Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

การป้องกันและวิธีรักษาเห็บหมา

 

การป้องกันและวิธีรักษาเห็บหมา






ปัญหาการกลับมาครั้งแล้วครั้งเล่าของหมัดแมว เห็บหมาเกิดจากอะไร? มีวิธีป้องกันและรักษาหรือไม่?


        อากาศร้อนชื้นในเมืองไทยสำหรับคนและสัตว์แล้วอาจจะทำให้เจ็บไข้ได้ป่วย แต่คุณๆทราบหรือไม่ว่าสำหรับพวกปรสิตภายนอกอย่างเห็บและหมัดนั้นจัดว่าเป็นสวรรค์เลยทีเดียว ดังนั้นเราจำเป็นต้องรู้จักเห็บและหมัดเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้สุนัขและแมวของเราต้องกลายเป็นทั้งบ้านและอาหารให้พวกมันโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งวงจรชีวิตและการทำให้เกิดโรคจากเห็บหมัดนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละชนิด ซึ่งเจ้าของสัตว์เลี้ยงควรเรียนรู้เกี่ยวกับปรสิตเหล่านี้ เพื่อป้องกันและหาวิธีรักษาเห็บหมารวมไปถึงกําจัดเห็บแมว และการกําจัดหมัดแมวให้ได้ผล แต่อย่างไรก็ดีสำหรับเห็บในแมวนั้นโอกาสที่จะเจอค่อนข้างน้อยมาก ยกเว้นจะติดเห็บจากหมา ดังนั้นบ้านไหนที่เลี้ยงทั้งหมาและแมวอยู่ด้วยกัน จะต้องให้ความสำคัญในการดูแลรักษาเห็บหมาและกำจัดหมัดแมวอย่างสม่ำเสมอ


วงจรชีวิต


เห็บ


  • ผสมพันธุ์บนตัวสุนัข
  • เห็บเพศเมียที่มีไข่เต็มท้อง ดูดเลือดจนตัวอ้วนแล้วทิ้งตัวลงจากสุนัขเพื่อไปวางไข่ตามพื้น
  • ไข่ฟักเป็นตัวอ่อน (มี 6 ขา) คอยหาสุนัขแล้วขึ้นเกาะเพื่อดูดเลือด
  • ตัวอ่อนเมื่อดูดเลือดสุนัขจนอิ่มจะลงจากสุนัข (ครั้งที่ 2) และลอกคราบเติบโตเป็นตัวกลางวัย (มี 8 ขา)
  • ตัวกลางวัยคอยหาสุนัขขึ้นเกาะเพื่อดูดเลือดสุนัข
  • เมื่อดูดเลือดจนตัวโตเต็มที่จะทิ้งตัวลงจากสุนัข (ครั้งที่ 3) และลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย (มี 8 ขา)


หมัด

        หมัดนั้นจะอยู่บนตัวสัตว์ตลอดชีวิต ถ้าออกจากสัตว์ก็จะตายในที่สุด


การติดต่อ


        เห็บเจริญเติบโตบนพื้นดิน จากนั้นรอโอกาสที่สัตว์เลี้ยงของเราผ่านมาจะได้กลับขึ้นไปอยู่บนตัวสัตว์เหมือนเดิมเพื่อดูดเลือดและผสมพันธุ์ ส่วนหมัด เป็นการกระโดดจากสัตว์ตัวนึงไปยังอีกตัวนึง


อันตรายที่ได้รับ


เห็บ

  • เห็บสามารถนำโรคพยาธิเม็ดเลือด (Ehrlichiosis, Babesiosis ,Hepatozoonosis ,Anaplasmosis) ซึ่งจะก่อปัญหาต่างๆตามมาได้ เช่น โรคเลือดจาง โรคตับ โรคไต เป็นต้น อาการที่มักเริ่มสังเกตได้คือ ซึมลง เบื่ออาหาร มีไข้ตัวร้อน เหงือก หรือลิ้น ซีดลง มีเลือดกำเดาไหล เป็นต้น
  • ปัญหาภูมิแพ้ผิวหนัง


หมัด

  • โรคพยาธิตัวตืดเม็ดแตงกวา
  • หมัดทำให้เกิดโรคพยาธิในเม็ดเลือดได้โดยเฉพาะในแมว
  • ปัญหาภูมิแพ้ผิวหนัง
  • โลหิตจาง




การป้องกันและกำจัด


        เคยสงสัยไหมว่าปัญหาการกลับมาของหมัดแมว เห็บหมาเกิดจากอะไร ทำไมทั้งหยดยา ฉีดยาก็แล้ว เห็บก็ไม่หมดไปสักที ก็เพราะว่าเห็บออกจากตัวสัตว์มาหลบอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั่นเอง ดังนั้นการกำจัดเห็บให้ได้ผลต้องทำทั้งหมด ทั้งตัวสัตว์และสิ่งแวดล้อม เราสามารถกําจัดเห็บหมาได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ ที่บ้าน โดยนี่เป็นวิธีกำจัดเห็บขึ้นบ้านที่คุณสามารถลองไปทำเองได้



ปัจจุบันมีวิธีรักษาเห็บหมาด้วยการควบคุมเห็บบนตัวสัตว์เลี้ยงหลายวิธี โดยใช้ยารูปแบบต่างๆ เช่น


  • ยาแบบสเปรย์ วิธีนี้จะให้ผลในการรักษาได้ดีและรวดเร็วเหมาะสำหรับกรณีมีเห็บหมัดเยอะๆ
  • ยาหยอดหมัดแมว-หมา หรือยาหยดเห็บหมัด ยาประเภทหยอดหรือหยดหลังเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกเหมาะสำหรับกรณีใช้ป้องกันหรือในกรณีที่มีเห็บน้อยๆ
  • ยากินแบบรายเดือน หรือ รายสามเดือน
  • แบบอื่นๆ เช่นยาผสมน้ำอาบตัว (ซึ่งมีขอบเขตความปลอดภัยต่ำกว่า) ส่วนแบบแป้งหรือแชมพูอาจจะมีประสิทธิภาพที่ต่ำกว่า
  • ปลอกคอป้องกันเห็บหมัด



อาจจะต้องศึกษาวิธีใช้ให้ถูกต้องและปลอดภัยหรืออาจจะต้องปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนการใช้


  • การควบคุมที่อยู่ตามสิ่งแวดล้อม
  • จำเป็นต้องควบคุมและกำจัดเห็บกับสุนัขทุกตัวที่เลี้ยงไว้บริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียง
  • ควรหลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่มีเห็บหมัด
  • ควรทำการป้องกันเห็บหมัดอย่างต่อเนื่องทุกเดือน



Ticks on dogs  ,   การป้องกันเห็บหมา   ,   วิธีรักษาเห็บหมา   ,  เห็บหมา    ,      เห็บ  ,   Ticks  

ที่มา   ::       https://thonglorpet.com/diary/75         

3 ความคิดเห็น:

  1. เห็บหมามาจากไหน?


    เจ้าของสัตว์เลี้ยงหลายคนอาจสงสัยว่าเห็บหมามาจากไหน ทั้งๆ ที่ทำความสะอาดน้องหมาอย่างดีแล้ว ทำไมยังติดเห็บหมัดได้อยู่ และกำจัดเท่าไหร่ก็ไม่หมดสักที นั่นก็เพราะว่าเห็บและหมัด 1 ตัว เมื่อโตเต็มที่จะสามารถวางไข่ได้หลายร้อยฟอง โดยจะวางไข่อยู่ตามสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น พื้นดิน เพดาน เสื้อผ้า หรือเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ


    ไข่ของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ สามารถอาศัยอยู่ในดินได้เป็นปี และถ้าพบอากาศที่ชื้นอย่างพอเหมาะก็จะฟักตัวออกมาเป็นตัวอ่อน แล้วกินไรฝุ่น หรือเลือดแห้งเป็นอาหาร และเมื่อโตเต็มวัยก็จะไปเกาะอาศัยอยู่บนตัวสุนัขเพื่อดูดเลือดเป็นอาหาร ก่อนจะวางไข่เป็นวงจรต่อไป


    จากวงจรชีวิตของเห็บหมัดนี้ จึงทำให้น้องหมามีโอกาสติดเห็บหมัดได้ตลอดเวลาที่ออกไปวิ่งเล่นนอกบ้าน หรือไปเล่นกับหมาตัวอื่น ถ้าหากเจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่ป้องกันด้วยการหยดยากำจัดเห็บหมัดเป็นประจำ ก็จะทำให้น้องหมามีโอกาสติดเห็บหมัดเป็นจำนวนมากได้นั่นเอง


    เห็บและหมัดแตกต่างกันอย่างไร?

    เห็บและหมัดจัดอยู่ในกลุ่มปรสิตภายนอก (Ectoparasite) ซึ่งเป็นปรสิตที่อาศัยอยู่ภายนอกร่างกายของโฮสต์ สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย เช่น บริเวณผิวหนัง ผนังศีรษะ เส้นผม หรือขน โดยจะมีความแตกต่างกันดังนี้

    🐕 เห็บ (Ticks) : มีลักษณะคล้ายกับตัวแมงมุม ตัวอ่อนจะมี 6 ขา ตัวกลางวัยและตัวเต็มวัยจะมี 8 ขา โดยตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ และเมื่อเกาะอยู่ที่ตัวน้องหมาจะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร

    🐕 หมัด (Flea) : มีขนาดเล็กและมีขายาวกว่าเห็บ ลำตัวมีสีดำ-สีน้ำตาล มี 6 ขา จะแตกต่างจากเห็บตรงที่กระโดดได้สูงและค่อนข้างเร็ว และจะอยู่บนตัวโฮสต์ (น้องหมา) ตลอดชีวิต ถ้าออกจากโฮสต์ก็จะทำให้ตายในที่สุด

    ตอบลบ
  2. จะรู้ได้อย่างไรว่าน้องหมามีเห็บมีหมัด?

    เมื่อน้องหมามีเห็บ หรือมีหมัด เจ้าของสัตว์เลี้ยงจะสามารถสังเกตได้จากอาการต่าง ๆ ดังนี้

    🐶 มีอาการคัน ชอบเกาบริเวณหัวและใบหูบ่อย ๆ
    🐶 มีจุดแดงบนผิวหนัง เกิดจากการถูกเห็บหรือหมัดกัด
    🐶 มีตุ่มหรือผื่นบนผิวหนัง เกิดจากอาการแพ้หลังถูกเห็บหรือหมัดกัด

    นอกจากอาการผิดปกติเหล่านี้แล้ว ถ้าหากเจ้าของสัตว์เลี้ยงพบเห็นเห็บหมัดภายในบ้านตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป ก็สามารถสันนิษฐานได้เลยว่าน้องหมามีเห็บหมัดแล้ว


    เห็บหมาทำให้เกิดโรคในสุนัขอะไรได้บ้าง?

    การที่น้องหมามีเห็บหมัด ไม่ได้ทำให้เกิดแค่โรคผิวหนังสุนัขอย่างภูมิแพ้ผิวหนังเท่านั้น แต่ยังสามารถทำให้เกิดโรคในสุนัขอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของน้องหมาได้ด้วย

    โดยเห็บหมาจะทำให้เกิดโรคพยาธิเม็ดเลือด ซึ่งสามารถก่อให้เกิดภาวะสุขภาพต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคเลือดจาง โรคตับ หรือโรคไต ถ้ามีอาการไม่รุนแรงมากก็จะสามารถรักษาให้หายได้โดยการให้ยาที่เหมาะสมกับอาการ แต่ถ้าน้องหมามีภาวะโลหิตจางรุนแรงจะต้องรักษาด้วยการถ่ายเลือดร่วมด้วย ซึ่งจะใช้ระยะเวลารักษาค่อนข้างนานและต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง

    ในขณะที่หมัดจะเป็นพาหะของโรคพยาธิตัวตืดในทางเดินอาหารอย่างพยาธิเม็ดแตงกวา (Dipylidium caninum) ที่น้องหมาจะได้รับจากการที่บังเอิญกินหมัดที่มีพยาธิเข้าไป ซึ่งจะทำให้เกิดอาการท้องเสีย เบื่ออาหาร อาเจียน คันก้น น้ำหนักตัวลด ภูมิคุ้มกันตก หรือร้ายแรงถึงขั้นติดเชื้อแทรกซ้อนได้เลย


    รวมวิธีกำจัดเห็บหมาอย่างเห็นผล

    เมื่อน้องหมามีเห็บมีหมัด วิธีกำจัดเห็บหมาและหมัดหมาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือการใช้ยากำจัดเห็บหมัด ซึ่งในปัจจุบันมีให้เลือกใช้หลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบก็จะเหมาะกับการกำจัดเห็บหมัดที่แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น


    1. ยาหยอด หรือยาหยดเห็บหมัด

    เป็นวิธีที่ใช้ง่ายและสะดวก เหมาะสำหรับใช้ในการป้องกันเห็บหมัด หรือใช้ในกรณีที่เห็บหมัดมีจำนวนน้อย โดยหลังจากที่หยดยาไปแล้ว ตัวยาจะซึมลงในต่อมไขมัน แล้วกระจายไปทั่วร่างตามกลไกธรรมชาติ หลังจากนั้นยาจะถูกขับออกมาพร้อมกับน้ำมันบริเวณผิวหนังภายใน 24 – 48 ชั่วโมง เมื่อเห็บหมัดมากัด หรือดูดกินเลือดก็จะได้รับยาและตายในที่สุด


    2. ฉีดยา หรือยากินแบบรายเดือน หรือรายสามเดือน

    โดยฤทธิ์ยาจะซึมอยู่ในกระแสเลือด เมื่อเห็บหมัดมากินเลือดก็จะแห้งตายไป โดยขนาดยาที่ให้จะแตกต่างกันไปตามขนาดของสุนัข อายุ สายพันธุ์ และสุขภาพของสัตว์เลี้ยง โดยข้อดีของการรักษาด้วยวิธีนี้ นอกจากจะกำจัดเห็บหมัดได้แล้ว ฤทธิ์ยายังสามารถกำจัดพยาธิหนอนหัวใจได้อีกด้วย


    3. ยากำจัดเห็บหมัดแบบสเปรย์

    เหมาะกับการกำจัดเห็บหมัดที่มีจำนวนเยอะ ๆ เพราะสามารถฉีดได้ทั้งบนขนและผิวหนังโดยตรง รวมไปถึงฉีดบริเวณพื้นบ้านหรือซอกมุมต่าง ๆ ที่เห็บหมัดแอบอยู่ได้ แต่จะต้องระมัดระวังไม่ให้น้องหมาเลีย

    นอกจากวิธีกำจัดเห็บหมัดที่ได้แนะนำไปในข้างต้นแล้ว ยังมีอีกหลายวิธีที่สามารถใช้ในการป้องกัน หรือกำจัดเห็บหมาได้ด้วย เช่น การสวมปลอกคอกำจัดเห็บหมัด หรือใช้แป้งกำจัดเห็บหมัด แต่จะต้องระมัดระวังไม่ให้สุนัขมาเลียมาแทะ เพราะอาจเป็นอันตรายได้ และไม่ได้มีประสิทธิภาพในการกำจัดเท่าที่ควร

    ตอบลบ
  3. วิธีป้องกันเห็บหมาที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่ควรละเลย

    การป้องกันเห็บหมา หรือหมัดหมาสามารถทำได้ไม่ยาก แค่เพียงเจ้าของสัตว์เลี้ยงให้ความใส่ใจในด้านความสะอาด หมั่นทำความสะอาดกรงด้วยน้ำยากำจัดเห็บหมัดอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับอาบน้ำน้องหมาและให้ยาหยดหลังอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเห็บติดหมัดได้มาก



    แนะนำวิธีกำจัดเห็บหมา เห็บหมัด ตามพื้น

    เราสามารถใช้สเปรย์กำจัดเห็บหมัดฉีดทั่วพื้นที่ หรือใช้ยากำจัดเห็บหมัดไบติคอล 6% (Bayticol) ผสมน้ำ 1 ซีซี ต่อน้ำ 1.5 ลิตร ชุบผ้าถูทั่วทั้งห้อง หรือใส่ฟ็อกกี้ฉีดพ่นบริเวณพื้น และตามซอกหลืบต่าง ๆ ได้เลย

    อย่างไรก็ตาม น้ำยาจะมีกลิ่นที่รุนแรงมาก หลังจากที่ถูทั่วห้องแล้ว จะต้องงดใช้ห้องประมาณ 6 ชั่วโมง แล้วเข้ามาถูพื้น หรือเช็ดตามซอกหลืบด้วยน้ำสะอาดให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาตกค้างจนน้องหมามาเลียและส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงได้



    สรุปเรื่องเห็บหมา

    จะเห็นได้ว่า ถึงแม้เห็บหมา หมัดหมา จะเป็นปรสิตภายนอกที่ติดต่อกันได้ง่าย และส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายโดยรวมของน้องหมา แต่เราก็สามารถกำจัดและป้องกันการติดเห็บหมัดได้ง่าย ๆ เพียงแค่รักษาความสะอาดที่อยู่อาศัยของน้องหมาด้วยน้ำยากำจัดเห็บหมัดอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงให้ยากำจัดเห็บหมัดเป็นประจำทุกเดือน หรือสามเดือน ก็จะทำให้น้องหมาห่างไกลจากโรคอันตรายที่เกิดจากเห็บหมัดได้อย่างแน่นอน


    ตอบลบ