Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Heart Attack)

 

รู้จัก รู้ทัน (ป้องกัน) อาการ "ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน"

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หัวใจขาดเลือด


ชวนคนไทยยุคใหม่ หันมาใส่ใจสุขภาพ ทำความรู้จัก "ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน" หรือ "Heart Attack" อาการหัวใจวายเฉียบพลัน ทั้งที่ความจริงแล้วเกิดจากหลอดเลือดหัวใจอุดตัน หรือ ตีบกะทันหัน กล้ามเนื้อหัวใจตายหรือขาดเลือดรุนแรง อาจเสียชีวิตได้ภายใน 1 ชั่วโมง


อีกหนึ่งภัยร้าย ภัยเงียบที่อาจจะเตือนคนรักสุขภาพ ให้หันมาสนใจและเอาใจใส่ต่ออสุขภาพหัวใจมากยิ่งขึ้นกับ "ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน" หรือ "Heart Attack" 


https://youtu.be/Fx0FnmyXj8A



รู้จักภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
Heart Attack หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โดยมีสาเหตุจากการที่หลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลันหรือตีบอย่างรุนแรง กล้ามเนื้อหัวใจจึงไม่บีบตัว เลือดไม่สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายได้ตามปกติ มีอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจตาย หากมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือตกอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวจนทำให้หัวใจหยุดเต้น ดังนั้น การรู้ทันโรคเป็นเรื่องสำคัญเพื่อช่วยป้องกันและลดโอกาสการเสียชีวิต


ใครคือกลุ่มเสี่ยง Heart Attack

  • มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
  • มีภาวะหลอดเลือดหัวใจผิดปกติ
  • มีโรคประจำตัว ได้แก่
  • เบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • ไขมันในเลือดสูง
  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • สูบบุหรี่
  • มีความเครียดสูง
  • มีน้ำหนักเกินเกณฑ์
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน 


รู้ทันอาการและสัญญาณเตือน

  • เหนื่อยง่ายเวลาออกแรง 
  • หายใจไม่เต็มอิ่ม
  • แน่นหน้าอก 
  • จุกหน้าอก 
  • อ่อนเพลีย เช่น เคยขึ้นลงบันไดโดยไม่ต้องพัก กลายเป็นต้องพักระหว่างขึ้นบันได
  • รู้สึกหวิว คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว
  • ปวดร้าวไปแขน ไหล่ จุกใต้ลิ้นปี่
  • ปวดร้าวไปกราม คอหอย หรือแขนด้านในบริเวณสะบักทั้งสองข้าง จะเป็นมากเวลาออกกำลังกายและเครียด
  • แน่นท้องเหมือนมีอะไรมากดทับ คล้ายเป็นกระเพาะอาหาร


 

ตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

การตรวจวินิจฉัยก่อนภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Heart Attack) แพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจจะพิจารณาจากปัจจัยเสี่ยงและกลุ่มอาการเป็นหลัก โดยจะทำการซักประวัติอย่างละเอียด ตรวจร่างกาย ตรวจเลือด เอกซเรย์คลื่นหัวใจ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจหาปริมาณแคลเซียมที่จับอยู่ที่ผนังหลอดเลือด ในผู้ที่อายุน้อยควรตรวจสุขภาพหัวใจทั่วไป ส่วนในผู้ที่อายุมากควรตรวจสุขภาพหัวใจเชิงลึก


ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันโดยตรง เช่น แน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย เป็นลม หน้ามืด ใจสั่น เป็นต้น ถือว่ามีความเสี่ยงสูง ควรต้องเข้ารับการรักษาทันที เพื่อให้รักษาได้ถูกวิธีก่อนสายเกินไป 


การรักษาภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

หากผู้ป่วยมีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Heart Attack) แนะนำให้รีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดที่มีอายุรแพทย์โรคหัวใจที่สามารถทำการขยายบอลลูนได้ มีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อประโยชน์สูงสุดในการรักษา โดยอายุรแพทย์โรคหัวใจจะทำการตรวจวินิจฉัย ตรวจวัดสัญญาณชีพ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจเลือด หากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันแพทย์จะพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือด ทำการสวนหัวใจภายใน 24 – 72 ชั่วโมง โดยทำบอลลูนขยายหลอดเลือดโดยเร็วที่สุด เนื่องจากหากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดนานเกินไป กล้ามเนื้อหัวใจจะตาย ทำให้หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้ ดังนั้นถ้ามีอาการผิดปกติควรเรียกรถพยาบาลให้เร็วที่สุด สามารถโทร 1669 หรือ 1724 ได้ทันที โดยเฉพาะใน 3 ชั่วโมงแรกหลังเกิดอาการ ถ้าถึงมือแพทย์ยิ่งเร็วยิ่งดี เพราะการรักษาจะมีประสิทธิภาพสูงและเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับผู้ป่วย

ป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี 
  • กินอาหารที่ดีต่อร่างกาย เลี่ยงอาหารไขมันสูง ไม่กินอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ เน้นอาหารไขมันต่ำ กินผักผลไม้ที่มีกากใยมาก ปรุงอาหารด้วยการอบ นึ่ง ลวก ย่างแทนการทอด
  • ถ้ามีโรคประจำตัวต้องรับประทานยาให้สม่ำเสมอทั้งที่บ้านและเวลาเดินทาง 
  • จัดการความเครียดให้อยู่หมัด อาทิ นั่งสมาธิ ท่องเที่ยว ฯลฯ เพราะความเครียดทำให้หัวใจทำงานหนัก 
  • ออกกำลังกายวันละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์เพื่อให้เส้นเลือดขยายตัว 
  • นอนหลับพักผ่อนวันละ 6 – 8 ชั่วโมง โดยเฉพาะหลัง 5 ทุ่มไม่ควรทำกิจกรรมอื่น ๆ
  • อย่าเริ่มสูบบุหรี่และเลิกบุหรี่ให้เร็วที่สุด

หากสงสัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอย่ารอ ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว
การดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรงคือสิ่งสำคัญ นอกจากกินให้ดีอยู่ให้ดีแล้ว ควรตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำทุกปีกับแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจ เพื่อดูแลและให้คำแนะนำการป้องกันโรคหัวใจที่ถูกต้องในระยะยาว ช่วยให้ห่างไกลภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน


อีกหนึ่งบทความที่น่าสนใจ ทีมข่าวขอหยิบยกมารายงานให้ทราบกันตรง เพื่อหวังกระตุ้ตเตือนให้คอข่าวและประชาชนทั่วได้เอาใจใส่ต่อสุขภาพหันมาให้ความสนใจในการตรวจร่างกายมากยิ่งขึ้น

แพทย์ชี้ “กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน” ทำให้ตายภายใน 1 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ เตือนหากจุกแน่นหน้าอก เหงื่อออก ใจสั่น ปวดร้าวไปกราม จุกใต้ลิ้นปี่ ให้รีบพบแพทย์ทันที แนะเลี่ยงอาหารไขมันสูง ความเครียด บุหรี่และแอลกอฮอล์ ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ตรวจสุขภาพประจำปี ลดเสี่ยงโรคหัวใจ

ทางด้าน นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นภาวะที่มีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ หัวใจจะขาดเลือดและออกซิเจน ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย ในประเทศไทย พบว่าร้อยละ 45 ของการเสียชีวิตเฉียบพลัน เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งโรคนี้มักเกิดขึ้นทันทีแบบเฉียบพลัน เช่น ขณะปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ทำงาน เล่นกีฬา เกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและก่อตัวเป็นตะกรัน โดยหลอดเลือดเมื่อเกิดการร่อนหลุดของตะกรัน ทำให้มีการอุดตันของหลอดเลือด อาจทำให้เสียชีวิตเฉียบพลัน มักเกิดขึ้นภายใน 1 ชั่วโมง และที่สำคัญ มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตเฉียบพลันจากโรคหัวใจ ไม่เคยแสดงอาการมาก่อน สะท้อนให้เห็นว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นโรคที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้นการดูแลสุขภาพตนเองเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐาน เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ


นพ.ณรงค์ กล่าวว่า หลักการง่ายๆ ที่สามารถปฏิบัติตนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค คือ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันประเภทอิ่มตัว เช่น ไขมันจากเนื้อสัตว์ อาหารฟาสต์ฟูด เนยและผลิตภัณฑ์จากนมที่ไม่พร่องไขมัน เพราะอาหารที่มีไขมันสูง จะทำให้เกิดการสะสมไขมันในผนังหลอดเลือด ควรรับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้นในแต่ละมื้อ หลีกเลี่ยงความอ้วน ซึ่งหากมีน้ำหนักตัวมาก หัวใจจะทำงานหนักขึ้นเพื่อส่งโลหิต ออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย ซึ่งหากเปรียบเทียบการทำกิจกรรมประเภทเดียวกัน หัวใจของคนที่มีน้ำหนักตัวมากจะทำงานหนักกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวปกติ ดังนั้น ควรควบคุมอาหารและออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 – 5 ครั้ง จะช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆ

นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ควรหลีกเลี่ยงอารมณ์เครียด เพราะความเครียดจะมีผลต่อสุขภาพร่างกายในหลายๆ ด้าน เช่น ปวดศีรษะไปจนถึงขั้นหัวใจวาย จึงควรทำจิตใจให้แจ่มใส ควบคุมอารมณ์ หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดความเครียด โดยหากิจกรรมนันทนาการ เช่น ปลูกต้นไม้ ฟังเพลง เล่นกีฬา เพื่อให้ผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเป็นเวลานานจะทำให้ปริมาณไขมันในเลือดมีระดับสูง ลดสมรรถภาพของหัวใจในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ หากพบว่าตนเองมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ต้องควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าบุคคลทั่วไป


“อาการและสัญญาณเตือนของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน คือ จุกแน่นหน้าอก มีเหงื่อออก ใจสั่น ปวดร้าวไปกราม สะบักหลัง แขนซ้าย จุกคอหอย จุกใต้ลิ้นปี่ คล้ายโรคกระเพาะ หรือกรดไหลย้อน ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวให้รีบพบแพทย์โดยเร็วซึ่งจะต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายในเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมงหลังมีอาการ หรือขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดค้ำยันภายในเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง หลังจากมีอาการ จะให้ผลการรักษาที่ดีมาก นอกจากนี้ ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีและควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น อาหารไขมันสูง ความเครียด ออกกำลังกาย เพื่อป้องกันโรคหัวใจที่อาจเป็นภัยเงียบทำให้เสียชีวิตได้” รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว


ขอขอบคุณที่มา  นพ.เกรียไกร เฮงรัศมี Heart Hospital   ,  www.nationtv.tv