Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การเพิ่มชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน


การเพิ่มชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน






การเพิ่มชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน 
หลักการทั่วไป 
          พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)   พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดหลักการเกี่ยวกับการบันทึกสถานะของบุคคลในเอกสารการทะเบียนราษฎร โดยบุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นคนสัญชาติไทยหรือคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยซึ่งไม่ได้ผ่านกระบวนการแจ้งการเกิดต่อนายทะเบียน สามารถร้องขอมีชื่อในเอกสารการทะเบียนราษฎรได้ ทั้งนี้ การที่บุคคลใดจะได้รับการบันทึกทางทะเบียนในเอกสารทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติ ขึ้นอยู่กับสถานะการอาศัยอยู่ในประเทศไทยของบุคคลนั้นว่ามีสิทธิอาศัยอยู่ได้ตามกฎหมายในลักษณะใด โดยนายทะเบียนอำเภอและนายทะเบียนท้องถิ่นมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางที่กฎหมายกำหนด
กฎหมาย
          พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
          มาตรา ๓๖  ให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นจัดทำทะเบียนบ้านไว้ทุกบ้านสำหรับผู้มีสัญชาติไทยและคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
          การจัดทำทะเบียนบ้านให้เป็นไปตามระเบียบที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนด
          มาตรา ๓๗  การเพิ่มชื่อและรายการของบุคคลลงในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนบ้านกลางให้เป็นไปตามระเบียบที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนด
          มาตรา ๓๘  ให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นจัดทำทะเบียนบ้านสำหรับคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และบุตรของบุคคลดังกล่าวที่เกิดในราชอาณาจักร ในกรณีผู้มีรายการในทะเบียนบ้านพ้นจากการได้รับอนุญาตหรือผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักร ให้นายทะเบียนจำหน่ายรายการทะเบียนของผู้นั้นโดยเร็ว
          ให้ผู้อำนวยการทะเบียนกลางจัดให้มีทะเบียนประวัติสำหรับคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ตามวรรคหนึ่งตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
          รายการและการบันทึกรายการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนด
ก. คนสัญชาติไทยขอเพิ่มชื่อ แบ่งออกเป็น
          ๑. กรณีตกสำรวจตรวจสอบทะเบียนราษฎร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙
          ๒. กรณีขอเพิ่มชื่อโดยใช้สูติบัตร ใบแจ้งการย้ายที่อยู่หรือทะเบียนบ้านแบบเดิมที่ไม่มีเลข ๑๓ หลัก             
          ๓. กรณีคนสัญชาติไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศโดยใช้หนังสือเดินทางต่างประเทศ
          ๔. กรณีคนสัญชาติไทยที่เกิดในต่างประเทศโดยมีหลักฐานการเกิด
          ๕. กรณีคนสัญชาติไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศโดยใช้หนังสือ C.I. และมีเอกสารไทย
          ๖. กรณีคนสัญชาติไทยที่เกิดในต่างประเทศขอเพิ่มชื่อโดยมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจเดินทางกลับประเทศไทย
           ๗. กรณีบุคคลอ้างว่าเป็นคนที่มีสัญชาติไทย ขอเพิ่มชื่อโดยไม่มีหลักฐานเอกสารราชการ
           ๘. กรณีเพิ่มชื่อเด็กอนาถาซึ่งอยู่ในการอุปการะเลี้ยงดูของบุคคล หน่วยงานเอกชนที่อยู่นอกประกาศกระทรวงมหาดไทย
           ๙. กรณีบุคคลที่มีการลงรายการ “ตายหรือจำหน่าย” ในทะเบียนบ้านขอเพิ่มชื่อ
           ๑๐. กรณีคนที่ได้รับสัญชาติไทยโดยการขอมี ขอแปลงหรือขอกลับคืนสัญชาติขอเพิ่มชื่อ
           ๑๑. กรณีคนที่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดโดยไม่อาจพิจารณาเป็นอย่างอื่นขอเพิ่มชื่อ
ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ
๑. กรณีตกสำรวจตรวจสอบทะเบียนราษฎรเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ โดยจะต้องเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๔๙๙
         สถานที่ยื่นคำร้อง ได้แก่ สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่บุคคลนั้นมีภูมิลำเนาอยู่
         ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือผู้ที่ขอเพิ่มชื่อ
         หลักฐานประกอบการยื่นคำร้อง
         (๑) สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๔) ของบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อ
         (๒) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (ถ้ามี)
         (๓) หลักฐานทะเบียนที่มีรายการบุคคลของผู้ขอเพิ่มชื่อ (ถ้ามี) เช่น บัญชีสำมะโนครัว ทะเบียนสมรส เป็นต้น
         (๔) เอกสารที่ราชการออกให้ (ถ้ามี) เช่น หลักฐานการศึกษา หลักฐานทางทหาร
         (๕) พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถรับรองและยืนยันตัวบุคคลได้
        นายทะเบียน
         (๑) ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานที่ผู้ร้องนำมาแสดง
         (๒) ตรวจฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรเพื่อตรวจสอบว่าผู้ร้องมีชื่อในทะเบียนบ้านแห่งอื่นหรือไม่
         (๓) สอบสวนผู้ร้อง เจ้าบ้าน และบุคคลที่น่าเชื่อถือให้ปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและรายการบุคคลของผู้ขอเพิ่มชื่อ และความยินยอมให้เพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้าน (กรณีสอบสวนเจ้าบ้าน)
         (๔) รวบรวมหลักฐานพร้อมความเห็นเสนอนายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขตพิจารณา
         (๕) กรณีนายอำเภออนุญาตตามคำร้อง ให้นายทะเบียนเพิ่มชื่อบุคคลดังกล่าวในทะเบียนบ้าน  (ท.ร.๑๔) กำหนดให้เลขประจำตัวประชาชนเป็นบุคคลประเภท ๕ โดยหมายเหตุในทะเบียนบ้านตรงช่องย้ายเข้ามาจาก ว่า “คำร้องที่...ลงวันที่...” แล้วลงลายมือชื่อและวันเดือนปีกำกับไว้
         (๖) มอบสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านพร้อมหลักฐานให้แก่ผู้ร้องพร้อมแนะนำให้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนสำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป
         (๗) กรณีนายอำเภอไม่อนุญาตตามคำร้อง ให้สอบถามผู้ร้องว่าประสงค์จะให้นายทะเบียนจัดทำทะเบียนประวัติให้เป็นหลักฐานก่อนหรือไม่ ถ้าประสงค์ ให้นายทะเบียนจัดทำทะเบียนประวัติ (ท.ร.๓๘ ก) กำหนดเลขประจำตัวประชาชนเป็นบุคคลประเภท 0  แต่ถ้าไม่ประสงค์ ให้แจ้งคำสั่งดังกล่าวเป็นหนังสือให้ผู้ร้องทราบภายใน  ๓ วันนับแต่วันที่มีคำสั่ง เพื่อให้โต้แย้งหรืออุทธรณ์คำสั่งภายใน ๑๕ วัน
๒. กรณีขอเพิ่มชื่อโดยใช้สูติบัตร ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ หรือทะเบียนบ้านแบบ  เดิมที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน
          สถานที่ยื่นคำร้อง
           (๑) กรณีเพิ่มชื่อตามสูติบัตรแบบเดิม ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ออกสูติบัตรฉบับนั้น
           (๒) กรณีเพิ่มชื่อตามใบแจ้งการย้ายที่อยู่แบบเดิม ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ประสงค์จะขอเพิ่มชื่อ
           (๓) กรณีเพิ่มชื่อตามทะเบียนบ้านแบบเดิม ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าครั้งสุดท้าย
           ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือผู้ที่ขอเพิ่มชื่อ
           หลักฐานประกอบการยื่นคำร้อง
           (๑) สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๔) ของบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อ
           (๒)  บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (ถ้ามี)
           (๓)  หลักฐานทะเบียนราษฎรที่มีรายการบุคคลของผู้ขอเพิ่มชื่อ ได้แก่ สูติบัตรหรือใบแจ้งการย้าย ที่อยู่หรือทะเบียนบ้านแบบเดิม ตามแต่กรณี
               (๔)  เอกสารที่ราชการออกให้ (ถ้ามี) เช่น หลักฐานการศึกษา หลักฐานทางทหาร
              (๕) พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถรับรองและยืนยันตัวบุคคลได้
          นายทะเบียน
             (๑) ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานที่ผู้ร้องนำมาแสดง
             (๒) ตรวจฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรเพื่อตรวจสอบว่าผู้ร้องมีชื่อในทะเบียนบ้านแห่งอื่นหรือไม่
             (๓) กรณีใช้หลักฐานใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ให้สอบถามไปยังสำนักทะเบียนที่ออกใบแจ้งการย้ายที่อยู่ดังกล่าวว่าบุคคลที่ขอเพิ่มชื่อเคยมีชื่อและรายการบุคคลอยู่ในเขตสำนักทะเบียนที่แจ้งย้ายออกจริงหรือไม่  
              (๔)  สอบสวนผู้ร้อง เจ้าบ้าน และบุคคลที่น่าเชื่อถือให้ปรากฏข้อเท็จจริง  ว่าบุคคลที่ขอเพิ่มชื่อเป็นคนเดียวกันกับบุคคลที่ปรากฏชื่อและรายการบุคคล ตามเอกสารที่นำมาแสดง เมื่อนายทะเบียนอนุญาตตามคำร้อง ให้นายทะเบียนเพิ่มชื่อบุคคลดังกล่าวในทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๔) กำหนดให้เลขประจำตัวประชาชนเป็นบุคคลประเภท ๕ โดยหมายเหตุในทะเบียนบ้านตรงช่องย้ายเข้ามาจาก ว่า“คำร้องที่...ลงวันที่...”แล้ว  ลงลายมือชื่อและวันเดือนปีกำกับไว้
              (๕) มอบสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านพร้อมหลักฐานของผู้ร้องคืนให้แก่ ผู้ร้องพร้อมแนะนำให้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนสำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป
              (๖) กรณีผู้ร้องไม่มีภูมิลำเนาในเขตสำนักทะเบียนที่ขอเพิ่มชื่อ หรือบ้านเลขที่ตาม ทะเบียนบ้านฉบับเดิมที่ใช้เป็นหลักฐานในการขอเพิ่มชื่อถูกจำหน่ายแล้วหรือเปลี่ยนผู้ครอบครองบ้านใหม่แล้วให้นายทะเบียนเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านกลาง และหากผู้ร้องมีความประสงค์จะย้ายไปอยู่ที่ใด ให้ดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการแจ้งการย้ายที่อยู่
              (๗) กรณีนายทะเบียนไม่อนุญาตตามคำร้อง ให้สอบถามผู้ร้องว่าประสงค์จะให้นายทะเบียนจัดทำทะเบียนประวัติให้เป็นหลักฐานก่อนหรือไม่ ถ้าประสงค์ ให้นายทะเบียนจัดทำทะเบียนประวัติ (ท.ร.๓๘ ก) กำหนดเลขประจำตัวประชาชนเป็นบุคคลประเภท 0  แต่ถ้าไม่ประสงค์ ให้แจ้งคำสั่งดังกล่าวเป็นหนังสือให้ผู้ร้องทราบภายใน ๓ วันนับแต่วันที่มีคำสั่ง เพื่อให้โต้แย้งหรืออุทธรณ์คำสั่งภายใน ๑๕ วัน
๓. กรณีคนสัญชาติไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศหรือเกิดในต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยไม่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นคนสัญชาติไทย
             สถานที่ยื่นคำร้อง  ได้แก่  สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่บุคคลนั้นมีภูมิลำเนาอยู่
             ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือผู้ที่ขอเพิ่มชื่อ
             หลักฐานประกอบการแจ้ง
             (๑) สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๔) ของบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อ
             (๒) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (ถ้ามี)
             (๓) หลักฐานที่มีรายการบุคคลของผู้ขอเพิ่มชื่อ (ถ้ามี) เช่น หนังสือเดินทาง  หลักฐานการเกิด เป็นต้น
             (๔) พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถรับรองและยืนยันตัวบุคคลได้
             นายทะเบียน
            (๑) ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานที่ผู้ร้องนำมาแสดง
            (๒) ตรวจฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรเพื่อตรวจสอบว่าผู้ร้องมีชื่อในทะเบียนบ้านแห่งอื่นหรือไม่
            (๓) ทำเรื่องส่งตัวผู้ร้องให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแห่งท้องที่ที่เดินทางเข้ามาในประเทศเพื่อขอพิสูจน์สัญชาติ
            (๔) หากได้รับหนังสือตอบจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองว่าผู้ร้องเป็นคนสัญชาติไทยให้สอบสวนผู้ร้อง เจ้าบ้าน และบุคคลที่น่าเชื่อถือให้ปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและรายการบุคคลของผู้ขอเพิ่มชื่อ และความยินยอมให้เพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้าน (กรณีสอบสวนเจ้าบ้าน)
            (๕) กรณีนายทะเบียนอนุญาตตามคำร้อง ให้นายทะเบียนเพิ่มชื่อบุคคลดังกล่าวในทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๔) กำหนดให้เลขประจำตัวประชาชนเป็นบุคคลประเภท ๕ โดยหมายเหตุในทะเบียนบ้านตรงช่องย้ายเข้ามาจาก ว่า “คำร้องที่...ลงวันที่...” แล้วลงลายมือชื่อและวันเดือนปีกำกับไว้
            (๖) มอบสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านพร้อมหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้แก่ผู้ร้องพร้อมแนะนำให้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนสำหรับผู้ทีมีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป
            (๗) กรณีนายทะเบียนไม่อนุญาตตามคำร้อง ให้สอบถามผู้ร้องว่าประสงค์จะให้นายทะเบียนจัดทำทะเบียนประวัติให้เป็นหลักฐานก่อนหรือไม่ ถ้าประสงค์ ให้นายทะเบียนจัดทำทะเบียนประวัติ (ท.ร.๓๘ ก) กำหนดเลขประจำตัวประชาชนเป็นบุคคลประเภท 0  แต่ถ้าไม่ประสงค์ ให้แจ้งคำสั่งดังกล่าวเป็นหนังสือให้ผู้ร้องทราบภายใน  ๓ วันนับแต่วันที่มีคำสั่ง เพื่อให้โต้แย้งหรืออุทธรณ์คำสั่งภายใน ๑๕ วัน
๔.  กรณีคนสัญชาติไทยที่เกิดในต่างประเทศโดยมีหลักฐานการเกิด
            สถานที่ยื่นคำร้อง  ได้แก่ สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่บุคคลนั้นมีภูมิลำเนาอยู่
            ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ ผู้ที่ขอเพิ่มชื่อ เว้นแต่กรณีผู้เยาว์ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมายเป็นผู้ยื่นคำร้อง
            หลักฐานประกอบการแจ้ง
            (๑) สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๔) ของบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อ
            (๒) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (ถ้ามี)
            (๓) หลักฐานการเกิด ของผู้ขอเพิ่มชื่อ ได้แก่  หลักฐานการจดทะเบียนคนเกิด (สูติบัตร) ที่ออกให้โดย สถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศหรือหลักฐานการเกิดที่ออกโดยหน่วยงานของประเทศที่บุคคลนั้นเกิด ซึ่งได้แปลและรับรองคำแปลว่าถูกต้องโดยกระทรวงการต่างประเทศ  ถ้าหลักฐานการเกิดไม่ปรากฏรายการสัญชาติของบิดา มารดา จะต้องเพิ่มหลักฐานทะเบียนของบิดา มารดาที่ปรากฏรายการสัญชาติไทยเพื่อยืนยันการได้สัญชาติไทยของผู้ขอเพิ่มชื่อ
           (๔) หนังสือเดินทางของผู้ขอเพิ่มชื่อ
           (๕) พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถรับรองและยืนยันตัวบุคคลได้
           นายทะเบียน
           (๑)  ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานที่ผู้ร้องนำมาแสดง
           (๒) ตรวจฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรเพื่อตรวจสอบว่าผู้ร้องมีชื่อในทะเบียนบ้านแห่งอื่นหรือไม่
           (๓) สอบสวนผู้ร้อง เจ้าบ้าน และบุคคลที่น่าเชื่อถือให้ปรากฎข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและรายการบุคคลของผู้ขอเพิ่มชื่อ และความยินยอมให้เพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้าน (กรณีสอบสวนเจ้าบ้าน)
           (๔)  เมื่อนายทะเบียนอนุญาตตามคำร้อง ให้นายทะเบียนเพิ่มชื่อบุคคลดังกล่าวในทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๔) กำหนดให้เลขประจำตัวประชาชนเป็นบุคคลประเภท ๕ โดยหมายเหตุในทะเบียนบ้านตรงช่องย้ายเข้ามาจาก ว่า “คำร้องที่...ลงวันที่...” แล้วลงลายมือชื่อและวันเดือนปีกำกับไว้   
           (๕) บันทึกการอนุญาตและเลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลักไว้ด้านหลังสูติบัตรหรือหลักฐานรับรองการเกิด
           (๖) มอบสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านพร้อมหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้แก่ผู้ร้องพร้อมแนะนำให้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนสำหรับผู้ที่อายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป
๕. กรณีคนสัญชาติไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ โดยใช้หนังสือเดินทางของต่างประเทศหรือหนังสือสำคัญประจำตัว (Certificate of Identify) ออกให้โดยสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย และมีหลักฐานเอกสารราชการที่ระบุว่าเป็นผู้มีสัญชาติไทย ขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
           สถานที่ยื่นคำร้อง ได้แก่ สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่บุคคลนั้นมีภูมิลำเนาอยู่
           ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือผู้ที่ขอเพิ่มชื่อ
           หลักฐานประกอบการแจ้ง
           (๑) สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๔) ของบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อ
           (๒) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (ถ้ามี)
           (๓) หลักฐาน ที่มีรายการบุคคลของผู้ขอเพิ่มชื่อ ได้แก่ หนังสือเดินทางของต่างประเทศหรือหนังสือสำคัญประจำตัว (Certificate of Identify) ออกให้โดยสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย และหลักฐานเอกสารราชการที่ระบุว่าเป็นผู้มีสัญชาติไทย (ถ้ามี) เช่นหลักฐานการศึกษา หลักฐานทหาร เป็นต้น
           (๔) พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถรับรองและยืนยันตัวบุคคลได้  
           นายทะเบียน
           (๑) ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานที่ผู้ร้องนำมาแสดง
           (๒) ตรวจฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรเพื่อตรวจสอบว่าผู้ร้องมีชื่อในทะเบียนบ้านแห่งอื่นหรือไม่
           (๓) กรณีผู้ขอเพิ่มชื่อมีเอกสารราชการที่ระบุว่าเป็นผู้มีสัญชาติไทยให้ทำเรื่องขอตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารที่ผู้ขอเพิ่มชื่อนำมาแสดงไปยังส่วนราชการที่ออกเอกสารดังกล่าวถ้าได้รับแจ้งตอบว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้อง ให้สอบสวนเจ้าบ้าน ผู้แจ้ง และบุคคลที่น่าเชื่อถือให้ปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติของบุคคลที่ขอเพิ่มชื่อในประเด็นเรื่องชื่อตัว ชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด สถานที่เกิด ภูมิลำเนาที่อยู่อาศัยในประเทศไทยก่อนไปต่างประเทศ การใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง และรายการของบิดาและมารดา    
           (๔) กรณีนายทะเบียนอนุญาตตามคำร้อง ให้นายทะเบียนเพิ่มชื่อบุคคลดังกล่าวในทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๔) กำหนดให้เลขประจำตัวประชาชนเป็นบุคคลประเภท ๕ โดยหมายเหตุในทะเบียนบ้านตรงช่องย้ายเข้ามาจาก ว่า “คำร้องที่...ลงวันที่...” แล้วลงลายมือชื่อและวันเดือนปีกำกับไว้
           (๕) มอบสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านพร้อมหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้แก่ผู้ร้องพร้อมแนะนำให้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนสำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป
           (๖) กรณีผู้ขอเพิ่มชื่อไม่มีเอกสารราชการที่ระบุว่าเป็นผู้มีสัญชาติไทย หรือกรณีได้รับแจ้งจากส่วนราชการที่ออกเอกสารว่าเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สามารถตรวจสอบได้ ให้นายทะเบียนทำหนังสือส่งตัวผู้ขอเพิ่มชื่อให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อขอพิสูจน์สัญชาติ
๖. กรณีคนสัญชาติไทยที่เกิดในต่างประเทศขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านโดยมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจเดินทางกลับประเทศไทย
           สถานที่ยื่นคำร้อง  ได้แก่  สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่บิดา มารดา ญาติพี่น้อง หรือผู้ปกครองของผู้ขอเพิ่มชื่อมีภูมิลำเนาอยู่
           ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ 
           (๑) ผู้รับมอบอำนาจจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ที่ประสงค์ขอเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎร (กรณีผู้ขอเพิ่มชื่อยังไม่บรรลุนิติภาวะ) หรือ
           (๒) ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ที่มีประสงค์ขอเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎร (กรณีผู้ขอเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว)
หมายเหตุ  : ผู้รับมอบอำนาจต้องเป็นญาติพี่น้องหรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ที่มีความประสงค์ขอเพิ่มชื่อ
           หลักฐานประกอบการแจ้ง
           (๑) สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๔) ของผู้รับมอบอำนาจ
           (๒) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (ถ้ามี)
           (๓) สูติบัตรที่ออกให้โดยสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย หรือเอกสารรับรองการเกิดที่ออกให้โดยหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศซึ่งแปลเป็นภาษาไทยและผ่านการรับรองคำแปลโดยกระทรวงการต่างประเทศ
           (๔) หนังสือมอบอำนาจของบิดา มารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือผู้ที่ประสงค์ขอมีรายการบุคคลในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แล้วแต่กรณี ซึ่งควรดำเนินการผ่านสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย
           (๕) เอกสารที่ราชการออกให้ (ถ้ามี) เช่น หลักฐานการศึกษา หลักฐานทางทหาร เป็นต้น
           (๖) พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถรับรองและยืนยันตัวบุคคลได้
           นายทะเบียน
           (๑) ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานที่ผู้ร้องนำมาแสดง รวมถึงคุณสมบัติพร้อมที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจว่าเป็นบุคคลที่มีภูมิลำเนาในเขตสำนักทะเบียนที่ยื่นคำร้องหรือไม่
           (๒) ตรวจฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรเพื่อตรวจสอบว่าผู้ร้องมีชื่อในทะเบียนบ้านแห่งอื่นหรื���ไม่
           (๓)  สอบสวนผู้ร้อง เจ้าบ้าน และบุคคลที่น่าเชื่อถือให้ปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและรายการบุคคลของผู้ขอเพิ่มชื่อ และความยินยอมให้เพิ่มชื่อรวมทั้งความจำเป็นที่ไม่อาจเดินทางกลับประเทศไทย
           (๔)  เมื่อนายทะเบียนพิจารณาอนุญาต ให้บันทึกการอนุญาตไว้ด้านหลังของสูติบัตรหรือเอกสารรับรองการเกิดแล้วแต่กรณีและกำหนดเลขประจำตัวประชาชนให้เป็นบุคคลประเภท ๕
           (๕)   เพิ่มชื่อบุคคลดังกล่าวในทะเบียนบ้านชั่วคราว (ท.ร.๑๔) สำหรับบุคคลเดินทางไปต่างประเทศของสำนักทะเบียน พร้อมทั้งหมายเหตุในช่องย้ายเข้ามาจาก ว่า “คำร้องที่...ลงวันที่......” แล้วลงลายมือชื่อและวันเดือนปีกำกับไว้      
           (๖) มอบหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้แก่ผู้แจ้ง
๗. กรณีบุคคลอ้างว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน โดยไม่มีหลักฐานเอกสารมาแสดง
           สถานที่ยื่นคำร้อง ได้แก่  สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่บุคคลนั้นมีภูมิลำเนาอยู่
           ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือผู้ที่ขอเพิ่มชื่อ
           หลักฐานประกอบการแจ้ง
           (๑) สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๔) ของบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อ
           (๒) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (ถ้ามี)
           (๓) เอกสารที่ราชการออกให้ (ถ้ามี) เช่น หลักฐานการศึกษา หลักฐานทางทหาร เป็นต้น
           (๔) หลักฐานอื่นที่สามารถแสดงรายการบุคคลหรือบ่งบอกตัวบุคคลของผู้ขอเพิ่มชื่อ (ถ้ามี)
           (๕) พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถรับรองและยืนยันตัวบุคคลได้
           นายทะเบียน
           (๑) ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานที่ผู้ร้องนำมาแสดง
           (๒) ตรวจฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรเพื่อตรวจสอบว่าผู้ร้องมีชื่อในทะเบียนบ้านแห่งอื่นหรือไม่
           (๓) สอบสวนผู้ร้อง เจ้าบ้าน และบุคคลที่น่าเชื่อถือให้ปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและรายการบุคคลของผู้ขอเพิ่มชื่อ และความยินยอมให้เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (กรณีสอบสวน     เจ้าบ้าน)
           (๔) รวบรวมหลักฐานพร้อมความเห็นเสนอนายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขตพิจารณา (กรณีผู้ขอเพิ่มชื่อมีอายุตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป)
           (๕) กรณีนายอำเภอหรือนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นอนุญาตตามคำร้อง ให้นายทะเบียนเพิ่มชื่อบุคคลดังกล่าวในทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๔) กำหนดให้เลขประจำตัวประชาชนเป็นบุคคลประเภท ๕ โดยหมายเหตุในทะเบียนบ้านตรงช่องย้ายเข้ามาจาก ว่า “คำร้องที่...ลงวันที่...” แล้วให้ลงลายมือชื่อและวันเดือนปีกำกับไว้
           (๖) มอบสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านพร้อมหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้แก่ผู้ร้องพร้อมแนะนำให้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป
           (๗) กรณีไม่อนุญาตตามคำร้อง ให้สอบถามผู้ร้องว่าประสงค์จะให้นายทะเบียนจัดทำทะเบียนประวัติให้เป็นหลักฐานก่อนหรือไม่ ถ้าประสงค์ ให้นายทะเบียนจัดทำทะเบียนประวัติ (ท.ร.๓๘ ก) กำหนดเลขประจำตัวประชาชนเป็นบุคคลประเภท 0  แต่ถ้าไม่ประสงค์ ให้แจ้งคำสั่งดังกล่าวเป็นหนังสือให้ผู้ร้องทราบภายใน  ๓ วันนับแต่วันที่มีคำสั่ง เพื่อให้โต้แย้งหรืออุทธรณ์คำสั่งภายใน ๑๕ วัน
๘. กรณีขอเพิ่มชื่อเด็กอนาถาซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบุคคล หน่วยงานเอกชนที่อยู่นอกประกาศกระทรวงมหาดไทยออกตามมาตรา ๑๙/๑ แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร
           สถานที่ยื่นคำร้อง  ได้แก่ สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่บุคคลนั้น มีภูมิลำเนาอยู่
           ผู้ยื่นคำร้อง ได้แก่ ผู้อุปการะ หรือหัวหน้าหน่วยงานที่อุปการะ
           หลักฐานประกอบการแจ้ง
           (๑) สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๔) ของบ้านที่จะขอเพิ่มชื่อ
           (๒) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (ถ้ามี)
           (๓) หลักฐานการรับตัวเด็กไว้ในการอุปการะ (ถ้ามี)
           (๔) หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็กที่ขอเพิ่มชื่อ (ถ้ามี) เช่น หลักฐานการศึกษา  จดหมาย ภาพถ่าย เป็นต้น
           (๕) พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถรับรองและยืนยันตัวบุคคลได้
           นายทะเบียน
            (๑) ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานที่ผู้ร้องนำมาแสดง
            (๒) ตรวจฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรเพื่อตรวจสอบว่าผู้ร้องมีชื่อในทะเบียนบ้านแห่งอื่นหรือไม่
            (๓) สอบสวนผู้ร้อง เจ้าบ้าน และบุคคลที่น่าเชื่อถือให้ปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและรายการบุคคลของผู้ขอเพิ่มชื่อ และความยินยอมให้เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (กรณีสอบสวนเจ้าบ้าน)
            (๔) รวบรวมหลักฐานพร้อมความเห็นเสนอนายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขตพิจารณา
            (๕) กรณีนายอำเภออนุญาตตามคำร้อง ให้นายทะเบียนเพิ่มชื่อบุคคลดังกล่าวในทะเบียนบ้าน  (ท.ร.๑๔) กำหนดให้เลขประจำตัวประชาชนเป็นบุคคลประเภท ๕ โดยหมายเหตุในทะเบียนบ้านตรงช่องย้ายเข้ามาจาก ว่า “คำร้องที่...ลงวันที่...” แล้วให้นายทะเบียนลงลายมือชื่อและวันเดือนปีกำกับไว้
             (๖) มอบสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านพร้อมหลักฐานให้แก่ผู้ร้องพร้อมแนะนำให้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนสำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป
             (๗) กรณีนายอำเภอไม่อนุญาตตามคำร้อง ให้สอบถามผู้ร้องว่าประสงค์จะให้นายทะเบียนจัดทำทะเบียนประวัติให้เป็นหลักฐานก่อนหรือไม่ ถ้าประสงค์ ให้นายทะเบียนจัดทำทะเบียนประวัติ (ท.ร.๓๘ ก) กำหนดเลขประจำตัวประชาชนเป็นบุคคลประเภท 0  แต่ถ้าไม่ประสงค์ ให้แจ้งคำสั่งดังกล่าวเป็นหนังสือให้ผู้ร้องทราบภายใน  ๓ วันนับแต่วันที่มีคำสั่ง เพื่อให้โต้แย้งหรืออุทธรณ์คำสั่งภายใน ๑๕ วัน










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น