Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

โรคเบาหวานมีกี่ชนิด

โรคเบาหวานมีกี่ชนิด


 


โรคเบาหวาน คือ โรคที่เซลล์ร่างกายมีความผิดปกติในขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน โดยขบวนการนี้เกี่ยวข้องกับอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อนเพื่อใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อน้ำตาลไม่ได้ถูกใช้จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าระดับปกติ โรคเบาหวานแบ่งเป็น ชนิด ตามสาเหตุของการเกิดโรค  

  1. โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes mellitus, T1DM)เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ขาดอินซูลิน มักพบในเด็ก
  2. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes mellitus, T1DM)เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน มักพบในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนร่วมด้วย  
  3. โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus, GDM)เป็นโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ มักเกิดเมื่อไตรมาส 2-3 ของการตั้งครรภ์
  4. โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ (specific types of diabetes due to other causes)มีได้หลายสาเหตุ เช่น โรคทางพันธุกรรม โรคของตับอ่อน โรคทางต่อมไร้ท่อ ยาบางชนิด เป็นต้น

โดยการวินิจฉัยเบาหวาน ทำได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่งใน วิธี ดังต่อไปนี้

  1. มีอาการโรคเบาหวานชัดเจน ได้แก่ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยและปริมาณมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่มีสาเหตุ ร่วมกับตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร ถ้ามีค่า ≥200 มก./ดล.
  2. ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (อย่างน้อย 8ชั่วโมง) ≥ 126 มก./ดล. 
  3. การตรวจความทนต่อกลูโคส โดยให้รับประทานกลูโคส 75 กรัม แล้วตรวจระดับน้ำตาลในเลือดที่ ชั่วโมง ถ้ามีค่า ≥ 200 มก./ดล.
  4. การตรวจระดับน้ำตาลสะสม (A1C) ≥ 6.5% โดยวิธีการตรวจและห้องปฏิบัติการต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งยังมีน้อยในประเทศไทย ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้

ตามแนวทางเวชปฏิบัติของสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2560 กล่าวว่าการวินิจฉัยโรคเบาหวานตามข้อที่ 2-4 ต้องมีการตรวจยืนยันอีกครั้งโดยใช้ตัวอย่างเลือดอันใหม่ ด้วยวิธีเดียวกันหรือต่างกันในวันถัดไป อย่างไรก็ตามแนวทางเวชปฏิบัติของสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2562 ได้มีการเปลี่ยนแปลงว่า สามารถตรวจยืนยันอีกครั้งโดยใช้ตัวอย่างเลือดอันเดิมหรืออันใหม่ก็ได้ เพื่อให้การวินิจฉัยโรคเบาหวาน

         เมื่อได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวจากเบาหวาน ทำได้โดยการควบคุมระดับน้ำตาล ในปัจจุบันระดับน้ำตาลที่เป็นเป้าหมายจะมีค่าที่เหมาะในผู้ป่วยแต่ละราย โดยขึ้นกับอายุ ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน การมีโรคแทรกซ้อน ความเจ็บป่วยและโรคร่วม รวมถึงประวัติการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ ถ้าเป็นเบาหวานมาไม่นาน ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือโรคร่วม ควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงค่าปกติ หรือระดับ A1C < 6.5% (ถ้าเป็นไปได้) หรือ < 7% ในขณะผู้ที่เป็นเบาหวานมานานและมีภาวะแทรกซ้อน หรือโรคร่วมหลายโรคที่รุนแรง เป้าหมายของระดับ A1C ประมาณ 7-8% ส่วนในผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปี ถ้าไม่มีโรคร่วม ควรควบคุมให้เป้าหมายของ A1C < 7% ถ้ามีโรคร่วมแต่ยังช่วยเหลือตัวเองได้ เป้าหมายของ A1C ควรอยู่ที่ 7-7.5% ถ้าเป็นผู้สูงอายุที่มีเปราะบาง อาจให้เป้าหมาย A1C สูงได้ถึง 8.5% ดังนั้นการตั้งเป้าหมาย A1C



 บทความจาก ผศ.พญ. พิมพ์ใจ อันทานนท์ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย

https://dmthai.org/new/images/knowledge/knowledge_2561/9301.jpg 






































































โรคเบาหวานมีกี่ชนิด


แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้

โรคเบาหวานชนิดที่ 1
พบในเด็กหรือผู้ที่มีอายุน้อยส่วนใหญ่น้อยกว่า 30 ปี มักผอม ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน ถ้าขาดอินซูลินจะเกิดภาวะหมดสติจากน้ำตาลสูงและกรดคีโตนคั่งในเลือด ในประเทศไทยพบผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ร้อยละ 3.4

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

พบมากถึงประมาณร้อยละ 95-97 ของผู้เป็นเบาหวานในประเทศไทย ผู้เป็นส่วนใหญ่มักอ้วน อายุมากกว่า 40 ปี ตับอ่อนยังพอผลิตอินซูลินได้บ้าง แต่มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ในระยะแรกอาจรักษาได้ด้วยการควบคุมอาหารหรือยาเม็ดลดลดระดับน้ำตาล แต่เมื่อเป็นเวลานานๆ ในบางรายมีเบต้าเซลล์เสื่อม ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีอาจจำต้องฉีดอินซูลิน

ปัจจุบันนี้พบในเด็กมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กอ้วนเนื่องจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป มีการรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก ขาดการออกกำลังกาย มักจะนั่งหน้าจอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์แทนการวิ่งเล่น หรือการเล่นกีฬา

โรคเบาหวานชนิดอื่นที่มีสาเหตุเฉพาะ

ได้แก่ โรคเบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม โรคของตับอ่อน ความผิดปกติของฮอร์โมน การได้รับยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ หรือสารเคมี เป็นต้น

โรคเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์
โรคเบาหวานชนิดนี้ผู้เป็นจะต้องไม่มีประวัติเป็นโรคเบาหวานมาก่อนตั้งครรภ์ ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์จะมีฮอร์โมนจากรกซึ่งมีฤทธิ์ต้านอินซูลินเป็นผลให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินลดลง ถ้าไม่สามารถเพิ่มการสร้างอินซูลินให้เพียงพอจะทำให้เกิดเป็นโรคเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ได้ หลังคลอดมักจะพบว่าโรคเบาหวานหายไป แต่เมื่อติดตามต่อไปพบว่าหญิงที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้มากจึงสมควรให้มีการติดตามเพื่อตรวจหาเบาหวานเป็นระยะ



เบาหวานแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร?

เบาหวานเป็นโรคยอดฮิตที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย โดยจากสถิติของสมาคมโรคเบาหวาน สำหรับประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 3 แสนคนต่อปี แม้จะเป็นโรคที่มีอัตราผู้ป่วยและการเสียชีวิตสูง แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังอาจจะเข้าใจผิดว่า สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน คือการกินหวาน หรือกินน้ำตาลเพียงอย่างเดียว แต่อันที่จริงแล้ว สาเหตุของโรคเบาหวานนั้นมีมากมาย ขึ้นอยู่กับชนิดของเบาหวาน

 

 

 

 

โรคเบาหวานคืออะไร ?


โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอหรือร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้อวัยวะเสื่อมสมรรถภาพ และทำงานล้มเหลว เป็นเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ตา ไต หลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง รวมถึงเป็นแผลง่ายหายยาก ชาปลายมือปลายเท้า


โรคเบาหวานแบ่งเป็น 4 ชนิด ตามสาเหตุการเกิดโรค

 

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 diabetes mellitus, T1DM)

เป็นโรคเบาหวานที่พบได้แม้ในผู้ที่อายุยังน้อย ไม่ถึง 40 ปี สาเหตุเกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปสู่เซลล์ภายในร่างกายเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน พบได้ราว 5 – 10 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วย มักพบในผู้ป่วยที่มีรูปร่างผอม มีอาการปัสสาวะมาก กระหายน้ำบ่อย ดื่มน้ำมาก อ่อนเพลีย น้ำหนักลดเฉียบพลัน อาการอาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง บางกรณีพบภาวะเลือดเป็นกรดจากสารคีโตน (Ketoacidosis) ซึ่งในกรณีนี้จำเป็นที่จะต้องทำการฉีดอินซูลินอย่างสม่ำเสมอ

 

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes mellitus, T2DM)

ผู้เป็นเบาหวานชนิดนี้ มักมีอายุมากกว่า 40 ปี สาเหตุเนื่องมาจากการที่ร่างกายตอบสนองอินซูลินได้ไม่ดีเท่าที่ควรหรือที่เรียกว่าภาวะดื้ออินซูลินนั่นเอง โดยมักเกิดจากความอ้วน และถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม แต่ก็สามารถทานยารักษาเบาหวานได้ และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

 

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational diabetes mellitus, GDM)

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) มีแนวโน้มที่จะเกิดในช่วง 24 – 48 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เกิดจากมีภาวะดื้ออินซูลินมากขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งปัจจัยอาจมาจากรก หรืออื่น ๆ และตับอ่อนของมารดาไม่สามารถผลิตอินซูลินให้เพียงพอกับความต้องการได้ สำหรับมารดาที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์และไม่สามารถคุมน้ำตาลได้นั้น จะมีผลให้ทารกในครรภ์มีน้ำหนักตัวมาก หรือภาวะทารกตัวโต (Macrosomia) ทำให้มารดาคลอดแบบปกติยาก หรืออาจเกิดความเสี่ยงในการคลอด อย่างไรก็ตาม โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะหายไปหลังจากคลอดบุตร แต่มารดาจะมีความเสี่ยงสูงที่จะพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และทารกที่เกิดมาจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน และพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เช่นกัน

 

โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ (specific types of diabetes due to other causes)

โรคเบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม โรคของตับอ่อน ความผิดปกติของฮอร์โมน การได้รับยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ หรือสารเคมี เป็นต้น

 

 

 

 

 

เบาหวานที่พบโดยส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นแบบไหน ?


สำหรับในประเทศไทยเบาหวานที่พบมากที่สุดคือชนิดที่ 2 ประมาณ 90 – 95% ประเภทนี้มักไม่มีอาการอย่างเฉียบพลัน แต่หากขาดการควบคุม ก็สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังที่เป็นอันตรายอย่างเฉียบพลันได้ ดังนั้นควรจะควบคุมน้ำหนัก ควบคุมอาหาร ออกกำลังกายและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์

 


Different types of diabetes and their symptoms.



ที่มา   ::        https://www.dmthai.org/   ,    https://bangkokpattayahospital.com/  ,  https://www.princsuvarnabhumi.com/articles/content-diabetes-2