การดูแลเด็กท้องเสีย
การดูแลเด็กท้องเสีย
โรคอจจาระร่วงหรือท้องเสีย เป็นโรคที่พบได้บ่อย หากเด็กได้รับการดูแลรักษาที่ไม่เหมาะสม หรือล่าช้า อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนและทำให้เด็กเสียชีวิตได้ หรือเกิดปัญหาท้องเสียเรื้อรังได้ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กในภายหลัง
สาเหตุ
๑. การติดเชื้อในลำไส้ ที่พบได้บ่อยคือเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ทารกอายุต่ำกว่า ๖ เดือนมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น Salmonella หรือ E.coli ส่วนทารกอายุมากกว่า ๖ เดือนจะพบเชื่อไวรัส และที่พบได้บ่อยคือโรต้าไวรัสซึ่งเป็นมากในฤดูหนาว
๒. แพ้นมวัวหรืออาหาร เช่น ไข่ขาว อาหารทะเล ทารกขวบปีแรกมักพบอาการแพ้นมวัว มีอาการท้องเสียนานกว่าปกติร่วมกับมีผื่นแดงขึ้นที่แก้ม เป็นๆหาย
๓. แพ้ยาปฏิชีวนะบางชนิด บางชนิด เช่น amoxicillin, erythromycin
๔. ความผิดปกติแต่กำเนิด ของระบบการย่อยและการดูดซึมอาหาร
๑. การติดเชื้อในลำไส้ ที่พบได้บ่อยคือเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ทารกอายุต่ำกว่า ๖ เดือนมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น Salmonella หรือ E.coli ส่วนทารกอายุมากกว่า ๖ เดือนจะพบเชื่อไวรัส และที่พบได้บ่อยคือโรต้าไวรัสซึ่งเป็นมากในฤดูหนาว
๒. แพ้นมวัวหรืออาหาร เช่น ไข่ขาว อาหารทะเล ทารกขวบปีแรกมักพบอาการแพ้นมวัว มีอาการท้องเสียนานกว่าปกติร่วมกับมีผื่นแดงขึ้นที่แก้ม เป็นๆหาย
๓. แพ้ยาปฏิชีวนะบางชนิด บางชนิด เช่น amoxicillin, erythromycin
๔. ความผิดปกติแต่กำเนิด ของระบบการย่อยและการดูดซึมอาหาร
อาการ
ถ่ายอุจจาระเหลวตั้งแต่ ๓ ครั้งขึ้นไป หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า ๑ ครั้งต่อวัน หรือถ่ายมีมูกเลือดปน ๑ ครั้งขึ้นไปเด็กที่มีอาการท้องเสียอาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น มีไข้ อาเจียน โดยเฉพาะโรต้าไวรัส จะมีอาการอาเจียนมาก
ภาวะแทรกซ้อน
๑. ภาวะขาดน้ำ จากการเสียน้ำและเกลือแร่ทางอุจจาระและอาเจียน ทารกจะเกิดภาวะขาดน้ำได้ง่าย หากรุนแรงอาจทำให้ช็อก ไตวายและเสียชีวิตได้
๒. ภาวะขาดอาหาร หากท้องเสียนาน ๑-๒ สัปดาห์ ทำให้ขาดอาหาร และส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองได้
๓. การติดเชื้อลุกลาม เชื้อโรคในลำไส้บางชนิดลุกลามเข้ากระแสเลือดได้ ซึ่งเป็นภาวะที่อันตราย หากรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้
ลักษณะของอาการขาดน้ำ
๑. ขาดน้ำเล็กน้อย ปากแห้ง กระหายน้ำ
๒. ขาดน้ำปานกลางถึงรุนแรง ปากแห้งมาก กระหายน้ำมาก ร้องไห้ไม่มีน้ำตา ตาโหล กระหม่อมบุ๋ม ซึม กระสับกระส่าย ปัสสาวะน้อยลงและสีเข้ม อ่อนเพลียมาก ถ้ามือเท้าเริ่มเย็น ซีด แสดงว่าเริ่มมีอาการช็อก
ถ่ายอุจจาระเหลวตั้งแต่ ๓ ครั้งขึ้นไป หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า ๑ ครั้งต่อวัน หรือถ่ายมีมูกเลือดปน ๑ ครั้งขึ้นไปเด็กที่มีอาการท้องเสียอาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น มีไข้ อาเจียน โดยเฉพาะโรต้าไวรัส จะมีอาการอาเจียนมาก
ภาวะแทรกซ้อน
๑. ภาวะขาดน้ำ จากการเสียน้ำและเกลือแร่ทางอุจจาระและอาเจียน ทารกจะเกิดภาวะขาดน้ำได้ง่าย หากรุนแรงอาจทำให้ช็อก ไตวายและเสียชีวิตได้
๒. ภาวะขาดอาหาร หากท้องเสียนาน ๑-๒ สัปดาห์ ทำให้ขาดอาหาร และส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองได้
๓. การติดเชื้อลุกลาม เชื้อโรคในลำไส้บางชนิดลุกลามเข้ากระแสเลือดได้ ซึ่งเป็นภาวะที่อันตราย หากรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้
ลักษณะของอาการขาดน้ำ
๑. ขาดน้ำเล็กน้อย ปากแห้ง กระหายน้ำ
๒. ขาดน้ำปานกลางถึงรุนแรง ปากแห้งมาก กระหายน้ำมาก ร้องไห้ไม่มีน้ำตา ตาโหล กระหม่อมบุ๋ม ซึม กระสับกระส่าย ปัสสาวะน้อยลงและสีเข้ม อ่อนเพลียมาก ถ้ามือเท้าเริ่มเย็น ซีด แสดงว่าเริ่มมีอาการช็อก
การดุแล
การป้องกันภาวะขาดน้ำ ให้กินสารละลายน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอส ชดเชยในปริมาณ ๒-๓ ออนซ์ต่อการถ่ายเหลว ๑ ครั้ง
การรักษาและแก้ไขภาวะขาดน้ำ โดยได้รับคำแนะนำจากแพทย์ คือ ให้กินสารละลายน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอสให้ได้มาก๔-๖ชั่วโมงแรก อาจใช้ช้อนตักป้อนเพื่อให้ค่อยๆดูดซึม
การรักษาภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง แพทย์จะให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ
การผสมน้ำตาลเกลือแร่
น้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอสเป็นผงบรรจุในซอง หนึ่งซองผสมน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 240 ซีซี มีชนิดรสผลไม้รวม หากเด็กไม่ยอมรับประทานอาจเปลี่ยนเป็นน้ำข้าวหรือน้ำต้มซุบใส่เกลือแทนก็ได้
การให้อาหาร
ที่เหมาะสม มีส่วนช่วยให้หายเร็วขึ้นและป้องกันการขาดอาหารด้วย ดังนั้นควรเลือกอาหารที่เหมาะสม ให้รับประทานครั้งละน้อยๆและให้บ่อยๆ เพื่อให้ลำไส้ค่อยๆย่อยและดูดซึมสารอาหารไปเลี้ยงร่างกาย หากให้อาหารเร็ว ลำไส้ย่อยและดูดซึมไม่ได้ก็จะมีอาการท้องเสียตามมาอีก
เมื่อมีอาการท้องเสียให้ดื่มน้ำตาลเกลือแร่ภายใน 4-6 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นจึงให้นม เด็กที่กินนมแม่ก็ให้กินนมแม่ต่อไป เด็กที่กินนมผสมให้ชงนมเหมือนเดิม ให้ปริมาณน้อยลงแต่บ่อยขึ้น เพื่อให้ได้รับสารอาหารในแต่ละวันอย่างพอเพียง อาหารเสริม ควรให้อาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น โจ๊ก งดอาหารย่อยยากโดยเฉพาะอาหารไขมันสูง งดน้ำผลไม้ เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมาก
การป้องกันภาวะขาดน้ำ ให้กินสารละลายน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอส ชดเชยในปริมาณ ๒-๓ ออนซ์ต่อการถ่ายเหลว ๑ ครั้ง
การรักษาและแก้ไขภาวะขาดน้ำ โดยได้รับคำแนะนำจากแพทย์ คือ ให้กินสารละลายน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอสให้ได้มาก๔-๖ชั่วโมงแรก อาจใช้ช้อนตักป้อนเพื่อให้ค่อยๆดูดซึม
การรักษาภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง แพทย์จะให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ
การผสมน้ำตาลเกลือแร่
น้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอสเป็นผงบรรจุในซอง หนึ่งซองผสมน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 240 ซีซี มีชนิดรสผลไม้รวม หากเด็กไม่ยอมรับประทานอาจเปลี่ยนเป็นน้ำข้าวหรือน้ำต้มซุบใส่เกลือแทนก็ได้
การให้อาหาร
ที่เหมาะสม มีส่วนช่วยให้หายเร็วขึ้นและป้องกันการขาดอาหารด้วย ดังนั้นควรเลือกอาหารที่เหมาะสม ให้รับประทานครั้งละน้อยๆและให้บ่อยๆ เพื่อให้ลำไส้ค่อยๆย่อยและดูดซึมสารอาหารไปเลี้ยงร่างกาย หากให้อาหารเร็ว ลำไส้ย่อยและดูดซึมไม่ได้ก็จะมีอาการท้องเสียตามมาอีก
เมื่อมีอาการท้องเสียให้ดื่มน้ำตาลเกลือแร่ภายใน 4-6 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นจึงให้นม เด็กที่กินนมแม่ก็ให้กินนมแม่ต่อไป เด็กที่กินนมผสมให้ชงนมเหมือนเดิม ให้ปริมาณน้อยลงแต่บ่อยขึ้น เพื่อให้ได้รับสารอาหารในแต่ละวันอย่างพอเพียง อาหารเสริม ควรให้อาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น โจ๊ก งดอาหารย่อยยากโดยเฉพาะอาหารไขมันสูง งดน้ำผลไม้ เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมาก
การป้องกัน
๑. ทารกควรได้กินนมแม่ให้นานที่สุด โดยเฉพาะช่วง 6 เดือนแรก เพราะนมแม่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีภูมิคุ้มกันซึ่งช่วยป้องกันการติดเชื้อในลำไส้ได้ดี อีกทั้งสะอาด ประหยัดและปลอดภัย
๒. การเตรียมนมผสม ต้องล้างขวดนมให้สะอาดและต้มในน้ำเดือด 10-15 นาที หรือใช้เครื่องนึ่งขวดนม นมที่ชงแล้วเด็กกินไม่หมด ไม่ควรเก็บไว้ให้เด็กกินต่อในมื้อต่อไป นมอาจบูดทำให้เด็กท้องเสียได้
๓. การเตรียมอาหารเสริมให้เด็ก ต้องดูแลความสะอาดของภาชนะ ผลไม้ต้องล้างน้ำหลายๆครั้งจนแน่ใจว่าสะอาด ปราศจากเชื้อโรคและสารเคมีตกค้าง
๔. ให้เด็กรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่
๕. ผู้ดูแลเด็กควรมีสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี
๑. ทารกควรได้กินนมแม่ให้นานที่สุด โดยเฉพาะช่วง 6 เดือนแรก เพราะนมแม่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีภูมิคุ้มกันซึ่งช่วยป้องกันการติดเชื้อในลำไส้ได้ดี อีกทั้งสะอาด ประหยัดและปลอดภัย
๒. การเตรียมนมผสม ต้องล้างขวดนมให้สะอาดและต้มในน้ำเดือด 10-15 นาที หรือใช้เครื่องนึ่งขวดนม นมที่ชงแล้วเด็กกินไม่หมด ไม่ควรเก็บไว้ให้เด็กกินต่อในมื้อต่อไป นมอาจบูดทำให้เด็กท้องเสียได้
๓. การเตรียมอาหารเสริมให้เด็ก ต้องดูแลความสะอาดของภาชนะ ผลไม้ต้องล้างน้ำหลายๆครั้งจนแน่ใจว่าสะอาด ปราศจากเชื้อโรคและสารเคมีตกค้าง
๔. ให้เด็กรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่
๕. ผู้ดูแลเด็กควรมีสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี
ที่มา :: http://www.med.cmu.ac.th/hospital
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น