พัฒนาการเด็กและการส่งเสริมทารกวัย 8 เดือน
วัยแห่งการเคลื่อนไหวและการล้มอย่างเป็น ธรรมชาติ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องห่วงเพราะว่ากะโหลกของเด็กวัยนี้ยังเป็นกะโหลกอ่อนอยู่ เวลาหัวกระแทกจะไม่มีอาการรุนแรงเท่าผู้ใหญ่ โดยกะโหลกนั้นจะเชื่อมต่อกันสมบูรณ์เมื่อลูกอายุครบ 2 ปี
พัฒนาการทางร่างกายและการส่งเสริม
วัย 8 เดือนนี้ลูกจะต้องล้มเป็นตุ๊กตาล้มลุกอยู่บ่อยครั้ง เพราะว่าสรีระของลูกนั้นศีรษะยังมีความใหญ่กว่าร่างกาย ทำให้เวลาลุกขึ้นยืนหรือนั่งโดยไม่มีอะไรพิง เด็กจะหงายหรือคว่ำง่ายๆ จวบจนที่กล้ามเนื้อต่างๆ เริ่มพัฒนา ทำให้อวัยวะทุกส่วนมีความแข็งแรงขึ้น แม้จะล้มไปบ้างแต่เขาก็จะเรียนรู้และฝึกฝนทักษะกล้ามเนื้อต่างๆ ด้วย อย่างไรก็ตามการยืนได้ด้วยตนเองเป็นสิ่งที่ลูกตื่นเต้นมาก และอยากลองอยู่ตลอดเวลา จนทำให้คิดว่าลูกอยู่ไม่สุขเอาเสียเลย
คุณพ่อคุณแม่สามารถเสริมเรื่องพื้นเพื่อป้องกันการล้มของลูก รวมทั้งนำเฟอร์นิเจอร์ที่มีล้อออกไป เพราะว่าลูกอาจจะทำให้ลูกเหนี่ยวจนเกิดอุบัติเหตุได้ลูกสามารถควบคุมกล้ามเนื้อนิ้วมือได้ดีขึ้น ด้วยการทดลองหยิบ ขว้าง ปา ของลูกเอง เขาจะเล่นสนุกอย่างนี้ได้ทั้งวัน พร้อมกับสังเกตการใช้งานมือของตนเองไปพร้อมๆ กันด้วย
พัฒนาการทางร่างกายของทารกวัย 8 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่
- คลานได้
- เคลื่อนไปข้างหน้าได้ด้วยวิธีถัดก้น
- ยืนเกาะเครื่องเรือนและเอื้อมตัวไปพร้อมกับก้าวขาเพื่อทรงตัว
- เกาะเครื่องเรือนและดันตัวยืนขึ้น แต่ต้องใช้คนช่วยจึงจะลงจากท่ายืนได้
- เมื่อจับยืนจะยื่นขาข้างหนึ่งออกไปข้างหน้า
- นั่งหลังตรงโดยลำพังได้นาน
- ขณะนั่งขาข้างหนึ่งจะเหยียดออก อีกข้างจะงอในท่าพัก
- ลุกขึ้นนั่งได้เองจากการยันแขนขึ้นหรือจากท่าคลาน
- พยายามหยิบลูกปัดเล็กๆ หรือเชือก
- ถือของเล่นเขย่าได้นานอย่างน้อย 3 นาที
- ถือขวดนมเองได้
พัฒนาการทางอารมณ์ จิตใจ และการส่งเสริม
วัยนี้จะเริ่มมีความกลัวเข้ามาครอบงำ ซึ่งแสดงว่าลูกเริ่มมีการนึกภาพในใจมากขึ้น ซึ่งแสดงถึงสติปัญญาและพลังแห่งจินตนาการได้อย่างดี แต่ว่าเวลาที่ลูกกลัวและติดแม่นั้นคุณแม่ไม่ควรทำโทษด้วยการตี แต่ควรสร้างความมั่นใจด้วยน้ำเสียงที่เบาแต่หนักแน่นว่า “เดี๋ยวแม่จะกลับมาตอนเย็น” และต้องรักษาสัญญานั้นเพราะลูกจะจดจำ การรักษาสัญญาเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัยและมีความมั่นคงทางอารมณ์อีกด้วย
หากครอบครัวจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เช่น แม่จะต้องกลับไปทำงาน ควรเตรียมตัวให้มีการเปลี่ยนแปลงทีละน้อย เพื่อลดความกังวลและความกลัวของลูกได้
พัฒนาการทางภาษาและการส่งเสริม
ลูกจะพูดคำง่ายๆ ซ้ำไปซ้ำมา บางครั้งก็ตะโกนแผดเสียงออกมาเมื่อหัวเราะดีใจ เลียนแบบคนที่อยู่ใกล้คิดและเรียนรู้เข้าใจคำศัพท์ได้มากขึ้น
พัฒนาการทางภาษาของทารกวัย 8 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่
- ส่งเสียงเลียนแบบต่างๆ บางครั้งก็ส่งเสียงพูดคุยแม้อยู่คนเดียว
- ส่งเสียงดังเหมือนตะโกน
- จีบปากจีบคอเริ่มเคลื่อนไหวกราม ใช้คำซ้ำๆ อย่างเช่น มามา จิ๊บจิ๊บ
- จะหันหน้าหรือหันตัวเมื่อได้ยินเสียงคุ้นหู
พัฒนาการทางสังคมและการส่งเสริม
แม้ว่าเราจะรู้สึกว่าลูกเป็นเด็กน่ารักเข้ากับคนง่าย แต่เด็กวัยนี้จะระแวงคนแปลกหน้าและร้องไห้โยเยเอาง่ายๆ คุณแม่อาจจะต้องบอกเพื่อนหรือญาติผู้ใหญ่ว่าอย่าเพิ่งพุ่งเข้ามาหาเด็กตั้งแต่ครั้งแรกที่เจอกัน แต่ควรทำความคุ้นเคย พูดคุยด้วย และรอให้เด็กเป็นผู้เข้าหาเองดีกว่า
พัฒนาการทางสังคมของทารกวัย 8 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่
- ตีเรียก ยิ้มให้ และหอมภาพในกระจก
- กลัวคนแปลกหน้า กลัวการแยกจาก ติดแม่
- ตะโกนหรือทำเสียงดังเรียกร้องความสนใจ
- สนใจแต่การเล่นของเล่น
- ผลักและปัดสิ่งที่ไม่ต้องการ
พัฒนาการทางสมองและการส่งเสริม
สมองของลูกมีการพัฒนาที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยคุณจะมองเห็นได้จากการเล่นที่ลูกจะชื่นชอบการเล่นเชิงปริมาณ เช่น ใส่ของชิ้นหนึ่งในกระป๋องแล้วหยิบออกมา หรือว่าใส่ของลงไปในกระป๋องเรื่อยๆ อีกทั้งลูกจะคอยสังเกตสิ่งแวดล้อมด้วยการนำตนเองเข้าไปสัมผัสมากขึ้น เช่น การดึงเครื่องเรือนเพื่อยันตัวเองขึ้นมา เด็กจะมีการลองก่อนแล้วว่าเครื่องเรือนนั้นมีความมั่นคงแค่ไหน หรือว่าการลองตบโต๊ะหรือเคาะสิ่งของเพื่อให้เสียงดัง ชอบทำซ้ำไปซ้ำมาจนคุณพ่อคุณแม่รำคาญด้วย
นอกจากนั้นลูกยังชอบมองภาพกลับหัว เชื่อว่าเป็นเพราะเขาติดการมองภาพแบบนี้ตั้งแต่ยังเป็นเด็กทารกตัวเล็กๆ ที่ชอบนอนหงายและมองแต่ภาพกลับหัวนั่นเอง
พัฒนาการทางสมองของทารกวัย 8 เดือนที่เด่นชัด ได้แก่
- สำรวจสิ่งของ ดูภายนอกภายใน กว้างยาวลึก
- มองมือตนเองเมื่อทำกิจกรรมต่างๆ เช่น หยิบหรือโยนของสำรวจภาชนะต่างๆ ด้วยการนำของใส่เข้าออก
- จะค้นหาของที่ซ่อนเอาไว้ในที่ง่ายๆ ได้ อย่างเช่น หลังม่าน
- เลียนแบบกิริยท่าทางของคน
- มีลักษณะการเรียนรู้เฉพาะตน ชอบการเรียนรู้
- ชอบเล่นน้ำ
- จดจำเวลาได้จากกิจวัตรประจำวันที่ทำสม่ำเสมอ
ที่มา : Momypedia : นิตยสารรักลูก : นิตยสาร ModernMom : คู่มือพัฒนาการเด็ก : คู่มือพัฒนาสมองลูกด้วยสองมือแม่ : หนังสือคู่มือเลี้ยงลูก โดย ศ.เกียรติคุณ พญ.ชนิกา ตู้จินดา สำนักพิมพ์รักลูกบุ๊ค
ตอบลบพัฒนาการเด็กอายุ 8-12 เดือน
พัฒนาการเด็กอายุ 8-12 เดือน และพัฒนาการที่ควรสงสัยว่าผิดปกติ
ช่วงนี้ลูกจะเคลื่อนไหวมากขึ้นทุกวัน คุณพ่อคุณแม่จะเห็นลูกพัฒนาขึ้น จนสุดจะปลาบปลื้มและท้าทาย ลูกจะเคลื่อนไหวจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เขาจะสนุกและภูมิใจที่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวตามที่อยากจะไปได้ตามใจ แต่ก็ยังอยากให้มีแม่อยู่ใกล้ และแม่ก็ยังจะต้องดูแลใกล้ชิด พร้อมที่จะช่วยเหลือประคับประคองให้ลูกปลอดภัย
พัฒนาการปกติการเคลื่อนไหว หรือ การเปลี่ยนท่า
- นั่งเองได้อย่างมั่นคง
- คลานไปข้างหน้าได้ หรือกระเถิบไปได้
- วางตัวในท่าคุกเข่า เอามือยันพื้นได้
- เปลี่ยนท่าจากท่านั่งเป็นท่าคลานได้
- เกาะยืนได้
- เดินโดยการเกาะจับได้
- เดิน 2-3 ก้าว ได้เอง
สงสัยพัฒนาการผิดปกติ มีอาการดังนี้
- ยังไม่คลาน
- ลากขาข้างใดข้างหนึ่งเวลาคลาน แสดงว่าขาข้างนั้นเคลื่อนไหวได้ไม่ดี
- ยังไม่ยอมยืน เมื่อจับให้ยืน
- ไม่ค้นหาของเล่นเมื่อนำไปซ่อน ในขณะที่เด็กเห็นแล้วว่าซ่อนที่ไหน
- ไม่เรียกพ่อแม่ เมื่ออายุ 1 ปี
- ไม่เรียนการทำท่าทาง เช่น โบกมือ บ๊ายบาย สั่นศีรษะ
- ไม่ชี้ที่รูป หรือสิ่งของ
พัฒนาการด้านอื่นๆที่ปกติมีดังนี้
การใช้มือและนิ้ว
- หยิบของโดยใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้
- เอาแท่งเหลี่ยมมาตีกระทบกันได้
- ใส่ของลงในกล่องได้
- เอาของออกจากกล่องได้
- ปล่อยของออกจากมือโดยสมัครใจ
- เอานิ้วชี้แหย่รูได้ (ซึ่งต้องระวังอย่าให้แหย่ปลั๊กไฟ)
ด้านภาษา
- สนใจฟังเวลาแม่พูด
- ตอบสนองต่อคำสั่งง่าย
- หยุดเมื่อบอกว่า “อย่า”
- สั่นศีรษะปฏิเสธได้เมื่อไม่ต้องการ
- ทำเสียงที่ยังไม่มีความหมาย
- เรียก พ่อ แม่ได้
- พยายามพูดตามบางคำ
ด้านความจำและการเรียนรู้
- ทดสอบของด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น เขย่า โยน หรือปล่อยของให้หล่น
- ค้นหาของที่ซ่อนไว้ได้โดยง่าย
- มองหรือชี้รูปได้ถูกต้องเมื่อบอกชื่อ
- เริ่มใช้ของใช้ต่าง ๆ ได้ถูก เช่น แปรงใช้แปรงฟัน ถ้วยมีไว้สำหรับดื่มน้ำ
- ยกโทรศัพท์มาแนบที่หู
ด้านสังคมและอารมณ์
- ขี้อายหรือตื่นตระหนก เมื่อพบคนแปลกหน้า
- ร้องตาม พ่อ แม่
- แสดงให้เห็นว่า ติดคนเลี้ยงหรือชอบของเล่นเฉพาะ
- ทดสอบว่า พ่อแม่ จะตอบสนองอย่างไร ถ้าเขาไม่กินอาหาร หรือร้องตาม
- แสดงอาการติดแม่หรือร้องตามเสียง
- ทำเสียงหรือแสดงท่าทาง ให้พ่อแม่สนใจ
- ใช้นิ้วหยิบอาหารกินเอง
- ยืดแขน ขา เวลาแม่ใส่เสื้อกางเกงให้ ใส่เสื้อผ้า
...
ตอบลบน้ำหนัก ส่วนสูง และพัฒนาการของทารกอายุ 9-12 เดือน
เด็กวัยนี้เริ่มหัดเดิน หัดก้าว แต่ยังไม่มั่นคง เด็กเคลื่อนไหวมากขึ้น และสำรวจภายในบ้านมากขึ้น บางคนอาจมีน้องใหม่ ซึ่งจะต้องเตรียมตัวให้เด็กรู้จักเรื่องการมีน้อง เมื่อน้องเกิดจะได้ไม่มีปัญหาด้านอารมณ์
น้ำหนักและความยาวโดยประมาณ
อายุ 9 เดือน น้ำหนัก 8 กิโลกรัม ความยาวตัว 72 เซนติเมตร
อายุ 10 เดือน น้ำหนัก 8.5 กิโลกรัม ความยาวตัว 73 เซนติเมตร
อายุ 11 เดือน น้ำหนัก 8.8 กิโลกรัม ความยาวตัว 74 เซนติเมตร
อายุ 12 เดือน น้ำหนัก 9 กิโลกรัม ความยาวตัว 75 เซนติเมตร
พัฒนาการ
การทรงตัวและเคลื่อนไหว
เด็กสามารถนั่งได้มั่นคง คลาน เกาะยืน หัดตั้งไข่ ยืนเองได้-ชั่วครู่ เมื่ออายุ 12 เดือน จูงมือเดินได้ บางคนเดินได้เองอย่างมั่นคง
การใช้ตาและมือ
เด็กใช้นิ้วหยิบของได้ เริ่มหยิบของเล็กโดยใช้ นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ได้ มองตามของที่ตกจากมือ เปิดหาของที่ซ้อนไว้ได้
การสื่อความหมายและภาษา
เด็กฟังรู้ภาษาและเข้าใจสีหน้าท่าทางได้ ให้ของเวลาพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงขอ เปล่งเสียงเลียนแบบพยัญชนะ แต่ไม่มีความหมาย
อารมณ์และสังคม
วัยนี้จะเล่นจ๊ะเอ๋ได้ ตามไปเก็บของที่ตก รู้จักแปลกหน้า และร้องตามแม่ เมื่อแม่จะออกไปจากห้อง ใช้มือหยิบอาหารกินได้
*การเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการของเด็กแต่ละคนอาจเร็ว ช้าแตกต่างกันได้บ้าง หากสงสัยควรถามแพทย์
พ่อแม่ต้องเอาใจใส่ในเรื่องต่อไปนี้
- ให้อาหารเพิ่มเป็น 3 มื้อ และบดอาหารให้หยาบขึ้นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ที่อ่อนนุ่ม เพื่อให้เด็กหัดเคี้ยว
- เริ่มให้เด็กถือช้อนเล็กที่ปลายมน หัดตักของข้น ๆ บ้างและให้หัดดื่มจากถ้วย
- ให้หยิบจับเล่นสิ่งของในบ้านที่ไม่มีอันตราย
- พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูควรเล่นกับเด็กบ่อย ๆ พูดคุยด้วย และทำท่าทางเล่นกับเด็ก เช่น จ๊ะเอ๋ จับปูดำ แมงมุม จ้ำจี้ ตบมือ
- ให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมครอบครัว เช่น มีเก้าอี้นั่งร่วมโต๊ะอาหารและให้โอกาสเด็กเล่นเองบ้าง แต่ต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา
- ระวังอุบัติเหตุในบ้าน เช่น พลัดตกจากบันได ปลั๊กไฟ การสำลักเม็ดผลไม้ ถั่ว และเม็ดยา
- พ่อแม่ควรสอนเด็กให้รู้ว่าสิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำ โดยบอกหรือทำท่าทางให้เด็กรู้ เช่น เมื่อเด็กทำสิ่งที่ไม่สมควรควรจับตัวไว้ มองหน้าและห้าม แต่เมื่อเด็กทำสิ่งที่ดีควรจะยิ้มกล่าวชมหรือกอดตบมือ
- ควรเว้นช่วงการมีลูกคนต่อไปประมาณ 2-3 ปี เพื่อให้แม่มีสุขภาพดีและลูกแต่ละคนได้รับการเอาใจใส่ดูแลอย่างเต็มที่
- บันทึกน้ำหนักความยาว และพัฒนาการของเด็กลงในสมุดสุขภาพ และนำติดตัวไป เมื่อพาเด็กไปรับการตรวจสุขภาพทุกครั้ง
กิจกรรมที่คุณพ่อคุณแม่ต้องฝึกให้ลูกวัยนี้
- หัดเคี้ยวอาหารที่หยาบขึ้น
- หัดดื่มน้ำ ดื่มน้ำผลไม้จากถ้วย
- หัดระเบียบ วินัย
- หัดให้เล่นกับพี่ ๆ
อ้างอิง...http://www.geocities.com/tooktaktai/w9.htm