Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

ยูเนสโกประกาศ "ภูพระบาท" เป็นมรดกโลก

 

ยูเนสโกประกาศ "ภูพระบาท" เป็นมรดกโลก



ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียน "อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท" จ.อุดรธานี เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ซึ่งถือเป็นแห่งที่ 5 ของไทย ต่อจากเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ที่ประกาศไปเมื่อปีที่แล้ว ขณะที่กรมศิลป์เปิดให้เข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ฟรี 28 ก.ค.-12 ส.ค.นี้

วันนี้ (27 ก.ค.2567) องค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ได้ประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในชื่อ “ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมา สมัยทวารวดี” (Phu Phrabat, a testimony to the Sīma stone tradition of the Dvaravati period)

ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย โดยเป็นแหล่งมรดกโลกลำดับที่ 8 และแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 5 ของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 2 ของ จ.อุดรธานี ต่อจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก เมื่อ พ.ศ.2535

น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า การที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จ.อุดรธานี ได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโก ให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ ถือเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 5 ของประเทศไทย ต่อจากนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จ.อุดรธานี และเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ที่ได้รับการประกาศในปีที่ผ่านมา

โดยอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลก ภายใต้คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล ได้แก่ การรักษาความเป็นของแท้และดั้งเดิมของแหล่งวัฒนธรรม สีมาหินสมัยทวารวดี และเป็นประจักษ์พยานที่ยอดเยี่ยมของการสืบทอดของวัฒนธรรมดังกล่าวที่ต่อเนื่องอย่างยาวนานกว่าสี่ศตวรรษ โดยเชื่อมโยงเข้ากับประเพณีของวัดฝ่ายอรัญวาสีในเวลาต่อมา

จึงขอเชิญชวนให้ชาวไทยทั่วประเทศร่วมแสดงความยินดี และเฉลิมฉลองในโอกาสที่ภูพระบาทได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ของไทย โดยกระทรวงวัฒนธรรม จะพยายามผลักดันให้เกิดแหล่งมรดกโลกแห่งใหม่ อย่างต่อเนื่อง

น.ส.สุดาวรรณ กล่าวอีกว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ได้ประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จ.อุดรธานี ระหว่างวันที่ 28 ก.ค.-12 ส.ค.2567 เพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคน ตลอดจนนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ร่วมเฉลิมฉลองการประกาศขึ้นทะเบียน ภูพระบาทเป็นมรดกโลกในครั้งนี้

ภูพระบาท ได้รับการประกาศเป็นแหล่งมรดกวัฒนธรรมแบบต่อเนื่อง จำนวน 2 แหล่ง ประกอบด้วย

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท และแหล่งวัฒนธรรมสีมา วัดพระพุทธบาทบัวบาน ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกห่างจากอำเภอบ้านผือ จ.อุดรธานี ประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมสีมาในสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16) อันโดดเด่นที่สุดของโลก ตามเกณฑ์คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล

ข้อที่ 3 คือสามารถอนุรักษ์ก ลุ่มใบเสมาหินสมัยทวารวดีที่มีจำนวนมาก และเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในโลก โดยใบเสมาดังกล่าว มีความสมบูรณ์และยังคงตั้งอยู่ในสถานที่ตั้งเดิม แสดงถึงวิวัฒนาการที่ชัดเจนของรูปแบบ และศิลปกรรมที่หลากหลายของใบเสมา ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องหมายกำหนดขอบเขตพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์

และเกณฑ์ข้อที่ 5 ภูมิทัศน์ของภูพระบาทได้รับการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการใช้พื้นที่เพื่อประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา และยังคงความสำคัญของกลุ่มใบเสมาหิน โดยความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับประเพณีสงฆ์ในฝ่ายอรัญญวาสี (พระป่า)

ภูพระบาทจึงเป็นประจักษ์พยานที่โดดเด่นของการใช้ประโยชน์ของธรรมชาติ เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมสีมา สมัยทวารวดี ซึ่งได้รับการสืบทอด รักษาวัฒนธรรมดังกล่าวที่ต่อเนื่องยาวนาน เชื่อมโยงประเพณีวัฒนธรรมของอรัญวาสีมาถึงปัจจุบัน

ด้าน นายนมัสวิน นาคศิริ นักโบราณคดีชำนาญการ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เปิดเผยว่า การเสนอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกมีอยู่ 2 ประเด็น คือ 1.อุทยานฯ ภูพระบาท ได้ปรากฏวัฒนธรรมเสมา ซึ่งเป็นคติความเชื่อที่ผสมผสาน ระหว่างการนับถือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และการกำหนดขอบเขตพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ด้วยหลักหินหรือใบเสมา

ซึ่งประเด็นนี้อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเป็นต้นแบบของการกำหนดพื้นที่อุโบสถที่มีใบเสมาล้อมรอบอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

ประเด็นที่ 2 มีหลักฐานอันเด่นชัดว่า มีมนุษย์เข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เรื่อยมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ โดยมนุษย์เหล่านี้ได้เข้ามาดัดแปลงหินให้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ดังปรากฏพระพุทธรูปภายในถ้ำหิน

สำหรับอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เคยถูกเสนอเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี 2547 ต่อมาถูกถอนรายชื่อกระทั่งปี 2559 ได้เสนอเพื่อให้มีการพิจารณาการขึ้นทะเบียนอีกครั้ง

เฮลั่น! "ภูพระบาท" เป็นมรดกโลกแห่งที่ 2 ของอุดรธานี


บรรยากาศในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ที่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี วันนี้ คึกคักเป็นพิเศษ มีหัวหน้าส่วนราชการ ประชาชน และนักท่องเที่ยว มารอลุ้น การประกาศให้ภูพระบาทขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

โดยหอนางอุสา ซึ่งมีลักษณะเป็นโขดหินคล้ายรูปดอกเห็ดหรือหอคอยขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนลานหินกว้าง ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นไฮไลท์ที่สำคัญสำหรับแหล่งโบราณคดี เพื่อประกอบการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกต่อยูเนสโก

ภายนอกหอนางอุสา ยังมีภาพเขียนสีทั้งส่วนฐานและส่วนบน เชื่อว่าเป็นการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณบริเวณโดยรอบรองไปด้วยใบเสมาและถ้ำหินที่มีพระพุทธรูปสมัยทวารวดี ซึ่งบ่งบอกถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา โดยหอนางอุสาเชื่อว่าใช้ในการทำพิธีกรรมทางศาสนา จึงถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และชาวบ้านในละแวกนี้ให้ความเคารพศรัทธา

ไทยพีบีเอสได้พูดคุยกับนักท่องเที่ยว ซึ่งเดินทางมาจาก จ.เชียงใหม่ บอกว่า เป็นครั้งแรกที่มาท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท และเพิ่งจะทราบข่าวว่าวันนี้คณะกรรมการจะมีการพิจารณาการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกลำดับที่ 6

ขณะที่นายนมัสวิน นาคศิริ นักโบราณคดีชำนาญการ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เปิดเผยว่า การเสนอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกมีอยู่ 2 ประเด็น คือ 1 อุทยานฯ ภูพระบาท ได้ปรากฏวัฒนธรรมเสมา ซึ่งเป็นคติความเชื่อที่ผสมผสานระหว่างการนับถือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และการกำหนดขอบเขตพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ด้วยหลักหินหรือใบเสมา ซึ่งประเด็นนี้อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเป็นต้นแบบของการกำหนดพื้นที่อุโบสถที่มีใบเสมาล้อมรอบอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

และในประเด็นที่ 2 มีหลักฐานอันเด่นชัดว่ามีมนุษย์เข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เรื่อยมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ โดยมนุษย์เหล่านี้ได้เข้ามาดัดแปลงหินให้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ดังปรากฏพระพุทธรูปภายในถ้ำหิน



Phu Phrabat Historical Park


CR  ::    https://www.thaipbs.or.th/news/content/342432

ภูพระบาท มรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งใหม่ของไทย

 

ภูพระบาท มรดกโลกทางวัฒนธรรม แห่งใหม่ของไทย



รู้จัก "อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท" มรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของไทย และแห่งที่ 2 ของ จ.อุดรธานี

ข่าวดี เมื่อองค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประกาศให้ "อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท" อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เป็น "มรดกโลกทางวัฒนธรรม" ซึ่งในปีนี้การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 จัดขึ้นที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลก ภายใต้คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล ได้แก่ การรักษาความเป็นของแท้และดั้งเดิมของแหล่งวัฒนธรรม สีมาหินสมัยทวารวดี และเป็นประจักษ์พยานที่ยอดเยี่ยมของการสืบทอดของวัฒนธรรมดังกล่าวที่ต่อเนื่องอย่างยาวนานกว่าสี่ศตวรรษ โดยเชื่อมโยงเข้ากับประเพณีของวัดฝ่ายอรัญวาสีในเวลาต่อมา

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เคยถูกเสนอเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี 2547 ต่อมาถูกถอนรายชื่อ กระทั่งปี 2559 ได้เสนอเพื่อให้มีการพิจารณาการขึ้นทะเบียนอีกครั้ง และในที่สุด ปี 2567 ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียน อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นมรดกโลก แหล่งที่ 8 ของประเทศไทย และเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ ลำดับที่ 5 ของประเทศไทย ต่อจากเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ที่ได้ประกาศไปเมื่อปีที่แล้ว และยังเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 2 ของ จ.อุดรธานี ต่อจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก เมื่อปี 2535


มรดกโลก คืออะไร

แหล่งมรดกโลก หรือ World Heritage Site เป็นพื้นที่ที่ได้รับการคัดเลือกจาก ยูเนสโก (UNESCO) หรือมีชื่อเต็มว่า องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ  เพราะมีลักษณะสำคัญทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่น และได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายตามสนธิสัญญา สถานที่เหล่านี้ถือว่าสำคัญต่อประโยชน์โดยรวมของมนุษยชาติ

อัปเดต 2567 ยูเนสโก ได้รับรองมรดกโลกไทยไปแล้ว 8 แห่ง เป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรม 5 แห่ง และมรดกโลกทางธรรมชาติ 3 แห่ง ล่าสุดก็คือ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท นับเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 8 ของไทย นั้นเอง


รู้จัก มรดกโลกแห่งที่ 8 ของไทย

มาทำความรู้จัก "อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท" มรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของไทย แล้วไทยมีมรดกโลกที่ไหนบ้าง ไปติดตามกันเลย 


อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (ป่าเขือน้ำ) ในพื้นที่บ้านติ้ว ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ ทางทิศตะวันตกของ จ.อุดรธานี สภาพภูมิประเทศของภูพระบาทมีลักษณะ เป็นลานหินและเพิงหิน ที่่เกิดจากธารน้ำ แข็งละลายกัดกร่อนบนภููพระบาท ทําให้เกิดเพิงหินรูปร่างต่าง ๆ มีอายุอยู่ในยุคครีเทเชียส อายุประมาณ 135 ปีมาแล้ว ประกอบด้วย หินทรายสีเทาเป็นชั้นหนา เม็ดตะกอนมีขนาดปานกลางถึงหยาบและหินทรายปนกรวดชั้นหนา 

จากการสำรวจทางโบราณคดี พบว่าบน "ภูพระบาท"ปรากฏร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ราว 2,500-3,000 ปี จากการค้นพบภาพเขียนสีอยู่มากกว่า 54 แห่ง

นอกจากนี้ ยังพบการดัดแปลงเพิงหินธรรมชาติให้เป็นศาสนสถานของผู้คนในวัฒนธรรมทวารวดี วัฒนธรรมเขมร วัฒนธรรมล้านช้างและรัตนโกสินทร์ตามลำดับ ซึ่งร่อยรอยหลักฐานทางโบราณคดีเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางสังคมของมนุษย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

ด้วยเหตุนี้กรมศิลปากรจึงดำเนินการขอใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติขนาดพื้นที่ 3,430 ไร่ จากกรมป่าไม้ โดยได้ประกาศขึ้นทะเบียนเขตโบราณสถานไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2524

จากนั้นจึงได้พัฒนาแหล่งจนกลายเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทในที่สุด และได้มีพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2535 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดสำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น กรมศิลปกร กระทรวงวัฒนธรรม มีโบราณสถานในพื้นที่รับผิดชอบซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 78 แห่ง มีภารกิจหลักในการดูแลรักษา อนุรักษ์และพัฒนา และทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโบราณสถานและโบราณวัตถุที่อยู่ภายในพื้นที่อุทยานฯและพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งยังเปิดให้บริการในฐานะแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมสำหรับประชาชนทั่วไป

การประกาศของยูเนสโก้ครั้งนี้ ก็ทำให้อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นมรดกโลกลำดับที่ 8 และแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 5 ของประเทศไทย ต่อจากเมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ได้ประกาศไปเมื่อปีที่แล้ว และยังเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 2 ของ จ.อุดรธานี ต่อจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก เมื่อปี 2535

ทั้งนี้ กรมศิลปากร จะเปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทฟรี ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม - 12 สิงหาคมนี้ 

ข้อมูลอ้างอิง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, กรมศิลปากร, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


"ยูเนสโก" รับรอง "มรดกโลกของไทย" ที่ไหนบ้าง


ปัจจุบัน "ยูเนสโก" ได้รับรองมรดกโลกไทยไปแล้ว 8 แห่ง แบ่งเป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรม 5 แห่ง และมรดกโลกทางธรรมชาติ 3 แห่ง ดังนี้


มรดกโลกทางวัฒนธรรม

1.  อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร (สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร) 

2. อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร 

3. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี 

4. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ปี พ.ศ. 2566

5. อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ปี พ.ศ. 2567 


แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ

1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ปี พ.ศ.2534

2. กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ปี พ.ศ.2548 

3. กลุ่มป่าแก่งกระจาน ปี พ.ศ.2564 

ปัจจุบันไทยมีแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของไทยที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้นของศูนย์มรดกโลก คือ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช, อนุสรณ์สถานและภูมิทัศน์วัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่, พระธาตุพนม, ปราสาทพนมรุ้ง, พื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน ครอบคลุม 3 จังหวัด คือระนอง พังงา ภูเก็ต และ ชุมชนที่อยู่ริมทะเลสาบสงขลา


Phu Phrabat Historical Park


ที่มา   ::   https://www.thaipbs.or.th/news/content/342438

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท (ภูพระบาท) Phu Phrabat Historical Park

 

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท (ภูพระบาท)



ประเภทของแหล่ง

วัฒนธรรม


กลุ่มของแหล่ง

แหล่งมรดกที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น ของศูนย์มรดกโลก


รายละเอียด

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท  ตั้งอยู่บนภูเขาที่ชื่อว่าภูพระบาท ในเขตพื้นที่เมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน ซึ่งเป็นเทือกเขาหินทราย อยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดอุดรธานี มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลางประมาณ  320 – 350 เมตร สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าโปร่ง มีพืชพันธุ์ธรรมชาติประเภทไม้เนื้อแข็งขึ้นปกคลุม

จากการสำรวจทางโบราณคดีที่ผ่านมาได้พบว่าบนภูพระบาทแห่งนี้ปรากฏร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์กำหนดอายุได้ราว 2,500 – 3,000 ปีมาแล้ว ดังตัวอย่างการค้นพบภาพเขียนสีอยู่มากกว่า 54 แห่งบนภูเขาลูกนี้ นอกจากนี้ก็ยังพบการดัดแปลงเพิงหินธรรมชาติให้กลายเป็นศาสนสถานของผู้คนในวัฒนธรรมทวารวดี วัฒนธรรมเขมร วัฒนธรรมล้านช้างและรัตนโกสินทร์ตามลำดับ ซึ่งร่อยรอยหลักฐานทางโบราณคดีเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางสังคมของมนุษย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

ด้วยเหตุนี้กรมศิลปากรจึงดำเนินการขอใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติขนาดพื้นที่ 3,430 ไร่ จากกรมป่าไม้ โดยได้ประกาศขึ้นทะเบียนเขตโบราณสถานไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2524 จากนั้นจึงได้พัฒนาแหล่งจนกลายเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทในที่สุด และได้มีพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2535 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด

ปัจจุบันอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดสำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น กรมศิลปกร กระทรวงวัฒนธรรม มีโบราณสถานในพื้นที่รับผิดชอบซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 78 แห่ง มีภารกิจหลักในการดูแลรักษา อนุรักษ์และพัฒนา และทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโบราณสถานและโบราณวัตถุที่อยู่ภายในพื้นที่อุทยานฯและพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งยังเปิดให้บริการในฐานะแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมสำหรับประชาชนทั่วไป

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ที่มีจุดเด่นแตกต่างจากแห่งอื่นๆ เนื่องจากโบราณสถานส่วนมากที่พบอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้ โดยโครงสร้างแล้วเกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อธรณีสัณฐานของพื้นที่ ต่อมามนุษย์ในอดีตได้เข้ามาดัดแปลงเพื่อสนองต่อวัฒนธรรมในแต่ละช่วงสมัย

 

ความสำคัญทางประวัติศาสตร์

พุทธศักราช 2478 ราชบัณฑิตยสภาประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478 ในขณะนั้นใช้ชื่อว่า “พระพุทธบาทบัวบก” อำเภอบ้านผือ ตำบลเมืองพาน

พุทธศักราช 2516 - 2517 คณะสำรวจโบราณคดี โครงการผามอง สำนักงานพลังงานแห่งชาติ ได้สำรวจแหล่งโบราณคดีในพื้นที่โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำเขื่อนผามอง เดินทางมาสำรวจพบแหล่งภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์หลายแห่งบนภูพระบาท ซึ่งบางแห่งได้เคยสำรวจพบแล้วโดยหน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น พุทธศักราช 2524 กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 98 ตอนที่ 63 วันที่ 28 เมษายน  2524  หน้า 1214 ระบุว่า “โบราณสถานพระพุทธบาทบัวบก ที่ภูพระบาท เนื้อที่ประมาณ 19,062 ไร่ ปรากฏว่าเนื้อที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง และจำนวนเนื้อที่ตามข้อเท็จจริงคือประมาณ 3,430 ไร่”

พุทธศักราช 2531 ดร.สุวิชญ์ รัศมิภูติ ขณะดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมศิลปากรขณะนั้นมีดำริเห็นควรดำเนินการพัฒนาพื้นที่ของภูพระบาทขึ้นเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ เนื่องจากมีความพร้อมหลายด้านด้วยกัน อาทิ จำนวนโบราณสถานมากมายทั้งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ซึ่งประกาศเขตโบราณสถานแล้ว ป่าไม้ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ และประติมากรรมหินตามธรรมชาติ

พุทธศักราช 2532 เริ่มโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น โดยจัดทำแผนงานโครงการและจัดหางบประมาณมาดำเนินการอนุรักษ์หลักฐานทางโบราณคดีและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก

พุทธศักราช 2535 กรมศิลปากรกราบทูลเชิญ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2535

 

ลักษณะทางธรณีวิทยา

พื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทนั้น มีลักษณะทางธรณีวิทยาอยู่ในหมวดหินภูพานของหินชุดโคราช เป็นหินทรายสีเเดงของมหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic) มีอายุตั้งเเต่ปลายยุคไทรแอสซิค (245 - 208 ล้านปี) – ครีเทเชียส (146 – 65 ล้านปี) จนถึงยุคเทอร์เชียรีของมหายุคซีโนโซอิค (65 – 5 ล้านปี) โดยชั้นหินทรายนี้วางตัวอยู่บนพื้นผิวของหินมหายุคพาลีโอโซอิกตอนบน (286 - 245 ล้านปี)

เพิงหินรูปร่างต่างๆที่พบในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทนั้น เกิดจากการที่ชั้นหินทรายเเต่ละชั้นมีความคงทนต่อการกัดเซาะตามธรรมชาติที่เเตกต่างกัน โดยหินทรายชั้นกลางเป็นหินทรายเนื้ออ่อนที่มีการจับตัวของผลึกเเร่ไม่เเน่น จึงสึกกร่อนจากการกัดเซาะได้ง่ายกว่าหินชั้นบนเเละชั้นล่างซึ่งเป็นหินทรายปนหินกรวดมน เนื้อเเน่นเเข็ง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดเพิงหินที่มีส่วนกลางคอดเว้าคล้ายดอกเห็ด หรือสึกกร่อนจนเหลือเพียงเสาค้ำตามมุมคล้ายโต๊ะหิน กลายเป็นประติมากรรมทางธรรมชาติที่สวยงามแปลกตามองดูราวกับว่าก้อนหินเหล่านี้ถูกยกขึ้นมาวางโดยมนุษย์

ปรากฎการณ์ทางธรณีวิทยาลักษณะนี้ มิได้พบเเค่ในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเท่านั้น เเต่กระจายตัวอยู่หลายเเห่งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เช่นที่ ภูผาเทิบจังหวัดมุกดาหาร เสาเฉลียง จังหวัดอุบลราชธานี เขาจันทร์งาม จังหวัดนครราชสีมา

 


ตำนานความเชื่อ


อารยธรรมที่พบบนอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ยุคก่อนประวัติศาสตร์

จากการศึกษาลักษณะ และเนื้อหาสาระของภาพเขียนสีแล้ว ทำให้นักโบราณคดีมีความเห็นว่า ภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในประเทศไทยนั้น มีทั้งภาพการดำรงชีวิตด้วยการหาของป่าล่าสัตว์เเละภาพการทำเกษตรกรรม จึงน่าจะมีอายุในช่วงราว 3,000 – 2,500 ปีมาเเล้ว ซึ่งเป็นสมัยที่มนุษย์รู้จักการทำเกษตรกรรมเเละการทำเครื่องมือเครื่องใช้จากโลหะเเล้ว

ภาพเขียนสีที่พบบนภูพระบาทมีทั้งเเบบเขียนด้วยสีเดียว (Monochrome) คือสีเเดง เเละหลายสี (Polychromes) คือสีเเดง ขาว เหลือง ตัวภาพเเบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
          1. ภาพเสมือนจริง (ภาพคน, สัตว์, พืช, สิ่งของ)
          2. ภาพนามธรรม (ภาพสัญลักษณ์, ลายเรขาคณิต)

สีที่นำมาใช้เขียนนั้น สันนิษฐานว่าเป็นสีที่นำมาจากวัตถุดิบธรรมชาติเช่น ดินเทศ แร่เฮมาไทต์ โดยอาจนำสีที่ได้นี้ไปผสมกับของเหลวที่มีคุณสมบัติเป็นกาว เช่น ยางไม้ เสียก่อนเเล้วจึงนำมาเขียน เพื่อให้สีติดกับเพิงหินทนนาน


ยุคประวัติศาสตร์

พื้นที่บนภูพระบาท เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 หรือราว 1,400 – 1,000 ปีมาแล้ว ได้รับเอาวัฒนธรรมทวารวดีที่แพร่มาจากภาคกลางของประเทศไทย พร้อมกับคติความเชื่อทางพุทธศาสนา ทำให้เกิดการก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ เนื่องในพุทธศาสนาขึ้น ได้แก่ การตกแต่งหรือดัดแปลงเพิงหินให้เป็นศาสนสถาน โดยมีรูปแบบการติดตั้งใบเสมาหินทรายล้อมรอบเอาไว้

ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 15 – 18 อิทธิพลศิลปกรรมแบบเขมร ซึ่งแพร่หลายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ได้เข้ามามีบทบาทในแถบนี้ ที่ถ้ำพระมีการตกแต่งสกัดหินเป็นรูปพระโพธิสัตว์และรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบเขมร ที่วัดพระพุทธบาทบัวบานและที่วัดโนนศิลาอาสน์ ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับภูพระบาท มีการสลักลวดลายบนใบเสมาหินทรายเป็นเรื่องพุทธประวัติและชาดก ซึ่งมีลวดลายตามรูปแบบศิลปกรรมแบบเขมร

หลังจากช่วงสมัยทวารวดีและเขมรผ่านไป ในราวพุทธศตวรรษที่ 22 – 23 วัฒนธรรมล้านช้าง ได้แพร่เข้ามาที่ภูพระบาท พบหลักฐานเป็นพระพุทธรูปเช่น พระพุทธรูปที่ถ้ำพระเสี่ยง ส่วนด้านสถาปัตยกรรมพบหลักฐานที่วัดลูกเขย



นิทานพื้นบ้านเรื่อง “อุสา – บารส”

ผู้คนในท้องถิ่นได้นำเอานิทานพื้นบ้านเรื่อง “อุสา – บารส” มาตั้งชื่อโบราณสถานที่ต่าง ๆ บนภูพระบาท การเที่ยวชมโบราณสถานบนภูพระบาทจึงควรต้องรู้เกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านเรื่องนี้ เพื่อจะได้เข้าใจที่มาของชื่อตลอดจนทราบถึงคติความเชื่อของชุมชนได้เป็นอย่างดี

เนื้อเรื่องเป็นเรื่องราวความรักอันไม่สมหวังระหว่างนางอุสา ธิดาของท้าวกงพาน กับท้าวบารส ซึ่งเป็นโอรสของเจ้าเมืองปะโคเวียงงัว โดยเรื่องราวเริ่มจากนางอุสาได้ทำการเสี่ยงทายหาคู่ ด้วยการทำมาลัยรูปหงส์ลอยไปตามลำน้ำ ซึ่งท้าวบารสเป็นผู้ที่เก็บได้ จึงออกตามเจ้าของมาลัยเสี่ยงทายนั้น จนมาถึงเมืองพานและได้พบกับนางอุสา ทั้งคู่ตกหลุมรักกัน เมื่อท้าวกงพานทราบเรื่องจึงวางอุบายให้มีการแข่งขันสร้างวัดกันภายในหนึ่งวัน โดยผู้ที่แพ้การแข่งขันจะต้องตาย ฝั่งท้าวบารสเสียเปรียบเพราะมีคนน้อยกว่าจึงใช้เล่ห์กลอุบายนำโคมไฟไปแขวนบนยอดไม้เพื่อลวงให้ฝ่ายท้าวกงพานคิดว่าเป็นยามเช้าตรู่แล้ว จึงพากันเลิกสร้างวัดและพ่ายแพ้ไปในที่สุด และถูกตัดศีรษะ หลังจากนั้นนางอุสาได้ไปอยู่กับท้าวบารสที่เมืองปะโคเวียงงัว แต่ก็ถูกกลั่นแกล้งจึงหนีกลับเมืองพาน ในขณะที่ท้าวบารสไปบำเพ็ญเพียรในป่าเพียงลำพัง ต่อมาเมื่อท้าวบารสทราบเรื่องจึงได้ออกเดินทางไปตามนางอุสา ณ เมืองพาน แต่พบว่านางอุสาได้สิ้นใจเพราะความตรอมใจไปก่อนหน้านั้นแล้ว ท้าวบารสเสียใจอย่างสุดซึ้งจึงตรอมใจตายตามนางอุสาไป

 

พิกัดที่ตั้ง

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
N 17 43 51  E 102 21 22

แหล่งวัฒนธรรมสีมา วัดพระพุทธบาทบัวบาน 
N 17 37 49  E 102 19 54


หมายเหตุ


สามารถดาวน์โหลดชุดข้อมูลแหล่งที่บรรจุอยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก
ได้ที่  เว็บไซต์ (https://www.onep.go.th/tentative-list/)  หรือ กดที่นี่เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูล


วันที่ขึ้นทะเบียน

2004 / 2547


คุณค่าความเป็นสากล

3 - เป็นเอกลักษณ์ที่หายากยิ่ง หรือเป็นของแท้ดั้งเดิม

5 - เป็นตัวอย่างลักษณะอันเด่นชัด หรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่มีความเปราะบางด้วยตัวมันเอง หรือเสื่อมสลายได้ง่ายจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่ไม่สามารถกลับคืนดังเดิมได้ หรือการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ



Phu Phrabat Historical Park


ที่มา    https://worldheritagesite.onep.go.th/sitedetail/19

"อุทยานภูพระบาท" ลุ้นขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรม

 

"อุทยานภูพระบาท" ลุ้นขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรม


"กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม" ชวนคนไทยส่งแรงใจร่วมลุ้น "อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท" ขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรม 27 ก.ค.นี้ คาดคนไทยจะได้รับข่าวดี

วันที่ 26 ก.ค. 2567 พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เผยว่า ได้รับทราบรายงานจากคณะผู้แทนไทย ที่เดินทางไปร่วมการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย ว่าได้ขอให้ที่ประชุมเลื่อนการพิจารณาการรับรองอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เป็นมรดกโลกให้เร็วขึ้น เป็นวันที่ 27 ก.ค. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยคาดว่าจะมีการพิจารณาในลำดับที่ 6 ในช่วงเช้าของการประชุม ขณะที่วันนี้จะมีการนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม "สงขลา และชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา" เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลกด้วย

ในโอกาสนี้ อยากขอเชิญชวนพี่น้องชาวไทยร่วมส่งแรงใจ ร่วมลุ้นร่วมเชียร์ให้อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ได้รับการพิจารณาเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เพื่อเฉลิมฉลองปีมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

ทั้งนี้ หากอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทได้รับการพิจารณาเป็นมรดกโลก จะเป็นมรดกโลกแห่งที่ 8 ของประเทศไทย และแห่งที่ 2 ของจังหวัดอุดรธานี ต่อจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อย่างไรก็ตาม จากการประสานงานกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และร่วมกันจัดทำข้อมูลมาอย่างดี เชื่อมั่นว่าวันที่ 27 ก.ค.นี้ คนไทยจะได้รับข่าวดีแน่นอน.


27 กรกฎาคม 2567 "อุทยานภูพระบาท" ลุ้นขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรม
https://youtu.be/J82c2uRsHCE?si=Bssr-wB9gStRsnLO


Phu Phrabat Historical Park


ที่มา   ::     https://www.thairath.co.th/news/society/2803452

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

วิธีรักษาตาปลาที่เท้าง่าย ๆ ไม่ต้องทนรำคาญอีกต่อไป

 

วิธีรักษาตาปลาที่เท้าง่าย ๆ ไม่ต้องทนรำคาญอีกต่อไป


  ตาปลา ก้อนหนังกำพร้าที่สร้างความรำคาญ และอาจสร้างความเจ็บปวดให้ใครหลายคน มาดูวิธีรักษาที่แสนจะง่ายจากของใกล้ตัวในบ้าน อยากให้เท้าเรียบเนียนสวยต้องรีบทำตาม

วิธีรักษาตาปลา

          ตาปลา หนึ่งในโรคผิวหนัง ที่แม้จะไม่มีความอันตราย แต่ก็สร้างความรำคาญใจได้ไม่น้อยเพราะเมื่อเป็นแล้วก็อาจจะทำให้รู้สึกเจ็บได้ขณะที่เดินหรือสวมใส่รองเท้า ซึ่งวิธีรักษาเจ้าตาปลานี้ก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก่อนที่จะไปดูวิธีรักษาตาปลา ลองมาทำความรู้จักตาปลากันหน่อยดีกว่า


* ตาปลาเกิดจากอะไร แตกต่างจากหูดอย่างไร

          ตาปลา หรือที่มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Corn เป็นก้อนของหนังขี้ไคลที่หลายคนมักสับสนกับโรคหูด แต่ตาปลาเกิดจากการเสียดสีหรือกดทับของผิวหนังเรื้อรังเ­­ป็นเวลานาน เช่น การเสียดสีกันระหว่างเท้าและร­องเท้า บริเวณนิ้วเท้าที่กระดูกนิ้วเท้าเสียดสีกัน หรือด้านบนหลังเท้าที่เกิดจากการสวมรองเท้าหัวแบนเป็นประจำ ซึ่งแตกต่างจากหูดที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส สามารถเกิดบริเวณใดก็ได้ที่ติดเชื้อ ไม่จำเป็นต้องมีการเสียดสี และหากลองใช้มีดฝานตาปลาบาง ๆ จะไม่พบจุดเลือดออกเหมือนหูด เพราะตาปลาจะเป็นหนังแข็ง ๆ ที่ไม่มีเส้นเลือดมาเลี้ยงเยอะ ๆ เหมือนหูด อีกทั้งตาปลาเองก็ไม่ได้เป็นโรคติดต่อ เหมือนหูดด้วย

วิธีรักษาตาปลา


ตาปลาอันตรายไหม

          ตาปลาจะเป็นตุ่มหนา แข็ง หรือผิวหนังหยาบ ๆ เฉพาะจุด กดแล้วเจ็บ ซึ่งอาการเจ็บปวดที่เกิดจากตาปลานั้น เป็นเพราะก้อนหนังขี้ไคลที่แข็งตัวถูกกดเข้าไปลึกในผิวหนัง หรือถ้าเป็นมากก็อาจจะไปกดทับกระดูกและเส้นประสาททำให้รู้สึ­­กเจ็บได้ แต่อย่างไรก็ตาม ตาปลาไม่ใช่โรคติดเชื้อ หากรักษาตาปลาอย่างถูกวิธีและป้องกันดี ๆ ก็จะหายได้ไม่ยาก โดยวิธีรักษาตาปลาก็มีหลากหลายวิธีตามนี้เลย

วิธีรักษาตาปลา

          
1. ใช้หินขัดเท้าเบา ๆ

          แช่เท้าในน้ำอุ่นนาน 15-20 นาที เพื่อให้ตาปลานุ่มลง จากนั้นใช้หินขัดเท้าขัดเบา ๆ ซึ่งจะช่วยให้ตาปลาหลุดได้ แล้วใช้ครีมทาบำรุงเท้าโดยเฉพาะเพื่อให้ความชุ่มชื้น แต่วิธีนี้อาจต้องทำซ้ำหลายครั้งกว่าตาปลาจะหายไป

          2. แปะพลาสเตอร์ยา

วิธีรักษาตาปลา


          ใช้พลาสเตอร์ที่มีกรดซาลิไซลิก 40% ปิดบริเวณตาปลาประมาณ 2-3 วัน หลังจากนั้นลอกพลาสเตอร์ออก แล้วแช่เท้าในน้ำอุ่นนาน 15-20 นาที เพื่อให้ตาปลานิ่มลงและลอกออกง่าย วิธีนี้ก็ควรต้องทำซ้ำบ่อย ๆ จนกว่าตาปลาจะหายไปด้วย

          3. ทายา

          แช่เท้าในน้ำอุ่นนาน 15-20 นาที จากนั้นเช็ดเท้าให้แห้ง และทาปิโตรเลียมเจลหรือน้ำมันมะกอกบริเวณรอบ ๆ ตาปลาเพื่อป้องกันกรดในตัวยากัดผิว จากนั้นจึงทายาที่มีกรดซาลิไซลิก หรือยาทารักษาหูดลงบนตาปลา วิธีนี้ก็ไม่ยากแต่อาจต้องทำซ้ำหลายครั้งจนกว่าตาปลาจะหลุดออก

          4. ผ่าตัด

          หากตาปลาเป็นเยอะหรือรุนแรง ไม่สามารถรักษาด้วยยาได้ แพทย์จะฝาตาปลาออก หรืออาจต้องผ่าตัด ซึ่งวิธีนี้จะหายเร็วกว่าการใช้ยา ทว่ามีโอกาสจะเป็นแผลเป็น และต้องรักษาแผลผ่าตัดนาน และควรทำแผลให้ถูกต้อง เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แผลได้ ที่สำคัญค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดค่อนข้างสูงกว่าการใช้ยาค่อนข้างมาก

          5. รักษาด้วยเลเซอร์หรือการจี้ไฟฟ้า

          วิธีรักษาตาปลาด้วยความร้อน หรือเลเซอร์ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง และอาจทิ้งรอยแผลเป็นได้ แต่จะทำให้ตาปลาหายเร็วกว่าการใช้ยา

          6. ใช้กระเทียมรักษา

วิธีรักษาตาปลา


          ฝานกระเทียมสดเป็นชิ้นหนา ๆ แล้วนำมาถูบริเวณที่เป็นตาปลา จากนั้นแปะกระเทียมกับตาปลาแล้วใช้ผ้าพันไว้ข้ามคืน ตื่นเช้ามาจึงค่อยแกะผ้าแล้วทำความสะอาดปกติ พอก่อนนอนก็ค่อยพันกระเทียมที่ตาปลาอีกครั้ง ทำต่อเนื่องกันประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรืออาจใช้มะนาวไม่ก็สับปะรดแทนกระเทียมได้ ทว่าวิธีนี้อาจไม่ได้ช่วยให้ตาปลาหายได้เท่าไรนะคะ

          7. เช็ดด้วยน้ำส้มสายชู

          กรดที่เข้มข้นในน้ำส้มสายชูจะช่วยให้ผิวที่แห้งแข็งนิ่มลงได้ โดยนำน้ำส้มสายชูผสมกับน้ำ 3 ส่วน แล้วใช้สำลีชุบน้ำส้มสายชูเจือจางทาลงบนตาปลา ปิดทับด้วยผ้าพันแผลทิ้งไว้ข้ามคืน จากนั้นนำผ้าพันแผลออก แล้วขัดด้วยหินขัดเท้าเบา ๆ บำรุงด้วยน้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าว ทำซ้ำได้จนกว่าตาปลาจะหลุดออก แต่ควรระวังไม่ให้น้ำส้มสายชูที่ใช้เข้มข้นจนเกินไป

ใช้กรรไกรตัดหรือเฉือนตาปลาได้ไหม

วิธีรักษาตาปลา


          แม้ตาปลาจะเป็นหนังแข็ง แต่ก็ไม่ควรตัดหรือเฉือนตาปลาด้วยของมีคม เพราะอาจเสี่ยงต่อการเป็นแผลติดเชื้อที่ผิวหนังได้

ใช้ธูปจี้ตาปลาได้ไหม

          อีกหนึ่งวิธีที่มีการแนะนำกันอย่างแพร่หลาย ด้วยการใช้ความร้อนจากธูปจี้ตาปลา ซึ่งไม่ได้ช่วยให้ตาปลาหายเลยนะคะ และอาจทำให้เกิดแผล ติดเชื้อ ต้องรักษาทั้งแผลและการติดเชื้อยาวไป ดังนั้นรักษาตาปลาด้วยวิธีอื่นที่ปลอดภัยเถอะ

ตาปลา ป้องกันได้ง่าย ๆ

วิธีรักษาตาปลา


          ถ้าไม่อยากให้ตัวเองต้องมานั่งรักษาตาปลากันทีหลัง ก็ลองป้องกันด้วยวิธีตามนี้ดู

          - สวมรองเท้าพื้นนิ่ม  

          - สวมรองเท้าที่ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป  

          -  เลือกรองเท้าให้เหมาะกับรูปเท้าของตัวเอง

          - หลีกเลี่ยงการใส่ส้นสูงนาน ๆ

          - หลีกเลี่ยงการเดินลงน้ำหนักที่เท้าอย่างไม่เหมาะสม

          - รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อลดแรงกดที่ฝ่าเท้า

          หากเป็นตาปลาแล้วก็พยายามลดแรงกดที่ตาปลาให้ได้มากที่สุด โดยอาจใช้ฟองน้ำ หรือแผ่นรองกันกัดรองส่วนที่เป็นตาปลาไว้ เพื่อกันไม่ให้หนังแข็ง ๆ ฝังลงไปในเนื้อเท้ามากขึ้น นอกจากนี้พยายามอย่าเดินเยอะหรือยืนนาน ๆ ด้วยนะคะ


#ตาปลา   #Corn   #หนังหนาด้าน   #Callus

         

ขอบคุณข้อมูลจาก
รายการสามัญประจำบ้านโรงพยาบาลสำโรงการแพทย์โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์Youtube ใกล้มือหมอ Doctor Near UMahidol Channel มหิดล แชนแนลศูนย์ข้อมูลเครื่องสำอาง กองเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย  ,  https://health.kapook.com/  ,  https://prinkotakoon.blogspot.com/2024/07/callus.html



วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

Year 6 SATs 2024

Year 6 SATs 2024 : National Curriculum Tests UK


Key stage 2 tests: 2024 English grammar, punctuation and spelling test materials


English grammar , punctuation and spelling , Paper 1 : questions

https://online.pubhtml5.com/laezu/douc/


English grammar , punctuation and spelling , Paper 2 : spelling

https://pubhtml5.com/laezu/cwcd/


Reading , Booklet , 2024 key stage 2 English reading booklet

https://online.pubhtml5.com/laezu/xmed/


English reading , Reading answer booklet

https://online.pubhtml5.com/laezu/krac/


English reading , test mark schemes , Reading answer booklet

https://online.pubhtml5.com/laezu/onnb/


English grammar , punctuation and spelling , Administering Paper 2 : spelling

https://online.pubhtml5.com/laezu/yzjs/


English grammar , punctuation and spelling , test mark schemes ,
Paper 1 : questions , Paper 2 : spelling





Key stage 2 tests: 2024 mathematics test materials



Maths Paper 1  #Arithmetic

https://online.pubhtml5.com/laezu/xlve/


Maths Paper 2  #Reasoning

https://online.pubhtml5.com/laezu/uwwi/


Maths Paper 3  #Reasoning

https://online.pubhtml5.com/laezu/dumq/


Mathematics Test : Mark Schemes (#เฉลย)
Paper 1 : Arithmetic , Paper 2 : Reasoning , Paper 3 : Reasoning

https://online.pubhtml5.com/laezu/nseh/





CR   ::      https://prinkotakoon.blogspot.com/2024/07/sats-2024_11.html