Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การต่อวีซ่าช่วงการเปลี่ยนแปลงระบบ ชุด เอ สำหรับผู้มี Work permit

การต่อวีซ่าช่วงการเปลี่ยนแปลงระบบ ชุด เอ สำหรับผู้มี Work permit







การต่อวีซ่าช่วงการเปลี่ยนแปลงระบบ ชุด เอ สำหรับผู้มี Work permit (Transitional arrangement A for tier 2 and tier 5)

เริ่มตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2008 มีการนำระบบการให้คะแนน (points-based system) ระดับที่ 2 และระดับที่ 5 มาบังคับใช้ ดังนั้น การเข้ามาทำงานในสหราชอาณาจักรโดยวิธีนายจ้างออกใบอนุญาตทำงาน (work permit) หรือโดยวิธีขอวีซ่าทำงานประเภทที่ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต เช่นสำหรับ พระภิกษุสงฆ์ เป็นต้น ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว คือ จะไม่มีการออกใบอนุญาตทำงาน (work permit) ใหม่ หรือไม่มีการออก วีซ่าทำงานแบบเดิมให้อีกต่อไป ผู้ที่จะเข้ามาทำงานในสหราชอาณาจักรหลังจากวันที่ 27 พฤศจิกายน 2008 จะต้องยื่นขอสมัครภายใต้เงื่อนไขของระบบการให้คะแนน


ข้อบังคับใช้สำหรับการต่อวีซ่าช่วงการเปลี่ยนแปลงระบบชุด A (Transitional arrangement A)

สำหรับ ผู้ที่เข้ามาทำงานในสหราชอาณาจักรแล้วโดยวิธีเดิม คือ มีใบอนุญาตทำงาน (Work permit) หรือโดยวีซ่าทำงานประเภทที่ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต และเป็นประเภทที่มีสิทธิอยู่ต่อถาวร (Settlement) ขณะนี้ได้มีข้อบังคับใช้สำหรับการต่อวีซ่าช่วงการเปลี่ยนแปลงระบบ (Transitional arrangements) คือ ผู้นั้นจะมีสิทธิอยู่ต่อได้จนกว่าวีซ่าเดิมจะหมดอายุ หลังจากนั้นขอต่อวีซ่าภายใต้ข้อบังคับใช้

สำหรับช่วงการเปลี่ยนแปลงระบบ มีรายละเอียดดังนี้

1. ปัจจุบันอยู่ในสหราชอาณาจักร
2. มีนายจ้างที่ได้รับอนุญาตเป็นผู้รับรอง (Licensed sponsor) และได้ออกหมายเลขใบรับรองให้ (certificate of sponsorship) สำหรับงานในระดับที่ 2 (ทั่วไป)
3. ใบรับรองระบุว่างานที่ทำอยู่เป็นงานที่ต้องใช้ความชำนาญ (Skilled) ตามความหมายในข้อปฏิบัติ (code of practice) (นอกจากผู้มีอาชีพเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุระดับสูง (senior care worker) ซึ่งต้องต่อวีซ่าด้วยข้อบังคับใช้สำหรับช่วงการเปลี่ยนแปลงระบบ D )
4. ใบรับรองระบุว่างานในตำแหน่งนี้มีค่าตอบแทนในระดับเดียวกันหรือสูงกว่าระดับที่เหมาะสม
5. เป็นผู้ที่จะขอต่อวีซ่าเพื่อทำงานให้กับนายจ้างเดิม ตำแหน่งงานเดิม เหมือนที่เคยได้รับวีซ่าครั้งก่อน (นอกจากผู้ดูแลผู้สูงอายุระดับสูง (Senior care worker) ซึ่งต้องต่อวีซ่าด้วยข้อบังคับใช้สำหรับช่วงการเปลี่ยนแปลงชุด D) และ
6. ได้ทำงานอยู่ในสหราชอาณาจักรในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งตามรายการข้างล่าง หรือตามกฎเข้าเมือง (Immigration rules) ย่อหน้าที่ 134 (1) เป็นระยะเวลาน้อยว่า 5 ปี และ
• เป็นผู้มีใบอนุญาตทำงานประเภทธุรกิจและพานิชย์ (Business and commercial) (ซึ่งรวมถึงบุคคลที่มาทำงานเป็น พ่อครัว ในร้านอาหารด้วย) หรือ
• เป็นผู้แทนหนังสือพิมพ์หรือสำนักงานข่าวสารต่างประเทศ (Representative of an overseas newspaper, new agency or broadcasting organisation) หรือ
• เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานภาคพึ้นดินประจำสนามบินของสายการบินต่างประเทศ (member of airport-based operational ground staff )
เนื่องจากใบอนุญาตทำงาน (Work permit) และวีซ่าทำงานตำแหน่งข้างบนนี้ ถูกยกเลิกไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2008 ดังนั้น ภายใต้ข้อบังคับใช้สำหรับช่วงการเปลี่ยนแปลงชุด A นี้ ผู้ที่ยื่นขอต่อวีซ่าไม่จำเป็นต้องได้คะแนนในส่วนต่าง ๆ ตามข้อบังคับของระบบให้คะแนน คือในส่วนของ คุณวุฒิ เงินเดือนในอนาคต การสืบหาแรงงานในประเทศ ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ และเงินเลี้ยงชีพ
แต่ผู้ที่มีใบอนุญาตทำงานอยู่แล้ว และต้องการเปลี่ยนงาน (นอกจากผู้ดูแลผู้สูงอายุระดับสูง) จะต้องเข้าข่ายกฎข้อบังคับของระบบให้คะแนน ระดับที่ 2 ทุกประการ

วีซ่าที่จะต่อได้นี้จะอนุญาตให้อยู่ต่อได้ในระยะเวลาที่อยู่ทั้งหมดครบ 5 ปี

ผู้ที่อยู่ครบ 5 ปีแล้ว และต้องการต่อวีซ่าอีก ก็ต้องเข้าข่ายกฎข้อบังคับของระบบให้คะแนนทุกประการ แต่หากผู้ใดต้องการขอวีซ่าถาวร ก็ต้องเข้าข่ายกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับของวีซ่าถาวรในขณะนั้น
ส่วนผู้ที่มีวีซ่าทำงานประเภทอื่น ๆ เช่น พระภิกษุสงฆ์ เป็นต้น อาจตรวจสอบได้ว่า จะยื่นขอต่อวีซ่าได้หรือไม่ จะต้องใช้แบบฟอร์มและมีข้อบังคับใช้สำหรับช่วงการเปลี่ยนแปลงระบบชุดใด มีรายละเอียดใน

ตารางการต่อวีซ่าภายหลังวันที่ 27 พฤศจิการยน 2008 ภายใต้ช่วงระหว่างการเปลี่ยนแปลงระบบ

ข้อความของบทนี้ได้มาเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2008 จาก

http://www.ukba.homeoffice.gov.uk/workingintheuk/aboutthechanges/transitionalarrangementa/







ที่มา :: http://thaiwomensorganisation.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น