่ 13 เม.ย. 2025
- วันอาทิตย์ที่ 29 มี.ค. 2026
- วันอาทิตย์ที่ 21 มี.ค. 2027
ศุกร์ประเสริฐ (Good Friday)
วันศุกร์ประเสริฐ หรือ Good Friday เป็นชื่อเรียกวันที่พระเยซูคริสต์ถูกตรึงและสิ้นพระชนม์ เป็นอะไรที่แย่นะ ทำไมเรียกว่า good?
มีข้อสังเกตทางภาษาว่า ในเยอรมันใช้คำว่า Karfreitag แปลว่า Sorrowful Friday ซึ่งตั้งชื่อได้เศร้ามาก ส่วนในอังกฤษ ใช้คำว่า God’s Friday ภายหลังเพี้ยนมาเป็น Good Friday
แล้วอะไรคือ Good Friday?
1. วันที่พระเยซูคริสต์ถูกตรึงบนไม้กางเขน และตายไถ่บาป
2. วันที่ศพของพระเยซูคริสต์ถูกนำไปฝังในอุโมงค์
3. วันที่ “ดีสำหรับเรา” ที่พระเยซูรับบาปโทษแทนเรา เพื่อเราจะรับการรักษาให้หายดี
ชาวคริสทำอะไรในวันนี้?
1. ระลึกถึงการไถ่ของพระเยซูคริสต์ และขอบคุณพระเจ้าสำหรับการเสียสละของพระองค์
2. ทานอาหารร่วมกัน พูดถึงพระคุณความรักของพระเยซูคริสต์ในชีวิตเรา
3. รับพิธีมหาสนิทด้วยความซาบซึ้งใจ
แต่ถ้าไม่เอาที่มาของคำมาเป็นประเด็น ความจริงคำว่า Good Friday แม้จะไม่ good สำหรับพระเยซูที่โดนหนักขนาดนั้น แต่ก็ good สำหรับเรา เพราะเป็นวันที่พระเยซูคริสต์ได้ทรงสำแดงความรักโดยสละชีพของพระองค์อย่างเต็มใจเพื่อไถ่โทษบาปของเรา
วันศุกร์ประเสริฐ (Good Friday)
- วันศุกร์ที่ 29 มี.ค. 2024
- วันศุกร์ที่ 18 เม.ย. 2025
- วันศุกร์ที่ 3 เม.ย. 2026
- วันศุกร์ที่ 26 มี.ค. 2027
อีสเตอร์ (Easter Sunday)
ก่อนปี ค.ศ.336 คริสเตียนไม่มีการฉลองวันเกิดของพระเยซูหรือวันคริสต์มาส งานฉลองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือเทศกาลอีสเตอร์หรือวันที่พระเยซูทรงฟื้นคืนพระชนม์
การฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูในวันอีสเตอร์มีความหมายมากสำหรับคริสเตียน หากพระองค์ไม่ฟื้นคืนพระชนม์ คำสอนของพระเยซูคงเป็นได้แค่ปรัชญาศาสนาอันดีงามของมนุษยชาติโดยไม่มีผลใดใดต่อการช่วยกู้ทางจิตวิญญาณของมนุษย์แต่อย่างใด แต่เมื่อพระองค์ฟื้นคืนพระชนม์ ไม่ใช่เพียงคำสอนของพระองค์จะมีน้ำหนักมากขึ้น แต่การฟื้นจากความตายเป็นการเอาชนะศัตรูตัวสุดท้ายของความบาปคือความตายและอำนาจของความบาปที่ครอบงำชีวิตมนุษย์มาโดยตลอด (1 โครินธ์ 15:55–57)
วันอีสเตอร์ (Easter Sunday)
- วันอาทิตย์ที่ 31 มี.ค. 2024
- วันอาทิตย์ที่ 20 เม.ย. 2025
- วันอาทิตย์ที่ 5 เม.ย. 2026
- วันอาทิตย์ที่ 28 มี.ค. 2027
- วันอาทิตย์ที่ 16 เม.ย. 2028
- วันอาทิตย์ที่ 1 เม.ย. 2029
- วันอาทิตย์ที่ 21 เม.ย. 2030
- วันอาทิตย์ที่ 13 เม.ย. 2031
- วันอาทิตย์ที่ 28 มี.ค. 2032
- วันอาทิตย์ที่ 17 เม.ย. 2033
- วันอาทิตย์ที่ 9 เม.ย. 2034
เราจึงเฉลิมฉลองอีสเตอร์และทั้งหมดนี้ด้วยความเชื่อ เป็นการเฉลิมฉลองความเป็นไปได้แล้วที่เราจะเอาชนะตัวเก่า นิสัยบาป และเติบโตขึ้นในการดำเนินชีวิตตามพระประสงค์ของพระเจ้า ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้เพราะการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์พระเจ้าของเราทั้งหลาย
ที่มา :: https://th.wikipedia.org/wiki/ , http://www.shb.or.th/article/lokkhamson/lent/lent.html , https://pantip.com/topic/33247511 , https://kanoklee.medium.com/ , https://www.kamsondeedee.com/main/doccuments/docs-liturgy/82-lent-pascal