Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

การจัดฟัน คืออะไร

 การจัดฟัน คืออะไร


การจัดฟัน (Orthodontics) เป็นสาขาหนึ่งทางทันตกรรมเพื่อความงาม (cosmetic dentistry) ในการวิเคราะห์ วินิจฉัยและวางแผนป้องกันรักษาความผิดปกติของการเรียงฟัน การสบฟัน รวมถึงปัญหาที่เกี่ยวกับขากรรไกรที่จำเป็นต้องสัมพันธ์กับใบหน้า เป็นการรักษาเพื่อให้มีการสบฟันที่ดีขึ้น การบดเคี้ยวอาหารมีประสิทธิภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดฟันผุหรือโรคเหงือกอันเนื่องมาจากฟันเรียงตัวผิดปกติ และหลีกเลี่ยงการเกิดรอยสึกของฟันจากการเรียงฟันหรือการสบฟันที่ไม่เหมาะสม


อีกหนึ่งข้อสำคัญสำคัญไม่แพ้กัน การจัดฟันยังช่วยเสริมความมั่นใจให้กับรอยยิ้ม เสริมบุคลิกภาพ จากการที่มีฟันเรียงกันสวยงาม ซึ่งการจัดฟันจำเป็นต้องทำโดยทันตแพทย์เฉพาะทาง ในคลินิกทันตกรรมเฉพาะทาง หรือโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานเท่านั้นถึงจะดูแลรักษาฟันของเราให้มีความสวยงามและปลอดภัย




จัดฟันมีกี่แบบ?

รูปแบบชนิดของการจัดฟันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ

  1. การจัดฟันแบบติดเครื่องมือ : เป็นวิธีจัดฟันที่ใช้กันมาอย่างแพร่หลาย เครื่องมือทำด้วยวัสดุที่เป็นโลหะ
  2. การจัดฟันแบบไม่ติดเครื่องมือ : เป็นการจัดฟันแบบถอดได้ ไม่ต้องติดเครื่องมือจัดฟันบนฟัน ผู้มารับบริการ หลายคนอาจคุ้นกันในชื่อ Invisalign  

โดยทั้ง 2 ประเภทนี้ มีชนิดของเครื่องมือจัดฟันให้เลือกได้เหมาะสมกับตามความต้องการ แบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 แบบดังนี้


จัดฟันแบบโลหะ Metal



เป็นการจัดฟันที่ได้รับความนิยมมากที่สุดครับ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นจะเลือกการจัดฟันวิธีนี้ ซึ่งจะเป็นการจัดฟันโดยการติดเครื่องมือแบบโลหะไว้ที่ผิวด้านหน้าของฟัน ใส่ลวดผ่านร่อง Bracket และใช้ยางโอริง (O-ring) สีสันสดใสรัดตัวเครื่องมือจัดฟันให้ติดกับลวดจัดฟัน ทำให้การจัดฟันติดแน่น และต้องมีการปรับเครื่องมือทุก ๆ เดือน

ข้อดี : การจัดวิธีนี้จะเป็นการติดเครื่องมือที่ทำด้วยวัสดุที่เป็นโลหะ ผิวเรียบเป็นมันวาว ทำให้คราบอาหารและ จุลินทรีย์ติดได้ยากกว่าวัสดุชนิดอื่นครับ และยังเป็นการติดด้านนอกของฟัน จึงทำให้การทำความสะอาดได้ง่าย สะดวกขึ้น ราคาไม่แพง ถือว่าเป็น การจัดฟัน ราคาค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าตัวอื่น ระยะเวลาในการจัดฟัน 2 ปีขึ้นไป

เหมาะกับใคร: การจัดฟันแบบโลหะเหมาะกับนักเรียน นักศึกษา ที่มีงบประมาณจัดฟันจำกัด และผู้ที่มีเวลาสามารถมาพบทันตแพทย์ได้บ่อย ๆ


จัดฟันแบบเซรามิก Ceramic



จัดฟัน เซรามิก (Ceramic) เป็นการจัดฟันโดยใช้วัดสุแบบเซรามิกใส ที่ยึดติดกับผิวฟันด้านหน้า แล้วใส่ลวดผ่านร่อง Bracket และใช้ยางแบบใสรัดเครื่องมือจัดฟันให้ติดกับลวดจัดฟัน เพื่อช่วยควบคุมทิศทางการเคลื่อนตัวของฟัน มีสีใกล้เคียงกับสีฟัน ทำให้ฟันเรียงตัวสวย

ข้อดี : เครื่องมือจัดฟันประเภทนี้ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ ให้สีและความใสใกล้เคียงสีฟันมากที่สุดครับ ดังนั้นจึงมองไม่ค่อยเห็นว่าคนไข้กำลังจัดฟันอยู่

เหมาะกับใคร : การจัดฟันแบบจัดฟันเซรามิก เหมาะกับผู้ที่ต้องการจัดฟัน แต่ไม่อยากให้คนสังเกตชัดเจน เนื่องจากมีหน้าที่และบุคลิก ในการทำงาน คนไข้ต้องมาปรับเครื่องมือจัดฟันทุก ๆ 1 เดือน ใช้ระยะเวลาการจัดฟัน 2 ปีขึ้นไป


จัดฟันแบบใส Invisaliagn



จัดฟันแบบใส  หรือ เครื่องมือ จัดฟัน Invisalign เป็นนวัตกรรมการจัดฟันแบบใหม่ เน้นความสวยงามเป็นหลักครับ เพราะใช้เครื่องมือโปร่งใสช่วยปรับการเรียงตัวของฟัน เป็นเครื่องมือจัดฟันที่สามารถถอดใส่ได้จาก USA ข้อดี : การจัดฟันประเภทนี้จะมองไม่เห็นเครื่องมือ สะดวก ไม่ต้องทนเจ็บจากเครื่องมือแบบติดแน่น สามารถถอดใส่ง่าย รับประทานอาหารหรือเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ

เหมาะกับใคร : การจัดฟันประเภทนี้เป็นที่นิยมในกลุ่มดารา นักธุรกิจที่ต้องใช้หน้าตา และความน่าเชื่อถือ เพราะสามารถจัดฟันได้โดยไม่ต้องใส่เหล็กดัดฟัน สามารถพูด หรือออกเสียงได้อย่างชัดเจน โดยระยะเวลา

การจัดฟันโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 6 เดือน-2 ปีขึ้นไป  สามารถแบ่งเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

  • Invisalign i7
  • Invisalign lite
  • Invisalign moderate
  • Invisalign full


จัดฟันแบบดามอน Damon



จัดฟันแบบดามอน เป็นการจัดฟันด้วย Bracket ชนิดดามอนซิสเต็ม เป็นการจัดแบบใหม่ไม่ต้องใช้ยางรัด มีประสิทธิภาพสูง มีกลไกการบานพับขนาดเล็กที่ยึดกับลวดอย่างหลวม ๆ เพื่อดึงให้ฟันเคลื่อนตัว

ข้อดี : การจัดฟันดามอน (Damon) ไม่ต้องใช้ยาง ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาเรื่องยางขาด หรือยางเสื่อมสภาพและแทบไม่ต้องถอนฟันออกสักซี่ เพราะใช้เทคโนโลยีแบบ self-ligating ลักษณะจะเป็นบานพับเปิดปิด ลดแรงเสียดทาน ส่งผลให้ฟันเคลื่อนที่ไว ซึ่งได้รับการรับรองจากแพทย์ว่าช่วยลดระยะเวลาในการจัดฟันน้อยลง เมื่อเทียบกับการจัดฟันแบบโลหะ และขณะเดียวกันตอนปรับเครื่องมือยังเจ็บน้อยกว่า เนื่องจากไม่ได้ใช้ยางมัด จัดฟันดามอน มี 2 รุ่นคือ

  • Damon Q ที่เป็นโลหะ
  • Damon clear เป็นแบบใส

เหมาะกับใคร: เหมาะกับทุกเพศทุกวัย เพราะสามารถดูเเลความสะอาดฟันได้ง่าย ลดโอกาสการเกิดฟันผุ และโรคเหงือกอักเสบได้




การจัดฟันครั้งแรก เริ่มต้นอย่างไร

เมื่อตัดสินใจแล้วว่าต้องการจัดฟัน สำหรับคนที่เข้ารับการจัดฟันครั้งแรก หมอแนะนำให้เลือกทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟันโดยเฉพาะได้รับการรับรองจากสมาคมจัดฟันแห่งประเทศไทยครับ เพื่อให้ทันตแพทย์ช่วยพิจารณาวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมในแต่ละบุคคล อาทิ ความจำเป็นจะต้องถอนฟันหรือไม่

ถ้าจำเป็นต้องถอน จะต้องถอนกี่ซี่ หรือบางคนไม่จำเป็นต้องถอน สามารถใช้เครื่องมืออื่น เช่น มินิสกรู (miniscrew) ในการช่วยรักษาจัดฟันได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องประเมินจากโครงสร้างฟันและใบหน้าของแต่ละคนครับ โดยทันตแพทย์ของเราจบจัดฟันจากมหิดลครับ (เฉพาะทางจัดฟันในระบบ) ได้รับการรับรองว่าเป็นทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจัดฟันจากสมาคมจัดฟันแห่งประเทศไทย

ดังนั้นคนไข้จึงสามารถเชื่อมั่นและเชื่อใจในตัวหมอของเราได้ครับนอกจากนี้ยังมีวิธีการจัดฟันให้เลือกหลายแบบ แต่ละแบบก็มีรายละเอียดข้อดีและราคาแตกต่างกันไป ดังนั้นคนไข้ที่ต้องการจัดฟันควรศึกษาให้ดีก่อนจัดฟัน


ปัญหาการเรียงตัวของฟัน

หลาย ๆ คนอาจมีข้อสงสัยว่าทำไมการเรียงตัวของฟันของแต่ละคนถึงแตกต่างกันหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง สาเหตุของความแตกต่างและการเปลี่ยนแปลงแบ่งออกได้ 3 ปัจจัยคือ

  1. กรรมพันธุ์ : การเรียงตัวของฟันแต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์เป็นตัวกำหนด ซึ่งมีผลต่อขนาด รูปร่างและความสัมพันธ์ระหว่างขากรรไกร ขนาดของฟันใหญ่หรือเล็กในแต่ละบุคคล ฟันยื่น ฟันซ้อนเก ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุดครับ
  2. จำนวนซี่ฟันที่หายไปหรือเกิน : จำนวนฟันที่มี หากขาดหายไป ทั้งจากการถอนฟันหรืออุบัติเหตุ ก็อาจทำให้ฟันที่เหลืออยู่ขาดสมดุล เกิดล้มหรือเอียงได้ครับ อีกกรณีคือมีฟันเกิน จนเกิดการเบียดอยู่ในช่องปากทำให้เรียงตัวไม่สวยงาม
  3. นิสัยบางอย่างที่มีผลต่อฟัน : เช่น การดูดนิ้ว กัดเล็บ การกลืนโดยเอาลิ้นดุนฟัน การหายใจทางปาก อาจทำให้ ฟันห่าง ฟันยื่น หรือการถอนฟันน้ำนมก่อนเวลาที่สมควร ก็มีผลต่อการเรียงตัวของฟัน



จัดฟันช่วยเรื่องอะไรบ้าง?

1. การจัดฟันช่วยให้การเรียงฟันเป็นระเบียบสวยงามมากยิ่งขึ้นครับ ใครที่สงสัยว่าปัญหาของตนเองแก้ไขด้วยการจัดฟันดีไหม ต้องให้ทันตแพทย์ช่วยประเมินปัญหา  เช่น

  • มีปัญหา ฟันเก (Over Crowding)
  • ภาวะสบลึก (Deep overbite)
  • ภาวะสบเปิดหรือการสบฟันหน้าไม่สนิท (Open bite)
  • ขากรรไกรบนยื่น (Overjet)
  • ขากรรไกรล่างยื่น(Under-bite)
  • การสบฟันแบบไขว้ (Cross-bite Occlusion)

การจัดฟันสามารถปรับแนวฟันให้เรียงตัวเป็นระเบียบ และช่วยรักษาสุขภาพช่องปากดีขึ้น ลดปัญหาฟันผุได้ เพราะฟันที่เรียงตัวไม่เป็นระเบียบนี้ เป็นที่มาของเศษอาหาร ที่ไปติดอยู่ตามซอกหลืบของฟัน สาเหตุหลักของฟันผุครับ

2. ช่วยให้การดูแลรักษาฟันเป็นเรื่องง่ายขึ้น เมื่อฟันเรียงตัวดี อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ก็สามารถทำความสะอาดได้ง่ายขึ้นครับ ช่วยลดโอกาสการสูญเสียฟันในอนาคต ทำให้ฟันอยู่กับเราได้ยาวนาน

3. ช่วยปรับรูปหน้าให้เข้าที่ การจัดฟันทำให้ใบหน้าเข้าที่มากขึ้น แก้ปัญหาการฟันสบ ฟันล่างยื่น หรือฟันเหยินได้ ส่งผลให้เจ้าของใบหน้ามีความมั่นใจ กล้าพูด กล้ายิ้มมากขึ้น



ขั้นตอนการจัดฟัน

ขั้นตอนการจัดฟันเบื้องต้นมีวิธีการคล้าย ๆ กันครับ แต่อาจมีข้อแตกต่างในแต่ละประเภท คือ การจัดฟันด้วยเครื่องมือเเบบติดเเน่น และการจัดฟันแบบไม่ติดเครื่องมือ แต่การเตรียมตัวก่อนจัดฟันคล้ายกัน แบ่งเป็น 8 ขั้นตอนดังนี้



  1. ปรึกษาทันตแพทย์ เมื่อตัดสินใจจัดฟันครั้งแรก ต้องปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟันโดยตรงครับ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยปัญหาของแต่บุคคล ตรวจรูปหน้า โครงสร้างกระดูกขากรรไกรและฟัน พร้อมทั้งซักประวัติ เช่น มีโรคประจำ ประวัติการแพ้ยา หรือยาที่กำลังใช้อยู่ในปัจจุบันว่ามีหรือไม่ เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม ขณะเดียวกันในช่วงเวลานี้ ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดฟันในแต่ละวิธีการให้ทราบ เพื่อให้คนไข้ตัดสินใจว่าแบบไหนตรงความต้องการมากที่สุด 
  2. วางแผนการจัดฟัน เมื่อคนไข้เลือกวิธีการจัดฟันที่เหมาะกับตนเองได้เเล้ว ทันตแพทย์จะแจ้งแผนการรักษาคร่าว ๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการรักษา และทำการพิมพ์ปาก สร้างแบบจำลองฟัน
  3. ถ่ายภาพ x-ray คนไข้ต้องทำการพิมพ์ฟัน และ x-ray ได้แก่ Panoramic, Lateral cephalometric หรือ PA cephalometric (ถ้าจำเป็น) เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการวินิจฉัย ประเมินฟัน กระดูกขากรรไกรบนและล่าง ดูการสบของฟัน และออกแบบการจัดฟันเพื่อให้เข้ารูปสวยงาม และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. เคลียร์ช่องปาก การเคลียร์ช่องปาก คือการเตรียมให้ช่องปากของเราพร้อมที่จะจัดฟัน โดยทันตแพทย์ต้องเช็คสุขภาพในช่องปากก่อนเริ่มการจัดฟัน ได้แก่ การอุดฟัน ขูดหินปูน ถอนฟัน หรือผ่าฟันคุด เป็นต้น เพราะถ้าได้ติดเครื่องมือจัดฟันไปแล้ว แล้วต้องทำการอุดฟัน หรือทำการรักษาฟันใด ๆ จะทำให้การรักษานั้นยุ่งยาก และช่วยให้การจัดฟันประสบผลสำเร็จได้ด้วยดี ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจจะต้องใช้ระยะเวลานานในบางคนครับ หากมีปัญหาฟันผุ หรือเหงือกอักเสบมาก ๆ
  5. นัดติดเครื่องมือ ขั้นตอนนี้จะแยกออกเป็น 2 รูปแบบ
    1. จัดฟันโดยติดเครื่องมือ เมื่อทันตแพทย์ทำการติดเครื่องมือแล้ว จะมีการนัดหมายเพื่อปรับเครื่องมือทุก ๆ 1-2 เดือน ตามประเภทเครื่องมือจัดฟัน ซึ่งในช่วงแรกอาจจะเจ็บบ้างเล็กน้อยในช่วงนี้ครับ
    2. จัดฟันแบบไม่ติดเครื่องมือ หรือจัดฟันใส ทันตแพทย์จะนัดใส่เครื่องมือจัดฟัน พร้อมแนะนำวิธีการดูแลระหว่างใส่ เพราะการจัดฟันวิธีนี้สามารถถอดออกได้ระหว่างจัดฟัน โดยเครื่องมือถูกออกแบบมาเฉพาะบุคคล เพื่อจัดระเบียบกล้ามเนื้อ และส่งผลต่อการเจริญเติบโตของขากรรไกร โดยเครื่องมือจัดฟันจะส่งแรงกดไปบนฟันอย่างนุ่มนวลเพื่อให้ฟันเคลื่อนที่บนกระดูกขากรรไกร จากนั้นทันตแพทย์จะนัดเปลี่ยนชุดเครื่องมือตามแผนที่วางไว้ครับ ในการนัดหมายแต่ละครั้ง คนไข้ควรจะต้องมาให้ตรงตามนัด เพื่อให้แผนการรักษาไม่คลาดเคลื่อน
  6. การดูแลช่องปากและฟันหลังจัดฟัน ในระหว่างจัดฟันจำเป็นต้องการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างดีครับ เช่น แปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร และใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี และสม่ำเสมอ เข้าพบทันตแพทย์ตรวจเช็คช่องปาก ขูดหินปูน ทุก 3-6 เดือน เพื่อป้องกันการเกิดเหงือกอับเสบระหว่างการจัดฟัน
  7. นัดถอดเครื่องมือ เมื่อแผนการจัดฟันเป็นไปตามที่วางไว้ ทันตแพทย์ก็จะนัดถอดเครื่องมือจัดฟัน และจะให้ใส่รีเทนเนอร์ครับ แนะนำคนไข้จะต้องใส่ต่อเนื่องอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ฟันคงอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องสวยงามตลอดไป
  8. ติดตามผล ทันตแพทย์จะนัดติดตามการใส่รีเทนเนอร์ทุก ๆ 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน และทุก ๆ 1 ปี


เมื่อผ่านขั้นตอนการจัดฟัน คุณหมอขอแนะนำให้คนไข้ศึกษาวิธีการดูแลหลังจัดฟัน

เพื่อให้ฟันเรียงตัวสวย มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น 


Orthodontics   ,  จัดฟันคืออะไร   ,  จัดฟันมีกี่แบบ   ,  การดัดฟัน   , ข้อดีของการดัดฟัน   ,   ข้อเสียของการดัดฟัน


ขอบคุณที่มา    ::      https://smileandcodentalclinic.com/orthodontic/

วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

Tooth fairy

 

Tooth fairy



The tooth fairy is a folkloric figure of early childhood in Western and Western-influenced cultures.  The folklore states that when children lose one of their baby teeth, they should place it underneath their pillow or on their bedside table; the Tooth Fairy will visit while they sleep, replacing the lost tooth with a small payment.



Origins

During the Middle Ages, other superstitions arose surrounding children's teeth. Children in England were instructed to burn their baby teeth, on pain of spending eternity searching for the baby teeth in the afterlife. Fear of witches was another reason to bury or burn teeth. In medieval Europe, it was thought that a witch could assume total power over someone if they were to obtain one of their teeth. 

Another modern incarnation of these traditions into an actual Tooth Fairy has been traced to a 1908 "Household Hints" item in the Chicago Daily Tribune:

Tooth Fairy. Many a refractory child will allow a loose tooth to be removed if he knows about the Tooth Fairy. If he takes his little tooth and puts it under the pillow when he goes to bed the Tooth Fairy will come in the night and take it away, and in its place will leave some little gift. It is a nice plan for mothers to visit the 5-cent counter and lay in a supply of articles to be used on such occasions. 

 

— Lillian Brown, Tooth Fairy, Chicago Daily Tribune


Appearance


Unlike Father Christmas and, to a lesser extent, the Easter Bunny, there are few details of the Tooth Fairy's appearance that are consistent in various versions of the myth. A 1984 study conducted by Rosemary Wells revealed that most, 74 percent of those surveyed, believed the Tooth Fairy to be female, while 12 percent believed the Tooth Fairy to be neither male nor female, and 8 percent believed the Tooth Fairy could be either male or female.  When asked about her findings regarding the Tooth Fairy's appearance, Wells explained: "You've got your basic Tinkerbell-type Tooth Fairy with the wings, wand, a little older and whatnot. Then you have some people who think of the tooth fairy as a man, a bunny rabbit, or a mouse."  One review of published children's books and popular artwork found the Tooth Fairy to be depicted in many different forms, including as a child with wings, a pixie, a dragon, a blue mother-figure, a flying ballerina, two little older men, a dental hygienist, occasionally a female dentist, a potbellied flying man smoking a cigar, a bat, a bear, and others. Unlike the well-established imagining of Santa Claus, differences in renderings of the Tooth Fairy are not as upsetting to children. 



Depiction on coins and currency 


Starting in 2011, the Royal Canadian Mint began selling special sets for newborn babies, birthdays, wedding anniversaries, "Oh Canada", and the Tooth Fairy. The Tooth Fairy quarters, which were issued only in 2011 and 2012, were packaged separately. 

In 2020, the Royal Australian Mint began issuing "Tooth Fairy kits" that included commemorative $2 coins.


Reward


The reward left varies by country, the family's economic status, amounts the child's peers report receiving, and other factors.  A 2013 survey by Visa Inc. found that American children receive $3.70 per tooth on average.  According to the same survey, only 3% of children find a dollar or less and 8% find a five-dollar bill or more under their pillow. 

The reward is affected by inflation.  According to data gathered by the American dental insurance company Delta Dental, the average payout per tooth in the United States rose from $1.30 in 1998 to $6.23 in 2023.  According to Delta Dental, the payout's trends typically mirror macroeconomic conditions and the S&P 500 stock index. 

Delta Dental found that the first tooth lost gets a higher reward than other teeth on average in the United States.



Belief


Belief in the Tooth Fairy is viewed in two very different ways. On the one hand, children's beliefs are seen as part of the trusting nature of childhood. Conversely, belief in the Tooth Fairy is frequently used to label adults as being too trusting and ready to believe anything. 

Parents tend to view the myth as providing comfort for children in losing a tooth.  Research finds that belief in the Tooth Fairy may comfort a child experiencing fear or pain from losing a tooth.  Mothers especially seem to value a child's belief as a sign that their "baby" is still a child and is not "growing up too soon".  By encouraging belief in a fictional character, parents allow themselves to be comforted that their child still believes in fantasy and is not yet "grown up". 

Children often discover the Tooth Fairy is imaginary as part of the age 5- to 7-year shift, often connecting this to other gift-bearing imaginary figures (such as Santa Claus and the Easter Bunny). 

Author Vicki Lansky advises parents to tell their children early that the tooth fairy pays much more for a perfect tooth than a decayed one. According to Lansky, some families leave a note with the payment, praising the child for good dental habits. 

Research findings suggest a possible relationship between a child's continued belief in the Tooth Fairy (and other fictional characters) and false memory syndrome



Related myths

El Ratón Pérez (Spain and Latin America) 

In Spain and Hispanic America, El Ratoncito Pérez or Ratón Pérez (lit. transl. Perez the Little Mouse or Perez Mouse) is equivalent to the Tooth Fairy. He first appeared in an 1894 tale written by Luis Coloma for King Alfonso XIII, who had just lost a milk tooth at the age of eight.  As is traditional in other cultures, when a child loses a tooth it is customary for the child to place it under the pillow so that El Ratoncito Pérez will exchange it for a small payment or gift. The tradition is almost universal in Spanish cultures, with some slight differences.

He is generally known as "El Ratoncito Pérez",  except for some regions of Mexico, Peru, and Chile, where he is called "El Ratón de los Dientes" (transl. The Tooth Mouse), and in Argentina, Venezuela, Uruguay, and Colombia, where he is known simply as "El Ratón Pérez". He was used by Colgate marketing in Venezuela  and Spain.


Elsewhere in Europe 

In Italy, the Tooth Fairy (Fatina dei denti) is also often replaced by a tiny mouse named Topolino. In some areas the same role is held by Saint Apollonia, known as Santa Polonia in Veneto.  (Saint Apollonia's legendary martyrdom involved having her teeth broken; she is frequently depicted artistically holding a tooth and is considered the patron saint of dentistry and those with toothache and dental problems.)

In France and French-speaking Belgium, this character is called La Petite Souris (The Little Mouse). From parts of Lowland Scotland comes a tradition similar to the fairy mouse: a white fairy rat who purchases children's teeth with coins.

In Catalonia, the most popular would be Els Angelets (little angels) and also "Les animetes" (little souls) and as in the other countries, the tooth is placed under the pillow in exchange of a coin or a little token.

In the Basque Country, and especially in Biscay, there is Mari Teilatukoa ("Mary from the roof"), who lives in the roof of the baserri and catches the teeth thrown by the children. In Cantabria, he is known as L'Esquilu de los dientis ("the tooth squirrel). 



Asia and Africa

In Japan, a different variation calls for lost upper teeth to be thrown straight down to the ground and lower teeth straight up into the air; the idea is that incoming teeth will grow in straight. 

In Korea, throwing both upper and lower teeth on the roof was common.  The practice is rooted around the Korean national bird, the magpie. It is said that if the magpie finds a tooth on the roof, it will bring good luck.  Some scholars think the myth derived from the word 까치(Ka-chi) which was a middle Korean word for magpies that sounds similar to "new teeth", or because of the significance of magpies in Korean mythology as a messenger between gods and humans. 


In Middle Eastern countries

 (including Iraq, Jordan, Egypt, and Sudan), there is a tradition of throwing a baby tooth up into the sky to the sun or to Allah. This tradition may originate in a pre-Islamic offering dating back to the 13th century. It was also mentioned by Izz bin Hibat Allah Al Hadid in the 13th century. 

In Mali, children throw baby teeth into the chicken coop to receive a chicken the following day. 

In Afrikaans speaking families in South Africa, children leave their teeth in a shoe so that the Tandemuis (Tooth Mouse) can replace the teeth with money.




In popular culture


In 1927, a children's playwright, Esther Watkins Arnold, brought to life an extraordinary, elf-like creature, in an 8-page playlet. She playfully christened it as the "Tooth fairy", and this mythical creature had the power to fly around visiting young children, to collect their fallen (milk) teeth.


See also

  • Don't Be Afraid of the Dark – A film featuring an early version of the creatures
  • Fairy
  • Ratoncito Pérez – Spanish tooth mouse
  • Hammaspeikko – Finnish tooth troll
  • Hogfather – Discworld novel featuring their version of the Tooth Fairy



CR   ::      https://en.wikipedia.org/wiki/Tooth_fairy

ทูธแฟรี (tooth fairy) เทพพิทักษ์ฟัน

 ทูธแฟรี







ทูธแฟรี (อังกฤษ: tooth fairy) หรือ เทพพิทักษ์ฟัน เป็นความเชื่อตามประเพณีของตะวันตก ว่าเมื่อเด็กเล็กฟันน้ำนมหลุด   แล้วนำฟันซี่นั้นไปวางไว้ใต้หมอน ตอนกลางคืนเมื่อเด็กหลับจะมีเทพยดานำฟันซี่นั้นไป แลกเปลี่ยนกับเงินจำนวนหนึ่ง



เรื่องราวนี้มีที่มาจากประเทศในยุโรป ที่จะนำฟันน้ำนมเด็กไปฝังดิน โดยเฉพาะฟันซี่ที่ 6 เป็นธรรมเนียมที่พ่อแม่จะวางเงิน หรือของขวัญไว้ใต้หมอนเพื่อเป็นของแลกเปลี่ยน ในประเทศยุโรปเหนือ มีประเพณีของชาวไวกิง ว่าจะต้องมีการจ่ายค่าธรรมเนียม เมื่อฟันน้ำนมซี่แรกหลุด  และสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ สแกนดิเนเวีย



tooth fairy  ,   ทูธแฟรี   ,  Tooth Fairy  ,    เทพพิทักษ์ฟัน   



CR   ::      https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B8%98%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B5


แฟรี่ (Fairy) คืออะไร?

 แฟรี่ (Fairy) คืออะไร?


ตำนานสัตว์มหัศจรรย์





ตอน แฟรี่

เมื่อจะเล่าถึงเรื่องแฟรี่
ตามพจนานุกรมไทยไม่ว่าตอนนี้หรือตอนไหน คำนี้แปลว่านางฟ้า ตอนเด็กๆ ก็เข้าใจว่าคงเหมือนเทวดานางฟ้าบ้านเราที่อาศัยอยู่บนสวรรค์ แต่...ยิ่งเวลาผ่านมากเข้า มันไม่ยักใช่อย่างนั้น แฟรี่ไม่เหมือนนางฟ้าในมโนนึกแต่ประการใด แต่เป็นสิ่ง (ที่คาดว่ามี และ..) มีชีวิต อาศัยอยู่บนพื้นแผ่นดิน อย่างยิ่งในอังกฤษ ดังนั้น ขอเรียกว่า
แฟรี่ ภูตแผ่นดิน ท่านผู้อ่านจะเข้าใจมากกว่า




แฟรี่ (Fairy) คืออะไร?

ฝรั่งเจ้าตำนานท่านว่าไว้ว่า แฟรี่คืออมนุษย์ชนิดหนึ่ง หรือจะเรียกว่าภูตแผ่นดินชนิดหนึ่งก็ไม่น่าจะผิด แต่เดิมเชื่อว่าพวกนี้คล้ายคน สูงสง่าหน้าตาดี ก็คำว่าแฟรี่ fairy (fair=สวย สำอาง ผ่อง พริ้งเพราฯลฯ) โดยนัยก็มีหมายความแบบนี้อยู่แล้ว กระนั้นกระแสเดิมก็ยังว่า คำนี้เดิมมาจากคำละตินว่า fata หมายถึง “fate” ชะตากรรม เลยมีการเชื่อมต่อแฟรี่เข้ากับเทพีชะตากรรม เทพีเฟทของกรีกผู้กุมชะตาชีวิตมนุษย์ แต่ก็มีทฤษฎีรากเดิมอื่นๆอีกนะครับที่ถือว่า แฟรี่คือ “เทวดาที่ถูกลดขั้น” ต้องอยู่ระหว่างสวรรค์และนรก (ซึ่งก็คือโลกมนุษย์ของเรานี่ล่ะ) พวกนี้จึง
มีอุปนิสัยทั้งดีและร้ายระคนกัน แฟรี่มีทั้งเพศหญิงและเพศชาย รูปร่างเหมือนมนุษย์ตัวเล็กๆ อยู่ในวัยหนุ่มสาวเสมอ ฉลาดเฉลียวเป็นพวกอมตะไม่ตาย หรือไม่ก็มีช่วงอายุนานจนเลยอายุปกติของมนุษย์ แฟรี่เป็นพวกมีพลังวิเศษ มีฤทธิ์เวทมนตร์ ดูเหมือนจะมากกว่าภูตแผ่นดินชนิดอื่นๆ สามารถเหินไปในอากาศได้ ร่ายเวทย์ ทำนายอนาคตได้ และที่สำคัญอวยพรให้มนุษย์ได้ ส่วนจะเป็นพรดีหรือพรร้ายก็แล้วแต่โชคชะตาฟ้าลิขิตว่ามนุษย์คนนั้นเจอแฟรี่แบบไหน หรืออารมณ์ไหน
คาดว่าพวกแฟรี่น่าจะตัวสูงสง่าหล่อเหล่าอยู่นานทีเดียว กระทั่งมาถึงศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมานั่นแหละ ไปไงมาไง ไม่รู้ตัว
แฟรี่ก็ชักจะหดลงเรื่อยๆ จนเหลือแค่ระดับหัวเข่ามนุษย์ ไล่เลี่ยกับภูตแผ่นดินอื่นๆ ไม่ว่าพิกซี่ โนม หรือเลเปอคาน ฯลฯ ต่างกันตรงที่
แฟรี่มักไม่ค่อยมีพวกหน้าตาน่าเกลียดเหมือนภูตแผ่นดินชนิดอื่นๆ ส่วนใหญ่หน้าตาดีกันหมด
ว่าถึงความสามารถที่จะเหินไปในอากาศของแฟรี่ เมื่อก่อนก็ไปด้วยอำนาจเวทย์ของตนหรือไม่ก็ขี่หลังนก แต่พอมาถึงสมัยวิกตอเรียเป็นต้นมาแฟรี่กลายเป็นภูติแผ่นดินมีปีกซะงั้น (คาดว่าคงมาจากภาพถ่ายใช้เทคนิคแต่งภาพจากฝีมือคนที่อ้างว่าถ่ายตัวแฟรี่ได้) มีทั้งแบบที่เป็นปีกผีเสื้อและปีกแมลงถ้านึกไม่ออกก็ลองนึกถึงตัวการ์ตูนละคร
ทิงเคอร์เบลล์ในเรื่องปีเตอร์แพน นั่นล่ะ...แฟรี่มีปีก

ที่อยู่ของแฟรี่
ไม่ว่าจะมีการกล่าวว่ารากเดิมมาจากไหน แต่เผ่าพันธุ์แฟรี่แฝงตนอยู่ใน (ความเชื่อของคน..) อังกฤษ เช่นเดียวกับภูตแผ่นดินพันธุ์อื่น พวกมันยึดภูมิลำเนาอยู่ทั่วไปยกเว้นแถบคอร์นวอลล์
เดวอนและซอมเมอร์เซ็ท เพราะที่นั่นเป็นอาณาเขตของอมนุษย์ตัวเล็กอีกหลายประเภท
แฟรี่จะเลือกชุมนุมกันอยู่ ณ ทำเลที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นป้อมปราการของมนุษย์โบราณหรือหุบเขาตื้นๆที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก ลานดินโบราณที่มีรูปเป็นวง เรียกว่า ป้อมแฟรี่ (fairy forts - อะไรที่เป็นวงๆอยู่กลางป่า นับว่าเกี่ยวข้องกับแฟรี่หมด เช่น Fairy Ring หรือวงแหวนภูต ก็คือเห็ดที่งอกต่อกันเป็นรูปวงกลมในป่า อาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง ๑๐ เมตรทีเดียว วงแหวนภูตนี้ บางทีเป็นวงหญ้าที่ขึ้นเป็นสันกลม หรือดินที่มีร่องลึกเป็นวงกลมก็ล้วนเป็นวงแหวนภูตทั้งนั้นครับ) ที่สำคัญตามพุ่มไม้หนามก็เป็นที่โปรดปรานของชาวแฟรี่จนชาวบ้านอังกฤษจะไม่กล้าตัดแม้มันจะขวางทางเพราะต้องเสี่ยงกับการโดนแฟรี่หมายหัวโดยไม่จำเป็น
พวกแฟรี่มีการจัดลำดับขั้นอยู่เหมือนกันนะ แบ่งออกเป็นสองกลุ่มครับ คือพวกที่อยู่กันเป็นสังคมเมือง กับพวกที่ชอบอยู่โดดเดี่ยว แถมด้วยพวกนิสัยดีกับนิสัยเลวอีกต่างหาก คล้ายๆคนเลยครับ
พวกแรกแฟรี่สังคมเมืองมักสวมเสื้อผ้าสีเขียว แฟรี่พวกนี้มักชอบจับกลุ่มกันเต้นรำร้องเพลงเป็นที่สำราญใจ ส่วนพวกโดดเดี่ยวอยู่ป่าจะแต่งตัวด้วยสีแดงน้ำตาลหรือเทามากกว่าสีเขียว พวกนี้ดูถูกการเต้นรำและความสำราญของแฟรี่สังคม แฟรี่โดดเดี่ยว มักผูกพันกับครัวเรือนแห่งใดแห่งหนึ่งหรือสถานที่ หรือที่ยึดครองใดๆ แต่ชอบติดต่อกับมนุษย์
ไม่ว่ามันจะเป็นภูตแผ่นดินแบบสังคมหรือโดดเดี่ยว นิสัยของมันก็เป็นสิ่งที่ชาวบ้านพึงระวัง เพราะไม่มีใครรู้ว่าแฟรี่ตนใดเป็นพวกดี หรือพวกร้ายกันแน่ แฟรี่ดีชอบมองหาความช่วยเหลือจากมนุษย์และตอบแทนความเมตตาของคนด้วยของขวัญและอวยพรความปรารถนาแก่คนๆนั้น ส่วนพวกร้ายก็แตกต่างจากพวกแรกลิบลับ มันจะร้ายกับมนุษย์โดยเฉพาะคนเดินทางตอนกลางคืน แฟรี่ร้ายพวกนี้จะปรากฏตัวเป็น
กลุ่มประมาณว่ายกโขยงกันมานั่นแหละ แล้วจัดการร่ายมนต์ทำให้หลงทางหรือไม่ก็หอบตัวคนๆนั้นขึ้นไปลอยคว้างอยู่กลางอากาศ ถ้าหาทางเล่นงานอย่างอื่นๆไม่ได้ น้อยที่สุดก็เอาผมคนๆนั้นพันกันเล่นจนเป็นปมยุ่งไปทั้งหัว

แฟรี่ ตัวขโมยเด็ก
แฟรี่เป็นภูตแผ่นดินที่ชอบยุ่งกับคนมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับทารกเกิดใหม่ ราวกับพวกมันมีสัมผัสพิเศษกับเด็กน้อย ไม่ว่าจะมีทารกเกิดอยู่ที่ไหนแฟรี่เป็นต้องรู้ และต้องหาทางดั้นด้นไปอวยพรตามถนัด แต่ในกรณีอันตรายสุดๆ คือถ้าทารกนั้นดันต้องใจพวกแฟรี่เข้า คราวนี้ไม่อวยพรแล้วละ...แต่ขโมยเลย ว่ากันว่าภูตแผ่นดินชนิดนี้ทนความน่ารักของเด็กไร้เดียงสาไม่ได้ จึงยอมทุกอย่างที่จะได้ตัวเด็กมาเลี้ยงดู ยิ่งน่ารักยิ่งอยากได้ พวกมัน
จะลักตัวเด็กแล้วแทนที่ไว้ด้วยเด็กชาวแฟรี่ หรือไม่ก็แค่ท่อนไม้ท่อนหนึ่งซึ่งพวกมันเรียกว่าการแลกเปลี่ยน (..ได้ยังไง)
อย่าว่าแต่เด็กเลยครับ แม้ แต่หญิงสาวหรือชายหนุ่ม หากมันอยากได้ไปใช้งาน ตั้งแต่การเพาะปลูกที่แฟรี่ทำเองไม่ได้ไปถึงงานอื่นๆ คนใดที่ถูกหมายหัวย่อมไม่มีทางพ้นมือ พวกเขาหรือเธออาจถูกล่อหลอกพาไปยังโพรงใต้เนินแถวเนินร้างโบราณ ที่ที่เชื่อว่าแฟรี่อาศัย ใครก็ตามที่ถูกแฟรี่ลวงไป หากกินอาหารของพวกนี้เข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีทางได้กลับมายังอาณาเขตมนุษย์ได้อีกเลย
แต่ที่น่ากลัวกว่านั้นคือ คนที่ถูกลักพาไปแล้วอาจเป็นอันตรายถึงตาย ถ้าหากต่อมาเกิดทำอะไรไม่ถูกใจแฟรี่ก็มีสิทธิ์กลายเป็นศพถูกทิ้งอยู่ตามป่าในลักษณะซีดแห้งได้ง่ายๆ

นิสัยของแฟรี่

พวกแฟรี่แม้แต่เป็นพวกดีก็ไว้ใจไม่ได้ ภูตแผ่นดินพวกนี้มีนิสัยประจำเผ่าพันธุ์อย่างหนึ่งนั่นคืออารมณ์แปรปรวนง่ายมาก แค่เข้าไปให้พรเด็กแต่ละคนแต่ละครั้ง ถ้าไปเจออาการกิริยาไม่ให้เกียรติ ไม่ว่าจะจากเจ้าของบ้านหรือญาติ ย่อมหมายความว่า เด็กน้อยนั้นเข้าขั้นซวยตั้งแต่เกิด แทนที่แฟรี่จะให้พร เลยกลายเป็นสาปแทน อย่างนางฟ้าที่มาอำนวยพรในเรื่องเจ้าหญิงนิทรา แล้ว
กลายเป็นเรื่องทะเลาะเบาะแว้งจนนางเอกของเรื่องต้องโดนสาป..ก็นี่ละครับพวกแฟรี่
อารมณ์เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายของแฟรี่จึงเป็นเรื่องน่าขยาดสำหรับชาวบ้านในถิ่นที่มีพวกแฟรี่อยู่กันชุกชม พวกเขาก็เลยหาทางหาสิ่ง
ที่จะป้องกันตัวจากพวกแฟรี่ติดตัวไว้บ้าง ของป้องกันตัวนั้น คือเหล็กครับ เหล็กในความรู้สึกของแฟรี่
ก็คือวัตถุมีพิษชัดๆ แต่ถ้าหาไม่ได้ก็ต้องใบโคลเวอร์ชนิดสี่ใบ (ยอดโคลเวอร์ปกติมีแค่สามใบ ยอดที่มีสี่ใบนับเป็นโคลเวอร์นำโชค) พกติดตัวเอาไว้ หรือถ้าหาไม่ได้ให้ใส่เสื้อกลับตะเข็บยามเดินผ่านทางที่คิดว่ามีแฟรี่ก็ช่วยผ่อนหนักเป็นเบา
เห็นเลยนะครับว่าการเผชิญหน้ากับแฟรี่ไม่ว่าในลักษณะใด ไม่ใช่เรื่องดี อารมณ์รักอารมณ์เกลียดของพวกแฟรี่อยู่ห่างกันแค่พลิกฝ่ามือ ยามรักก็ดีเหลือหลาย ยามร้ายก็สาปสรรตั้งแต่เรื่องเล็กไปยันเอาชีวิต คนไม่ได้ตั้งใจไม่รู้อิโหน่อิเหน่ เพราะมอง
แฟรี่ไม่เห็น ก็อาจต้องโดนความ
อาฆาตของแฟรี่ไม่รู้ตัว หากบังเอิญล้ำเส้นอาณาเขตในป่าลึกวังเวงในภูมิประเทศที่ไร้วี่แววชีวิต แต่บังเอิญเป็นที่อยู่หรือชุมนุมเต้นรำของแฟรี่ มีสิทธิ์จะโดน “เอาคืน” ได้ง่ายๆ
วิธีการของภูตแผ่นดินชนิดนี้ก็มีมากมาย ตั้งแต่ทำให้ฝันร้าย ทำให้ชิมอาหารไม่มีรสชาติ บังคับให้เต้นรำตลอดคืนไม่พัก ไปจนกระทั่งล่อให้เห็น “ทองของแฟรี่”

ทองของแฟรี่

แฟรี่จะหาทางล่อให้เป้าหมายได้ลายแทงทองคำที่พวกมันทิ้งล่อไว้ คนที่เป็นเป้าหมายหลงกลก็จะเดินเข้าป่าตอนกลางคืน ท่ามกลางแสงเดือนหงายนั่นละครับ เป้าหมายจะเห็นทองคำจะสุกปลั่งล่อตาอยู่ที่โคนต้นไม้แห่งใดแห่งหนึ่งง่ายเกินไปจนแทบไม่น่าเชื่อ เป้าหมายมนุษย์มักมีความโลภเป็นทุนอยู่แล้วก็ย่อมจะรีบโกยทองคำจนเต็มกระสอบแบกกลับบ้าน แต่ยิ่งเดินถุงทองที่หนักเพียบเมื่อครู่กลับค่อยๆเบาลงๆ เปิดออกดูอีกทีจึงรู้ว่า ไอ้ที่แบกมานั้นไม่ใช่ทองคำแต่ประการใด แท้จริงกลายเป็นใบไม้แห้งไปหมด เหยื่อพวกนี้หลายคนเสียดายจนแทบเป็นบ้าก็มี ใจร้ายไม่เบานะครับนี่
เล่ามาถึงบรรทัดนี้ จะเห็นเลยว่า ขบวนการแฟรี่เป็นอิทธิพลใหญ่ยิ่งในความเชื่อของชาวอังกฤษ และชาวยุโรปในเวลาต่อมาด้วย แฟรี่จึงปรากฏอยู่ในงานศิลปะหลากหลาย ทั้งวรรณคดีและงานภาพเขียน จนแม้แต่ในวงการเพลงและการแสดงตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันทีเดียวครับ และเรื่องของแฟรี่ที่ได้รับความนิยมมากมาตั้งแต่อดีต อยู่ในบทประพันธ์แนวสนุกสนานอันโด่งดังของเชคสเปียร์ เรื่อง “ฝันกลางคืนฤดูร้อน” (A Midsummer Night’s Dream) ไง

ฝันกลางคืนฤดูร้อน
เชคสเปียร์ นำความประทับใจจากตำนานกรีกและตำนานแฟรี่ของอังกฤษมาผสมผสานกลายเป็นบทละครขำขันดังนี้ครับ
เรื่องเริ่มต้นด้วยการเตรียมฉลองงานแต่งงานของ เธสสิอุส (Theseus) เจ้าเมืองเอเธนส์ และฮิปโปลิต้า (Hippolyta) ราชินีแห่งพวกอเมซอน แต่ในคืนสุกดิบก่อนงานพิธี เอจิอัส (Egeus) ชายชาวเมืองเอเธนส์คนหนึ่งฟ้องร้องเธส
สิอุสว่า เฮอร์เมีย (Hermia) ลูกสาวของเขา ไม่ยอมแต่งงาน กับเดมิทริอัส (Demetrius) ผู้ชายที่เขาหาให้ จึงขอให้เจ้าเมืองตัดสินโดยอ้างกฎของชาวเอเธนส์ว่า ลูกสาวต้องแต่งงานกับผู้ที่พ่อของเธอเลือกให้ มิฉะนั้นจะต้องโทษถึงตายหรือไม่ก็ต้องบวชเป็นชีตลอดชีวิต
เวลานั้นเฮอร์เมียและไลแซนเดอร์คนรักของเธอกลัวโทษจะได้รับตามที่พ่อฟ้องร้องจึงตัดสินใจหนีตามกันโดยไปตั้งแคมป์
ในป่า แต่เฮอร์เมียแอบทิ้งไลแซน
เดอร์ไปครู่หนึ่ง ดอดไปบอกเพื่อนสาว เฮเลนาว่าเธอกำลังหนี
เฮเลนาเองก็เพิ่งถูกเดมิทริอัสปฏิเสธความรัก แต่เธอไม่ยอมแพ้ ยังหวังจะชนะใจเดมิทริอัสอีกครั้ง เธอจึงทรยศเพื่อน นำความลับของเฮอร์เมียไปบอกอดีตคนรัก เดมิทริอัสรับรู้เรื่องก็รีบตาม
เฮเลนาเพื่อจะไปนำตัวเฮอร์เมียกลับขณะที่เวลาเดียวกัน เฮอร์เมียก็กำลังกลับไปหาไลแซนเดอร์
ระหว่างเหตุการณ์เริ่มพัลวัน ที่กลางป่านั้นเกิดเรื่องอีกเรื่องขึ้น โอเบรอน ราชาแห่ง
แฟรี่และราชินีทิทาเนีย เดินทางมาถึงป่าแห่งเดียวกันเพื่อจะไปร่วมงานแต่งงานของเธสสิอัสและฮิปโป
ลิต้า แต่ความสัมพันธ์ระหว่างราชาและราชินีแฟรี่อยู่ในขั้นหมางเมิน เพราะทิทาเนียไม่ยอมยกเด็กชายชาวมนุษย์ที่เธอเพิ่ง “แลกเปลี่ยน” ตัวมาเป็นทนายหน้าหอของเธอ ให้ไปเป็นมหาดเล็กของโอเบรอนดังที่พระองค์ประสงค์
ทิทาเนียถือว่าเป็นเพราะแม่ของเด็กซึ่งตายตอนคลอดเป็นสาวกที่บูชาเธอมาตลอดเวลา
โอเบรอนโกรธมากจึงคิดหาทางลงโทษชายาด้วยข้อหาไม่เชื่อฟัง พระองค์เรียกหาพุค (puck) ภูตแผ่นดินพันธุ์เล็กจอมซนผู้เป็นบริวาร (รู้จักในนาม Robin Goodfellow) ให้ทำน้ำมนต์จากดอกไม้วิเศษ เอาไปพรมใส่ตา
ทิทาเนีย น้ำมนต์ดอกไม้วิเศษจะทำให้เหยื่อหลงรักใครก็ตามที่เห็นเป็นคนแรกเมื่อตื่นขึ้น โอเบรอนทำเช่นนี้เพื่อหันเหความสนใจและบังคับให้เธอยอมแพ้ ยอมยกเด็กคนนั้นให้
เรื่องเริ่มยุ่งเมื่อโอเบรอน เจอเข้ากับคู่รักชาวเอเธนส์ทั้งสี่คน จึงบอกพุคภูตแผ่นดินให้พรมน้ำมนต์วิเศษเพื่อช่วยเหลือคู่รักอีกสองคู่ไปในคราวเดียวกันเสียเลย แต่เจ้าพุคตัวร้ายเกิดพรมพลาด ทำให้ชายสองคนที่ปรารถนาในตัวเฮอร์เมียหันหลังให้สาวน้อยเสียเฉยๆ ทั้งไลแซนเดอร์และเดมิ
ทริอัสไขว้ไปหลงรักเฮเลนาแทน คนสี่คนสูญเสียตัวตนวิ่งเวียนอยู่ในทางวนของความรักไล่ตามกันเองและต่างทะเลาะทุ่มเถียงกับอีกฝ่าย
แค่นี้ยังวุ่นไม่พอ ขณะเดียว กันนั้น มีขบวนวงดนตรีของช่างพื้นบ้าน (ชนชั้นล่าง) กำลังชักแถวกันเข้ามาในป่าเพื่อซ้อมการแสดงเรื่อง “พีรามัสและธิสบี” ที่จะเอาไปร่วมเล่นในงานฉลองแต่งงานของเธสสิอัส โดยมีนิค บอตทอม ช่างทอเสื่อผู้หวังจะเอาดีด้านการแสดงร่วมคณะมาด้วย ทันใดที่เขาโผล่หัวเข้ามาก็กลายเป็นเป้าหมายหัวของพุคจอมซน โดยไม่รู้ตัว มันจัดการร่ายเวทย์เปลี่ยนหัวของเขาเป็นลาทันที
ทิทาเนียผู้หลับใหลไปชั่วครู่ ตื่นเพราะเสียงร้องเพลงของ บอตทอม มนตราจากดอกไม้วิเศษทำให้เธอตกหลุมรักบอตทอม เจ้าหัวลาทันทีที่ลืมตาตื่น ครั้นแล้วทิทาเนียก็แสดงความรักกับเขาประหนึ่งเจ้าคนหัวลานั้นเป็นขุนนาง เอาอกเอาใจสารพัด แต่แม้ว่าจะตกอยู่ในมนต์หลงใหล เธอยังคงรักภักดีต่อโอเบรอน ทำให้เมื่อทิทาเนียพบเขาระหว่างเต้นรำรื่นเริง เธอจึงยกเด็กชายที่โอเบรอนประสงค์ให้
เมื่อได้ตามใจปรารถนา โอเบรอนอารมณ์ดีโดยพลัน สั่งเจ้าพุคแสนซนให้ปล่อยทิทาเนียและเปลี่ยนหัวลาของบอตทอมเป็นคนตามเดิม ทว่าพุคไม่ได้ถอนมนตร์ออกเฉพาะทิทาเนียแต่ถอนจาก
ไลแซนเดอร์ด้วย จะมียกเว้นก็คือมันไม่ถอนมนตร์จากเดมิทริอัส หนุ่มคนนั้นจึงยังหลงรักเฮเลนา ส่วนไลแซนเดอร์ก็กลับมาหาเฮอร์เมีย ความรักลงตัว และแล้วแฟรี่ทั้งหลายก็หายตัวไป เธสสิอัส
และฮิปโปลิต้ามาถึงฉากป่าระหว่างการล่าสัตว์ในช่วงอรุณ ทั้งสองปลุกบรรดาคู่รักที่นอนหลับใหล แต่เมื่อเดมิทริอัสไม่รักเฮอร์เมียเสียแล้ว เธสสิอัสจึงยกเลิกคำฟ้องของเอจิอัส ยอมให้คู่รักทั้งสองคู่แต่งงาน
ทั้งเฮอร์เมียและไลแซน
เดอร์ กับเฮเลนาและเดมิทริอัส ต่างแปลกใจในสิ่งที่ตนพบเมื่อคืน แต่ต่างตัดสินใจว่ามันคือความฝัน เมื่อคนทั้งหมดออกจากฉากไป บอตทอมก็ตื่น และเขาก็คิดว่า สิ่งที่พบเมื่อคืนคือความฝันเช่นกัน
สุดท้ายในฉากซากปรักหักพังของเอเธนส์ เธสสิอัส, ฮิปโปลิต้า และบรรดาคู่รักก็ชมการแสดง “พีรามัสและธิสบี” ที่เล่นได้ไม่สมบทบาทแต่ก็น่าขันจนทำให้ทุกคนหัวเราะและกลายเป็นความสุข หลังจากกลุ่มช่างเต้นระบำ Bergomask แล้ว ทุกคนก็แยกย้ายเข้านอน ในที่สุดเมื่อราตรีแผ่ตัวลงคลุมโลก โอเบรอนและทิทาเนียก็อวยพรให้บ้าน ให้ผู้อาศัยและให้เด็กที่จะมาเกิดกับคู่แต่งงานใหม่
เรื่องจบลงด้วยความสุข


 
CR :: เขียนโดย “คอสมอส” , ต่วย'ตูน พิเศษ