มือใหม่เริ่มบินโดรนต้องรู้อะไรบ้าง
มือใหม่เริ่มบินโดรนต้องรู้อะไรบ้าง พร้อมแนะนำการขึ้นทะเบียนโดรนฉบับเข้าใจง่าย | ปัจจุบันกระแสการถ่ายภาพมุมสูงนั้นกำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก เพราะการถ่ายภาพมุมสูงให้มุมมองการถ่ายภาพที่แปลกใหม่ มีความน่าสนใจ จึงสังเกตได้ว่าผู้ผลิตโดรนหลายค่ายต่างก็ผลิตโดรนรุ่นใหม่ๆที่มีราคาเข้าถึงได้ง่ายมากยิ่งขึ้น แต่ก่อนจะเริ่มบินโดรนมีขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการขึ้นทะเบียนโดรนให้ถูกกฎหมายกับทาง กสทช. และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยที่เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องรู้
4 เรื่อง ที่มือใหม่ต้องรู้ก่อนบินโดรน
- ประเภทของโดรนที่ต้องขึ้นทะเบียนโดรน
- หน่วยงานที่ต้องขึ้นทะเบียนโดรน
- เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการขึ้นทะเบียนโดรน
- ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับการบินโดรน
โดรนประเภทใดบ้างที่ต้องขึ้นทะเบียนโดรน
การขึ้นทะเบียนโดรนแบ่งออกเป็น 2 หน่วยงาน ดังนี้
1. โดรนทุกประเภทต้องขึ้นทะเบียนผู้ครอบครองโดรนที่สำนักงาน กสทช. (NBTC)
2. โดรนที่มีคุณสมบัติดังนี้ ต้องขึ้นทะเบียนผู้บังคับโดรนที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT)
- โดรนที่ติดตั้งกล้องบันทึกภาพต้องขึ้นทะเบียนโดรนทุกกรณี
- โดรนที่น้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 25 กิโลกรัม ต้องขึ้นทะเบียนโดรนทุกกรณี (โดรนที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2 กิโลกรัม ไม่ต้องขึ้นทะเบียนโดรน)
- โดรนที่น้ำหนักเกิน 25 กิโลกรัมขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนโดรนทุกกรณีและต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังลือจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
หน่วยงานที่ต้องขึ้นทะเบียนโดรน
- ขึ้นทะเบียนผู้ครอบครองโดรนที่สำนักงาน กสทช.
- ขึ้นทะเบียนผู้บังคับโดรนที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการขึ้นทะเบียนโดรนกับทาง กสทช. (NBTC)
- คำขอขึ้นทะเบียนเครื่องวิทยุคมนาคมสำหรับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน คท.30
- รูปถ่ายของโดรนด้านหน้า-หลัง-ข้าง รุ่น และเลขประจำเครื่องของโดรนและรีโมตควบคุม (ปริ้นท์ลงกระดาษ A4)
- ใบเสร็จ ใบกำกับภาษีที่ได้จากการซื้อจากร้านค้า
- บัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง
เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการขึ้นทะเบียนโดรนกับทางสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT)
- หนังสือรับรองตนเองของผู้ขอ (ดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของ CAAT) หรือเข้าไปที่ https://uav.caat.or.th/
- กรมธรรม์ประกันภัยบุคคลที่ 3 (วงเงินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท)
- รูปถ่าย Serial Number ของโดรน
- สำเนาบัตรประจำตัวบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนโดรนออนไลน์กับทาง กสทช. (NBTC)
ปัจจุบันการขึ้นทะเบียนโดรนสามารถทำได้ง่ายๆผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างสะดวก
ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับการบินโดรน
มือใหม่หลายคนอาจคิดว่าการบินโดรนนั้นสามารถที่จะบินที่ไหนก็ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วการบินโดรนมีข้อจำกัดบางอย่างที่ไม่สามารถบินได้ ดังนี้
- ห้ามบินโดรนในระยะ 19 กิโลเมตร จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และห้ามบินในเขตพระราชฐาน
- ห้ามบินโดรนบริเวณเขตหวงห้ามและเขตอันตรายตามที่ประกาศในเอกสารแถลงข่าวการบินของประเทศไทย (Aeronautical Information Publication – Thailand หรือ AIP -Thailand) รวมทั้งบริเวณพื้นที่ 9 กิโลเมตร (5 ไมล์ทะเล) จากสนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่
- ห้ามบินโดรนในบริเวณสถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาล เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่
- ห้ามบินโดรนโดยใช้ความสูงเกิน 90 เมตร (300 ฟุต) เหนือพื้นดิน
- ต้องบินโดรนในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกซึ่งสามารถมองเห็นโดรนได้อย่างชัดเจน และห้ามบินโดรนเข้าใกล้หรือเข้าไปเมฆ
- ห้ามบินโดรนเหนือเมือง หมู่บ้าน ชุมชน หรือพื้นที่ที่มีคนมาชุมนุมอยู่
- ห้ามบินโดรนที่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อน ความรำคาญแก่ผู้อื่น
- ผู้บินโดรนต้องศึกษาและปฏิบัติตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก ประกาศ ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2558
สำหรับมือใหม่คงได้ทราบกันแล้วว่าก่อนที่จะเริ่มบินโดรนต้องทำอย่างไรบ้างให้ถูกกฏหมาย เพราะหากไม่มีใบอนุญาตบินโดรนอาจได้รับโทษทางกฎหมาย หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับใครที่กำลังซื้อโดรนหรือเริ่มบินโดรนคงได้ทราบขั้นตอนการขึ้นทะเบียนโดรนแล้ว หากมีเรื่องราวดีๆแบบนี้จะมานำเสนออีก
ที่มา :: https://www.zoomcamera.net/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น