Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

น้ำมันปลา ดีกับแม่ท้องจริงหรือ?

น้ำมันปลา ดีกับแม่ท้องจริงหรือ?
ตั้งครรภ์ น้ำมันปลา

 
น้ำมันปลา ดีกับแม่ท้องจริงหรือ? (Mother&Care)
 
น้ำมันปลาคืออะไร
น้ำมันปลา หรือ Fish oil หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเหมือนกับน้ำมันตับปลา แต่ความจริงเป็นไขมันของปลา ซึ่งมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่จําเป็นต่อร่างกาย คือ กรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 3 (Omega-3) ซึ่งปลาทะเลในประเทศแถบอากาศหนาวนั้นจะมีกรดไขมันจําเป็นในปริมาณที่สูง และมีไขมันประเภทคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ในปริมาณที่ต่ำ จึงนิยมนําปลาทะเลเหล่านี้มาสกัดเอาน้ำมันปลา

 

มีประโยชน์กับแม่ท้องอย่างไร

ไขมันในน้ำมันปลาจะช่วยสร้างองค์ประกอบที่สําคัญของเซลล์หรือเนื้อเยื่อของร่างกาย รวมทั้งเนื้อสมอง เม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ ควบคุมการเกิดลิ่มเลือด และสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย โดยเฉพาะโอเมก้า 3 จะช่วยลดการเกิดลิ่มเลือดที่จะไปอุดเส้นเลือดฝอยของหัวใจ และทําให้ไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) ซึ่งเป็นไขมันอันตรายลดต่ำลง

การกินน้ำมันปลาอาทิตย์ละ 2 ครั้ง จะช่วยลดอาการอักเสบของข้อกระดูกของแม่ท้องได้ ทั้งนี้แม่ท้องควรเริ่มทานน้ำมันปลาตั้งแต่อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ โดยการกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
ถึงแม้โอเมเก้า 3 จะเป็นกรดไขมันที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ แต่หากคุณแม่ท้องกินน้ำมันปลาชนิดเม็ดหรือแคปซูลมากเกินไป ก็จะเกิดการสะสมในร่างกายตามอวัยวะต่าง ๆ จนอาจจะก่ออันตรายได้ และหากบริโภคเกินความต้องการ อาจก่อให้เกิดความพิการต่อทารกในครรภ์ได้ นอกจากนี้ คุณแม่ท้องควรหยุดกินน้ำมันปลาเมื่อตั้งครรภ์ 6-7 เดือน เพราะจะทําให้เกล็ดเลือดจับตัวกันลดลง ซึ่งแม้เป็นผลดีที่ช่วยไม่ให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือด แต่อาจทําให้เลือดแข็งตัวช้าเมื่อเกิดบาดแผลหรือผ่าตัด
ดังนั้น คุณแม่ท้องควรหลีกเลี่ยงการกินน้ำมันปลาในรูปของยาเม็ดหรือแคปซูล และหันมากินน้ำมันปลาจากการเลือกบริโภคอาหารแทน เพราะในอาหารจะมีความสมดุลของกรดไขมันต่าง ๆ อย่างพอเหมาะ และราคาถูกกว่าด้วย

 

พบในอาหารชนิดใด
กรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำมันปลานั้น มีอยู่ในปลาชนิดต่าง ๆ ซึ่งปลาซาร์ดีนจะมีโอเมก้า 3 ในปริมาณที่สูง รวมถึงปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลากะพงแดง และยังพบได้ในกุ้งและปูทะเลด้วย

นอกจากนี้ โอเมก้า 3 ยังมีอยู่ในธัญพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต ถั่วอัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง เป็นต้น
 
 
 
 
ที่มา ::
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น