ภาวะความดันโลหิตต่ำ (Hypotension) คือ ภาวะที่ความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะและเป็นลม ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
ภาวะความดันโลหิตต่ำ คือภาวะที่ความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะและเป็นลม ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การขาดน้ำหรือความผิดปกติที่ร้ายแรงอื่น ๆ การค้นหาต้นตอสาเหตุของภาวะความดันโลหิตต่ำเป็นสิ่งจำเป็นสำคัญต่อการรักษา
อาการ
ผู้ที่มีความดันโลหิคต่ำอาจมีอาการดังต่อไปนี้
- เวียนศีรษะ
- เป็นลม
- คลื่นไส้
- เหนื่อยล้า
- มองเห็นภาพซ้อน
- ขาดสมาธิ
ภาวะความดันโลหิตต่ำอาจทำให้เกิดภาวะช็อกได้หากภาวะดังกล่าวมีความรุนแรง สัญญาณและอาการของภาวะช็อกอาจรวมถึง
- อ่อนแรง
- ชีพจรเต้นเร็ว
- เกิดความสับสน
- ผิวเย็น ชื้น และซีด
- หายใจเร็ว
เมื่อไหร่จึงควรพบแพทย์
ขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉินทันทีหากเกิดภาวะช็อก ทั้งนี้ควรพบแพทย์หากมีสัญญาณหรืออาการของความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาทางการแพทย์ที่ร้ายแรงอื่น ๆ โดนอาจทำการจดบันทึกอาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่เกิดขึ้นและสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ในขณะนั้น
สาเหตุ
ความดันโลหิตขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่
- จังหวะการหายใจ
- ระดับความเครียด
- ท่าทางและการจัดตำแหน่งของร่างกาย
- ภาวะของร่างกาย
- การรับประทานยาบางชนิด
- อาหาร
- ช่วงเวลาในแต่ละวัน
มีหลายปัจจัยที่ทำให้ความดันโลหิตลดลงรวมถึงสภาวะทางการแพทย์ เช่น
- ภาวะขาดน้ำ
- การตั้งครรภ์
- ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ
- ปัญหาต่อมไร้ท่อ
- การสูญเสียเลือด
- ภาวะโลหิตเป็นพิษหรือการติดเชื้อรุนแรง
- อาการแพ้อย่างรุนแรง
- ขาดสารอาหาร
นอกเหนือจากเงื่อนไขทางการแพทย์เหล่านี้ ความดันโลหิตต่ำอาจเป็นผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น
- ยาขับปัสสาวะ
- Alpha blockers
- Beta blockers
- ยาสำหรับโรคพาร์กินสัน
- ยาต้านซึมเศร้าบางประเภท
- ยาสำหรับอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ความดันโลหิตต่ำอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ โดยแบ่งออกเป็นหลายประเภทขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ อาจรวมถึง
- ภาวะความดันโลหิตต่ำหรือตกจากการเปลี่ยนท่า
ภาวะความดันโลหิตลดลงอย่างกะทันหันนี้เกิดขึ้นเมื่อคุณยืนขึ้นหลังจากนอนราบหรือจากท่านั่ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นในคนที่มีปัจจัยดังต่อไปนี้
- ผู้สูงอายุ
- ภาวะขาดน้ำ
- นอนพักเป็นเวลานาน
- การตั้งครรภ์
- โรคเบาหวาน
- ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ
- บาดแผลไฟไหม้
- ความร้อนมากเกินไป
- เส้นเลือดขอดขนาดใหญ่
- ความผิดปกติทางระบบประสาทบางอย่าง
- ความดันโลหิตต่ำหลังรับประทานอาหารมื้อใหญ่
ความดันเลือดต่ำประเภทนี้มักเกิดขึ้นประมาณหนึ่งถึงสองชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำหลังประเภทนี้อาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ เป็นลม และหกล้ม ซึ่งมักเกิดขึ้นในผู้มีปัจจัยดังต่อไปนี้
- ผู้สูงอายุ
- ภาวะความดันโลหิตสูง
- ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น โรคพาร์คินสัน
เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะนี้คุณอาจรับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ และหลียกเลี่ยงอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต การดื่มน้ำมากขึ้นและหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ถือเป็นประโยชน์ในการลดอาการได้
ภาวะความดันโลหิตต่ำจากระบบประสาทอัตโนมัติ
ความดันโลหิตต่ำชนิดนี้เกิดขึ้นหลังจากการยืนเป็นเวลานาน ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้ใหญ่และเด็ก การสื่อสารที่ไม่ถูกต้องระหว่างหัวใจและสมองถือเป็นสาเหตุของภาวะนี้
- ภาวะความดันโลหิตต่ำจากความผิดปกติจากหลายระบบ
ความเสียหายต่อระบบประสาททำให้ความดันโลหิตลดลง ความดันเลือดต่ำชนิดนี้เรียกอีกอย่างว่า Shy-Drager syndrome อาการของความดันโลหิตต่ำที่หายากนี้มีลักษณะอาการที่คล้ายกับโรคพาร์กินสัน (Parkinson Disease) ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงาน เช่น ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ และการย่อยอาหาร ผู้ที่มีความดันเลือดต่ำประเภทนี้อาจมีความดันโลหิตสูงขณะนอนราบร่วมด้วย
ปัจจัยเสี่ยง
ความดันโลหิตต่ำสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ความเสี่ยงของภาวะนี้อาจเพิ่มขึ้นด้วยปัจจัยบางอย่าง ได้แก่
- อายุ โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
- การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาสำหรับความดันโลหิตสูง
- โรคบางอย่าง รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและปัญหาต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน
ภาวะแทรกซ้อนของภาวะความดันโลหิตต่ำ
ภาวะความดันโลหิตต่ำอาจนำไปสู่อุบัติเหตุเล็กน้อยจนถึงปัญหาทางการแพทย์ที่ร้ายแรง ผู้ที่มีความดันโลหิคต่ำอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบางอย่างได้ง่าย เช่น การหกล้มเนื่องจากอาการวิงเวียนศีรษะ อ่อนแรง และเป็นลม ภาวะความดันโลหิตต่ำที่รุนแรงอาจทำให้ขาดออกซิเจนซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายต่อหัวใจและสมอง
การวินิจฉัยภาวะความดันโลหิตต่ำ
แพทย์อาจตรวจสอบปัญหาทางการแพทย์ของคุณก่อนทำการตรวจร่างกายและวัดความดันโลหิต โดยอาจต้องทำการทดสอบบางอย่างร่วมด้วย เช่น
- การตรวจเลือด เพื่อตรวจสอบสภาพของร่างกายทั้งหมดและหาสาเหตุของภาวะความดันโลหิตต่ำ เช่น น้ำตาลในเลือดสูง เบาหวาน หรือโลหิตจาง
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) เพื่อค้นหาปัญหาเกี่ยวกับหัวใจที่อาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ
- การตรวจหัวใจด้วยเตียงปรับระดับ เพื่อประเมินปฏิกิริยาของร่างกายต่อการเปลี่ยนแปลงท่าทางและตำแหน่ง
การรักษาภาวะความดันโลหิตต่ำขึ้นอยู่กับสาเหตุ ประเภท และความรุนแรงของภาวะ ผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงอาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษา ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความดันโลหิตและเพื่อลดสัญญาณและอาการของภาวะความดันเลือดต่ำที่รุนแรง อาจต้องได้รับการรักษาบางอย่าง เช่น
- การบริโภคเกลือมากขึ้น
- การดื่มน้ำมากขึ้น
- การสวมถุงน่องชนิดแกรดูเอ็ดคอมเพรสชั่น (compression stockings) หรือถุงน่องป้องกันลิ่มเลือด
- การใช้ยา
การเตรียมการก่อนการพบแพทย์
ก่อนการนัดหมายคุณควรตระหนักถึงข้อจำกัดก่อนการนัดหมาย และเตรียมข้อมูลบางอย่าง เช่น
- อาการที่เกิดขึ้น
- ข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญของคุณ
- ยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้อยู่
- คำถามที่คุณต้องการถามแพทย์
ในระหว่างการปรึกษา แพทย์อาจถามคำถามบางอย่างรวมถึงข้อมูล เช่น
- จุดเริ่มต้นของอาการ
- อาการนั้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือเป็นครั้งคราว
- ความรุนแรงของอาการ
- สิ่งที่ทำให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลง
- ประวัติสมาชิกในครอบครัวของคุณที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ
วิธีการวัดความดันโลหิตที่บ้าน
1. ไม่ดื่มชา กาแฟ สูบบุหรี่ หรือออกกำลังกายก่อนทำการวัด 30 นาที
2. ก่อนทำการวัดควรถ่ายปัสสาวะให้เรียบร้อย
3. นั่งเก้าอี้โดยให้หลังพิงพนักเพื่อไม่ให้หลังเกร็งเท้าทั้ง 2 ข้างวางราบกับพื้น เพื่อให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายเป็นเวลา 5 นาที ก่อนวัดความดันโลหิต
4. วัดความดันโลหิตในแขนข้างที่ไม่ถนัด หรือข้างที่มีความดันโลหิตสูงกว่า โดยวางแขนให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ
5. ขณะวัดความดันโลหิตไม่กำมือ ไม่พูดคุย หรือขยับตัว
*** ในการวัดค่าความดันโลหิตแต่ละครั้งควรใช้วิธีการวัดให้ถูกต้อง พร้อมจดบันทึกตัวเลขค่าความดันโลหิตตัวบนและตัวล่างรวมทั้งอัตราการเต้นของหัวใจในสมุดประจำตัวผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โดยวัดค่าความดันโลหิตอย่างน้อยวันละ 2 ช่วงเวลา ได้แก่
ㆍช่วงเช้า วัดความดันโลหิตอย่างน้อย 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 - 2 นาที ภายใน 2 ชั่วโมงหลังตื่นนอน และก่อนรับประทานยาลดความดันโลหิต
ㆍช่วงก่อนเย็น วัดความดันโลหิตอย่างน้อย 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 - 2 นาที
CR :: MedPark Hospital , http://www.thaincd.com/
ความดันต่ำ – ความดันสูง มาทำความรู้จักกับโรคนี้กันเถอะ
ตอบลบคำว่าความดันที่เรามักจะเรียกกันจนติดปาก จริง ๆ แล้วชื่อเต็มของคำนี้คือ ความดันโลหิต เป็นค่าความดันของกระแสเลือดในหลอดเลือดแดง ซึ่งเกิดจากการสูบฉีดเลือดของหัวใจ โดยที่เมื่อหัวใจบีบตัว เราจะได้ค่าความดันตัวบน และเมื่อหัวใจคลายตัว เราจะได้ค่าความดันตัวล่าง
โดยค่าความดันโดยปกติ จะอยู่ที่ประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ถ้าสูงหรือต่ำมากกว่านี้จนเกินไป จะเข้าสู่ภาวะความต่ำหรือความดันสูง ซึ่งค่าความดันเหล่านี้วัดได้โดยเครื่องวัดความดัน
ความดันต่ำ (Hypotension) คือ ภาวะที่ความดันของกระแสเลือดในหลอดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ หรือค่าความดันเลือดต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท พบได้ทั้งชายและหญิงทุกช่วงอายุ แต่พบมากในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคร้ายแรงบางชนิด
สาเหตุของอาการความดันต่ำ
1. ขาดสารอาหารบางชนิด เช่น โปรตีน วิตามินซี ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแดงไม่แข็งแรง จนเกิดการคลายตัวมากเกินไป
2. ภาวะขาดน้ำ ทำให้เลือดไหลเวียนและกลับเข้าสู่หัวใจได้น้อย ซึ่งส่งผลให้หัวใจเต้นบีบตัวน้อยลง จนเกิดภาวะความดันในเลือดต่ำ
3. การไม่ได้ออกกำลังกายเป็นเวลานาน และมีการเปลี่ยนท่านั่งหรือท่ายืนอย่างกะทันหัน หลังจากนอนนาน ๆ
4. ภาวะเลือดจาง ส่งผลให้ความเข้มข้นของเลือดน้อยลง จนนำไปสู่ความดันในหลอดเลือดต่ำ
5. มีการกระตุ้นสมองและวงจรประสาทอัตโนมัติ ทำให้หลอดเลือดและหัวใจทำงานผิดปกติ ความดันจึงต่ำลง เช่น กลัว ตกใจ เจ็บ หรืออากาศร้อนอบอ้าว การอาบน้ำอุณหภูมิอุ่นจัด หรือการหยุดพักทันทีขณะออกกำลังกายอย่างหนัก
6. โรคภูมิแพ้หรือภาวะช็อกจากการติดเชื้อ ส่งผลให้มีการขยายตัวของหลอดเลือดมากเกินปกติ
7. โรคหัวใจ ซึ่งหัวใจบีบตัวผิดปกติ จึงลดแรงดันในหลอดเลือด ส่งผลให้ความดันเลือดต่ำ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ
8. การตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายต้องเพิ่มเลือดเพื่อหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์ การไหลเวียนหรือปริมาณชองเลือดในร่างกายของแม่ลดลง ส่งผลให้เกิดความดันต่ำได้
9. โรคต่อมไร้ท่อ ซึ่งสร้างฮอร์โมนควบคุมการทำงานของหัวใจ หลอดเลือด และเกลือแร่ต่าง ๆ ที่เป็นตัวอุ้มน้ำในหลอดเลือด จึงส่งผลถึงการไหลเวียนของเลือด
10. ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาขับน้ำ ยาลดความดันในเลือดสูง ยาทางจิตเวชบางชนิด
อาการ
ปกติแล้วภาวะความดันต่ำจะไม่เกิดอาการผิดปกติใด แต่ถ้าหากอยู่ในภาวะที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จะมีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ เป็นลม ใจสั่น คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ตัวเย็น หรือกระหายน้ำ
แต่ถึงแม้ว่าอาการจะไม่รุนแรงมาก ก็ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจดูสาเหตุและอาการให้แน่ชัด เพราะหากปล่อยไว้นาน ๆ อาจทำให้สมองขาดเลือด หมดสติ และชัก จึงนำไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่นได้
ความดันสูง (Hypertension)
ตอบลบความดันสูง (Hypertension) คือ ภาวะที่ความดันของกระแสเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติ หรือค่าความดันเลือดสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท พบได้ทั้งชายและหญิงทุกช่วงอายุ แต่พบมากในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคร้ายแรงบางชนิด
สาเหตุของอาการความดันสูง
ภาวะความดันสูง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดทราบสาเหตุ และชนิดไม่ทราบสาเหตุ ดังนี้
ชนิดทราบสาเหตุ
เป็นโรคอื่นอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งเป็นผลให้เกิดภาวะความดันเลือดสูง เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดแดงตีบ โรคต่อมหมวกไต เนื้องอกบางชนิด
การไม่ได้ออกกำลังกายเป็นเวลานาน การไหลเวียนของเลือดจึงไม่ปกติ
โรคอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน เพราะเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดต่าง ๆ ตีบจากภาวะไขมันเกาะผนังหลอดเลือด
การกินอาหารเค็มอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ไตทำงานหนัก อาจนำไปสู่โรคไตชนิดต่าง ๆ ได้
พันธุกรรม ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง จะมีโอกาสและความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มากกว่าผู้อื่น
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ใจสั่น ตาพร่ามัว เหนื่อยง่าย มือเท้าชา และอาจจะมีเลือดกำเดาไหลได้
ชนิดไม่ทราบสาเหตุ
ผู้ที่มีภาวะความดันสูงส่วนใหญ่กว่า 90% เป็นชนิดไม่ทราบสาเหตุ เนื่องจากไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ แต่พบว่าตนเองเป็นตอนคัดกรองโรค ส่วนสาเหตุที่สันนิษฐานได้ว่าเกิดจากพันธุกรรม การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ หรือในบางราย จะเกิดภาวะความดันสูง แค่ตอนเข้าพบแพทย์เท่านั้น ซึ่งสันนิษฐานได้ว่ามาจากภาวะตื่นเต้น กดดัน หรือเครียด
อาการ
ผู้ป่วยมักจะไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ แต่ในบางรายอาจมีอาการปวดตึงที่ต้นคอ เวียนศีรษะ และปวดที่ศีรษะคล้ายอาการของโรคไมเกรน อย่างไรก็ตามควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจดูสาเหตุและอาการให้แน่ชัด เพราะภาวะความดันสูงอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดตีบ
ความดันต่ำ – ความดันสูง รักษาได้ไหม?
ตอบลบเมื่อเป็นโรคความดันต่ำหรือความดันสูงแล้ว จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่เราสามารถควบคุมให้ค่าความดันคงที่ได้ ด้วยการกินยาที่ได้จากแพทย์ผู้รักษาอย่างสม่ำเสมอ และดูแลตนเองปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หมั่นตรวจวัดค่าความดันทุกวัน และเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อเฝ้าระวังโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ยังสามารถดูแลตนเองได้ ดังนี้
โรคความดันต่ำ
1. หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน ถ้าจำเป็นให้ใส่ถุงน่อง เพื่อลดการแช่ค้างของเลือด
2. ยืดเส้นยืดสายเบา ๆ ทุกเช้า เพื่อให้เลือดสูบฉีดได้ดีขึ้น
3. ดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้เพียงพอ วันละ 8 – 10 แก้ว
4. กินยาต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ตามคำสั่งแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
5. กินอาหารแต่ละมื้อ ไม่ให้อิ่มเกินไป
6. เปลี่ยนท่าทางต่าง ๆ ให้ช้าลง
7. เวลานอนให้ยกศีรษะให้สูงกว่าปกติ
โรคความดันสูง
1. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หรือตามค่า BMI
2. หลีกเลี่ยงความเครียด ผ่อนคลาย มีสุขภาพจิตที่ดี
3. หลีกเลี่ยงการกินอาหารเค็ม
4. กินยาต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ตามคำสั่งแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
5. ออกกำลังกายเป็นประจำ
หลังจากเห็นถึงความร้ายกาจของภัยเงียบอย่างความดันต่ำและความดันสูงไป คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนที่รักใช่ไหมล่ะค่ะ ดังนั้น ต้องหมั่นดูแลตนเอง โดยมีวิธีง่าย ๆ ดังนี้ค่ะ
1. พยายามไม่เครียด ดูแลสุขภาพจิต
2. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
3. หลีกเลี่ยงการกินอาหารเค็ม หวาน มัน
4. กินยาที่แพทย์จ่ายให้ตามคำสั่งแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
6. งดดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติดทุกชนิด
7. หมั่นตรวจเช็กค่าความดัน เพื่อควบคุมให้ค่าความดันเป็นปกติอยู่เสมอ
สรุป
ความดันต่ำและความดันสูง เป็นภัยเงียบที่น่ากลัวมาก ดังนั้น ต้องดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ ที่สำคัญต้องหมั่นตรวจเช็กค่าความดัน ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หากมีค่าความดันที่ผิดปกติบ่อย ๆ ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษา เพื่อป้องกันโรคร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้นะคะ
ความดันต่ำ ดีกว่า ความดันสูง จริงหรือ
ตอบลบค่าความดันโลหิตที่สูงกว่า 180/110 มิลลิเมตรปรอท เป็นสัญญาณของความเสียหายของอวัยวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ปวดหลัง ชา/อ่อนแรง การมองเห็นเปลี่ยนไปหรือพูดลำบาก ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หากปล่อยทิ้งไว้ให้อยู่ในระดับเดิมนานๆ มีโอกาสเป็นโรคหัวใจตีบตันเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า และโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน 7 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่มีค่าความดันปกติ
ภาวะความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า Orthostatic Hypotension อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะและเป็นลม เนื่องจากสมองได้รับเลือดไม่เพียงพอ และบ่งบอกถึงปัญหาและอาการร้ายแรงอาจถึงแก่ชีวิตได้
ผู้ที่มีค่า “ความดันโลหิตต่ำ” มักจะคิดว่ามีสุขภาพดี ไม่มีปัญหา แต่ในความจริงแล้วทั้งความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตต่ำ ต่างมีความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน ที่สามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่อันตรายได้ในที่สุด
ความดันโลหิตคืออะไร
ความดันโลหิต คือ ค่าความดันของกระแสเลือดที่ส่งแรงกระทบกับผนังหลอดเลือดแดง เกิดจากกระบวนการของหัวใจในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากค่าความดันโลหิต คือ ความดันโลหิตสูง และความดันโลหิตต่ำ ค่าความดันโลหิต เป็นหน่วยมิลลิเมตรปรอท (mmHg) โดยวัดได้ 2 ค่า ได้แก่
ความดันโลหิตค่าบน คือ แรงดันโลหิตที่เกิดจากการบีบตัวของหัวใจเต็มที่
ความดันโลหิตค่าล่าง คือ แรงดันโลหิตที่เกิดจากการคลายตัวของหัวใจ
การเตรียมตัวเพื่อวัดความดันโลหิต
ก่อนวัดความดันโลหิต 30 นาที ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ หรือออกกำลังกายอย่างหนัก รวมถึงไม่อยู่ในภาวะโกรธ วิตกกังวล หรือเครียด
ควรนั่งพักก่อนทำการตรวจวัดความดันประมาณ 5-15 นาที นั่งหลังพิงพนักเก้าอี้ เท้า 2 ข้าง วางราบกับพื้น ห้ามนั่งไขว่ห้าง
ไม่ควรพูดคุย ขณะที่กำลังวัดความดัน
วัดความดันโลหิต วันละ 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงเช้าและช่วงเย็น โดยแต่ละช่วงเวลาให้วัดอย่างน้อย 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 นาที ควรวัดติดต่อกัน 7 วัน หรืออย่างน้อย 3 วัน
ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
ตอบลบค่าปกติของความดันโลหิต โดยเฉลี่ยคือประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท โดยวัดจากการบีบตัวและคลายตัวของหัวใจ ความดันโลหิตสูง หมายถึง ภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงความดันในหลอดเลือดที่สูงขึ้น โดยหากวัดได้ค่าตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปถือว่ามีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตาม ความดันโลหิตมีความแตกต่างกันในแต่ละในช่วงวัย
ปัจจุบัน ค่าความดันโลหิตที่ยอมรับได้ในผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี ควรตํ่ากว่า 150/90 มิลลิเมตรปรอท ขณะที่อายุน้อยกว่า 60 ปี หรือผู้ป่วยเบาหวาน และผู้มีภาวะไตเสื่อม ค่าความดันโลหิต ควรตํ่ากว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท
ทั้งนี้ ค่าความดันโลหิตสูงอาจไม่ได้หมายถึงการเป็นความดันโลหิตสูงเสมอไป เพราะสามารถเกิดได้จากปัจจัยอื่นๆ เช่น มีความเครียด ความตื่นเต้น หรือการดื่มชา/กาแฟ เป็นต้น
สาเหตุของความดันโลหิตสูง
พบว่าผู้มีอาการความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการและตรวจไม่พบสาเหตุ แต่หากมีการตรวจพบมักเกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากโรค เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องอาจนำไปสู่ความพิการหรืออันตรายถึงชีวิต นอกจากนี้แล้ว ยังเกิดจากพฤติกรรมหรือปัจจัยเสี่ยง ได้แก่
อายุ - ความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
เพศ - ความดันโลหิตสูงพบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่า ทั้งนี้ ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงหลังอายุ 65 ปี
พันธุกรรม
การรับประทานอาหารรสเค็มจัด
การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
ขาดออกกำลังกาย
อาการของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักไม่มีอาการผิดปกติ แม้ว่าค่าความดันโลหิตที่อ่านได้จะสูงถึงระดับที่อันตรายก็ตาม บางกรณีอาจพบอาการเวียนศีรษะ ตึงต้นคอ ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงเช้าหลังตื่นนอน นอกจากนี้อาจพบอาการใจสั่น อ่อนเพลีย ตาพร่ามัว หรือมีเลือดกำเดาไหล แต่อาการเหล่านี้มักไม่เกิดขึ้นจนกว่าความดันโลหิตสูงจะถึงขั้นรุนแรงหรือเป็นอันตรายถึงชีวิต
การดูแลตัวเองเมื่อเป็นความดันโลหิตสูง
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด โดยเฉพาะรสเค็ม เช่น อาหารสำเร็จรูป และอาหารหมักดอง
งดการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ออกกำลังกายเป็นประจำ และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
ทำจิตใจให้แจ่มใส ลดความวิตกกังวลและความเครียดลง
ปรึกษาแพทย์เรื่องการรับประทานยา และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
ความดันสูง เมื่อไรที่ควรพบแพทย์
ตอบลบโดยปกติแล้ว หากวัดค่าความดันโลหิตได้ 130-139/85-89 มิลลิเมตรปรอท ก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจประเมินความผิดปกติที่เกิดขึ้นต่ออวัยวะภายในร่างกายจากโรคความดันโลหิตสูง และตรวจความเสี่ยงโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เพื่อให้แพทย์พิจารณาควบคุมความดันโลหิตสูงด้วยวิธีต่างๆ เช่น การปรับพฤติกรรม หรือการรับประทานยา และมักต้องนัดหมายแพทย์เป็นประจำ เพื่อปรึกษาแพทย์และอ่านค่าความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
หากมีความดันโลหิตสูง แต่ปล่อยทิ้งไว้ให้ความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับเดิมนานๆ อาจทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายเสื่อมสภาพ และเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น มีโอกาสเป็นโรคหัวใจตีบตัน 3-4 เท่า และโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน 7 เท่าของผู้ที่มีความดันปกติ
วิกฤติความดันโลหิตสูง คือ ค่าความดันโลหิตที่วัดได้นั้นสูงกว่า 180/110 มิลลิเมตรปรอท เมื่อวัดความดันโลหิตแล้วได้ค่านี้ ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจวัดความดันอย่างถูกต้องและรับการรักษา เนื่องจากภาวะนี้เป็นสัญญาณของความเสียหายของอวัยวะภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ปวดหลัง ชา/อ่อนแรง การมองเห็นเปลี่ยนไปหรือพูดลำบาก
ทั้งนี้ แม้ความดันโลหิตสูงจะพบได้บ่อยในผู้ใหญ่ แต่ในเด็กก็มีความเสี่ยงเช่นกัน สำหรับเด็กบางกลุ่ม ภาวะความดันโลหิตสูงเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับไตหรือหัวใจ แต่ก็มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดี เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และขาดการออกกำลังกาย
ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)
ตอบลบโดยทั่วไปในทางการแพทย์ ความดันโลหิตของผู้ใหญ่ที่ต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท (mmHg) จะถูกจัดว่าเข้าข่ายความดันโลหิตต่ำ หากมีค่าความดันโลหิตต่ำอย่างสม่ำเสมอ แต่รู้สึกสบายดี แพทย์อาจตรวจติดตามผลในระหว่างการตรวจประจำปีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ความดันโลหิตต่ำอาจดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ ไม่ถือเป็นปัญหาสุขภาพ แต่สำหรับคนจำนวนมาก ภาวะความดันโลหิตต่ำอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะและเป็นลมได้ และกรณีที่รุนแรง ความดันโลหิตต่ำอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ด้วย
สาเหตุของภาวะความดันโลหิตต่ำ
สาเหตุของภาวะความดันโลหิตต่ำนั้น มีได้ตั้งแต่ภาวะขาดน้ำ จนถึงความผิดปกติทางการแพทย์ที่ร้ายแรง สิ่งสำคัญคือ ต้องค้นหาว่าอะไรคือสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ เพื่อให้การรักษาอย่างถูกต้องแต่เนิ่นๆ
- การตั้งครรภ์ เนื่องจากระบบไหลเวียนโลหิตขยายตัวอย่างรวดเร็วในระหว่างตั้งครรภ์ ความดันโลหิตจึงมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม ความดันโลหิตจะกลับสู่ระดับก่อนตั้งครรภ์หลังจากคลอด
- โรคในหัวใจ เช่น โรคทางลิ้นหัวใจ หัวใจวาย และภาวะหัวใจล้มเหลว
- ผลกระทบจากโรคอื่นๆ เช่น ปัญหาต่อมไร้ท่อ โรคพาราไทรอยด์ ภาวะต่อมหมวกไตไม่เพียงพอ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากโรคเบาหวาน
- ภาวะขาดน้ำ อาจทำให้เกิดอาการอ่อนแรง วิงเวียนศีรษะ และเหนื่อยล้า
- เสียเลือดมาก การสูญเสียเลือดจำนวนมาก เช่น จากการบาดเจ็บสาหัสหรือเลือดออกภายในร่างกาย ส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงอย่างรุนแรง
- การติดเชื้อรุนแรง
- การขาดสารอาหาร ได้แก่ วิตามิน B-12 โฟเลตและธาตุเหล็ก อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงได้เพียงพอ
การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาสำหรับโรคพาร์กินสัน และยากล่อมประสาทบางชนิด
อาการความดันต่ำ
สำหรับบางคน ความดันโลหิตต่ำเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความดันโลหิตลดลงอย่างกะทันหัน หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น
- วิงเวียนศีรษะหรือหน้ามืดเป็นลม
- ตาพร่ามัว
- คลื่นไส้
- อ่อนเพลีย
- ขาดสมาธิ
- ช็อก
การดูแลตัวเองเมื่อเป็นความดันโลหิตต่ำ
ตอบลบ- เพิ่มสารอาหาร และรับประทานอาหารมื้อเล็กๆ ที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงการนอนดึก และเวลานอนไม่ควรนอนหนุนหมอนที่ต่ำเกินไป
- ไม่ควรยืนนานๆ หรือเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็วเกินไป
- ใช้ยาอย่างระมัดระวัง โดยแจ้งให้แพทย์ทราบถึงปัญหาความดันโลหิตต่ำ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ส่งผลให้ความดันโลหิตลดต่ำลง
ความดันต่ำ เมื่อไรที่ควรพบแพทย์
แม้บางคนมองว่าอาการวิงเวียนศีรษะหรือหน้ามืดเป็นครั้งคราวอาจเป็นปัญหาเล็กน้อย เช่น เป็นผลมาจากภาวะขาดน้ำเล็กน้อย หรือน้ำในอ่างอาบน้ำร้อนเกินไป แต่จะเห็นได้ว่าอาการที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ร่างกายอาจกำลังบอกอะไรกับเราก็ได้ ดังนั้น จึงไม่ควรชะล่าใจ แต่ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว ทั้งนี้ หากมีอาการวิงเวียนหรือหน้ามืดเวลาลุกขึ้นยืน ควรวัดความดันในท่ายืนด้วย โดยเริ่มต้นวัดความดันในท่านอนก่อน หลังจากนั้นลุกขึ้นยืน วัดความดันภายในเวลา 1 และ 3 นาทีหลังจากลุกขึ้นยืน หากความดันโลหิตตัวบนในท่ายืนต่ำกว่าท่านอน ≥ 20 mmHg แสดงถึงภาวะความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า (Orthostatic Hypotension) ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะและเป็นลมได้ เนื่องจากสมองไม่ได้รับเลือดเพียงพอ และบ่งบอกถึงปัญหาและอาการที่ร้ายแรงอาจถึงแก่ชีวิตที่ตามมาได้ ได้แก่
- เกิดความสับสนโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
- ตัวซีด เย็น
- หายใจเร็วและตื้น
- ชีพจรเต้นอ่อน หรือเต้นเร็วผิดปกติ
- มีอาการช็อก
เราต่างทราบกันว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้ใส่ใจและให้ความสำคัญกับภาวะความดันโลหิตสูง แต่ภัยของโรคความดันโลหิตต่ำกลับถูกมองว่าไม่มีปัญหา ด้วยเหตุนี้ จึงมักจะพบผู้ที่มีอาการวิงเวียนหน้ามืด อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น แม้แต่ความดันโลหิตต่ำในระดับปานกลางก็สามารถทำให้วิงเวียนศีรษะ อ่อนแรง หน้ามืด และเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากการหกล้ม รวมถึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
ความดันโลหิตเป็นภาวะที่สามารถเป็นได้กับทุกเพศทุกวัย ดังนั้น ควรหมั่นวัดระดับความดันโลหิตของตนเองอย่างสม่ำเสมอ และใส่ใจกับการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิตในร่างกาย แต่หากเกิดอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
CR :: พญ.กานต์ชนา อัศวธิตานนท์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์