โรคไทรอยด์เป็นพิษ
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีระดับฮอร์โมน triiodothyronine (T3) และ thyroxine (T4) ในเลือดซึ่งเป็นฮอร์โมนไทรอยด์สูงผิดปกติ ทำให้อัตราการเผาผลาญพลังงานสูงขึ้น
ไทรอยด์เป็นพิษ
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีระดับฮอร์โมน triiodothyronine (T3) และ thyroxine (T4) ในเลือดซึ่งเป็นฮอร์โมนไทรอยด์สูงผิดปกติ ทำให้อัตราการเผาผลาญพลังงานสูงขึ้น เกิดอาการต่าง ๆ เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ น้ำหนักตัวลด และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษพบได้น้อย จะพบได้ในผู้หญิงประมาณ 2% และในผู้ชาย 0.2%
อาการไทรอยด์เป็นพิษ
ไม่ว่าภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะอยู่ในระดับไม่รุนแรงหรือปานกลาง จะมีอาการดังนี้
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- การเต้นของหัวใจเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาที
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- อาการสั่น วิตกกังวล ขี้หงุดหงิด
- ขี้ร้อน
- ประจําเดือนมาไม่ตรงเวลา
สาเหตุของไทรอยด์เป็นพิษ
- ภาวะต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไป
ภาวะต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไป เป็นสาเหตุหลักของภาวะไทรอยด์เป็นพิษ และชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด คือโรคเกรฟส์ (Graves’ disease) นอกจากนี้การมีก้อนเนื้องอกในต่อมไทรอยด์บางชนิดก็อาจทำให้มีการสร้างฮอร์โมนมากเกินไปจนเกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษได้เช่นกัน - ภาวะไทรอยด์อักเสบ
ภาวะไทรอยด์อักเสบ เกิดจากการที่ต่อมไทรอยด์อักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส จนเกิดภาวะฮอร์โมนไทรอยด์รั่วเข้าสู่กระแสเลือด หรือเกิดจากการใช้ยา เช่น ลิเธียม (lithium) และอินเตอร์เฟอรอน (interferon) ปัญหาของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือการคลอดบุตรก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ต่อมไทรอยด์อักเสบได้ - การรับประทานฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป
การรับประทานฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไปในผู้ที่มีภาวะพร่องไทรอยด์ ผู้ป่วยอาจเผลอรับประทานมากเกินไปโดยไม่ได้ตั้งใจหรืออาจเป็นจากกรณีแพทย์ให้ใช้ฮอร์โมนไทรอยด์เพื่อลดการผลิตฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (TSH) เพื่อป้องกันหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของก้อนเนื้อผิดปกติในต่อมไทรอยด์ - การบริโภคฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป
การบริโภคฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไปโดยเฉพาะจากการกินเนื้อวัวที่ปนเปื้ยนด้วยเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ของวัว อาการที่เกิดจากการบริโภคดังกล่าวเรียกว่า “ภาวะไทรอยด์อักเสบจากแฮมเบอเกอร์ (hamburger thyroiditis)” ซึ่งพบได้ไม่บ่อย
การตรวจวินิจฉัย
- การตรวจร่างกาย จะดําเนินการเพื่อตรวจสอบว่ามีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่
- ใจสั่น
- ตาแดง ตาบวม ตาโปน
- ต่อมไทรอยด์นูน กดเจ็บ หรือโต
- มือสั่น
- เหงื่อออกมากผิดปกติ
- การตรวจเลือด จะทำเพื่อตรวจสอบระดับฮอร์โมนไทรอยด์ หากผู้ป่วยมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ระดับฮอร์โมน T3 and T4 จะสูง ในขณะที่ค่า TSH จะต่ำ
- การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพทางการแพทย์
- การตรวจระดับการทำงานของต่อมไทรอยด์โดยการวัดค่าดูดซึมสารกัมมันตรังสีไอโอดีน (Radioactive iodine uptake test) เพื่อตรวจสอบว่าต่อมไทรอยด์ดูดซับสารกัมมันตรังสีไอโอดีนมากน้อยเพียงใด การที่ต่อมไทรอยด์ดูดซึมสารกัมมันตรังสีไอโอดีนในปริมาณมากแสดงว่าต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมน T4 มากเกินไป ผู้ป่วยอาจมีก้อนที่ต่อมไทรอยด์หรือเป็นโรคเกรฟส์ (Graves’ disease) หากต่อมไทรอยด์ดูดซึมสารกัมมันตรังสีไอโอดีนได้น้อย นั่นแสดงว่าฮอร์โมน T4 รั่วไหลเข้าสู่กระแสเลือด จากภาวะไทรอยด์อักเสบ
- การถ่ายภาพการจับสารกัมมันตรังสีในส่วนต่าง ๆ ของต่อมไทรอยด์ (Thyroid scan) เพื่อวินิจฉัยแยกโรค เช่น ภาวะการอักเสบ ก้อน คอพอกและมะเร็งต่อมไทรอยด์ แพทย์จะฉีดสารกัมมันตรังสี เข้าไปในเส้นเลือดของผู้ป่วยและสร้างภาพต่อมไทรอยด์ด้วยเครื่องมือวัดรังสีแกมม่า เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย
- การอัลตราซาวด์ต่อมไทรอยด์ (Thyroid ultrasound) อาศัยการสะท้อนของคลื่นเสียงความถี่สูงจากต่อมไทรอยด์ เพื่อตรวจสอบว่ามีก้อนในต่อมไทรอยด์หรือไม่
การรักษาไทรอยด์เป็นพิษ
แพทย์จะวินิจฉัยสาเหตุของภาวะไทรอยด์เป็นพิษเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
- ยาต้านไทรอยด์ เช่น methimazole และ propylthiouracil (PTU) ช่วยยับยั้งการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์
- ไอโอดีนกัมมันตรังสี จะทำลายเซลล์ต่อมไทรอยด์ เพื่อลดการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์อย่างถาวร อย่างไรก็ตามเซลล์ต่อมไทรอยด์อาจเสียหายมากเกินไป จนนําไปสู่ภาวะพร่องไทรอยด์ ผู้ป่วยอาจต้องทานยาฮอร์โมนไทรอยด์ไปตลอดชีวิต
- การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ (Thyroidectomy) เป็นการผ่าเอาต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่ออกเพื่อรักษาภาวะไทรอยด์ทำงานมากเกินไป เช่นเดียวกับการรักษาด้วยไอโอดีนกัมมันตรังสี ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ในระยะยาว ต้องใช้ยาฮอร์โมนไทรอยด์เสริม
- ยากลุ่ม Beta blockers เพื่อบรรเทาอาการภาวะไทรอยด์เป็นพิษ อันได้แก่ อาการมือสั่นและหัวใจเต้นเร็ว
- ฮอร์โมน Glucocorticoids สามารถช่วยลดอาการปวดจากภาวะไทรอยด์อักเสบ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดไทรอยด์เป็นพิษ
- อายุ ความเสี่ยงของภาวะไทรอยด์อักเสบเพิ่มขึ้นตามอายุ ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีมีความเสี่ยงสูง
- เพศ เพศหญิงมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษมากกว่าเพศชาย
- โรคประจำตัว โรคแพ้ภูมิตัวเองต่างๆ เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคโลหิตจางเนื่องจากลำไส้ไม่สามารถดูดซึมวิตาบินบี 12 จากการขาดสารชื่อ intrinsic factor จากกระเพาะอาหาร (pernicious anemia) และโรคแอดดิสัน(Addison’s disease)
- ประวัติครอบครัว เมื่อมีสมาชิกในครอบครัวสายตรงเป็นโรคไทรอยด์และโรคเกรฟส์ (Graves’ disease)
- การคลอดบุตร ในรายที่เพิ่งคลอดบุตรอาจทำให้ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงจนนําไปสู่ภาวะไทรอยด์เป็นพิษได้
การป้องกันไทรอยด์เป็นพิษ
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษนั้นไม่สามารถป้องกันได้ เว้นแต่มีสาเหตุมาจากการรับประทานฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป เมื่อลดการใช้ยา ก็จะหายจากการเกิดภาวะดังกล่าวได้
- ภาวะต่อมไทรอยด์ทํางานมากเกินไป (Hyperthyroidism)
- ภาวะระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายสูง (Thyrotoxicosis)
- ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษวิกฤติ (Thyroid storm หรือ thyroid crisis)
อาการทั้ง 3 อาการนั้นเกี่ยวข้องกับการที่ต่อมไทรอยด์ผลิตและปล่อยฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากเกินไป
- ภาวะต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไป (Hyperthyroidism) เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินจำเป็น สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด คือ โรคเกรฟส์ (Graves’ disease)
- ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis) เกิดขึ้นเมื่อมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายสูงมากกว่าปกติ จากการใช้ยาฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ภาวะต่อมไทรอยด์ทํางานมากเกินไป หรือ ภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเป็นสาเหตุของโรคที่พบได้บ่อย
- ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษวิกฤติ (Thyroid storm หรือ thyroid crisis) เกิดขึ้นเมื่อต่อมไทรอยด์ผลิตและปล่อยฮอร์โมนที่เก็บสำรองไว้ออกมาในปริมาณมากอย่างฉับพลัน เป็นภาวะที่พบได้น้อยแต่อาจรุนแรงจนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต จำเป็นต้องไปพบแพทย์ทันที อาการของภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษวิกฤติ ได้แก่
- หัวใจเต้นเร็ว
- มีไข้สูง >40 องศาเซลเซียส
- ความดันโลหิตสูง
- ไม่สงบ สับสน
- ท้องร่วง อาเจียน
- หมดสติ
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
เกิดจากร่างกายสร้างฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินความจำเป็น
ทำให้มีการเผาผลาญพลังงานสูงขึ้น จนเกิดอาการต่าง ๆ
และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
แนวทางรักษา
หลังจากวินิจฉัยสาเหตุของภาวะไทรอยด์เป็นพิษ แพทย์จะวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
🩸 กินยาต้านไทรอยด์
🩸 ไอโอดีนกัมมันตรังสี
🩸 ผ่าตัดต่อมไทรอยด์
🩸 ยากลุ่ม Beta blockers
🩸 ฮอร์โมu Glucocorticoid
#ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ #Thyrotoxicosis #ไทรอยด์เป็นพิษ # Hyperthyroidism #Overactive Thyroid #ภาวะไฮเปอร์ไทรอยด์ #Hyperthyroidism #ภาวะต่อมไทรอยด์
ที่มา :: https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/thyrotoxicosis
โรคไทรอยด์เป็นพิษ อันตรายกว่าที่คิด
ตอบลบโรคไทรอยด์เป็นพิษ (Graves) พบบ่อยที่สุดถึงร้อยละ 80 ของผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษทั้งหมด เกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 10 เท่า ผู้ป่วยส่วนมากมีอาการของไทรอยด์เป็นพิษ ได้แก่ เหนื่อยง่าย ใจสั่น มือสั่น น้ำหนักลด ร่วมกับมีคอพอก ตรวจพบต่อมไทรอยด์ขนาดโตขึ้น สังเกตเห็นได้ที่ด้านหน้าของคอ แต่ลักษณะการโตจะโตทั่วๆ ไป ไม่เห็นเป็นก้อนชัดเจน
อาการและอาการแสดงที่พบบ่อย
อาการทางตา พบได้ร้อยละ 20 ของคนที่เป็นโรคไทรอยด์ชนิดนี้ โดยมีอาการระคายเคือง แสบ น้ำตาไหลง่าย หนังตาบวม ตาโปน ซึ่งในบางรายอาจไม่โปน แต่หนังตาปิดตาขาวส่วนบนน้อยกว่าปกติ จึงดูเหมือนตาเหลือก อาการทางตาอาจจะดีขึ้นเมื่อฮอร์โมนกลับเข้าสู่ระดับปกติ ในกรณีที่เป็นมาก อาจจะเกิดตาปูดหรือโปนออกมานอกเบ้าตา มองเห็นภาพซ้อน บางครั้งอาจจะมีอาการตามัว อาการทางตาที่เกิดจากไทรอยด์เป็นพิษต้องใช้การรักษาเฉพาะ เช่น การใช้ยาที่ลดการอักเสบ ยากดภูมิ หรือ ฉายแสง หากเป็นระยะเริ่มแรกอาจรักษาให้หายได้ แต่หากเป็นนานหรือเป็นมาก การรักษาจะยากขึ้นและอาจต้องแก้ไขด้วยการผ่าตัด
อาการผมร่วง ในหลายคนอาจมีผมร่วงมาก บางครั้งร่วงเป็นกระจุกเวลาสระผม อาการผมร่วงในผู้ที่เป็นโรคนี้พบได้บ่อยและก่อให้เกิดความกังวลต่อภาพลักษณ์ ซึ่งหากรักษาต่อมไทรอยด์ให้กลับมาทำงานปกติ ผมจะกลับมาหนาเหมือนเดิม
อาการแขนขาไม่มีแรง เกิดจากระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำลงอย่างเฉียบพลัน หรือจากพิษของไทรอยด์ฮอร์โมนที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อ
ความผิดปกติของผิวหนัง มักเกิดบริเวณหน้าแข้ง อาจเกิดขึ้นพร้อมกับความผิดปกติของตา ผิวหนังที่เป็นจะหนาขึ้นมาเป็นปื้น หรืออาจจะเกิดขึ้นบริเวณใดก็ตามที่ได้รับแรงกดหรือเสียดสีมาก เช่น ที่เท้าจากรองเท้าเสียดสี หรือหัวไหล่จากการแบกของ เป็นต้น
การรักษาไทรอยด์เป็นพิษไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใดมักทำให้อาการเหนื่อยและใจสั่นดีขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงของตาและผิวหนังที่หนาขึ้นอาจไม่ดีขึ้น ทั้งนี้ต้องได้รับการรักษาต่อเนื่องเป็นเวลานาน
ลักษณะการดำเนินโรค
พบว่าโรคนี้มีระยะเวลากำเริบของโรค (ซึ่งสามารถควบคุมได้ด้วยยา) โดยมากประมาณ 1-2 ปี และมีระยะสงบ (ที่สามารถหยุดยาได้) และอาจจะเป็นๆ หายๆ กลับมาเป็นซ้ำได้อีก โรคนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคภูมิคุ้มกันไวเกินเกิดจากการที่ร่างกายสร้างสารพวกแอนติบอดี้ ซึ่งปกติต้องสร้างมาเพื่อต่อสู้เชื้อโรค แต่คนที่เป็นโรคนี้แอนติบอดี้ที่สร้างขึ้นมาจะเป็นตัวกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากขึ้น เมื่อใดที่ร่างกายสร้างสารแอนติบอดี้น้อยลง โรคจะสงบลงได้
การรักษา
การรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษทำได้ 3 วิธี คือ
1. การรักษาโดยการกินยา
ยาที่ใช้ในการรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษ คือ ยาที่ออกฤทธิ์ลดการสังเคราะห์ฮอร์โมน ทำให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยลง เมตาบอลิซึมของร่างกายจะลดลง อาการต่างๆ ที่เกิดจากการมีเมตาบอลิซึมสูงจะหายไปเช่นใจสั่นเหนื่อยผอมลงขี้หงุดหงิดมือสั่นโดยมากจะให้ยา 1-2 ปีแล้วหยุดยาร้อยละ 30-40 ของผู้ป่วยมักหยุดยาได้ส่วนที่เหลือต่อมไทรอยด์จะกลับเป็นพิษขึ้นอีกภายในระยะเวลา 1 ปีหลังหยุดยา ซึ่งสามารถให้การรักษาด้วยการกินยาต่อไปหรือใช้วิธีอื่นรักษาได้
ข้อดีของการรักษาด้วยยา ต่อมไทรอยด์ไม่ถูกทำลายและจะไม่เกิดโรคไฮโปไทรอยด์เมื่อหยุดยา
ข้อเสียของการรักษาด้วยยา ต้องปรับยาบ่อยเพื่อให้ต่อมสร้างฮอร์โมนออกมาในระดับที่พอดี ผู้ป่วยบางคนอาจกลับเป็นซ้ำเมื่อหยุดยาไม่หายขาด การแพ้ยาระดับที่ไม่รุนแรงอาจเป็นเพียงผื่นคันที่ผิวหนัง หรืออาจมีระดับรุนแรง (เกิดน้อยมาก) โดยกดให้ระดับเม็ดเลือดขาวต่ำลงทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นในระยะ 1-2 เดือนแรกของการกินยาหากมีอาการไข้สูง เจ็บคอ ต้องรีบกลับมาพบแพทย์ เพื่อตรวจวัดระดับของเม็ดเลือดขาว
2. การรักษาด้วยการผ่าตัด
การผ่าตัดต่อมไทรอยด์เป็นพิษเป็นวิธีการรักษาดั้งเดิม การตัดต่อมไทรอยด์โดยมากตัดออก 70% ของขนาดเดิม ทำให้ขนาดเล็กลง ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาในเลือดมีปริมาณลดลง ทำให้เมตาบอลิซึมของร่างกายไม่มากเกินไป
ในระยะยาว ต่อมไทรอยด์ส่วนที่เหลือจากการผ่าตัดมีโอกาสที่จะทำงานมากขึ้น เกิดการกลับเป็นซ้ำของโรค หรือทำงานน้อยลงจนมีฮอร์โมนไม่พอ ทำให้เกิดเป็นโรคไฮโปไทรอยด์ (ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป) หลังผ่าตัดแล้วจึงยังควรติดตามการรักษาตามนัด
3. การกินแร่ไอโอดีนกัมมันตภาพรังสี (131)
แร่รังสีไอโอดีน 131 เป็นสารกัมมันตภาพรังสีของธาตุไอโอดีน เมื่อทิ้งไว้ไอโอดีน 131 จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นไอโอดีน 128 ในกระบวนการเปลี่ยนนี้จะปล่อยกัมมันตภาพรังสีเบต้าออกมา เพื่อทำลายเซลล์ที่อยู่ใกล้เคียงต่อมไทรอยด์จะทำหน้าที่นำแร่ไอโอดีน 131 เข้าไปเป็นองค์ประกอบในการสร้างฮอร์โมน T3 และ T4 และจะถูกทำลายช้าๆ ด้วยรังสีเบต้าจากแร่นี้ เหมือนเป็นการผ่าตัดทำลายต่อมไทรอยด์ด้วยแร่รังสีนั่นเอง
ไทรอยด์เป็นพิษ คืออะไร?
ตอบลบภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis) สามารถเรียกอีกชื่อว่า ภาวะไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroidism) หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป (Overactive thyroid) เกิดขึ้นเมื่อต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากกว่าปริมาณที่ร่างกายต้องการ
ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายผีเสื้อ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของลำคอ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งมี 2 รูปแบบหลัก คือ Triiodothyronine (T3) และ Thyroxine (T4) โดยฮอร์โมนไทรอยด์นั้นมีผลต่อระบบเผาผลาญพลังงานของร่างกาย จึงเกี่ยวข้องกับการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายเกือบทุกส่วน ที่สำคัญ เช่น การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การหายใจ การเต้นของหัวใจ น้ำหนักตัว อารมณ์ ฯลฯ หากผู้ป่วยมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษแล้วไม่ได้รับการรักษา จะส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพต่อหัวใจ กระดูก กล้ามเนื้อ รอบเดือน และระบบสืบพันธุ์ได้
อาการของไทรอยด์เป็นพิษ มีอะไรบ้าง?
อาการของภาวะไทรอยด์เป็นพิษอาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย โดยอาการที่พบได้ มีดังต่อไปนี้
🩸 น้ำหนักตัวลด
🩸 ชีพจรเต้นเร็ว จังหวะไม่สม่ำเสมอ ใจสั่น
🩸 อารมณ์แปรปรวน กระวนกระวาย หงุดหงิดง่าย
🩸 อ่อนเพลีย
🩸 มีอาการสั่น โดยเฉพาะมือ
🩸 ขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย
🩸 ถ่ายอุจจาระบ่อย หรือท้องเสีย
🩸 ต่อมไทรอยด์บริเวณลำคอบวม หรือโตขึ้น
🩸 มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ
🩸 กล้ามเนื้ออ่อนแรง
ทั้งนี้ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี อาจมีอาการแตกต่างกับผู้ป่วยที่มีอายุน้อย โดยอาจมีภาวะซึมเศร้า มีภาวะสมองเสื่อม หรือความอยากอาหารลดลง เป็นต้น
ไทรอยด์เป็นพิษ มีสาเหตุมาจากอะไร?
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
🩸 Grave's disease: เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุด โดยโรคนี้จัดเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองชนิดหนึ่ง ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีผลกระทบต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินไป
🩸 ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodules) เป็นสาเหตุที่พบมากในผู้สูงอายุ โดยพบก้อนเนื้อเจริญบนต่อมไทรอยด์ ซึ่งมักเป็นก้อนเนื้อร้ายที่ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป
🩸 ต่อมไทรอยด์อักเสบ (Thyroiditis) มีผลทำให้ฮอร์โมนที่เก็บอยู่ในต่อมไทรอยด์รั่วออกมาได้
🩸 การได้รับไอโอดีนมากเกินไป ไอโอดีนสามารถพบได้ในยาบางชนิด สาหร่ายทะเล ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสาหร่ายทะเล อาหารทะเล เป็นต้น การบริโภคไอโอดีนมากเกินความจำเป็น ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากผิดปกติได้
🩸 ได้รับยากลุ่มฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป: สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยภาวะไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) ที่รับประทานยากลุ่มฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป
ไทรอยด์เป็นพิษ วินิจฉัยได้อย่างไร?
แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย สอบถามอาการ และตรวจสอบประวัติการรักษา รวมทั้งวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยวิธีการต่างๆ อย่างการตรวจเลือดเพื่อตรวจวัดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroid function test) หรือการอัลตร้าซาวด์ต่อมไทรอยด์ เป็นต้น
ไทรอยด์เป็นพิษ รักษาอย่างไร?
การรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ทำได้ดังนี้
🩸 การรับประทานยา:
- ยาต้านไทรอยด์ (Antithyroid drugs) ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ขึ้นมาใหม่ ได้แก่ ยา Methimazole, ยา Propylthiouracil
- ยากลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ (Beta-Blockers) ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจ ลดอาการใจสั่น ได้แก่ ยา Propranolol, ยา Atenolol, ยา Metoprolol
🩸 การรักษาด้วยสารรังสี: การกลืนสารไอโอดีนกัมมันตรังสีนั้น จะทำให้เกิดการทำลายของเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนได้น้อยลง
🩸 การผ่าตัด: การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วนหรือการผ่าตัดออกทั้งหมด จะทำให้ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนได้ แต่อาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เสียงแหบ ได้
ทั้งนี้การรักษาไทรอยด์เป็นพิษขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์และการตัดสินใจร่วมกันกับผู้ป่วย เพื่อให้การรักษาอย่างเหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วยแต่ละราย
ไทรอยด์เป็นพิษ…คืออะไร ?
ตอบลบไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism, Overactive Thyroid) คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วแบบผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ เหงื่อออกง่าย และหงุดหงิด ฉุนเฉียว เป็นต้น ซึ่งโรคไทรอยด์อาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
🎯 ไฮเปอร์ไทรอยด์
คือโรคไทรอยด์ที่มีระดับการทำงานของต่อมไทรอยด์มากเกินไป ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดสูงเกินไป มีการทำงานของเซลล์ในร่างกายเร็วกว่าปกติ อาการที่ส่งผลต่อร่างกายก็คือ น้ำหนักลดลงผิดปกติ ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก เหนื่อย มีประจำเดือนน้อยลง ความจำไม่ดี กระสับกระส่าย ขาดสมาธิ ผมร่วง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ท้องเสีย ผิวเป็นด่างขาว มือสั่น แขนขาไม่มีแรง ตาโปน ต่อมไทรอยด์โต เป็นปื้นหนาที่ขา
🎯 ไฮโปไทรอยด์
คือโรคไทรอยด์ที่มีระดับการทำงานของต่อมไทรอยด์ที่น้อยเกินไป ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดต่ำเกินไป มีการทำงานของเซลล์ในร่างกายช้ากว่าปกติ อาการที่ส่งผลต่อร่างกายคือ น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขี้หนาว ง่วงนอน อ่อนเพลีย ผมร่วง ผิวแห้ง ซึมเศร้า เป็นตะคริวง่าย หัวใจเต้นช้า ท้องผูก รอบตาบวม หน้าบวม ตัวบวม ต่อมไทรอยด์โต
วิธีตรวจต่อมไทรอยด์เบื้องต้น…ด้วยตัวเอง
1. ส่องกระจก ยืดลำคอขึ้น หันทางซ้ายและขวาช้าๆ เพื่อหาความผิดปกติบริเวณลำคอ
2. ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือทั้งสองข้างคลำลำคอพร้อมๆ กันในแต่ละด้าน จากด้านหลังไปด้านหน้า และจากบนลงล่าง
3. หากพบการสัมผัสที่ติดขัดเหมือนมีก้อน…ให้ลองคลึงดู
4. หากพบก้อนผิดปกติให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ
การรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
🎯 กินยา
ยาที่ใช้ในการรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษคือยาที่ออกฤทธิ์สกัดกั้นการสังเคราะห์ฮอร์โมนไทรอยด์ (ยาต้านไทรอยด์) ซึ่งจะช่วยให้อาการต่างๆ ที่เกิดจากการเผาผลาญในร่างกายที่สูงเกินไปหายไป เช่น อาการใจสั่น เหนื่อย น้ำหนักลด
🎯 กินไอโอดีน-131
ไอโอดีน-131 เป็นสารกัมมันตรังสีของธาตุไอโอดีนที่ผลิตขึ้นโดยผ่านธาตุไอโอดีนเข้าไปในเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู เมื่อทิ้งไว้ไอโอดีน-131 จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นไอโอดีน-128 ในกระบวนการเปลี่ยนนี้จะปล่อยกัมมันตรังสีที่สามารถทำลายเซลล์ออกมา เมื่อผู้ป่วยกินเข้าไป ต่อมไทรอยด์ที่ถูกทำลายจะมีขนาดเล็กลง และอาการต่อมไทรอยด์เป็นพิษจะค่อยๆ ดีขึ้น
🎯 การผ่าตัด
การผ่าตัดเป็นวิธีรักษาแบบดั้งเดิม แพทย์จะทำการผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ที่เป็นพิษออกไปบางส่วนเพื่อทำให้ต่อมไทรอยด์มีขนาดเล็กลง จะได้ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาน้อยลง วิธีนี้ช่วยให้อาการต่างๆ หายไปอย่างรวดเร็ว
ถึงแม้ว่าการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดจะเป็นวิธีที่ได้ผลเร็ว แต่กลับได้รับความนิยมลดลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง รวมถึงผู้ป่วยไม่อยากเจ็บตัวและไม่ชอบนอนโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงต่อการมีฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาจากต่อมไทรอยด์มากเกินไปในระหว่างที่ทำการผ่าตัด ซึ่งอาการไทรอยด์เป็นพิษอย่างรุนแรงนี้ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ การรักษาโรคนี้จึงควรรับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวขาญโดยตรง
ซึ่งปัจจุบันมีนวัตกรรม “การผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก” ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดี เพราะเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก และขณะทำการผ่าตัดก็ทำได้ใกล้กับตำแหน่งของต่อมไทรอยด์มากที่สุด จึงทำให้มีความเสี่ยงน้อย เสียเลือดน้อย ใช้เวลาน้อยกว่าในการรักษา ผู้ป่วยฟื้นตัวไวทำให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น
โรคไทรอยด์ ห้ามกินอะไร
ตอบลบ🎯 คำตอบ : โรคไทรอยด์เป็นพิษ หากอยู่ในช่วงที่ยังมีอาการหรือพึ่งเริ่มรักษา แนะนำงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น , แอลกอฮอล์ และยาเสพติด
เนื่องจากจะส่งทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น และทำให้อาการใจสั่นของไทรอยด์เป็นพิษนั้นแย่ลงและอาจเกิดภาวะหัวใจวายได้แต่หากไม่มีอาการและรักษาจนระดับไทรอยด์ปกติแล้วสามารถทานได้แต่ต้องทานด้วยความระมัดระวัง
🎯 ส่วนอาหารธรรมชาติทั่วไปที่อาจส่งผลให้ฮอร์โมนไทรอยด์สูงนั้น เช่น กะหล่ำปลีดิบ ไม่จำเป็นต้องงดรับประทาน เนื่องจากมีผลเพิ่มฮอร์โมนไทรอยด์ค่อนข้างน้อยมาก
เมื่อเป็นโรคไทรอยด์ กินผักอะไรได้บ้าง
ผักที่สามารถกินได้
🎯 คำตอบ : ผักที่มีธาตุเหล็ก เช่น ผักโขม แครอท ฟักทอง ผักที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น แครอท ถั่วเลนทิล ถั่วขาว ผักวิตามีนบี ธัญพืชต่าง ๆ ถั่วลันเตา
ผักที่ห้ามกินเมื่อเป็นโรคไทรอยด์
🎯 คำตอบ : ผู้ป่วยขาดไอโอดีน/ไทรอยด์ต่ำ ห้ามกินผักดังนี้ ผักกาดขาว บรอกโคลี คะน้า และหัวไชเท้า ถั่วเหลือง
ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ ต้องระมัดระวังในการทานอาหารที่มีสารไอโอดีน ซีลีเนียมและสังกะสีสูง เช่น เห็ด จมูกข้าวสาลี รำข้าว หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ บรอกโคลี ข้าวกล้อง