การเทียบวุฒิของไทยกับวุฒิของสวิตฯ
เอกสารเกี่ยวกับวุฒิบัตร ทำให้เกิดความยุ่งยากพอสมควรในการจัดเตรียม ดิฉันเลือกติดต่อสถานเอกอัครราชทูตไทยก่อนเพราะเห็นว่าเอกสารที่ดิฉันมีเป็นภาษา ไทยเป็นหลัก มหาวิทยาลัยก็เป็นสถาบันในประเทศไทย สถานเอกอัครราชทูตน่าจะช่วยได้ดีที่สุด เเต่ผิดคาดค่ะ .... พอติดต่อไป(ทางโทรศัพท์) ดิฉันเล่าเรื่องราวให้ฟังคร่าวๆเเละขอให้ช่วยรับรองเอกสารสำเนาให้ เจ้าหน้าที่เเจ้งว่า สถานเอกอัครราชทูตจะรับรองสำเนาให้เฉพาะเมื่อสำเนาชุดนั้นได้ถูกรับรองจากหน่วยงานตรงมาก่อนเท่านั้น ( หมายถึง ดิฉันจะได้ตราประทับรับรองเอกสารจากสถานเอกอัครราชทูตก็ต่อเมื่อดิฉันมีตราประทับจากมหาวิทยาลัยมาก่อนเท่านั้น เเม้ดิฉันจะเเจ้งว่า ดิฉันมีต้นฉบับจริง เจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถทำให้ได้ตามที่ร้องขอ )...
" เรื่องนี้เขียนโดยเนื้อหาอิงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน และมาจากประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ไม่ได้มีเจตนาชี้นำใดๆทั้งสิ้น...
หมายเหตุ ชื่อเรียกหน่วยงาน-เอกสารในสวิตฯเป็นชื่อเฉพาะ จึงขออนุญาตเลือกใช้ชื่อกลางเพื่อง่ายต่อการสื่อสาร ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับคำเเปลตรงตัวนัก"
ผู้อ่านหลายท่านที่มีวุฒิบัตรจากประเทศไทย คงเคยเจอปัญหาหรือสงสัยว่า วุฒิบัตรในมือมีประโยชน์หรือไม่เมื่อต้องมาอาศัยอยู่ต่างประเทศ ?
ตัวดิฉันองมีรุ่นพี่ที่รู้จักคนนึงเคยเล่าให้ฟังว่า ตอนที่เธอเดินทางไปเรียนต่อประเทศออสเตรเลียนั้น วุฒิป.ตรี ของเธอต้องนำไปเทียบวุฒิกับระบบการเรียนการสอนของออสเตรเลียก่อน จึงจะเรียนต่อได้ โชคดีที่ว่า มีนักศึกษาไทยไปเรียนต่อในประเทศออสเตรเลียจำนวนมาก ทำให้ระบบการเทียบวุฒิเป็นไปอย่างมีระบบเเละรวดเร็ว เเละเธอก็รู้ผลว่า วุฒิป.ตรีที่เธอได้มานั้นเธอสามารถเรียนต่อโทในออสเตรเลียได้ทันที ต่างกับเพื่อนคนไทย(เดินทางไปพร้อมกันเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยเดียวกัน) ที่ วุฒิป.ตรีของเธอ (2 สาวจบการศึกษาป.ตรีต่างสถาบันกัน)นั้น ออสเตรเลียได้เทียบวุฒิให้เเค่วุฒิอนุปริญญาเท่านั้น เพื่อนของรุ่นพี่คนนั้นไม่สามารถเรียนต่อได้ทันที ต้องเรียนเพิ่มเติมจนกว่าจะได้วุฒิป.ตรีก่อนจึงจะสามารถเรียนต่อป.โทได้
ขอบคุณภาพประกอบจากกูเกิ้ล
" เรื่องนี้เขียนโดยเนื้อหาอิงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน และมาจากประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ไม่ได้มีเจตนาชี้นำใดๆทั้งสิ้น...
หมายเหตุ ชื่อเรียกหน่วยงาน-เอกสารในสวิตฯเป็นชื่อเฉพาะ จึงขออนุญาตเลือกใช้ชื่อกลางเพื่อง่ายต่อการสื่อสาร ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับคำเเปลตรงตัวนัก"
ผู้อ่านหลายท่านที่มีวุฒิบัตรจากประเทศไทย คงเคยเจอปัญหาหรือสงสัยว่า วุฒิบัตรในมือมีประโยชน์หรือไม่เมื่อต้องมาอาศัยอยู่ต่างประเทศ ?
ตัวดิฉันองมีรุ่นพี่ที่รู้จักคนนึงเคยเล่าให้ฟังว่า ตอนที่เธอเดินทางไปเรียนต่อประเทศออสเตรเลียนั้น วุฒิป.ตรี ของเธอต้องนำไปเทียบวุฒิกับระบบการเรียนการสอนของออสเตรเลียก่อน จึงจะเรียนต่อได้ โชคดีที่ว่า มีนักศึกษาไทยไปเรียนต่อในประเทศออสเตรเลียจำนวนมาก ทำให้ระบบการเทียบวุฒิเป็นไปอย่างมีระบบเเละรวดเร็ว เเละเธอก็รู้ผลว่า วุฒิป.ตรีที่เธอได้มานั้นเธอสามารถเรียนต่อโทในออสเตรเลียได้ทันที ต่างกับเพื่อนคนไทย(เดินทางไปพร้อมกันเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยเดียวกัน) ที่ วุฒิป.ตรีของเธอ (2 สาวจบการศึกษาป.ตรีต่างสถาบันกัน)นั้น ออสเตรเลียได้เทียบวุฒิให้เเค่วุฒิอนุปริญญาเท่านั้น เพื่อนของรุ่นพี่คนนั้นไม่สามารถเรียนต่อได้ทันที ต้องเรียนเพิ่มเติมจนกว่าจะได้วุฒิป.ตรีก่อนจึงจะสามารถเรียนต่อป.โทได้
ขอบคุณภาพประกอบจากกูเกิ้ล
สาเหตุที่เกริ่นอย่างนี้ก็เพราะระบบการเรียนการสอนในโรงเรียน / มหาวิทยาลัยในบ้านเมืองของเรานั้น มีความเหลี่ยมล้ำกันอยู่ เห็นได้ชัดๆว่า ทำไมเด็กนักเรียนม.ปลายเเย่งกันเอนท์เข้ามหาวิทยาลัยชื่อดัง ทำไมไม่เลือกเรียนใกล้บ้าน คำตอบที่อาจพอคาดเดาว่าจะได้รับคือ มาตรฐานต่างกัน ระบบการเรียนการสอนต่างกัน เเละนั้นอาจหมายถึงคุณภาพที่ได้รับ(อาจ)ต่างกันด้วย
เมื่อดิฉันได้อยู่ในกลุ่มของคนว่างงานในสวิตฯ (จากเรื่อง ทำไมถึงอยากตกงานในสวิตฯ) ในช่วงเเรก ที่ปรึกษาฯของดิฉันเคยเเนะนำให้ ดิฉันทำการเทียบวุฒิที่ดิฉันมีกับระบบของสวิตฯเพื่อจะได้รู้ว่าวุฒิบัตรของดิฉันคิดเป็นระดับไหนของสวิตฯ (ตอนเเรกที่ได้ยินที่ปรึกษาฯเเจ้งอย่างนี้ ก็คิดในใจว่า คุณเธอคงไม่มั่นใจในระบบการเรียนการสอนของประเทศกำลังพัฒนากระมัง?) เเต่พอได้เห็นสีหน้าเเละเเววตาที่จริงใจเเบบไม่มีอคติเคลือบเเฝง ดิฉันก็เปิดใจเเละยอมรับข้อเสนอของเธอ บอกตรงๆ ตอนนั้นก็อยากรู้เหมือนกันว่า ที่เราอุตส่าห์ร่ำเรียนมาเนี่ย ถ้าเทียบกับระบบของยุโรป วุฒิของเราอยู่ระดับใด ที่ปรึกษาฯเลยให้ที่อยู่เเละสถานที่ติดต่อมาพร้อมทั้งอธิบายขั้นตอนคร่าวๆให้ฟัง
ที่ปรึกษาฯบอกเน้นๆย้ำๆว่า สำนักงานจัดหางานไม่สามารถช่วยในเรื่องค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้เพราะเถือเป็นเรื่องส่วนบุคคล เเละดิฉันต้องดำเนินการติดต่อเอง เเต่หากจำเป็นต้องอ้างอิงเรื่องการงาน เเละต้องการบุคคลอ้างอิงในเรื่องนี้ ดิฉันสามารถเเจ้งขอความช่วยเหลือ-ขอคำปรึกษาหรือจะใช้ชื่อเธออ้างอิงในการยื่นคำร้องก็สามารถทำได้ ตอนเเรกที่ดิฉันได้ฟัง ใจหนึ่งก็ค่อนข้างลังเลเรื่องค่าใช้จ่ายซึ่งเธอเองคงอ่านสีหน้าออก เเต่เธอก็พูดออกมาว่า เเม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าใดก็ตาม เธอมั่นใจว่า การเทียบวุฒิจะมีประโยชน์กับดิฉันอย่างเเน่นอน เพราะถ้าผลออกมาเทียบเท่า อย่างน้อยดิฉันก็ได้รู้ว่า มหาวิทยาลัยที่ดิฉันเลือกเรียนมา เป็นที่ยอมรับในระดับยุโรป เเละผลของการเทียบวุฒิ(อาจ)จะสามารถช่วยให้ดิฉันหางานที่ต้องการทำได้ในอนาคต...
เมื่อดิฉันได้รับที่อยู่จากที่ปรึกษาฯมา ก็ดองเรื่องไว้ก่อนเพราะช่วงนั้นยังติดเรียนคอร์สคอมพิวเตอร์อยู่ เเต่ถ้ามีเวลาว่างก็เเว่บๆเข้าไปอ่านรายละเอียดในเว็บไซต์บ้าง เเละจดรายละเอียดเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ไว้คร่าวๆ .... พอเรียนจบคอร์สคอมพิวเตอร์ ก็มีช่วงข้อต่อที่พักชั่วคราวเพื่อรอเรียนต่อภาษาฝรั่งเศส ช่วงนี้เองที่เริ่มศึกษาข้อมูลอย่างจริงจัง พร้อมทั้งจัดเตรียมเอกสารไว้เป็นชุดๆ ต่อจากนั้นจึงเริ่มติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ที่ปรึกษาฯให้ดิฉันติดต่อ Federal Office for Professional Education and Technology OPET (ขอเรียกสั้นๆว่า OPET) ดิฉันก็ติดต่อไปทางอีเมล์ ดิฉันเเจ้งความจำนงว่าอยากเทียบวุฒิที่ดิฉันได้รับจากประเทศไทยกับของสวิตเซอร์เเลนด์ พร้อมทั้งเเนบไฟล์วุฒิบัตรเเละไฟล์เอกสารเเปลวุฒิบัตรไปให้ด้วย (ดิฉันใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อเพราะภาษาฝรั่งเศสของดิฉันอยู่ในระดับสื่อสารได้เท่านั้น ถ้าเขียนติดต่อเป็นภาษาฝรั่งเศสเเบบเป็นทางการต้องคอยพึ่งสามีให้คอยตรวจเชคไวย์กรณ์ให้ทุกครั้งไป ก็รู้สึกว่าไม่ได้ดั่งใจ จึงเลือกติดต่อในเเบบที่ตัวเองถนัดน่าจะดีกว่า) ปรากฎว่า ส่งอีเมล์ไปไม่ถึงชั่วโมง มีเจ้าหน้าที่ส่งอีเมล์ตอบกลับมาว่า OPETไม่ได้รับผิดชอบในส่วนของการเทียบวุฒิระดับมหาวิทยาลัยที่ดิฉันมี ขอให้ติดต่อ CRUS - Rectors' Conference of the Swiss Universities Swiss ENIC-NARIC (ขอเรียกสั้นๆว่า CRUS) ในอีเมล์ได้เเจ้งชื่อหน่วยงานเเละชื่อบุคคลที่รับผิดชอบมาด้วย ... ดิฉันจึงรีบตอบกลับ OPET ว่า ขอโทษที่ติดต่อผิดเเละขอบคุณที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเเก่ดิฉัน
ต่อจากนั้น ดิฉันก็ส่งอีเมล์ถึง CRUS (ข้อความเเละไฟล์เเนบ ชุดเดียวกับที่เคยเขียนส่งถึง OPET) เเต่เพิ่มเติมส่วนท้ายในอีเมล์ว่า ได้เคยติดต่อ OPETไปเเล้ว เเละOPET เเจ้งให้ติดต่อ CRUS เเทน (ที่เขียนเเบบนี้เพื่อให้เค้ารู้ว่า ดิฉันติดต่อ OPET เเล้วนะ ไม่ต้องโยนเรื่องไปที่นั้นอีกเเล้ว )
ต่อจากนั้นก็ติดพักเที่ยง พอบ่ายโมงกว่าๆก็ได้รับอีเมล์ตอบกลับมาจากเจ้าหน้าที่ เธอเเจ้งว่า ให้ตอบคำถามหลัก 5 ข้อนี้ เเล้วจึงจะดำเนินขั้นตอนต่อไปได้ คำถามทั้ง 5 คือ
1. ชื่อมหาวิทยาลัย
2. สาขาที่เรียนจบมา
3. ชื่อวุฒิบัตรที่ได้รับ
4. ระยะเวลาที่ใช้ในการเรียน (ปี)
5. สาเหตุที่ขอเทียบวุฒิ (ทำงานหรือเรียนต่อ) ****** จุดนี้ ดิฉันเขียนเเจ้ง ว่า เนื่องจากดิฉันไม่สามารถหางานทำ(ตามวุฒิที่ดิฉันได้รับจากเมืองไทย)ได้ที่สวิตฯ ดิฉันจึงเลือกทำงานในร้านอาหารไทยเป็นเวลา 2 ปี เพื่อให้ตนเองได้มีโอกาสเข้าสู่ระบบคนว่างงาน โดยหวังว่าสำนักจัดหางานอาจจะช่วยให้ดิฉันหางานที่ดิฉันต้องการทำได้จริงๆ ดิฉันคิดว่าการมีใบเทียบวุฒิ(อาจ)จะทำให้สามารถหางานทำได้ในอนาคต ซึ่งดิฉันปฎิบัติตามคำเเนะนำของที่ปรึกษาฯ (ระบุชื่อบุคคลพร้อมสถานที่ทำงานของที่ปรึกษาฯ)
ดิฉันส่งคำตอบไปไม่ถึง 10 นาที เจ้าหน้าที่คนเดิม ตอบกลับมาว่า ให้เเจ้งชุดคำตอบของวุฒิป.ตรีด้วย เธอต้องการคำตอบของทั้ง 2 วุฒิไม่ใช่เฉพาะป.โท เธอขอข้อมูลของป.ตรีด้วยเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาประเมินผลวุฒิป.โท (ตอนส่งอีเมล์ชุดเเรกนั้น ดิฉันเเนบไฟล์วุฒิเเละเอกสารเเปลทั้งป.ตรีเเละโท ) ดิฉันก็รีบส่งคำตอบที่เธอต้องการให้อย่างเร็ว
ต่อจากนั้นทิ้งช่วงไปประมาณเกือบ 1 ชั่วโมง เธอตอบกลับมาว่า เธอได้เเนบเอกสารที่เป็นเเบบฟอร์มที่ใช้ยื่นคำร้องขอเทียบวุฒิ (เอกสารที่เเนบมาเป็นภาษาราชการของสวิตฯเท่านั้น ไม่มีภาษาอังกฤษ ) เธอเเจ้งว่า ต้องกรอกเอกสารคำร้องเป็นภาษาราชการของสวิตฯ(ภาษาใดภาษาหนึ่งเท่านั้น ) เธอคงเกรงว่าดิฉันจะกรอกภาษาอังกฤษอีกกระมัง จึงย้ำให้เห็นชัดๆอีกรอบ :) เธอยังบอกอีกว่า ในเเบบฟอร์ม จะลิสต์รายชื่อเอกสารที่จำเป็นต้องจัดส่งมาที่สำนักงาน CRUS ให้จัดเตรียมเอกสารอย่างถูกต้อง เน้นว่าต้องถูกต้องเเละตรงตามข้อกำหนดเท่านั้นจึงจะได้รับการดำเนินการให้ข้อมูลข้างล่าง เป็นเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการติดต่อทั้งหมด (ขอเเทรกข้อมูลเพิ่มเติมที่ดิฉันใช้ไว้ด้วย เผื่อจะมีประโยชน์หากท่านผู้อ่านต้องการจัดเตรียมเอกสารต่อไป)
เมื่อดิฉันได้อยู่ในกลุ่มของคนว่างงานในสวิตฯ (จากเรื่อง ทำไมถึงอยากตกงานในสวิตฯ) ในช่วงเเรก ที่ปรึกษาฯของดิฉันเคยเเนะนำให้ ดิฉันทำการเทียบวุฒิที่ดิฉันมีกับระบบของสวิตฯเพื่อจะได้รู้ว่าวุฒิบัตรของดิฉันคิดเป็นระดับไหนของสวิตฯ (ตอนเเรกที่ได้ยินที่ปรึกษาฯเเจ้งอย่างนี้ ก็คิดในใจว่า คุณเธอคงไม่มั่นใจในระบบการเรียนการสอนของประเทศกำลังพัฒนากระมัง?) เเต่พอได้เห็นสีหน้าเเละเเววตาที่จริงใจเเบบไม่มีอคติเคลือบเเฝง ดิฉันก็เปิดใจเเละยอมรับข้อเสนอของเธอ บอกตรงๆ ตอนนั้นก็อยากรู้เหมือนกันว่า ที่เราอุตส่าห์ร่ำเรียนมาเนี่ย ถ้าเทียบกับระบบของยุโรป วุฒิของเราอยู่ระดับใด ที่ปรึกษาฯเลยให้ที่อยู่เเละสถานที่ติดต่อมาพร้อมทั้งอธิบายขั้นตอนคร่าวๆให้ฟัง
ที่ปรึกษาฯบอกเน้นๆย้ำๆว่า สำนักงานจัดหางานไม่สามารถช่วยในเรื่องค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้เพราะเถือเป็นเรื่องส่วนบุคคล เเละดิฉันต้องดำเนินการติดต่อเอง เเต่หากจำเป็นต้องอ้างอิงเรื่องการงาน เเละต้องการบุคคลอ้างอิงในเรื่องนี้ ดิฉันสามารถเเจ้งขอความช่วยเหลือ-ขอคำปรึกษาหรือจะใช้ชื่อเธออ้างอิงในการยื่นคำร้องก็สามารถทำได้ ตอนเเรกที่ดิฉันได้ฟัง ใจหนึ่งก็ค่อนข้างลังเลเรื่องค่าใช้จ่ายซึ่งเธอเองคงอ่านสีหน้าออก เเต่เธอก็พูดออกมาว่า เเม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าใดก็ตาม เธอมั่นใจว่า การเทียบวุฒิจะมีประโยชน์กับดิฉันอย่างเเน่นอน เพราะถ้าผลออกมาเทียบเท่า อย่างน้อยดิฉันก็ได้รู้ว่า มหาวิทยาลัยที่ดิฉันเลือกเรียนมา เป็นที่ยอมรับในระดับยุโรป เเละผลของการเทียบวุฒิ(อาจ)จะสามารถช่วยให้ดิฉันหางานที่ต้องการทำได้ในอนาคต...
เมื่อดิฉันได้รับที่อยู่จากที่ปรึกษาฯมา ก็ดองเรื่องไว้ก่อนเพราะช่วงนั้นยังติดเรียนคอร์สคอมพิวเตอร์อยู่ เเต่ถ้ามีเวลาว่างก็เเว่บๆเข้าไปอ่านรายละเอียดในเว็บไซต์บ้าง เเละจดรายละเอียดเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ไว้คร่าวๆ .... พอเรียนจบคอร์สคอมพิวเตอร์ ก็มีช่วงข้อต่อที่พักชั่วคราวเพื่อรอเรียนต่อภาษาฝรั่งเศส ช่วงนี้เองที่เริ่มศึกษาข้อมูลอย่างจริงจัง พร้อมทั้งจัดเตรียมเอกสารไว้เป็นชุดๆ ต่อจากนั้นจึงเริ่มติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ที่ปรึกษาฯให้ดิฉันติดต่อ Federal Office for Professional Education and Technology OPET (ขอเรียกสั้นๆว่า OPET) ดิฉันก็ติดต่อไปทางอีเมล์ ดิฉันเเจ้งความจำนงว่าอยากเทียบวุฒิที่ดิฉันได้รับจากประเทศไทยกับของสวิตเซอร์เเลนด์ พร้อมทั้งเเนบไฟล์วุฒิบัตรเเละไฟล์เอกสารเเปลวุฒิบัตรไปให้ด้วย (ดิฉันใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อเพราะภาษาฝรั่งเศสของดิฉันอยู่ในระดับสื่อสารได้เท่านั้น ถ้าเขียนติดต่อเป็นภาษาฝรั่งเศสเเบบเป็นทางการต้องคอยพึ่งสามีให้คอยตรวจเชคไวย์กรณ์ให้ทุกครั้งไป ก็รู้สึกว่าไม่ได้ดั่งใจ จึงเลือกติดต่อในเเบบที่ตัวเองถนัดน่าจะดีกว่า) ปรากฎว่า ส่งอีเมล์ไปไม่ถึงชั่วโมง มีเจ้าหน้าที่ส่งอีเมล์ตอบกลับมาว่า OPETไม่ได้รับผิดชอบในส่วนของการเทียบวุฒิระดับมหาวิทยาลัยที่ดิฉันมี ขอให้ติดต่อ CRUS - Rectors' Conference of the Swiss Universities Swiss ENIC-NARIC (ขอเรียกสั้นๆว่า CRUS) ในอีเมล์ได้เเจ้งชื่อหน่วยงานเเละชื่อบุคคลที่รับผิดชอบมาด้วย ... ดิฉันจึงรีบตอบกลับ OPET ว่า ขอโทษที่ติดต่อผิดเเละขอบคุณที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเเก่ดิฉัน
ต่อจากนั้น ดิฉันก็ส่งอีเมล์ถึง CRUS (ข้อความเเละไฟล์เเนบ ชุดเดียวกับที่เคยเขียนส่งถึง OPET) เเต่เพิ่มเติมส่วนท้ายในอีเมล์ว่า ได้เคยติดต่อ OPETไปเเล้ว เเละOPET เเจ้งให้ติดต่อ CRUS เเทน (ที่เขียนเเบบนี้เพื่อให้เค้ารู้ว่า ดิฉันติดต่อ OPET เเล้วนะ ไม่ต้องโยนเรื่องไปที่นั้นอีกเเล้ว )
ต่อจากนั้นก็ติดพักเที่ยง พอบ่ายโมงกว่าๆก็ได้รับอีเมล์ตอบกลับมาจากเจ้าหน้าที่ เธอเเจ้งว่า ให้ตอบคำถามหลัก 5 ข้อนี้ เเล้วจึงจะดำเนินขั้นตอนต่อไปได้ คำถามทั้ง 5 คือ
1. ชื่อมหาวิทยาลัย
2. สาขาที่เรียนจบมา
3. ชื่อวุฒิบัตรที่ได้รับ
4. ระยะเวลาที่ใช้ในการเรียน (ปี)
5. สาเหตุที่ขอเทียบวุฒิ (ทำงานหรือเรียนต่อ) ****** จุดนี้ ดิฉันเขียนเเจ้ง ว่า เนื่องจากดิฉันไม่สามารถหางานทำ(ตามวุฒิที่ดิฉันได้รับจากเมืองไทย)ได้ที่สวิตฯ ดิฉันจึงเลือกทำงานในร้านอาหารไทยเป็นเวลา 2 ปี เพื่อให้ตนเองได้มีโอกาสเข้าสู่ระบบคนว่างงาน โดยหวังว่าสำนักจัดหางานอาจจะช่วยให้ดิฉันหางานที่ดิฉันต้องการทำได้จริงๆ ดิฉันคิดว่าการมีใบเทียบวุฒิ(อาจ)จะทำให้สามารถหางานทำได้ในอนาคต ซึ่งดิฉันปฎิบัติตามคำเเนะนำของที่ปรึกษาฯ (ระบุชื่อบุคคลพร้อมสถานที่ทำงานของที่ปรึกษาฯ)
ดิฉันส่งคำตอบไปไม่ถึง 10 นาที เจ้าหน้าที่คนเดิม ตอบกลับมาว่า ให้เเจ้งชุดคำตอบของวุฒิป.ตรีด้วย เธอต้องการคำตอบของทั้ง 2 วุฒิไม่ใช่เฉพาะป.โท เธอขอข้อมูลของป.ตรีด้วยเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาประเมินผลวุฒิป.โท (ตอนส่งอีเมล์ชุดเเรกนั้น ดิฉันเเนบไฟล์วุฒิเเละเอกสารเเปลทั้งป.ตรีเเละโท ) ดิฉันก็รีบส่งคำตอบที่เธอต้องการให้อย่างเร็ว
ต่อจากนั้นทิ้งช่วงไปประมาณเกือบ 1 ชั่วโมง เธอตอบกลับมาว่า เธอได้เเนบเอกสารที่เป็นเเบบฟอร์มที่ใช้ยื่นคำร้องขอเทียบวุฒิ (เอกสารที่เเนบมาเป็นภาษาราชการของสวิตฯเท่านั้น ไม่มีภาษาอังกฤษ ) เธอเเจ้งว่า ต้องกรอกเอกสารคำร้องเป็นภาษาราชการของสวิตฯ(ภาษาใดภาษาหนึ่งเท่านั้น ) เธอคงเกรงว่าดิฉันจะกรอกภาษาอังกฤษอีกกระมัง จึงย้ำให้เห็นชัดๆอีกรอบ :) เธอยังบอกอีกว่า ในเเบบฟอร์ม จะลิสต์รายชื่อเอกสารที่จำเป็นต้องจัดส่งมาที่สำนักงาน CRUS ให้จัดเตรียมเอกสารอย่างถูกต้อง เน้นว่าต้องถูกต้องเเละตรงตามข้อกำหนดเท่านั้นจึงจะได้รับการดำเนินการให้ข้อมูลข้างล่าง เป็นเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการติดต่อทั้งหมด (ขอเเทรกข้อมูลเพิ่มเติมที่ดิฉันใช้ไว้ด้วย เผื่อจะมีประโยชน์หากท่านผู้อ่านต้องการจัดเตรียมเอกสารต่อไป)
1. เอกสารที่ต้องจัดทำ มีดังนี้
- ใบคำร้อง(เป็นเเบบฟอร์มของCRUS)ที่ต้องกรอกด้วยภาษาราชการของสวิตฯเท่านั้น
- จดหมายเเจ้งความจำนงว่าต้องการเทียบวุฒิ พร้อมบอกเหตุผลของการขอเทียบวุฒิอย่างเป็นทางการ (ระบุว่าเป็นภาษาเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาเลี่ยน หรือ อังกฤษ ก็ได้ )
- CV (ประวัติ ส่วนตัว, การศึกษา, การทำงาน ) อย่างย่อ ไม่ได้ระบุว่าต้องเป็นภาษาใด
- สำเนาพาสปอร์ต หรือ บัตรประชาชน (หากมีการเปลี่ยนเเปลงชื่อ-นามสกุล ต้องเเนบหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลมาด้วย)
***วุฒิบัตรในระดับปริญญาตรีของดิฉันยังเป็นนามสกุลเดิม (ก่อนเเต่งงาน) ดิฉันเลยเเนบสำเนาใบทะเบียนสมรส (เอกสารชุดนี้ออกโดยที่ว่าการอำเภอในสวิตฯ) เป็นหลักฐานยืนยันการเปลี่ยนนามสกุล***
2. เอกสารเกี่ยวกับวุฒิบัตร มีดังนี้
- สำเนาวุฒิบัตร *** วุฒิบัตรของดิฉันมีฉบับเเปลอยู่เเล้ว เเละเอกสารชุดนี้ได้ถูกรับรองการเเปลเป็นภาษาฝรั่งเศสโดย Alliance Française (สมาคมฝรั่งเศสในกรุงเทพฯ) ****
- Transcript ***Transcript ของดิฉันเป็นภาษาอังกฤษอยู่เเล้ว เลยไม่ต้องทำการเเปล***
- (ถ้ามี) ใบรับรองการจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย หรือ ใบรับรองอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
*** ดิฉันไม่มีใบรับรองของป.ตรีเลย เพราะไม่เคยใช้/ไม่เคยขอ จะมีก็เเต่ใบรับรองของป.โท เป็นใบรับรองการเป็นบัณทิต (หัวกระดาษเขียนว่า บัณฑิตมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำเเหง) ซึ่งเอกสารชุดนี้ออกให้โดยมหาวิทยาลัยรามคำเเหง (ใบรับรองเป็นภาษาไทย ) ระบุปีที่เริ่มเรียนเเละจบการศึกษาไว้ ดิฉันเเนบเอกสารชุดนี้เพิ่มเข้าไปด้วย พอดีมีเอกสารเเปลที่เเปลโดย Alliance Française (สมาคมฝรั่งเศสในกรุงเทพฯ) อยู่เเล้วจึงเเนบไปพร้อมกัน***
หมายเหตุ;
1. เอกสารในข้อ 2 จัดส่งตัวสำเนาเท่านั้น ห้ามส่งต้นฉบับจริง เเละ เอกสารสำเนาทุกชุด ต้องถูกรับรองว่าเป็นสำเนาที่มาจากต้นฉบับจริง ผู้ที่สามารถรับรองเอกสารได้ คือ ที่ว่าการอำเภอที่เราพักอาศัย หรือ มหาวิทยาลัย หรือ สถานเอกอัครราชทูต(ไทย) หรือ สำนักงานกฎหมาย เท่านั้น
2. ถ้าเอกสารในข้อ 2 ไม่ใช่ภาษาเยอรมัน, ฝรั่งเศส, อิตาเลี่ยน, อังกฤษ, โปรตุเกส หรือ สเปน ต้องทำการเเปลเป็นภาษาราชการของสวิตฯก่อน เเละผู้เเปลเอกสารต้องเป็นผู้ที่มีวุฒิบัตรในการเเปลเท่านั้น
1. เอกสารในข้อ 2 จัดส่งตัวสำเนาเท่านั้น ห้ามส่งต้นฉบับจริง เเละ เอกสารสำเนาทุกชุด ต้องถูกรับรองว่าเป็นสำเนาที่มาจากต้นฉบับจริง ผู้ที่สามารถรับรองเอกสารได้ คือ ที่ว่าการอำเภอที่เราพักอาศัย หรือ มหาวิทยาลัย หรือ สถานเอกอัครราชทูต(ไทย) หรือ สำนักงานกฎหมาย เท่านั้น
2. ถ้าเอกสารในข้อ 2 ไม่ใช่ภาษาเยอรมัน, ฝรั่งเศส, อิตาเลี่ยน, อังกฤษ, โปรตุเกส หรือ สเปน ต้องทำการเเปลเป็นภาษาราชการของสวิตฯก่อน เเละผู้เเปลเอกสารต้องเป็นผู้ที่มีวุฒิบัตรในการเเปลเท่านั้น
3. หากมีเอกสารเเปล ต้องเเนบสำเนาเอกสาร(ภาษาต้นฉบับ)ด้วย เเละเอกสารสำเนาทุกชุด ต้องถูกรับรองว่าเป็นสำเนาที่มาจากต้นฉบับจริง เหมือนข้อ 1
เอกสารในข้อ 2 ทำให้เกิดความยุ่งยากพอสมควร เอกสารเกี่ยวกับวุฒิบัตร ในข้อ 2 ทำให้เกิดความยุ่งยากพอสมควร ดิฉันเลือกติดต่อสถานเอกอัครราชทูตไทยก่อน เพราะเห็นว่าเอกสารที่ดิฉันมีเป็นภาษาไทยเป็นหลัก มหาวิทยาลัยก็เป็นสถาบันในประเทศไทย สถานเอกอัครราชทูตน่าจะช่วยได้ดีที่สุด เเต่ ผิดคาดค่ะ .... พอติดต่อไป(ทางโทรศัพท์) ดิฉันเล่าเรื่องราวให้เจ้าหน้าที่ฟังคร่าวๆเเละขอให้ช่วยรับรองเอกสารให้ เจ้าหน้าที่เเจ้งว่า สถานเอกอัครราชทูตจะรับรองสำเนาให้เฉพาะเมื่อสำเนาชุดนั้นได้ถูกรับรองจากหน่วยงานหลักมาก่อนเท่านั้น ( หมายถึง ดิฉันจะได้ตราประทับรับรองเอกสารจากสถานเอกอัครราชทูตก็ต่อเมื่อดิฉันมีตราประทับจากมหาวิทยาลัยมาก่อนเท่านั้น... เเม้ดิฉันจะเเจ้งว่า ดิฉันมีต้นฉบับจริงขอเเค่รับรองว่าเป็นสำเนาจากต้นฉบับจริงเท่านั้น เจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถทำให้ได้ตามที่ร้องขอ ยังไงก็ต้องให้ดิฉันกลับเมืองไทยไปขอจากมหาวิทยาลัยก่อนเท่านั้น ...เจอคำตอบเเบบนี้ ได้เเต่บอกตัวเองว่า อึ้ง!... ) เมื่อสถานเอกอัครราชทูตไม่สามารถรับรองเอกสารให้ได้ ตัวเลือกถัดไป ก็คือ ที่ว่าการอำเภอที่ดิฉันพักอาศัย เจ้าหน้าที่ที่นั้นให้คำตอบว่า เค้าไม่สามารถทำให้ได้ เพราะไม่ใช่เอกสารที่ออกโดยหน่วยงานของสวิตฯ อันนี้พอรับฟังค่ะ เพราะเค้าไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเอกสารชุดนี้เลย อ่านภาษาไทยก็ไม่ออก จะให้หน่วงานของรัฐรับรองเอกสารของประเทศอื่นเเบบนี้ก็คงดูเเปลกๆอยู่....
จึงเหลือที่พึ่งสุดท้ายคือ สำนักงานกฎหมาย(เอกชน) ครั้งนี้ ดิฉันต้องขอความช่วยเหลือจากสามี เนื่องจากต้องการที่พึ่ง เเละเริ่มปอดๆ เพราะ จะให้เดินดุ่มๆเข้าไปสำนักงานกฎหมายที่ดูจะเป็นไปในเเนวธุรกิจเเละอยู่ในรูปเเบบทางการมากๆ จึงจำเป็นต้องมีผู้คุ้มกัน(กันหน้าเเตก)ไปด้วย ดิฉันจึงขอให้สามีไปเป็นเพื่อน (สามีก็ไปเป็นเพื่อนจริงๆไม่พูดอะไรยิ้มอย่างเดียว) โชคดี มีนักกฎหมายอยู่ในสำนักงานพอดี เค้ามองมายังเราทั้งคู่ ในใจคงคิดว่าเรามาทำเรื่องหย่ากระมัง ? (ฮา) เค้าก็ถามว่า มีปัญหาอะไรหรือเปล่า? ซึ่งก็เข้าทาง ดิฉันก็เลยเล่ารายละเอียดให้ฟังพร้อมยื่นเเบบฟอร์มยื่นคำร้องเทียบวุฒิให้ดู เค้าอ่านเเละดูเอกสารสักพักเเละบอกว่า ไม่มีปัญหาในการรับรองเอกสารถ้าดิฉันมีเอกสารต้นฉบับมาด้วย ดิฉันบอกว่ามีเเละยื่นเอกสารต้นฉบับทุกชุดให้ เค้าบอกว่าให้ทิ้งเอกสารทั้งหมดไว้ เเละให้มารับคืนในอีก 2 ชั่วโมง เค้าบอกว่าเลขาฯเค้าจะจัดการเรื่องเอกสารให้ ..... พอได้ยินอย่างนั้น ดิฉันยิ้มเเก้มปริ ขอบคุณขอบโพยสารพัด .....ในที่สุด ก็โล่งอก ไม่ต้องกลับเมืองไทยเพื่อขอใบรับรองอีกเเล้ว :P
พอถึงเวลานัดดิฉันก็ไปรับเอกสาร เมื่อเปิดดู จึงพบว่า สำนักงานกฎหมายทำสำเนาทุกฉบับใหม่หมด (ไม่ได้ใช้ฉบับที่ดิฉันทำสำเนาไว้เลย) คุณเลขาฯถ่ายสำเนาเอกสาร(สี) ตามต้นฉบับจริง ถ่ายทั้งด้านหน้าเเละด้านหลัง ทำเหมือนต้นฉบับจริงทุกอย่าง เเละ ทุกฉบับจะมีตราประทับด้านหลังเอกสารว่า รับรองว่าเป็นสำเนาจากต้นฉบับจริง พร้อมตราประทับของสำนักงานกฎหมายนั้นด้วย ยกเว้น Transcript ของป.โท ที่มีตราประทับด้านหน้า เพราะ Transcript ต้นฉบับเป็น กระดาษ B3 มีขนาดใหญ่กว่าปกติ สำนักงานกฎหมายเลยถ่ายเอกสารด้วยกระดาษ B4 (คงเพราะไม่มีกระดาษขนาดเดียวกันเลยเลือกขนาดใหญ่กว่า) จึงมีที่ว่างให้ประทับด้านหน้ากระดาษได้
เมื่อได้เอกสารครบตามที่กำหนด ดิฉันก็จัดส่งเอกสารทั้งหมดทางไปรษณีย์(ลงทะเบียน) ส่งเอกสารออกไปตอนเช้าของวันที่ 19/11/2012 พอวันที่ 20/11/2012 ช่วงสายๆ ก็ได้รับอีเมล์เเจ้งจาก CRUS ว่า สำนักงานได้รับเอกสารที่ดิฉันส่งมาให้เเล้ว จะรีบดำเนินการตรวจสอบเเละเเจ้งผลในคราต่อไป
วันที่ 28/11/2012 ดิฉันได้รับจดหมายทางไปรษณีย์จาก CRUS เเจ้งผลการเทียบโอนวุฒิ พร้อมส่งคืนเอกสารสำเนาการศึกษาที่ดิฉันเคยส่งไปมาให้ด้วย (ในหน้าเว็บของ CRUS เเจ้งว่า ใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 1 เดือน การได้รับผลการตรวจสอบอย่างรวดเร็วจึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีจริงๆ รู้สึกทึ่งที่เค้าทำงานเร็วมากๆ)
จึงเหลือที่พึ่งสุดท้ายคือ สำนักงานกฎหมาย(เอกชน) ครั้งนี้ ดิฉันต้องขอความช่วยเหลือจากสามี เนื่องจากต้องการที่พึ่ง เเละเริ่มปอดๆ เพราะ จะให้เดินดุ่มๆเข้าไปสำนักงานกฎหมายที่ดูจะเป็นไปในเเนวธุรกิจเเละอยู่ในรูปเเบบทางการมากๆ จึงจำเป็นต้องมีผู้คุ้มกัน(กันหน้าเเตก)ไปด้วย ดิฉันจึงขอให้สามีไปเป็นเพื่อน (สามีก็ไปเป็นเพื่อนจริงๆไม่พูดอะไรยิ้มอย่างเดียว) โชคดี มีนักกฎหมายอยู่ในสำนักงานพอดี เค้ามองมายังเราทั้งคู่ ในใจคงคิดว่าเรามาทำเรื่องหย่ากระมัง ? (ฮา) เค้าก็ถามว่า มีปัญหาอะไรหรือเปล่า? ซึ่งก็เข้าทาง ดิฉันก็เลยเล่ารายละเอียดให้ฟังพร้อมยื่นเเบบฟอร์มยื่นคำร้องเทียบวุฒิให้ดู เค้าอ่านเเละดูเอกสารสักพักเเละบอกว่า ไม่มีปัญหาในการรับรองเอกสารถ้าดิฉันมีเอกสารต้นฉบับมาด้วย ดิฉันบอกว่ามีเเละยื่นเอกสารต้นฉบับทุกชุดให้ เค้าบอกว่าให้ทิ้งเอกสารทั้งหมดไว้ เเละให้มารับคืนในอีก 2 ชั่วโมง เค้าบอกว่าเลขาฯเค้าจะจัดการเรื่องเอกสารให้ ..... พอได้ยินอย่างนั้น ดิฉันยิ้มเเก้มปริ ขอบคุณขอบโพยสารพัด .....ในที่สุด ก็โล่งอก ไม่ต้องกลับเมืองไทยเพื่อขอใบรับรองอีกเเล้ว :P
พอถึงเวลานัดดิฉันก็ไปรับเอกสาร เมื่อเปิดดู จึงพบว่า สำนักงานกฎหมายทำสำเนาทุกฉบับใหม่หมด (ไม่ได้ใช้ฉบับที่ดิฉันทำสำเนาไว้เลย) คุณเลขาฯถ่ายสำเนาเอกสาร(สี) ตามต้นฉบับจริง ถ่ายทั้งด้านหน้าเเละด้านหลัง ทำเหมือนต้นฉบับจริงทุกอย่าง เเละ ทุกฉบับจะมีตราประทับด้านหลังเอกสารว่า รับรองว่าเป็นสำเนาจากต้นฉบับจริง พร้อมตราประทับของสำนักงานกฎหมายนั้นด้วย ยกเว้น Transcript ของป.โท ที่มีตราประทับด้านหน้า เพราะ Transcript ต้นฉบับเป็น กระดาษ B3 มีขนาดใหญ่กว่าปกติ สำนักงานกฎหมายเลยถ่ายเอกสารด้วยกระดาษ B4 (คงเพราะไม่มีกระดาษขนาดเดียวกันเลยเลือกขนาดใหญ่กว่า) จึงมีที่ว่างให้ประทับด้านหน้ากระดาษได้
เมื่อได้เอกสารครบตามที่กำหนด ดิฉันก็จัดส่งเอกสารทั้งหมดทางไปรษณีย์(ลงทะเบียน) ส่งเอกสารออกไปตอนเช้าของวันที่ 19/11/2012 พอวันที่ 20/11/2012 ช่วงสายๆ ก็ได้รับอีเมล์เเจ้งจาก CRUS ว่า สำนักงานได้รับเอกสารที่ดิฉันส่งมาให้เเล้ว จะรีบดำเนินการตรวจสอบเเละเเจ้งผลในคราต่อไป
วันที่ 28/11/2012 ดิฉันได้รับจดหมายทางไปรษณีย์จาก CRUS เเจ้งผลการเทียบโอนวุฒิ พร้อมส่งคืนเอกสารสำเนาการศึกษาที่ดิฉันเคยส่งไปมาให้ด้วย (ในหน้าเว็บของ CRUS เเจ้งว่า ใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 1 เดือน การได้รับผลการตรวจสอบอย่างรวดเร็วจึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีจริงๆ รู้สึกทึ่งที่เค้าทำงานเร็วมากๆ)
(ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา = 6 ปี (4+2) เพราะ 4 ปีคือระยะเวลาที่เรียนป.ตรี +กับ อีก 2 ปีที่เรียนป.โท เนื่องจาก ดิฉันเรียนจบจากคณะบริหารธุรกิจเเละสาขาที่เลือกคือการตลาดทั้งระดับป.ตรีเเละโท ดังนั้น เอกสารจึงระบุเเบบรวบยอด 6ปีให้)
ในจดหมาย มีใจความสำคัญโดยสรุปว่า ในกฎหมายสวิตฯไม่มีข้อกำหนดว่าการเรียนจบปริญญาโทต้องเรียนอะไรบ้าง เเต่เมื่อได้ตรวจสอบ เอกสารทั้งหมด ใบรับรองชุดนี้ออกเพื่อยืนยันว่า วุฒิบัตรปริญญาโทที่ดิฉันมี ได้รับการประเมินผลว่าเทียบเท่ากับปริญญาโทตามระบบมหาวิทยาลัยในสวิตเซอร์เเลนด์... ในจดหมายปะหน้าใบรับรองฉบับนี้ได้กล่าวเสริมไว้ ว่า ใบรับรองนี้สามารถใช้ในการหางานทำได้....เเต่อย่างไรก็ตาม การที่จะได้รับเลือกหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทนั้นๆด้วย เเละใบรับรองฉบับนี้สามารถนำไปใช้อ้างอิงหากต้องการศึกษาต่อได้ด้วย ดิฉันรีบจัดส่งเอกสารชุดนี้ให้ที่ปรึกษาฯทางอีเมล์ เธอตอบกลับมาว่า จะอัพเดทข้อมูลชุดนี้เข้าระบบกลาง เพื่อใช้อ้างอิงในระบบต่อไป
การได้ใบเทียบวุฒิ ไม่ได้ทำให้ดิฉันรู้สึกว่า ดิฉันจะ(ต้อง)หางานได้ในอนาคตหรอกนะคะ เพราะการได้งานทำ มันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง (เช่น ระยะทาง, สถานที่ ,โอกาส, ครอบครัว ฯลฯ) เหมือนที่เคยพูดถึงในบทความชุด ทำไมถึงอยากตกงานในสวิตฯ ไปเเล้ว) เเต่สิ่งหนึ่งที่รู้สึกดีก็คือ เอกสารฉบับนี้จะเป็นอีก 1 ใบเบิกทาง เเละสิ่งนี้ทำให้ดิฉันได้รู้ว่ามหาวิทยาลัยที่เราได้ร่ำเรียนมา ได้รับการประเมินผลเเละรับรองว่าเทียบเท่ากับระบบของมหาวิทยาลัยในสวิตฯ...... เเค่นี่ก็ยิ้มออกเเล้วค่ะ :)
ในจดหมาย มีใจความสำคัญโดยสรุปว่า ในกฎหมายสวิตฯไม่มีข้อกำหนดว่าการเรียนจบปริญญาโทต้องเรียนอะไรบ้าง เเต่เมื่อได้ตรวจสอบ เอกสารทั้งหมด ใบรับรองชุดนี้ออกเพื่อยืนยันว่า วุฒิบัตรปริญญาโทที่ดิฉันมี ได้รับการประเมินผลว่าเทียบเท่ากับปริญญาโทตามระบบมหาวิทยาลัยในสวิตเซอร์เเลนด์... ในจดหมายปะหน้าใบรับรองฉบับนี้ได้กล่าวเสริมไว้ ว่า ใบรับรองนี้สามารถใช้ในการหางานทำได้....เเต่อย่างไรก็ตาม การที่จะได้รับเลือกหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทนั้นๆด้วย เเละใบรับรองฉบับนี้สามารถนำไปใช้อ้างอิงหากต้องการศึกษาต่อได้ด้วย ดิฉันรีบจัดส่งเอกสารชุดนี้ให้ที่ปรึกษาฯทางอีเมล์ เธอตอบกลับมาว่า จะอัพเดทข้อมูลชุดนี้เข้าระบบกลาง เพื่อใช้อ้างอิงในระบบต่อไป
การได้ใบเทียบวุฒิ ไม่ได้ทำให้ดิฉันรู้สึกว่า ดิฉันจะ(ต้อง)หางานได้ในอนาคตหรอกนะคะ เพราะการได้งานทำ มันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง (เช่น ระยะทาง, สถานที่ ,โอกาส, ครอบครัว ฯลฯ) เหมือนที่เคยพูดถึงในบทความชุด ทำไมถึงอยากตกงานในสวิตฯ ไปเเล้ว) เเต่สิ่งหนึ่งที่รู้สึกดีก็คือ เอกสารฉบับนี้จะเป็นอีก 1 ใบเบิกทาง เเละสิ่งนี้ทำให้ดิฉันได้รู้ว่ามหาวิทยาลัยที่เราได้ร่ำเรียนมา ได้รับการประเมินผลเเละรับรองว่าเทียบเท่ากับระบบของมหาวิทยาลัยในสวิตฯ...... เเค่นี่ก็ยิ้มออกเเล้วค่ะ :)
ที่มา :: http://www.thaitangdaen-news.eu/th/2009-06-10-22-40-31/2009-06-10-22-44-32/2443-2012-11-30-18-22-37
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น