Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ข้อแนะนำสำหรับผู้เดินทางเข้า-ออกนอกราชอาณาจักร

ข้อแนะนำสำหรับผู้เดินทางเข้า-ออกนอกราชอาณาจักร




 
   ระเบียบว่าด้วยการเดินทางเข้าหรือออกนอกราชอาณาจักร
   การซื้อของจากบริเวณชายแดน
   การนำรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
   การลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมายศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง




 





        กรมศุลกากรมีหน้าที่ตามกฏหมายในการดูแลการนำเข้า-ส่งออกสินค้า ป้องกันการลักลอบสินค้า ดูแลของต้องห้ามต้องกำกัดตามกฏหมายต่างๆ ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยเหลืออำนวยความสะดวกต่อผู้ประสงค์จะเดินทางเข้า-ออก นักท่องเที่ยวและผู้สนใจทั่วไป กรมศุลกากรจึงมีความยินดีที่จะให้บริการข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินทางเข้า-ออกซึ่งควรทราบในเว็บไซต์นี้เป็นความรู้






ข้อแนะนำสำหรับผู้เดินทางเข้า-ออกนอกราชอาณาจักรมีดังนี้


   ก่อนการเดินทางท่านจะต้องเตรียมเอกสารการเดินทางให้พร้อม พึงสนใจศึกษาระเบียบศุลกากร เรื่องของด่านกักกันโรค การตรวจคนเข้าเมือง ชนิดของเงินตราของประเทศที่จะเดินทางไปและอัตราแลกเปลี่ยนตลอดจนชนิดและปริมาณของที่ได้รับอนุญาตให้ได้รับยกเว้นภาษีอากรเมื่อนำเข้ามา

   หากมีของเกินกว่าปริมาณที่ได้รับยกเว้นภาษีอากร ให้สำแดงต่อศุลกากรเพื่อชำระภาษีอากรให้ถูกต้อง ในกรณีที่ท่านสงสัยในชนิดและปริมาณของที่ได้รับยกเว้นอากรที่แจ้งไว้ในแบบสำแดงการนำเข้า ซึ่งท่านจะได้รับก่อนเดินทางเข้าถึงประเทศ โปรดสอบถามเจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำการ

   อย่ารับฝากของใดๆจากบุคคลอื่น เนื่องจากท่านจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบถ้าเป็นของผิดกฏหมาย

   พึงสังวรว่าโทษในการครอบครองเป็นเจ้าของยาเสพติดมีโทษหนักมาก ทั้งค่าปรับ การถูกจำคุก หรืออาจถึงขั้นประหารชีวิต



 

       

กฎหมายและระเบียบพิธีการศุลกากรที่ผู้เดินทางเข้า–ออกประเทศไทยทางท่าอากาศยานระหว่างประเทศควรทราบ มีดังต่อไปนี้






    1. ระเบียบว่าด้วยการเดินทางเข้าหรือออกนอกราชอาณาจักร(ฉบับแก้ไข)

 
 
การเดินทางเข้าหรือออกราชอาณาจักร
   ข้อแนะนำสำหรับผู้เดินทางเข้า-ออกนอกราชอาณาจักร
   สำหรับผู้โดยสารขาเข้า
           ช่องเขียว สำหรับผู้โดยสารที่นำของที่ไม่มีภาระต้องอากรติดตัวเข้ามา
           ช่องแดง สำหรับผู้โดยสารที่นำของต้องชำระอากร,ของต้องห้าม, และ/หรือ ของต้องกำกัด เข้ามา
           ข้อลงโทษหาก หลีกเลี่ยง การ สำแดง
           การฝากเก็บของไว้ในอารักขาศุลกากร (Customs Bond)
   นำของเข้า-ออกชั่วคราว ภายใต้เงื่อนไข เอ.ที.เอ คาร์เนท์ สำหรับ ของเป็นตัวอย่างสินค้า ฯลฯ
(ดูรายละเอียดได้ที่หน้าหลักของเว็บไซท์ หัวข้อ "พิธีการศุลกากร")
   การนำเงินตราเข้า-ออกประเทศ
   สำหรับผู้โดยสารขาออก
   การคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT REFUND)
   พิธีการนำเข้าของใช้ในบ้านเรือน สำหรับผู้ย้ายถิ่นฐาน(ดูรายละเอียดได้ที่หน้าหลักของเว็บไซท์ หัวข้อ "พิธีการศุลกากร")
   พิธีการนำเข้ายานพาหนะส่วนบุคคล(ดูรายละเอียดได้ที่หน้าหลักของเว็บไซท์ หัวข้อ "พิธีการศุลกากร")
   พิธีการนำเข้าของเอกสิทธิ์หรือของที่ได้รับบริจาค(ดูรายละเอียดได้ที่หน้าหลักของเว็บไซท์ หัวข้อ "พิธีการศุลกากร")
   การนำเข้าเพื่อจัดการประชุมระหว่างประเทศ(ดูรายละเอียดได้ที่หน้าหลักของเว็บไซท์ หัวข้อ "พิธีการศุลกากร")
       


******************************************************************************

      
กรมศุลกากรมีหน้าที่ตามกฎหมายในการดูแลการนำเข้า-ส่งออกสินค้า ป้องกันการลักลอบสินค้า ดูแลของต้องห้ามต้องกำกัดตามกฎหมายต่างๆ ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยเหลืออำนวยความสะดวกต่อผู้ประสงค์จะเดินทางเข้า-ออก นักท่องเที่ยวและผู้สนใจทั่วไป กรมศุลกากรจึงมีความยินดีที่จะให้บริการข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินทางเข้า-ออกซึ่งควรทราบในเว็บไซต์นี้เป็นความรู้เพื่อที่จะได้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรได้ถูกต้อง



ข้อแนะนำสำหรับผู้เดินทางเข้า-ออกนอกราชอาณาจักรมีดังนี้        

  

ก่อนการเดินทางท่านจะต้องเตรียมเอกสารการเดินทางให้พร้อม พึงสนใจศึกษาระเบียบพิธีการศุลกากรเรื่องของด่านกักกันโรค การตรวจคนเข้าเมือง ชนิดของเงินตราของประเทศที่จะเดินทางไปและอัตราแลกเปลี่ยนตลอดจนชนิดและปริมาณของที่ได้รับอนุญาตให้ได้รับยกเว้นภาษีอากรเมื่อนำเข้ามา
  
หากมีของเกินกว่าปริมาณที่ได้รับยกเว้นภาษีอากร ให้สำแดงต่อศุลกากรเพื่อชำระภาษีอากรให้ถูกต้อง ในกรณีที่ท่านสงสัยในชนิดและปริมาณของที่ได้รับยกเว้นอากร โปรดสอบถามเจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำการ ณ ช่องแดง
  
อย่ารับฝากของใดๆจากบุคคลอื่น เนื่องจากท่านจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบถ้าเป็นของผิดกฎหมาย
   พึงสังวรว่าโทษในการครอบครองเป็นเจ้าของยาเสพติดมีโทษหนักมาก ทั้งค่าปรับ การถูกจำคุก หรืออาจถึงขั้นประหารชีวิต





กฎหมายและระเบียบพิธีการศุลกากรที่ผู้เดินทางเข้า-ออกประเทศไทยทางท่าอากาศยานระหว่างประเทศควรทราบ มีดังต่อไปนี้

 
สำหรับผู้โดยสารขาเข้า

 


            กรมศุลกากรได้จัดบริการการดำเนินการพิธีการศุลกากรให้แก่ผู้โดยสารขาเข้า ตามมาตรฐานสากล โดยจัดช่องผ่านพิธีการศุลกากรไว้
2 ช่องทาง ได้แก่
    ช่องเขียว "ไม่มีของสำแดง"สำหรับผู้ไม่มีของต้องเสียภาษีอากร ของต้องห้าม ของต้องกำกัด
    ช่องแดง "มีของต้องสำแดง"สำหรับผู้ที่มีของต้องเสียภาษีอากร ของต้องห้าม ของต้องกำกัด หรือไม่แน่ใจว่าของที่นำเข้ามานั้น ต้องเสียภาษีอากรหรือไม่





ช่องเขียว
(Nothing to Declare)


 

เฉพาะ ผู้โดยสารที่นำของดังต่อไปนี้ติดตัวเข้ามา
      ของใช้ส่วนตัวที่มีปริมาณสมควรสำหรับใช้ส่วนตนและมีมูลค่ารวมทั้งหมดไม่เกิน 10,000 บาท (ซึ่งมิใช่ ของต้องห้าม ต้องกำกัด หรือเสบียง)
      บุหรี่ไม่เกิน 200 ม้วน หรือ ยาสูบ ไม่เกิน 250 กรัม หรือน้ำหนักรวมทั้งหมดทุกประเภท ไม่เกิน 250 กรัม
      เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปริมาตร ไม่เกิน 1 ลิตร
หากนำมาเกินกว่าปริมาณที่กำหนด โปรดหย่อนใส่กล่องที่กรมศุลกากรจัดไว้ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการถูกดำเนินคดี
คำเตือน: กรมศุลกากรเน้นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร โดยมิทำการตรวจสัมภาระผู้โดยสารทั้งหมดแต่ทำการสุ่มตรวจด้วยเครื่อง X-Ray ตามหลักมาตรฐานสากล



ช่องแดง
(Goods to declare)

1.ของที่มีภาระต้องชำระอากร
      ของที่ผู้โดยสารนำเข้ามามีปริมาณเกินกว่าที่จะใช้สำหรับส่วนตน และ/หรือมีมูลค่ารวมทั้งหมดเกิน 10, 000 บาท
      สิ่งของที่นำมาเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์เพื่อการพาณิชย์ หรือ ทางการค้า หรือมีลักษณะทางการค้า

2.ของต้องห้าม
      หมายถึง ของที่ห้ามไม่ให้นำเข้ามา หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร เช่น
      สารเสพติด
      วัตถุหรือสื่อลามก
      ของลอกเลียนแบบละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา
      ธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์ปลอม
      สัตว์ป่าสงวน
      การฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด เช่น มีไว้ในครอบครองหรือมีไว้เพื่อเสพ หรือเป็นผู้ผลิต ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ขนส่ง อาจมีโทษถึงประหารชีวิต

3.ของต้องกำกัด
           หมายถึง ของบางชนิด ที่กฎหมายควบคุมการนำเข้ามา และการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร การนำเข้าและการส่งออกของต้องกำกัด ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือ จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องนำมาแสดงในเวลาปฏิบัติพิธีการศุลกากรด้วย ตัวอย่างเช่น
 
ประเภท
องค์กรที่มีหน้าที่ควบคุม
* พระพุทธรูป ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ กรมศิลปากร
*อาวุธปืน กระสุน วัตถุระเบิด กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
*พืช และส่วนต่างๆของพืช กรมวิชาการเกษตร
*สัตว์มีชีวิต และซากสัตว์ กรมปศุสัตว์ หรือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
*อาหาร ยาสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
*ชิ้นส่วนยานพาหนะกระทรวงอุตสาหกรรม
*บุหรี่ ยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์กรมสรรพสามิต
*เครื่องมือวิทยุสื่อสาร อุปกรณ์โทรคมนาคม สำนักการอนุญาตกิจการเฉพาะกิจ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช)

       
 หากของที่ผู้โดยสารนำติดตัวมามีมูลค่ารวมทั้งหมดเกิน 80,000 บาท ผู้โดยสารต้องทำเอกสารปฏิบัติพิธีการศุลกากรที่ ส่วนบริการภาษีอากร




ข้อลงโทษ
หาก หลีกเลี่ยง การ สำแดง!
 

 
 

          โดนปรับ 4 เท่าของมูลค่าของ บวกค่าภาษีและอากร หรือ จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และของที่หลีกเลี่ยงการชำระอากรต้องถูกริบเป็นของแผ่นดิน ตามกฎหมายศุลกากร




การฝากเก็บของไว้ในอารักขาศุลกากร
 


 
 

           ผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยและมีของที่ต้องชำระภาษีอากร ของต้องกำกัดซึ่งไม่ประสงค์จะนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยสามารถนำของดังกล่าวมาเก็บไว้ในอารักขาศุลกากรได้ ณ สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานที่เดินทางเข้ามาเป็นเวลาไม่เกิน2เดือน โดยต้องแสดงตั๋วเดินทาง ไปประเทศที่สาม ณ เวลาที่นำของมาฝากและชำระค่าธรรมเนียมในอัตราที่กำหนดด้วยในวันเดินทางออกนอกราชอาณาจักรซึ่งผู้โดยสารสามารถขอรับของ ดังกล่าวคืนโดยแจ้งเจ้าหน้าที่สายการบินขณะยื่นตั๋วเดินทาง



อัตราค่าธรรมเนียมในการรับฝาก (หีบห่อหนึ่งถ้ามีน้ำหนักรวมสิ่งห่อหุ้ม)
 


 



 
 
น้ำหนักหีบห่อ
ค่าธรรมเนียมต่อวัน (บาท)
1.
ไม่เกิน 20 กก.
40
2.
เกิน 20 กก. แต่ไม่เกิน 40 กก.
80
3.
เกิน 40 กก.
150

หมายเหตุ : เศษของวันให้นับเป็น 1 วัน







นำของเข้า ชั่วคราว
เอ.ที.เอ คาร์เนท์
 
 
 


ผู้โดยสารที่มีความประสงค์จะนำเข้าของเป็นการชั่วคราว
เพื่อ  เป็นตัวอย่างสินค้า และวัตถุในการโฆษณา
        แสดงนิทรรศการ งานแสดงสินค้า งานประชุม
        ใช้ในวิชาชีพ
        หรือเพื่อ วัตถุประสงค์ทางวิทยาศาสตร์
และ จะส่งกลับออกไปโดยใช้เอกสารค้ำประกัน เอ. ที. เอ. คาร์เนท์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ประจำ ช่องตรวจสีแดงและผ่านพิธีการศุลกากร ณ ที่ทำการศุลกากรขาเข้า ส่วนบริการผู้โดยสาร

          ในวันเดินทางออกนอกราชอาณาจักรผู้โดยสารจะต้องยื่นเอกสารค้ำประกัน เอ ที เอ คาร์เนท์ และนำของดังกล่าวแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรขาออก เพื่อตรวจสอบ มิฉะนั้นจะถือว่าของมิได้ส่งกลับออกไปและจะถูกเรียกเก็บภาษีอากรในภายหลัง

          สำหรับผู้นำของออกจากราชอาณาจักรชั่วคราวและในภายหลังจะนำกลับเข้ามาในราชอาณาจักรโดยใช้เอกสารค้ำประกัน เอ ที เอ คาร์เนท์จะต้องปฏิบัติพิธีการศุลกากรในทำนองเดียวกัน





การนำเงินตราเข้า-ออกประเทศ
 
 
 

          ผู้โดยสารสามารถนำเงินตราไทย-เงินตราต่างประเทศหรือปัจจัยการชำระเงินตราต่างประเทศเข้ามาหรือออกไปนอกราชอาณาจักรไทยได้ตามมูลค่าที่กฎหมายกำหนด โดยไม่ต้องขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้

เงินไทย ผู้โดยสารสามารถนำติดตัวเดินทางไปต่างประเทศได้ คนละไม่เกิน 50,000 บาท ยกเว้นนำออกไปยังประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย เช่น พม่า สปป ลาว เขมร มาเลเซียและเวียดนาม นำออกได้คนละไม่เกิน 500,000 บาท ในกรณี การนำเข้า ผู้โดยสารสามารถนำเงินตราไทยนำเข้าได้ไม่จำกัดมูลค่า หากผู้โดยสารต้องการนำเงินตราไทยออกนอกราชอาณาจักรมูลค่าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ต้องขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทย และ นำหลักฐานการได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธต.5) มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศในขณะเดินทางออกนอกประเทศ

เงินตราต่างประเทศ บุคคลใดๆที่นำเงินตราต่างประเทศที่เป็นธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์ออกไปนอกหรือเข้ามาในราชอาณาจักร โดยมีมูลค่ารวมกันเกินกว่า 20,000 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือเทียบเท่า ต้องสำแดงรายการเงินตราต่างประเทศนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ขณะผ่านด่านศุลกากร หากไม่สำแดงหรือสำแดงรายการไม่ถูกต้องมีความผิดทางอาญา




สำหรับผู้โดยสารขาออก

          ถ้าผู้โดยสารต้องการนำของใช้ส่วนตัวติดตัวออกไประหว่างการเดินทาง เช่น นาฬิกา สร้อยคอ แหวน กล้องถ่ายวีดีโอ กล้องถ่ายรูป วิทยุเทป คอมพิวเตอร์สำหรับพกพา ฯลฯ และประสงค์จะนำกลับมาภายในประเทศโดยได้รับการยกเว้นอากร ผู้โดยสารจะต้องนำของดังกล่าว พร้อมบัตรที่นั่งบนเครื่องบิน (Boarding Pass) หนังสือเดินทาง และตั๋วโดยสาร มาแสดงแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนเดินทางเพื่อบันทึกรายละเอียดและรับสำเนาเอกสารไว้สำหรับแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำช่องตรวจสีแดงในวันเดินทางกลับเข้ามาประเทศไทย ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
        เป็นของเก่าใช้แล้วและมีจำนวน / ปริมาณพอสมควรแก่ฐานะ
       มีเครื่องหมาย เลขหมายให้ตรวจสอบได้ง่าย

          หากผู้โดยสารมีของที่มิใช่ของใช้ส่วนตัว แต่มีลักษณะเป็นสินค้า โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรล่วงหน้าเพื่อแนะนำไปปฏิบัติพิธีการศุลกากรก่อนการเดินทาง

          หากผู้โดยสารมีความประสงค์จะนำ Jewelry ออกนอกราชอาณาจักร ผู้โดยสารต้องทำเอกสารพิธีการศุลกากรขาออกก่อนที่จะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ณ สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานระหว่างประเทศนั้นๆ

          การนำออกนอก หรือ นำเข้าราชอาณาจักร ซึ่งของต้องห้ามต้องกำกัด เช่น ยาเสพติด วัตถุลามก พระพุทธรูป โบราณวัตถุ สัตว์สงวน
ผู้นำออก หรือ นำเข้า มีความผิดตามกฎหมาย



การคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
 
 
 

นักท่องเที่ยวที่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องมีลักษณะดังนี้
         1.ไม่เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยและไม่ได้เป็นผู้ที่อยู่ในประเทศไทย ถึง 180 วันในปีภาษี
         2.ไม่เป็นนักบินหรือลูกเรือของสายการบินที่เดินทางออกจากประเทศไทย
         3. เดินทางออกจากประเทศไทยโดยเครื่องบิน ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ

         สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศสุวรรณภูมิ ได้จัดเจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำที่ทำการศุลกากรขาออก ทำหน้าที่ตรวจรับรองสินค้าที่ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ณ จุดตรวจในห้องโถงผู้โดยสารระหว่างประเทศขาออก ก่อนที่ผู้โดยสารจะนำของเข้า CHECK IN ที่เคาน์เตอร์ของสายการบิน โดยสิ่งที่ผู้โดยสารผู้มีความประสงค์จะขอภาษีมูลค่าเพิ่มคืนจะต้องเตรียมสิ่งดังต่อไปนี้มาแสดงเพื่อให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจ
         1.หนังสือเดินทาง
         2. ใบคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10)
         3.ใบกำกับภาษีตัวจริงของสินค้าที่ซื้อ
         4.สินค้าที่ซื้อมาและจะขอภาษีคืน
         กรณีสินค้าชิ้นเล็กราคาแพงประเภทอัญมณี ที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ ทองรูปพรรณ นาฬิกา แว่นตา หรือปากกา หลังผ่านการตรวจประทับตราจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรแล้ว ให้นำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่สรรพากรเพื่อตรวจสินค้าอีกครั้งหนึ่ง ณ สำนักงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว หลังผ่านด่านตำรวจตรวจคนเข้าเมืองออกไปแล้ว

                  


2.
การซื้อของจากบริเวณชายแดน
       ภาษีอากรเป็นรายได้ที่สำคัญที่สุดของประเทศผู้ชำระภาษีอากรตามหน้าที่โดยถูกต้องจึงมีส่วนร่วมในการทะนุบำรุงและนำความเจริญมาสู่บ้านเมือง ส่วนผู้ที่ลักลอบหรือหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีอากรมุ่งแต่ประโยชน์ส่วนตนนับได้ว่าเป็นผู้บั่นทอนความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชาติเป็นการฉ้อโกงเอา เปรียบคนอื่นทั้งประเทศผู้ที่ซื้อสินค้าหนีภาษีทั้งที่พึงทราบได้จากราคาที่ต่ำผิดปกติมีส่วนสนับสนุนการลักลอบหรือหลีกเลี่ยงโดยตรงสินค้าหนีภาษีที่ ซื้อไปจึงอยู่ในข่ายที่จะต้องถูกริบตามกฎหมายและอาจถูกดำเนินคดีด้วย

       การป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีภาษีเนื่องจากไม่อยู่ในวิสัยที่จะสกัดกั้นมิให้มีการลักลอบข้ามพรมแดนเข้ามาได้เต็มที่จึงจำเป็นต้องใช้มาตรการอื่นด้วยเช่น การสืบจับแหล่งเก็บหรือค้าของเถื่อน และตรวจตรา ณ บางจุดในประเทศตามความเหมาะสมซึ่งบางครั้งอาจก่อให้เกิดความรู้สึกว่า เกินความจำเป็นไม่สะดวกหรือไม่เป็นธรรมขึ้นได้
       กรมศุลกากร ใคร่ขอความร่วมมือจากท่านได้โปรดเข้าใจในการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่และทำตามข้อแนะนำ ดังต่อไปนี้ในการซื้อของจากบริเวณชายแดน
 (1) สินค้าที่ขายในราคาต่ำกว่าปกติในท้องตลาดทั่วไปมาก ควรถือไว้ก่อนว่าเป็นสินค้าที่ลักลอบเข้ามาจำหน่ายจึงไม่ควรซื้อสินค้าดังกล่าว เพื่อช่วยกันขจัดการลักลอบ และจะได้ไม่เกิดปัญหาขึ้นภายหลัง

(2) ในกรณีที่จำเป็นต้องซื้อสินค้าจากบริเวณใกล้ชายแดน และนำติดตัวในการเดินทางไปมาในประเทศ หากซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก หรือเป็นสินค้าที่มีราคาสูงเช่นวิทยุ โทรทัศน์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆให้เรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายเป็นหลักฐาน โดย ตรวจสอบว่าใบเสร็จรับเงินนั้นๆได้ออกโดยถูกต้องและเป็นไปตามความจริง (ใบเสร็จของร้านขายจริง)

(3) ในกรณีที่เจ้าหน้าที่อาจสงสัยหรือสอบถามเกี่ยวกับของที่ซื้อมาให้แสดงใบเสร็จรับเงินดังกล่าว

(4) หากมีปัญหาใดๆ เกี่ยวกับการปฎิบัติของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ให้ติดต่อและแจ้งให้ด่านศุลกากร สำนักงานศุลกากรเขตที่อยู่ใกล้เคียง หรือ กรมศุลกากรทราบ
    

 3. การนำรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว


3.1 รถยนต์ขนส่งสินค้าหรือรถโดยสารประจำทาง
        หากเป็นรถที่จดทะเบียนและได้รับอนุญาตแล้ว ให้เดินทางเข้าออกได้ตามปกติ โดยไม่ต้องทำสัญญาประกันทัณฑ์บนหรือยื่นใบขนสินค้าสำหรับตัวรถ แต่ถ้าเป็นรถที่ยังมิได้ชำระอากรขาเข้าจะต้องยื่นใบขนสินค้าและสัญญาประกันทัณฑ์บน วางเงินสดหรือหลักทรัพย์ไว้ขณะนำเข้าครั้งแรกให้คุ้มค่าภาษีเสียก่อน ในครั้งต่อไปให้เข้า-ออกได้ตราบเท่าที่ยังอยู่ในอายุสัญญา

3.2 รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่ผู้เดินทางเข้าออกประจำนำเข้ามาชั่วคราว
        จะต้องยื่นบัตรอนุญาตที่เรียกว่า "บัตรอนุญาตให้นำรถยนต์/รถจักรยานยนต์เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว" (Customs Pass) ต่อด่านศุลกากรที่ประสงค์จะนำเข้า บัตรนี้จัดทำขึ้นเป็น 3 ฉบับ เก็บไว้ที่สำนักงานศุลกากรภาค 1 ฉบับ ที่ด่านศุลกากรต้นทางนำเข้า 1 ฉบับ และผู้นำเข้าถือไว้ 1 ฉบับ เพื่อติดไว้กับรถให้ตรวจสอบบัตรนี้มีอายุการใช้งาน 1 ปีนับจากวันได้รับอนุญาต
        ทุกครั้งที่มีการนำรถเข้าออก ผู้นำเข้าจะต้องยื่นใบขนสินค้าพิเศษพร้อมสำเนา 1 ฉบับ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบกับบัตรอนุญาตที่ติดประจำรถเพื่ออนุญาตให้เข้าออกได้

3.3 การนำรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์เข้ามาชั่วคราว
        ผู้นำเข้าจะต้องยื่นใบขนสินค้าพิเศษพร้อมสำเนา 5 ฉบับ แบบธุรกิจต่างประเทศ (ธ.ต.2) 1 ฉบับ พร้อมวางประกันด้วยเงินสดหรือหนังสือค้ำประกันของธนาคาร ในวงเงินประกัน โดยถือราคาบวกภาษีอากรทุกประเภทรวมกัน อย่างไรก็ตามการนำเข้ารถจักรยานยนต์ทางสำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ ให้ค้ำประกันตัวเองได้ สำหรับด่านศุลกากรภูมิภาคอาจให้บุคคลค้ำประกัน หรือกรณีไม่สามารถจะวางประกันได้จริงๆ ก็อาจอนุญาตให้ค้ำประกันตนเองได้เช่นกัน
        การทำสัญญาประกันกำหนดระยะเวลาให้นำเข้ามาได้ไม่เกิน 2 เดือน หากขอระยะเวลาเกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 6 เดือน จะต้องแสดงเหตุผลพิเศษให้เป็นที่พอใจจึงจะอนุญาตได้    
            


 4. การลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมายศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

        ผู้โดยสารที่นำของต้องชำระค่าภาษีอากร ของต้องห้าม ของต้องกำกัดเข้ามาในประเทศไทยโดยไม่สำแดงหรือสำแดงไม่ถูกต้อง จะได้รับโทษตามกฎหมายศุลกากร ดังนี้

4.1 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ตรวจพบและจับกุมผู้ต้องหาขณะอยู่ในช่องเขียว (Green Channel) จะถูกปรับ 1 เท่าของราคาของบวกค่าภาษีอากรกับอีก 1 เท่าของภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อมหาดไทย (ถ้ามี) และผู้ต้องหาต้องยกของกลางให้เป็นของแผ่นดิน

4.2 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ตรวจพบและจับกุมผู้ต้องหาภายหลังผ่านพ้นช่องเขียว (Green Channel) และขณะที่ นำของผ่านออกไปนั้นมิได้เข้ามาในลักษณะซุกซ่อนเพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่ตรวจพบผู้ต้องหาจะถูกปรับ 2 เท่าของของราคาของบวกค่าภาษีอากรกับอีก 1เท่าของภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีสรรพสามิตภาษีเพื่อมหาดไทย(ถ้ามี)และผู้ต้องหาต้องยกของกลางให้เป็นของแผ่นดินในกรณีที่นำเข้ามาในลักษณะซุกซ่อนให้ปรับ 4 เท่าของของราคาของบวกค่าภาษีอากรและผู้ต้องหาต้องยกของกลางให้เป็นของแผ่นดิน

4.3 ในกรณีของที่ลักลอบนำเข้ามาเป็นของที่ไม่ต้องชำระอากรศุลกากร ไม่ว่าจะตรวจพบในช่องเขียว (Green Channel) หรือผ่านพ้นช่องเขียวไปแล้วก็ตาม ถือเป็นของซึ่งมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร ผู้ต้องหาต้องยกของกลางให้เป็นของแผ่นดิน





ที่มา   ::      http://www2.customs.go.th/Traveller/TravellerInfo.jsp
 
 เรียบเรียงโดย  ::   ประภัสรา  โคตะขุน  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น