เจ็บก่อนคลอดคุณแม่รู้ได้
เจ็บก่อนคลอดคุณแม่รู้ได้ (Mother & Care)
เมื่อกำหนดคลอดใกล้เข้ามา คุณแม่มักเป็นกังวลกับอาการเจ็บท้องคลอด แล้วก็ไม่แน่ใจว่า เมื่อถึงเวลาจริงแล้วตัวเองจะรับมืออย่างไร หรือจะแยกการเจ็บเตือน เจ็บจริง ออกได้อย่างไร อย่ารอช้าคำตอบอยู่บรรทัดถัดไปแล้วค่ะ
อาการเจ็บเตือน
รู้สึกเจ็บตึงบริเวณหน้าท้องทั้ง 2 ข้าง, เอว และอาจเกิดอาการปวดหน่วงๆ ที่หัวหน่าว เพราะช่วงนี้ทารกกลับศีรษะลงต่ำเข้าไปอยู่อุ้งเชิงกรานแล้ว (ช่วงนี้ คนโบราณ จะใช้คำว่าท้องลด คือ ท้องจะต่ำลง)
ถ่ายปัสสาวะบ่อย เนื่องจากมดลูกเบียดเนื้อที่กระเพาะปัสสาวะ
เป็นช่วงที่ลูกในท้องดิ้นมากที่สุด มีส่วนทำให้มดลูกบีบตัวบ่อยขึ้น เกิดอาการท้องแข็งขึ้นได้ หรือถ้าคุณแม่อิ่มมากก็ทำให้ท้องแข็งเช่นกัน
เมื่อใกล้คลอดช่องคลอดจะมีการขยายตัว มีเส้นเลือดเล็ก ๆ แตก ทำให้มีมูกเลือดไหลออกมา มักเป็นสีน้ำตาลมากกว่าสีชมพูหรือแดงสด (เป็นเมือกที่อยู่บริเวณปากมดลูก เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่ผ่านเข้าไปบริเวณช่องคลอด)
สิ่งที่ควรปฏิบัติ
อาการที่เกิดขึ้นช่วงก่อนคลอดนี้ เป็นอาการที่เกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอ ความแรงและความถี่ของอาการก็ไม่เพิ่มขึ้น เป็น ๆ หาย ๆ บางครั้งอาจกินเวลาเป็นสัปดาห์ หรือไม่กี่ชั่วโมงก่อนนำไปสู่การคลอดจริง ฉะนั้นถ้ารู้สึกเจ็บหรือปวด ให้ลุกเดิน มีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อให้รู้สึกสบายขึ้น
อาการเจ็บคลอด
การหดรัดตัวของมดลูกเริ่มมากขึ้น ระยะเวลาเจ็บนานและถี่ขึ้นเรื่อย ๆ (ใช้วิธีจับเวลาการปวด เช่น ปวดทุก 15 นาที แล้วก็เริ่มปวดกระชั้นขึ้นเรื่อย ๆ)
เริ่มเจ็บปวดที่หลังแล้วปวดไล่มาถึงด้านหน้าบริเวณหัวหน่าว และท้องน้อย หรือลงมาหน้าขา
มีอาการปวดท้องน้อย อยากถ่ายอุจจาระ ร่วมกับการถ่ายอุจจาระบ่อย
มูกเลือดที่ออกทางช่องคลอด เป็นมูกเลือดสด เนื่องจากปากมดลูกเริ่มมีการเปิดขยายมากขึ้นเรื่อย ๆ (เตรียมพร้อมกับการคลอด)
ถุงน้ำคร่ำไหลออกมาทางช่องคลอด
อาการเหล่านี้ เป็นอาการที่คุณแม่พบได้ และแสดงให้คุณแม่รู้ได้ถึงอาการเจ็บจริงแล้วค่ะ
สิ่งที่ควรปฏิบัติ
เมื่อถึงเวลาเกิดอาการเจ็บคลอดขึ้นจริง คุณแม่ควรพยายามทำใจและร่างกายให้ผ่อนคลายมากที่สุด เช่น ช่วงกลางวัน คุณแม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติ แต่ไม่ควรเดินทางออกนอกบ้าน สังเกตความถี่ในการบีบตัวของมดลูกว่าเป็นอย่างไร เช่น ถี่มากขึ้น เจ็บมากขึ้นหรือไม่ส่วนช่วงกลางคืน ก็ควรนอนพักผ่อนออมแรงเพื่อการคลอด และวิธีบรรเทาอาการปวด อาจใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบอาการปวด แต่ไม่ควรกินยา และเตรียมตัวให้พร้อมในการไปโรงพยาบาล
4 สัญญาณอันตราย
1.ถ้ามูกเลือดที่ออกมาสีแดงสดและออกในปริมาณมาก ควรรีบไปพบคุณหมอ เพราะเลือดที่ออกมา อาจเกิดจากการลอกตัวของรกก่อนเวลาหรือรกเกาะขวางทางคลอด
2.หญิงตั้งครรภ์ที่ถุงน้ำคร่ำแตก (น้ำสีเหลืองจาง ๆ ไหลซึมออกมาทางช่องคลอด) จะมีการแข็งตัวของมดลูกภายใน 12 ชั่วโมง หรือภายใน 24 ชั่วโมง ต้องระวังปากช่องคลอดให้สะอาดและพบคุณหมอทันที เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
3.น้ำคร่ำอาจไหลออกมาก่อนที่จะเจ็บครรภ์ หรือหลังมีอาการเจ็บครรภ์ก็ได้ แม้ยังไม่เจ็บครรภ์ก็ควรรีบไปพบคุณหมอ โดยเฉพาะน้ำที่ไหลออกมามีสีเขียวปนเลือดหรือรู้สึกว่าลูกไม่ดิ้น ก็ควรรีบไปพบคุณหมอค่ะ
4.ถ้ามดลูกบีบตัวเบา ๆ ช้า ๆ แล้วคลายตัว แสดงว่าเป็น เพราะมดลูกบีบตัว ไม่เป็นอันตราย แต่ถ้ามดลูกบีบตัวจนคุณรู้สึกเจ็บและเจ็บมากขึ้นเรื่อยๆ แบบนี้ต้องรีบไปพบคุณหมอ แม้ยังไม่ถึงหรือใกล้กำหนดคลอดก็ตาม
สำหรับอาการเจ็บเตือน เจ็บคลอดที่กล่าวมานั้น คุณแม่แต่ละคนอาจมีอาการเจ็บคลอดที่แตกต่างกันได้ แต่อย่างน้อย การที่คุณแม่รับรู้ถึงอาการที่อาจเกิดขึ้นดังกล่าว จะช่วยให้คุณแม่รับมือ ดูแลตัวเองและลูกได้เหมาะสมเป็นไปอย่างมีสติค่ะ
เกร็ดเล็กๆทั้ง 5 สัญญาณก่อนคลอด
ควรรู้ไว้ 5 สัญญาณ ก่อนคลอด
เมื่อเข้าสู่ช่วง “ท้องแก่”ก็เตรียมตัวที่จะได้น้องแล้วเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น พอๆ กับที่คุณแม่รู้ว่าตั้งครรภ์นั่นละ เพราะมีทั้งความยินดี และความวิตกกังวลไปพร้อมๆ กันฉะนั้น ถ้าเรารู้ถึงอาการก่อนคลอดไว้ก่อน จะได้ช่วยให้คุณแม่ได้มีเวลาเตรียมตัว ดูแลตนเอง และไม่ตกใจกันเกินไปเมื่อถึงเวลาคลอดจริง
1. ท้องลด มักเกิดขึ้นช่วง 2-3 สัปดาห์ก่อนคลอด เพราะลูกกลับศีรษะลงต่ำ เข้าไปอยู่ในอุ้งเชิงกราน ทำให้ท้องคุณแม่ต่ำลงคุณแม่จะรู้สึกหายใจสะดวกขึ้นไม่อึดอัดบริเวณทรวงอกเหมือนที่ผ่านมา แต่มักปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นเนื่องจากมดลูกไปเบียดเนื้อ ที่กระเพาะปัสสาวะ และอาจเกิดอาการปวดหน่วงๆ ที่หัวหน่าว
2. ท้องแข็ง เกิดได้หลายสาเหตุ คุณแม่บางท่านอาจจะมีอาการ ท้องแข็งตั้งแต่ช่วงเดือนที่ 6 ก็เป็นได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นช่วงเดือนที่ 8(ประมาณ สัปดาห์ที่ 32)เนื่องจากเป็นช่วงที่ลูกในท้องดิ้นมากที่สุดซึ่งอาจมีส่วนทำให้มดลูกบีบตัวบ่อยขึ้น จึงเกิดอาการท้องแข็งขึ้นมา หรือถ้าคุณแม่รับประทานอิ่มมากก็ท้องแข็งเช่นกัน
วิธีการสังเกตดูว่า ถ้าคุณแม่รู้สึกว่ามดลูกบีบตัวเบาๆ ช้าๆ แข็งตัวอยู่พอสมควร แล้วก็คลายตัวช้าๆ เป็นวันละหลายครั้ง แต่ไม่เกิน 6-10 ครั้ง ก็แสดงว่าเป็นเพราะมดลูกบีบตัว ไม่เป็นอันตรายใดๆ แต่ถ้าแข็งจนเจ็บ และเจ็บมากขึ้นเรื่อยๆ ต้องรีบไปพบแพทย์ ถึงแม้ว่ายังไม่ถึง หรือใกล้กำหนดคลอดก็ตาม
3. มีมูกเลือด เกิดจากมูกที่ปกติอุดอยู่ที่ปากมดลูก เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่ผ่านเข้าไปบริเวณช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์ เมื่อใกล้คลอด ช่องคลอดมีการขยายตัว และมีเส้นเลือดเล็กๆ แตก ทำให้มูกเลือดไหลออกมาบ้าง บางคนอาจไหลก่อนประมาณ 1-2 สัปดาห์
4. น้ำเดิน คือ น้ำคร่ำคือน้ำที่อยู่ในถุง มีลักษณะเป็นน้ำใสๆ ไม่มีกลิ่น เมื่อใกล้คลอดถุงน้ำคร่ำมักแตกเอง มีน้ำไหลออกมา เราจึงเรียกว่า น้ำเดิน ซึ่งอาการน้ำเดินนี้ จะค่อยๆ ไหลซึมออกมาทีละนิด จนคุณไม่แน่ใจว่าเป็นน้ำเดินหรือเป็นระดูขาว และมักซึมออกมาช่วงลุกจากท่านั่งหรือท่านอน แต่ถ้าถุงน้ำคร่ำแตกจะมีน้ำเดิน ไหลออกมามากๆ เหมือนปัสสาวะราด น้ำเดินอาจออกมาก่อนเจ็บครรภ์ หรือหลังจากมีอาการเจ็บครรภ์ไปแล้วก็ได้ ซึ่งถ้ามีอาการน้ำเดินถึงแม้ยังไม่เจ็บครรภ์ก็ควรรีบ ไปพบแพทย์ทันทีค่ะ
5. อาการเจ็บเตือน คุณแม่ที่ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก จะรู้สึกกังวลกับการคลอดมาก โดยเฉพาะอาการเจ็บ ที่มีทั้งเจ็บเตือน เจ็บจริง จึงเกิดอาการไม่แน่ใจว่าจะคลอดหรือยัง ทำให้ไปโรงพยาบาลเก้อกันบ่อยๆ เราจึงรวบรวมอาการเจ็บเตือน เจ็บจริง มาแยกให้เห็นความแตกต่างกันค่ะ อาการที่กล่าวมาทั้งหมด แตกต่างกันไปบ้างในแต่ละท่าน แต่ถ้าคุณแม่มีข้อสงสัย หรือไม่แน่ใจก็ควรพบแพทย์ทันทีค่ะ
ที่มา :: http://www.thainewmom.com
สัญญาณใกล้คลอด
เมื่อใกล้กำหนดคลอดคุณแม่แต่ละท่านก็คงจะกังวลว่าคลอดเมื่อไรจะได้เตรียมตัวทัน การคลอดอาจจะไม่ตรงกำหนดก็ได้ หากคุณแม่ทราบอาการก่อนคลอดจะทำให้คุณแม่เตรียมตัวได้ทัน
อาการก่อนคลอด
อาการก่อนคลอดในแต่ละท่านจะไม่เหมือนกัน บางท่านพอมีอาการแล้วก็คลอด แต่บางท่านใช้เวลานานถึงจะคลอดซึ่งยังไม่ทราบเหตุผล อาการใกล้คลอดมีดังนี้
- ท้องลด
- มูกเลือดออกทางช่องคลอด
- เจ็บท้องเตือน
- น้ำเดิน
- ปากมดลูกบางและขยาย
ท้องลดหรือที่เรียกว่า Lightening
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ยังไม่ใกล้คลอด ทารกจะรอยอยู่ในมดลูก แต่เมื่อใกล้คลอดเด็กจะเคลื่อนตัวลงในอุ้งเชิงกราน การที่เด็กเคลื่อนตัวลงอุ้งเชิงกรานจะทำให้คุณแม่รู้สึกจะอึกอัดท้องลดลง ท้องมีขนาดเล็กลง และหายใจได้ดีขึ้น แต่คุณแม่จะรู้สึกหน่วงๆบริเวณหัวเหน่าเหมือนเด็กจะไหลออก และมีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากเด็กไปกดกระเพาะปัสสาวะ และกดบริเวณอุ้งเชิงกราน คุณแม่จะเกิดอาการท้องลดก่อนคลอดประมาณ 2 สัปดาห์สำหรับคุณแม่คนใหม่ แต่บางท่านเมื่อท้องลดก็เข้าสู่กระบวนการคลอดเลยก็ได้โดยเฉพาะผู่ที่ตั้งครรภ์หลังๆ
การที่ท้องลดยังช่วยบอกว่าท่าคลอดของเด็กน่าจะปกติคือเอาหัวลง แต่หากท่าเด็กอยู่ในท่าขวางท้องจะไม่ลด
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ยังไม่ใกล้คลอด ทารกจะรอยอยู่ในมดลูก แต่เมื่อใกล้คลอดเด็กจะเคลื่อนตัวลงในอุ้งเชิงกราน การที่เด็กเคลื่อนตัวลงอุ้งเชิงกรานจะทำให้คุณแม่รู้สึกจะอึกอัดท้องลดลง ท้องมีขนาดเล็กลง และหายใจได้ดีขึ้น แต่คุณแม่จะรู้สึกหน่วงๆบริเวณหัวเหน่าเหมือนเด็กจะไหลออก และมีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากเด็กไปกดกระเพาะปัสสาวะ และกดบริเวณอุ้งเชิงกราน คุณแม่จะเกิดอาการท้องลดก่อนคลอดประมาณ 2 สัปดาห์สำหรับคุณแม่คนใหม่ แต่บางท่านเมื่อท้องลดก็เข้าสู่กระบวนการคลอดเลยก็ได้โดยเฉพาะผู่ที่ตั้งครรภ์หลังๆ
การที่ท้องลดยังช่วยบอกว่าท่าคลอดของเด็กน่าจะปกติคือเอาหัวลง แต่หากท่าเด็กอยู่ในท่าขวางท้องจะไม่ลด
มูกเลือดออกทางช่องคลอด
ปกติปากมดลูกของคนตั้งครรภ์จะมีมูกเลือดป้องกันสิ่งแปลกปลอม เมื่อใกล้คลอดปากมดลูกเริ่มเปิดและขยายทำให้มูกและเลือดที่บริเวณปากช่องคลอดไหลออกมาทางช่องคลอด และเส้นเลือกที่บริเวณปากมดลูกมีการแตกทำให้มีเลือดออกมาพร้อมมูก เป็นสัญญาณเตือนว่าใกล้เวฃาที่ลูกน้อยจะลืมตาแล้ว
ปกติปากมดลูกของคนตั้งครรภ์จะมีมูกเลือดป้องกันสิ่งแปลกปลอม เมื่อใกล้คลอดปากมดลูกเริ่มเปิดและขยายทำให้มูกและเลือดที่บริเวณปากช่องคลอดไหลออกมาทางช่องคลอด และเส้นเลือกที่บริเวณปากมดลูกมีการแตกทำให้มีเลือดออกมาพร้อมมูก เป็นสัญญาณเตือนว่าใกล้เวฃาที่ลูกน้อยจะลืมตาแล้ว
เจ็บท้องเตือนหรือเจ็บท้องจริง
เจ็บท้องเตือนหรือเจ็บหลอกอาจจะทำให้คุณแม่สับสนว่าใกล้คลอดหรือยัง อาการปวดท้องเตือนอาจจะปวดแบตึงๆส่วนอาการเจ็บท้องจริงอาจจะปวดตั้งแต่หลังมายังหน้าท้อง ปวดจากยอดมดลูกลงไปยังหัวเหน่าลักษณะเหมือนคลื่น
เมื่อคุณแม่เริ่มเจ็บท้อง คุณแม่ต้องบันทึกเวลาที่เริ่มปวด และเวลาที่หายปวด คุณแม่ที่เริ่มเจ็บท้องจะเจ็บแต่ละครั้งนาน 60-90 วินาที และเจ็บทุก 15-20 นาที หากใกล้คลอดจะมีลักษณะที่เจ็บคือเจ็บทุก 3-4 นาที แต่ละครั้งจะเจ็บนาน 45-60 วินาที หากมีอาการเจ็บดังกล่าว ให้รับไปโรงพยาบาลใกล้บ้าน
เจ็บท้องเตือนหรือเจ็บหลอกอาจจะทำให้คุณแม่สับสนว่าใกล้คลอดหรือยัง อาการปวดท้องเตือนอาจจะปวดแบตึงๆส่วนอาการเจ็บท้องจริงอาจจะปวดตั้งแต่หลังมายังหน้าท้อง ปวดจากยอดมดลูกลงไปยังหัวเหน่าลักษณะเหมือนคลื่น
ลักษณะของอาการปวด | เจ็บเตือน | เจ็บจริง |
---|---|---|
ความถี่ของการเจ็บ | เจ็บท้องไม่สม่ำเสมอ | เจ็บถี่ทุก 30-70 วินาที เมื่อใกล้คลอดจะเจ็บถี่ขึ้น |
เปลี่ยนท่าแล้วปวดน้อยลงหรือไม่ | อาการปวดจะดีขึ้นเมื่อคุณเดินหรือเปลี่ยนท่า | อาการปวดไม่สัมพันกับท่า |
ความรุนแรงของอาการปวด | อาการปวดจะปวดไม่มาก | ความรุนแรงจะปวดมากขึ้น |
ลักษณะของอาการปวด | อาการปวดจะเบาๆอยู่บริเวณหน้าท้อง | อาการปวดจะเริ่มที่หลังมายังหน้าท้อง |
เมื่อคุณแม่เริ่มเจ็บท้อง คุณแม่ต้องบันทึกเวลาที่เริ่มปวด และเวลาที่หายปวด คุณแม่ที่เริ่มเจ็บท้องจะเจ็บแต่ละครั้งนาน 60-90 วินาที และเจ็บทุก 15-20 นาที หากใกล้คลอดจะมีลักษณะที่เจ็บคือเจ็บทุก 3-4 นาที แต่ละครั้งจะเจ็บนาน 45-60 วินาที หากมีอาการเจ็บดังกล่าว ให้รับไปโรงพยาบาลใกล้บ้าน
น้ำเดิน
เมื่อใกล้คลอดถุงน้ำคล่ำจะแตกและมีน้ำไหลออกมา ลักษณะใส ไม่มีกลิ่น อาจจะขุ่นเล็กน้อย ให้จดเวลาที่น้ำเดิน ปริมาณ และลักษณะน้ำให้แพทย์ โดยทั่วไปมักจะคลอดภายใน 24 ชม หลังมีน้ำเดิน
เมื่อใกล้คลอดถุงน้ำคล่ำจะแตกและมีน้ำไหลออกมา ลักษณะใส ไม่มีกลิ่น อาจจะขุ่นเล็กน้อย ให้จดเวลาที่น้ำเดิน ปริมาณ และลักษณะน้ำให้แพทย์ โดยทั่วไปมักจะคลอดภายใน 24 ชม หลังมีน้ำเดิน
ปากมดลูกบางและขยาย
เมื่อใกล้คลอดปากมดลูกจะเปิดเพื่อให้หัวเด็โผล่อกมาที่ปากมดลูด ปากมดลูกจะบางลง( Effacement 0-100%) และปากมดลูกจะถ่างออก(0-10 ซม) เมื่อปากมดลูกบางสุด Effacement 100% และถ่างออก 10 ซมก็สามารถเข้าสู่กระบวนการคลอด
เมื่อใกล้คลอดปากมดลูกจะเปิดเพื่อให้หัวเด็โผล่อกมาที่ปากมดลูด ปากมดลูกจะบางลง( Effacement 0-100%) และปากมดลูกจะถ่างออก(0-10 ซม) เมื่อปากมดลูกบางสุด Effacement 100% และถ่างออก 10 ซมก็สามารถเข้าสู่กระบวนการคลอด