ควีนทรงปรารถนาให้ ดัชเชสคามิลลา ขึ้นเป็นราชินี เคียงข้างพระราชโอรส
แม้ก่อนหน้านี้ชาวอังกฤษจะเข้าใจว่า ดัชเชสคามิลลาจะไม่ทรงรับตำแหน่งราชินี เมื่อเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ขึ้นครองราชย์ แต่ล่าสุดควีนทรงแสดงความปรารถนาในการปรับเปลี่ยนนี้แล้ว
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565 ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า เนื่องในโอกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ทรงมีพระราชดำรัส ว่าปรารถนาให้ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ขึ้นเป็นราชินี เมื่อเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ทรงขึ้นครองราชย์
เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์เสกสมรสกับคามิลลา เมื่อปี 2548 และประกาศว่าคามิลลาจะได้รับการสถาปนาเป็น “เจ้าหญิงพระราชชายา” แทนที่จะเป็น “ราชินี” เนื่องจากเป็นเรื่องของความรู้สึกอ่อนไหวเพราะตำแหน่งนี้วางไว้ให้พระชายาพระองค์แรก คือ เจ้าหญิงไดอานา และซึ่งเป็นเหตุผลเดียวกันที่ดัชเชสคามิลลาไม่ทรงใช้พระยศว่าเจ้าหญิงแห่งเวลส์
อย่างไรก็ตาม ควีน พระชนมายุ 95 พรรษา ทรงแสดงพระราชดำริในการถ่ายโอนบัลลังก์ในวโรกาสพิเศษเนื่องในโอกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปีเกี่ยวกับดัชเชสคามิลลา อย่างชัดเจน
หลังจากทรงปรึกษากับรัชทายาทสายตรงทั้งเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์และเจ้าชายวิลเลียม ก่อนที่จะทรงประกาศครั้งสำคัญเกี่ยวกับพระยศซึ่งคาดว่าทั้งสองพระองค์จะทรงเห็นด้วยและทรงรับรู้ว่าชาวอังกฤษพร้อมที่จะยอมรับ ดัชเชสคามิลลาในฐานะราชินี
“ข้าพเจ้าขอขอบใจท่านทั้งหลายที่สนับสนุน ข้าพเจ้าขอขอบใจสำหรับความศรัทธา ความจงรักภักดีและความรักที่พสกนิกรมอบให้แก่ข้าพเจ้า และเมื่อถึงเวลา เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ พระโอรสจะเสด็จครองราชย์ ข้าพเจ้าทราบว่าประชาชนจะจงรักภักดีต่อเจ้าฟ้าชายและพระชายาเช่นเดียวกับที่มอบให้ข้าพเจ้า
และข้าพเจ้ามีความปรารถนาด้วยความจริงใจว่าเมื่อถึงเวลาดังกล่าว ดัชเชสคามิลลาจะมีพระยศเป็น “พระราชินี พระราชชายา” ควีนตรัส
กระแสต้านจากปมเจ้าหญิงไดอานา
ดัชเชสคามิลลากลายเป็น “คนไม่ดี” ในสายตาประชาชน หลังจากที่เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์และเจ้าหญิงไดอานา ทรงหย่าร้างกัน โดยเจ้าหญิงไดอานาทรงเปิดใจ ระหว่างประทานสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ในปี 2538 ว่า “การมีคนสามคนในชีวิตสมรส ค่อนข้างแออัดเกินไป”
ก่อนหน้านั้น 1 ปี เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์เคยประทานสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์และทรงสารภาพว่าทรงนอกใจ แต่ยืนยันว่านอกใจต่อเมื่อการแต่งงานล้มเหลวเท่านั้น
เมื่อเจ้าหญิงไดอานาสิ้นพระชนม์ในอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ปารีสในปี 2540 กระแสต่อต้านจึงมีสูงมาก หลายปีที่ผ่านมา ดัชเชสคามิลลาทรงอยู่ใต้เงาและสนับสนุนเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์อยู่เงียบๆ อย่างห่างๆ
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความรู้สึกต่อดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ก็ลดลง และว่าทีควีนก็ทรงพิสูจน์ให้เห็นว่าสถาบันกษัตริย์ในอนาคตนั้น ดัชเชสคามิลลาไม่ได้เป็นเพียงพระชายา แต่เป็น “บุคคลสำคัญในสถาบัน”
เมื่อวันเสาร์ที่ 5 ก.พ. โฆษกกล่าวว่าเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์และดัชเชสคามิลลาทรงซาบซึ้งและรู้สึกเป็นเกียรติในพระมหากรุณาธิคุณของควีน
ควีนทรงอุทิศตนให้ประชาชน
ควีนเอลิซาเบธทรงครองราชย์เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2495 สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระชนมายุ 56 พรรษา
ตลอดรัชสมัยของพระองค์ ควีนเอลิซาเบธทรงใช้เวลาสำคัญเพื่อย้ำถึงความทุ่มเทในพระราชกรณียกิจต่างๆ และเมื่อวันเสาร์ที่ 5 ก.พ. เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ทรงประกาศพระปณิธาน แม้ว่าพระองค์จะทรงมีพระชนมายุใกล้ 96 พรรษา
พระองค์ทรงตรัสผ่านข้อความว่าการเฉลิมฉลองครองราชย์ทำให้ข้าพเจ้ายินดีที่สืบทอดคำมั่นที่ให้ไว้กับประชาชนว่าจะอุทิศตนให้กับประชาชนตั้งแต่ปี 2490
ควีนยังทรงมีความหวังและมองในแง่ดีสำหรับปีถัดไป ก่อนที่จะทรงแสดงความซาบซึ้งใจต่อพระบรมวงศานุวงศ์ที่สนับสนุนพระองค์และถวายความจงรักภักดีต่อดยุคแห่งเอดินบะระ พระราชสวามีว่า
“ข้าพเจ้าโชคดีที่เจ้าชายฟิลิปทรงเป็นคู่ชีวิตที่ไม่เห็นแก่พระองค์และเสียสละซึ่งเป็นบทบาทที่ข้าพเจ้าเห็นพระราชมารดาทรงปฏิบัติต่อพระราชบิดาในรัชสมัยของพระราชบิดา”
ควีนทรงจบข้อความด้วยการแสดงความปรารนาว่าจะทรงงานเพื่อประชาชนต่อไปด้วยพระหฤทัยทั้งหมดของพระองค์ และทรงหวังว่าการฉลองสิริราชสมบัติจะมีโอกาสให้ประชาชนมารวมตัวกันอีก หลังจากเผชิญห้วงเวลาอันเลวร้ายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ตามธรรมเนียม ควีนจะประทับที่พักนักชานเมืองในวันสวรรคตของพระราชบิดาในเมืองซานดริงแฮม มณฑลนอร์ฟอล์ก ห่างจากกรุงลอนดอนประมาณ 161 กิโลเมตร ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงคำนึงถึงการสิ้นพระชนม์ของพระราชบิดาโดยห่างไกลจากสายตาของสาธารณชน และเช่นเดียวกับปีก่อนๆ พระองค์ทรงไม่มีหมายกำหนดการสาธารณะในวันอาทิตย์ที่ 6 ก.พ.
งานฉลองใหญ่จัดเดือนมิ.ย.
อังกฤษจะเฉลิมฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี โดยมีเทศกาลต่างๆ อย่างต่อเนื่องทั้งปี และปิดท้ายด้วย วันหยุดราชการ 4 วันในเดือน มิ.ย.
ในช่วงวันหยุดยาว ประชาชนจะจุดไฟทั่วสหราชอาณาจักร พระราชวังบักกิ้งแฮมจะจัดคอนเสิร์ต มีงานเลี้ยงตามท้องถนน และพิธีเฉลิมฉลองจะมีผู้คนเข้าร่วมกว่า 5,000 คน ทั้งนักแสดง พนักงานหลักและอาสาสมัครจากสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพ
แต่เมื่อวันเสาร์ที่ 5 ก.พ. ควีนทรงเป็นประธานงานเลี้ยงพิเศษสำหรับชุมชนชาวซานดริงแฮม ก่อนถึงวันครบรอบครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี พระองค์ทรงต้อนรับผู้เกษียณอายุและผู้แทนจากองค์กรการกุศลหลายองค์กรที่ห้องบอลรูม ตำหนักซานดริงแฮมและมีเค้กสำหรับฉลองวโรกาสพิเศษ
หนึ่งในผู้ร่วมงานเป็นอดีตนักเรียนการทำอาหาร แองเกลา วู้ด ผู้พัฒนาสูตรอาหารสำหรับงานบรมราชาภิเษก คือ ไก่ราชาภิเษก ไก่เย็นในซอสครีมที่เสิร์ฟพร้อมกับเครื่องเคียง
สำนักข่าวพีเอของอังกฤษ รายงานว่าควีนทรงถือธารพระกรและกระเป๋าถือสีดำเมื่อพระราชดำเนินไปรอบห้องจัดเลี้ยง ทรงหยอกเย้าและสรวลกับแขกเหรื่อซึ่งงานนี้ถือเป็นงานชุมนุมใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. เมื่อควีนทรงเป็นองค์ประธานงานเลี้ยงต้อนรับการประชุมสุดยอดการลงทุนระดับโลกที่พระราชวังวินด์เซอร์
Charles & Camilla: The Couple A Country Could Never Love
.
The Real Story Of Camilla Parker-Bowles
Queen Wants Camilla to be Queen Consort
CR :: www.prachachat.net
ควีนเอลิซาเบธที่ 2 มีพระราชประสงค์ให้ ‘คามิลลา’ ใช้พระอิสริยยศ ‘สมเด็จพระราชินี’ เมื่อเจ้าฟ้าชายชาลส์ขึ้นเป็นกษัตริย์
ตอบลบพระอิสริยยศ ‘สมเด็จพระราชินี’ หรือ ‘Queen Consort’ ถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีปัญหามาโดยตลอด สำหรับ ‘คามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์’ พระวรชายาของ เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์
แต่ล่าสุด ในพระราชดำรัสในวาระครองราชย์ครบ 70 ปี สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ได้ตรัสว่า พระองค์มี “พระราชประสงค์ด้วยความจริงใจ” ให้คามิลลาใช้พระอิสริยยศ ‘สมเด็จพระราชินี’ เมื่อเจ้าฟ้าชายชาลส์สืบราชสมบัติเป็นกษัตริย์
สมเด็จพระราชนีนาถฯ ตรัสว่า “หากถึงเวลาที่เหมาะสม เมื่อชาลส์ โอรสของข้าพเจ้าได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ ข้าพเจ้าทราบว่าพวกท่านจะให้การสนับสนุนเขาและคามิลลา พระชายาของเขา เฉกเช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้าได้รับ และเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าประสงค์ด้วยความจริงใจว่า เมื่อเวลานั้นมาถึง คามิลลาจะอยู่ในฐานะสมเด็จพระราชินี ขณะที่เธอยังคงถวายงานรับใช้อย่างจงรักภักดี”
ตามธรรมเนียมปฏิบัติปกติ คามิลลาจะต้องได้ขึ้นเป็น ‘Queen Consort’ ทันทีที่เจ้าฟ้าชายชาลส์ขึ้นเป็นกษัตริย์ แต่เมื่อครั้งพระราชพิธีอภิเษกสมรสของทั้งสองเมื่อปี 2005 คามิลลามี “เจตนา” อย่างเป็นทางการว่า ให้แต่งตั้งเป็น ‘Princess Consort’ แทน ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อังกฤษ
แต่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ก็มีความไม่แน่ไม่นอนมาโดยตลอดในเรื่องของพระอิสริยยศที่คามิลลาจะได้รับหลังจากเจ้าฟ้าชายชาลส์สืบราชสมบัติ ประกอบกับความเห็นของประชาชนในอังกฤษที่ยังมีความเห็นอกเห็นใจต่อเจ้าหญิงไดอาน่า พระชายาองค์แรกของเจ้าฟ้าชายชาลส์อยู่
เมื่อมีพระราชประสงค์เช่นนี้ ก็สะท้อนการสนับสนุนของสมเด็จพระราชินีนาถฯ ต่อคามิลลาที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา โดยโฆษกของพระตำหนักแคลเรนซ์เฮาส์ ประจำเจ้าฟ้าชายชาลส์และคามิลลา ก็ได้เปิดเผยว่าทั้งสองพระองค์ทรงรู้สึก “ตื้นตันและเป็นเกียรติ”
นอกจากเรื่องนี้ ในพระราชดำรัสเดียวกันนี้ สมเด็จพระราชินีนาถฯ ยังตรัสขอบพระทัยประชาชนอังกฤษที่มอบ “ความจงรักภักดีและความรัก” ให้กับพระองค์เสมอมาตลอดช่วงที่ครองราชย์ และยังได้ระลึกถึงเจ้าชายฟิลิป พระราชสวามีของพระองค์ ที่สวรรคตไปเมื่อเดือนเมษายน ปี 2021 ที่ผ่านมาด้วย
อ้างอิงจาก
https://www.bbc.com