'ไซยาไนด์'คือ? ธรรมชาติมีในพืช แต่ทำไมถึงตายเสี้ยวนาที
ไซยาไนด์ คือ
สารกลุ่ม “ไซยาไนด์” (Cyanide) ที่ควรรู้จักมี 2 ตัว คือ
1.ของแข็ง เกลือไซยาไนด์ ซึ่งเป็นโซเดียมไซยาไนด์ หรือโพแทสเซียม ไซยาไนด์
2.สถานะเป็นก๊าซคือ ไฮโดรเจน ไซยาไนด์ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาเมื่อเอากรด เช่น กรดเกลือ หรือกรดกำมะถัน ผสมกับเกลือไซยาไนด์
ไซยาไนด์ จัดเป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 3 ตามพ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ชนิดที่ 3 โดยมิได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประโยชน์ไซยาไนด์
ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตไนลอน โดยเฉพาะยาฆ่าแมลง ยังใช้เพื่อสังเคราะห์สารเคมีอื่นๆ ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ขณะที่ในเหมืองทองมีการใช้ไซยาไนด์ในกระบวนการสกัดทอง เป็นต้น เกลือไซยาไนด์ละลายน้ำได้ดี ส่วนก๊าซก็ละลายในน้ำได้ดีเช่นกัน ไวต่อปฏิกิริยากับตัวออกซิไดซ์ อาจระเบิดได้เมื่อถูกความร้อนหรือเปลวไฟ สำหรับชื่ออื่นของก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ ที่ใช้เรียกกันก็มี กรดไฮโดรไซยาไนด์ และกรด ปรัสซิก เป็นต้น
ไซยาไนด์ในพืช
ไซยาไนด์ ที่พบในพืช เป็นสารประกอบที่มีความเป็นพิษที่พบตามธรรมชาติในพืชบางชนิด อาทิ มันสำปะหลัง สบู่ดำ หน่อไม้สด ถั่วลิมา อัลมอนด์ชนิดขม
- มันสำปะหลัง หากรับประทานมันสำปะหลังดิบ ในส่วนหัว ราก ใบ จะมีพิษทำให้ถึงตายได้ มีฤทธิ์ต่อระบบหัวใจ และทางเดินโลหิต ทำให้ออกซิเจนเข้าสู่เซลล์สมองน้อยลง ถ้ากินพืชที่มีสารนี้สดๆ จะอาเจียน หายใจขัด ชักกระตุก กล้ามเนื้อไม่มีแรง หายใจลำบาก อาการรุนแรงมาก ลมหายใจมีกลิ่นไซยาไนด์ ทำให้เสียชีวิตได้ พบอาการพิษแบบฉับพลันคือ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ปวดท้อง อาเจียน และอุจจาระร่วง
การเตรียมปรุงจะเอาผิวเปลือกออก ควร บด ขูด ก่อนปรุงแล้วพิษจะออกไป การต้มโดยเฉพาะรากควรนำมาต้ม 30 – 40 นาที แล้วทิ้งน้ำที่ต้ม ถ้าเป็นใบให้ต้มมากกว่า 10 นาที ถ้าใบแก่ให้ต้มนานกว่านี้
- หน่อไม้สด ควรหลีกเลี่ยงการกินหน่อไม้ดิบหรือหน่อไม้ที่ยังปรุงไม่สุกเพราะหน่อไม้ดิบมีสารซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์มีพิษต่อร่างกาย และทำให้เกิดอันตรายกับร่างกายได้ ซึ่งกลไกของร่างกายหากรับในปริมาณที่น้อยก็สามารถขับออกมาได้ทางปัสสาวะได้ แต่ถ้าได้รับในปริมาณมาก อาจเข้าไปจับตัวกับสารในเม็ดเลือดแดงแทนที่ออกซิเจนจะทำให้เกิดอาการขาดออกซิเจน หมดสติและเสียชีวิต
ข้อแนะนำในการต้มหน่อไม้ ไม่ว่าจะเป็นหน่อไม้ดองหรือหน่อไม้ปี๊บ โดยเฉพาะหน่อไม้สด ควรต้มน้ำให้เดือดอย่างน้อย 10 นาที ลดไซยาไนด์ได้ 90.5%
หน่อไม้สดถ้ากินพืชที่มีสารนี้สดๆ จะอาเจียน หายใจขัด ชักกระตุก กล้ามเนื้อไม่มีแรง หายใจลำบาก อาการรุนแรงมาก ลมหายใจมีกลิ่นไซยาไนด์ ทำให้เสียชีวิตได้ พบอาการพิษแบบฉับพลัน คือ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ปวดท้อง อาเจียน และอุจจาระร่วง
อย่างไรก็ตาม หากมีการล้างให้สะอาด และปรุงสุกผ่านความร้อน ไม่ว่าจะเป็นการต้ม อบ หรือ ทอด เผา อบแห้ง ก็สามารถบริโภคได้ตามปกติ
สบู่ดำ
อาการพิษไซยาไนด์
ภาวะ cyanide poisoning เกิดจากการสูดดมก๊าซไซยาไนด์ หรือรับประทานสารละลายของไซยาไนด์ อาการเป็นพิษจากไซยาไนด์จะปรากฏให้เห็นในเวลาเป็นนาทีหรือภายใน 1 ชั่วโมงเป็นอย่างช้าหลังได้รับสารพิษ ผู้ป่วยจะหมดสติหรือชัก และตามมาด้วยภาวะช็อก และเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วหลังจากได้รับไซยาไนด์
อาการของพิษเฉียบพลันของไซยาไนด์ คือ หายใจติดขัด ชัก และหมดสติ อวัยวะที่ถูกกระทบคือ ระบบประสาทส่วนกลาง ตับ ไต และระบบหัวใจ
อาการไม่รุนแรง
- กล้ามเนื้อล้า แขนขารู้สึกหนัก
- หายใจลำบาก
- ปวดหัว รู้สึกมึนงง วิงเวียน
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ลมหายใจมีกลิ่นอัลมอนด์จางๆ
- รู้สึกระคายเคือง คันบริเวณจมูก คอ และปาก
อาการรุนแรง
- คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง
- หายใจลำบาก
- ชักหมดสติ
- เสียชีวิตภายใน 10 นาที
การรับมือเมื่อสัมผัสไซยาไนด์
- สัมผัสทางผิวหนัง ให้ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนออกด้วยการใช้กรรไกรตัดเสื้อผ้าออกเป็นชิ้นๆ และนำออกจากลำตัว ทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำ และสบู่เพื่อลดปริมาณสารพิษให้ได้มากที่สุด ก่อนรีบนำส่งโรงพยาบาล
- สูดดม และรับประทาน ควรออกจากพื้นที่บริเวณนั้น หากไม่สามารถออกจากสถานที่ได้ควรก้มต่ำลงบนพื้น ในกรณีที่ผู้ป่วยหายใจลำบากหรือหยุดหายใจ ต้องทำ CPR เพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้น และรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล แต่ห้ามใช้วิธีเป่าปากหรือวิธีผายปอดเพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับพิษ
- สัมผัสทางดวงตา ควรถอดแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ออก ใช้น้ำสะอาดล้างตาต่อเนื่องกันอย่างน้อย 10 นาที และไปโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจ
จี้คุมเข้มไซยาไนด์
ศ.นพ.วินัย วนานุกูล หัวหน้าศูนย์พิษวิทยาและหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ไซยาไนด์ เป็นสารหรือของเหลวที่มีอันตรายสูง จะออกฤทธิ์ค่อนข้างเร็ว ทำให้หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ช็อกภายในเวลานับเป็นนาที และเสียชีวิต โดยที่ไม่รู้ตัวว่าได้รับเข้าสู่ร่างกาย
หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ขอให้ตั้งข้อสงสัยว่าน่าจะได้รับไซยาไนด์เข้าไป แล้วรีบพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ซึ่งมีการสำรองยาต้านพิษเอาไว้ในโรงพยาบาลทุกจังหวัด ทั่วประเทศ
รูปแบบไหนอันตรายต่อชีวิต?
สารเคมีชนิดนี้มีรูปแบบที่หลากหลายทั้งในรูปแบบของแข็ง ของเหลว และแก๊ส โดยในแต่ละชนิดนั้นจะมีแหล่งที่มารวมถึงคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปดังนี้
- Sodium cyanide (NaCN)
รูปแบบนี้จะเป็นของแข็งที่มีสีขาว อาจอยู่ในรูปแบบที่ผลึก แท่ง หรือผง โดยพบได้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ใช้ในการเคลือบเงาหรือเคลือบสีเหล็ก และเป็นส่วนประกอบในยาฆ่าแมลง สามารถเข้าสู่ร่างกายจากการสัมผัสบริเวณปากแผล การสูดดม หากรับประทานเข้าไปอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลย
- Potassium cyanide (KCN)
มีลักษณะเป็นก้อนผลึกหรือผงสีขาว เมื่อเป็นของเหลวจะใสแบบไม่มีสี กลิ่นจะคล้ายกับอัลมอนด์ มักจะนำมาใช้ในการสกัดแร่อย่างเช่น ทองหรือเงิน และยังพบได้ในยาฆ่าแมลง เมื่อสารเคมีรูปแบบนี้จะเจอกับความร้อนจะทำให้เกิดควันพิษ หากได้เข้าสู่ร่างกายแล้วอาจไปรบกวนการทำงานของอวัยวะภายในจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
- Hydrogen cyanide (HCN)
มักมาในรูปแบบของเหลวหรือแก๊สที่ไม่มีสี พบในควันจากท่อไอเสีย ควันบุหรี่ และควันจากโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อมีการสูดดมเข้าไปอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาทส่วนกลาง รวมไปถึงยังอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองตามผิวหนัง และดวงตาค่ะ
- Cyanogen chloride (CNCI)
รูปแบบนี้จะมีลักษณะเป็นของเหลวหรือแก๊สที่ไม่มีสี แต่มีกลิ่นฉุน และเป็นพิษอย่างรุนแรงเมื่อเผาไหม้ ทำให้เกิดการระคายเคืองเมื่อมีการสูดดมเข้าไปนั่นเอง
ความอันตรายของ ไซยาไนด์
เมื่อสารเคมีตัวนี้เข้าไปสู่ร่างกายแล้วจะทำให้เกิดอาการดังนี้
- ระคายเคืองบริเวณที่สัมผัสอย่างผิวหนังหรือดวงตา
- ร่างกายอ่อนแรง
- เวียนศีรษะ
- คลื่นไส้
- หายใจติดขัด
- หมดสติ
- หัวใจหยุดเต้น
โดยความรุนแรงของอาการเหล่านี้ขึ้นอยู่กับชนิดของสารเคมีว่ามีปริมาณ และระยะเวลาในการได้รับเท่าไหร่
ผลกระทบจากการรับสารเคมี แบ่งได้ 2 ประเภท
เป็นอาการที่พบได้ยากมากๆ โดยเกิดขึ้นได้ทันที สำหรับอาการอย่างเช่น หายใจติดขัด เลือดไหลเวียนผิดปกติ ภาวะหัวใจหยุดเต้น สมองบวม ชัก และหมดสติ เป็นต้น
เกิดจากการได้รับในปริมาณที่เล็กน้อยแต่ได้รับอย่างต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน อาการเบื้องต้นอย่างเช่น ปวดศีรษะ ง่วงซึม คลื่นไส้ อาเจียน มีผื่นแดง นอกจากนี้ยังมีอาการที่ตามมาอีกคือ รูม่านตาขยาย ตัวเย็น อ่อนแรง หายใจช้า เป็นต้น หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้หัวใจหยุดเต้นหรือเต้นผิดปกติได้ ผิวหนังบริเวณใบหน้า และแขนขากลายเป็นสีม่วง โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด
รับมืออย่างไรหากสัมผัส
สารเคมีชนิดนี้เป็นสารที่อันตราย หากสัมผัสกับสารเคมีนี้จะต้องรีบทำการลดหรือหาวิธีแก้ไขอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ปริมาณสารลดลงให้ได้มากที่สุด สำหรับวิธีการรับมือมีดังนี้
- การสัมผัสทางผิวหนัง ถ้าหากร่างกายได้สัมผัสกับสารเคมีตัวนี้ ให้ทำการถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนออกด้วยการใช้กรรไกรตัดเสื้อออกเป็นชิ้นๆ เลยนะคะ และนำออกจากลำตัว โดยเสื้อผ้าที่มีการปนเปื้อนนั้นจะต้องไม่โดนผิวหนังเราเพิ่มเติมหรือไปสัมผัสผิวหนังในส่วนอื่นๆ อย่าง ศีรษะ และไม่ควรให้ผู้อื่นสัมผัสร่างกายหรือเสื้อผ้าของเราโดยตรง เพราะอาจทำให้คนๆ นั้นได้รับสารเคมีตัวนี้ไปด้วย และหลังจากที่นำเสื้อผ้าออกไปแล้วให้ทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำและสบู่ เพื่อเป็นการลดปริมาณสารเคมี แล้วจึงรีบไปโรงพยาบาลนะคะ
- การสูดดมและรับประทาน หากมีการสูดดมอากาศที่มีสารเคมีตัวนี้ปนเปื้อนอยู่ ควรนำตัวเองออกจากพื้นที่บริเวณนั้นๆ โดยเร็ว แต่ถ้าหากไม่สามารถออกมาจากสถานที่นั้นได้ให้ทำการก้มต่ำลงบนพื้น ในกรณีที่หายใจลำบากหรือหยุดหายใจ ต้องทำ CPR เพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้น และรีบนำตัวไปส่งโรงพยาบาลค่ะ
ข้อห้าม : ห้ามใช้วิธีเป่าปากหรือวิธีผายปอด เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับสารเคมี
- การสัมผัสทางดวงตา เมื่อสัมผัสโดนดวงตาให้รีบถอดแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ออก หลังจากนั้นให้ใช้น้ำสะอาดล้างตาอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยเป็นเวลา 10 นาที และนำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการรับการตรวจ
หลีกเลี่ยงการสัมผัส?
การหลีกเลี่ยงหรือการลดโอกาสที่จะได้รับสารเคมีตัวนี้ มีดังนี้
- งดสูบบุหรี่
- เก็บภาชนะที่บรรจุสารเคมีภายในบ้านให้มิดชิดและเหมาะสม
- ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมี ควรใช้ภาชนะรองรับสารเคมีที่มีขนาดเล็กที่สุด อาจจะช่วยให้ได้รับสารเคมีน้อยลง รวมถึงลดโอกาสที่จะสัมผัส และการสูดดมลดลงอีกด้วย
- ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมี ไม่ควรนำเสื้อผ้าหรืออุปกรณ์ที่อาจจะมีสารปนเปื้อนออกนอกสถานที่ทำงานหรือการนำกลับบ้าน
- ติดตั้งเครื่องดับจับควัน เนื่องจากสารเคมีอาจมาในรูปแบบของควันได้ค่ะ
- สวมอุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งเมื่อต้องทำงานกับสารเคมีหรือต้องเข้าไปในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนของสารเคมี
- ผู้ที่มีความเสี่ยงได้รับสารพิษสูงอย่างเช่น เกษตรกร ช่างเหล็ก ช่างทอง พลังงานที่อยู่ในกระบวนการผลิตกระดาษ สิ่งทอ ยาง และพลาสติก ผู้ที่ทำงานกำจัดแมลง เป็นต้น แนะนำให้ไปพบแพทย์และเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำด้วยนะคะ
ขอบคุณข้อมูล : POBPAD , ศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี , กรมควบคุมโรค, กรมอนามัย