Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2565

ผลิตเนื้อโดยไม่ต้องฆ่าสัตว์ เนื้อสัตว์แปลกๆผลิตเพาะในแล็ป ทั้งเนื้อม้าลาย สิงโต ยีราฟ เสือ

 ผลิตเนื้อโดยไม่ต้องฆ่าสัตว์ เนื้อสัตว์แปลกๆผลิตเพาะในแล็ป ทั้งเนื้อม้าลาย สิงโต ยีราฟ เสือ























FOOD: Primeval Foods สตาร์ทอัพเทคโนโลยีอาหารในอังกฤษ ประกาศผลิตเนื้อสิงโตที่เพาะขึ้นมาในแล็บ อีกทั้งยังหวังที่จะผลิตเนื้อสัตว์แปลกอื่นๆ เช่นม้าลาย ช้าง หรือเสือ


เนื้อเพาะในแล็บ คือนวัตกรรมที่หวังลดการก่อก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้ทรัพยากรจากการปศุสัตว์ เลี้ยงสัตว์ในฟาร์มทั้งการใช้อาหาร และน้ำ อีกทั้งลดการทารุณสัตว์ โดยการเอาเซลล์สัตว์มาเพาะโดยออกมาเป็นเนื้อจริงๆ มีรสชาติเหมือนเนื้อจริงๆ และไม่มีการฆ่าสัตว์ ที่อาจเป็นทางเลือกใหม่สำหรับคนที่ลดเนื้อสัตว์เพราะเหตุผลทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันมีการเพาะเนื้อในแล็บสำหรับเนื้อไก่ เนื้อวัว และเนื้อหมูบ้างแล้วในบริษัทต่างประเทศ


แต่สิ่งที่ Primeval Foods ทำนั้นแตกต่างออกไป โดยเลือกที่จะเพาะเนื้อสัตว์แปลกอย่าง สิงโต โดยเมื่อผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการอนุมัติทางกฎหมาย ทางแบรนด์เผยว่าจะนำตัวอย่างไปให้ร้านต่างๆในลอนดอนได้ลอง และหวังที่จะเพิ่มการผลิตให้สามารถขายได้ทั่วไปในร้านค้า อีกทั้งยังมีแผนในการเพาะเนื้อสัตว์อื่นๆ ทั้งยีราฟ ช้าง และเสือ


อุตสาหกรรมปศุสัตว์ในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อโลกทั้งในเชิงการใช้พื้นที่เลี้ยงสัตว์ ใช้พื้นที่ปลูกอาหารสัตว์ ใช้ทรัพยากรอย่างมาก ปัจจุบันมีการผลิตอาหารทางเลือกมากขึ้น ทั้งเนื้อสัตว์ทดแทนจากพืช แมลง รวมถึงเนื้อเพาะในแล็บอีกด้วย ซึ่งตอบโจทย์สำหรับผู้คนที่ต้องการลดผลกระทบทั้งเรื่องสุขภาพ สวัสดิภาพสัตว์ และสิ่งแวดล้อม
















ที่มา

https://www.primevalfoods.co

https://vegconomist.com/.../primeval-foods-producing.../

https://pubs.acs.org/doi/10.1021/es200130u

https://www.foodnavigator.com/.../lion-burger-tiger-tacos...

https://www.independent.co.uk/.../lion-meat-lab-grown






1 ความคิดเห็น:

  1. ลอนดอนเตรียมวางขายเบอร์เกอร์สิงโต สเต็กเสือ และซูชิเนื้อม้าลายจากห้องทดลอง

    กรุงลอนดอนของอังกฤษเตรียมวางขาย เนื้อจากห้องทดลองเพาะเลี้ยง เบอร์เกอร์สิงโต สเต็กเสือ และซูชิเนื้อม้าลาย

    กรุงลอนดอนของอังกฤษเตรียมวางขาย เนื้อจากห้องทดลองเพาะเลี้ยง เบอร์เกอร์สิงโต สเต็กเสือ และซูชิเนื้อม้าลาย

    Primeval Foods บริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารประกาศวางขายเนื้อสัตว์แปลกใหม่ ไม่ว่าจะเป็นสิงโต เสือ หรือม้าลายที่เพาะเลี้ยงในห้องทดลองทั้งหมดซึ่งไม่มีการทารุณกรรมใดๆ โดยลอนดอนจะเป็นที่แรกในการวางจำหน่าย และหวังว่าจะสามารถวางจำหน่ายในวงกว้างได้

    บริษัทกล่าวว่าแนวคิดที่ผลักดันให้เกิดผลิตภัณฑ์นี้ขึ้น มาจากความต้องการที่จะรักษาสิ่งแวดล้อม ลดการใช้พื้นที่ในการทำปศุสัตว์ ลดการใช้ทรัพยากร ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และต่อสู้กับสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับลดการทารุณกรรมต่อสัตว์

    เนื่องจากการศึกษาที่ผ่านมาระบุว่าการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์เพื่อผลิตอาหารนั้นปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 14 ถึง 50 ของทั้งหมด (ขึ้นอยู่กับประเภทสัตว์ที่เลี้ยง) อีกทั้งยังใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ รวมไปถึงต้องมีการเพาะปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์อีกด้วย

    การสร้างเนื้อจากห้องทดลองจึงอาจช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้ดีขึ้นได้ โดยทางบริษัทได้นำเซลล์สัตว์มาเพาะเลี้ยงโดยตรง ซึ่งจะช่วยให้สร้างเนื้อที่เลียนแบบ 'ของจริง' ได้โดยไม่ต้องฆ่าสัตว์

    แม้จะยังไม่มีการผลิตในระดับอุตสาหกรรม จึงยังไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่า 'เนื้อเพาะเลี้ยง' นี้มีการใช้พลังงานและทรัพยาการมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับการเลี้ยงสัตว์จริง ๆ

    แต่ในการศึกษาที่ผ่านๆ มาระบุว่ามีการใช้พลังงานน้อยกว่าร้อยละ 7 ถึง 45 เมื่อเทียบกับการทำปศุสัตว์ และยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงร้อยละ 78-96 ในขณะที่การใช้ที่ดินลดลงกว่าร้อยละ 99 พร้อมกับใช้น้ำน้อยลงร้อยละ 82 ถึง 96

    ยิลมาซ โบรา (Yilmaz Bora) หนึ่งในหุ้นส่วนของ Primeval Foods หวังว่าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปลกใหม่นี้จะช่วยให้ผู้คนทั่วไปเปิดรับเนื้อไก่ เนื้อหมู และเนื้อวัวเพาะเลี้ยงจากห้องปฏิบัติการมากขึ้น

    "ผู้คนมักแสวงหาอาหารใหม่ๆ ร้านอาหารใหม่ๆ และประสบการณ์ทำอาหารใหม่ๆ เราจึงต้องไปไกลกว่าเนื้อวัว ไก่ และหมูในปัจจุบัน และต้องได้มาโดยไม่ทำร้ายธรรมชาติ" โบรากล่าว

    พร้อมเสริมว่า "ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เรากำลังวางแผนที่จะจัดงานชิมอาหารในลอนดอนกับผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เพาะปลูกของเรา เพื่อให้โลกได้ลิ้มรสว่าอาหารในอนาคตนั้นจะเป็นอย่างไรต่อไป"


    ที่มา National Geographic Thailand

    ตอบลบ