เช็คสุขภาพปอดของตนเอง ด้วยแอปพลิเคชัน “LUNG CARE”
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนาแอปพลิเคชันวัดคุณภาพของปอด “Lung Care” สามารถวัดประสิทธิภาพการทำงานของปอดด้วยการเป่าลมผ่านสมอลล์ทอล์คหรือช่องไมโครโฟนของโทรศัพท์สมาร์ทโฟน สามารถใช้ได้กับคนปกติหรือผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับปอด เพื่อเป็นการประเมินเบื้องต้นถึงการทำงานของปอด และตรวจติดตามปอดว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร
รศ.ดร.ภัทรสินี ภัทรโกศล ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งคิดค้นแอปพลิเคชัน “Lung Care” เปิดเผยถึงแอปพลิเคชันดังกล่าวว่า ลักษณะการทำงานเป็นการนำเข้าคลื่นเสียงและแปลงคลื่นเสียงให้เป็นค่าของปอด โดยนำไปเทียบกับค่ามาตรฐานทางการแพทย์ที่ได้จาก รศ.นพ.กมล แก้วกิติณรงค์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านปอดและระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
“ที่มาของแอปพลิเคชันนี้มาจากตัวเองเป็นโรคหอบหืด ทุกครั้งที่ไปพบแพทย์จะต้องมีการเป่าเครื่องตรวจสมรรถภาพปอด (Peak Flow Meter) แต่ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ส่วนกระบอกกระดาษที่เป็นอุปกรณ์ในการเป่าซึ่งใช้แล้วทิ้งทำให้สิ้นเปลือง ถ้ามีอุปกรณ์ที่ใช้งานได้เหมือนเครื่อง Peak Flow Meter สามารถพกติดตัวไปได้ตลอดเวลาน่าจะเป็นทางเลือกที่ดี” รศ.ดร.ภัทรสินี เผยถึงจุดเริ่มต้นของแอปพลิเคชันนี้
สำหรับขั้นตอนการทำแอปพลิเคชัน เริ่มจากการเขียนโปรแกรมทดลอง จนได้เป็นสมการที่มีการแปลงคลื่นเสียงออกมาเป็นสเกลเทียบเท่ากับตัวลมที่เป่าด้วยเครื่อง Peak Flow Meter โดยนำแนวคิดทางคอมพิวเตอร์และทางสถิติมาใช้ด้วย จากนั้นได้ทำการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 37 คน พบว่ามีความแม่นยำถึง 97.6% ถือว่าน่าพอใจมาก ในการทดสอบคุณภาพปอดจะเทียบกับค่ามาตรฐานตามเพศ อายุ และส่วนสูง เมื่อมีการเก็บข้อมูลระยะหนึ่ง หากมีการเปลี่ยนแปลงค่าความจุปอดที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง แอปพลิเคชันจะแจ้งเตือนให้ผู้ใช้งานไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาต่อไป
“คนที่สูบบุหรี่จัด ทำงานก่อสร้าง โรงงานปูน หรือผู้ที่ทำงานกับฝุ่น ควรมีแอปตัวนี้ไว้คอยตรวจสอบปอด เพราะจะเป็นตัวบอกว่าปอดของคุณมีสถานะเป็นอย่างไร” รศ.ดร.ภัทรสินี กล่าว
สำหรับวิธีการใช้งานแอปพลิเคชั่น Lung Care ก็แสนง่าย เพียงเป่าที่ Small Talk ในโทรศัพท์มือถือ วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด ถุงลมโป่งพอง หรือถุงลมตีบ ถ้าเป่า 3 วันติดต่อกันแล้วค่าที่แสดงออกมาต่ำก็ควรไปพบแพทย์ทันที สำหรับผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวก็สามารถใช้เพื่อตรวจสอบปอดได้เช่นกัน
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 แอปพลิเคชันนี้สามารถตรวจสอบในเบื้องต้นได้ว่าปอดเราถูกทำลายหรือไม่ พื้นที่ปอดมีมากน้อยเพียงใด แต่ปอดจะติดเชื้อ COVID-19 หรือไม่นั้นไม่สามารถบอกได้ จะต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดต่อไป
“แนะนำผู้ใช้แอปพลิเคชั่น ให้เป่าตรวจสอบปอดของตนเองทุกวัน ไม่ใช่เป่าแล้วเห็นว่าค่าที่ได้ออกมาอยู่ในเกณฑ์ดีแล้วก็ลบแอปทิ้งไป สิ่งที่ได้คือสุขภาพของเราเอง เราทุกคนมีสมาร์ทโฟนอยู่แล้ว อย่าละเลยสุขภาพ ก่อนที่จะสายเกินแก้” รศ.ดร.ภัทรสินี ฝากทิ้งท้าย
สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “Lung Care” ได้ที่ Play Store บนโทรศัพท์มือถือ โดยพิมพ์คำว่า “Lung Care” จะพบไอคอนรูปปอดและเครื่องฟังของแพทย์ สีเขียว ของ “Bond Solution” จากนั้นกด “ติดตั้ง” หรือดาวน์โหลดได้ที่นี่...
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.iamgolfz.lung_care
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line : @LungCare และ Facebook : https://www.facebook.com/lungcarecheck
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.iamgolfz.lung_care
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line : @LungCare และ Facebook : https://www.facebook.com/lungcarecheck
***
📢📢📈Take care you lung with “Lung Care- App”🤩😘✅ The only one application in the world that can check your ability of lung via smart phone.
Try it for free (free)(!!!)
#LungCareApp
Download Play store https://play.google.com/store/apps/details?id=com.iamgolfz.lung_care
***
#Infected or not 😷 Attached or not 😱 .
.
.
attached .. still not as important as the lungs !!! Still strong or not? This app .. if you know that health is important. Tools that are indispensable in this era ....
Self-examination of the lungs Wow(!)(!)
Want to know if our lungs are still normal? Download now !!! Of course, this app is research. Of Chulalongkorn University in Thailand is a very good program #LungCareApp
Download Play store https://play.google.com/store/apps/details?id=com.iamgolfz.lung_care
The correct blow of application usage https://www.youtube.com/watch?v=EIBc5_RYXy8
ที่มา :: https://www.chula.ac.th/news/29369/
เช็คสุขภาพปอดด้วยแอปพลิเคชัน LUNG CARE ง่ายๆ เพียงแค่เป่าลม
ตอบลบดูเหมือนว่าตอนนี้แอปพลิเคชันด้านสุขภาพจะกำลังเป็นที่ถูกพูดเป็นวงกว้าง ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ COVID 19 ซึ่งล่าสุดคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมพัฒนาแอปพลิเคชันวัดคุณภาพของปอด ที่ชื่อว่า “Lung Care” ซึ่งสามารถวัดประสิทธิภาพการทำงานของปอดเพียงเป่าลมผ่านสมอลล์ทอล์คหรือช่องไมโครโฟนของสมาร์ทโฟนเท่านั้น โดยใช้งานได้กับคนปกติหรือผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับปอด เพื่อทำการการประเมินเบื้องต้นถึงการทำงานของปอด และตรวจติดตามปอดว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร
ที่มาของ “Lung Care”
รศ.ดร.ภัทรสินี ภัทรโกศล ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งคิดค้นแอปพลิเคชัน “Lung Care” เปิดเผยว่าที่มาของแอปพลิเคชันนี้มาจากตัวเองเป็นโรคหอบหืด ทุกครั้งที่ไปพบแพทย์จะต้องมีการเป่าเครื่องตรวจสมรรถภาพปอด (Peak Flow Meter) แต่ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ส่วนกระบอกกระดาษที่เป็นอุปกรณ์ในการเป่าซึ่งใช้แล้วทิ้งทำให้สิ้นเปลือง ถ้ามีอุปกรณ์ที่ใช้งานได้เหมือนเครื่อง Peak Flow Meter สามารถพกติดตัวไปได้ตลอดเวลาน่าจะเป็นทางเลือกที่ดี จึงได้คิดค้นถึงลักษณะการทำงานที่เป็นการนำเข้าคลื่นเสียงและแปลงคลื่นเสียงให้เป็นค่าของปอด โดยนำไปเทียบกับค่ามาตรฐานทางการแพทย์ที่ได้จาก รศ.นพ.กมล แก้วกิติณรงค์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านปอดและระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
สำหรับวิธีการใช้งานแอปพลิเคชั่น Lung Care เพียงเปิดแอปพลิเคชันและเป่าไปที่ Small Talk ในโทรศัพท์มือถือวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด ถุงลมโป่งพอง หรือถุงลมตีบ ถ้าเป่า 3 วันติดต่อกัน หากค่าที่แสดงออกมาต่ำก็ควรไปพบแพทย์ทันที สำหรับผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวก็สามารถใช้เพื่อตรวจสอบปอดได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตามในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 แอปพลิเคชันนี้สามารถตรวจสอบในเบื้องต้นได้ว่าปอดของเราถูกทำลายหรือไม่ พื้นที่ปอดมีมากน้อยเพียงใด แต่ปอดจะติดเชื้อ COVID-19 หรือไม่นั้นไม่สามารถบอกได้ จะต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดต่อไป
นับว่าเป็นแอปพลิเคชันที่มีประโยชน์มากๆ สำหรับคนที่สูบบุหรี่จัด ทำงานก่อสร้าง โรงงานปูน หรือผู้ที่ทำงานกับฝุ่น และต้องเจอกับฝุ่นอยู่เป็นประจำควรมีแอปฯตัวนี้ไว้คอยตรวจสอบปอด เพราะจะเป็นตัวบอกว่าปอดของคุณมีสถานะเป็นอย่างไร
สำหรับวิธีการใช้งานแอปพลิเคชั่น Lung Care เพียงเปิดแอปพลิเคชันและเป่าไปที่ Small Talk ในโทรศัพท์มือถือวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด ถุงลมโป่งพอง หรือถุงลมตีบ ถ้าเป่า 3 วันติดต่อกัน หากค่าที่แสดงออกมาต่ำก็ควรไปพบแพทย์ทันที สำหรับผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวก็สามารถใช้เพื่อตรวจสอบปอดได้เช่นกัน
ตอบลบอย่างไรก็ตามในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 แอปพลิเคชันนี้สามารถตรวจสอบในเบื้องต้นได้ว่าปอดของเราถูกทำลายหรือไม่ พื้นที่ปอดมีมากน้อยเพียงใด แต่ปอดจะติดเชื้อ COVID-19 หรือไม่นั้นไม่สามารถบอกได้ จะต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดต่อไป
นับว่าเป็นแอปพลิเคชันที่มีประโยชน์มากๆ สำหรับคนที่สูบบุหรี่จัด ทำงานก่อสร้าง โรงงานปูน หรือผู้ที่ทำงานกับฝุ่น และต้องเจอกับฝุ่นอยู่เป็นประจำควรมีแอปฯตัวนี้ไว้คอยตรวจสอบปอด เพราะจะเป็นตัวบอกว่าปอดของคุณมีสถานะเป็นอย่างไร