ล่าม :: Interpreter
ล่ามประเภทต่างๆ
ในเว็บไซต์ของ ศูนย์การแปลและจัดส่งล่ามทีไอเอส ได้จำแนกล่ามออกเป็น 6 ประเภท (http://www.tisprinting.com/type-of-interpreter.php) คือ
1. ล่ามฉับพลัน Simultaneous interpreting ในการทำหน้าที่ในลักษณะล่ามฉับพลัน(Simultaneous interpretation)นั้น ผู้ทำหน้าที่ล่ามฉับพลัน (Simultaneous interpreter:SI) ต้องทำการแปลหรือถ่ายทอดสื่อสารความหมายจากภาษาต้นทาง (Source language) ไปเป็นภาษาปลายทาง (Target language) อย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยที่ผู้พูดภาษาต้นทาง (Speaker) จะพูดต่อเนื่องไปเรื่อยๆโดยไม่มีจังหวะหยุด ซึ่งล่ามจะทำหน้าที่แปลหรือถ่ายทอดภาษาต้นทางจากที่ ผู้พูดภาษาต้นทางในทันที ล่ามฉับพลันในลักษณะเช่นนี้จะต้องนั่งอยู่ในบูธที่จัดไว้เฉพาะล่ามซึ่งมีคุณสมบัติป้องกัน เสียงรบกวนจากภายนอก ล่ามฉับพลันนั้นจะพูดผ่านไมโครโฟนในทันที่ที่ผู้พูดภาษาต้นทางพูดออกมาโดยล่ามได้ยินเสียงผู้พูดผ่านทางหูฟัง ทั้งนี้ผู้ฟังจะได้ยินเสียงที่ล่ามแปลออกมาผ่านทางหูฟัง ล่ามฉับพลันจะต้องเป็นผู้ที่มีทักษะความเชี่ยวชาญทั้งด้านการฟังและการพูดในภาษาต้นทางและภาษาปลายทางเป็นอย่างสูง รวมถึงมีความรู้ความเชี่ยวชาญในหัวข้อนั้นๆอย่างลึกซึ่งและจะต้องมีการเตรียมตัวเป็นดีโดยทำการศึกษาหัวข้อที่ทางผู้พูดจะถ่ายทอดออกมาอย่างละเอียดถี่ถ้วนจึงจะสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งตรงกับลักษณะของ ล่ามตู้ ข้างต้น
2. ล่ามต่อเนื่อง (Consecutive Interpreting) ผู้ทำหน้าที่เป็นล่ามแบบต่อเนื่องนั้นจะต้องทำหน้าที่แปลหรือสื่อสารเมื่อผู้พูดภาษาต้นทางพูดจบลง โดยทางผู้พูดจะพูดไปประมาณ 3-10 ประโยคและมีจังหวะหยุดให้ทางล่ามต่อเนื่องได้แปลสื่อสารออกมาให้ผู้ฟังได้เข้าใจ ในกรณีที่ผู้พูดภาษาต้นทางพูดยาวหลายประโยคก่อนที่จะหยุดให้ล่ามต่อเนื่องได้แปลนั้น ล่ามต่อเนื่องสามารถที่จะจดบันทึกย่อในสิ่งที่ผู้พูดพูดออกมาเพื่อเก็บรายละเอียดให้ครบถ้วนพร้อมที่จะแปลเนื้อหาทั้งหมดเป็นภาษาปลายทางให้ถูกต้องสมบูรณ์ทันทีที่ผู้พูดพูดจบลง ล่ามต่อเนื่องมักถูกใช้ในงานฝึกอบรมสัมมนา งานติดตั้งเครื่องจักร งานแถลงข่าว งานประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
3. ล่ามกระซิบ (Whispering Interpreting) ล่ามกระซิบจะทำหน้าที่คล้ายกับล่ามฉับพลันแต่ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์อาทิ บูธล่าม ชุดหูฟัง หรือไมโครโฟนแต่อย่างใด เนื่องจากล่ามกระซิบจะนั่งหรือยืนใกล้กับผู้ฟังกลุ่มขนาดเล็ก อาทิ กลุ่มผู้ฟังจำนวน 2-3 คนโดยทำหน้าที่แปลหรือถ่ายทอดภาษาต้นทางเป็นภาษาปลายทางให้ผู้ฟังได้เข้าใจ ล่ามกระซิบมักใช้สำหรับงานประชุมหรืองานสัมมนาที่มีผู้ฟังส่วนใหญ่เข้าใจภาษาต้นทางที่ผู้พูดพูด แต่มีผู้ฟังกลุ่มเล็กที่ต้องการล่ามกระซิบช่วยสื่อสารที่ผู้พูดกล่าวออกมาเป็นภาษาปลายทางที่ตนเองเข้าใจ อันนี้นึกภาพตอนดูข่าวของทางราชการตอน 2 ทุ่มได้
4. ล่ามทางการแพทย์ (Medical Interpreting) ล่ามทางการแพทย์มีหน้าที่ในการสื่อสารระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับคนไข้หรือญาติของคนไข้ให้เข้าใจได้ตรงกัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วล่ามทางการแพทย์ต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการขั้นตอนทางการแพทย์,ความรู้เกี่ยวกับยา, การสัมภาษณคนไข้, และการทำงานต่างๆในคลินิคหรือโรงพยาบาลที่ตนทำหน้าที่เป็นล่ามทางการแพทย์อยู่เพื่อทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งล่ามทางการแพทย์มักมีหน้าที่โดยส่วนใหญ่ในการประสานงานด้านต่างๆให้กับบุคลากรทางการแพทย์และคนไข้เป็นสำคัญ อาทิ การสอบถามอาการเจ็บป่วย การแนะนำวิธีการรับประทานยา หรือนัดหมายผ่าตัด เป็นต้น
5. ล่ามติดตามตัว (Escort Interpreting) ล่ามติดตามตัวมีหน้าที่ในการติดตามบุคคล คณะบุคคล หรือกลุ่มบุคคลขนาดเล็กเพื่อการเยี่ยมชม หรือการจัดประชุมหรือการสัมภาษณ์เพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดสื่อสารให้กับผู้พูดกับผู้ฟังมีความเข้าใจตรงกันหรือทำหน้าที่ประสานงานในด้านต่างๆระหว่างกลุ่มบุคคลต่างๆ
6. ล่ามทางโทรศัพท์
จรรยาบรรณสำหรับผู้ประกอบอาชีพล่าม
(http://www.michibee.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=353994)
1. รักษาต้นฉบับ คือต้องแปลให้ตรงกับที่ผู้นำเสนอพูด ไม่มีสิทธิสอดแทรก โดยเฉพาะไม่เพิ่มเติมจนเป็นการอวดรู้กว่าผู้นำเสนอซึ่งเป็นการทำเกินหน้าลูกค้า
2. ไม่เปลี่ยนความหมายของต้นฉบับ ไม่ใส่อารมณ์ หรือการวินิจฉัยส่วนตัวลงไป แต่สามารถตกแต่งภาษาต้นฉบับได้บ้างถ้าบกพร่อง ทั้งนี้ต้องดูว่าผู้ฟังคือใครด้วย
3. รักษาความลับของลูกค้า
4. เคารพคนฟัง เช่น ใช้ภาษาให้เหมาะสมแก่สถานภาพของผู้ฟัง
5. ต้องตรงต่อเวลา ควรไปถึงงานอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง หรือไม่น้อยกว่า 30 นาที เพื่อตรวจสอบเครื่องมือต่างๆ เช่น ไมโครโฟน หูฟัง และมีเวลาอ่านต้นฉบับซึ่งอาจได้รับก่อนเวลาเล็กน้อยได้
6. รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบาในการเจรจา ถ้าแปลผิดต้องขอโทษได้
7. ไม่บิดเบือนข้อความที่ต้องแปลเพื่อประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งล่ามการค้าและล่ามในศาล
ที่มา :: http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog/?p=31498
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
สภาพการทำางาน ทัศนคติ และบทบาทของล่ามในศาล
http://www.arts.chula.ac.th/~tran/downloads/5280163322Panitan.pdf
ข้อควรคำนึงในการเป็นล่ามภาษามือวิชาชีพ
http://www.rs.mahidol.ac.th/thai/research/journal_t/book1_2/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E.pdf
ญี่ปุ่นกับการให้บริการล่ามทางการแพทย์เพื่อผู้ป่วยชาวต่างชาติ
http://www.asia.tu.ac.th/journal/J_Studies29_2/07_Sirikwan.pdf
ประมวลจริยธรรมล่าม
http://www.coj.go.th/iad/userfiles/file/120207102424.PDF
คุณสมบัติของล่ามที่ดี
ตอบลบล่ามแต่ละประเภทจำเป็นต้องใช้ความสามารถในด้านต่างๆกัน ล่ามในที่ประชุม ล่ามธุรกิจ ล่ามในศาลต้องมีความสามารถทางภาษาสูงมาก แต่ล่ามมัคคุเทศก์ต้องมีความสามารถทางด้านการต้อนรับดูแลให้ผู้อื่นเกิดความรู้สึกเพลิดเพลินด้วย โดยทั่วไปคุณสมบัติของล่ามที่ดีมีดังนี้
1.มีความสามารถในการเข้าใจภาษา ล่ามต้องเข้าใจภาษาและเนื้อหาที่กำลังพูดคุยกันอยู่ มีความรู้ทางด้านภาษาของล่ามควรอยู่ในระดับที่สามารถฟังเรื่องที่พูดด้วยความเร็วปกติได้เข้าใจ ต้องสามารถอ่านนิตยสารที่เขียนด้วยภาษานั้นได้อย่างคล่องแคล่วโดยไม่ต้องอาศัยพจนานุกรม
2.มีความสามารถในการพูดเขียนภาษา ในการแปลแบบล่าม ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ภาษาที่เป็นทางการ ฟังเข้าใจยาก ล่ามควรมีความรู้เกี่ยวกับสำนวน สุภาษิตคำคม และควรเข้าใจเรื่องตลกได้ แต่ไม่จำเป็นต้องแปลออกมาเป็นสำนวน สุภาษิตให้ได้เสมอไป
3.จะต้องมีสมาธิที่ดี ความจำดี จับประเด็นหลักได้เร็ว เนื่องจากล่ามจะได้ฟังคำพูดเพียงด้านเดียว และคำพูดที่พูดออกมาจะเลือนหายไป ไม่อยู่คงทนเช่น ตัวอักษร การแปลแบบล่ามต้องการความรวดเร็ว ใช้เวลาพะวงกับรูปแบบของภาษาให้น้อยที่สุด ดังนั้นล่ามต้องมีสมาธิในการฟัง จับประเด็นหลักและจำเนื้อหาที่ผู้พูดต้องการสื่อ ให้ได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว
4.เข้าใจวัฒนธรรม ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ถ้าวัฒนธรรมแตกต่างกัน ภาษาที่ใช้ก็ย่อมแตกต่างกันไปด้วย แบบแผนวิธีการของแต่ละภาษาอาจแตกต่างกัน ตั้งแต่ลำดับการพูด เช่น ในการกล่าวแนะนำตัวเองเป็นภาษาญี่ปุ่น มักจะเริ่มต้นในการบอกชื่อตัวเองว่า「ただ今ご紹介に預かりました○○です。」แต่สำหรับในภาษาไทย มักจะเริ่มต้นด้วยคำกล่าวทักทาย และตามด้วยชื่อของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องตรงตัวว่า “ตามที่ได้แนะนำ”
ในการทักทายก็เช่นกัน ภาษาญี่ปุ่นจะเริ่มด้วยการเรียกชื่อคู่สนทนาก่อน แล้วจึงกล่าวคำทักทาย แต่ในภาษาไทยจะกล่าวคำทักทายก่อน แล้วจึงเรียกคู่สนทนา เช่น 「田中さん、おはようございます。」 ควรแปลว่า”สวัสดีค่ะคุณทานากะ”
ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะไม่พูดทุกสิ่งทุกอย่างที่อยากจะพูดออกมา ในขณะที่ชาวไทยบางส่วนจะพูดทุกอย่างตามที่คิดอย่างตรงไปตรงมา ดังนั้น เมื่อต้องแปลคำพูดของคนในชาติที่มีพิธีการแสดงความคิดเห็นต่างกัน ล่ามจะต้องตระหนักถึงความแตกต่างในเรื่องวัฒนธรรมให้มาก ต้องยึดความเป็นธรรมชาติของภาษาเป้าหมาย(Target language) เป็นหลัก มิฉะนั้นอาจจะทำให้คำแปลไม่เป็นธรรมชาติ หรือเกิดปัญหาสื่อความหมายไม่ถูกต้อง
5.มีความสามารถในการแสดงออกในที่สาธารณะ หน้าที่ของล่ามคือถ่ายทอดสิ่งที่ผู้พูดต้องการสื่อให้แก่ผู้ฟังให้เข้าใจได้โดยง่าย ควรเรียบเรียงคำพูดให้เข้าใจง่ายและควรคำนึงถึงลักษณะอื่นๆนอกเหนือจากตัวภาษาโดยตรง เช่น ความดังของเสียง เสียงสูงต่ำ ความเร็ว จังหวะจะโคน การแสดงสีหน้า ภาษาท่าทาง นอกจากนี้ในการแปลบรรยายแบบล่ามพูดสลับนั้น ผู้ฟังจะจับจ้องอยู่ที่ล่ามพอๆกับผู้บรรยาย ดังนั้นล่ามจึงควรมีลักษณะกล้าแสดงออกไม่ตื่นตระหนกเมื่ออยู่ต่อหน้าคนจำนวนมาก
6.มีความรู้แสวงหาความรู้ใหม่ๆเพิ่มเติม มีความรวบรู้ในหลายสาขาเพราะการฟังให้เข้าใจนั้นไม่ใช่อาศัยความสามารถทางภาษาอย่างเดียวถ้าล่ามไม่มีความรู้ในสาขานั้นอยู่บ้าง จะไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาได้อย่างถ่องแท้ และไม่สามารถถ่ายทอดได้ถูกต้อง
7.มีจรรยาบรรณของล่าม ล่ามที่ดีต้องมีจรรยาบรรณดังต่อไปนี้
·ล่ามอาจดัดแปลงคำพูดให้เข้าใจได้ง่ายได้ แต่ต้องแปลให้ตรงกับที่ผู้พูดต้องการสื่อให้มากที่สุด ล่ามต้องไม่บิดเบือนสิ่งที่ผู้พูดต้องการสื่อ ไม่ใส่ความคิดเห็นของตนลงไปในคำแปล ล่ามต้องสำนึกอยู่เสมอว่าตนเป็นเพียงผู้ถ่ายทอดคำพูดให้แก่บุคคลสองฝ่ายที่ไม่สามารถสื่อสารกันด้วยตนเองได้
·การทำงาน บางครั้งล่ามจะได้ล่วงรู้ข้อมูลที่เป็นความลับ ดังนั้นล่ามจะต้องไม่แพร่งพรายสิ่งที่ได้รับรู้จากการทำงานให้บุคคลอื่นรู้
·ล่ามต้องไม่ปรับเปลี่ยนเนื้อหาคำแปลเพื่อให้ผู้ฟังพอใจ
8.มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น เนื่องจากงานล่ามจำเป็นต้องติดต่อกับคนจำนวนมาก โดยเฉพาะล่ามอิสระ ต้องสร้างสัมพันธ์กับคนใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ถ้ามีมนุษย -สัมพันธ์ที่ดีจะช่วยให้ได้รับความร่วมมือจากผู้อื่น ทำให้ทำงานได้อย่างราบรื่น
9.มีสุขภาพดี เนื่องจากงานล่ามอาจจะต้องทำงานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆการเจ็บป่วยจะทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานได้และถ้าหางานล่ามแทนไม่ได้ จะทำความเดือนร้อนให้กับผู้ว่าจ้างเป็นอย่างมาก
http://friendjp.blogspot.co.uk/
/ล่าม /ล่าม //ล่าม //ล่าม /
ตอบลบ1. ล่ามต่อเนื่อง ผู้นำเสนอหยุดเป็นช่วงเพื่อให้ล่ามแปลให้ผู้ฟังฟัง ในการทำล่ามชนิดนี้ ล่ามอาจต้องอยู่ข้างผู้นำเสนอ ใช้ในการประชุมเล็ก การบรรยาย การฝึกอบรม หรือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผู้นำเสนอบางคนไม่ใคร่ชอบวิธีนี้เพราะระหว่างรอให้ล่ามแปล ความคิดของเขาเสียความต่อเนื่อง อาจลืมสิ่งที่ต้องพูดต่อไป และทำให้การนำเสนอยาวเป็นสองเท่า
ข้อดีสำหรับผู้ทำล่ามประเภทนี้คือมีช่วงให้คิด จดโน้ตได้แต่ไม่ควรใช้ชวเลข หากไม่เข้าใจเนื้อหาส่วนใดก็ซักถามวิทยากร การแปลจึงทำให้สละสลวยได้ ไม่ควรใช้การแปลสรุป
ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ผู้พูดมักค้างประโยคไว้ลอย ๆ บางคนไม่เตรียมตัวมา เนื้อหาวกวน ภาษาไม่สมบูรณ์ พูดยาวเป็นย่อหน้า (ควรหยุดพูดช่วงละไม่เกิน ๒-๓ ประโยค) ทำให้ล่ามแปลลำบาก และล่ามไม่ใคร่ได้รับเอกสารล่วงหน้า
2. ล่ามฉับพลัน เป็นการทำล่ามไปพร้อมกับผู้นำเสนอพูด ความเหลื่อมของภาษาที่ผู้นำเสนอพูดและภาษาของล่ามไม่ควรมากกว่า ๕ วินาที เท่ากันได้เป็นดีที่สุด การทำล่ามชนิดนี้เหมาะสมกับการประชุมระดับประเทศที่มีผู้ฟังจำนวนมาก หรือการฝึกอบรมที่ต้องการความฉับพลันในการสื่อความ ความถูกต้องสำคัญที่สุด ต้องมีอุปกรณ์ เช่น บูธสำหรับล่าม หูฟัง ไมโครโฟน และเอกสารประกอบ ซึ่งควรได้รับล่วงหน้า ปัจจุบันการทำล่ามรูปแบบนี้เป็นที่นิยมสูงสุดในประเทศไทย
ต้องมีล่ามอย่างน้อย ๒ คน เพราะเป็นการทำล่ามที่เหนื่อยล้า ใช้ในการประชุมที่มีผู้ฟังจำนวนมาก ถ้าแปลไม่ได้หรือไม่ทัน ใช้การแปลสรุปได้ในเรื่องที่เกี่ยวกับ กราฟ ตาราง หรือ อัตราการเจริญเติบโต นอกจากความสามารถในการรับฟัง ล่ามอาจต้องอ่านเอกสารประกอบไปพร้อมกันด้วย ดังนั้น การฝึกแปลฉับพลันโดยการอ่านในใจให้ชำนิชำนาญจึงเป็นพื้นฐานสำคัญขั้นต้นเพื่อเตรียมตัวทำล่ามฉับพลัน
3.. ล่ามกระซิบ เป็นการทำล่ามเฉพาะบุคคลหรือเฉพาะกลุ่ม ใช้ในการประชุมกลุ่มย่อย หรือการฟังการพิจารณาคดีที่ศาล ล่ามต้องอยู่ข้างผู้ฟังและทำการล่ามตลอดเวลา ข้อเสียของการทำล่ามประเภทนี้คือ ถ้าล่ามใช้เสียงดังเกินไป ผู้อื่นที่อยู่ใกล้แต่ไม่ต้องการล่ามอาจรำคาญ แต่ถ้าล่ามพูดค่อย ผู้ฟังไม่ได้ยิน ต้องขอให้พูดใหม่อยู่เรื่อย ๆ ยิ่งน่ารำคาญสำหรับทุกคน การทำล่ามนั้นก็จะไม่ได้ผล อนึ่ง ตัวล่ามเองจะเหนื่อยมาก เพราะต้องระมัดระวังทั้งการออกเสียงและการสำรวมอากัปกิริยา เนื่องจากต้องปรากฏตัวต่อที่ประชุมตลอดเวลา
...
คุณสมบัติของล่าม
ตอบลบคุณสมบัติ ๑๐ ประการของล่ามที่ประสบความสำเร็จ มีดังนี้
๑. ต้องมีสมาธิสูง ความจำดี จับประเด็นได้คล่องแคล่ว
๒. ต้องมีภาษาดี ความรู้อีกภาษาหนึ่งต้องดีเท่าภาษาแม่หรือต่ำกว่าไม่เกิน ๑๐% การรู้ภาษาที่สามจะช่วยให้สะดวกในการทำงาน ต้องรู้จักใช้ระดับภาษา น้ำเสียง และลีลาการพูดให้ผู้ฟังรู้สึกเสมือนฟังผู้นำเสนอพูดเอง ไม่ใช่ฟังล่าม ต้องครอบคลุมเนื้อหาได้ไม่น้อยกว่า ๘๐% และหมั่นฝึกฝนภาษาทั้งสองอย่างสม่ำเสมอ
๓. หาโอกาสสร้างความคุ้นเคยกับสำเนียงภาษาของผู้ที่มิใช่เจ้าของภาษาอังกฤษ เช่น อินเดีย จีน ญี่ปุ่น อาหรับ
๔. ล่ามไม่มีสถานภาพ เป็นเสมือนเครื่องจักรที่ใช้หู สมอง ใจ ปาก เป็นกระบวนการต่อเนื่อง ต้องฝึกพูดและใช้เสียงให้คล่อง ล่ามที่ดีไม่ควรติดคำพูดที่แสดงความไม่มั่นใจ ไร้ความหมาย และสิ้นเปลืองเวลา เช่น เอ่อ อื้อ เอ้อ อ้า ต้องคิดเร็ว พูดเร็ว ฉับไว ไหวทัน และแก้ไขสถานการณ์ได้ทันท่วงที
๕. ควรมีความรู้ระดับปริญญาตรีเป็นอย่างน้อย เพื่อให้มีความรู้สาขาใดสาขาหนึ่งอย่างดีเป็นพื้น ถ้างานตรงสาขาก็ง่ายขึ้น
๖. ต้องมีความรู้รอบตัวในเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง แรงงาน สิทธิมนุษยชน ฯลฯ เพราะงานที่จะต้องทำเป็นงานหลากหลายสาขา
๗. ต้องคอยติดตามความรู้และคำศัพท์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เพื่อสะดวกในการแปลคำศัพท์เฉพาะ ไม่มองข้ามคำศัพท์ที่สงสัย ต้องค้นคว้า และตรวจสอบตลอดเวลา
๘. ต้องมีอารมณ์ร่วมกับผู้นำเสนอ มีความอดทน ไม่อารมณ์เสียง่าย
๙. สุขภาพต้องดีเพราะงานล่ามเป็นงานหนัก
๑๐.มีความมั่นใจ บุคลิกภาพดี สุภาพ แต่งกายสะอาดเรียบสมสถานภาพของตน
...
จรรยาบรรณของล่าม
ตอบลบจรรยาบรรณสำหรับผู้ประกอบอาชีพล่าม
๑. รักษาต้นฉบับ คือต้องแปลให้ตรงกับที่ผู้นำเสนอพูด ไม่มีสิทธิสอดแทรก โดยเฉพาะไม่เพิ่มเติมจนเป็นการอวดรู้กว่าผู้นำเสนอซึ่งเป็นการทำเกินหน้าลูกค้า
๒. ไม่เปลี่ยนความหมายของต้นฉบับ ไม่ใส่อารมณ์ หรือการวินิจฉัยส่วนตัวลงไป แต่สามารถตกแต่งภาษาต้นฉบับได้บ้างถ้าบกพร่อง ทั้งนี้ต้องดูว่าผู้ฟังคือใครด้วย
๓. รักษาความลับของลูกค้า
๔. เคารพคนฟัง เช่น ใช้ภาษาให้เหมาะสมแก่สถานภาพของผู้ฟัง
๕. ต้องตรงต่อเวลา ควรไปถึงงานอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง หรือไม่น้อยกว่า ๓๐ นาที เพื่อตรวจสอบเครื่องมือต่าง ๆ เช่น ไมโครโฟน หูฟัง และมีเวลาอ่านต้นฉบับซึ่งอาจได้รับก่อนเวลาเล็กน้อยได้
๖. รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบาในการเจรจา ถ้าแปลผิดต้องขอโทษได้
๗. ไม่บิดเบือนข้อความที่ต้องแปลเพื่อประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งล่ามการค้าและล่ามในศาล
สิ่งที่ต้องปฏิบัติ
๑. ผู้ที่ติดต่อประสานงานจนได้งานมาถือว่าเป็นล่ามคนที่หนึ่ง ต้องแจ้งให้เพื่อนล่ามที่จะทำงานร่วมกันทราบถึงงานที่จะทำ ดูแลเพื่อนร่วมงานและอธิบายงานให้ฟังเป็นสังเขป
๒. ขอเอกสารที่ผู้นำเสนอใช้ประกอบการนำเสนอมาล่วงหน้า เพื่อจะได้ศึกษาเป็นข้อมูลก่อนเข้าทำล่าม
๓. เมื่อไปถึงงานก่อนเวลาแล้ว ควรใช้เวลาช่วงนั้นตรวจสอบอุปกรณ์ในการทำล่ามของตนให้เรียบร้อย หากมีปัญหาต้องรีบแจ้งช่างเทคนิค
๔. ควรแบ่งการทำล่ามออกเป็นช่วง ๆ และนัดแนะกันว่าใครจะทำช่วงใด
สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ
๑. ไม่ทำล่ามคนเดียวเพราะจะเหนื่อยมากจนเป็นผลเสียในการทำงาน
๒. ล่ามไม่พูดคุยกันเองในขณะที่ยังเปิดไมค์อยู่ ถ้าจำเป็นต้องกด MUTE เสียก่อน
๓. ไม่ทำลายสมาธิเพื่อนล่าม เช่น ค้นหาของวุ่นวาย เคาะปากกา ไอหรือจาม
๔. ไม่กระซิบเมื่อเพื่อนล่ามแปลผิด ถ้าจำเป็นเนื่องจากเพื่อนล่ามมีปัญหาให้เปลี่ยนไมค์มาที่ตนและทำล่ามต่อไปจนกว่าเพื่อนล่ามจะพร้อมที่จะทำต่อไปได้ หรือเขียนข้อความที่ถูกต้องใส่กระดาษส่งให้
๕. ไม่จับผิด ต้องมีมรรยาทที่จะไม่อวดเด่นอวดดังข่มเพื่อนล่าม
๖. ไม่รับประทานอาหารที่จะทำให้ท้องขึ้นหรือท้องเสีย
ที่มา :: http://www.michibee.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=353994