Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2566

Hypertension

 

ความดันสูงห้ามกินอะไร และควรกินอะไรเพื่อควบคุมความดันโลหิต

    ความดันสูงห้ามกินอะไร และควรกินอะไรเพื่อควบคุมความดันโลหิต

    ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง จำเป็นต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องอาหาร หากทราบว่า ความดันสูงห้ามกินอะไร อาจช่วยให้สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีขึ้น โดยทั่วไป คนความดันสูงควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารแปรรูป น้ำตาล ไขมันทรานส์ เครื่องปรุงรส และควรเลือกกินอาหารที่เหมาะสม เน้นอาหารจากธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลาที่มีไขมันดี ผักและผลไม้สด ธัญพืชไม่ขัดสี นมไขมันต่ำ เพราะมีสารอาหารหลากหลาย จึงอาจช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตได้

    เครื่องคำนวณหา ค่าดัชนีมวลกาย (BMI)


    เพศชาย

    เพศหญิง

    ความดันสูงเกิดจากอะไร

    ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) หรือที่นิยมเรียกว่า ความดันสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีความดันโลหิต 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ยังไม่แน่ชัด แต่พันธุกรรม พฤติกรรมการกินอาหารรสหวาน มัน เค็ม เปรี้ยวจัด ภาวะสุขภาพ เช่น น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ โรคอ้วน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ได้

    เมื่อแรงดันของเลือดในหลอดเลือดที่กระทบกับผนังหลอดเลือดสูงเกินไป จะส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปยังเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา หรือไม่ปรับระดับความดันโลหิตให้ลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ อาจทำให้หลอดเลือดและอวัยวะต่าง ๆ เสียหาย และหากมีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ภาวะหัวใจวาย ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต ภาวะสมองเสื่อม

    อาการของความดันสูง

    คนเป็นความดันสูงส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการอย่างเด่นชัด แม้ระดับความดันโลหิตจะพุ่งสูงอย่างมากแล้วก็ตาม แต่บางคนก็อาจมีอาการดังต่อไปนี้

    • ปวดศีรษะ
    • หายใจไม่สะดวก
    • เลือดกำเดาไหล

    ความดันสูงห้ามกินอะไร

    อาหารที่คนความดันสูงควรหลีกเลี่ยงหรือกินแต่น้อย คือ อาหารที่มีเกลือหรือโซเดียมสูง เช่น อาหารแปรรูปอย่างขนมกรุบกรอบ ขนมปังขาวขัดสี ไส้กรอก แฮม กุนเชียง อาหารแช่แข็ง ผลไม้กระป๋อง ผลไม้แช่อิ่ม ผักดอง ปลาร้า ปลาเค็ม กุ้งแห้ง เครื่องปรุงรสอย่างผงปรุงรส ซุปก้อน ผงชูรส เต้าเจี้ยว ผงฟูที่ใช้ทำขนมปัง รวมไปถึงสารกันบูดในอาหารที่ช่วยยืดอายุของอาหารให้นานขึ้น


    โดยทั่วไป โซเดียมเป็นแร่ธาตุที่ช่วยรักษาสมดุลของน้ำและของเหลวในร่างกาย แต่สำหรับคนความดันสูง การกินอาหารที่มีโซเดียมบ่อยครั้งและกินติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้ไตขับโซเดียมไม่ทัน ส่งผลให้มีโซเดียมสะสมในร่างกายในปริมาณมาก ร่างกายบวมน้ำ และความดันโลหิตสูงขึ้น

    ปริมาณโซเดียมที่สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association หรือ AHA) แนะนำให้บริโภคต่อวัน คือ 2,500 มิลลิกรัม สำหรับคนทั่วไป และไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัม สำหรับคนความดันสูงหรือเป็นโรคที่เสี่ยงเกิดภาวะความดันโลหิตสูง เช่น โรคเบาหวาน โรคไต

    ตัวอย่างอาหารโซเดียมสูง

    • แฮมกระป๋อง 100 กรัม มีโซเดียมประมาณ 1,280 มิลลิกรัม
    • แตงกวาดองเปรี้ยว 100 กรัม มีโซเดียมประมาณ 1,210 มิลลิกรัม
    • โบโลน่าเนื้อ 100 กรัม มีโซเดียมประมาณ 1,010 มิลลิกรัม
    • ไส้กรอก 100 กรัม มีโซเดียมประมาณ 827 มิลลิกรัม
    • พิซซ่าชีสแบบแป้งกรอบ 100 กรัม มีโซเดียมประมาณ 624 มิลลิกรัม
    • เนื้อไก่แช่แข็งดิบ 100 กรัม มีโซเดียมประมาณ 518 มิลลิกรัม
    • คอตเทจชีส 100 กรัม มีโซเดียมประมาณ 403 มิลลิกรัม
    • ปลาแมคเคอเรลกระป๋อง 100 กรัม มีโซเดียมประมาณ 379 มิลลิกรัม
    • เส้นหมี่แห้ง 100 กรัม มีโซเดียมประมาณ 182 มิลลิกรัม

    ตัวอย่างเครื่องปรุงโซเดียมสูง

    • น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ (18 กรัม) มีโซเดียมประมาณ 1,410 มิลลิกรัม
    • น้ำมันหอย 1 ช้อนโต๊ะ (18 กรัม) มีโซเดียมประมาณ 491 มิลลิกรัม
    • ผงน้ำซุปราเมง 1 ห่อ (5.8 กรัม) มีโซเดียมประมาณ 108 มิลลิกรัม

    นอกจากนี้ คนความดันสูงยังควรหลีกเลี่ยงอาหารดังต่อไปนี้ด้วย

    • น้ำตาล เช่น น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลฟรุกโตส น้ำเชื่อมที่ทำจากผลไม้ต่าง ๆ อย่างแอปเปิ้ล อินทผลัม ข้าวโพด เป็นอาหารที่มีแคลอรีสูงแต่มีคุณค่าทางโภชนาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย หากกินมากเกินไปติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งอาจส่งผลให้หลอดเลือดเปราะและไม่แข็งแรง
    • ไขมันทรานส์ อาหารแปรรูปอย่างแครกเกอร์ มันฝรั่งทอด คุกกี้ มีไขมันทรานส์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย หากร่างกายมีไขมันทรานส์ส่วนเกินในกระแสเลือด อาจทำให้หลอดเลือดตีบตันเลือดไหลเวียนได้ยากขึ้น ส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดและทำให้ความดันโลหิตสูงตามไปด้วย

    ความดันสูงควรกินอะไร

    คนความดันสูงควรกินอาหารที่มีสารอาหารหลากหลายและมีโซเดียมไม่สูงเกินไป เช่น

    • ผลไม้รสเปรี้ยวหรือผลไม้ตระกูลซิตรัส เช่น เกรปฟรุต ส้ม ส้มโอ มะนาว เลมอน มีโพแทสเซียมที่ช่วยกำจัดโซเดียมออกจากร่างกาย ทั้งยังมีแคลเซียมซึ่งช่วยในการยืดและหดตัวของหลอดเลือด จึงอาจช่วยลดระดับความดันโลหิตได้
    • ผลไม้อื่น ๆ ที่มีโพแทสเซียม เช่น แอปเปิล กล้วย แคนตาลูป แตงไทย แตงโม แก้วมังกร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดน้ำและของเหลวออกจากร่างกาย จึงอาจช่วยลดระดับความดันโลหิตได้
    • ผักต่าง ๆ เช่น ผักใบเขียว แครอท มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า มีโซเดียมต่ำ และมีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อการควบคุมระดับโซเดียมอย่างโพแทสเซียม ทั้งยังช่วยขับปัสสาวะและลดปริมาณโซเดียมส่วนเกินในร่างกาย เหมาะสำหรับคนที่ความดันสูง
    • ปลาที่มีไขมันดี เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาทู ปลาช่อน ปลาสำลี เป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่อาจช่วยลดระดับความดันโลหิตโดยลดการอักเสบและลดปริมาณของออกซิลิพิน (Oxylipins) ซึ่งเป็นสารประกอบที่ทำให้หลอดเลือดหดตัวจนซึ่งส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกายตามหลอดเลือด
    • นมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว เช่น นมสดไขมันต่ำ กรีกโยเกิร์ต ชีสโซเดียมต่ำ อุดมไปด้วยแร่ธาตุหลายชนิด เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม ที่อาจช่วยลดระดับความดันโลหิตได้
    • ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวบาร์เลย์ ขนมปังโฮลวีท เป็นธัญพืชที่มีโซเดียมต่ำ อุดมไปด้วยเส้นใยอาหารที่ช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลินและช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด ต่างจากธัญพืชและขนมปังขัดสี เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว ที่อาจผ่านกระบวนการแปรรูปและเติมน้ำตาล โซเดียม และไขมันอิ่มตัวลงไป ทำให้เสี่ยงทำให้ความดันโลหิตสูง

    วิธีลดความดันสูง ทำได้อย่างไรบ้าง

    วิธีดูแลตัวเองสำหรับคนที่มีความดันโลหิตสูง อาจมีดังนี้

    • ออกกำลังกายเป็นประจำ อาจช่วยลดระดับความดันโลหิตได้ หากเลือกออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นปานกลาง เช่น เดิน ปั่นจักรยานอยู่กับที่ ว่ายน้ำ ควรทำอย่างน้อย 30 นาที/วัน เป็นเวลา 3-4 วัน/สัปดาห์ หรือหากเลือกออกกำลังกายเพื่อสร้างความแข็งแรง (Strength training) เช่น บอดี้เวท ยกน้ำหนัก ควรทำอย่างน้อย 2 วัน/สัปดาห์
    • ปรับพฤติกรรมการกินอาหาร โดยเลือกกินอาหารที่ผ่านการแปรรูปหรือถนอมอาหารให้น้อยลง หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด เผ็ดจัด หรือหวานจัด และกินผักและผลไม้สดเพราะมีโพแทสเซียมที่ช่วยลดระดับโซเดียมในร่างกาย
    • ลดหรืองดกินน้ำซุปหรือน้ำก๋วยเตี๋ยว เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไป
    • ก่อนเลือกซื้อและกินอาหาร ควรสังเกตปริมาณโซเดียมที่ฉลากโภชนาการเสมอ และแบ่งกินอาหารตามหน่วยบริโภค หรือปริมาณที่แนะนำต่อครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ได้รับโซเดียมจากอาหารมากเกินไป




    ที่มา  ::   hellokhunmor.com

    ความดันปกติ ผู้ใหญ่ เด็ก ผู้หญิง-ผู้ชาย เป็นเท่าไร

     

    ความดันปกติ ผู้ใหญ่ เด็ก ผู้หญิง-ผู้ชาย เป็นเท่าไร


    ความดันปกติ ผู้ใหญ่ เด็ก ผู้หญิง-ผู้ชาย เป็นเท่าไร


    ความดัน หรือ ความดันโลหิต เป็นค่าที่บ่งบอกสุขภาพของร่างกาย ความดันปกติเท่าไร ในอายุเด็กวัยทารก จนถึงวัยผู้สูงอายุ จึงเป็นความรู้รอบตัวที่ควรทราบไว้ เพราะเป็นสิ่งที่ใช้ชีวิตสุขภาพเบื้องต้น มาดูกันว่าความดันแบบไหน ปกติ Vs ไม่ปกติ


    ความดันปกติ คือ

    ความดันปกติ ที่เราเข้าใจกัน คือ 120/80 มิลลิเมตรปรอท แต่ค่าความดันนี้เป็นค่าความดันปกติของผู้ใหญ่ ตัวเลขตัวหน้ารู้จักกันภาษาตามคำเรียกว่า “ค่าตัวบน” และตัวเลขหลังเครื่องหมายทับ เรียกว่า “ค่าตัวล่าง”

    • ค่าตัวบน คือ ค่าความดันโลหิตตัวบน Systolic Blood Pressure ค่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดหัวใจบีบตัว
    • ค่าตัวล่าง คือ ค่าความดันโลหิตตัวล่าง Diastolic Blood Pressure ค่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดหัวใจคลายตัว

    การวัดความดันโลหิตมีหน่วยเป็น “มิลลิเมตรปรอท” ค่าความดันโลหิตตัวบนไม่ควรเกิน 140 และตัวล่างไม่ควรเกิน 90 มิลลิเมตรปรอท การวัดความดันโลหิตควรวัดซ้ำ 2-3 ครั้ง และก่อนวัดควรนั่งพักให้หายเหนื่อยก่อน



    ก่อนเข้าตรวจกับคุณหมอ ทั้งการตรวจสุขภาพและตรวจโรคต่างๆ จะต้องวัดความดันโลหิตเพื่อคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น และหากมีค่าความดันที่ผิดปกติ เข้าข่าย “โรคความดันโลหิตสูง” ก็ต้องพบแพทย์เพื่อรักษาอาการต่อไป


    ความดันโลหิตปกติ


    โรคความดันโลหิตสูง ค่าตัวบน/ค่าตัวล่าง

    • ความดันเหมาะสม 120/80
    • ความดันปกติ 120-129/80-84
    • ความดันสูงกว่าปกติ 130-139/85-89
    ค่าความดันปกติ

    ตารางความดันโลหิตตามอายุ โดยเฉลี่ย


    • วัยทารก

    ค่าความดันตัวบน 90
    ค่าความดันตัวล่าง 60

    • วัยเด็ก 3-6 ปี

    ค่าความดันตัวบน 110
    ค่าความดันตัวล่าง 70

    • วัยเด็กโต 7-17 ปี

    ค่าความดันตัวบน 120
    ค่าความดันตัวล่าง 80

    • วัยทำงาน 18 ปีขึ้นไป

    ค่าความดันตัวบน 140
    ค่าความดันตัวล่าง 90

    • วัยสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป

    ค่าความดันตัวบน 160
    ค่าความดันตัวล่าง 90


    ค่าความดันปกติ

    • วัยทารก : ไม่ควรเกิน 90/60 มิลลิเมตรปรอท
    • เด็กเล็ก 3 – 6 ปี : ไม่ควรเกิน 110/70 มิลลิเมตรปรอท
    • เด็กโต 7 – 17 ปี : ไม่ควรเกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท
    • วัยทำงาน 18 ปีขึ้นไป : ไม่ควรเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท
    • ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป : ไม่ควรเกิน 160/90 มิลลิเมตรปรอท 

             ดังนั้น ค่าความดันปกติที่เราคุ้นเคยอย่าง 120/80 ไม่ใช่ความดันปกติของทุกช่วงวัยนะคะ เช่น ถ้าวัดเด็กเล็ก แล้วได้ค่าความดัน 120/80 นั่นหมายถึงมีความดันสูงจนผิดปกติ เพราะฉะนั้น การดูช่วงวัยหรือช่วงอายุ ก็สำคัญนะคะ


    ค่าความดันปกติ คือ ค่าที่กล่าวมาข้างต้น แต่ค่าความดันต่ำ คือ ค่าตัวบนที่น้อยกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งหากวัดซ้ำหลายๆ ครั้งแล้วยังมีค่าความดัน Systolic Blood Pressure ยังน้อยกว่า 90 นั้นจะต้องเข้ารับการประเมินสุขภาพกับแพทย์ 




    วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2566

    เทคนิควัดความดันโลหิตที่บ้าน

     

    เทคนิควัดความดันโลหิตที่บ้าน

    SHARE:

    การวัดความดันโลหิตที่บ้านจำเป็นต้องวัดให้ถูกต้องเพื่อให้ได้ค่าที่แม่นยำที่สุด โดยปฏิบัติดังนี้


    1. งดดื่มชา กาแฟก่อนวัดความดันโลหิตอย่างน้อย 30 นาที
    2. ปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนวัดความดันโลหิต
    3. ควรวัดความดันในห้องที่เงียบสงบ งดการพูดคุยระหว่างวัดความดัน
    4. นั่งบนเก้าอี้และวางเท้าบนพื้นราบ ไม่นั่งไขว่ห้าง โดยให้หลังพิงพนักเก้าอี้
    5. วางแขนบนโต๊ะโดยให้ผ้าพันต้นแขนหรือ arm cuff อยู่ระดับเดียวกับหัวใจ
    6. ไม่เกร็งแขนขณะวัดความดันโลหิต

    เทคนิควัดความดันโลหิตที่บ้านบการวัดความดันโลหิตเองที่บ้านมากขึ้น เพราะเชื่อว่าค่าความดันโลหิตที่วัดจากที่บ้านมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าตัวเลขค่าความดันโลหิตที่วัดได้จากโรงพยาบาล ดังนั้นผู้ป่วยควรวัดความดันโลหิตที่บ้านแล้วจดบันทึก นำมาให้แพทย์ทุกครั้งตามนัดเพื่อให้แพทย์ประเมินเรื่องการปรับยา รวมถึงผู้ป่วยเองก็จะได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของค่าความดันตัวเองด้วย


    CR   ::     www.vejthani.com/