รวมทุกเรื่อง"โรคหัวใจ" ไม่อยากเจ็บ(หัว)ใจรู้ไว้ดีกว่า
โรคหัวใจ(Heart Disease) (Heart Disease) (Heart Disease) (Heart Disease) (Heart Disease) (Heart Disease) (Heart Disease) (Heart Disease) หนึ่งในโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยเป็นอันดับ1 ของโลกซึ่งมีคนจานวนไม่น้อยที่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจและมีคนอีกเป็นจานวนมากที่คิดไปว่าอาการที่ตัวเองเป็นอยู่บ่อยๆเป็นอาการของโรคปกติทั่วไปที่ไม่ร้ายแรงแต่แท้จริงแล้วคุณอาจกาลังเป็นโรคหัวใจอยู่ก็ได้ซึ่งโรคนี้ยังเป็นโรคที่หลายคนมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นสูงเนื่องจากปัจจัยหรือสาเหตุในการเกิดโรคหัวใจมีมากมายวันนี้เราได้รวบรวมทุกเรื่องเกี่ยวกับ"โรคหัวใจ" ที่ควรรู้มาฝากครับ
ที่มาของข้อมูล :: pobpad.com, bumrungrad.sukumvithospital.honestdocs.coโรคหัวใจมีกี่ชนิด?
โรคหัวใจมีหลายชนิดสามารถแบ่งเป็นชนิดใหญ่ๆได้ดังนี้- โรคหลอดเลือดหัวใจ
- โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
- โรคหัวใจพิการแต่กาเนิด
- โรคลิ้นหัวใจ
- โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ
โรคหัวใจแต่ละชนิดมีสาเหตุมาจากอะไร?
- โรคหลอดเลือดหัวใจ: สาเหตุหลักๆมาจากการมีไขมันหรือแคลเซียมสะสมมากเกินไปในหลอดเลือดจนทาให้ขัดขวางทางเดินเลือดส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอนอกจากนี้ยังมักมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงอื่นๆร่วมด้วยเช่นโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงไขมันในหลอดเลือดสูงน้าหนักเกินและสูบบุหรี่
- โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ: สาเหตุเกิดจากการโดนไฟฟ้าช็อตการใช้ยาอาหารเสริมบางชนิดหรือสารเสพติดรวมไปถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนนอกจากนี้อาจเกิดในผู้ป่วยบางรายที่เดิมมีความผิดปกติของหัวใจอยู่แล้วหรือเกิดกับคนทั่วไปที่มีหัวใจปกติก็ได้
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจ: มีสาเหตุต่างกันไปตามความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อหัวใจดังนี้โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาเกิดจากพันธุกรรมและอายุที่มากขึ้นโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมเกิดจากการไหลเวียนของเลือดสู่หัวใจน้อยและโรคกล้ามเนื้อหัวใจถูกบีบรัดเกิดจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันผิดปกติภาวะธาตุเหล็กมากเกิน
- โรคหัวใจพิการแต่กาเนิด: เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือความผิดปกติของการเจริญเติบโตตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาการเติบโตของเนื้อเยื่อที่จะพัฒนาเป็นหัวใจผิดปกติทาให้รูปร่างหัวใจไม่สมบูรณ์
- โรคลิ้นหัวใจ: เกิดขึ้นได้ในผู้ที่มีลิ้นหัวใจผิดปกติหรือทางานบกพร่องมาแต่กาเนิดหรือเป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอื่นๆเช่นไข้รูมาติกเยื่อบุหัวใจอักเสบหรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพันผิดปกติ
- โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ: เกิดจากการติดเชื้อไวรัสแบคทีเรียหรือปรสิตรวมทั้งการทาหัตถการทางการแพทย์การใช้สารเสพติดทาให้เกิดการติดเชื้อที่บริเวณหัวใจ
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคหัวใจชนิดไหน?
- โรคหลอดเลือดหัวใจ: มีอาการเจ็บหรือแน่นหน้าอกร้าวไปตามกรามแขนลาคอท้องหรือบริเวณหลังและบางครั้งอาจมีอาการเหนื่อยอ่อนเพลียไม่มีแรงหรือหมดสติได้
- โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ: หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติอาจเต้นเร็วเกินไปช้าเกินไปหรือเต้นไม่สม่าเสมอบางครั้งอาจแสดงอาการเหนื่อยง่ายแน่นหน้าอกใจสั่นเวียนศีรษะหรือคล้ายจะเป็นลม
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจ: : เหนื่อยง่ายหายใจไม่อิ่มอาการเห็นชัดเจนขึ้นเมื่อต้องออกแรงมากๆในผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดรุนแรงแม้นั่งอยู่เฉยๆก็เหนื่อยมีอาการบวมตามแขนขาหนังตาร่วมกับอาการอ่อนเพลียนอนราบไม่ได้และตื่นขึ้นมาไอในเวลากลางคืน
- โรคหัวใจพิการแต่กาเนิด: ริมฝีปากผิวหนังนิ้วมือและเท้าเป็นสีเทาหรือเขียวเนื่องจากมีเลือดและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอเจ็บหน้าอกหายใจลาบากหายใจเร็วมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจเหนื่อยง่ายในระหว่างและหลังจากออกกาลังกายหรือทากิจกรรมที่ต้องใช้กาลัง
- โรคลิ้นหัวใจ: อาการของโรคขึ้นอยู่กับความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่เกิดขึ้นในกลุ่มที่มีความผิดปกติเพียงเล็กน้อยอาจไม่แสดงอาการใดๆหรืออาจได้ยินเสียงผิดปกติจากการตรวจร่างกายเท่านั้นแต่หากมีความผิดปกติของลิ้นหัวใจมากก็จะมีอาการเหนื่อยง่ายและเกิดภาวะหัวใจวายหรือน้าท่วมปอดได้
- โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ: มีไข้โดยมักจะเป็นไข้เรื้อรังอ่อนเพลียเหนื่อยล้าหัวใจเต้นผิดปกติหายใจหอบเหนื่อยไอเรื้อรังแห้งๆขาหรือช่องท้องบวมรวมถึงมีผื่นหรือจุดขึ้นตามผิวหนัง
แพทย์มีวิธีการวินิจฉัยโรคหัวใจอย่างไร?
- การตรวจด้วยเครื่องสะท้อนความถี่สูง(Echocardiogram: ECHO) : สามารถเรียกได้สั้นๆว่า"การตรวจเอคโค่" เป็นตรวจหัวใจโดยวิธีการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงซึ่งปลอดภัยต่อร่างกายเข้าไปในทรวงอกเพื่อตรวจดูการบีบตัวของหัวใจและการทางานของกล้ามเนื้อหัวใจว่ามีความผิดปกติอย่างไรจากนั้นคลื่นจะสะท้อนกลับมาเป็นข้อมูลซึ่งสามารถนาไปประมวลผลเป็นภาพการทางานของหัวใจต่อไปได้
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG หรือ EKG) : เป็นการตรวจเพื่อทดสอบคลื่นไฟฟ้าและจังหวะการเต้นของหัวใจ โดยแพทย์จะมีการติดแผ่นตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าหรือ "อิเลคโทรด (Electrode)" บนผิวหนังของผู้ป่วย และทำการบันทึกรูปแบบการทำงานของคลื่นไฟฟ้าหัวใจออกมา
- การตรวจสมรรถภายหัวใจด้วยการออกกำลังกาย หรือ สเตรสเทส (Stress test) : เป็นการตรวจเพื่อทดสอบการทำงานของหัวใจว่ามีประสิทธิภาพเพียงใดเมื่อต้องทำงานหนักขึ้น และจะทำให้แพทย์เห็นความผิดปกติของอัตราการเต้นของหัวใจได้ โดยวิธีการตรวจคือ แพทย์จะให้ผู้ป่วยออกกำลัง เช่น วิ่งสายพาน ปั่นจักรยาน จากนั้นแพทย์จะอ่านกราฟการทำงานของหัวใจว่ามีการทำงานอย่างไร
- การเอกซเรย์หน้าอก (Chest X-ray: CXR) : เป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติของรูปร่าง โครงสร้าง หรือตำแหน่งของหัวใจและหลอดเลือดว่ามีความผิดปกติอย่างไร
- การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiology) : เป็นการตรวจหัตถการที่แพทย์จะแปะแผ่นตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าหรืออิเลคโทรดลงไปที่บริเวณหน้าอกของผู้ป่วย จากนั้นจะมีการฉีดยาชาบริเวณขาหนีบ และใส่สายสวนเข้าไปในร่างกายจนถึงบริเวณหัวใจ จนเมื่อหัวใจส่งสัญญาณไฟฟ้ากลับมา แพทย์ก็จะนำข้อมูลจากสัญญาณนั้นไปประเมินต่อไป
โรคหัวใจรักษาได้โดยวิธีใดบ้าง?
กลุ่มไฟฟ้าหัวใจ- การใส่เครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติชนิดผ่าตัดฝังติดตัวผู้ป่วย (Automatic Implantable Cardioverter Defibrillator: AICD)
- การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจและช่วยการบีบตัวหัวใจ (Cardiac Resynchronization Therapy: CRT/CRTD)
- การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker)
- การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูงผ่านสายสวน (Radiofrequency Catheter Ablation of Cardiac
- การขยายหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบผ่านการทำบอลลูนและขดลวด
- การรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm)
- การผ่าตัดซ่อมแซมหลอดเลือดแดงโป่งพองในช่องท้อง
- การผ่าตัดสอดสายสวนเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดโป่งพองในช่องท้อง
- การผ่าตัดสอดสายสวนเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดโป่งพองในทรวงอก
- การรักษาโรคหัวใจแต่กำเนิดโดยการสวนหัวใจ
- การผ่าตัดปิดเส้นเลือด (Ductus Arteriosus)
- การผ่าตัดปิดรูรั่วผนังหัวใจห้องบน / การผ่าตัดปิดรูรั่วผนังหัวใจห้องล่าง
- การผ่าตัดซ่อมหลอดเลือดสำหรับโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่มีความซับซ้อน
- การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ
- การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
- การเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านทางสายสวน (TAVI)
- การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด (Percutaneous Coronary Intervention: PCI)
- การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft: CABG)
ป้องกันตัวเองอย่างไร? ให้ห่างไกลโรคหัวใจ
- ควบคุมระดับความดันโลหิต : ควรตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำอย่างน้อยทุก 1-2 ปี หรือในรายที่มีความดันโลหิตสูงกว่าปกติหรือเคยป่วยเป็นโรคหัวใจมาก่อน แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจบ่อยกว่านั้น โดยระดับความดันปกติควรอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท
- ออกกำลังกายและควบคุมน้ำหนัก : การออกกำลังกายช่วยควบคุมน้ำหนักและโรคเบาหวาน รวมถึงลดระดับคลอเรสเตอรอลและระดับความดันที่สูงลง ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ
- รับประทานอาหารให้ครบถ้วนและสมดุล : เลือกรับประทานผักและผลไม้สดเป็นประจำ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันมาก มีส่วนผสมที่ผ่านการหมักดอง หรือมีรสจัด นอกจากนี้ ยังควรเลือกทานอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง
- ผ่อนคลายความเครียด : ความเครียดมีผลทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น การทำสมาธิ นวดผ่อนคลาย หรือเล่นโยคะก็เป็นวิธีที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด ชะลออัตราการเต้นของหัวใจและลดความดันโลหิตที่อาจเพิ่มสูงขึ้นจากความเครียดได้
- ไม่สูบบุหรี่ : การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคหัวใจ เพราะสารต่างๆ ในบุหรี่ มีผลทำให้หลอดเลือดแข็งตัว เกิดคราบหินปูนเกาะบริเวณหลอดเลือด เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ ทำให้ขาดออกซิเจนและหัวใจวายเฉียบพลันได้
หัวใจไม่ค่อยดี ไม่มีใครคอยเทคแคร์ ให้ฟินชัวรันส์ช่วยดูแล
จะเห็นได้ว่า มีหลายปัจจัยที่ทำให้คุณเสี่ยงเป็นโรคหัวใจโดยไม่รู้ตัว ฉะนั้นควรดูแลตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ และหมั่นคอยเช็คตัวเอง หากรู้สึกผิดปกติและสงสัยว่าตนเองเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ อย่าลังเล ให้รีบไปพบแพทย์ทันที ถ้าจะให้ดี มีประกันสุขภาพติดตัวไว้ดีกว่า อย่างประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย ฟินชัวรันส์ ที่ให้ความคุ้มครองสุขภาพ โรคร้ายแรง สูงสุดถึง 10 ล้านบาทต่อปี พร้อมสิทธิ์รักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกแบบไม่จำกัดจำนวนครั้ง สูงสุดถึง 50,000 บาทต่อปี หากไม่มีใครคอยเทคแคร์ ให้ฟินชัวรันส์ช่วยดูแลสิครับ