วีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA)
"มาตรา 11 คนต่างด้าวซึ่งจะขอรับใบอนุญาตทำงานตามมาตรา 7 ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาใน ราชอาณาจัก เป็นการชั่วคราว ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางผ่าน..."
การจะได้รับอนุญาตให้ทำงานได้นั้น ขึ้นอยู่กับประเภทวีซ่าที่ขอเข้ามาในประเทศไทยว่า ต้องไม่ใช่ในฐานะนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางผ่าน คนต่างด้าวผู้ใด หากต้องการจะขอวีซ่าชนิดนี้ก็ต้องไปยื่นคำขอยังสถานเอกอัครราชฑูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ กรอกแบบคำขอวีซ่า แจ้งวัตถุประสงค์ของตน ที่ต้องการขอวีซ่าดังได้กล่าวแล้วข้างต้น แต่เนื่องจากที่วีซ่าชนิดนี้มีความสำคัญ เพราะสามารถใช้ประกอบคำขอใบอนุญาตทำงาน และจะใช้ขออนุญาตอยู่ต่อในประเทศไทยเป็นเวลานานได้ตามความจำเป็นวีซ่าของไทย ดังกล่าวนี้ในปัจจุบันจะเป็นสติกเกอร์ติดลงไปในหนังสือเดินทาง แต่อาจมีกงสุลไทยบางแห่งซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกงสุลกิติมศักดิ์ที่ยังใช้เป็นตราประทับอยู่ แต่ก็ใช้ได้เหมือนกัน โดยสติกเกอร์หรือรอยตราประทับดังกล่าวจะมีข้อความระบุบอกว่าเป็นวีซ่าประเภทอะไร มีรหัสว่าอะไร เช่น ถ้าขอเพื่อไปทำงานในวีซ่าก็จะระบุว่า NON-IMMIGRANT VISA class B ถ้าขอเพื่อเข้ามาศึกษาก็จะเป็น class ED หรือถ้าเป็น O ก็หมายถึง OTHER คือพวกที่อยู่ใน (10) ดังกล่าวข้างต้น และในวีซ่านั้นจะระบุกำหนดระยะเวลาให้ใช้วีซ่าว่าให้ใช้ตั้งแต่วันที่ออกให้ จนถึงเมื่อใด ระยะเวลาตรงนี้มีผู้เข้าใจผิดกันมาก โดยมักจะเข้าใจว่าเป็นระยะเวลาที่อนุญาตให้อยู่ในประเทศไทย ซึ่งไม่ใช่เช่นนั้น เพราะว่าระยะเวลาที่ระบุไว้นั้น เป็นเพียงกำหนดระยะเวลาที่ให้ใช้วีซ่าเดินทาง เข้าประเทศไทยเท่านั้นเอง และเมื่อเดินทางเข้าประเทศไทยในระหว่างเวลาที่กำหนดให้ใช้วีซ่า ก็จะได้รับการประทับตราอนุญาตให้อยู่ได้เป็นเวลา 90 วัน ณ ด่านตรวจ แม้ว่าจะเดินทางเข้า ประเทศไทยในวันสุดท้ายของระยะเวลาให้ใช้วีซ่าที่ระบุไว้นั้นก็ตาม ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นกำหนดระยะเวลาการอนุญาตในขั้นต้นสำหรับวีซ่าประเภทนี้
นอกจากนั้นแล้ว หากเห็นว่ามีถ้อยคำเป็นภาษาอังกฤษว่า NO EXTENSION OF STAY (ไม่อนุญาตให้อยู่ต่อ) ที่ปรากฏอยู่ในวีซ่า หากการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ตามวีซ่าที่ได้รับไว้ตั้งแต่แรกขณะที่เดินทางเข้ามาจะสิ้นสุดลง คนต่างด้าวนั้นก็มีสิทธิที่จะยื่นคำขออยู่ต่อได้ตามเหตุผล และความจำเป็นของตน ถ้าหากผู้มีอำนาจอนุญาตเห็นว่า มีเหตุผล หรือความจำเป็นจริง ก็จะอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปได้ หรือหากว่าคนต่างด้าวผู้นั้นมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การอนุญาตให้อยู่ต่อของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่กำหนดไว้ ก็จะได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ต่อได้
ที่มา : หนังสือเรื่องชาวต่างชาติจะอยู่เมืองไทยได้อย่างไร โดย สุภัทร์ สกลไชย
วีซ่า
ตอบลบวีซ่าในที่นี้มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "VISA" ซึ่งหมายถึงหลักฐานการอนุญาตให้เข้าประเทศที่ทำเป็นรอยตราประทับ หรือเป็นแผ่นกระดาษสติกเกอร์ติด อยู่ในหนังสือเดินทาง โดยเป็นหลักการเดียวกันของประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ถือได้ปฏิบัติว่า ก่อนที่คนของประเทศหนึ่งจะเดินทางเข้าไปอีกประเทศหนึ่ง ประเทศใด ก็จะต้องไปขอวีซ่าเพื่อเข้าประเทศจากกงสุลของประเทศที่จะเดินทางไปเสียก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ก็จะได้รับการประทับตราวีซ่า หรือติดเป็นสติกเกอร์ที่เป็นวีซ่าให้ในหนังสือเดินทาง ตามปกติโดยทั่วไปแล้วถึงแม้ว่าการเดินทางระหว่างประเทศ จะต้องขอวีซ่าสำหรับเดินทาง เข้าประเทศนั้นๆ เสียก่อนก็ตาม แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับบางประเทศที่ได้ทำความตกลงไม่ต้องขอวีซ่าระหว่างกันก็ได้ หรือบางประเทศอาจยกเว้นโดย การอนุญาตให้คนบางสัญชาติเดินทางเข้าไปได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าเลยก็ได้
สำหรับในส่วนของประเทศไทยนั้น เป็นลักษณะผสม 3 อย่าง คือ
1. ต้องขอวีซ่าจากต่างประเทศก่อนเดินทางเข้ามา
2. มาขอวีซ่าที่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า VISA ON ARRIVAL ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองบางด่านหรือที่สนามบินนานาชาติในประเทศไทย
3. มีการยกเว้นสำหรับคนที่มีสัญชาติของบางประเทศ ไม่ต้องขอวีซ่าเลยก็สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้ แต่ว่า พวกที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีวีซ่านี้ ก็จำกัดเพียงเฉพาะคนสัญชาติของประเทศที่มีความเจริญ และมีฐานะค่อนข้างดี ที่มีความประสงค์จะเข้ามาเพื่อการท่องเที่ยวในระยะเวลาสั้นๆ เพียง 30 วัน เท่านั้น
วีซ่าของประเทศไทยเกิดจากอำนาจตามกฎหมายที่เรียกกันว่ากฎกระทรวง ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5, มาตรา 12 (1), และมาตรา 34 (15) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ตราออกมาบังคับใช้ โดยได้มอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่สังกัดอยู่ใน กระทรวงการต่างประเทศ และพนักงาน เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง สังกัดอยู่ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นผู้รับไปปฏิบัติ นับตั้งแต่เวลาที่ได้มีการใช้ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง ฉบับ พ.ศ.2522 มาจนถึงปัจจุบัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดเกี่ยวกับการตรวจลงตรา (วีซ่า) ออกมาใช้ ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น 9 ประเภท บางประเภทจะออกให้สำหรับบุคคลที่ถือหนังสือเดินทางฑูต หรือหนังสือเดินทางราชการเท่านั้น บางประเภทจะออกให้กับคนต่างด้าวทั่วไปที่ต้องการจะเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว และบางประเภทจะเป็นวีซ่าเกี่ยวกับผู้ที่จะเข้ามามี ถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ซึ่งวีซ่าในแต่ละประเภทนี้ จะมีสิทธิแตกต่างกัน ทั้งในเรื่องของระยะเวลาที่จะได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในประเทศไทยเป็น ระยะเวลายาวนานไม่เท่ากัน และค่าธรรมเนียมวีซ่าก็แตกต่างกันด้วย ดังต่อไปนี้
ที่มา : หนังสือเรื่องชาวต่างชาติจะอยู่เมืองไทยได้อย่างไร โดย สุภัทร์ สกลไชย