Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การทำบัตรประชาชน

การทำบัตรประชาชน






คุณสมบัติของบุคคลที่ต้องทำบัตร

 ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามบทบัญญัติมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 ผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร ซึ่งมีบัตรประจำตัวตามกฎหมายอื่น ให้ใช้บัตรประจำตัวนั้นแทน บัตรประจำตัวประชาชน แต่หากประสงค์จะขอมีบัตร (รวมทั้งผู้ซึ่งมีอายุเกินเจ็ดสิบปี) ก็สามารถทำได้และ ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายกำหนดและสามารถดำเนินการได้ทุกสำนักทะเบียนทั่วประเทศ

1. การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก              (เสียงบรรยายประกอบ) 
 ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน โดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันที่มีอายุ ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ หรือนับแต่วันที่ได้สัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาต หรือนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ได้สัญชาติไทย หรือนับแต่วันที่นายทะเบียนเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร หรือนับแต่วันที่พ้นสภาพจากการได้รับการยกเว้น แล้วแต่กรณี หากพ้นกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

1.1 หลักฐานเอกสารที่ต้องนำไปแสดง 
1.1.1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14)
1.1.2 สูติบัตรหรือหลักฐานเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เช่น ใบสุทธิ สำเนาทะเบียนนักเรียน เป็นต้น
1.1.3 หากไม่มีหลักฐานตามข้อ 2.1.2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ไปให้การรับรองด้วย
1.1.4 กรณีบิดาและมารดาเป็นบุคคลต่างด้าว ให้นำใบสำคัญประจำตัวบุคคลต่างด้าวของบิดาและมารดา มาแสดง ถ้าบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่กรรม ให้นำใบมรณบัตรไปแสดงด้วย 1.2 การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรกดังกล่าวนี้ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการทำบัตรแต่อย่างใด

2. กรณีบัตรเดิมหมดอายุ              (เสียงบรรยายประกอบ) 
 บัตรมีอายุใช้ได้หกปี
 เมื่อบัตรเดิมหมดอายุต้องมีบัตรใหม่ โดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันที่ บัตรเดิมหมดอายุ หากพ้นกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการทำ บัตรแต่อย่างใด

** การทำบัตรก่อนบัตรเดิมหมดอายุ ** หากผู้ถือบัตรมีความประสงค์จะทำบัตรก่อนวันที่บัตรเดิมจะหมดอายุ สามารถทำได้ภายในหกสิบวัน ก่อนวันที่บัตรเดิมจะหมดอายุ และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการทำบัตรแต่อย่างใด

2.1 หลักฐานเอกสารที่ต้องนำไปแสดง 
2.1.1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14)
2.1.2 บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ

3. กรณีบัตรหายหรือบัตรถูกทำลาย              (เสียงบรรยายประกอบ) 
 เมื่อบัตรหายหรือบัตรถูกทำลายให้แจ้งบัตรหาย หรือบัตรถูกทำลายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สำนักทะเบียน ที่ประสงค์จะทำบัตร โดยไม่ต้องไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และต้องยื่นคำขอมีบัตรใหม่ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหายหรือถูกทำลาย หากพ้นกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท

3.1 หลักฐานเอกสารที่ต้องนำไปแสดง 
3.1.1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14)
3.1.2 หลักฐานเอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่และเป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้อย่างใดอย่างหนึ่ง (ถ้ามี) เช่น ใบอนุญาตขับรถ ใบสุทธิ สำเนาทะเบียนนักเรียน หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น
3.1.3 หากไม่มีหลักฐานตามข้อ 3.1.2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ไปให้การรับรอง

3.2 การทำบัตรใหม่กรณีบัตรหายหรือบัตรถูกทำลาย ต้องเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท

4. กรณีบัตรชำรุดในสาระสำคัญ 
 เมื่อบัตรชำรุดในสาระสำคัญ เช่น ไฟไหม้บางส่วน ถูกน้ำเลอะเลือน ต้องขอเปลี่ยนบัตรโดยยื่นคำขอเปลี่ยนบัตร ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันที่บัตรชำรุดในสาระสำคัญ หากพ้นกำหนดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองร้อยบาท

4.1 หลักฐานเอกสารที่ต้องนำไปแสดง 
4.1.1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14)
4.1.2 บัตรเดิมที่ชำรุด
4.1.3 หากบัตรชำรุดจนไม่สามารถพิสูจน์ตัวบุคคล หรือรายการในบัตรได้ ให้นำเอกสารซึ่งมีรูปถ่ายที่ทางราชการ ออกให้อย่างใดอย่างหนึ่ง (ถ้ามี) เช่น ใบอนุญาตขับรถ ใบสุทธิ หรือสำเนาทะเบียนนักเรียน หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น
4.1.4 หากไม่มีหลักฐานตามข้อ 4.1.3 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ไปให้การรับรอง

4.2 การเปลี่ยนบัตรกรณีบัตรเดิมชำรุด ต้องเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท

5. กรณีเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล              (เสียงบรรยายประกอบ) 
 เมื่อเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อสกุล ผู้ถือบัตรต้องขอเปลี่ยนบัตรโดยยื่นคำขอเปลี่ยนบัตร ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันที่แก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล หรือชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้าน หากพ้นกำหนดจะต้องระวางโทษไม่เกินสองร้อยบาท

5.1 หลักฐานเอกสารที่ต้องนำแสดง 
5.1.1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14)
5.1.2 บัตรเดิม
5.1.3 หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือชื่อตัวและชื่อสกุล แล้วแต่กรณี

5.2 การเปลี่ยนบัตรกรณีเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล ต้องเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท

6. กรณีบุคคลได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรขอมีบัตรประจำตัวประชาชน                  (เสียงบรรยายประกอบ) 
 ผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน เช่น ภิกษุ สามเณร ผู้ที่อยู่ในที่คุมขัง โดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ฯลฯ จะขอมีบัตรก็ได้

6.1 หลักฐานเอกสารที่ต้องนำไปแสดง 
6.1.1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14)
6.1.2 หลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน

6.2 บุคคลได้รับการยกเว้น ไม่ต้องมีบัตรขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ต้องเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท

6.3 กรณีเป็นภิกษุ สมเณร จะต้องแจ้งย้ายที่อยู่ เข้าทะเบียนบ้านของวัดและแก้ไขคำนำหน้านาม หรือ วงเล็บชื่อต่อท้ายสมณศักดิ์ก่อน

7. กรณีผู้ถือบัตรย้ายที่อยู่ 
 ผู้ถือบัตรผู้ใดย้ายที่อยู่จะขอเปลี่ยนบัตรก็ได้ (ตามความสมัครใจ) หากไม่ขอเปลี่ยนบัตรก็สามารถใช้บัตร ประจำตัวประชาชนนั้นได้ จนกว่าบัตรจะหมดอายุ

7.1 หลักฐานเอกสารที่ต้องนำไปแสดง 
7.1.1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14)
7.1.2 บัตรประจำตัวประชาชนเดิม

7.2 การขอเปลี่ยนบัตรกรณีย้ายที่อยู่ ต้องเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท

8.ระบบการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนด้วยระบบอัตโนมัติทุกสำนักทะเบียนทั่วประเทศ จะเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมและค่าปรับ โดยเป็นการพิมพ์ใบเสร็จรับเงินจากคอมพิวเตอร์ได้ทันที่

9. การขอตรวจหลักฐานหรือคัดสำเนารายการเกี่ยวกับบัตร 
 เอกสารหลักฐานรายการเกี่ยวกับบัตรมีอายุเก็บรักษาไม่น้อยกว่า 6 - 18 ปี ผู้ถือบัตรและผู้มีส่วนได้เสีย สามารถขอตรวจหลักฐานหรือคัดสำเนารายการบัตรเดิมจากฐานข้อมูลทะเบียนบัตรจากระบบคอมพิวเตอร์ ณ สถานที่ดังนี้
(1) ที่ทำการปกครองจังหวัด ศาลากลางจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ
(2) สำนักทะเบียนที่ออกบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทุกแห่ง
 การตรวจสอบข้อมูลทะเบียนบัตร สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ตั้งแต่ข้อมูลปี 2531 ถึงปัจจุบันและข้อมูล ทะเบียนบัตรตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา จะมีภาพถ่ายใบหน้าของผู้ขอมีบัตรปรากฎอยู่ด้วย ในกรณีที่ไม่สามารถ ตรวจค้นได้จากระบบคอมพิวเตอร์ สามารถขอตรวจสอบหรือคัดสำเนาหลักฐานการทำบัตรจากระบบไมโครฟิล์ม คำขอมีบัตรและฟิล์มรูปถ่ายได้ที่ หน่วยบริการข้อมูล สำนักบริหารการทะเบียน ถนนนครสวรรค์ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทรศัพท์ 0-2629-9125 ถึง 41 ต่อ 1101 - 2 ในวันและเวลาราชการ การขอตรวจหลักฐาน หรือคัดสำเนา หรือคัดและรับรองสำเนารายการเกี่ยวกับบัตรต้องเสียค่าธรรมเนียม ฉบับละ 20 บาท หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชนให้โทรศัพท์สอบถาม " ศูนย์บริการตอบปัญหา งานทะเบียนและบัตรทางโทรศัพท์ ที่หมายเลขโทร 1548 " หรือทาง INTERNET ที่ http://www.dopa.go.th. หรือ KHONTHAI.COM ( ปรับปรุงแก้ไข ตามคู่มือปฏิบัติงานบัตรประจำตัวประชาชน ส่วนบัตรประจำตัวประชาชน พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2543 งานระเบียบกฎหมาย สบป.สน.บท. 19 ธันวาคม 2544 )


- การขอมีบัตรกรณีอื่น ๆ

- การขอมีบัตรของบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัว(เสียงบรรยายประกอบ)

- คนพิการกับการทำบัตรประจำตัวประชาชน              (เสียงบรรยายประกอบ)

- พระภิกษุ สามเณรสึกแล้วต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน              (เสียงบรรยายประกอบ)

- การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนใหม่กรณีย้ายทะเบียนบ้าน              (เสียงบรรยายประกอบ)

- บัตรประจำตัวประชาชนตลอดชีพ                  (เสียงบรรยายประกอบ)

- ไม่มี วัน เดือน เกิดขอทำบัตรประตัวประชาชน                  (เสียงบรรยายประกอบ)

- บุคคลที่มีแต่ชื่อตัว ไม่มีชื่อสกุลจะทำบัตรประจำตัวประชาชน              (เสียงบรรยายประกอบ)

- รายการศาสนา และหมู่โลหิตในบัตรประจำตัวประชาชน              (เสียงบรรยายประกอบ)

- การขอคัดสำเนารายการเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน              (เสียงบรรยายประกอบ)

- ความผิดตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน              (เสียงบรรยายประกอบ)

- บัตรประจำตัวประชาชนหมดอายุใช้ไม่ได้แล้ว                  (เสียงบรรยายประกอบ)

ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ http://stat.bora.dopa.go.th/callcenter1548/index.php









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น