คุณสมบัติที่จำเป็นของนักศึกษาที่จะเข้ามาศึกษาในสหราชอาณาจักร (Eligibility for general students coming to the UK)
คุณสมบัติที่จำเป็นของนักศึกษาที่จะเข้ามาศึกษาในสหราชอาณาจักร (Eligibility for general students coming to the UK)
ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม 2009 เป็นต้นไป ผู้ที่ต้องการเดินทางมาศึกษาในสหราชอาณาจักรในฐานะนักศึกษาทั่วไป คือไม่ใช่เป็นนักเรียนอายุต่ำกว่า 16 ปี หรือผู้ที่อยู่ในสหราชอาณาจักรแล้วและต้อง
การต่อวีซ่านักศึกษา จะต้องผ่านการประเมินโดยระบบให้คะแนน และจะต้องได้คะแนนทั้งสิ้น 40 คะแนนตามหลักเกณฑ์ดังนี้
1. 30 คะแนนสำหรับจดหมายรับรองวีซ่า (Visa letter) จากสถาบันการศึกษาที่ได้รับอนุญาตจากโฮมออฟฟิสให้เป็นผู้รับรอง และ
2. 10 คะแนนสำหรับหลักฐานแสดงว่ามีเงินพอเพียงสำหรับค่าเล่าเรียน และค่าครองชีพที่จำเป็น (ค่าเลี้ยงชีพ)
และตั้งแต่ประมาณเดือนกันยายน 2009 เป็นต้นไป ระบบไอทีที่เกี่ยวกับการรับรองนักศึกษาของสถาบันการศึกษาจะเริ่มมีการบังคับใช้ ซึ่งจะทำให้ไม่มีใช้จดหมายรับรองวีซ่า อีกต่อไป แต่จะเปลี่ยนเป็น คำยืนยันการตอบรับให้เข้าเรียน (Confirmations of Acceptance of Studies: CAS) ซึ่งมีข้อมูลเหมือนกันกับจดหมายรับรองวีซ่า ฯ แทน
หากนักศึกษาต้องการเข้ามาศึกษาในสหราชอาณาจักรในระยะเวลาน้อยกว่า 6 เดือน ก็สามารถขอวีซ่าได้ในฐานะ นักศึกษาอาคันตุกะ (Student visitor)
จะขอวีซ่าได้นานเท่าไร
หากนักศึกษาเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาหรือสูงกว่า จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในสหราชอาณาจักรตลอดระยะเวลาของหลักสูตร แต่ไม่เกิน 4 ปี หากหลักสูตรนั้นมีระยะเวลานานกว่า 4 ปี นักศึกษาจำเป็นต้องขอต่อวีซ่ากับโฮมออฟฟิสอีกครั้ง
หากนักศึกษาเรียนในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา ก็จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในสหราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 3 ปี
เมื่อวีซ่าหมดอายุ นักศึกษาจะได้รับเวลาเพิ่มเติมสำหรับการเก็บเข้าของ และจัดการกับธุระส่วนตัวเพื่อที่จะออกไปจากสหราชอาณาจักร หรือนักศึกษาจะต้องขอต่อวีซ่า หรือขอเปลี่ยนวีซ่าไปเป็นประเภทอื่นที่จะเปลี่ยนได้
การเปลี่ยนผู้รับรอง
หากนักศึกษาเปลี่ยนใจที่จะศึกษากับสถาบันฯ (ผู้รับรอง) อื่นที่ไม่ใช่สถาบันซึ่งเป็นผู้รับรองวีซ่าให้ในครั้งแรก ไม่ว่าจะก่อนเดินทางเข้ามาในสหราชอาณาจักร หรือเมื่อเดินทางเข้ามาแล้วก็ตาม นักศึกษาจำเป็นต้องขอจดหมายรับรองวีซ่า (Visa letter) จากสถาบันการศึกษาใหม่ และยื่นใบสมัครขอวีซ่าใหม่ ดังนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่นักศึกษาจะต้องมั่นใจว่าจะศึกษากับสถาบัน ฯ ใดก่อนที่จะทำการขอวีซ่า
หากนักศึกษายังไม่แน่ใจว่าจะศึกษากับสถาบัน ฯ ใด ก็อาจจะขอวีซ่าในฐานะผู้มาเยี่ยมชมสถาบันการศึกษา (Prospective student) ก่อนได้ และขอเปลี่ยนเป็นวีซ่านักเรียนทั่วไป เมื่อเข้ามาในสหราชอาณาจักร และตัดสินใจได้แล้ว
หลักสูตรระดับใดที่มีสิทธิออกจดหมายรับรองวีซ่าให้นักศึกษาได้ (What are the acceptable levels of courses that a general student can get a visa letter for?)
• หลักสูตรในระดับที่ 3 หรือสูงกว่าของ National Qualifications framework (NQF) หรือหลักสูตรในระดับเดียวกัน หรือ
• หลักสูตรภาษาอังกฤษในระดับ เอสอง ของ The Common European Framework of Reference for Languages หรือ
• หลักสูตรระยะสั้นในต่างประเทศ (Short term abroad programmes) ของสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ ในกรณีที่การศึกษาในสหราชอาณาจักรเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรนั้น และประกาศนียบัตรที่จะได้รับเมื่อจบหลักสูตรได้รับการรับรองจาก UK NARIC ว่าอยู่ในระดับเทียบเท่าอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักร
• หลักสูตรที่ได้รับการตรวจสอบจากองค์กรที่โฮมออฟฟิสรับรองแล้ว (Approved accreditation bodies) ว่าอยู่ในระดับที่ 3 หรือสูงกว่าของ National Qualifications framework (NQF) (ในบางกรณีเท่านั้น)
นักศึกษาทั่วไปเข้าศึกษาหลักสูตรอะไรได้บ้าง (What type of study can a general student do?)
นักศึกษาต้องศึกษาเต็มเวลาใน
• ระดับอุดมศึกษาหรือสูงกว่า ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ หรือ
• หลักสูตรต่างประเทศระดับอุดมศึกษาของสถาบันการศึกษาต่างประเทศที่ได้มีการรับรองว่าเทียบเท่ากับขั้นอุดมศึกษาของสหราชอาณาจักร หรือ
• หลักสูตรระดับต่ำกว่าอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักร แต่ต้องไม่ต่ำกว่าระดับที่ 3 หรือเทียบเท่า ภายใต้ National Qualifications framework (NQF)และมีการสอนเป็นทางการในเวลากลางวัน (ระหว่าง 0800-1800 น วันจันทร์ถึงวันศุกร์) อย่างน้อยสัปดาห์ละ 15 ชั่วโมง หรือ
• หลักสูตรซึ่งไม่ต่ำกว่าระดับที่ 3 หรือเทียบเท่า ภายใต้ National Qualifications framework (NQF)หรือหลักสูตรของสถาบันต่างประเทศ ซึ่งเทียบเท่าระดับอุดมศึกษาของสหราชอาณาจักร ซึ่งมีการฝึกงาน (work-placement) ไม่เกินร้อยละ 50 ของหลักสูตรทั้งหมด
หลักสูตรภาษาอังกฤษ
นักศึกษาสามารถสมัครเรียนและยื่นจดหมายรับรองวีซ่าจากสถาบัน ฯ เพื่อขอวีซ่าเข้าเรียนในหลักสูตรระดับต่ำกว่าที่กำหนดได้ หากหลักสูตรนั้นเป็นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเท่านั้น และจะต้องเป็นหลักสูตรสอนภาษาอังกฤษในระดับ เอสองภายใต้ The Common European Framework of Reference for Languages เป็นอย่างต่ำ นอกจากนี้เมื่อจบหลักสูตรจะต้องมีการสอบเพื่อให้ได้รับการรับรองในระดับนี้หรือสูงกว่า
หลักสูตรระดับอุดมศึกษา
• นักศึกษาสามารถสมัครเรียนและยื่นจดหมายรับรองวีซ่าจากสถาบัน ฯ เพื่อขอวีซ่าเข้าเรียนในหลักสูตรระดับอุดมศึกษาของสถาบันการศึกษาต่างประเทศ หากการศึกษาในสหราชอาณาจักรเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรของสถาบัน ฯ นั้น และประกาศนียบัตรซึ่งนักศึกษาจะได้รับเมื่อจบจากหลักสูตรได้รับการรับรองจาก UK NARIC ว่าอยู่ในระดับเทียบเท่าอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักร
การฝึกงาน (Work-placements)
นักศึกษาอาจมีการฝึกงาน หากการฝึกงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร แต่การฝึกงานนั้นต้องมีระยะเวลาไม่เกินร้อยละ 50 ของระยะเวลาทั้งหมดของหลักสูตร ยกตัวอย่างเช่น หลักสูตรประเภท 4 ปีซึ่งมีการฝึกงานรวมอยู่ในนั้น 1 ปี เป็นต้น
หลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนภาคปกติ (Pre-sessional courses)
หลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนภาคปกติ เป็นหลักสูตรจำพวก
• สอนภาษาอังกฤษแบบเร่งรัด หรือ
• ปูพื้นฐานนักศึกษาให้พร้อมสำหรับการเรียนภาคปกติ
ในการที่จะได้รับวีซ่าเพื่อเข้าเรียนในหลักสูตรเตรียมความพร้อม ฯ นักศึกษาจะต้องผ่านการประเมินโดยระบบให้คะแนน และจะต้องได้คะแนนทั้งสิ้น 40 คะแนน เช่นเดียวกับการขอวีซ่าเข้าเรียนในภาคปกติ คือ
1. 30 คะแนนสำหรับจดหมายรับรองวีซ่า (Visa letter) จากสถาบันการศึกษาที่ได้รับอนุญาตจากโฮมออฟฟิสให้เป็นผู้รับรอง และ
2. 10 คะแนนสำหรับหลักฐานแสดงว่ามีเงินพอเพียงสำหรับค่าเล่าเรียน และค่าครองชีพที่จำเป็น (ค่าเลี้ยงชีพ)
หากสถาบัน ฯ ตอบรับให้นักศึกษาเข้าเรียน อย่างไม่มีเงื่อนไข (Unconditional offer) นักศึกษาจะได้รับวีซ่าครอบคลุมระยะเวลาเรียนของทั้งสองหลักสูตร หากการเรียนหลักสูตรเตรียมความพร้อม ฯ นั้น
• เรียนกับสถาบันการศึกษาเดียวกันกับภาคปกติ หรือ
• เรียนกับสถาบันการศึกษาในเครือและมีชื่อรวมอยู่ในใบอนุญาตเดียวกันกับของสถาบันการศึกษาหลัก (ภาคปกติ)
แต่หากสถาบัน ฯ ตอบรับให้นักศึกษาเข้าเรียนอย่างมีเงื่อนไข (Conditional offer) นักศึกษาจำเป็นต้องขอวีซ่าสำหรับเข้ามาเรียนในหลักสูตรเตรียมความพร้อม ฯ อย่างเดียวก่อน และเมื่อสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนั้นแล้ว ก็อาจขอต่อวีซ่าเพื่อเข้าเรียนในหลักสูตรภาคปกติต่อเนื่องได้
ที่มา ::http://thaiwomensorganisation.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น