Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2567

ประวัติความเป็นมาของจังหวัดอุดรธานี

 ประวัติความเป็นมาของจังหวัดอุดรธานี

https://youtu.be/LNcKsBpCfb4?si=D9dgXj766RZvBfA4



ประวัติความเป็นมา  


          จังหวัดอุดรธานีปรากฏในประวัติศาสตร์เมื่อราวปีจอ พ.ศ.2117 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  พระเจ้าหงสาวดีได้ทรงเกณฑ์ทัพไทยให้ไปช่วยตีกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทร์) โดยให้สมเด็จพระมหาธรรมราชากับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยกทัพไปช่วยรบแต่เมื่อกองทัพไทยมาถึงเมืองหนองบัวลำภู ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทร์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประชวรด้วยไข้ทรพิษ จึงยกทัพกลับไม่ต้องรบพุ่งกลับเวียงจันทร์และที่เมืองหนองบัวลำภูนี่เอง สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ

          ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีนั้น  จังหวัดอุดรธานีได้เกี่ยวข้องกับศึกสงคราม  กล่าวคือ  ในระหว่าง พ.ศ.2369-2371 ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมา ซึ่งมีผู้นำ คือคุณหญิงโม (ท้าวสุรนารี) กองทัพเจ้าอนุวงศ์ได้ถอยทัพมาตั้งรับที่เมืองหนองบัวลำภูและได้ต่อสู้กับกองทัพไทยและชาวเมืองหนองบัวลำภูจนทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไป กระทั่งในปลายสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประมาณ พ.ศ.2411 ได้เกิดความวุ่นวายขึ้นในมณฑลลาวพวน เนื่องมาจากพวกฮ่อ ซึ่งกองทัพไทยได้ยกขึ้นไปปราบปรามจนสงบได้ชั่วคราว

          ในปี พ.ศ.2428 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ มีศูนย์บัญชาการ ณ เมืองหนองคาย มีอาณาบริเวณครอบคลุมพื้นที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เกิดเหตุการณ์พวกฮ่อ หรือกบฏไต้เผงจากจีน ถอยร่นลงทางหัวเมืองฝ่ายเหนือของราชอาณาจักรสยาม ได้รวมตัวก่อการร้าย เที่ยวปล้นสดมภ์และก่อความไม่สงบ รบกวนชาวบ้านอยู่ตลอดเวลา และมีท่าทีจะรุนแรงขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงโปรดกรุณาให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้และเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือไปทำการปราบปรามพวกฮ่อจนแตกพ่ายไป

ภายหลังการปราบปรามฮ่อสงบแล้ว ไทยมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสเนื่องจากฝรั่งเศสต้องการ ลาว เขมร ญวณ เป็นอาณานิคม เรียกว่ากรณีพิพาท ร.ศ.112 (พ.ศ.2436) แต่ด้วยพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงยอมเสียสละดินแดนส่วนน้อยเพื่อรักษาประเทศไว้ จึงทรงสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และตามสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่าง 2 ประเทศ มีเงื่อนไขห้ามประเทศสยามตั้งกองทัพและป้อมปราการอยู่ในรัศมี 25 กิโลเมตร ของฝั่งแม่น้ำโขง

          ดังนั้นหน่วยทหารไทยที่ตั้งประจำอยู่ที่เมืองหนองคาย   อันเป็นเมืองศูนย์กลางของหัวเมืองหรือมณฑลลาวพวน ซึ่งมีกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการ จึงจำต้องอพยพเคลื่อนย้ายลึกเข้ามาจนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชื่อ บ้านเดื่อหมากแข้ง (ซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดอุดรธานีปัจจุบัน) ห่างจากฝั่งแม่น้ำโขงกว่า 50 กิโลเมตร

          เมื่อทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแห่งนี้มีชัยภูมิเหมาะสม เพราะมีแหล่งน้ำดี เช่น หนองนาเกลือ (หนองประจักษ์ในปัจจุบัน) และหนองน้ำ อีกหลายแห่ง รวมทั้งห้วยหมากแข้ง ซึ่งเป็นลำห้วยน้ำใสไหลเย็น กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมทรงให้ตั้งศูนย์มณฑลลาวพวน และตั้งกองทหารขึ้น ณ หมู่บ้านเดื่อหมากแข้ง จึงพอเห็นได้ว่าเมืองอุดรธานีได้อุบัติขึ้นโดยบังเอิญ เพราะเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศยิ่งกว่าเหตุผลทางการค้า การคมนาคมหรือเหตุผลอื่น ดังเช่นหัวเมืองสำคัญต่างๆ ในอดีต

          อย่างไรก็ตาม คำว่า “อุดร” มาปรากฏชื่อเมื่อ พ.ศ.2450 (พิธีตั้งเมืองอุดรธานี 1 เมษายน ร.ศ.127 หรือ พ.ศ. 2450 โดยพระยาศรีสุริยราช วรานุวัตร “โพธิ์ เนติโพธิ์”) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีกระแสพระบรมราชโองการให้จัดตั้งเมืองอุดรธานีขึ้น ที่บ้านหมากแข้ง อยู่ในเขตการปกครองของมณฑลอุดร

          หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2475 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ยกเลิกการปกครองในระบอบมณฑล ในส่วนภูมิภาคยังคงเหลือเฉพาะจังหวัดและอำเภอเท่านั้น มณฑลอุดรจึงถูกยุบไปเหลือเพียงจังหวัดอุดรธานีเท่านั้น  จากนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงระเบียบราชการบริหารแผ่นดินหลายครั้ง   จนกระทั่งเป็นจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน

 

สภาพทั่วไประดับจังหวัด

          จังหวัดอุดรธานี  มีเนื้อที่  11,730.302 ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ 7,331,438.75 ไร่  การเมืองการปกครองแบ่งออกเป็น  20 อำเภอ,  156 ตำบล,  1,880 หมู่บ้าน

การปกครองท้องถิ่น   ประกอบด้วย  องค์การบริหารส่วนจังหวัด  1  แห่ง , เทศบาลนคร  1  แห่ง ,  เทศบาลเมือง  3  แห่ง ,  เทศบาลตำบล  67  แห่ง , องค์การบริหารส่วนตำบล  109   แห่ง มีจำนวนประชากร   1,577,571  คน   แบ่งเป็นชาย  785,664  คน  หญิง 791,907 คน จำนวนครัวเรือน 492,925  ครัวเรือน  ความหนาแน่นของประชากร  ทั้งจังหวัด  135  คนต่อตารางกิโลเมตร (ข้อมูลจากระบบสถิติทางการทะเบียน กระทรวงมหาดไทย เดือน ตุลาคม 2559)

          สภาพพื้นที่ของจังหวัดอุดรธานีมีลักษณะคล้ายผีเสื้อตัวใหญ่กางปีกบิน โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 187 ฟิต พื้นที่เอียงลาดลงสู่แม่น้ำโขง ทางจังหวัดหนองคาย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินทรายปนดินลูกรัง ไม่เก็บน้ำหรืออุ้มน้ำในฤดูแล้ง พื้นที่บางแห่งเป็นดินเค็ม ประกอบกสิกรรมไม่ค่อยได้ผลดี พื้นที่บางส่วนเป็นลูกคลื่นลอนลาด มีพื้นที่ราบผืนเล็กๆ แทรกอยู่กระจัดกระจาย

อาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่น คือ

                   ทิศเหนือ         ติดต่อกับ  จังหวัดหนองคาย

                   ทิศใต้             ติดต่อกับ  จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดกาฬสินธุ์

                   ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ  จังหวัดสกลนครและจังหวัดกาฬสินธุ์

                   ทิศตะวันตก     ติดต่อกับ  จังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดเลย

 

สภาพทั่วไปของเทศบาล

ความเป็นมาของเทศบาล      

          ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงดำเนินการจัดระบบการปกครองท้องถิ่นต่อเนื่อง โดยทรงจัดให้มีการปกครองตนเองแบบเทศบาลขึ้นในบริเวณวังพญาไท         เมื่อปี  พ.ศ.2461  โดยโปรดเกล้าพระราชทานนามว่า  ดุสิตธานี ซึ่งเป็นรูปแบบทดลองการปกครองท้องถิ่น

          ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดตั้งคณะกรรมการจัดการประชาภิบาล   (Municipality)   ขึ้น  ในปี  พ.ศ. 2470  ซึ่งทำหน้าที่ศึกษาดูงานกิจการสุขาภิบาลตามหัวเมืองต่างๆ ทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อทำรายงานประกอบการพิจารณาจัดตั้งการประชาภิบาลหรือเทศบาล  จนกระทั่งปี  พ.ศ.2476  ได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พุทธศักราช 2476 ขึ้น  ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายฉบับแรกตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารตนเองของเทศบาล  ต่อมาในปี  พ.ศ.2478  ได้มีการจัดตั้งเทศบาลเป็นครั้งแรก ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล  พ.ศ.2476   โดยการยกฐานะสุขาภิบาลที่มีอยู่เดิม 35 แห่ง  ขึ้นเป็นเทศบาล  และได้มีการปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวอยู่เป็นระยะ เช่น ในปี พ.ศ.2481 และ พ.ศ.2496 ได้มีการตราพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ขึ้นใช้แทนกฎหมายเดิมทั้งหมด และได้มีการแก้ไขหลายครั้ง  ครั้งที่สำคัญ คือ การปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.เทศบาล  พ.ศ.2496 โดย พ.ร.บ.เทศบาล (ฉบับที่ 10)  พ.ศ.2542 เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540  และปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.เทศบาล  พ.ศ. 2496  โดย พ.ร.บ.เทศบาล (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2543  มีหลักการที่สำคัญ คือ การแก้ไขโครงสร้างเทศบาลให้ประกอบด้วย สภาเทศบาลและคณะเทศมนตรีหรือนายกเทศมนตรี  ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตเทศบาล และในปัจจุบันตาม พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2546  ได้กำหนดให้องค์กรเทศบาล  ประกอบด้วย  สภาเทศบาลกับนายกเทศมนตรี เท่านั้น  ซึ่งนายกเทศมนตรีจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

 

1. ข้อมูลด้านกายภาพ

          1.1 ที่ตั้งของเทศบาลนครอุดรธานี

เทศบาลนครอุดรธานี ตั้งอยู่ในเขตของอำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานีอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 562 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ตัดผ่าน

มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้

  ทิศเหนือ       ติดต่อกับ  เทศบาลเมืองหนองสำโรงและเทศบาลตำบลหนองบัว

  ทิศใต้           ติดต่อกับ  เทศบาลตำบลบ้านจั่นและองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจั่น

  ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ  เทศบาลตำบลหนองบัว

  ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ  เทศบาลเมืองหนองสำโรง

         

          1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

          สำหรับสภาพภูมิประเทศในเขตอำเภอเมือง พื้นที่สภาพในเขตเป็นลูกคลื่นลอนตื้น มีที่ดอนสลับที่นา บางส่วนเป็นเนินเขาเตี้ยๆ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ปานกลางเฉลี่ยน้อยกว่า 200 เมตร มีที่ราบลุ่มเป็นบริเวณใหญ่ในเขตอำเภอเมือง พื้นที่ลูกคลื่นดังกล่าวจะมีพื้นที่สูง

          ลักษณะของภูมิประเทศของเทศบาลนครอุดรธานี มีสภาพพื้นที่ภายในตัวเมืองเป็นแอ่งลาดจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือ มีทางน้ำธรรมชาติที่สำคัญ 2 สาย คือลำห้วยหมากแข้งกับลำห้วยมั่ง ลำห้วยทั้งสองนี้เป็นเส้นทางระบายน้ำตามธรรมชาติออกจากตัวเมือง

 

          1.3  ลักษณะภูมิอากาศ

          จังหวัดอุดรธานีอยู่ใต้อิทธิพลของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไป จะมีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อนและหนาวจัดในฤดูหนาว ช่วง 5 ปีย้อนหลัง (ปี2554-2558) อุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 42.0 องศาเซลเซียส (เมษายน 2556) อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 9.8 องศาเซลเซียส (มกราคม 2558) ปี พ.ศ.2558 อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 28.10 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน วัดได้ 41.90 องศาเซลเซียส และต่ำสุดในเดือนมกราคม วัดได้ 9.80 องศาเซลเซียส ความกดอากาศเฉลี่ยทั้งปี วัดได้ 1,009.97 มิลิเมตรปรอท ร้อยละของความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 95.58 เฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 34.08 และร้อยละของความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยทั้งปีเท่ากับ 70.51

 

 ตารางแสดงอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุด (องศาเซลเซียส) จังหวัดอุดรธานี พ.ศ.2554-2558

ปี 2554

ปี 2555

ปี 2556

ปี 2557

ปี 2558

สูงสุด

ต่ำสุด

สูงสุด

ต่ำสุด

สูงสุด

ต่ำสุด

สูงสุด

ต่ำสุด

สูงสุด

ต่ำสุด

39.0

10.5

40.8

13.6

42

13.1

40.7

8.3

41.9

9.8

(ที่มา : สถานีอุตุนิยมวิทยาอุดรธานี ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558)

 

          ในปี 2558 ปริมาณน้ำฝนทั้งปีวัดได้ 1,211.20 มิลลิเมตร จำนวนวันที่ฝนตก 118 วัน ปริมาณฝนสูงสุด 90.1 มิลลิเมตร (18 กรกฎาคม 2558) สำหรับปริมาณน้ำฝน 5 ปีย้อนหลัง (ปี 2554-2558) ปริมาณน้ำฝนมากที่สุดในปี พ.ศ.2554 วัดได้ 1,714.5 มิลลิเมตร จำนวนวันที่ฝนตกทั้งปีจำนวน 132 วัน ฝนตกน้อยที่สุดในปี 2555 ปริมาณน้ำฝนวัดได้ 882.0 มิลลิเมตร

 

    ตารางปริมาณน้ำฝนทั้งปี(มิลลิเมตร) และจำนวนวันที่ฝนตกทั้งปีจังหวัดอุดรธานี พ.ศ.2554-2558

ปี 2554

ปี 2555

ปี 2556

ปี 2557

ปี 2558

ปริมาณน้ำฝน

จำนวนวันที่

ฝนตก

ปริมาณน้ำฝน

จำนวนวันที่

ฝนตก

ปริมาณน้ำฝน

จำนวนวันที่

ฝนตก

ปริมาณน้ำฝน

จำนวนวันที่

ฝนตก

ปริมาณน้ำฝน

จำนวนวันที่

ฝนตก

1,714.5

132

88.5

122

1,352.4

128

1,374.2

118

1,211.2

118

(ที่มา : สถานีอุตุนิยมวิทยาอุดรธานี ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558)

         

          1.4 ลักษณะของดิน 

          ลักษณะของดินในเขตเทศบาลนครอุดรธานี  เป็นลักษณะดินร่วนปนทราย  ไม่เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม  เป็นที่ดอนสลับที่นา บางส่วนเป็นเนินเขาเตี้ยๆ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นลูกคลื่นลอนตื้น 

 

          1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ 

          ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 3 แห่ง สำหรับใช้ในการผลิตน้ำประปาและเป็นแหล่งน้ำสำรองน้ำใช้  ได้แก่

  • หนองประจักษ์ศิลปาคม  พื้นที่น้ำ  247 ไร่

  • หนองบัว    พื้นที่น้ำ 91.18 ไร่

  • หนองสิม    พื้นที่น้ำ 46.89 ไร่

          1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้

          ลักษณะของไม้และป่าไม้ เป็นลักษณะของป่าไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ยางนา ไม้เบญจพรรณ  ตามวัดป่าต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่เทศบาลนครอุดรธานี เช่น วัดโยธานิมิต  วัดป่าสามัคคีหนองแก้ว  วัดป่าโนนนิเวศน์  วัดป่าหนองตูม และสวนป่าเทศบาล 8

 

2.ด้านการเมือง/การปกครอง

          2.1  เขตการปกครอง

          เทศบาลนครอุดรธานี เดิมเป็นเทศบาลเมืองอุดรธานี จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้ง  เทศบาลเมืองอุดรธานี  จังหวัดอุดรธานี  พุทธศักราช 2479  เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2479  เทศบาลนครอุดรธานีมีพื้นที่ 5.60 ตารางกิโลเมตร

          การขยายเขตครั้งที่ 1  ตามพระราชกฤษฎีกาการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานีพุทธศักราช 2495  เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2495  มีพื้นที่ 8.30 ตารางกิโลเมตร

          การขยายเขตครั้งที่ 2  ตามพระราชกฤษฎีกาการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองอุดรธานี (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2536 เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2536  มีพื้นที่  47.70 ตารางกิโลเมตร

เทศบาลเมืองอุดรธานี ยกฐานะเป็น  เทศบาลนครอุดรธานี  ตามพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งเทศบาลนครอุดรธานี  พุทธศักราช 2538  เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2538

 

          2.2 การเลือกตั้ง        

          เทศบาลนครอุดรธานี อยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 1 

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร   ครั้งล่าสุด  เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557  มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง  จำนวน   91,685 คน  หน่วยเลือกตั้ง 164 หน่วย

การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา   ครั้งล่าสุด   เมื่อวันที่  30  มีนาคม  2557   มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง         จำนวน 92,217 คน   หน่วยเลือกตั้ง 167 หน่วย

 

เทศบาลนครอุดรธานี  แบ่งส่วนการบริหารออกเป็นฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร  ดังนี้

                   - ฝ่ายนิติบัญญัติ  ได้แก่  สมาชิกสภาเทศบาล  จำนวน  24  คน

                   - ฝ่ายบริหาร     ได้แก่  นายกเทศมนตรี  และรองนายกเทศมนตรี จำนวน  4  คน

                   - เลขานุการนายกเทศมนตรี    จำนวน  3  คน

                   - ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี      จำนวน  2  คน

(ที่มา  :  กองทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน  เทศบาลนครอุดรธานี)

 

แผนภูมิแสดงจำนวนประชากรในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

กลุ่มอายุ

พ.ศ.2555

พ.ศ.2556

พ.ศ.2557

พ.ศ.2558

พ.ศ.2559

ชาย

หญิง

รวม

ชาย

หญิง

รวม

ชาย

หญิง

รวม

ชาย

หญิง

รวม

ชาย

หญิง

รวม

0-4

5-9

10-14

15-19

20-24

25-29

30-34

35-39

40-44

45-49

50-54

55-59

60-64

65-69

70-79

80-ขึ้นไป

 

3,170

4,053

4,647

4,883

5,204

4,436

4,449

4,723

4,707

4,391

3,874

3,113

2,375

1,727

1,938

654

3,040

3,810

4,645

5,051

4,241

4,303

4,749

5,239

5,581

5,186

4,828

3,980

3,175

2,258

2,535

887

6,210

7,863

9,292

9,934

9,445

8,739

9,198

9,962

10,288

9,577

8,702

7,093

5,550

3,985

4,473

1,541

3,342

3,947

4,488

4,722

5,432

4,376

4,431

4,632

5,197

4,857

4,476

3,710

2,820

2,364

3,298

1,909

3,252

3,761

4,426

4,871

4,255

4,227

4,606

5,139

5,661

5,834

5,308

4,681

3,764

2,967

3,409

1,583

 

6,594

7,708

8,914

9,593

9,687

8,603

9,037

9,771

10,858

10,691

9,784

8,391

6,584

5,331

6,707

3,492

 

3,170

4,053

4,647

4,883

5,204

4,436

4,449

4,723

4,707

4,391

3,874

3,113

2,375

1,727

1,938

654

3,040

3,810

4,645

5,051

4,241

4,303

4,749

5,239

5,581

5,186

4,828

3,980

3,175

2,258

2,535

887

6,210

7,863

9,292

9,934

9,445

8,739

9,198

9,962

10,288

9,577

8,702

7,093

5,550

3,985

4,473

1,541

3,265

3,889

4,443

4,526

5,137

4,317

4,328

4,588

5,130

4,851

4,480

3,739

2,894

2,403

3,378

2,236

 

3,182

3,664

4,374

4,620

4,222

4,131

4,551

4,988

5,619

5,769

5,353

4,771

3,806

3,095

3,516

1,892

6,447

7,553

8,817

9,146

9,359

8,448

8,879

9,576

10,749

10,620

9,833

8,510

6,700

5,498

6,894

4,128

 

3,072

 3,652

4,272

4,252

5,358

4,173

4,099

4,366

4,811

4,897

4,455

3,867

3,091

2,506

3,483

2,172

 

2,936

3,491

4,115

4,242

4,129

3,960

4,260

4,838

5,344

5,714

5,251

4,923

4,009

3,374

3,838

1,813

6,008

7,143

8,387

8,494

9,487

8,133

8,359

9,204

10,155

10,611

9,706

8,790

7,100

5,880

7,321

3,985

 

(ที่มา  :  กองทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน  เทศบาลนครอุดรธานี)

 

3. สภาพทางสังคม

3.1 การศึกษา

      การศึกษา : ในเขตเทศบาลนครอุดรธานีมีสถานศึกษาภายใต้สังกัดต่างๆ  ดังนี้

                   - สังกัดกรมสามัญศึกษา                                                                3      แห่ง

                   - สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน                                   24      แห่ง

                     (แบ่งเป็นประเภทสามัญศึกษา 18 แห่ง และอาชีวศึกษา 6 แห่ง)

                   - สังกัดกรมการศาสนา (โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา)  2      แห่ง

                   - สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา                                 3      แห่ง

                   - สังกัดองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น (โรงเรียนเทศบาล)                        12      แห่ง

                   - สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา                                     3      แห่ง

 

ตารางแสดงจำนวนพนักงานครู  นักเรียนและห้องเรียน  สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี

โรงเรียน

จำนวนนักเรียน

จำนวนครู

จำนวนห้องเรียน

นักเรียน/ครู

นักเรียน/ห้องเรียน

เทศบาล 1

846

42

27

20.14

31.33

เทศบาล 2

1,369

77

43

17.78

31.84

เทศบาล 3

1,183

63

36

18.78

32.86

เทศบาล 4

450

21

19

21.43

23.68

เทศบาล 5

1,174

55

36

21.35

32.61

เทศบาล 6

1,283

75

40

17.11

32.08

เทศบาล 7

1,139

57

37

19.98

30.78

เทศบาล 8

365

22

16

16.59

22.81

เทศบาล 9

130

11

8

11.82

16.25

เทศบาล 10

319

14

9

22.79

35.44

เทศบาล 11

179

8

8

22.38

22.38

เทศบาล 12

27

3

5

9

5.4

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล 4

120

6

3

20

40

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล 8

100

5

3

20

33.33

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนบ้านม่วง

28

2

1

14

28

รวม

8,712

461

291

18.89

29.93

(ที่มา  :  ข้อมูล ณ วันที่ 19 กันยายน 2559 สำนักการศึกษา  เทศบาลนครอุดรธานี)

 

          3.2 ด้านการสาธารณสุข  การสาธารณสุขในเขตเทศบาลนครอุดรธานี  มีสถานพยาบาลต่างๆ  ดังนี้

          1. โรงพยาบาลของรัฐ

                   1.1 โรงพยาบาลศูนย์ จำนวน 1 แห่ง  

- โรงพยาบาลอุดรธานี                                  924 เตียง

                   1.2 สังกัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 2 แห่ง ได้แก่

                             - โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม       150 เตียง         

                             - โรงพยาบาลกองบิน 23                      30 เตียง       

                   1.3 สถานีอนามัย จำนวน  4  แห่ง

                   1.4 ศูนย์บริการสาธารณสุขสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี  จำนวน 4 แห่ง  ได้แก่

                             - ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครอุดรธานี

                             - ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล 8

                             - ศูนย์บริการสาธารณสุขหนองสิม

                             - ศูนย์บริการสาธารณสุขเก่าจาน

                   จำนวนเตียงโรงพยาบาลของรัฐ รวม  1,104  เตียง

 

          2. โรงพยาบาลเอกชน

          2.1 ขนาด 300 เตียง จำนวน 3 แห่ง  ได้แก่ 

1. โรงพยาบาลกรุงเทพอุดร

2. โรงพยาบาลเอกอุดร 

3. โรงพยาบาลนอร์ทอีสเทอร์น-วัฒนา

จำนวนเตียงภาคเอกชนทั้งหมด  900  เตียง

ที่มา : กองการแพทย์ เทศบาลนครอุดรธานี เดือนพฤศจิกายน 2559

 

          3.3 อาชญากรรม

สถิติคดีอาญา 5 กลุ่ม เขตอำเภอเมืองอุดรธานี

ประจำปีพ.ศ. 2559

ประเภทของคดี

จำนวนคดี

หมายเหตุ

คดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ

4

 

คดีเกี่ยวกับชีวิต ร่างกายและเพศ

34

 

คดีที่เกี่ยวกับทรัพย์

309

 

คดีที่น่าสนใจ

41

 

คดีที่รัฐเป็นผู้เสียหาย

1061

 

รวม

1,449

 

 

 

 

ที่มา : สถานีตำรวจภูธรเมืองอุดรธานี (ณ วันที่ 5 ธันวาคม 2559)

 

 

 

 

 

          3.4 ยาเสพติด

          สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในเขตเทศบาลนครอุดรธานี และอำเภอเมืองอุดรธานี อยู่ในระดับปานกลาง สามารถควบคุมได้ จังหวัดอุดรธานีไม่ได้มีพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่มีพื้นที่ติดกับจังหวัดหนองคาย และจังหวัดเลย โดยการลักลอบลำเลียงยาเสพติดจะมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งแฝงมากับประชาชนที่ได้เดินทางเข้ามาในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี  ไม่ต่ำกว่าวันละประมาณ 1,500 คน ไม่ว่าจะเป็นทางรถยนต์โดยสารประจำทาง รถยนต์ ส่วนบุคคล รถไฟ และทางเครื่องบิน  รวมทั้งมีกลุ่มผู้ค้า/ผู้เสพในจังหวัดอุดรธานีได้เดินทางข้ามไปซื้อยาเสพติด(ยาบ้า)มาจากฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อนำมาเสพและจำหน่าย โดยถ้าข้ามไปซื้อจากฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน จะซื้อได้ในราคาเม็ดละ 60-80 บาท ถ้านำมาขายต่อในฝั่งไทยเม็ดละ 250-300 บาท ซึ่งจังหวัดอุดรธานีได้กลายเป็นแหล่ง  “พักยา” ที่สำคัญในภาคอีสาน เพื่อนำไปจำหน่ายในพื้นที่ตอนใน กลุ่มเป้าหมายของการแพร่ระบาดในจังหวัดที่น่าเป็นห่วง คือ กลุ่มเยาวชน/นักเรียนนักศึกษาเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มต่อปัญหายาเสพติดที่สุดในขณะนี้   ซึ่งในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดในพื้นที่ มีการกำหนดแผนงานด้านการป้องกัน และการปราบปราม

          ด้านการป้องกัน โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ทำการออกตรวจตราตามสวนสาธารณะหนองประจักษ์ ในสถานศึกษาและในบริเวณสถานที่ต่างๆ ที่มีกลุ่มนักเรียนนักศึกษาจับกลุ่มมั่วสุม  โดยทำการตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดเพื่อคัดกรองผู้เสพยาเสพติดและป้องกันปัญหาการจับกลุ่มมั่วสุมกัน ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาได้ในระดับหนึ่ง

          ส่วนการดำเนินการด้านการปราบปราม ฝ่ายความมั่นคงดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล โดยออกตรวจสอบและจับกุมผู้ลักลอบจำหน่ายยาเสพติดในพื้นที่ และนำไปดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

 

          3.5 การสังคมสงเคราะห์

ประชากรผู้สูงอายุ

          ผู้สูงอายุ เป็นวัยซึ่งมีความแตกต่างจากวัยอื่น เป็นวัยบั้นปลายของชีวิต ดังนั้น ปัญหาของผู้สูงอายุในทุกด้าน  โดยเฉพาะด้านสังคมและสาธารณสุข จึงแตกต่างจากคนในวัยอื่น ปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก  ซึ่งรัฐบาลไทยและทั่วโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้  จึงมีความพยายามและมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องให้ทุกคน ตระหนัก เข้าใจ และ พร้อมดูแลผู้สูงอายุให้ทัดเทียมเช่นเดียวกับการดูแลประชากรในกลุ่มอายุอื่น

          สำหรับประเทศไทย "ผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 หมายความว่า บุคคล ซึ่งมีอายุเกินกว่าหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีสัญชาติไทย

          ประชากรในจังหวัดอุดรธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,575,311 คน มีผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) จำนวน 208,421 คน  คิดเป็นร้อยละ 13.23  

(ที่มา  :  งานหลักประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เดือนมิถุนายน 2559)

 

ตาราง  แสดงจำนวนผู้สูงอายุของเทศบาลนครอุดรธานี

พ.ศ.

ประชากร

ในเขตเทศบาล

ผู้สูงอายุ

ในเขตเทศบาล

คิดเป็นร้อยละ

2554

2555

2556

2557

2558

2559

135,963

134,901

134,339

133,429

132,106

131,585

14,899

15,549

22,114

23,220

23,882

23,534

10.96

11.53

16.46

17.40

18.08

17.89

 

          จำนวนประชากรผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครอุดรธานี มีทั้งหมด  คน มีสูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพจำนวน  12,978  คน  คนพิการที่ได้รับเบี้ยยังชีพจำนวน  1,610 คน ผู้ด้อยโอกาสที่ได้รับการสงเคราะห์ช่วยเหลือจำนวน 54 ครัวเรือน  และผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับเบี้ยยังชีพจำนวน  189  คน                  

(ที่มา : กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครอุดรธานี  เดือนตุลาคม 2559)

 

4.ระบบบริการพื้นฐาน

          4.1 การคมนาคมขนส่ง

              Ø ทางบก  แบ่งออกเป็น  2  ทาง  ดังนี้

                  1. ทางรถยนต์ จากกรุงเทพมหานครไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงสระบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 107 แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านนครราชสีมา ขอนแก่น ถึงอุดรธานี รวมระยะทาง 564 กิโลเมตร

-รถโดยสารประจำทาง มีบริการรถโดยสารทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี จำนวน 2 แห่ง ดังนี้

                   1. สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 ตั้งอยู่ถนนสายอุทิศ  ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี  มีขนาดพื้นที่ 3 ไร่ 2 งาน  มีช่องจอดรถโดยสารประจำทาง จำนวน 18 ช่องจอด

2. สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานีแห่งที่ 2 ตั้งอยู่ที่ถนนเลี่ยงเมือง ตำบลเชียงพิณ  อำเภอเมือง  จังหวัดอุดรธานี  มีขนาดพื้นที่ 9 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวา  ดำเนินการโดยเอกชน  มีช่องจอดรถโดยสารประจำทาง จำนวน 28 ช่องจอด

                 2. ทางรถไฟ เส้นทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดอุดรธานีมีขบวนรถไฟผ่านหลายขบวนด้วยกันมีทั้งไปยังจังหวัดอุดรธานีโดยตรง  และขบวนที่รถผ่านต่อไปยังจังหวัดหนองคาย โดยให้บริการทุกวัน  จังหวัดอุดรธานีมีสถานีรถไฟภายในเขตจังหวัด ทั้งหมด 7 แห่ง ประกอบด้วย อำเภอเมืองอุดรธานี  หนองตะไก้ กุมภวาปี โนนสะอาด หนองขอนกว้าง ห้วยสามพาด และห้วยเกิ้ง สำหรับขบวนรถไฟที่ผ่านจังหวัดอุดรธานี  มีรถเร็ว รถด่วน รถด่วนดีเซลราง และรถด่วนดีเซลรางธรรมดา

 

ตารางแสดงกำหนดเวลาเดินรถไฟสถานีอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี

เลข   

ขบวนรถ

ประเภทรถ

สถานี

ต้นทาง-ปลายทาง

เวลาออกต้นทาง

เวลาถึงปลายทาง

75

ด่วน

กรุงเทพ-อุดรธานี

08.20

17.07

77

ด่วน

กรุงเทพ-อุดรธานี

18.35

03.31

69

ด่วน

กรุงเทพ-อุดรธานี

20.00

05.53

25

ด่วนพิเศษ

กรุงเทพ-อุดรธานี

20.00

05.53

133

เร็ว

กรุงเทพ-อุดรธานี

20.45

07.33

415

ท้องถิ่น (ฟรี)

นครราชสีมา-อุดรธานี

06.20

11.31

417

ท้องถิ่น (ฟรี)

นครราชสีมา-อุดรธานี

16.00

21.40

77

ด่วน

นครราชสีมา-อุดรธานี

23.33

03.31

76

ด่วนดีเซลราง

อุดรธานี-กรุงเทพ

07.38

17.10

78

ด่วนดีเซลราง

อุดรธานี-กรุงเทพ

18.52

05.00

70

ด่วน

อุดรธานี-กรุงเทพ

19.59

06.00

26

ด่วนพิเศษ

อุดรธานี-กรุงเทพ

19.59

06.00

134

เร็ว

อุดรธานี-กรุงเทพ

19.19

05.45

416

ท้องถิ่น (ฟรี)

อุดรธานี-นครราชสีมา

        05.55

11.25

418

ท้องถิ่น (ฟรี)

อุดรธานี-นครราชสีมา

13.40

19.00

78

ด่วน

อุดรธานี-นครราชสีมา

18.52

22.50

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Ø ทางอากาศ  จังหวัดอุดรธานีมีท่าอากาศยานพาณิชย์  (ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี)  เป็นส่วนราชการสังกัดกรมการขนส่งทางอากาศ   กระทรวงคมนาคม   ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง   จังหวัดอุดรธานี อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางด้านทิศใต้  ประมาณ 3 กิโลเมตร ระดับความสูงสนามบินอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 178 เมตร  มีพื้นที่ประมาณ 2,000 ไร่  เป็นสนามบินอยู่ในความครอบครองของกองทัพอากาศ  กองบิน 23 และกรมการขนส่งทางอากาศเป็นผู้ขอใช้พื้นที่ร่วมในกิจการบิน ประกาศเป็นสนามบินอนุญาตเมื่อวันที่  13  ธันวาคม  2497

 

ตารางแสดงกำหนดเวลาการบินของเที่ยวบินที่ท่าอากาศยานอุดรธานี

สายการบิน

ต้นทาง

ปลายทาง

เที่ยวบิน

เวลาออก

เวลาถึง

วันที่ทำการบิน

นกแอร์

ดอนเมือง

อุดรธานี

DD9200

05:50

06:55

ทุกวัน

 

อุดรธานี

ดอนเมือง

DD9201

7.35

8.35

ทุกวัน

 

ดอนเมือง

อุดรธานี

DD9202

10.15

11.20

ทุกวัน

 

อุดรธานี

ดอนเมือง

DD9203

11.50

12.50

ทุกวัน

 

ดอนเมือง

อุดรธานี

DD9210

12.20

13.25

ทุกวัน

 

อุดรธานี

ดอนเมือง

DD9211

13.55

14.55

ทุกวัน

 

ดอนเมือง

อุดรธานี

DD9212

14.00

15.05

ทุกวัน

 

อุดรธานี

ดอนเมือง

DD9213

15.35

16.35

ทุกวัน

 

ดอนเมือง

อุดรธานี

DD9216

17.00

18.05

ทุกวัน

 

อุดรธานี

ดอนเมือง

DD9217

18.35

19.35

ทุกวัน

 

เชียงใหม่

อุดรธานี

DD8624

16.10

17.10

ทุกวัน

 

อุดรธานี

เชียงใหม่

DD8625

18.10

19.10

ทุกวัน

 

สายการบิน

ต้นทาง

ปลายทาง

เที่ยวบิน

เวลาออก

เวลาถึง

วันที่ทำการบิน

แอร์เอเชีย

ดอนเมือง

อุดรธานี

FD3352

8.10

9.10

ทุกวัน

 

อุดรธานี

ดอนเมือง

FD3353

9.45

10.45

ทุกวัน

 

ดอนเมือง

อุดรธานี

FD3354

11.30

12.30

ทุกวัน

 

อุดรธานี

ดอนเมือง

FD3355

13.00

13.55

ทุกวัน

 

ดอนเมือง

อุดรธานี

FD3350

20.30

21.30

ทุกวัน

 

อุดรธานี

ดอนเมือง

FD3351

22.00

23.00

ทุกวัน

 

ภูเก็ต

อุดรธานี

FD3170

15.45

17.25

ทุกวัน

 

อุดรธานี

ภูเก็ต

FD3171

17.55

19.45

ทุกวัน

 

อู่ตะเภา

อุดรธานี

FD2001

7.20

8.30

ทุกวัน

 

อุดรธานี

อู่ตะเภา

FD2002

8.55

10.05

ทุกวัน

ไทยสมายด์

สุวรรรณภูมิ

อุดรธานี

WE002

7.40

8.45

ทุกวัน

 

อุดรธานี

สุวรรรณภูมิ

WE003

9.25

10.30

ทุกวัน

 

สุวรรรณภูมิ

อุดรธานี

WE004

11.10

12.15

ทุกวัน

 

อุดรธานี

สุวรรรณภูมิ

WE005

12.45

13.50

ทุกวัน

 

สุวรรรณภูมิ

อุดรธานี

WE006

14.35

15.40

ทุกวัน

 

อุดรธานี

สุวรรรณภูมิ

WE007

16.15

17.20

ทุกวัน

 

สุวรรรณภูมิ

อุดรธานี

WE008

17.40

18.45

ทุกวัน

 

อุดรธานี

สุวรรรณภูมิ

WE009

19.15

20.20

ทุกวัน

 

สุวรรรณภูมิ

อุดรธานี

WE010

19.20

20.25

ทุกวัน

 

อุดรธานี

สุวรรรณภูมิ

WE011

21.25

22.20

ทุกวัน

ไลออนแอร์

ดอนเมือง

อุดรธานี

SL600

05.55

06.55

ทุกวัน

 

 อุดรธานี

ดอนเมือง

SL601

08.00

09.00

ทุกวัน

 

ดอนเมือง

อุดรธานี

SL604

09.35

10.50

ทุกวัน

 

อุดรธานี

ดอนเมือง

SL605

11.20

12.20

ทุกวัน

 

ดอนเมือง

อุดรธานี

SL608

14.15

15.20

จันทร์-ศุกร์

 

อุดรธานี

ดอนเมือง

SL609

16.25

17.30

จันทร์-ศุกร์

 

ดอนเมือง

อุดรธานี

SL610

15.00

16.05

ทุกวัน

 

อุดรธานี

ดอนเมือง

SL611

17.00

18.10

ทุกวัน

สายการบิน

ต้นทาง

ปลายทาง

เที่ยวบิน

เวลาออก

เวลาถึง

วันที่ทำการบิน

ไลออนแอร์

ดอนเมือง

อุดรธานี

SL614

17.30

18.35

อังคาร-เสาร์

 

อุดรธานี

ดอนเมือง

SL615

19.15

20.15

อังคาร-เสาร์

 

ดอนเมือง

อุดรธานี

SL616

20.10

21.15

ทุกวัน

 

อุดรธานี

ดอนเมือง

SL617

22.00

23.25

ทุกวัน

 

หาดใหญ่

อุดรธานี

SL990

13.05

15.15

จันทร์,พุธ,ศุกร์

 

อุดรธานี

หาดใหญ่

SL991

16.00

18.25

จันทร์,พุธ,ศุกร์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(ข้อมูลตารางการบิน ณ วันที่ 17 กันยายน 2559)

 

          5.2 การไฟฟ้า

          จังหวัดอุดรธานีมีสถานีบริการไฟฟ้าจำนวน 5 แห่ง ซึ่งในเขตเทศบาลนครอุดรธานี มีสถานีบริการไฟฟ้า จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ สถานีไฟฟ้าจังหวัดอุดรธานี ถนนศรีสุข  สถานีไฟฟ้าสาขานิตโย และสถานีไฟฟ้ายูดีทาวน์  สามารถจ่ายกระแสไฟได้ถึง 156.5 เมกะวัตต์ต่อวัน      โดยราคาค่ากระแสไฟฟ้าจะแตกต่างกันไปตามประเภทการใช้ที่แตกต่างกัน 8 ประเภท คือ 

                   1) บ้านที่อยู่อาศัย 

                   2) กิจการขนาดเล็ก 

                   3) กิจการขนาดกลาง 

                   4) กิจการขนาดใหญ่ 

                   5) กิจการเฉพาะอย่าง 

                   6) องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร 

                   7) สูบน้ำเพื่อการเกษตร 

                   8) ไฟฟ้าชั่วคราว

 

         4.3 การประปา

              ประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี  และนอกเขตเทศบาลบริเวณใกล้เคียง ได้รับบริการน้ำประปาจากสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค สาขาอุดรธานี (ชั้นพิเศษ) ตั้งอยู่ที่ 444  ถนน ศุภกิจจรรยา   ตำบลหมากแข้ง  อำเภอเมือง    จังหวัดอุดรธานี   โทรศัพท์  042-222733,  042-247974   แหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปาใช้น้ำจากหนองประจักษ์และเขื่อนห้วยหลวง

 

ตาราง  แสดงจำนวนผู้ใช้น้ำและปริมาณการผลิตน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาอุดรธานี

 

 

ประเภท

จำนวน

หน่วย

 

จำนวนผู้ใช้น้ำทั้งหมด

72,439

ราย

 

กำลังผลิตที่ใช้งาน

93,840

ลบ.ม./วัน

 

ปริมาณน้ำผลิต

2,864,416

ลบ.ม.

 

ปริมาณน้ำผลิตจ่าย

2,474,041

ลบ.ม.

 

ปริมาณน้ำจำหน่าย

1,822,817

ลบ.ม.

 

 

 

 

 

 

 

 

              (ที่มา  :  การประปาส่วนภูมิภาค สาขาอุดรธานี เดือน กันยายน 2559)

 

        4.4 โทรศัพท์

                โทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จำนวน 1 แห่ง และบริษัท ทีที แอนด์ ที    ซึ่งนอกจากให้บริการด้านโทรศัพท์แล้วยังให้บริการด้าน Internet ความเร็วสูง ซึ่งอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลขึ้นอยู่กับเครือข่ายและพื้นที่การให้บริการ

 

        4.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์

                 - ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ ไปรษณีย์อุดรธานี  ไปรษณีย์ศรีสุข  ไปรษณีย์โพศรี  และ ไปรษณีย์ยูดีทาวน์

 

5.ระบบด้านเศรษฐกิจ

          5.1 การเกษตร

          เทศบาลนครอุดรธานีมีพื้นที่ทั้งหมด  47.70 ตร.กม. หรือ 29,812 ไร่ เป็นจำนวนครัวเรือนเกษตร 994 ครัวเรือน   จำนวนแปลง  1,711  แปลง  เนื้อที่เพาะปลูก  1,243  ไร่  แบ่งเป็นพื้นที่นา  896 ไร่  พื้นที่เกษตรอื่นๆ 347 ไร่   ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลหมากแข้ง ที่มีพื้นที่นา จำนวน 10 ชุมชน คือ

          1.บ้านม่วง 1    2.บ้านม่วง2      3.สามัคคี         4.บ้านช้าง1      5.บ้านช้าง2

          6.หนองใหญ่     7.ดงวัด          8.โพนบก        9.พาสุขมั่นคง   10.นาดี

 

          5.2 การประมง

         ประชากรประมาณร้อยละ 20 ประกอบอาชีพทำการประมง ได้แก่ เลี้ยงปลาในบ่อดิน เลี้ยงกุ้งก้ามแดง

 

          5.3 การปศุสัตว์

          ประชากรประมาณร้อยละ 20 ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ เลี้ยงสุกร เลี้ยงโค กระบือ และเลี้ยง

 

          5.4 การบริการ

ตารางแสดงจำนวนสถานประกอบการในด้านบริการต่างๆ ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี  ปี พ.ศ.2555-2559

ประเภท

ปี พ.ศ.

2555

2556

2557

2558

2559

โรงภาพยนตร์

โรงแรม

สถานอาบอบนวด

ศูนย์การค้า

ตลาดเทศบาล

ตลาดเอกชน

สถานธนานุบาล

สถานีบริการน้ำมัน

สถานีรถไฟ

สถานีขนส่ง

สนามบินพาณิชย์

2

76

4

4

3

12

2

19

1

2

1

 

3

78

3

5

3

12

2

19

1

2

1

 

3

78

2

5

3

12

2

20

1

2

1

 

4

93

2

5

3

12

2

20

1

2

1

 

3

95

2

9

3

12

2

19

1

2

1

 

(ที่มา  :  สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม  เทศบาลนครอุดรธานี) ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2559

 

          5.5 การท่องเที่ยว

         สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

          1. พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี  ตั้งอยู่ริมถนนโพศรี ในอาคารราชินูทิศ พิพิธภัณฑ์นี้เกิดขึ้นโดยการจัดตั้งของนายชัยพร รัตนนาคะ  ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีในสมัยนั้น มีการจัดแสดงเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับจังหวัดอุดรธานี นับตั้งแต่ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ธรรมชาติวิทยา ธรณีวิทยา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรม  รวมถึงพระประวัติและพระเกียรติคุณของพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

          2. สวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม  ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ที่มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งเมืองอุดรธานี เดิมเรียกว่า “หนองนาเกลือ” ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมือง เพื่อเป็นเกียรติประวัติแด่พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมผู้ทรงก่อตั้งเมืองอุดรธานี จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “หนองประจักษ์” บริเวณเกาะกลางน้ำ จัดทำสวนหย่อมมีสะพานเชื่อมระหว่างเกาะ มีน้ำพุ หอนาฬิกาและสนามเด็กเล่น  แต่ละวันจะมีประชาชนไปพักผ่อนและออกกำลังกายเป็นจำนวนมาก

          3. วัดทิพยรัฐนิมิตร (วัดบ้านจิก)  ตั้งอยู่บนถนนนเรศวร ตำบลหมากแข้ง จากถนนใหญ่เข้าไปใน   ซอยศาลเจ้าแม่ทับทิม ข้างโรงเรียนโปลีเทคนิค  วัดป่าแห่งนี้มีบรรยากาศที่ร่มรื่นและมีเจดีย์องค์ใหญ่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  ทุกปีในคืนแรม 14 ค่ำ เดือน 12 จะมีพิธีทอดกฐิน

          4. อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ตั้งอยู่กลางเมืองอุดรธานีเป็นอนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติพลตรีกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมผู้ก่อตั้งเมืองอุดรธานี ท่านเป็นราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาสังวาลย์  ประสูติเมื่อปีพุทธศักราช 2399 ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ ซึ่งเรียกว่า มณฑลอุดร ในสมัยต่อมาระหว่าง ร.ศ.112-118 ทรงริเริ่มก่อตั้งเมืองอุดรขึ้น เมื่อ ร.ศ.112  (พ.ศ.2426) ทรงจัดวางระเบียบราชการปกครองบ้านเมืองและรับราชการในหน้าที่สำคัญต่างๆ ซึ่งอำนวยประโยชน์สุขแก่ราษฎร อนุสาวรีย์พระองค์ท่านนับเป็นเกียรติประวัติสูงสุดของชาวอุดรและมีการจัดงานพิธีครบรอบวันก่อตั้งเมืองอุดรในวันที่ 18 มกราคมของทุกปี

          5. วัดโพธิสมภรณ์  ตั้งอยู่บนถนนโพศรี ตำบลหมากแข้ง สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ปลายรัชกาลที่ 5 โดยมหาอำมาตย์ตรีพญาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ เนติโพธิ) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร  ได้ชักชวนราษฎรในหมู่บ้านหมากแข้งสร้างวัดซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดใหม่ ต่อมาพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ได้ทรงประทานนามว่า “วัดโพธิสมภรณ์”  ให้เป็นอนุสรณ์แก่พญาศรีสุริยราชวรานุวัตรผู้สร้างวัดนี้  ด้านในเป็นพิพิธภัณฑ์บูรพาจารย์ฝ่ายกัมมัฎฐาน

          6. วัดมัชฌิมาวาส  ตั้งอยู่ที่ตำบลหมากแข้ง ในช่วงสมัยรัชกาลที่5กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม  ได้โปรดให้สร้างวัดขึ้นที่วัดร้างโนนหมากแข้ง และเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า วัดมัชฌิมาวาส ภายในวัดมีพระพุทธรูปสีขาวปางนาคปรกประดิษฐานอยู่ซึ่งเรียกว่า “หลวงพ่อนาค” เป็นที่เคารพสักการะของชาวอุดรธานี

          7. ศาลเจ้าปู่-ย่า  ตั้งอยู่หลังสถานีรถไฟใกล้ตลาดหนองบัว ถนนนิตโย เป็นศาลเจ้าที่ใหญ่โตและสวยงาม ติดกับสวนหย่อมริมหนองบัว บริเวณโดยรอบมีศาลาชมวิวกลางน้ำ 2 หลัง บรรยากาศร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน ในศาลเจ้าปู่-ย่าแห่งนี้ยังมีมังกรทองยาวถึง 99 เมตรซึ่งใช้แสดงในงานประจำปีทุ่งศรีเมืองในเดือนธันวาคมของทุกปี

          8. ศาลหลักเมืองอุดรธานี  หรือที่เรียกว่าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองอุดรธานี  เป็นศูนย์รวมความเคารพและความศรัทธา ซึ่งชาวเมืองอุดรธานีมักจะพากันมาสักการะบูชา   บริเวณศาลหลักเมืองอุดรธานี   ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญอื่นๆ อันเป็นที่เลื่อมใสบูชาเป็นอย่างสูง ได้แก่ หลวงพ่อพระพุทธ   โพธิ์ทอง และ ท้าวเวสสุวัณซึ่งมีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์และความเป็นสิริมงคลในแต่ละด้านที่        แตกต่างกันไป ตามประวัติกล่าวว่าศาลหลักเมืองอุดรธานีสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2502 โดย       อัญเชิญดวงพระวิญญาณของพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมผู้ทรงก่อตั้งเมืองอุดรธานี เมื่อ พ.ศ.2436 มาสถิต ณ เสาหลักเมืองนี้ด้วย องค์เสาหลักเมืองทำขึ้นด้วยไม้คูณยาว 5 เมตรเศษ และฝังลึกลงไป 3 เมตร มีการบรรจุแผ่นยันต์และแก้วแหวน เงิน ทองต่างๆ เป็นจำนวน     มากไว้ใต้ฐานเพื่อเป็นสิริมงคล ต่อมาในปี พ.ศ.2542 ได้มีการสร้างศาลหลักเมืองหลังใหม่แทนหลังเดิมที่ทรุดโทรม ตัวอาคารของศาลหลักเมืองจะเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ผสมผสานศิลปะแห่งภาคอีสาน เป็นที่สักการะขอพรของชาวอุดรธานีสืบมา

          9. ท้าวเวสสุวรรณโณ หรือท้าวกุเวร  ตั้งอยู่ที่ทุ่งศรีเมืองใกล้กับศาลหลักเมือง เป็นยักษ์ที่บำเพ็ญเพียรมาหลายร้อยปี และได้ปราบภูตผีปีศาจต่างๆที่มารบกวนในเวลาพระภิกษุสงฆ์นั่งสมาธิ       ท้าวเวสสุวรรณโณเป็นหนึ่งในจตุโลกบาล มีตำแหน่งเป็นราชาแห่งยักษ์รักษาทิศอุดร (ทิศเหนือ) เป็นเจ้าของแก้วแหวน เงินทอง นิยมกราบไหว้สักการะบูชาขอพรให้ศัตรูหมู่มารทั้งหลายแพ้ภัยตนเอง ให้ผู้ที่คิดร้ายกลับกลายเป็นมิตร และยังใช้เป็นตราสัญญาลักษณ์ประจำจังหวัดอุดรธานีด้วย

          10. สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติมหาราชินีวังมัจฉาหนองบัว  เป็นสวนสาธารณะที่เทศบาลนครอุดรธานีจัดขึ้นเพื่อเป็นที่พักผ่อนและการออกกำลังกายสำหรับประชาชน โดยตั้งอยู่ติดกับศาลเจ้าปู่-ย่า และมีการจัดพื้นที่ให้ดูกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับศาลเจ้าปู่-ย่า จุดเด่นสวนสาธารณะแห่งนี้ คือ งานประติมากรรมเป็นรูปโลกรองรับเมล็ดพันธุ์ข้าว และดอกบัวตูมส่วนบนสุด คือ โลกุตระ รวมทั้งงานประติมากรรมบัวสักการะและบัวเทิดไท้ที่เป็นเหมือนสิ่งบูชา สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ 2 แห่ง คือ  ศาลเจ้าปู่-ย่า  และวัดอาจสุรวิหาร มีสนามเด็กเล่นและเครื่องเล่นสำหรับเด็กและเยาวชน

          11. ศาลเทพารักษ์  ตั้งอยู่ที่บริเวณถนนศุภกิจจรรยา ศาลเทพารักษ์ หรือ “เทพผู้รักษาเมือง” นับเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอุดรธานี  สร้างขึ้นในสมัยขุนศุภกิจวิเรขการ  ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี  ระหว่าง พ.ศ.2490-2495  เดิมเป็นศาลไม้ตั้งอยู่เนินดินข้างจวนผู้ว่าราชการจังหวัด  ที่เรียกชื่อศาลเทพารักษ์  เพราะเชื่อว่าดวงวิญญาณของกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมยังคงทรงห่วงใยและคุ้มครองปกปักรักษาลูกหลานชาวเมืองอุดรธานีของพระองค์ตลอดมา คำว่า “ศาลเทพารักษ์” จึงหมายถึง  “เทพผู้รักษาเมือง” 

          12.ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน อุดรธานี  เป็นสถาปัตยกรรมจีนแบบประยุกต์ ตั้งอยู่ที่ ถนนนิตโย ทางไปจังหวัดสกลนคร ข้ามทางรถไฟทางซ้ายมือ ประมาณ 100 เมตร อยู่ในศาลเจ้าปู่-ย่า ศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้เกิดขึ้นโดยคณะกรรมการศาลเจ้าปู่ย่า และความร่วมมือของคนไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดอุดรธานีหลายต่อหลายรุ่น       มีอาคารพิพิธภัณฑ์ ที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการอพยพมาอาศัยอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี เมื่อ 120 ปี ที่ผ่านมา และประวัติความเป็นมาของศาลเจ้าปู่ย่า ด้านนอกอาคารมีการจัดสวนอย่างสวยงามแบบจีน ภายใต้แนวความคิดสวนคุณธรรมพันปี 24 กตัญญู เป็นเรื่องราวของชาวจีนที่ได้รับการยกย่องว่ามีความกตัญญูเล่าขานต่อกันมาแต่โบราณ ที่ประกอบด้วยคุณธรรม และคติสอนใจ ทำให้ได้กลิ่นอายเหมือนอยู่ในเมืองจีน

 

          5.6 อุตสาหกรรม

         เป็นการประกอบอุตสาหกรรมขนาดย่อม  เช่น  โรงสีข้าว  โรงกลึง  โรงงานซ่อมรถยนต์ โรงงานเฟอร์นิเจอร์    และการเย็บเสื้อผ้า

 

6. การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ประกอบการค้าด้านค้าปลีก-ค้าส่ง หลายประเภท ซึ่งมีการกระจายตัวของแหล่งธุรกิจหลายแห่ง ได้แก่

          1. ย่านถนนทองใหญ่-ถนนประจักษ์ศิลปาคม

          ย่านถนนทองใหญ่-ถนนประจักษ์ศิลปาคม เป็นจุดเชื่อมการค้าของถนนสำคัญสองสาย และยังเป็นศูนย์กลางการคมนาคมสำคัญของจังหวัดอุดรธานี เนื่องจากใกล้กับที่ตั้งของสถานีขนส่งผู้โดยสารอุดรธานีแห่งที่ 1 และสถานีรถไฟจังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญ มีศูนย์การค้า ร้านค้า ร้านอาหาร หลายประเภทอยู่ด้วยกัน และยังเป็นจุดนัดพบปะสังสรรค์ของชาวอุดรธานี ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่จำนวนมาก

 

          2. ย่านถนนนิตโย-ถนนโพศรี

          ทางหลวงหมายเลข 22 หรือถนนนิตโย เป็นถนนที่เป็นเส้นทางหลักเชื่อมต่อกับจังหวัดสกลนคร แต่ช่วงที่อยู่ในเขตจังหวัดอุดรธานีจะเรียกว่าถนนโพศรี และเชื่อมต่อกับย่านธุรกิจที่สำคัญอีกหลายย่าน จึงเป็นถนนที่มีห้างสรรพสินค้า โรมแรม ร้านค้า รวมทั้งตลาดขนาดใหญ่ตั้งอยู่ตลอดแนวเส้นทางนี้

 

          3. ย่านวงเวียนห้าแยกน้ำพุ

          ห้าแยกน้ำพุ เป็นถนนสายสำคัญของจังหวัดอุดรธานี ซึ่งได้รับการวางผังเมืองไว้เป็นอย่างดีตั้งแต่อดีต และเป็นสัญลักษณ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่อยู่คู่เมืองอุดรธานี   นับตั้งแต่เริ่มมีการก่อตั้งเมืองอุดรธานีขึ้นมาทำให้บริเวณห้าแยกน้ำพุเป็นย่านการค้าที่เก่าแก่ มีร้านค้าต่างๆมากมายรวมอยู่ในย่านนี้ ทั้งร้านทอง ร้านขายยา ร้านเครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นย่านธุรกิจค้าส่งเสื้อผ้าที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

 

          4. ย่านวงเวียนหอนาฬิกา

วงเวียนหอนาฬิกาหรือสี่แยกคอกวัว เป็นหนึ่งในวงเวียนสี่แยกสำคัญของเมืองอุดรธานี ซึ่งเป็นจุดตัดของถนนอุดรดุษฎีและถนนประจักษ์ศิลปาคม เป็นย่านการค้าสำคัญอีกแห่งหนึ่งของเมืองอุดรธานี มาตั้งแต่อดีตที่เชื่อมไปยังย่านอื่นๆของตัวเมือง มีทั้งร้านอาหาร คลินิกทันตกรรม อยู่รอบวงเวียนนี้มากมาย

 

          5. ย่านถนนมิตรภาพ (ถนนเลี่ยงเมือง อุดรธานี-หนองคาย)

          ย่านธุรกิจแห่งใหม่ที่เกิดจากการขยายตัวของเมืองไปยังชานเมือง เป็นเส้นทางสำคัญที่เชื่อมต่อไปยังจังหวัดข้างเคียง และประเทศเพื่อนบ้านทำให้มีห้างสรรพสินค้าและร้านค้ามากมายเกิดขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวัสดุก่อสร้างและเครื่องเรือน และค้าส่ง ค้าปลีก สินค้าแฟชั่นต่างๆ

 

          6. ย่านถนนมิตรภาพ (ถนนเลี่ยงเมือง อุดรธานี-ขอนแก่น)

          เป็นเส้นทางสำคัญที่จะทำการขยายธุรกิจ  ค้าขาย  และเปิดโชว์รูมรถยนต์ยี่ห่อต่างๆและร้านค้า ซึ่งทางสายนี้สามารถติดต่อได้หลายจังหวัด มีการคมนาคมที่สะดวก เหมาะกับการขนส่งสินค้า

 

          7. ย่านถนนบุญยาหาร (ถนนเลี่ยงเมือง อุดรธานี-หนองบัวลำภู)

          ส่วนใหญ่เป็นย่านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีหมู่บ้านจัดสรรจำนวนมากตั้งอยู่ เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อไปยังสนามบินนานาชาติอุดรธานี  เป็นศูนย์กลางการบินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน อีกทั้งยังมีห้างค้าปลีก ค้าส่งจำนวนมากตั้งอยู่  ถนนสายนี้ยังเป็นที่ตั้งของสถานีขนส่งผู้โดยสารอุดรธานีแห่งที่ 2 ตลอดจนสามารถเชื่อมต่อไปยังจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดเลย

 

ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ตลาด

          1. ถนนคนเดินจังหวัดอุดรธานี Udoncity Walking Street

          จัดขึ้นโดยเทศบาลนครอุดรธานี ตั้งอยู่ที่ถนนอธิบดี หน้าอาคารสำนักงานเทศบาลนครอุดรธานี นอกจากชาวจังหวัดอุดรธานีแล้ว ยังมีประชาชนจากหลายที่ เช่น ขอนแก่น หนองคาย บึงกาฬ และนักท่องเที่ยวชาวไทย ชาวต่างชาติ ในจังหวัดอุดรธานี มาเดินถนนคนเดินแห่งนี้ด้วย ภายในงานมีการจัดจำหน่ายสินค้า อาหาร มีการแสดงของเยาวชน เพื่อเป็นการกระตุ้นการซื้อขาย และเศรษฐกิจของสังคมเมืองอุดรธานี ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายมีหลากหลาย เช่น งานทำมือ สินค้าท้องถิ่น สินค้ามือสอง งานของเก่าหายาก ทั้งเสื้อผ้า เครื่องใช้ อาหารนานาชาติ การแสดงมีทั้งนักเรียน นักศึกษา และนักดนตรี มาทำการแสดง ทำให้การเดินบนถนนคนเดินนั้นมีสีสันยิ่งขึ้น

 

          2. เซ็นทรัลพลาซ่า อุดรธานี

          เป็นศูนย์การค้าที่ตั้งอยู่บนเส้นประตูสู่อินโดจีน ซึ่งได้รับความนิยมทั้งชาวไทย และประเทศเพื่อนบ้าน ห้างสรรพสินค้า ประกอบด้วยโรบินสัน ท็อบส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต โรงภาพยนตร์ ลานโบว์ลิ่ง ร้านอาหาร เครื่องดื่ม และร้านค้าปลีกกว่า 500 ร้านค้า นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบที่ช่วยเสริมศักยภาพความสมบูรณ์ของโครงการด้วยโรงแรมเซ็นทาราอุดรธานี ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 277/1-3 ถนนประจักษ์ศิลปาคม ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี

 

          3. ตึกคอม Landmark Plaza UdonThani

          แลนด์มาร์ค พลาซ่า เป็นศูนย์การค้าที่เพิ่งเปิดใหม่ แต่มีการขยายโซนภายในต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมลงตัว ทั้งโรงหนัง ร้านอาหาร อุปกรณ์มือถือ คอมพิวเตอร์ และราคาสินค้าที่ไม่แพง เป็นการตลาดที่ดึงผู้ซื้อได้เป็นอย่างดี ตึกคอมตั้งอยู่ที่ 71-29 แยกหอนาฬิกา ถนนดุษฎี ต.หมากแข้ง อ.เมือง

 

          4. ศูนย์การค้ายูดี ทาวน์ UD TOWN

          ศูนย์การค้าเปิดโล่ง บนพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดแห่งแรกในประเทศไทย กับความเป็นศูนย์กลางของการใช้ชีวิต และประสบการณ์ที่ดีแห่งภาคอีสานตอนบน พร้อมทั้งความสมบูรณ์แบบของที่ตั้งใจกลางเมือง การออกแบบ การจราจรสะดวกสบาย สามารถเดินทางเข้าถึงได้ง่าย มีมุมมองที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ให้ความรู้สึกที่ทันสมัย ผ่อนคลายสะดวกสบาย มีการจำหน่ายสินค้า ถนนคนเดินต่างๆมากมาย ทั้งเสื้อผ้า เครื่องประดับ ร้านอาหาร ลานเบียร์ ฯลฯ ศูนย์การค้าตั้งอยู่ที่ 88 ถ.ทองใหญ่ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี

 

          5. ตลาดปรีชา

          เป็นตลาดไนท์พลาซ่าแห่งแรกๆในจังหวัดอุดรธานี  การคมนาคมสะดวก ใกล้กับสถานีขนส่งแห่งที่ 1 และสถานีรถไฟ อยู่ติดกับซอยที่มีชาวต่างชาติมาพักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้การค้าในย่านนี้คึกคักเป็นอย่างยิ่ง ในตลาดปรีชามีทั้งร้านอาหาร สินค้าแฟชั่นต่างๆ ร้านเครื่องดื่ม ราคาย่อมเยา หาซื้อได้สะดวก มีลานจอดรถกว้างขว้าง และยังเป็นตลาดยอดนิยมที่ประชาชนมาเดินจับจ่ายซื้อของมากมายจนถึงปัจจุบัน

 

          6. ตลาดเมืองทองเจริญศรี

          ตลาดขายส่งผัก ผลไม้ พืชสวน พืชไร่ มีขนาดเนื้อที่ประมาณ 97 ไร่ กลุ่มลูกค้ามีทั้งภายในจังหวัดอุดรธานี และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงเวียงจันทร์ประเทศลาว ขายผัก ผลไม้ตามฤดูกาล และยังวางแผนปรับรูปแบบตลาดเพื่อรองรับการเป็นตลาดกลาง AEC ตลาดเมืองทองตั้งอยู่ที่ ต.หนองบัว อ.เมือง  จ.อุดรธานี

 

7. แรงงาน

          จำนวนสถานประกอบการในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

               1. สถานประกอบการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  141  ประเภท*(1)               1,426  แห่ง

               2. สถานที่จำหน่ายและสถานที่สะสมอาหาร

                     - พื้นที่มากกว่า   200   ตารางเมตร                                              722   แห่ง

                     - พื้นที่น้อยกว่า   200   ตารางเมตร                                            1,293  แห่ง

               3. สถานประกอบการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  ประเภทแต่งผม-เสริมสวย       100   แห่ง

               4. การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ                                          240   แห่ง

 

8. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)

          8.1 ข้อมูลพื้นฐานชุมชนในพื้นที่เทศบาลนครอุดรธานี

                    เดิมเทศบาลนครอุดรธานี  ประกอบด้วยชุมชน  จำนวน  54  ชุมชน  ต่อมาเทศบาลได้ออกระเบียบเทศบาลนครอุดรธานีว่าด้วยชุมชน พ.ศ.2548  เพื่อเป็นเกณฑ์ในการจัดตั้งชุมชนเพิ่มขึ้นโดยเป็นการแบ่งพื้นที่จากชุมชนเดิมเพื่อให้สามารถบริการสาธารณะได้อย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ ปัจจุบันเทศบาลมีชุมชนในพื้นที่ทั้งหมด  จำนวน  103  ชุมชน  แบ่งตามเขตการเลือกตั้งออกเป็น  4  เขต  ดังนี้

 

ชุมชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

เขต 1

เขต 2

เขต 3

เขต 4

1. โพธิ์ทอง                

2. หนองเตาเหล็ก 1

3. หนองเตาเหล็ก 3

4. พละบุดีศรีอุดร     

5. คลองเจริญ 1          

6. คลองเจริญ 2

7. โพธิ์สว่าง 1            

8. โพธิ์สว่าง 2

9. โพธิ์สว่าง 3            

10. โพธิสมภรณ์

11. หนองนาเกลือ       

12. โนนอุทุมพร

13. โนนพิบูลย์ 1         

14. โนนพิบูลย์ 2

15. โนนวัฒนา            

16. บ้านโนน

17. เบญจางค์             

18. บ้านห้วย 3

 

1. เวียงพิงค์               

2. มธุรส

3. บ้านเหล่า 1            

4. บ้านเหล่า 2

5. บ้านเหล่า 3            

6. บ้านเดื่อ 1

7. บ้านเดื่อ 2

8. บ้านเดื่อ 3             

9. ทุ่งมั่ง

10. รถไฟ                   

11. เทศบาล 9

12. ทุ่งสว่างตะวันตก    

13. ทุ่งสว่างตะวันออก 1

14. ทุ่งสว่างตะวันออก 2

15. ทองใหญ่

16. หนองเหล็ก

 17. หนองเหล็ก 2         

18. หนองบัว 1

 

1. หนองบัว 3

2. หนองบัว 4

3. หนองบัว 5

4. หนองบัว 6

5. หนองบัว 7

6. หนองตุ 1

7. หนองตุ 2

8. หนองตุ 3

9. เก่าจาน 1

10. เก่าจาน 2

11. เก่าจาน 3

12. เก่าจาน 4

13. เก่าจาน 5

14. เก่าจาน 6

15. เก่าจาน 7

16. เมืองทอง

17. เมืองทอง 2

18. บ้านม่วง 1

 

1. ศรีชมชื่น 1

2. ศรีชมชื่น 2

3. ศรีชมชื่น 3          

4. บ้านจิก

5. พาสุขมั่นคง                 

6. ดอนอุดม 1

7. ดอนอุดม 2

8. ดอนอุดม 3

9. ดอนอุดม 4

10. ดอนอุดม 5

11. โนนยาง 2         

12. ดงวัด

13. หนองใหญ่        

14. บ้านช้าง 1

15. บ้านช้าง 2        

16. โพนบก

17. นาดี               

18. หนองหิน     

 

ชุมชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

เขต 1

เขต 2

เขต 3

เขต 4

19. มิตรประชา

20. พิชัยรักษ์

21. ท.6 โนนนิเวศน์

19. หนองบัว 2            

20. ชลประทาน

21. แจ่มศิริ                 

22. บ้านห้วย 1

 

19. บ้านม่วง 2

20. สามัคคี

21.สามัคคี 2

22. โพธิวราราม

23. สร้างแก้ว 1

24. สร้างแก้ว 2

25. สร้างแก้ว 3

26. ทองคำอุทิศ 1

27. ทองคำอุทิศ 2

28. ศรีพินิจ

29. โนนยาง 1

30. ศรีเจริญสุข

31. หนองขอนกว้าง 1

32. หนองขอนกว้าง 2

33. หนองขอนกว้าง 3

19. ค่ายประจักษ์ศิลปาคม 1

20. ค่ายประจักษ์ศิลปาคม 2

21. ค่ายประจักษ์ศิลปาคม 3

22. ค่ายประจักษ์ศิลปาคม 4

23. ศรีสุข

24. กองบิน 23 ยั่งยืน 1

25. กองบิน 23 ยั่งยืน 2

26. กองบิน 23 ยั่งยืน 3

27.โนนทัน

  

 

 

 

 

 

 

 

         (ที่มา :  กองสวัสดิการสังคม  เทศบาลนครอุดรธานี)

 

          8.2 ข้อมูลด้านการเกษตร

          ในพื้นที่เทศบาลนครอุดรธานี มีจำนวนครัวเรือนเกษตร 994 ครัวเรือน จำนวนแปลง 1,711 แปลง เนื้อที่เพาะปลูก 1,243 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่นา 896 ไร่ พื้นที่เกษตรอื่นๆ 347 ไร่

ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลหมากแข้ง ที่มีพื้นที่นา จำนวน 10 ชุมชน คือ

1.บ้านม่วง 1    2.บ้านม่วง2      3.สามัคคี         4.บ้านช้าง1      5.บ้านช้าง2

6.หนองใหญ่     7.ดงวัด          8.โพนบก        9.พาสุขมั่นคง   10.นาดี

 

          8.3 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร

          1) แหล่งน้ำทางการเกษตร (ปริมาณน้ำฝน) เพียงพอ  และมีแหล่งน้ำธรรมชาติ  ดังนี้

          - หนองประจักษ์           - หนองสิม              - หนองเหล็ก           - หนองบัว

          - หนองขอนกว้าง         - หนองเตาเหล็ก     - หนองใหญ่

 

          8.4 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้

          พื้นที่เทศบาลนครอุดรธานี ใช้ระบบน้ำประปา (การประปาส่วนภูมิภาค) ซึ่งเพียงพอต่อปริมาณการใช้ คิดเป็นร้อยละ 100

 

9.ด้านศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

          9.1 การนับถือศาสนา

ประชากรในจังหวัดอุดรธานีส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  มีการประกอบพิธีทางศาสนา         การทำบุญตามประเพณีต่างๆ  เช่น บุญเดือนสาม วันสารท บุญมหาชาติ บุญบั้งไฟ บุญข้าวจี่ นอกจากนี้  มีประชากรบางส่วนที่นับถือศาสนาคริสต์และอิสลาม มีจำนวนศาสนสถานในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี  ดังนี้

               วัดและที่พักสงฆ์   284  แห่ง          โบสถ์คริสต์  9  แห่ง       มัสยิด    1  แห่ง        

 

           9.2 ประเพณีและงานประจำปี

ประเพณีและศิลปวัฒนธรรม : ศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดอุดรธานี  แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ  ดังนี้

          - ศิลปะการละเล่นพื้นเมือง  ได้แก่  หมอลำ  กลองยาว  แมงตับเต่า  เซิ้งปั้นหม้อ   เซิ้งกระติบ  เซิ้งสวิง 

          - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ        จำนวน  1   แห่ง     - แหล่งโบราณสถานแห่งชาติ          จำนวน 11  แห่ง

          - ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด           จำนวน  1   แห่ง     - ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอ       จำนวน   3  แห่ง

          - อุทยานประวัติศาสตร์            จำนวน  1   แห่ง

 

กิจกรรม เทศกาล ประเพณี

          มกราคม        มีการจัดงานประเพณีส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่  และงานระลึกการก่อตั้งเมืองของจังหวัดอุดรธานี 18-20 มกราคมของทุกปี มีการทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ ทำพิธีบายสีสู่ขวัญเมือง  กล่าวคำสดุดี พลตรีพระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นเกียรติในการก่อตั้งเมือง มีการรำบวงสรวงจากประชาชนจังหวัดอุดรธานี และจุดพลุเพื่อการเฉลิมฉลองอีกด้วย

          กุมภาพันธ์      มีการจัดงานฉลองวันเกิดเจ้าปู่-ย่า ในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ศาลเจ้าปู่-ย่า เพื่อฉลองในการจัดตั้งศาลเจ้า   งานเทศกาลตรุษจีนอุดรธานี จัดขึ้นเพื่อฉลองปีใหม่ตามวัฒนธรรมจีน ที่บริเวณสี่แยกหอนาฬิกา  และ

กิจกรรมเทศกาลดนตรี Udon Love Music จัดขึ้นบริเวณสวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคมในช่วงวัน

วาเลนไทน์ ของทุกปี เป็นเวลา 3 วัน

          มีนาคม                    งานพิธีบวงสรวงศาลเทพารักษ์ มีการประกอบพิธีพุทธมนต์ และรำบวงสรวงเทวดาเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนชาวอุดรธานี  

          เมษายน                   งานวันสงกรานต์นานาชาติประจำปี อุดรธานี มีการแสดงดนตรี ถนนอาหาร จัดขึ้นบริเวณถนนเทศา ริมสวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม

          กรกฎาคม      งานประเพณีถวายเทียนพรรษาพระราชทาน ในเทศกาลเข้าพรรษาแก่พระอารามหลวง 2 แห่ง คือวัดโพธิสมภรณ์ และวัดมัชฌิมาวาส

          สิงหาคม        งานวันแม่ของทางเทศบาลนครอุดรธานีร่วมกับประชาชนชาวเมืองอุดรธานี

          ตุลาคม          งานเทศกาลกินเจวัดสุนทรประดิษฐ์(เค่งอังเจตั๊ว)  และ งานบุญกฐินหลวง ทางเทศบาลนครอุดรธานีได้จัดตั้งขึ้นถวายพร้อมกับประชาชนชาวอุดรธานี

          พฤศจิกายน    งานประเพณีลอยกระทงเทศบาลนครอุดรธานี จัดขึ้นบริเวณริมหนองประจักษ์ศิลปาคม

          ธันวาคม        งานฉลองศาลเจ้าปู่-ย่า  และงานประจำปีทุ่งศรีเมืองอุดรธานี จัดขึ้นในต้นเดือนธันวาคมของทุกปี

 

          9.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น

          ด้านการแพทย์แผนไทย

          มีอาคารงานแพทย์แผนไทย ตั้งอยู่ข้างๆ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล 8 แยกตัวออกมาเพื่อให้บริการอย่างสะดวก รวดเร็ว แต่เป็นการทำงานรวมกันทั้งสองฝ่าย ด้านนอกมีทางเดินออกกำลังกายด้วยกะลามะพร้าวแบบโบราณ เพื่อช่วยในการขับเลือดลม ซึ่ง จะมีเจ้าหน้าที่มาแนะนำวิธีการใช้งาน หรืออาจเดินเล่นในสวนสมุนไพร ที่ป่าชุมชนด้านหลังอาคารได้

          ในช่วงเช้าจะมีคนไข้ประจำมาใช้บริการนวด หรืออบสมุนไพรเพื่อกระตุ้นเลือดลม หรือรักษาอาการต่างๆอยู่เสมอ นอกจากให้บริการที่งานแพทย์แผนไทยแล้ว นักการแพทย์แผนไทย และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน ได้มีการออกไปตรวจเยี่ยมชุมชน  เพื่อให้ความรู้และการรักษาแบบแพทย์แผนไทยด้วยเช่นกัน  โดยส่วนใหญ่แล้วนักการแพทย์จะออกหน่วยร่วมกับงานกายภาพบำบัด เพื่อช่วยกันดูแลคนสูงอายุหรือคนไข้ไปพร้อมๆกัน

          การนวด : การนวดเป็นการนวดเพื่อรักษา ควบคุมดูแลโดยแพทย์แผนไทยประยุกต์ เพื่อรักษาโรคหรืออาการปวดกล้ามเนื้อต่างๆ เช่น ปวดหลัง ปวดบ่า ปวดขา ปวดเข่า อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น บางคนบอกว่า ไม่ได้ป่วยเป็นอะไร แต่ชอบนวด สามารถมารับบริการได้หรือไม่ ทางงานแพทย์แผนไทยตอบได้ทันทีว่า ยินดี หากแต่ต้องมีการตรวจสุขภาพ และทำการนัดไว้ล่วงหน้า หรือหากมาแล้วหมอนวดว่างจากคิวคนไข้ประจำ ก็สามารถทำการนวดได้เลย

          การประคบสมุนไพร : การประคบด้วยสมุนไพรนั้น ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว กระตุ้นระบบหมุนเวียนเลือดในร่างกาย ลดอาการปวดเมื่อย นอกจากนี้ กลิ่นของสมุนไพรยังช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้อีกด้วย

          การอบสมุนไพร : เป็นการอบความร้อนในตู้สมุนไพรขนาดใหญ่ นั่งสบาย ซึ่งจะช่วยให้เกิดการกระตุ้นหมุนเวียนเลือด ลดอาการปวดเมื่อย ทำให้รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียด การอบสมุนไพรมีข้อดีที่สาวๆ น่าจะสนใจเป็นพิเศษ เพราะยังช่วยชำระล้างสิ่งสกปรกที่ติดผิวหนัง ทำให้มีผิวพรรณสดใส เปล่งปลั่ง

          การดูแลมารดาหลังคลอด (อยู่ไฟ) : เป็นการนำความรู้แบบดั้งเดิมมาใช้ เพื่อให้คุณแม่สมัยใหม่มีคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะการอยู่ไฟจะช่วยปรับธาตุให้สมดุล ทำให้ร่างกายฟื้นตัวแข็งแรงขึ้นโดยเร็ว มดลูกเข้าอู่ และช่วยขับน้ำคาวปลา มีผลทำให้น้ำนมไหลดี ทั้งยังช่วยลดอาการปวดเมื่อย และทำให้ผิวหน้าท้องกระชับ และผิวพรรณโดยรวมสดใสอีกด้วย

 

          9.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

          สินค้าและผลิตภัณฑ์ของชุมชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี มีผลิตภัณฑ์อีกหลายอย่าง  ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน  พร้อมทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากทางเทศบาลนครอุดรธานี ในการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ขึ้นมาจำหน่าย

          ดอกไม้ผ้าใยบัว : ดอกไม้จากฟาง ชุมชนทองใหญ่ 253/27 ถ.ประจักษ์ โทร. 081-6013130

          ร้านบุญมาไหมไทย : จำหน่ายผ้าไหม ปลีก และส่ง สี่แยกบิ๊กซี อ.เมือง โทร. 042-342221

          ร้านใบหม่อน : ซ.มหามิตร ถ.ทหาร ต.หมากแข้ง อ.เมือง โทร.042-244011

          ร้านเลดี้อาเขต : จำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและดอกไม้  ถ.โพศรี อ.เมือง โทร.042-222839

          ร้านไหมไทย : ถ.ศรีสุข อ.เมือง โทร.042-245700

          พานบายศรี ต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทอง : ชุมชนหนองบัว 2 โทร.042-322246

          การบูรหอม : แหนมหมูโบราณ กลุ่มงาน อสม.ชุมชนโนนวัฒนา 71/4 ต.หมากแข้ง อ.เมือง โทร.081-5446280

          สมุนไพร : นวดแผนไทย สมุนไพร ต้ม อาบ อบ กลุ่มสตรีนวดไทย ชุมชนหนองใหญ่ โทร.081-2632776

          ดอกไม้ผ้าใยบัว สร้อยลูกปัด : ชุมชนโนนอุทุมพร 195/1 ถ.ศุภกิจจรรยา โทร.087-2255155

          งาดำ : กลุ่มอาชีพสหกรณ์การเกษตรอาหารเจ ชุมชนหนองเตาเหล็ก โทร.042-328200

          น้ำสมุนไพร น้ำผลไม้ ไข่เค็ม : ซอยประชาสันติ 3 ชุมชนเก่าจาน 1 ต.หนองขอนกว้าง โทร.042-241796

          เป่าแก้ว ดอกไม้ดินหอม : 195/18 หมู่ 14 ซ.ขันติรักษ์ ถ.นิตโย ต.หมากแข้ง อ.เมือง โทร.085-6300016

          น้ำว่านหางจระเข้ : ชุมชนโนนวัฒนา ถ.โนนวัฒนา ต.หมากแข้ง อ.เมือง โทร.042-249027

          แหนมปริญญา : 287/2 ถ.โพศรี อ.เมือง โทร.042-221262

          หมูยอแม่อ้วน : 11/12 ถ.สร้างหลวง อ.เมือง โทร.042-246305

          หมูยอพรทิพย์ : ถ.หมากแข้ง อ.เมือง โทร.042-223407

          หมูยอนายเติม  : 324/5-6 ถ.โพศรี อ.เมือง โทร.042-223835

          มะพร้าวแก้วเรวดี : 123/1 ถ.ประจักษ์ อ.เมือง โทร.042-242498

          มะพร้าวแก้วจันทร์เพ็ญ : ถ.ประจักษ์ อ.เมือง โทร.042-246516

 

9. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ    

          9.1 แหล่งน้ำในพื้นที่เขตเทศบาลนครอุดรธานี  ได้แก่

               1.  หนองประจักษ์ศิลปาคม            4.  หนองเหล็ก

               2.  หนองบัว                              5.  หนองใหญ่

               3.  หนองสิม                              6.  หนองขอนกว้าง

 

          9.2 ป่าไม้ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

               1. สวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม มีพื้นที่ทั้งหมด 328 ไร่ พื้นที่ดิน 81 ไร่ พื้นที่น้ำ 247 ไร่  เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งเมืองอุดรธานี  เดิมเรียกว่า หนองนาเกลือ บริเวณตัวเกาะกลางน้ำได้จัดสวนหย่อมปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิดสวยงามมาก  ทำสะพานเชื่อมระหว่างเกาะ   มีน้ำพุ   หอนาฬิกา และสวนเด็กเล่น แต่ละวันจะมีประชาชนไปพักผ่อนและออกกำลังกายเป็นจำนวนมาก    

               2. สวนสาธารณะหนองสิม  มีพื้นที่ทั้งหมด 81 ไร่ พื้นที่ดิน 34.11  ไร่ พื้นที่น้ำ 46.89 ไร่ เป็นสวนสาธารณะในย่านชุมชนที่จะให้บริการแก่ประชาชน สำหรับเป็นสถานที่ใช้ในการออกกำลังกายพักผ่อน  ซึ่งภายในได้มีการจัดพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ                  

               3. สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติมหาราชินี วังมัจฉาหนองบัว มีพื้นที่ทั้งหมด 135 ไร่  พื้นที่ดิน 43.20 ไร่ พื้นที่น้ำ 91.18 ไร่ เป็นสวนสาธารณะสำหรับใช้ออกกำลังกายจัดกิจกรรมต่างๆ  ให้ประชาชนในพื้นที่  ได้เป็นสถานที่พบปะพูดคุย  ภายในจัดเป็นสวนหย่อมปลูกต้นไม้ตกแต่งไว้

               4. ศูนย์การเรียนรู้ป่าชุมชน ท.8 : เปิดให้เข้าชมฟรี สามารถติดต่อเข้าชมเป็นหมู่คณะ ได้ ซึ่งจะมี ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรให้การต้อนรับ และแนะนำให้ความรู้

 

10. การใช้ที่ดินในเขตผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี

          ผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี  ปัจจุบันเป็นผังเมืองรวมฉบับปี 2553 ซึ่งได้ประกาศบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2553  จากการดำเนินการประเมินผลผัง ได้มีการต่ออายุผัง 1 ปี  ประกาศบังคับใช้ครอบคลุมพื้นที่เทศบาลนครอุดรธานี  และบางส่วนในท้องที่  ตำบลหมูม่น  ตำบลสามพร้าว ตำบลหนองบัว ตำบลหนองนาคำ ตำบลหนองขอนกว้าง  ตำบลบ้านจั่น  ตำบลนาดี  ตำบลเชียงพิณ  ตำบลบ้านเลื่อม และตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี   จังหวัดอุดรธานี

          ผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี  ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 167 ตารางกิโลเมตร โดยเป็นพื้นที่ในเขตเทศบาลนครอุดรธานีประมาณ 47.70 ตารางกิโลเมตร

 

          สภาพการใช้ที่ดินในเขตผังเมืองรวมเมืองอุดรธานีในปัจจุบัน

เมืองอุดรธานี  มีลักษณะการตั้งถิ่นฐานเป็นแบบมีศูนย์กลางเดียว โดยมีเส้นทางคมนาคมหลักที่สำคัญคือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  2  (ถนนมิตรภาพ)  ผ่านบริเวณใจกลางเมืองตามแนวเหนือ-ใต้  ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  22  (ถนนอุดร-สกลนคร)  ผ่านจากใจกลางเมืองไปทางด้านทิศตะวันตก   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  210  (ทางเลี่ยงเมือง)  และทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ  ลักษณะทางกายภาพในเขตศูนย์กลางเมืองมีลักษณะผสมแบบ Radial และ Grid โดยเฉพาะในส่วนของเมืองที่ขยายตัวใหม่ภายหลังจะมีลักษณะของ Grid ค่อนข้างชัดเจน

 

          การตั้งถิ่นฐานและการกระจายตัวของชุมชนจะมีลักษณะดังนี้

          (1) ศูนย์กลางของชุมชน พื้นที่ชุมชนส่วนใหญ่เกาะกลุ่มอยู่บริเวณจุดตัดของถนนโพศรีต่อเนื่องไปจนถึงถนนนิตโย และถนนอุดรดุษฎี ซึ่งเป็นย่านธุรกิจการค้า / การบริการ ที่สำคัญ 

          (2) ย่านพาณิชยกรรม อาคารร้านค้าพาณิชย์จะขยายตัวออกไปตามสองฟากถนนโพศรี  ถนนอุดรดุษฎี ถนนประจักษ์ศิลปาคม ถนนทองใหญ่ และถนนหมากแข้ง ซึ่งให้บริการชุมชนภายในเขตเทศบาลนครอุดรธานี  อำเภอต่างๆ  ภายในจังหวัด  และจังหวัดใกล้เคียงอีกด้วย

          (3) ย่านพักอาศัย จะเกิดขึ้นตามพื้นที่ระหว่างย่านพาณิชยกรรมและขยายตัวไปทางทิศใต้  ของเมืองบริเวณถนนศรีชมชื่น  ด้านทิศเหนือบริเวณถนนอุดรดุษฎี และถนนอดุลยเดช  ทางด้านทิศตะวันออก   มีการขยายตัวไปตามแนวถนนนิตโย  และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22  (อุดรธานี-สกลนคร)  นอกจากนี้  ยังมีย่านพักอาศัยใหม่ๆ  เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากตามแนวถนนเลี่ยงเมือง  และ พื้นที่รอบนอกเขตเทศบาลนคร   ซึ่งประกอบไปด้วยเทศบาลเมืองหนองสำโรง เทศบาลตำบลหนองบัว และเทศบาลตำบลบ้านจั่น  จะมีการใช้ประโยชน์ที่ดินในลักษณะผสมผสานระหว่างการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรและเพื่อกิจกรรมอื่นๆ   ซึ่งมีลักษณะความเป็นชุมชนมากขึ้น  ดังนั้นกิจกรรมส่วนใหญ่จะมีลักษณะใกล้เคียงกับเทศบาลนครอุดรธานี 

          (4) บริเวณชนบทและเกษตรกรรม จะอยู่บริเวณพื้นที่รอบนอกของชุมชน ซึ่งยังมีการใช้ประโยชน์ที่ดินในการทำเกษตรกรรม  เช่น  ทำนา  ทำไร่  ทำสวน  และเลี้ยงสัตว์ 

          (5) ย่านอุตสาหกรรมและคลังสินค้า  โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี  เขตเทศบาลตำบลหนองบัว  และบริเวณรอบนอกตามแนวถนนเลี่ยงเมือง โดยเป็นโรงงานที่เกี่ยวกับการซ่อมรถยนต์  โรงกลึง  โรงงานเฟอร์นิเจอร์  โรงสีข้าว  อุตสาหกรรมขนาดใหญ่  จะตั้งอยู่บริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 (อุดรธานี-สกลนคร) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (สระบุรี-หนองคาย)

          (6) สถาบันราชการ สถานที่ราชการส่วนใหญ่จะเกาะกลุ่มกันอยู่บริเวณรอบทุ่งศรีเมือง  บริเวณหนองประจักษ์ศิลปาคม  บริเวณสองฟากของถนนศรีสุข  และทางด้านทิศใต้ของชุมชนสนามบิน

          (7) สถาบันการศึกษา  ส่วนใหญ่จะเกาะกลุ่มกันอยู่บริเวณถนนศรีสุข  ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนหลายแห่ง  เช่น  โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล  โรงเรียนสตรีราชินูทิศ   วิทยาลัยอาชีวศึกษา  เป็นต้น

          (8) สถาบันศาสนา  ส่วนใหญ่กระจายอยู่ตามย่านชุมชนบ้านพักอาศัย

          (9) สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ส่วนใหญ่เป็นหนองน้ำสาธารณะที่สำคัญ ได้แก่ สวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม สวนสาธารณะหนองสิม  สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติมหาราชินี วังมัจฉาหนองบัว เป็นต้น

 

          ทิศทางและแนวโน้มการขยายตัวของชุมชนเมืองอุดรธานี            

          แนวโน้มการขยายตัวของชุมชนเมืองอุดรธานีนั้นมีแนวโน้มการขยายตัวในลักษณะการกระจาย ออกจากศูนย์กลางเมืองไปตามเส้นทางคมนาคมหลักของชุมชน  4  ทิศทาง  คือ

                    (1) ทางด้านทิศเหนือ ตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2  (ไปจังหวัดหนองคาย) การขยายตัวของเมืองมีอาคารพาณิชย์และบ้านพักอาศัยเกิดขึ้นในบริเวณเทศบาลเมืองหนองสำโรง จนถึงเทศบาลตำบลนาข่า

                    (2) ทางด้านทิศตะวันออก (ไปจังหวัดสกลนคร) ตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 มีอาคารพาณิชย์และศูนย์การค้าขนาดใหญ่เกิดขึ้นจำนวน 3 แห่ง คือ ศูนย์การค้าบิ๊กซี  ศูนย์สินค้า ค้าส่ง-ค้าปลีกแมคโคร  และศูนย์การค้า UD TOWN

                    (3) ทางด้านทิศใต้ (ไปจังหวัดขอนแก่น) สภาพปัจจุบันในบริเวณนี้ได้มีกิจกรรมเกิดขึ้นหลายประเภทรวมทั้งโครงการของรัฐและเอกชนหลายโครงการที่กำลังจะดำเนินการ ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นให้ชุมชนขยายตัวออกมาทางด้านนี้ ส่วนประเภทอื่นๆ การเพิ่มขึ้นของการใช้ที่ดินเป็นลักษณะของการขยายตัวของย่านที่พักอาศัยเท่านั้น

                    (4) ทางด้านทิศตะวันตก (ไปจังหวัดหนองบัวลำภู) สภาพปัจจุบันจะเป็นบ้านพักอาศัยเกิดขึ้นตามเส้นทางคมนาคมหลัก มีศูนย์การค้าขนาดใหญ่เกิดขึ้นจำนวน 3 แห่ง คือ ศูนย์การค้าโลตัส ศูนย์การค้าบิ๊กซี  และห้างหุ้นส่วนงี่สุ่นซุบเปอร์สโตร์

 

          สภาพการใช้ที่ดินในเขตผังเมืองรวมเมืองอุดรธานีในอนาคต

          ในอนาคตสภาพการใช้ที่ดินของเมืองอุดรธานี  จะยังคงเป็นเมืองที่มีลักษณะการใช้ที่ดินแบบผสม  พื้นที่ส่วนใหญ่ในเขตผังเมืองรวมจะยังคงเป็นพื้นที่อาศัยค่อนข้างเบาบาง  ลักษณะของบ้านพักอาศัยส่วนใหญ่ในพื้นที่ที่เป็นย่านพักอาศัยแบบหนาแน่นน้อยจะเป็นบ้านเดี่ยว ยกเว้นในพื้นที่ที่เป็นย่านพาณิชยกรรมพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นอาคารพาณิชย์หรือตึกแถว  ในพื้นที่ที่เป็นเขตเทศบาลจะมีการขยายตัวมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น การกระจุกตัวของการค้าและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากจะยังคงอยู่บริเวณใจกลางเมือง  แสดงแนวโน้มการขยายตัวของเมืองอุดรธานีในอนาคต

         

          เนื่องจากลักษณะของเมืองอุดรธานีในภาพรวมถูกจำกัดบริเวณการขยายตัวให้อยู่ภายในวงรอบของทางเลี่ยงเมือง  แนวโน้มการขยายตัวของเมืองได้เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในบริเวณดังต่อไปนี้

          -  ทางด้านตะวันออกตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  22      (อุดร-สกลนคร)

          -  บริเวณด้านทิศเหนือตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  2     (อุดร-หนองคาย)

          -  บริเวณด้านทิศใต้ตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  2          (อุดร-ขอนแก่น)

          พื้นที่ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองในปัจจุบัน ได้รับการวางแผนให้เป็นย่านอนุรักษ์ เพื่อการที่อยู่อาศัยและเป็นพื้นที่สีเขียวหรือที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะบริเวณที่รอบหนองประจักษ์ได้ถูกกำหนดให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนเมือง

          สำหรับพื้นที่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ มีแนวโน้มที่จะเกิดการขยายตัวด้านการค้าพาณิชย์เพิ่มมากขึ้น  เนื่องจากมีพื้นที่ต่อเนื่องกับเขตศูนย์กลางเมืองและเขตอุตสาหกรรม คลังสินค้ามากกว่าด้านอื่นๆ  การขยายตัวด้านที่อยู่อาศัยจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน สำหรับพื้นที่ด้านทิศใต้ของเมืองตามแนวถนนมิตรภาพ อุดร-ขอนแก่น  มีการขยายตัวของเมืองเช่นกัน แต่อยู่นอกเขตเทศบาลนครอุดรธานี   และอยู่นอกเขตผังเมืองรวม  พื้นที่ทางด้านทิศเหนือของเมือง  (ด้านอุดร-หนองคาย)  จะเป็นส่วนขยายตัวของ         วนฯบริเวณหนองประจักษ์ฯย่านที่พักอาศัย  โดยจะเห็นได้จากการเกิดโครงการบ้านจัดสรรในพื้นที่บริเวณดังกล่าว  ซึ่งสอดคล้องกับการกำหนดพื้นที่รอบๆ  บริเวณดังกล่าวให้เป็นย่านอนุรักษ์เพื่อการอยู่อาศัย  ตามประกาศกฎกระทรวงผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี  ฉบับ พ.ศ.2553

          โดยทั่วไปลักษณะการขยายตัวของย่านการค้าในเมืองรวมในอนาคต จะขยายไปตามแนวถนน   สายหลักที่วิ่งเข้าสู่ตัวเมืองทางด้านตะวันออก-ตะวันตก (ทางหลวงสายอุดร-สกลนคร) และด้านทิศเหนือ บริเวณสองข้างทางของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2  ประกอบกับในอนาคต คาดว่าถนนเลี่ยงเมืองด้านตะวันออกจะมีการจราจรหนาแน่นมากขึ้นกว่าปัจจุบัน เนื่องจากถูกใช้เป็นเส้นทางหลักในการเดินทางสู่จังหวัดสำคัญ เช่น หนองคาย และสกลนคร จะทำให้พื้นที่ด้านทิศตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองมีการเจริญเติบโตสูงกว่าพื้นที่ด้านอื่นๆ

ตามประกาศผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี  ฉบับปี พ.ศ. 2553 สามารถจำแนกสภาพการใช้ที่ดินในเมืองอุดรธานีได้  12  ประเภทหลักดังนี้

          -  ประเภทอนุรักษ์เพื่อการอยู่อาศัย           - ประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย     

          -  ประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง     - ประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก

          -  ประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า        - ประเภทอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ

          -  ประเภทชนบทและเกษตรกรรม              -  ประเภทสถาบันการศึกษา 

          -  ประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

          -  ประเภทสถาบันศาสนา

          -  ประเภทสถาบันราชการ  การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

          -  ประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย

 

ย่านที่อยู่อาศัย

          บริเวณที่พักอาศัยส่วนใหญ่จะกระจายปะปนอยู่ทั่วไปทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล   โดยจะหนาแน่นมากอยู่ปะปนกับย่านพาณิชยกรรมในบริเวณศูนย์กลางเมือง

 

ย่านอนุรักษ์เพื่อการอาศัย

           พื้นที่อนุรักษ์เพื่อการอยู่อาศัย ได้แก่ พื้นที่ระหว่างศูนย์ราชการรอบหนองประจักษ์กับทางเลี่ยงเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือ

 

ย่านที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย

            กระจายตัวอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะเขตเทศบาลรอบนอกในบริเวณทางทิศเหนือ ทิศตะวันตก ทิศตะวันออกและทิศใต้ของตัวเมือง

 

ย่านที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง

           บริเวณนี้  ได้แก่  ย่านที่พักอาศัยบริเวณรอบพื้นที่ของศูนย์กลางย่านการค้าของเมือง บริเวณด้านตะวันตกใกล้เขตสนามบินพาณิชย์และบริเวณด้านทิศตะวันออกของเมือง

 

ย่านที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก

            ย่านที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก  จะเกาะตัวอยู่บริเวณที่เป็นย่านศูนย์กลางการค้าของเมืองตามแนว  ถนนศรีสุข ถนนโพศรี ถนนประจักษ์ศิลปาคม ถนนหมากแข้ง ถนนอดุลยเดช ถนนทองใหญ่ ถนนอุดรดุษฎี และถนนทหาร

 

ย่านพาณิชยกรรม

          ย่านพาณิชยกรรมจะกระจุกตัวกันอยู่ในบริเวณที่เป็นศูนย์กลางเมือง ตามแนวถนนศรีสุข ถนนโพศรี ถนนประจักษ์ศิลปาคม ถนนหมากแข้ง ถนนอดุลยเดช ถนนทองใหญ่ ถนนอุดรดุษฎี และถนนทหาร

 

ย่านอุตสาหกรรม

          พื้นที่อุตสาหกรรมและคลังสินค้า  ส่วนใหญ่จะถูกกำหนดให้อยู่บริเวณด้านทิศตะวันออก ตามแนวทางของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22  (อุดร-สกลนคร)

          พื้นที่อุตสาหกรรมเฉพาะกิจ ตั้งอยู่บริเวณทางด้านเหนือของทางเลี่ยงเมืองติดเส้นทางรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ  และบางส่วนทางด้านทิศตะวันตกของเมืองตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2263 (อุดร-กุดจับ)

          พื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม  นับเป็นสัดส่วนการใช้ที่ดินที่มากที่สุดในเขตผังเมืองรวม โดยพื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณรอบนอกของเทศบาล โดยจะมีย่านที่พักอาศัยกระจายทั่วไปอย่างเบาบาง

          พื้นที่เพื่อนันทนาการ  พักผ่อนหย่อนใจ  และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม  ที่ดินประเภทนี้  หมายถึง  สนามกีฬา  สวนสาธารณะ แหล่งท่องเที่ยว ห้วย หนองและร่องน้ำสาธารณะต่างๆ  พื้นที่ประเภทนี้ส่วนใหญ่   ได้แก่  ทุ่งศรีเมือง  หนองประจักษ์  หนองบัว  หนองตะไก้  และรวมถึงพื้นที่บริเวณริมห้วยและริมหนองต่างๆ  ที่อยู่ในเขตเมือง

 

สถาบันการศึกษา

          สถาบันการศึกษา  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนในเขตผังเมืองรวมอุดรธานี  ตั้งกระจายอยู่ทั่วไปในย่านชุมชนต่างๆ โดยพื้นที่เป็นสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ จะเป็นพื้นที่ของสถาบันอุดมศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี

 

สถาบันศาสนา

          ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี มีศาสนสถาน หรือสถาบันศาสนากระจายอยู่ทั่วในเขตย่านชุมชน  เพื่อที่พักอาศัย  โดยส่วนใหญ่จะพบมากบริเวณพื้นที่ภายในวงแหวนของถนนเลี่ยงเมือง มีบางส่วนที่กระจายอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งเป็นชุมชนเบาบางรอบนอกตัวเมือง

 

สถาบันราชการ

          จากข้อมูลของกรมโยธาธิการและผังเมือง จากการสำรวจของศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างมูลฐานอย่างยั่งยืน  คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่า  บริเวณที่มีการรวมตัวของสถาบันราชการมากที่สุดเกิดขึ้นในบริเวณศูนย์ราชการในเขตศูนย์กลางเมือง  บริเวณรอบๆ ทุ่งศรีเมืองและหนองประจักษ์ ซึ่งหน่วยราชการส่วนใหญ่ในบริเวณนี้จะเป็นหน่วยงานที่ต้องให้การบริการประชาชนทำให้มีความจำเป็นที่จะตั้งอยู่ในชุมชนเมืองใกล้ย่านการค้าที่อยู่อาศัย

          จากการศึกษาสภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบัน และลักษณะทางกายภาพของเขตเทศบาลนครอุดรธานี พบว่าได้มีการพัฒนาพื้นที่การนันทนาการและรักษาสภาพแวดล้อมภายในตัวเมือง โดยเฉพาะพื้นที่สีเขียวริมหนองน้ำและพื้นที่โล่งสาธารณะภายในเขตเมือง ปัจจุบันเนื่องจากพื้นที่ของศูนย์กลางเมืองมีความกะทัดรัด (Compact) เหมาะต่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้ออำนวยต่อการสัญจรทั้งทางเท้าและทางรถ

          เนื่องจากถนนภายในตัวเมืองค่อนข้างคับแคบการเข้าถึงและสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ที่จอดรถรับส่งคนและสิ่งของ  ทำให้เกิดการกีดขวางทางจราจร  อย่างไรก็ตามย่านการค้าตลาด สถานบันเทิง  ที่อยู่อาศัย และสถานที่สำคัญต่างๆ  ซึ่งรวมถึงพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่งเพื่อนันทนาการและรักษาสภาพแวดล้อม  อยู่ในระยะที่ไม่ห่างไกลกันเกินไปทำให้พื้นที่ศูนย์กลางเมืองมีศักยภาพเพียงพอพัฒนาเป็น (Compact  City) และเมืองน่าอยู่ตามแนวทางการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน  ซึ่งถ้าสามารถทำได้ก็จะทำให้เมืองอุดรธานีน่าอยู่อย่างยั่งยืน


ที่มา  ::    https://www1.udoncity.go.th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น