Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การย้ายที่อยู่


การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การย้ายที่อยู่




การแจ้งเกิด คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือมารดา (หรือผู้ได้รับมอบหมาย) แจ้งต่อนาย ทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดในบ้าน
แจ้งการเกิดภายใน 15 วันนับแต่วันเกิด ไม่แจ้งภายในกำหนดปรับไม่ เกิน 1,000 บาท โดยใช้หลักฐาน
- บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน หรือบิดา หรือมารดา หรือผู้ได้รับมอบ หมาย
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน หรือบิดา หรือมารดา หรือหนังสือมอบ หมายกรณีได้รับมอบหมาย

คนเกิดนอกบ้าน ให้บิดา หรือมารดา (หรือผู้ได้รับมอบหมาย) แจ้งต่อนาย ทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดนอกบ้าน หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้
แจ้งการเกิดภายใน 15 วันนับแต่วันเกิด ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ ตามกำหนดให้แจ้งภายหลังได้ แต่ต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันเกิด ไม่แจ้งภายในกำหนดปรับไม่เกิน 1,000 บาท

การแจ้งคนเกิดโรงพยาบาล เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านโรงพยาบาลซึ่งได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล หรือผู้ใดก็ตามที่มีชื่อเป็นเจ้าบ้านโรงพยาบาลนั้น เป็นผู้แจ้งการเกิดของเด็กในโรงพยาบาล ในกรณีไม่อาจแจ้งการเกิดด้วยตนเองได้ จะมอบหมายให้ผู้หนึ่งผู้ใดไปดำเนินการแจ้งการเกิดแทนก็ได้ เมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการ เกิดและเพิ่มชื่อเด็กที่เกิดในทะเบียนบ้านของโรงพยาบาลแล้ว เจ้าบ้านโรงพยาบาล หรือผู้ได้รับมอบหมายจะแจ้งการย้ายที่อยู่ของเด็กที่เกิดออกจากโรงพยาบาลแล้วมอบสูติบัตร และใบแจ้งการย้ายที่อยู่ให้แก่ บิดา-มารดาเด็ก เพื่อนำไปแจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้านที่ประสงค์จะย้ายเข้าต่อไป
การแจ้งเกิดเกินกำหนด 
- เปรียบเทียบคดีความผิด ปรับไม่เกิน 1,000 บาท โดยใช้หลักฐานดังนี้
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวฯ บิดา-มารดา (ถ้ามี)
- หนังสือรับรองการเกิด (ถ้ามี)
- สอบสวนผู้แจ้ง บิดา มารดา
- พยานแวดล้อมกรณี
- ฯลฯ

เด็กในสภาพแรกเกิดหรือเด็กอ่อนซึ่งถูกทอดทิ้ง ผู้ใดพบเด็กในสภาพแรกเกิดหรือเด็กอ่อนซึ่งถูกทอดทิ้งให้นำเด็กนั้นไปส่ง และแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์แห่งท้องที่ที่ตนพบเด็กนั้นโดยเร็ว
- เจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์ได้รับตัวเด็กไว้ แล้วแจ้งการมีคนเกิดต่อ นายทะเบียนผู้รับแจ้ง โดยใช้หลักฐานดังนี้
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของสถานสงเคราะห์และบันทึกการ รับตัวเด็ก
- สอบสวนผู้แจ้ง และผู้ปกครองสถานสงเคราะห์

การแจ้งเกิดในต่างประเทศ กรณีที่คนไทยเกิดในต่างประเทศ บิดา-มารดาจะต้องแจ้งการเกิดของบุตรต่อ กงสุลไทยหรือเจ้าหน้าที่สถานทูตไทย ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ณ ประเทศนั้น ๆ ภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด เมื่อได้รับการแจ้งเกิดแล้วเจ้าหน้าที่สถานกงสุล หรือสถานทูตไทยจะออกสูติบัตรให้บิดา-มารดาเด็ก เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานในการทำหนังสือเดินทางสำหรับเด็กเพื่อเดินทางกลับ ประเทศไทย ในกรณีที่ประเทศนั้นไม่มีกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยประจำอยู่ ให้ใช้หลักฐานการเกิดที่ออกโดยรัฐบาลประเทศนั้น ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้แปลและรับรองว่าถูกต้องเป็นหลักฐานสูติบัตรได้
การแก้ไขรายการในสูติบัตร
ให้ยื่นคำร้องขอแก้ไขต่อนายทะเบียน ที่ผู้เกิดมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน 


การแจ้งตาย คนตายในบ้าน
ให้เจ้าบ้านหรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีคนตาย ภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพแจ้ง

กรณีตายด้วยโรคหรือชราภาพ ใช้หลักฐาน
- หนังสือรับรองการตายจากแพทย์ ใบประกอบโรคศิลป์และบัตรประจำตัวของแพทย์ (กรณีมีแพทย์รักษาก่อนตาย)
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้านและผู้ได้รับมอบหมาย)

กรณีตายโดยผิดธรรมชาติ เช่น ถูกยิง ใช้หลักฐาน
- ให้ผู้แจ้งแจ้งต่อสถานีตำรวจ ท้องที่ที่มีคนตายภายใน 24 ชั่วโมง
- สถานีตำรวจจะส่งศพไปยังสถาบันนิติเวชวิทยา เพื่อหาสาเหตุการตาย และออกใบแจ้งการตายจากสถาบันฯ
- บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้านและผู้ได้รับมอบหมาย)
- ไม่แจ้งตายภายในกำหนด ปรับไม่เกิน 1,000 บาท


กรณีตายในโรงพยาบาลใช้หลักฐาน
- บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง และหนังสือมอบหมาย
- หนังสือรับรองการตาย
- สำเนาทะเบียนบ้านที่มีคนตายมีชื่อ (คนในพื้นที่ตายในโรงพยาบาล)
- นำหลักฐานไปแจ้งการตายต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่โรงพยาบาลนั้นตั้งอยู่

คนตายนอกบ้าน
- ให้บุคคลที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีการตาย หรือพบศพแล้วแต่กรณีหรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ ภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย หรือเวลาพบศพ ในกรณีเช่นนี้จะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจก็ได้
- บุคคลที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายแจ้งต่อนายทะเบียน หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจแห่งท้องที่ที่ตายหรือพบศพ หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ในโอกาสแรก
- แจ้งภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตายหรือพบศพ
- ไม่แจ้งภายในกำหนด ปรับไม่เกิน 1,000 บาท

การแจ้งตายเกินกำหนดเวลา 
หมายถึงการที่ไม่ได้แจ้งตายภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ
ให้ผู้มีหน้าที่แจ้งตายนำหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการตายไปแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตาย
- นายทะเบียนจะดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- นายทะเบียนจะสอบสวนพยานบุคคล เพื่อประกอบการพิจารณา รับแจ้งตายเกินกำหนด
การแจ้งตายในการประสบอุบัติเหต
- ให้ผู้ที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้พลศพ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายไปแจ้งการตายต่อนายทะเบียน หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจแห่งท้องที่ที่ตาย หรือพบศพก่อนหรือท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ในโอกาสแรกภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย หรือพบศพ เพื่อออกใบรับแจ้งไว้เป็นหลักฐาน
- นำศพส่งสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจเพื่อให้แพทย์ทำการตรวจพิสูจน์ศพถึงสาเหตุการตาย และออกใบแจ้งการตาย
- นำหลักฐานใบแจ้งการตาย และใบแจ้งการตายของสถาบันนิติเวชวิทยาโรงพยาบาลตำรวจไปแจ้งต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่พบศพ เพื่อประกอบหลักฐานออกใบมรณบัตร ต่อไป

การแจ้งตายในต่างประเทศ 
- กรณีคนไทยไปตายในต่างประเทศ ให้ผู้รู้เห็นการตายไปแจ้งตาย ณ สถานกงสุลไทยหรือสถานทูตไทย ณ ประเทศนั้น ๆ
- ในกรณีที่ซึ่งมีการตายไม่มีกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยประจำอยู่ให้ใช้หลักฐานการตายที่ออกโดยรัฐบาลของ ประเทศนั้น ๆ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้แปลและรับรองว่าถูกต้องเป็นหลักฐานมรณบัตรได้

การเก็บ ฝัง เผา ทำลาย และย้ายศพไปจากสถานที่หรือบ้านที่มีการตาย
เมื่อนายทะเบียนได้ออกบัตรให้กับผู้แจ้งไปแล้ว โดยได้กรอกข้อความลงในช่องจัดการศพโดย เก็บ ฝังหรือเผา ณ สถานที่ใดเมื่อใด ต่อมาต้องการจะเปลี่ยนแปลงใหม่ให้ดำเนินการดังนี้.
หากจะจัดการศพผิดไปจากที่ได้เคยแจ้งไว้ โดยมิได้ย้ายศพไปต่างท้องที่ ให้ผู้แจ้งดำเนินการดังนี้.
- ผู้แจ้งต้องนำมรณบัตร ตอนที่ 1 ไปแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง แห่งท้องที่ที่ศพนั้นตั้งอยู่
- นายทะเบียนผู้รับแจ้งจะสอบถามแล้วบันทึกการเปลี่ยนแปลงจากการเก็บ ฝังหรือเผา เป็นการเก็บ ฝังหรือเผา ที่วัดใด เมื่อใดไว้ด้านล่างมรณบัตรตอนที่ 1
หากจะทำการย้ายศพเพื่อจะไปเก็บ หรือฝังในสถานที่อื่น ๆ ซึ่งมิใช่สถานที่เดิมที่แจ้งไว้ในกรณีนี้ต้องดำเนินการดังนี้.
- ผู้แจ้งต้องนำมรณบัตรตอนที่ 1 ไปแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่
- นายทะเบียนผู้รับแจ้งสอบถามแล้วบันทึกการเปลี่ยนแปลงการอนุญาตให้ เก็บฝังจากสถานที่ใดไปสถานที่ใดเมื่อใด
- ผู้แจ้งต้องนำมรณบัตร ตอนที่ 1 ดังกล่าวไปแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่จะย้ายศพเข้าไปดำเนินการใหม่เพื่อให้นาย ทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ใหม่ได้สอบสวน และบันทึกการอนุญาตไว้ด้านล่าง มรณบัตร ตอนที่ 1 นั้น
- ถ้าเป็นกรณีที่มีข้อความอนุญาตหลายครั้งในฉบับเดียวกันให้ถือข้อความอนุญาตครั้งหลังสุดเป็นหลัก

การขอแก้ไขรายการในมรณบัตร 
- ให้ยื่นคำร้องขอแก้ไขต่อนายทะเบียนที่ผู้ร้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน


การย้ายที่อยู่ ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายที่อยู่ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง (พิจารณาจากทะเบียนบ้านว่าได้มีการระบุให้ผู้ใดเป็นเจ้าบ้าน) ผู้อยู่ในบ้านย้ายที่อยู่ออกจากบ้าน ให้แจ้งการย้ายออกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้อยู่ในบ้านย้ายออก หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การย้ายออก
กรณีเจ้าบ้านมาดำเนินการด้วยตนเอง
- บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน (หรือบัตรประจำตัวข้าราชการฯ หนักงานองค์การของรัฐ)
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
กรณีได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน 
- ผู้ได้รับมอบหมายมีชื่อในทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัว หรือสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวของเจ้าบ้านในฐานะผู้มอบหมายและให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ในสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวฯ
- บัตรประจำตัวผู้แจ้งในฐานะผู้ที่ได้รับมอบหมาย
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
ผู้ที่ได้รับมอบหมายไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
- นอกจากหลักฐานตามข้อ 1. แล้วจะต้องมีหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (ไม่มีแบบพิมพ์) ปรากฎข้อความชัดเจนว่าได้มอบหมายให้มาแจ้งย้ายที่อยู่แทน

การแจ้งย้ายออกโดยไม่ทราบที่อยู่ (ย้ายเข้าทะเบียนบ้านกลางของเขต)
เจ้าบ้านไม่ทราบว่าผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเป็นใครหรือไปอยู่ที่ใด ให้แจ้งการย้ายออกภายใน 30 วัน นับแต่วันครบ 180 วันโดยไม่ทราบที่อยู่ โดยใช้หลักฐาน
- บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- บัตรประจำตัวหรือสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
-ในฐานะผู้มอบหมายและให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ในสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวและบัตรประจำตัวผู้แจ้ง กรณีได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้านให้มาดำเนินการแทน

การย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง
ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านถูกย้ายโดยไม่ทราบที่อยู่ (ถูกย้ายเข้าทะเบียนบ้านกลาง) ประสงค์ที่จะย้ายออก (ทะเบียนบ้านกลางมิใช่ทะเบียนบ้านแต่เป็นทะเบียน ที่ใช้สำหรับลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียน บ้านได้ บุคคลที่มีรายการในทะเบียนบ้านกลางไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคัดและให้นายทะเบียนรับรองสำเนารายการ เพื่อนำไปอ้างอิงหรือใช้สิทธิต่าง ๆ เหมือนทะเบียนบ้านได้)
กรณีผู้ร้อง (เจ้าตัว) มาดำเนินการเอง 
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการฯ หรือ พนักงานองค์การของรัฐ
- ถ้าบัตรประจำตัวประชาชนหาย ต้องมีใบแจ้งความและคัดสำเนาแจ้งความพร้อมทั้งหลักฐานอื่นที่มีรูปถ่ายมาแสดงด้วยอย่างใดอย่าง หนึ่ง เช่น
- ใบสุทธิ หรือใบ ร.บ. หรือปริญญาบัตร
- ใบอนุญาตขับขี่ฯ
- บัตรประจำตัวนักเรียน นิสิต นักศึกษา
- ส.ด.8, ส.ด.43
- หนังสือเดินทาง
กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นมาดำเนินการย้าย
- หนังสือมอบหมายของผู้ประสงค์จะขอย้ายออก
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสงค์จะขอย้ายออก
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับมอบหมายให้มาดำเนินการย้ายออก

กรณีย้ายบุคคลที่ไม่บรรลุนิติภาวะ 
- สูติบัตร
- บิดา หรือมารดาจะต้องเป็นผู้ดำเนินการขอย้ายเองพร้อมทั้งต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนมาแสดงด้วย
-กรณีไม่ปรากฏตามที่กล่าว ต้องดำเนินการสอบปากคำผู้มาแจ้งย้ายด้วย
- กรณีบุคคลต่างด้าวขอย้ายออกจะต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมาแสดง

การย้ายออกของบุคคลที่เดินทางไปต่างประเทศ
- เช่นเดียวกับการย้ายออก กรณีที่บุคคลเดินทางกลับจากต่างประเทศ - ผู้ย้ายที่อยู่ไปต่างประเทศตามระเบียบเดิมได้นำใบแจ้งการย้ายที่ อยู่มาขอย้ายเข้า นายทะเบียนจะดำเนินการเพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้านที่ประสงค์จะย้ายเข้า หากเป็นใบแจ้งย้ายมีรหัสประจำตัว ประชาชนแล้ว นำใบแจ้งย้ายไปแจ้งย้ายเข้าในทะเบียนบ้านที่ประสงค์จะย้ายเข้าที่สำนักทะเบียนใดก็ได้ และหากเป็นใบแจ้งย้ายแบบเดิมที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน จะดำเนินการเพิ่มชื่อกรณีการใช้หลักฐานใบแจ้งย้ายที่อยู่แบบเดิม
- บัตรประจำตัว (ถ้ามี)
- หนังสือเดินทางที่มีตราประทับลงตราวีซ่าเข้ามาในประเทศไทย
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ย้ายไปต่างประเทศตามระเบียบเดิม) หากสูญหายจะต้องแจ้งความและคัดสำเนาแจ้งความเพื่อขอออกใบแทนใบ แจ้งย้ายและเพิ่มชื่อให้ กรณีเช่นนี้จะต้องมีการสอบปากคำเจ้าบ้านและผู้ร้อง

การย้ายเข้า 
- ผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าภายใน 15 วันนับแต่วันที่ย้ายเข้าอยู่ในบ้าน หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

กรณีเจ้าบ้านมาดำเนินการด้วยตนเอง 
- บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอนที่ 1 และ 2
กรณีได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
ผู้ได้รับมอบหมายมีชื่อในทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัว หรือสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวของเจ้าบ้านในฐานะผู้มอบหมายและให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ในสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัว
- บัตรประจำตัวผู้แจ้งในฐานะผู้ได้รับมอบหมาย
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอนที่ 1 และ 2
- ให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอน 1 และ 2 ตรงช่องเจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้า
ผู้ได้รับมอบหมายไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
- นอกจากหลักฐานตามข้อ 1 แล้ว จะต้องมีหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (ไม่มีแบบพิมพ์) ให้ปรากฏข้อความชัดเจนว่าได้มอบหมายให้มาแจ้งย้ายที่อยู่แทน

การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง
กฎหมายกำหนดให้ผู้ย้ายที่อยู่เป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ย้ายที่อยู่ หากมอบหมายแจ้งย้ายปลายทางจะต้องมี หนังสือมอบหมาย ปรากฎข้อความชัดเจนว่าบุคคลใดได้มอบหมายให้มาแจ้งการย้ายที่อยู่ปลายทางแทน และมอบหมายให้ย้ายที่อยู่บุคคลใดบ้าง ย้ายเข้าบ้านเลขที่ใด
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง 
- บัตรประจำตัวของผู้ประสงค์จะย้ายปลายทาง
- บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- คำยินยอมของเจ้าบ้านเป็นหนังสือ
-เ สียค่าธรรมเนียม 5 บาท

ใบแจ้งการย้ายที่อยู่สูญหายหรือชำรุดในสาระสำคัญ
กรณีสูญหาย ให้ผู้แจ้งดำเนินการแจ้งความและคัดสำเนาแจ้งความ กรณีชำรุด ผู้แจ้งจะต้องนำใบแจ้งการย้ายที่ชำรุดมาคืนด้วย หลักฐานประกอบการแจ้ง ได้แก่ บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง และสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

หมายเหตุ
การติดต่อฝ่ายทะเบียนทุกครั้ง อย่าลืม "สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน"





ที่มา ::   http://www.lawyerthai.com/articles/people/009.php


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น