Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ฝีดาษลิง คืออะไร ติดต่อจากลิงสู่คนได้อย่างไร

 

ฝีดาษลิง คืออะไร ติดต่อจากลิงสู่คนได้อย่างไร อันตรายแค่ไหน




















เชื่อว่าไม่มีใครไม่รู้จักโรค “ฝีดาษ” หรือไข้ทรพิษ ที่เคยคร่าชีวิตคคนในสมัยก่อนมาหลายร้อยหลายพันคนมาแล้ว เพราะเป็นโรคติดต่อที่น่ากลัว อาการรุนแรง และติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งได้ง่าย แต่ในสมัยนี้อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูกันนัก เพราะเรามีวัคซีนที่ฉีดป้องกันให้เราตั้งแต่เด็ก อีกทั้งการศึกษา ระบบสาธารณูปโภคที่สะอาด และทันสมัย ทำให้การติดเชื้อเกิดขึ้นได้ยากมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม มีโรคฝีดาษอีกชนิดหนึ่งที่หลายคนอาจไม่คุ้นหู แต่มีอยู่จริง นั่นคือ “ฝีดาษลิง

ฝีดาษลิง คืออะไร แตกต่างจากโรคฝีดาษปกติอย่างไร

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบายว่า โรคฝีดาษลิง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส orthopoxvirus เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่พบได้น้อย โรคนี้พบมากในแอฟริกากลาง และตะวันตก โดยเชื้อไวรัสฝีดาษลิงเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษในคน และฝีดาษวัว พบในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะหลายชนิด เช่น หนู กระรอก กระต่าย เป็นต้น สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงก็อาจติดเชื้อได้ รวมทั้งคนก็สามารถติดเชื้อนี้ได้เช่นกัน

ฝีดาษลิง ติดต่อในคนได้อย่างไร

สำหรับในคน สามารถติดโรคฝีดาษลิงนี้ติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สิ่งคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัด การแพร่เชื้อจากคนสู่คนอาจเกิดขึ้นได้แต่มีโอกาสน้อยมาก

อาการของโรคฝีดาษลิงในคน

ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรคหลังติดเชื้อประมาณ 12 วัน อาการป่วยของโรคฝีดาษลิงคือ

  1. มีไข้ หนาวสั่น

  2. ปวดหัว เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต

  3. ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง

  4. อ่อนเพลีย

  5. จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา และอาจจะเกิดบนหน้าและลำตัวได้ด้วย

  6. จากผื่น จะกลายเป็นตุ่มหนอง

  7. ในระยะสุดท้ายตุ่มหนองจะมีสะเก็ดคลุมแล้วหลุดออกมา

วิธีรักษาโรคฝีดาษลิงในคน

ตามปกติแล้ว อาการป่วยโรคฝีดาษลิงในคนจะค่อยๆ หายได้เองหลังจากผ่านไปประมาณ 2-4 สัปดาห์ แต่หากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพิ่มเติม

ในประเทศไทยขอยืนยันว่าไม่เคยมีรายงานผู้ติดเชื้อโรคฝีดาษลิงดังกล่าว แต่ก็อาจมีความเสี่ยงในประชาชนบางกลุ่ม ได้แก่ แรงงาน นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการท่องเที่ยว นักธุรกิจ ที่เดินทางไปหรือมาจากประเทศที่พบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง ดังนั้นใครที่เพิ่งเดินทางมาจากประเทศในแถบทวีปแอฟริกา แล้วมีอาการดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน


ฝีดาษลิง : โรคนี้มีอาการอย่างไร ติดต่อทางไหนได้บ้าง



แขนและขาของเด็กหญิงวัย 4 ขวบที่ติดเชื้อโรคฝีดาษลิงในไลบีเรีย

ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES

คำบรรยายภาพ,

อาการของฝีดาษลิงรวมถึงผื่น ซึ่งจะเริ่มที่บริเวณใบหน้าและลุกลามไปทั่วร่างกาย

หลายประเทศในยุโรป รวมถึงในสหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา และออสเตรเลีย กำลังติดตามการเกิดโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) ซึ่งเป็นโรคที่พบไม่บ่อยหรือไม่ค่อยรู้จักมาก่อน

ล่าสุดทางการสหราชอาณาจักรออกคำแนะนำระบุว่า ผู้ใดก็ตามที่มีความเสี่ยงสูงว่าจะติดเชื้อฝีดาษลิงควรกักตัวนาน 21 วัน

คำแนะนำของสำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักร (UK Health Security Agency—UKHSA) นี้ ใช้กับทุกคนที่มีการสัมผัสโดยตรง หรืออยู่ภายในบ้านเดียวกันกับผู้ที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อ

ผู้ที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อได้รับคำแนะนำให้เปิดเผยรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อแกะรอยการสัมผัสติดต่อ ยกเลิกการเดินทาง และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ สตรีมีครรภ์ และเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี

สหราชอาณาจักรมีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันแล้ว 20 คน นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันแล้วมากกว่า 80 คนทั่วยุโรป, สหรัฐฯ, แคนาดา, อิสราเอล และออสเตรเลีย

ฝีดาษลิงพบมากแค่ไหน

โรคฝีดาษลิงเกิดจากไวรัสฝีดาษลิง ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับเชื้อไวรัสโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ แต่ว่ามีความรุนแรงน้อยกว่ามาก และผู้เชี่ยวชาญระบุว่า มีความเสี่ยงในการติดเชื้อต่ำ

ส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่ห่างไกลในประเทศทางตอนกลางและตะวันตกของทวีปแอฟริกา ใกล้บริเวณที่เป็นป่าดิบชื้น

โดยมีไวรัสสองสายพันธุ์หลักคือ แอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก

ฝ่ามือสองข้างที่มีรอยโรคฝีดาษลิง

ที่มาของภาพ,REUTERS

คำบรรยายภาพ,

รอยโรคบนฝ่ามือของผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง

โรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มพอกซ์วิริเด (Poxviridae) จัดอยู่ในจีนัสไวรัสออร์โธพอกซ์ (Orthopoxvirus) เช่นเดียวกับไวรัสอีกหลายชนิด เช่น ไวรัสวัคซิเนีย (vaccinia virus), ไวรัสฝีดาษวัว (cowpox virus), ไวรัสวาริโอลา (variola virus) เป็นต้น เชื้อไวรัสฝีดาษลิงเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษคน หรือไข้ทรพิษ

ก่อนหน้านี้กระทรวงสาธารณสุขสหราชอาณาจักร เปิดเผยว่าในจำนวนผู้ติดเชื้อที่ยืนยันแล้วมีผู้ที่เดินทางมาจากไนจีเรีย ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า จะติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก ซึ่งโดยปกติไม่ค่อยมีความรุนแรง แต่ก็ยังไม่มีการยืนยันเรื่องนี้

ผู้ติดเชื้ออีกรายหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ติดเชื้อมาจากคนไข้คนหนึ่ง

ส่วนผู้ติดเชื้อรายล่าสุดหลายคน ไม่พบว่ามีความเชื่อมโยงกัน หรือมีประวัติการเดินทางใด ๆ และดูเหมือนจะเป็นการติดเชื้อจากการแพร่กระจายของเชื้อในแหล่งชุมชนในสหราชอาณาจักร

สำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักร (UK Health Security Agency—UKHSA) ระบุว่า ใครที่กังวลว่า อาจจะติดเชื้อ ควรเข้าพบเจ้าหน้าที่การแพทย์ แต่ควรมีการติดต่อไปยังสถานพยาบาลก่อนที่จะเดินทางไป

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขของไทยระบุว่า อาการของโรคฝีดาษลิงรุนแรงน้อยกว่าโรคฝีดาษคน (smallpox) แต่ก็ทำให้เสียชีวิตได้ ส่วนใหญ่คนติดโรคฝีดาษลิงจากสัตว์ฟันแทะและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่มีโอกาสน้อยในการแพร่จากคนสู่คน

อาการเป็นอย่างไร

ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรคหลังติดเชื้อประมาณ 12 วัน อาการเบื้องต้นมีหลายอย่าง รวมถึง มีไข้, หนาวสั่น, ปวดหัว, เจ็บคอ, บวม, ปวดหลัง, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ,ต่อมน้ำเหลืองโต อ่อนเพลียและซึมเซา

เมื่อไข้ทุเลาลง อาจเกิดผื่นขึ้น มักจะเริ่มจากบนใบหน้าก่อน จากนั้นจะลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ส่วนใหญ่จะพบที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า ผื่นนี้อาจจะมีอาการระคายเคืองอย่างรุนแรง และมีการเปลี่ยนแปลงหลายขั้น ก่อนที่ผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนอง ในระยะสุดท้ายตุ่มหนองจะเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออกมา รอยโรคนี้อาจทำให้เกิดแผลเป็นตามมา

อาการป่วยกินเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้

เชื้อฝีดาษลิงติดต่อกันอย่างไร

ฝีดาษลิงอาจแพร่กระจายได้เมื่อมีการเข้าใกล้ผู้ติดเชื้อ โดยไวรัสชนิดนี้จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางรอยแตกบนผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ หรือผ่านทางตา จมูก หรือปาก

โรคฝีดาษลิง พบในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะหลายชนิด เช่น หนู กระรอก กระต่าย เป็นต้น สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงรวมทั้งคนก็อาจติดเชื้อได้ โดยคนสามารถติดโรคนี้จากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัด หรือการกินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ เป็นต้น การแพร่เชื้อจากคนสู่คนอาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิด แต่มีโอกาสน้อยมากในการแพร่จากคนสู่คน

ยังไม่เคยมีการระบุว่า ฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่เชื้อโรคสามารถส่งต่อกันได้ผ่านการสัมผัสกันโดยตรงระหว่างการมีเพศสัมพันธ์

นอกจากนี้เชื้อโรคนี้ยังแพร่กระจายด้วยการสัมผัสกับวัตถุที่ปนเปื้อนไวรัสชนิดนี้ อย่าง ผ้าปูที่นอนและเสื้อผ้า

อนุภาคเชื้อไวรัสโรคฝีดาษลิง

ที่มาของภาพ,SCIENCE PHOTO LIBRARY

คำบรรยายภาพ,

อนุภาคเชื้อไวรัสโรคฝีดาษลิง

อันตรายแค่ไหน

ผู้ติดเชื้อไวรัสนี้ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง บางครั้งคล้ายกับอาการของโรคอีสุกอีใส (chickenpox) และหายเองได้ภายในไม่กี่สัปดาห์

ฝีดาษลิง อาจมีอาการรุนแรงมากขึ้นได้ในบางกรณี และเคยมีรายงานว่า ทำให้มีผู้เสียชีวิตมาแล้วหลายคนในแอฟริกาตะวันตก

โดยอัตราการตายสูงสุดอยู่ในกลุ่มเด็กเล็ก ซึ่งอาจสูงถึง10%

การระบาดของโรคนี้เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน

มีการพบเชื้อไวรัสนี้ครั้งแรกในลิงที่ถูกขังไว้ และนับตั้งแต่ปี 1970 มีรายงานการระบาดเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ใน 10 ประเทศของทวีปแอฟริกา

ในปี 2003 เคยมีการระบาดเกิดขึ้นในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการพบโรคนี้นอกแอฟริกา คนไข้หลายคนติดโรคจากการสัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์คล้ายหนู ที่ติดเชื้อมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กหลายชนิดที่มีการนำเข้ามาในสหรัฐฯ รวมแล้วมีรายงานผู้ติดเชื้อจำนวน 81 ราย แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต

ในปี 2017 ไนจีเรียเผชิญกับการระบาดที่มีหลักฐานบันทึกไว้ขนาดใหญ่ที่สุด ราว 40 ปี หลังจากที่ไนจีเรียพบผู้ติดเชื้อโรคฝีดาษลิงที่ได้รับการยืนยันรายสุดท้าย การระบาดครั้งนั้นมีผู้ต้องสงสัยติดเชื้อราว 172 ราย และ 75% ของเหยื่อ เป็นผู้ชายอายุระหว่าง 21-40 ปี

รักษาอย่างไร

ขณะนี้ไม่มีวิธีรักษาฝีดาษลิง แต่สามารถควบคุมการระบาดได้ด้วยการป้องกันการติดเชื้อ

การรับวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษในคน ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ได้ผล 85% ในการป้องกันฝีดาษลิง และบางครั้งก็ยังคงมีการใช้วัคซีนนี้อยู่ มีรายงานว่า สเปนกำลังเตรียมสั่งซื้อวัคซีนโรคฝีดาษหลายพันโดสเพื่อป้องกันโรคฝีดาษลิง ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า การได้รับวัคซีนหลังสัมผัสกับเชื้อโรคฝีดาษลิง อาจช่วยป้องกันโรคนี้ได้ หรืออาจทำให้มีความรุนแรงของโรคลดลง

ประชาชนควรกังวลหรือไม่

จากข้อมูลของหน่วยงานสาธารณสุขอังกฤษ (Public Health England--PHE) ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า สถานการณ์ขณะนี้ยังไม่ได้เข้าใกล้จุดที่จะการระบาดทั่วประเทศ ประชาชนมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อต่ำ

ศาสตราจารย์โจนาธาน บอลล์ ศาสตราจารย์ด้านไวรัสวิทยาระดับโมเลกุล มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม (University of Nottingham) กล่าวว่า "ความจริงที่ว่า มีเพียง 1 ใน 50 ของคนที่สัมผัสกับผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงระยะแรกเท่านั้นที่ติดเชื้อ แสดงให้เห็นว่า เชื้อนี้มีการแพร่กระจายน้อย"

"เป็นเรื่องผิดที่คิดว่า เรากำลังเข้าใกล้การระบาดทั่วประเทศ"

ดร.นิก ฟิน รองผู้อำนวยการสำนักงานบริการโรคติดเชื้อแห่งชาติ (National Infection Service) ที่ PHE กล่าวเพิ่มเติมว่า "เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเน้นย้ำว่า ฝีดาษลิงไม่ได้ติดต่อกันได้ง่ายจากคนสู่คน และความเสี่ยงโดยรวมต่อประชาชนทั่วไปก็ต่ำมาก

สำนักงานบริการโรคติดเชื้อแห่งชาติกำลังติดตามอาการของผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับคนไข้ เพื่อให้คำแนะนำและสังเกตอาการของพวกเขาตามความจำเป็น

ไทยตั้งศูนย์เฝ้าระวัง คัดกรอง

22 พ.ค. นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงว่า กรมควบคุมโรคได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข เพื่อเฝ้าติดตามสถานการณ์ แนวโน้ม พร้อมทั้งคาดการณ์สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อจัดทำแผนทั้งในระยะยาว ระยะกลาง ในการปรับปรุงกลยุทธ์ และมาตรการให้เหมาะสม

องค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันว่า พบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงแล้วประมาณ 80 ราย และมีผู้ป่วยสงสัยเป็นฝีดาษลิงอยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 50 ราย ใน 11 ประเทศที่ไม่ใช่แหล่งระบาดของโรคฝีดาษลิงและมีแนวโน้มที่จะพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในอีกหลายประเทศ โดยผู้ป่วยรายแรกที่พบในการระบาดครั้งนี้เป็นผู้ป่วยจากสหราชอาณาจักรที่มีประวัติเดินทางไปยังประเทศไนจีเรียช่วงปลายเดือนเมษายน ด้วยเหตุนี้ ทางสหราชอาณาจักรจึงเริ่มดำเนินการเฝ้าระวังและค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม ซึ่งในขณะนี้พบผู้ป่วย กว่า 100 รายแล้ว จาก 15 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร สเปน โปรตุเกส อิตาลี เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมันนี สวีเดน สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย อิสราเอล เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และกรีซ

นายแพทย์โอภาส กล่าวว่า แม้ไทยยังไม่มีรายงานผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง แต่เป็นช่วงที่เริ่มเปิดให้มีการเดินทางเข้าประเทศได้มากขึ้น และเป็นช่วงเตรียมการเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นของโรคโควิด 19 ดังนั้น อาจมีความเสี่ยงจากผู้เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด หรือผู้ที่เดินทางมาจากประเทศในทวีปแอฟริกากลาง และแอฟริกาตะวันตกได้ ทั้งในช่องทางการเข้า-ออกระหว่างประเทศ หรือผู้ที่เดินทางจากประเทศดังกล่าวไปในจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญต่าง ๆ

ข้อมูลกองด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค กรมควบคุมโรค ระบุว่า ระหว่าง 1-22 พ.ค. มีจำนวนผู้เดินทางที่ลงทะเบียนจาก 3 ประเทศเสี่ยงสูงดังนี้ 13,142 คน จากสหราชอาณาจักร 1,352 คน จากสเปน และ 268 คน จากโปรตุเกส

คำเตือนสำหรับผู้เดินทางไปประเทศเสี่ยง

กรมควบคุมโรค ขอให้ประชาชนติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด และหากต้องเดินทางไปยังประเทศที่พบผู้ป่วยฝีดาษลิง ควรระมัดระวัง ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์พาหะ ได้แก่ สัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก และสัตว์ตระกูลไพรเมต เช่น ลิง ถึงแม้ว่ายังไม่มีรายงานพบเชื้อในสัตว์เหล่านี้ในประเทศไทยก็ตาม หากมีการสัมผัสสัตว์ให้รีบล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาด และหลังจากเดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาดของโรคฝีดาษลิง ให้สังเกตอาการ หากพบมีความผิดปกติ เช่น มีไข้ มีตุ่มผื่นที่ใบหน้า แขน และขา ให้รีบพบแพทย์ทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทาง
  • หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อย ๆ แยกของใช้ส่วนตัวทุกชนิดไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา จมูก ปาก กินอาหารปรุงสุก เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง บาดแผล เลือดน้ำเหลืองของสัตว์ หรือกินเนื้อสัตว์ติดเชื้อที่ปรุงไม่สุก และหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย ละอองฝอย หรือน้ำเหลืองจากผู้ที่สงสัยป่วยหรือมีประวัติเสี่ยง ทั้งนี้ การแพร่เชื้อจากคนสู่คน แม้มีโอกาสน้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่ง จากทางเดินหายใจ หรือผิวหนังที่เป็นตุ่ม
บีบีซีไทย

ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES

หากมีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02 5903839 หรือ 1422


ที่มา    ::     https://www.bbc.com/

1 ความคิดเห็น:

  1. ฝีดาษลิง โรคจากลิงสู่มนุษย์ ที่ต้องระวัง

    โรคฝีดาษลิง หรือ โรคฝีดาษวานร เป็นโรคที่ใกล้เคียงกับอีสุกอีใส และไข้ทรพิษ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่า โดยผู้ป่วยจะมีไข้ ร่วมกับ ตุ่มผื่นตุ่มหนองทั่วตัว และ ต่อมน้ำเหลืองโต โรคนี้ถูกพบครั้งแรกในลิง จึงตั้งชื่อว่า ฝีดาษลิง

    ฝีดาษลิงไม่เคยพบในประเทศไทย อย่างไรก็ดีผู้ที่กลับจากอัฟริกา หรือ สัมผัสกับสัตว์ป่าต่างถิ่น หากมีอาการดังกล่าว ก็ควรปรึกษาแพทย์

    โรคฝีดาษลิง ถูกค้นพบครั้งแรกในโลก ในปี พ.ศ. 2501 จากลิงที่ป่วย อย่างไรก็ดี พบการติดเชื้อในคนเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2513 ที่ประเทศคองโก โรคฝีดาษลิง นั้นเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ที่พบในอัฟริกากลางและตะวันตก นอกจากลิงแล้ว สัตว์อื่นก็สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ เช่นกัน เช่น กระรอก หนู ลิง ตัวแพรี่ เป็นต้น

    ปัจจุบันมีรายงานการเกิดเชื้อไวรัส ฝีดาษลิง 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์อัฟริกากลาง และสายพันธุ์ อัฟริกาตะวันตก ซึ่งสายพันธุ์อัฟริกากลางเป็นสายพันธุ์ที่มีการรายงานติดต่อจากคนสู่คน

    ผู้ที่รายงานว่ามีความเสี่ยงว่าติดเชื้อ คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณป่าในอัฟริกากลางหรือตะวันตก หรือมี การล่าสัตว์เพื่อทำอาหาร หรือ ส่งออกเป็นสัตว์เลี้ยง และมีรายงานพบการติดเชื้อจากคนสู่คน จากการสัมผัสสารคัดหลั่ง ผิวหนัง หรือ ละอองฝอยจากการหายใจ อย่างไรก็ดีการติดเชื้อแบบแพร่กระจายเป็นวงกว้างจากคนสู่คนยังเกิดขึ้นน้อย

    หลังการได้รับเชื้อ ไวรัสจะอยู่ในต่อมน้ำเหลือง และใช้เวลาฟักตัว 7-21 วัน จึงแสดงอาการ โดยอาการจะเริ่มจากการมีไข้ และต่อมน้ำเหลืองโต 1-2 วัน จึงมีผื่น ผู้ป่วยจะสามารถแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้ตั้งแต่มีไข้ โดยผื่นจะเริ่มจากมีแผลในปาก จากนั้นจะเริ่มมีผื่น ขึ้นที่ตัว หน้า ฝ่ามือ และฝ่าเท้า โดยผื่นจะมีขนาด 2-10 มิลลิเมตร ในช่วง 2-4 สัปดาห์ต่อมา ผื่นจะค่อยๆ เปลี่ยนจากผื่นนูนแดง เป็นตุ่มน้ำ แล้วจึงเป็นฝี โดยผื่นจะเปลี่ยนรูปแบบพร้อมๆกัน ทั่วทั้งตัว หลังตุ่มหนองแตกจนแห้งดี ผู้ป่วยก็จะอาการดีขึ้น และหมดระยะในการแพร่กระจายให้ผู้อื่น

    ปัจจุบัน ไม่มีการรักษาจำเพาะสำหรับโรคฝีดาษลิง โดยอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้อยู่ที่ 1-10% ซึ่งจัดว่าต่ำกว่าโรคไข้ทรพิษมาก

    อย่างไรก็ดีโรคฝีดาษลิง สามารถป้องกันได้โดยให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคอยู่ห้องแยก สวมหน้ากากอนามัย และใส่เสื้อคลุมปกปิดผื่นทั้งหมด จนผื่นหายดีและตกสะเก็ด

    สำหรับเคสที่มีอาการหนัก มีการให้วัคซีนฝีดาษหรือวัคซีนโรคฝีดาษลิง รวมถึง cidofovir

    สำหรับผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรค CDC หรือ กรมควบคุมโรคได้แนะนำให้ฉีดวัคซีนภายใน 4 วันหลังสัมผัสเพื่อป้องกันการติดโรค และฉีดวัคซีนภายใน 14 วัน เพื่อลดความรุนแรงของโรค

    ปัจจุบัน มีการผลิตวัคซีน เฉพาะสำหรับโรคฝีดาษลิง ชื่อว่า วัคซีน Ankara ซึ่งพบว่ามีผลข้างเคียงน้อยกว่าการให้วัคซีนโรคไข้ทรพิษ

    ในประเทศไทย ไม่เคยมีรายงานการระบาดของโรคฝีดาษลิงมาก่อน อย่างไรก็ดี ในการระบาดในปี พ.ศ.2565 ครั้งนี้พบผู้ป่วยฝีดาษลิงระบาดจากคนไปยังคนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลายๆ ประเทศ ตอนนี้น่าจะอยู่ที่ 120 รายใน 11 ประเทศ แต่ยังอยู่ในยุโรปและอเมริกา มีระบาดเป็น cluster รายงานในกลุ่มชายรักชายแต่ยังไม่ทราบความสัมพันธ์แน่ชัด

    สุดท้ายนี้ ปัจจุบัน เราค้นพบโรคหลายโรคที่เริ่มจากการระบาดจากสัตว์สู่คน ตามด้วยการระบาดในคน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่กินอาหารป่า ค้าขายสัตว์ป่า ดังนั้นกิจกรรมดังกล่าวจึงควรถูกจัดการทางกฏหมายอย่างเด็ดขาด เพราะนอกจากจะเป็นการทำลายระบบนิเวศแล้ว ยังสามารถทำให้เกิดโรคอุบัติใหม่ได้





    ตอบลบ