แม่ท้องกับ 3 วัคซีนที่ต้องรู้
แม่ท้องกับ 3 วัคซีนที่ต้องรู้ (รักลูก)
วัคซีนตัวไหนต้องฉีดก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ ถ้าไม่ฉีดหรือฉีดแล้วยังไม่พ้นระยะที่กำหนดไว้ จะมีผลต่อทารกหรือไม่...สงสัยอยู่ใช่ไหมคะคุณแม่ท้อง คำตอบอยู่นี่แล้วค่ะ
Before Pregnant
วัคซีนที่ฉีดก่อนคิดจะตั้งครรภ์มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่
วัคซีนหัดเยอรมัน
หัดเยอรมันเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสค่ะ อาการจะคล้ายกับเป็นไข้หวัด คือมีไข้ และอาจมีผื่นทั่วตัว หากคุณแม่เกิดเป็นโรคนี้เมื่อตั้งครรภ์โดยเฉพาะในระยะ 3-4 เดือนแรก เชื้อไวรัสจะไปทำให้ทารกในครรภ์เกิดความพิการในอวัยวะต่างๆ อาทิ หู ตา หัวใจ แขน ขา และสมอง
ดังนั้น คุณแม่ที่คิดจะตั้งครรภ์จึงควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันก่อน โดยฉีดแล้วควรเว้นระยะการตั้งครรภ์ออกไป 3 เดือน เพื่อให้วัคซีนสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายค่ะ แต่หากจู่ๆ คุณแม่เกิดตั้งครรภ์ในช่วงนี้ขึ้นมาก็อย่ากังวลใจไป เพราะยังไม่มีข้อบ่งชี้ใดที่ฟันธงว่าหากคุณแม่ฉีดวัคซีนหัดเยอรมันแล้วเกิดตั้งครรภ์ภายใน 3 เดือน จะส่งผลให้เด็กเกิดมาผิดปกติ จนคุณหมอต้องยุติการตั้งครรภ์ค่ะ เพราะว่ามีคุณแม่บางท่านที่ฉีดวัคซีนหัดเยอรมันแล้วเกิดตั้งครรภ์ใน 3 เดือน ก็สามารถให้กำเนิดลูกที่แข็งแรงได้ไม่ต่างกัน
ดังนั้น คุณแม่ที่คิดจะตั้งครรภ์จึงควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันก่อน โดยฉีดแล้วควรเว้นระยะการตั้งครรภ์ออกไป 3 เดือน เพื่อให้วัคซีนสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายค่ะ แต่หากจู่ๆ คุณแม่เกิดตั้งครรภ์ในช่วงนี้ขึ้นมาก็อย่ากังวลใจไป เพราะยังไม่มีข้อบ่งชี้ใดที่ฟันธงว่าหากคุณแม่ฉีดวัคซีนหัดเยอรมันแล้วเกิดตั้งครรภ์ภายใน 3 เดือน จะส่งผลให้เด็กเกิดมาผิดปกติ จนคุณหมอต้องยุติการตั้งครรภ์ค่ะ เพราะว่ามีคุณแม่บางท่านที่ฉีดวัคซีนหัดเยอรมันแล้วเกิดตั้งครรภ์ใน 3 เดือน ก็สามารถให้กำเนิดลูกที่แข็งแรงได้ไม่ต่างกัน
ท้องแล้วไม่ได้ฉีด!!
ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์นั้นควรหลีกเลี่ยงคนที่มีอาการหวัด เป็นไข้ ไอจาม เพราะนั่นอาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคหัดเยอรมัน
แต่หากช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้ายเกิดติดโรคหัดเยอรมันขึ้นมา ก็อย่ากังวลไปค่ะเพราะโรคนี้จะไม่สามารถทำให้เกิดความผิดปกติได้เพราะร่างกายของลูกเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว“ถ้าหากว่าคุณแม่ไม่แน่ใจว่าตนเองมีภูมิต้านทานโรคหรือเปล่า หรือไม่รู้ว่าเกิดติดเชื้อนี้แล้วหรือยัง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาภูมิ”
แต่หากช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้ายเกิดติดโรคหัดเยอรมันขึ้นมา ก็อย่ากังวลไปค่ะเพราะโรคนี้จะไม่สามารถทำให้เกิดความผิดปกติได้เพราะร่างกายของลูกเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว“ถ้าหากว่าคุณแม่ไม่แน่ใจว่าตนเองมีภูมิต้านทานโรคหรือเปล่า หรือไม่รู้ว่าเกิดติดเชื้อนี้แล้วหรือยัง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาภูมิ”
Hepatitis B หรือวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบชนิดบี
โรคไวรัสตับอักเสบบีพบบ่อยในประเทศไทย โดยลักษณะอาการของโรคก็จะแสดงออกแตกต่างกันไป โดยหากเป็นน้อยอาการของโรคก็จะมีแค่เป็นไข้ อ่อนเพลีย แต่ถ้าเป็นมากก็จะมีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง อ่อนเพลียมาก ตับถูกทำลายรุนแรงและอาจถึงขั้นเสียชีวิตเลย
ส่วนคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีเชื้อนี้อยู่ในร่างกายแล้ว หรือเกิดไปติดเชื้อไวรัสตับอักเสบปีขึ้นมาโรคนี้ก็อาจติดต่อไปยังลูกขณะคลอดทำให้เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีได้
ดังนั้น หากคุณแม่ไม่แน่ใจว่าตนเองมีภูมิต้านทานโรคอยู่หรือเปล่า หรือไม่รู้ว่าเกิดติดเชื้อนี้แล้วหรือยัง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาภูมิ ซึ่งหากยังไม่มีภูมิ แพทย์ก็จะฉีดวัคซีนให้ โดยแนะนำให้ฉีดก่อนตั้งครรภ์เป็นเวลา 6 เดือน
ส่วนในกรณีที่พบว่าติดเชื้อแล้ว หลังจากคลอดลูกน้อยภายใน 24 ชั่วโมง แพทย์จะฉีดสารภูมิต้านทานไวรัสตับอักเสบบีให้กับทารก เพื่อเป็นการเร่งภูมิให้ต่อต้านโรคค่ะ
ส่วนคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีเชื้อนี้อยู่ในร่างกายแล้ว หรือเกิดไปติดเชื้อไวรัสตับอักเสบปีขึ้นมาโรคนี้ก็อาจติดต่อไปยังลูกขณะคลอดทำให้เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีได้
ดังนั้น หากคุณแม่ไม่แน่ใจว่าตนเองมีภูมิต้านทานโรคอยู่หรือเปล่า หรือไม่รู้ว่าเกิดติดเชื้อนี้แล้วหรือยัง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาภูมิ ซึ่งหากยังไม่มีภูมิ แพทย์ก็จะฉีดวัคซีนให้ โดยแนะนำให้ฉีดก่อนตั้งครรภ์เป็นเวลา 6 เดือน
ส่วนในกรณีที่พบว่าติดเชื้อแล้ว หลังจากคลอดลูกน้อยภายใน 24 ชั่วโมง แพทย์จะฉีดสารภูมิต้านทานไวรัสตับอักเสบบีให้กับทารก เพื่อเป็นการเร่งภูมิให้ต่อต้านโรคค่ะ
ท้องแล้วไม่ได้ฉีด!!
ปัจจุบัน ประชาชนทุกๆ คนที่เกิดในประเทศไทยจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบีทันทีหลังคลอดอยู่แล้ว เพื่อป้องกันโรคตับอักเสบบีตั้งแต่แรกเกิด ดังนั้น คุณแม่จะฉีดหรือไม่ฉีดจึงมีความสำคัญน้อยลง แต่ถ้าขณะตั้งครรภ์พบว่าคุณแม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้แพทย์ก็สามารถฉีดให้ได้ เนื่องจากวัคซีนชนิดนี้ ไม่มีอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์
Pregnant
เมื่อตั้งครรภ์วัคซีนพื้นฐานที่คุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่ฉีดไม่ได้มีมากมายวุ่นวายเหมือนกับที่คุณแม่หลายท่านคิดกันหรอกนะคะ จะมีก็เพียงแค่...
วัคซีนป้องกันบาดทะยัก
บาดทะยักเป็นโรคที่เกิดจากการมีบาดแผลซึ่งสกปรก และเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งทำให้ก่อโรคนี้ขึ้น และเมื่อเชื้อบาดทะยักแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผล ผู้ที่เป็นบาดทะยักจะมีอาการชักเกร็ง หน้าเขียว มีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต และเมื่อเป็นโรคนี้แล้วโอกาสรอด 50:50 ค่ะ
สำหรับวัคซีนป้องกันบาดทะยัก แพทย์จะแนะนำให้ฉีดในหญิงตั้งครรภ์ และคนที่ไม่มีภูมิต่อโรคนี้ รวมถึงคนที่ไม่ได้รับการฉีดกระตุ้นภายในระยะเวลา 10 ปีขึ้นไปด้วย
โดยระหว่างตั้งครรภ์จะฉีด 2 เข็ม ห่างกันประมาณ 1 เดือน โดยเข็มที่ 2 ถ้าเป็นไปได้ให้ฉีดก่อนคลอดประมาณ 3 เดือน จากนั้นพอหลังคลอดจึงฉีดเข็มที่ 3 อีกครั้งค่ะ
สำหรับวัคซีนป้องกันบาดทะยัก แพทย์จะแนะนำให้ฉีดในหญิงตั้งครรภ์ และคนที่ไม่มีภูมิต่อโรคนี้ รวมถึงคนที่ไม่ได้รับการฉีดกระตุ้นภายในระยะเวลา 10 ปีขึ้นไปด้วย
โดยระหว่างตั้งครรภ์จะฉีด 2 เข็ม ห่างกันประมาณ 1 เดือน โดยเข็มที่ 2 ถ้าเป็นไปได้ให้ฉีดก่อนคลอดประมาณ 3 เดือน จากนั้นพอหลังคลอดจึงฉีดเข็มที่ 3 อีกครั้งค่ะ
ท้องแล้วไม่ได้ฉีด!!
สมัยก่อนจะแนะนำให้ฉีดวัคซีนชนิดนี้กันมาก เนื่องจากการทำคลอดนั้นอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือยังไม่มีความสะอาดเท่าที่ควรไม่เหมือนในปัจจุบันที่ทุกอย่างค่อนข้างมีความปลอดภัย สะอาด และปลอดเชื้อ หากคุณแม่มีภูมิอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องฉีด หรือถ้าหากพบว่าไม่มีภูมิก็สามารถฉีดได้ เลยไม่เป็นอันตรายกับทารกแน่นอน
วัคซีนพื้นฐานที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ช่วยเสริมสร้างให้คุณแม่แข็งแรง คุณลูกปลอดภัย แต่ถ้าลืมฉีดตัวใดตัวหนึ่งไปก็อย่ากังวลให้มากค่ะ เพราะหากดูแลสุขภาพดี ป้องกันตัวเองไม่ให้ตกอยู่ในความเสี่ยงทั้งจากไข้หวัด ตับอักเสบ หรือบาดทะยัก ก็เบาใจได้ว่าลูกต้องมีสุขภาพดีแน่นอน หรือถ้ายังไม่หายกังวลก็สามารถขอคำแนะนำจากแพทย์ที่ฝากครรภ์ด้วยก็ได้ค่ะ
วัคซีนพื้นฐานที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ช่วยเสริมสร้างให้คุณแม่แข็งแรง คุณลูกปลอดภัย แต่ถ้าลืมฉีดตัวใดตัวหนึ่งไปก็อย่ากังวลให้มากค่ะ เพราะหากดูแลสุขภาพดี ป้องกันตัวเองไม่ให้ตกอยู่ในความเสี่ยงทั้งจากไข้หวัด ตับอักเสบ หรือบาดทะยัก ก็เบาใจได้ว่าลูกต้องมีสุขภาพดีแน่นอน หรือถ้ายังไม่หายกังวลก็สามารถขอคำแนะนำจากแพทย์ที่ฝากครรภ์ด้วยก็ได้ค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น