Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar disorder) หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว

โรคไบโพล่าร์ (Bipolar disorder) หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว




โรคไบโพล่าร์ (Bipolar disorder) หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว
        เป็นโรคที่มีอาการผิดปกติที่สำคัญทางอารมณ์ 2 แบบ คือ ภาวะแมเนีย และภาวะ ซึมเศร้า จึงเคยถูกเรียกว่า Manic- depressive disorder
ความเจ็บป่วยทางอารมณ์ทั้ง 2 แบบนั้นรุนแรง ไม่ใช่อารมณ์ปกติ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจนรบกวน การทำงานของจิตใจและความสามารถด้านต่าง ๆ และมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของสมอง ภาวะโรคจะครอบงำบุคคลนั้น จนทำให้สูญเสียความเป็นคนเดิมไป

ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์จะมีภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นบ่อยกว่าภาวะแมเนียเกือบ 3 เท่า อาการที่พบบ่อย ในภาวะอารมณ์ 2 แบบ
 ภาวะซึมเศร้าหรืออารมณ์ตก      ภาวะแมเนียหรืออารมณ์คลุ้มคลั่ง
   ขาดความร่างเริงไม่สนุกสนานเหมือนเก่า   มีพลังมากขึ้นกว่าปกติ
   เบื่อหน่ายอยู่ตลอดเวลา   มีการแสดงออกและการคิดอ่านมากกว่าปกติ
   อารมณ์เศร้า หรือร้องไห้ง่ายโดยไม่มีเหตุชัดเจน   มีความเข้มของอารมณ์มากขึ้น ทั้งอารมณ์แบบ สนุกสนาน
     ร่าเริง และก้าวร้าว โดยเฉพาะเมื่อถูกขัดใจ
   ความอยากอาหารและการนอนลดลง หมดเรี่ยวแรง
     ในการทำงาน อ่อนเพลียตลอดเวลา
    ความเชื่อมั่นตนเองมากขึ้น เชื่อว่าตนเองเก่งสามารถ
      ควบคุมทุกสิ่ง ทุกอย่างได้ และชอบวิจารณ์ผู้อื่น
      มากขึ้น เอาแต่ใจ
   หงุดหงิด โกรธง่ายกว่าปกติ   มีอาการหลงผิดถึงความยิ่งใหญ่ หรือความเก่งของตนเอง
   มองโลกในแง่ร้ายไปหมด   ความต้องการในการนอนลดลง แต่ไม่อ่อนเพลีย
   ขาดสมาธิ ความจำลดลง   ความคิดว่องไวเหมือนรถด่วน แสดงออกด้วยการพูดเร็ว
     และมีเนื้อหามาก เสียงดัง
   หมกหมุ่น คิดวนเวียนเรื่องเดิม ไม่สามารถตัดสินใจได้   ขาดความจดจ่อต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานๆ
   ไม่อยากสังสรรค์ หรือออกสังคม   ขยันทำกิจกรรมต่างๆ อย่างขาดความยั้งคิดหรือ
      มีพฤติกรรมเสี่ยงมากขึ้นหรือแสดงออกแบบเกินตัว
   มีอาการปวดที่ไม่ทราบสาเหตุ   มีความต้องการทางเพศสูงขึ้น
   มองตนเองว่าไร้ค่า หรือเป็นภาระ ไม่รู้จะมีชีวิตต่อไปทำไม 
   มีความคิดทำร้ายตนเอง หรืออยากฆ่าตัวตายบ่อยๆ 


ภาวะซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์และโรคอารมณ์เศร้า

        ภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นได้ทั้งใน โรคไบโพล่าร์ และโรคอารมณ์เศร้า (Major depressive disorder หรือ Unipolar depression) แต่ในโรคไบโพล่าร์จะรุนแรงกว่า มีการสูญเสียความสามารถในการทำงาน สังคม และครอบครัว



ภาวะซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์ (Bipolar depression)
มักมีลักษณะอาการต่อไปนี้เด่น ทำให้แตกต่างจากที่เกิดในโรคอารมณ์เศร้า คือ

    1. มักเกิดอาการครั้งแรกในช่วงวัยรุ่นหรือวัยเรียน และมีประวัติเป็นๆ หายๆ หลายครั้ง
    2. มีการเคลื่อนไหว และความคิดอ่านช้าลง
    3. นอนมาก และรับประทานอาหารมากขึ้น
    4. ขาดกำลังใจ มองว่าตนเองไร้ค่าหรือไม่มีประโยชน์
    5. มักมองโลกที่เคยสดใสกลายเป็นมืดมน ขาดความเพลิดเพลิน และไม่ร่าเริง
    6. มีอาการวิตกกังวลรุนแรงร่วมด้วย
    7. มีอาการหลงผิดเกิดขึ้นร่วมกับอาการทางอารมณ์
    8. มีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น มองว่าบุคคลอื่นไม่สนใจหรือไม่เป็นมิตร
    9. มีประวัติการติดสารเสพติด หรือพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย
    10. มีประวัติโรคไบโพล่าร์หรือโรคอารมณ์เศร้าในครอบครัว


         มีความจำเป็นอย่างมากในการแยกภาวะซึมเศร้าในโรคทั้งสองโรคออกจากกัน เพราะการดำเนินโรค ตลอดจนแนวทางการรักษาและป้องกันก็ต่างกันการรักษาภาวะ ซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์

        การรักษาควรประกอบด้วยการใช้ยา การดูแลด้านจิตใจ การปรับพฤติกรรมตลอดจนการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค และการรักษากับผู้ป่วยและญาติ

        ยังไม่มียารักษาอาการเศร้าตัวใดได้รับการรับรองในการรักษาภาวะซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์

        ถ้าจำเป็นต้องใช้ยารักษาอาการเศร้า ควรลดขนาดยาลงเมื่อผู้ป่วยหายจากอาการแล้วและหยุดในที่สุด ควรระมัดระวังการเหวี่ยงกลับไปเป็นแมเนีย อย่างรวดเร็ว หรือเกิด

rapid cycling

        ถ้าผู้ป่วยได้รับยาคงสภาพอารมณ์ที่มีฤทธิ์ต้านซึมเศร้าอันได้แก่ Lithium และ Lamotrigine อยู่ก่อนแล้ว ควรปรับขนาดขึ้นให้เพียงพอ





แบบคัดกรอง (screen) โรคอารมณ์สองขั้ว

แบบสอบถามสภาพอารมณ์
กรุณาเลือกตอบข้อความแต่ละข้อ
ใช่ไม่ใช่
1. เคยมีช่วงเวลาไหนไหม  ที่ท่านรู้สึกว่าตัวเองไม่เหมือนเดิม และ…
1.1   …ท่านรู้สึกดีสุด ๆ และคึกคักจนคนอื่นคิดว่าท่านเปลี่ยนไป หรือท่านคึกคักเสียจนทำให้ตัวเองเดือดร้อน
1.2   …ท่านหงุดหงิดมากจนตะคอกใส่คนอื่น หรือมีเรื่องทะเลาะวิวาท หรือลงไม้ลงมือกัน
1.3   …ท่านรู้สึกมั่นใจในตัวเองมากกว่าปกติมาก
1.4   …ท่านนอนน้อยกว่าปกติมาก และก็ไม่รู้สึกว่าอยากจะนอนสักเท่าไร
1.5   …ท่านช่างพูดช่างคุยกว่าเดิม หรือพูดเร็วกว่าปกติมาก
1.6   …ท่านมีความคิดแล่นเร็วมาก และไม่สามารถทำให้ตัวเองคิดช้าลงได้
1.7   …ท่านวอกแวกกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวง่ายมากจนไม่มีสมาธิ หรือไม่สามารถจดจ่อกับอะไรได้
1.8   …ท่านมีพลังมากกว่าปกติมาก
1.9   …ท่านกระตือรือร้นหรือทำอะไรต่อมิอะไรเยอะแยะกว่าเดิมมาก
1.10     …ท่านเข้าสังคมหรือพบปะผู้คนมากกว่าปกติมาก เช่น โทรหาเพื่อนกลางดึก
1.11     …ท่านสนใจเรื่องเพศเยอะกว่าปกติ
1.12     …ท่านทำอะไรที่ปกติท่านจะไม่ทำ หรือทำสิ่งที่คนอื่นอาจจะคิดว่ามากเกินไป ไม่ฉลาด หรือเสี่ยงเกินไป
1.13     …ท่านใช้จ่ายเงินจนทำให้ตัวเอง หรือครอบครัวต้องเดือดร้อน
2. ถ้าท่านตอบข้อความข้างต้นว่า  “ใช่” มากกว่า 1 ข้อ ลักษณะเหล่านี้เคยเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันในช่วงเวลาเดียวกันบ้างหรือไม่
3. ลักษณะดังกล่าวสร้างปัญหาเช่นต่อไปนี้ให้ท่าน มากน้อยแค่ไหน –  ทำงานไม่ได้,   มีปัญหาครอบครัว การเงิน หรือคดีความ,  มีการทะเลาะวิวาท หรือชกต่อยตบตีกัน
กรุณาเลือกเพียงคำตอบเดียว
 † ไม่มีปัญหา    † มีปัญหาเล็กน้อย     †  มีปัญหาปานกลาง  †  มีปัญหามาก
4. ญาติสายตรงของท่าน (ได้แก่ ลูก พี่น้อง พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ลุงป้า น้าอา) มีใครป่วยเป็นโรคอารมณ์แปรปรวนหรือโรคอารมณ์สองขั้วหรือไม่
5. เคยมีเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์บอกท่านหรือไม่ว่าท่านป่วยเป็นโรคอารมณ์แปรปรวนหรือโรคอารมณ์สองขั้ว
เป็นแบบคัดกรอง (screen) เบื้องต้นว่า ท่านอาจจะมีภาวะเมเนีย (mania) ซึ่งเป็นภาวะหนึ่งของโรคอารมณ์สองขั้วหรือไม่
การแปลผล
จะถือว่าผลการทดสอบเบื้องต้นเป็น บวก เมื่อท่าน
1. ตอบคำถามข้อ 1 ว่า ใช่ ตั้งแต่ 7 ข้อขึ้นไป
2. และ ตอบคำถามข้อ 2 ว่า ใช่
3. และ ตอบคำถามข้อ 3 ว่า มีปัญหาปานกลาง หรือมีปัญหามาก


Major Depressive Episode
A. มีอาการดังต่อไปนี้ห้าอาการ (หรือมากกว่า) ร่วมกันอยู่นาน 2 สัปดาห์ และแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ไปจากแต่ก่อน: โดยมีอาการอย่างน้อยหนึ่งข้อของ (1) อารมณ์ซึมเศร้า (2) เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข
  1. มีอารมณ์ซึมเศร้าเป็นส่วนใหญ่ของวัน แทบทุกวัน โดยได้จากการบอกเล่าของผู้ป่วย (เช่น รู้สึกเศร้า หรือว่างเปล่า) หรือจากการสังเกตของผู้อื่น (เช่น เห็นว่าร้องให้) หมายเหตุ: ในเด็กและวัยรุ่นเป็นอารมณ์หงุดหงิดก็ได้
  2. ความสนใจหรือความสุขใจในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งหมดหรือแทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก เป็นส่วนใหญ่ของวัน แทบทุกวัน (โดยได้จากการบอกเล่าของผู้ป่วย หรือจากการสังเกตของผู้อื่น)
  3. น้ำหนักลดลงโดยมิได้เป็นจากการคุมอาหาร หรือเพิ่มขึ้นอย่างมีความสำคัญ (ได้แก่น้ำหนักเปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 5 ต่อเดือน) หรือมีการเบื่ออาหารหรือเจริญอาหารแทบทุกวัน หมายเหตุ: ในเด็ก ดูว่าน้ำหนักไม่เพิ่มขึ้นตามที่ควรจะเป็น
  4. นอนไม่หลับ หรือหลับมากไปแทบทุกวัน
  5. กระสับกระส่าย (psychomotor agitation) หรือ เชื่องข้า (retardation) แทบทุกวัน (จากการสังเกตของผู้อื่น มิใช่เพียงจากความรู้สึกของผู้ป่วยว่ากระวนกระวายหรือช้าลง)
  6. อ่อนเพลีย หรือไร้เรี่ยวแรงแทบทุกวัน
  7. รู้สึกตนเองไร้ค่า หรือรู้สึกผิดอย่างไม่เหมาะสมหรือมากเกินควร (อาจถึงขั้นหลงผิด) แทบทุกวัน (มิใช่เพียงแค่การโทษตนเองหรือรู้สึกผิดที่ป่วย)
  8. สมาธิหรือความสามารถในการคิดอ่านลดลง หรือตัดสินใจอะไรไม่ได้ แทบทุกวัน (โดยได้ไม่จากการบอกเล่าของผู้ป่วย ก็จากการสังเกตของผู้อื่น)
  9. คิดถึงเรื่องการตายอยู่เรื่อย ๆ (มิใช่แค่กลัวว่าจะตาย) คิดอยากตายอยู่เรื่อย ๆ โดยมิได้วางแผนแน่นอน หรือพยายามฆ่าตัวตายหรือมีแผนในการฆ่าตัวตายไว้แน่นอน
B. อาการเหล่านี้ก่อให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานอย่างมีความสำคัญทางการแพทย์ หรือกิจกรรมด้านสังคม การงาน หรือด้านอื่นๆ ที่สำคัญ บกพร่องลง
C. อาการมิได้เป็นจากผลโดยตรงด้านสรีรวิทยาจากสาร (เช่น สารเสพติด ยา) หรือจากภาวะความเจ็บป่วยทางกาย (เช่น ไทรอยด์ต่ำhypothyroidism)


การวินิจฉัยระยะเมเนีย Manic Episode
A. มีช่วงที่มีอารมณ์คึกคัก แสดงความรู้สึกโดยไม่รั้ง หรืออารมณ์หงุดหงิดที่ผิดปกติและคงอยู่ตลอดอย่างชัดเจนนานอย่างน้อย 1 สัปดาห์ (หรือนานเท่าใดก็ได้หากต้องอยู่ในโรงพยาบาล)
B. ในช่วงที่มีความผิดปกติด้านอารมณ์นี้ พบมีอาการดังต่อไปนี้อยู่ตลอด อย่างน้อย 3 อาการ (หรือ 4 อาการหากมีเพียงอารมณ์หงุดหงิด) และอาการเหล่านี้รุนแรงอย่างมีความสำคัญ
  1. มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมาก หรือมีความคิดว่าตนยิ่งใหญ่ มีความสามารถ
  2. ความต้องการนอนลดลง (เช่น ได้นอนแค่ 3 ชั่วโมงก็รู้สึกว่าเพียงพอแล้ว)
  3. พูดคุยมากกว่าปกติ หรือต้องการพูดอย่างไม่หยุด
  4. ความคิดแล่น คิดมากหลายเรื่องพร้อมๆ กัน หรือผู้ป่วยรู้สึกว่าความคิดแล่นเร็ว
  5. วอกแวก (ได้แก่ ถูกดึงความสนใจได้ง่าย แม้สิ่งเร้าภายนอกจะไม่สำคัญหรือไม่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งที่สนใจอยู่ในขณะนั้น)
  6. มีกิจกรรมซึ่งมีจุดหมาย เพิ่มขึ้นมาก (ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม การงานหรือการเรียน หรือด้านเพศ) หรือ กระสับกระส่ายมาก
  7. หมกมุ่นอย่างมากกับกิจกรรมที่ทำให้เพลิดเพลินแต่มีโอกาสสูงที่จะก่อให้เกิดความยุ่งยากติดตามมา (เช่น ใช้จ่ายอย่างไม่ยับยั้ง ไม่ยับยั้งใจเรื่องเพศ หรือลงทุนทำธุรกิจอย่างโง่เขลา)
D. ความผิดปกติด้านอารมณ์ที่เกิดขึ้นรุนแรงจนทำให้มีความบกพร่องอย่างมากในด้านการงาน หรือกิจกรรมทางสังคมตามปกติ หรือสัมพันธภาพกับผู้อื่น หรือทำให้ต้องอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อป้องกันอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น หรือมีอาการโรคจิต
E. อาการมิได้เป็นจากผลโดยตรงด้านสรีรวิทยาจากสาร (เช่น สารเสพติด ยา หรือการรักษาอื่น) หรือจากภาวะความเจ็บป่วยทางกาย (เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ)
หมายเหตุ: ระยะอาการคล้าย mania ที่เห็นชัดว่าเป็นจากการรักษาทางกายภาพของภาวะซึมเศร้า (เช่น การใช้ยา การรักษาด้วยไฟฟ้า การรักษาด้วยแสงสว่าง) ไม่ควรรวมอยู่ในการวินิจฉัยของ Bipolar I Disorder

การวินิจฉัยระยะไฮโปเมเนีย Hypomanic Episode
A. มีช่วงที่มีอารมณ์คึกคัก แสดงความรู้สึกโดยไม่รั้ง หรืออารมณ์หงุดหงิดที่ผิดปกติและคงอยู่ตลอดอย่างชัดเจนนานอย่างน้อย 4 วัน โดยเห็นชัดว่าต่างจากช่วงอารมณ์ปกติที่ไม่ซึมเศร้า
B. ในช่วงที่มีความผิดปกติด้านอารมณ์นี้ พบมีอาการดังต่อไปนี้อยู่ตลอด อย่างน้อย 3 อาการ (หรือสี่อาการหากมีเพียงอารมณ์หงุดหงิด) และอาการเหล่านี้รุนแรงอย่างมีความสำคัญ
  1. มีความเชื่อมั่นตัวเองเพิ่มขึ้นมาก หรือมีความคิดว่าตนยิ่งใหญ่ มีความสามารถ (grandiosity)
  2. ความต้องการนอนลดลง (เช่น ได้นอนแค่ 3 ชั่วโมงก็รู้สึกว่าเพียงพอแล้ว)
  3. พูดคุยมากกว่าปกติ หรือต้องการพูดอย่างไม่หยุด
  4. ความคิดแล่น คิดมากหลายเรื่องพร้อมๆ กัน หรือผู้ป่วยรู้สึกว่าความคิดแล่นเร็ว
  5. วอกแวก (distractibility) (ได้แก่ ถูกดึงความสนใจได้ง่าย แม้สิ่งเร้าภายนอกจะไม่สำคัญหรือไม่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งที่สนใจอยู่ในขณะนั้น)
  6. มีกิจกรรมซึ่งมีจุดหมาย เพิ่มขึ้นมาก (ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม การงานหรือการเรียน หรือด้านเพศ) หรือ กระสับกระส่าย
  7. หมกมุ่นอย่างมากกับกิจกรรมที่ทำให้เพลิดเพลิน แต่มีโอกาสสูงที่จะก่อให้เกิดความยุ่งยากติดตามมา (เช่น ใช้จ่ายไม่ยั้ง ไม่ยับยั้งใจเรื่องเพศ หรือลงทุนทำธุรกิจอย่างโง่เขลา)
C. ระยะที่มีอาการมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ซึ่งมิใช่ลักษณะประจำของบุคคลนั้นขณะไม่มีอาการอย่างเห็นได้ชัด
D. ผู้อื่นสังเกตเห็นความผิดปกติด้านอารมณ์และการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ นี้
E. ระยะที่มีอาการไม่รุนแรงถึงกับทำให้กิจกรรมด้านสังคม หรือการงานบกพร่องลงมาก หรือทำให้ต้องอยู่โรงพยาบาล และไม่มีอาการโรคจิต
F. อาการมิได้เป็นจากผลโดยตรงด้านสรีรวิทยาจากสาร (เช่น สารเสพติด ยา หรือการรักษาอื่น) หรือจากภาวะความเจ็บป่วยทางกาย (เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ)
หมายเหตุ: ระยะอาการคล้าย hypomania ที่เห็นชัดว่าเป็นจากการรักษาทางกายภาพของภาวะซึมเศร้า (เช่น การใช้ยา การรักษาด้วยไฟฟ้า การรักษาด้วยแสงสว่าง) ไม่ควรรวมอยู่ในการวินิจฉัยของ Bipolar II Disorder-


การวินิจฉัย
ไม่มีการตรวจพิเศษเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคนี้ ข้อมูลหลักในการวินิจฉัยคือ การซักประวัติอาการ ความเป็นไปของโรค ความเจ็บป่วยทางจิตในญาติ การใช้ยาและสารต่างๆ หรือโรคประจำตัว เพราะยาบางขนานหรือโรคทางร่างกายบางโรคอาจมีอาการทางจิตเหมือนกับโรคอารมณ์สองขั้วได้ แพทย์จะนำข้อมูลได้จากผู้ที่เป็นและญาติ ร่วมไปกับการตรวจร่างกายและตรวจสภาพจิตมาประมวลกันเพื่อการวินิจฉัย
โรคทางกาย และยาที่อาจทำให้เกิดอาการ mania ได้แก่
  • โรคทางระบบประสาท ได้แก่ โรคลมชัก, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคไมเกรน, เนื้องอกสมอง
  • อาการบาดเจ็บที่ศรีษะ
  • โรคต่อมไร้ท่อ เช่น ความผิดปกติของไทรอยด์ฮอร์โมน
  • โรคติดเชื่อ เช่น โรคเอดส์, การติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง
  • โรคเกี่ยวกับระบบผู้คุ้มกัน เช่น SLE
  • ยาต่าง ๆ เช่น ยาแก้ซึมเศร้า, corticosteroid, methylphenidate, levodopa, amphetamine, cocaine เป็นต้น
สำหรับผู้ที่สงสัยว่าตนเอง หรือสงสัยว่าคนใกล้ตัวอาจจะเป็น bipolar disorder อาจจะต้องไปพบกับแพทย์ เพื่อให้ช่วยประเมินโดยละเอียด และวินิจฉัยโดยเร็ว เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย


ความเป็นไปของโรค
ความเป็นไปของโรค
อาการระยะเมเนียมักเกิดขึ้นเร็ว และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนภายใน 2-3 สัปดาห์อาการจะเต็มที่อารมณ์รุนแรง ก้าวร้าวจนญาติจะรับไม่ไหวต้องพามาโรงพยาบาล อาการในครั้งแรกๆ จะเกิดหลังมีเรื่องกดดัน แต่หากเป็นหลายๆ ครั้งก็มักเป็นขึ้นมาเองโดยที่ไม่มีปัญหาอะไรมากระตุ้นเลย
ข้อสังเกตประการหนึ่งคือคนที่อยู่ในระยะเมเนียจะไม่คิดว่าตัวเองผิดปกติ มองว่าช่วงนี้ตัวเองอารมณ์ดีหรือใครๆ ก็ขยันกันได้ ในขณะที่หากเป็นระยะซึมเศร้าคนที่เป็นจะพอบอกได้ว่าตนเองเปลี่ยนไปจากเดิม
ในระยะซึมเศร้าหากคนใกล้ชิดสนใจมักสังเกตไม่ยากเพราะเขาจะซึมลงดูอมทุกข์ แต่อาการแบบเมเนียจะบอกยากโดยเฉพาะในระยะแรกๆ ที่อาการยังไม่มาก เพราะดูเหมือนเขาจะเป็นแค่คนขยันอารมณ์ดีเท่านั้นเอง แต่ถ้าสังเกตจริงๆ ก็จะเห็นว่าลักษณะแบบนี้ไม่ใช่ตัวตนของเขา เขาจะดู เวอร์ กว่าปกติไปมาก


สาเหตุของการเกิดโรคไบโพลาร์
ปัจจุบันเชื่อว่าสาเหตุของความผิดปกติทางอารมณ์นั้นมีได้หลายสาเหตุ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น
1. ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ความผิดปกติของสารสื่อประสาท ในสมอง ความผิดปกติของระบบฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย , การนอนหลับที่ผิดปกติ, ความผิดปกติของการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของสมองที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์
2. ปัจจัยทางจิตสังคม เช่น การไม่สามารถปรับตัวเข้ากับความเครียด หรือปัญหาต่าง ๆ ภายในชีวิตได้ ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ขึ้นมาได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยทางสังคมไม่ใช่สาเหตุของโรค แต่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้โรคแสดงอาการได้
3. ปัจจัยทางพันธุศาสตร์ ขณะนี้ เรายังไม่ทราบรูปแบบของการถ่ายทอดผ่านยีนที่ชัดเจนของโรคไบโพลาร์ แต่จากการศึกษาพบ ว่าสามารถพบโรคนี้ได้บ่อยขึ้นในครอบครัวที่มีผู้ป่วยเป็น bipolar มากกว่าในประชากรทั่วไป
รูปจาก NARSAD research newsletter article.
จาก ตาราง บรรทัดแรกแฝดไข่ใบเดียวกัน ต่อมาแฝดไข่คนละใบ ลูกที่มีพ่อแม่ป่วย 1 คน ลูกที่มีพ่แม่ป่วยทั้งคู่ พี่น้อง ญาติลำดับที่ 2 และคนทั่วไป
คน ที่ป่วยลูกมีโอกาสเป็น 15-30% ความเสี่ยงทางกรรมพันธ์เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคนี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าลูกของคนที่ป่วยจะต้องเป็นเสมอไป คนที่พ่อกับแม่เป็นลูกก็ไม่ได้เป็น 100% และจะเห็นว่าแม้แต่ในแฝดไข่ใบเดียวกันคือมีอะไรเหมือนกันหมดทุกอย่าง คนหนึ่งเป็นอีกคนก็ไม่ได้เป็น 100% เพราะการแสดงออกของอาการยังขึ้นกับปัจจัยอีกหลายๆ อย่างเช่นสภาพแวดล้อมความกดดันต่างๆ
โรคนี้จึงไม่ใช่โรคทางกรรม พันธ์เหมือนอย่างกับโรคฮีโมฟิเลียหรือโรคทางกรรมพันธ์อื่นๆ แต่จะคล้ายกับโรคเบาหวานมากกว่า คือพ่อกับแม่เป็นลูกก็เสี่ยงแต่ไม่แน่ว่าจะเป็น บางคนพ่อแม่ไม่เป็นแต่ตัวเองเป็นก็มี


ระยะซึมเศร้า
ช่วงอารมณ์ซึมเศร้า (depressive episode) มีอาการดังต่อไปนี้ เกือบตลอดเวลา และเป็นติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  1. มีอารมณ์ซึมเศร้า (ในเด็กและวัยรุ่นอาจเป็นอารมณ์หงุดหงิดก็ได้) ผู้ป่วยจะรู้สึกเบื่อหน่ายท้อแท้
  2. ความสนใจหรือความเพลินใจในกิจกรรมต่างๆ แทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก อะไรที่เคยชอบทำก็จะไม่อยากทำ แรงจูงใจในการทำสิ่งต่าง ๆ ก็จะลดลง
  3. น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก (น้ำหนักเปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 5 ต่อเดือน) หรือมีการเบื่ออาหาร หรือเจริญอาหารมาก
  4. นอนไม่หลับ อาจมีอาการนอนหลับยาก หรือนอนแล้วตื่นเร็วกว่าปกติ อาจนอนหลับ ๆ ตื่น ทำให้รู้สึกไม่สดชื่น หรือผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการนอนหลับมากไป ต้องการนอนทั้งวัน กลางวันหลับมากขึ้น
  5. กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง
  6. อ่อนเพลีย รู้สึกไม่มีแรงไม่อยากทำอะไร
  7. รู้สึกตนเองไร้ค่า บางรายอาจรู้สึกสิ้นหวัง มองสิ่งรอบ ๆ ตัวในแง่มุมที่เป็นลบไปหมด รวมถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึงด้วย
  8. สมาธิ และความจำแย่ลง
  9. คิดเรื่องการตาย คิดอยากตาย
ในระยะซึมเศร้า ผู้ที่เป็นจะรู้สึกเบื่อหน่ายไปหมด จากเดิมชอบอ่านหนังสือพิมพ์ ติดละคร หรือดูข่าว ก็ไม่สนใจติดตาม อะไรๆ ก็ไม่เพลินใจไปหมด คุณยายบางคนหลานๆ มาเยี่ยมจากต่างจังหวัดแทนที่จะดีใจกลับรู้สึกเฉยๆ
บางคนจะมีอาการซึมเศร้า อารมณ์อ่อนไหวง่าย ร้องไห้เป็นว่าเล่น บางคนจะหงุดหงิด ขวางหูขวางตาไปหมด ทนเสียงดังไม่ได้ ไม่อยากให้ใครมาวุ่นวาย อาการเบื่อเป็นมากจนแม้แต่อาหารการกินก็ไม่สนใจ บางคนน้ำหนักลดฮวบฮาบสัปดาห์ละ 2-3 กก.ก็มี
เขาจะนั่งอยู่เฉยๆ ได้เป็นชั่วโมงๆ ความจำก็แย่ลง มักหลงๆ ลืมๆ เพราะใจลอย ตัดสินใจอะไรก็ไม่ได้ เพราะไม่มั่นใจไปเสียหมด เขาจะมองสิ่งต่างๆ ในแง่ลบไปหมด คิดว่าตัวเองเป็นภาระของคนอื่น ไม่มีใครสนใจตนเอง ถ้าตายไปคงจะดีจะพ้นทุกข์เสียที
หากญาติหรือคนใกล้ชิดเห็นเขามีท่าทีบ่นไม่รู้จะอยู่ไปทำไม หรือพูดทำนองฝากฝัง สั่งเสีย อย่ามองข้ามหรือต่อว่าเขาว่าอย่าคิดมาก แต่ให้สนใจพยายามพูดคุยกับเขา รับฟังสิ่งที่เขาเล่าให้มากๆ ถ้ารู้สึกไม่เข้าใจหรือมองแล้วไม่ค่อยดี ขอแนะนำให้รีบพาไปพบแพทย์เพื่อรักษาโดยเร็ว


ระยะอาการเมเนีย
ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ จะมีช่วงที่อารมณ์ผิดปกติ โดยมีช่วงซึมเศร้า(depressive episode) สลับกับช่วงที่อารณ์ดี หรือคึกคักมากกว่าปกติ (mania หรือ hypomania) ซึ่งขออธิบายแยกเป็นช่วง ๆ คือ
ช่วงอารมณ์ดีมากกว่าปกติ หรือเมเนีย (mania) ผู้ป่วยจะมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
  1. อารมณ์เปลี่ยนแปลง ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ร่าเริงมีความสุข เบิกบานใจ หรือหงุดหงิดง่ายก็ได้ ซึ่งญาติใกล้ชิดของผู้ป่วยมักจะสังเกตได้ว่าอารมณ์ของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจนผิดปกติ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้น จะต้องเป็นติดต่อกันทุกวันอย่างน้อย 1 สัปดาห์
  2. มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีความเชื่อมั่นว่าตนเองมีความสามารถมาก เกินไป เชื่อว่าตนเองสำคัญ และยิ่งใหญ่ หรืออาจมีเนื้อหาของความคิดผิดปกติมาก ถึงขั้นว่าตนเองสำคัญ หรือยิ่งใหญ่ เช่น เชื่อว่าตนเองมีอำนาจมาก หรือมีพลังอำนาจพิเศษ เป็นต้น
  3. การนอนผิดปกติไป ผู้ป่วยจะมีความต้องการในการนอนลดลง ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกว่านอนแค่ 3 ชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว เป็นต้น
  4. ความคิดแล่นเร็ว (flight of idea) ผู้ป่วยจะคิดค่อนข้างเร็ว บางครั้งคิดหลาย ๆ เรื่องพร้อม ๆ กัน คิดเรื่องหนึ่งไม่ทันจบก็จะคิดเรื่องอื่นทันที บางครั้งอาจแสดงออกมาในรูปของการมีโครงการต่าง ๆ มากมาย
  5. พูดเร็วขึ้น เนื่องจากความคิดของผู้ป่วยแล่นเร็ว จึงส่งผลต่อคำพูด ที่แสดงออกมาให้เห็น ผู้ป่วยมักจะพูดเร็ว และขัดจังหวะได้ยาก ยิ่งถ้าอาการรุนแรงคำพูดจะดัง และเร็วขึ้นอย่างมากจนบางครั้งยากต่อการเข้าใจ
  6. วอกแวกง่าย ผู้ป่วยจะไม่ค่อยมีสมาธิอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน และความสนใจมักจะเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้าภายนอกที่เข้ามากระตุ้นได้ง่าย
  7. การเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น ในผู้ป่วยบางรายจะทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดเวลา ทั้งที่ทำงาน ที่โรงเรียน หรือที่บ้าน มีการเคลื่อนไหวเพิ่มมากขึ้นชัดเจน ไม่สามารถอยู่นิ่ง ๆ ได้
  8. ยับยั้งชั่งใจไม่ได้ ผู้ป่วยเมเนียมักจะแสดงพฤติกรรมที่เกิดจากการยับยั้งชั่งใจไม่ได้ เช่น ดื่มสุรามาก ๆ โทรศัพท์ทางไกลมาก ๆ เล่นการพนัน หรือเสี่ยงโชคอย่างมาก ใช้เงินมากขึ้น ได้
** สำหรับอาการไฮโปเมเนียนั้น ผู้ป่วยจะมีอาการข้างต้นเช่นเดียวกับเมเนีย แต่จะแตกต่างกับเมเนียคือ อาการไฮโปเมเนียจะไม่ส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่ หรือการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก และผู้ป่วยต้องมีอาการอย่างน้อยที่สุดนาน 4 วัน
ในระยะเมเนีย เขาจะมีอาการเปลี่ยนไปอีกขั้วหนึ่งเลย เขาจะมั่นใจตัวเองมาก รู้สึกว่าตัวเองเก่ง ความคิดไอเดียต่างๆ แล่นกระฉูด เวลาคิดอะไรจะมองข้ามไป 2-3 ช็อตจนคนตามไม่ทัน การพูดจาจะลื่นไหลพูดเก่ง คล่องแคล่ว มนุษยสัมพันธ์ดี เรียกว่าเจอใครก็เข้าไปทักไปคุย เห็นใครก็อยากจะช่วย
ช่วงนี้เขาจะหน้าใหญ่ใจโต ใช้จ่ายเกินตัว ถ้าเป็นคุณตาคุณยายก็บริจาคเงินเข้าวัดจนลูกหลานระอา ถ้าเป็นเจ้าของบริษัทก็จัดงานเลี้ยง แจกโบนัส มีโครงการโปรเจคต่างๆ มากมาย พลังของเขาจะมีเหลือเฟือ นอนดึกเพราะมีเรื่องให้ทำเยอะแยะไปหมด ตีสี่ก็ตื่นแล้ว ตื่นมาก็ทำโน่นทำนี่เลย
ด้วยความที่เขาสนใจสิ่งต่างๆ มากมาย จึงทำให้เขาวอกแวกมาก ไม่สามารถอดทนทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานๆ เขาทำงานเยอะ แต่ก็ไม่เสร็จเป็นชิ้นเป็นอันสักอย่าง ความยับยั้งชั่งใจตนเองมีน้อยมากเรียกว่าพอนึกอยากจะทำอะไรต้องทำทันที หากมีใครมาห้ามจะโกรธรุนแรง
ในระยะนี้หากเป็นมากๆ จะพูดไม่หยุด เสียงดัง เอาแต่ใจตัวเอง โกรธรุนแรงถึงขั้นอาละวาดถ้ามีคนขัดขวาง


โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (bipolar disorder) คือ อะไร
โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว หรือโรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder) เป็นความผิดปกติทางอารมณ์อย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีลักษณะอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปมา ระหว่างอารมณ์ซึมเศร้า (major depressive episode) สลับกับช่วงที่อารมณ์ดีมากกว่าปกติ (mania หรือ hypomania) โดยอาการในแต่ละช่วงอาจเป็นอยู่นานเป็นสัปดาห์ หรือหลาย ๆ เดือนก็ได้
ซึ่งอาการเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยทั้งในด้านการงาน การประกอบอาชีพ ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการดูแลตนเองอย่างมาก ทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติ
Bipolar disorder อาจแบ่งกลุ่มกว้าง ๆ ออกได้เป็น
  1. Bipolar I disorder คือ มีอาการเมเนีย สลับกับช่วงซึมเศร้า หรืออาจมีอาการเมเนียเพียงอย่างเดียวก็ได้
  2. Bipolar II disorder คือ มีอาการซึมเศร้า สลับกับช่วงไฮโปเมเนีย (hypomania)
พบว่าความชุกชั่วชีวิตของ bipolar disorder นี้โดยรวมที่สำรวจในประชากรทั่วไป พบได้สูงถึงร้อยละ 1.5 -5 ซึ่งอัตราการเกิดโรคครั้งแรกพบบ่อยที่สุดที่ช่วงอายุ 15-19 ปี และรองลงมา คือ อายุ 20-24 ปี โดยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะมีอาการครั้งแรกก่อนอายุ 20 ปี
นอกจานี้ bipolar disorder ถือเป็นโรคที่มีการดำเนินโรคในระยะยาวเรื้อรัง และเป็นโรคที่มีโอกาสกลับเป็นซ้ำได้สูง ประมาณ 70-90%


ที่มา  http://www.manarom.com/article-detail.php?id=94
         http://www.ramamental.com/medicalstudent/generalpsyc/bipolar/
 

6 ความคิดเห็น:

  1. โรคไบโพลาร์ หรือ อาการคนสองบุคลิก

    ชื่อ ภาษาไทยของโรคนี้ ชื่ออาจฟังดูแปลกๆ แต่ถ้าได้อ่านจบแล้ว ก็จะเห็นว่าลักษณะของโรคนี้เป็นแบบนั้นจริงๆ หรือหากมีใครอยากจะเสนอชื่อใหม่ที่คิดว่าน่าจะเข้าท่ากว่านี้ก็ยินดีนะครับ โรคอารมณ์สองขั้วเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ ผู้ที่เป็นจะมีอารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน 2 แบบ แบบแรกมีลักษณะอารมณ์และพฤติกรรมออกเป็นแบบซึมเศร้า แบบที่สองมีลักษณะคึกคักพลุ่งพล่าน ซึ่งเรียกว่าเมเนีย (mania)
    จาก ภาพจะเห็นว่าผู้ที่เป็นจะอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปจากปกติเป็นช่วงๆ โดยเป็นแบบซึมเศร้าตามด้วยช่วงเวลาที่เป็นปกติดี จากนั้นอีกเป็นปีอาจเกิดอาการแบบเมเนียขึ้นมา บางคนอาจเริ่มต้นด้วยอาการแบบเมเนียก่อนก็ได้ และไม่จำเป็นต้องตามด้วยอาการด้านตรงข้ามเสมอไป เช่น อาจมีอาการแบบ ซึมเศร้า - ปกติ – ซึมเศร้า - เมเนีย

    เขามีอาการอย่างไร
    ผู้ ที่เป็นจะมีอาการแสดงออกมาทั้งในด้านอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม โดยในแต่ละระยะจะมีอาการนานหลายสัปดาห์ จนอาจถึงหลายเดือนหากไม่ได้รับการรักษา

    ในระยะซึมเศร้า ผู้ที่เป็นจะรู้สึกเบื่อหน่ายไปหมด จากเดิมชอบอ่านหนังสือพิมพ์ ติดละคร หรือดูข่าว ก็ไม่สนใจติดตาม อะไรๆ ก็ไม่เพลินใจไปหมด คุณยายบางคนหลานๆ มาเยี่ยมจากต่างจังหวัดแทนที่จะดีใจกลับรู้สึกเฉยๆ บางคนจะมีอาการซึมเศร้า อารมณ์อ่อนไหวง่าย ร้องไห้เป็นว่าเล่น บางคนจะหงุดหงิด ขวางหูขวางตาไปหมด ทนเสียงดังไม่ได้ ไม่อยากให้ใครมาวุ่นวาย อาการเบื่อเป็นมากจนแม้แต่อาหารการกินก็ไม่สนใจ บางคนน้ำหนักลดฮวบฮาบสัปดาห์ละ 2-3 กก.ก็มี
    เขาจะนั่งอยู่เฉยๆ ได้เป็นชั่วโมงๆ ความ จำก็แย่ลง มักหลงๆ ลืมๆ เพราะใจลอย ตัดสินใจอะไรก็ไม่ได้ เพราะไม่มั่นใจไปเสียหมด เขาจะมองสิ่งต่างๆ ในแง่ลบไปหมด คิดว่าตัวเองเป็นภาระของคนอื่น ไม่มีใครสนใจตนเอง ถ้าตายไปคงจะดีจะพ้นทุกข์เสียที หากญาติหรือคน ใกล้ชิดเห็นเขามีท่าทีบ่นไม่รู้จะอยู่ไปทำไม หรือพูดทำนองฝากฝัง สั่งเสีย อย่ามองข้ามหรือต่อว่าเขาว่าอย่าคิดมาก แต่ให้สนใจพยายามพูดคุยกับเขา รับฟังสิ่งที่เขาเล่าให้มากๆ ถ้ารู้สึกไม่เข้าใจหรือมองแล้วไม่ค่อยดี ขอแนะนำให้รีบพาไปพบแพทย์เพื่อรักษาโดยเร็ว

    ในทางตรงกันข้าม ในระยะเมเนีย เขาจะมีอาการเปลี่ยนไปอีกขั้วหนึ่งเลย เขาจะมั่นใจตัวเองมาก รู้สึกว่าตัวเองเก่ง ความคิดไอเดียต่างๆ แล่นกระฉูด เวลาคิดอะไรจะมองข้ามไป 2-3 ช็อตจนคนตามไม่ทัน การพูดจาจะลื่นไหลพูดเก่ง คล่องแคล่ว มนุษยสัมพันธ์ดี เรียกว่าเจอใครก็เข้าไปทักไปคุย เห็นใครก็อยากจะช่วย
    ช่วง นี้เขาจะหน้าใหญ่ใจโต ใช้จ่ายเกินตัว ถ้าเป็นคุณตาคุณยายก็บริจาคเงินเข้าวัดจนลูกหลานระอา ถ้าเป็นเจ้าของบริษัทก็จัดงานเลี้ยง แจกโบนัส มีโครงการโปรเจคต่างๆ มากมาย พลัง ของเขาจะมีเหลือเฟือ นอนดึกเพราะมีเรื่องให้ทำเยอะแยะไปหมด ตีสี่ก็ตื่นแล้ว ตื่นมาก็ทำโน่นทำนี่เลย ด้วยความที่เขาสนใจสิ่งต่างๆ มากมาย จึงทำให้เขาวอกแวกมาก ไม่สามารถอดทนทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานๆ
    เขาทำงานเยอะ แต่ก็ไม่เสร็จเป็นชิ้นเป็นอันสักอย่าง (เหมือนผู้เขียนเลยแฮะ) ความยับยั้งชั่งใจตนเองมีน้อยมากเรียกว่าพอนึกอยากจะทำอะไรต้องทำทันที หากมีใครมาห้ามจะโกรธรุนแรง อาการในระยะนี้หากเป็นมากๆ จะพูดไม่หยุด เสียงดัง เอาแต่ใจตัวเอง โกรธรุนแรงถึงขั้นอาละวาดถ้ามีคนขัดขวาง

    อาการ ระยะซึมเศร้าจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป มักเป็นหลังมีเรื่องกระทบกระเทือนใจ เช่น สอบตก เปลี่ยนงาน มีปัญหาครอบครัว แต่จะต่างจากปกติคือเขาจะเศร้าไม่เลิก งานการทำไม่ได้ ขาดงานบ่อยๆ มักเป็นนานเป็นเดือนๆ
    อาการระยะเมเนียมักเกิดขึ้นเร็ว และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนภายใน 2-3 สัปดาห์ อาการจะเต็มที่อารมณ์รุนแรง ก้าวร้าวจนญาติจะรับไม่ไหวต้องพามาโรงพยาบาล อาการในครั้งแรกๆ จะเกิดหลังมีเรื่องกดดัน แต่หากเป็นหลายๆ ครั้งก็มักเป็นขึ้นมาเองโดยที่ไม่มีปัญหาอะไรมากระตุ้นเลย
    ข้อสังเกตประการหนึ่งคือคนที่อยู่ในระยะเมเนียจะไม่คิดว่าตัวเองผิดปกติ มองว่าช่วงนี้ตัวเองอารมณ์ดีหรือใครๆ ก็ขยันกันได้ ในขณะที่หากเป็นระยะซึมเศร้าคนที่เป็นจะพอบอกได้ว่าตนเองเปลี่ยนไปจากเดิม
    ในระยะซึมเศร้าหากคนใกล้ชิดสนใจมักสังเกตไม่ยากเพราะเขาจะซึมลงดูอมทุกข์ แต่ อาการแบบเมเนียจะบอกยากโดยเฉพาะในระยะแรกๆ ที่อาการยังไม่มาก เพราะดูเหมือนเขาจะเป็นแค่คนขยันอารมณ์ดีเท่านั้นเอง แต่ถ้าสังเกตจริงๆ ก็จะเห็นว่าลักษณะแบบนี้ไม่ใช่ตัวตนของเขา เขาจะดู เวอร์ กว่าปกติไปมาก


    ตอบลบ
  2. " โรคไบโพล่าร์ หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว "


    " โรคไบโพลาร์ (Bipolar)" เป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มโรคทางด้านเรื่องอารมณ์ กลุ่มเดียวกับโรคซึมเศร้า คือ โรคอารมณ์ที่ชัดเจน
    ที่มีอารมณ์เบื่อเศร้า แต่โรคไบโพลาร์ จะมีลักษณะที่มีอารมณ์ช่วงหนึ่งจะมีลักษณะรื่นเริง สนุกสนานสลับกับอารมณ์ซึมเศร้าอีกช่วงหนึ่ง

    โรคนี้มีหลายชื่อ เช่น โรคอารมณ์แปรปรวน , manic-depressive disorder, bipolar affective disorder, bipolar disorder ในปัจจุบันชื่อเป็นทางการคือ โรคไบโพล่าร์ (bipolar disorder) ลักษณะสำคัญของโรคนี้คืออาการผิดปกติของอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นแบบซึมเศร้า (depression) หรือตรงข้ามกับซึมเศร้าคืออารมณ์ดีผิดปกติ (mania) ก็ได้

    โรคไบโพล่าร์นั้นมักเริ่มเป็นก่อนวัยกลางคน บางรายเริ่มเป็นตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปี แต่ก็มี บางรายที่มาเริ่มเป็นหลังอายุ 40 ปีได้ โรคไบโพล่าร์เป็นโรคที่มีปัจจัยทางพันธุกรรมมาเกี่ยวข้อง ค่อนข้างมากโดยพบว่าเมื่อลองถาม ประวัติให้ดีๆมักจะพบว่ามีคนอื่นบางคนในวงศ์ญาติป่วยเป็น โรคไบโพล่าร์ และลูกหลานของผู้ที่ป่วยเป็นโรคไบโพล่าร์มีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคไบโพล่าร์ได้ มากกว่าคนทั่วไป

    อาการของโรค
    - อารมณ์ดีในลักษณะที่ผิดปกติ เรียกว่า mania หมายถึงอารมณ์ดีมากเกินกว่าปกติที่ควรจะ เป็น และมักจะไม่มีเหตุผลหรือไม่สมเหตุสมผล อาจจะมีปัญหากระทบกระเทือนต่อหน้าที่การงาน อารมณ์ดีจนกระทั่งตัดสินใจในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ช่วงที่มีอารมณ์ดีจะช่างพูดช่างคุย คุยได้ไม่หยุด และ ไม่ชอบให้ใครมาขัดจะเกิดอารมณ์หงุดหงิด แล้วถึงขั้นใช้อารมณ์ก้าวร้าวได้

    - ผู้ป่วยบางคนกลางคืนไม่ยอมหลับ ไม่ยอมนอน อยากเที่ยวกลางคืน ใช้จ่ายเงินมาก มี อารมณ์ทางเพศมากขึ้น สำส่อนทางเพศ อารมณ์ดีที่มากเกินปกติและไม่สมเหตุสมผล ที่เป็นมากขึ้น ต่อเนื่องยาวกว่าหนึ่งอาทิตย์ แล้วก่อให้เกิดปัญหาคือ จุดที่ควรสงสัยว่าคนนั้นอาจเป็นโรคไบโพลาร์ ความหมายของไบโพลาร์ไม่จำเป็นต้องสลับกับช่วงซึมเศร้า บางคนเป็นโรคนี้ อยู่ช่วงหนึ่งอาจจะ ประมาณ 4-6 เดือนอาจจะสามารถกลับคืนเป็นปกติได้เองโดยไม่ต้องรักษา ทำให้คนรอบข้างจะ ไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหา ถ้าไม่สังเกตอย่างใกล้ชิด เมื่อปกติแล้วเขาจะดำเนินชีวิตได้ปกติ พอถึงช่วงหนึ่ง จะรื่นเริงอีก หรืออาจจะสลับไปขั้วตรงข้าม เป็นแบบซึมเศร้า อาการก็จะเริ่มตั้งแต่ แยกตัว เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เบื่อๆเข้าก็รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า ที่สำคัญที่สุดคือการฆ่าตัว ตาย

    - โรคนี้ช่วงซึมเศร้าจะเหมือนกับโรคซึมเศร้า อัตราการฆ่าตัวตายคือ 15-20% เพราะฉะนั้น หนึ่งในห้ามีโอกาสที่จะเกิดปัญหาเบื่อเศร้าและฆ่าตัวตาย ช่วงที่รื่นเริงมากๆ ก็จะมีประเด็นการฆ่าตัว ตายได้ด้วยเช่นกัน ไม่ใช่เฉพาะแค่ตอนซึมเศร้า คนไข้ที่จะป่วยเป็นโรคนี้ จากการวิจัยพบว่า จะเริ่ม เกิดอาการของโรคนี้ในช่วงวัยรุ่น แต่อาการจะไม่ปรากฏชัด ซึ่งบางทีวัยรุ่นเป็นโรคนี้อยู่แต่ไม่ปรากฏ อาการที่รุนแรง คนรอบข้างจะไม่สามารถสังเกตได้ อาจเริ่มมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง เช่น อาจจะ เที่ยวกลางคืน อยากไปเตร็ดเตร่ ไม่มีสมาธิในการเรียนทำให้ผลการเรียนตกลง อาจจะมีปัญหาเรื่อง ของพฤติกรรมที่สร้างปัญหา เช่น ทะเลาะกับเพื่อนฝูง ถ้าพ่อแม่ไม่ได้ใกล้ชิด เห็นแค่ปรับเปลี่ยนไป นิดหน่อย เหมือนกับไม่ได้เปลี่ยนอะไรเลย

    แนวทางในการรักษาโรค

    ตอบลบ
  3. แนวทางในการรักษาโรค



    ในปัจจุบันเชื่อว่าโรคไบโพล่าร์เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมองโดยมีสารสื่อนำประสาท ที่ไม่สมดุลย์คือมีสารซีโรโทนิน (serotonin) น้อยเกินไปและสารนอร์เอปิเนฟริน (epinephrine) มากเกินไปดังนั้นเราจึงสามารถรักษาโรคนี้ได้ด้วยยา ยาที่ใช้รักษาโรคไบโพล่าร์ได้แก่ยาในกลุ่มยา ควบคุมอารมณ์ (mood stabilizers), ยาแก้โรคจิต (antipsychotics), และยาแก้โรคซึมเศร้า (antidepressants)
    1. การรักษาในปัจจุบันนี้ ใช้ยาไปช่วยในการปรับสารสื่อนำประสาทตรงให้กลับมาทำงาน ได้อย่างปกติ เรียกชื่อกลุ่มยานี้ว่า กลุ่มปรับอารมณ์ให้คงที่ mood stabilizer ซึ่งจะมียาเฉพาะไม่กี่ตัว ที่จะใช้ในการรักษาที่จะช่วยอาการนี้ได้ ช่วงระยะการรักษา ช่วงแรกจะเป็นการคุมอาการให้กลับมา เป็นปกติที่สุดภายใน 1 สัปดาห์ก่อน หรืออย่างช้า 1 เดือน หลังจากนั้น จะเป็นการรักษาต่อเนื่องอาจ ต้องใช้ยาคุมอาการ ระยะเวลาการรักษาขึ้นอยู่กับอาการคนไข้เป็นสำคัญ ในคนไข้บางราย 1 ปี อาจ มาพบหมอแค่ 2-4 ครั้งเท่านั้น ไม่ต้องอยู่โรงพยาบาลตลอด
    2. ยาหลักที่นิยมใช้รักษาและได้ผลดี คือ lithium ควบคุมอาการ mania ได้ดีมาก แต่ผู้ ป่วยอาจต้องใช้ยาเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากโรคนี้อาจเป็นๆ หายๆ ได้ ตัวยายังสามารถป้องกัน ได้ทั้งอาการ mania และอาการซึมเศร้า ยาอื่นๆ ที่ได้ผลดี ได้แก่ valproate, carbamazepine, lamotrigine, gabapentin และ topiramate
    3. สำหรับอาการซึมเศร้าตอบสนองดีต่อยา clozapine, olanzapine, risperidone, quetiapine และziprasidone
    4. สิ่งสำคัญที่สุด คนรอบข้างต้องเข้าใจในผู้ป่วยที่เป็นภาวะเช่นนี้ด้วย ตัวผู้ป่วยเองก็ต้อง ดำเนินชีวิตในทางสายกลาง ควบคุมเวลานอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อยก็วันละ 6-8 ชั่วโมง พยายามหาวิธีแก้ปัญหาและลดความเครียด และอย่าใช้ยากระตุ้นหรือสารมึนเมา เช่น เหล้า หรือ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง
    5. ถ้ามีผู้ป่วยในครอบครัว คนรอบตัวต้องเข้าใจและช่วยกันป้องกันผู้ป่วยในช่วงก่อน โรค กำเริบรุนแรงเพราะว่ามีโอกาส กลับไปเป็นซ้ำอีก ช่วงอายุที่มีโอกาสเป็นโรคอารมณ์แปรปรวน มาก ที่สุด คือ 15-25 ปี กลุ่มนี้จะเริ่มต้นด้วยอาการขยันผิดปกติ หรือที่เรียกว่า “ไฮเปอร์แอคทีฟ”ต่อมา บางช่วงของการเจ็บป่วยก็จะเปลี่ยนเป็นซึมเศร้า เป็นมากๆอาจถึงขั้นฆ่าตัวตาย

    โรคนี้รักษาได้ ญาติควรนำผู้ป่วยส่งแพทย์โดยด่วน หากพบว่าอาการเริ่มเพิ่มชั้นความรุนแรงปัจจุบัน มียาที่ใช้ปรับอารมณ์ให้คงที่ปกติ สามารถให้ผู้ป่วยดำเนินได้อย่างปกติเหมือนคนทั่วไป และลดซึ่ง ความสูญเสียทางด้านหน้าที่การงาน และเงินทอง เวลาผู้ป่วยมีอาการ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรุนแรง เป็นปัญหาสังคมได้

    ตอบลบ
  4. `ไบโพลาร์` โรคอารมณ์สองขั้ว รักษาถูกวิธี หายได้


    กรมสุขภาพจิต เผยข้อมูลผู้ป่วยในสังกัด ปี 56 พบ ไบโพลาร์ ถึงกว่า 5 หมื่นราย จากผู้ป่วยทั้งหมดกว่า 1.5 แสนคน หากได้รับการรักษาถูกวิธีสามารถหายขาดได้ แนะผู้ป่วยและคนรอบข้างหมั่นสังเกตอาการและดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด
    นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า วันที่ 30 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันไบโพลาร์โลก (World Bipolar Day) เพื่อให้ตระหนักถึงปัญหา สร้างความรู้ความเข้าใจ ช่วยกันลดตราบาปทางสังคมที่มีต่อโรคนี้ ซึ่ง โรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคอารมณ์ผิดปกติที่พบได้บ่อยในทั่วโลก ประมาณ 1-2% และอาจสูงถึง 5% ขณะที่องค์การอนามัยโลกก็ได้ระบุว่า โรคไบโพลาร์ เป็นโรคที่ก่อให้เกิดความสูญเสียเนื่องจากการเจ็บป่วยหรือความพิการ อันดับที่ 6 ของโลก
    ซึ่งโรคนี้สามารถพบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชายในอัตราที่เท่ากัน มักเริ่มมีอาการในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น และมักพบร่วมกับปัญหาสุขภาพจิตหรือภาวะในทางจิตเวชอื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นการใช้สารเสพติด ภาวะเครียดหรือโรควิตกกังวล อีกทั้งยังพบว่า โรคนี้ทำให้ผู้ป่วยมีอัตราการพยายามฆ่าตัวตายสูงกว่าประชากรทั่วไปอย่างชัดเจนอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า จากรายงานจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการในสถานพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต ประจำปี 2556 จำนวน 156,663 ราย พบเป็นผู้ป่วยไบโพลาร์ 52,852 ราย หรือประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่มารับบริการทั้งหมด ทั้งนี้ เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ซึ่งช่วงอายุที่พบมาก 3 ลำดับแรก ได้แก่ 45-49 ปี รองลงมา 40-44 ปี และ 50-54 ปี ตามลำดับ
    โดยผู้ป่วยจะมีอารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดในลักษณะที่แตกต่างกันคนละขั้ว เหมือนเป็นคนละคน ได้แก่ มาเนีย (Mania) เช่น อารมณ์ครื้นเครงมากกว่าปกติ รู้สึกว่ามีความสุขมาก พูดจามีอารมณ์ขัน คึกคะนอง ความคิดสร้างสรรค์มากมาย มีโครงการต่างๆ เกินตัว เชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น รู้สึกคึกคัก มีกำลังวังชา นอนน้อยกว่าปกติ ใช้จ่ายสิ้นเปลือง มีพฤติกรรมการแสดงออกทางเพศมากขึ้น
    เมื่อถูกขัดใจจะหงุดหงิดฉุนเฉียวอย่างรุนแรง อาละวาดก้าวร้าว และในรายที่มีอาการรุนแรงอาจพบมีอาการหลงผิดหรือประสาทหลอนร่วมด้วย และ/หรือซึมเศร้า (Depression) ได้แก่ รู้สึกเศร้าสร้อย หดหู่ เบื่อหน่าย ท้อแท้ มองโลกแง่ลบ จิตใจไม่สดชื่น ไม่สนุกสนานกับสิ่งที่เคยชอบทำ หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย เชื่องช้า เฉื่อยชาลง หรือกระสับกระส่าย ความคิดอ่านช้าลง ลังเลใจ ไม่มั่นใจในตัวเอง รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่าและอาจมีความคิดอยากตาย หรือพยายามทำร้ายตนเองร่วมด้วย
    ซึ่งอารมณ์ดังกล่าวจะต้องคงอยู่อย่างต่อเนื่องติดต่อกันนานเป็นสัปดาห์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะแสดงอาการในขั้วอารมณ์ใด ล้วนจำเป็นต้องได้รับกำลังใจและความเข้าใจจากคนรอบข้าง รวมทั้งได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง เพราะไบโพลาร์เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายและกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ หากไม่ได้รับการเอาใจใส่ ติดตามดูแลอย่างเหมาะสมอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเพิ่มเติมว่า สาเหตุของโรคเกิดได้จากหลายปัจจัยร่วมกัน ตั้งแต่ปัจจัยด้านพันธุกรรม โดยพบว่าเด็กที่เกิดจากพ่อหรือแม่ที่เป็นโรคนี้มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้สูงกว่าคนทั่วไปถึง 4 เท่า

    ตอบลบ
  5. จากการศึกษา พบว่าความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 18, 21, 22 มีความสัมพันธ์กับโรคนี้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ตลอดจนความเครียดหรือการประสบกับวิกฤติชีวิตรุนแรง การติดยาหรือใช้สารเสพติด รวมทั้งปัญหาบุคลิกภาพ ล้วนมีส่วนส่งผลให้เกิดอาการของโรคนี้ได้ ซึ่งการรักษามีทั้งการรักษาด้วยยา เพื่อควบคุมอาการของผู้ป่วยให้ดีขึ้นโดยเร็วที่สุด ซึ่งจำเป็นที่จะต้องกินยารักษาต่อเนื่อง การให้คำปรึกษาแนะนำหรือจิตบำบัดที่มุ่งเน้นที่การปรับเปลี่ยนความคิด พฤติกรรมและการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ รวมถึงการพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับปัญหาในชีวิตได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว ทั้งเรื่องธรรมชาติของโรค ปัจจัยเสี่ยง การรักษา วิธีการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสื่อสารที่มีคุณภาพในครอบครัว เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการรักษา
    อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า แนะนำให้นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลสุขภาพ เช่น ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมคลายเครียด ไม่ใช้ยากระตุ้นหรือสารมึนเมา เช่น เหล้า หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง ทานยาตามแพทย์สั่ง หมั่นสังเกตอารมณ์และพฤติกรรมของตนเอง เรียนรู้อาการเริ่มแรก และรีบพบแพทย์ก่อนจะมีอาการมาก ไม่หยุดยาเอง ที่สำคัญญาติและคนใกล้ชิดต้องทำความเข้าใจผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเช่นนี้
    ดูแลให้ผู้ป่วยกินยา ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ สังเกตอารมณ์ของผู้ป่วย รีบพาไปพบแพทย์ก่อนจะมีอาการมาก ช่วยควบคุมการใช้จ่ายและพฤติกรรมที่เสี่ยงอันตราย เมื่อผู้ป่วยหาย ก็ให้กำลังใจในการกลับไปเรียนหรือทำงาน และไม่หยุดยาก่อนปรึกษาแพทย์ ทั้งนี้ สามารถขอรับบริการปรึกษาได้ที่ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง

    ตอบลบ
  6. รู้จักโรคซึมเศร้า ไบโพล่า โรคที่กำลังรุมเร้าคนไทย


    ไม่เคยคิดเลยว่า โรคนี้จะเป็นในครอบครัวของตน ,เอก ผู้จัดการธนาคารอนาคตไกลกล่าวกับผม "ผมมีความรู้สึกว่า ตนเอง สามารถทำอะไรทุกอย่างบนโลกนี้ได้ และกำลังจะมีเงินเป็นล้าน ๆ บาท " ญาติของเอก กล่าวกับผมว่า "เขามีพฤติกรรมแปลก ๆ กลางคืนไม่นอน วาดฝัน และโทรหาคนโน้นคนนี้ และเสนอโปรเจคที่ไม่มีทางเป็นไปได้" แต่ต่อมาอีกเดือน ก็ทราบข่าวร้ายว่า หลังจากเริ่มเก็บตัวไม่ทำอะไร เอก กระโดดตึกตาย นี่คือลักษณะเฉพาะของโรคซึมเศร้าชนิด ไบโพล่า

    เมื่อวานก่อน เป็นวันที่ผมดูข่าวด้วยความสลด เพราะมีแต่ข่าวการฆ่าตัวตาย และที่สำคัญคือ บางครั้ง คนที่ตายไม่ได้ทำผิดอะไร แต่กลับทำให้ครอบครัวต้องลำบากหรือตายตามกันไปด้วย และเขาอาจป่วยในโรคที่สังคมต้องช่วยกันเยียวยา โรคนั้นคือภาวะซึมเศร้า
    ภาวะซึมเศร้าที่จะพูดกันวันนี้ เป็นโรคที่พบได้บ่อย เรียกกันในการแพทย์ว่า ไบโพล่า (bipolar หมายถึง สองขั้ว)หรือ แมนิค ดีเพรสซิฟ (manic-depressive disorder)


    โรคไบโพล่า เป็นภาวะผิดปกติของสารสื่อประสาทสมองและเป็นโรคที่ค่อนข้างรุนแรง ที่มีการรักษาได้ คนไข้จะมีการเปลี่ยนแปลงภาวะอารมณ์ พลังงาน และความคิด จากด้านหนึ่งคือพลังความคิดมากและรู้สึกตนเองว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่(หรือที่เรียกว่า แมเนีย mania) และเปลี่ยนกลับมาเป็นซึมเศร้า ท้อแท้ ไม่ทำอะไร อยากตาย รู้สึกว่าไร้ค่า(ซึมเศร้า depression) ได้อย่างรวดเร็ว บางครั้งการเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วรุนแรง และส่วนใหญ่ จะมีช่วงที่คนไข้ปกติ บางครั้งคนไข้จะมีโรคทางกายร่วม เช่น ไทรอยด์ทำงานเกิน เป็นต้น
    ผู้ที่จะทราบว่าผู้ป่วยเป็น ที่ดีที่สุดคือญาติ ผู้ร่วมงาน หรือในระยะแรกคือตัวคุณเอง ลองถามตัวเองว่า
    บางครั้งเรารู้สึกตัวเองว่าอยู่สูงสุดในโลก
    มีพลังทำอะไรทุกอย่าง หัวคิดแล่น สร้างสรรค์
    ไม่ต้องนอน
    ความต้องการทางเพศเพิ่ม
    รู้สึกอยู่ไม่สุขต้องหาอะไรทำ
    รู้สึกบ้า
    ไม่สามารถใจจดจ่อกับอะไรเป็นเวลานาน
    พูดเร็ว บางครั้งหยุดไม่ได้
    ใช้จ่ายเงินมือเติบในสิ่งที่ไม่จำเป็น หรือสิ่งของราคาแพง
    เพื่อนบอกว่า ทะเลาะ พูดเสียงดัง อารมณ์แปรปรวน


    ถ้ามี คุณกำลังอยู่ในขั้นของแมเนีย และในบางครั้ง พอสักพัก
    กลับเปลี่ยนเป็นไม่มีพลัง
    เศร้าตลอดเวลา เดียวดาย
    ไม่อยากทำอะไรในสิ่งที่เคยอยากทำ
    นอนไม่หลับ
    เพลียมาก อยากนอนตลอด
    ไม่อยากกินอะไร
    ปวดเมื่อยเนื้อตัว
    อยากอยู่คนเดียวหรือไม่อยากอยู่บนโลก
    ไม่มีความต้องการทางเพศ
    ลืมง่าย ไม่มีสมาธิ
    กลัว หงุดหงิดง่าย
    ไม่อยากเป็นตัวเอง หรือไม่ คุณกำลังอยู่ในขั้น ซึมเศร้า ถ้ามีสลับกัน คุณกำลังเข้าข่ายโรคไบโพล่า รีบปรึกษาแพทย์
    รายละเอียดอื่นๆ ของโรคนี้ หาอ่านได้ที่ โรคซึมเศร้า จาก ไทยเฮลท์เอนไซโคลปีเดีย
    พึงระลึกไว้เสมอว่า โรคนี้ต้องให้สังคมและคนใกล้ชิดช่วยจะดีที่สุด รักษาให้หายได้เหมือนคนปกติ และเขาก็ไม่ใช่คนบ้า แต่เป็นคนป่วยหนัก ที่ต้องการรักษาทั้งร่างกายและจิตใจ

    ตอบลบ