25 ปีแห่งการจากไปของเจ้าหญิงไดอาน่า
31 สิงหาคม 1997 คือวันที่โลกได้สูญเสียบุคคลสำคัญของโลกอย่างเจ้าหญิงไดอาน่าไปจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ฝรั่งเศส ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าแม้กาลเวลาจะผ่านไปแล้ว 25 ปี แต่ความเศร้าหมองหม่นยังคงเกาะกินอยู่ในใจคนทั้งโลก
31 ส.ค. 1997 : วันสูญเสีย เจ้าหญิงไดอาน่า
เรื่องราวของเจ้าหญิงไดอาน่า ผู้หญิงที่เป็นบุคคลสำคัญของโลก และทรงอิทธิพลต่อโลกอย่างมากตั้งแต่ยุค 1980s - 1990s มีหลากหลายเรื่องราวให้พูดถึง อย่างไรก็ตาม วันที่ 31 ส.ค. ของทุกปีคือวันที่ ประชาชนทั่วโลกต่างน้อมใจรำลึกถึง เจ้าหญิงไดอาน่า เพราะวันนี้ เมื่อปี 1997 (พ.ศ. 2540) เป็นวันที่พระองค์ท่านสิ้นพระชนม์ ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จากเหตุอุบัติเหตุกลางดึก
โดยเหตุการณ์อุบัติเหตุวันนั้น รถเมอร์ซีเดส เบนซ์ S-280 ที่พระองค์ประทับอยู่ เสียหลักพุ่งชนเสากั้นเลนส์ในอุโมงค์ใต้สะพานเอลม่า ไม่ไกลจากหอไอเฟล ส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดเหตุการณ์โศกนาฏกรรมครั้งนี้ นั่นก็เพราะบรรดาสื่อมวลชนและเหล่าปาปารัสซี่ที่ไล่ล่าติดตามถ่ายภาพของเจ้าหญิงไดอาน่า จนกระทั่งนำพาทุกอย่างไปสู่ความสูญเสียที่เกิดขึ้น
ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงไดอาน่า ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ในเรื่องของการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลในยุโรป อาทิ ที่ สหราชอาณาจักรมีการปรับปรุงกฎหมาย ห้ามถ่ายภาพบุคคลในที่พักส่วนตัว หรือสถานที่ส่วนบุคคล แม้จะไม่อาจปกป้องคนมีชื่อเสียงจากความเป็นส่วนตัวได้ทั้งหมด แต่ก็แทบไม่เห็นกรณี ไล่ล่าถ่ายภาพอย่างเป็นเอาตาย แบบกรณีเจ้าหญิงไดอาน่าอีกแล้ว ณ ปี 2021
Remembering Princess Diana's Death, 31 August, 1997
ประวัติย่อเจ้าหญิงไดอาน่า
สำหรับ เจ้าหญิงไดอาน่า แห่งเวลส์ มีพระนามเดิมว่า ไดอาน่า สเปนเซอร์ ประสูติเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1961 (พ.ศ. 2504) ในครอบครัวของจอห์น สเปนเซอร์ (เอิร์ลสเปนเซอร์ที่ 8) กับนางฟรานเซส ชานด์ คีดด์
พ่อของเจ้าหญิงไดอาน่านั้นสืบเชื้อสายมาจากดยุคแห่งมอลเบอระที่ 1 เมื่อยังทรงพระเยาว์นั้น ทรงอาศัยอยู่กับพ่อและแม่ กระทั่งอายุ 8 ขวบ พ่อและแม่ก็หย่าร้างกัน ทำให้เจ้าหญิงและพี่น้องทั้ง 4 คน อยู่ในความดูแลของพ่อนับแต่นั้นมา
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ในวัยเด็กเจ้าหญิงไดอาน่า และ ทิลด้า สวินตัน (Tilda Swinton) นักแสดงฮอลลีวู้ดชื่อดัง เคยเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนด้วยกัน ทั้งคู่ได้เรียนที่เดียวกันคือ โรงเรียนสตรีเวสต์ฮีธ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนนิวสกูลแอทเวสต์ฮีธ โดย เจ้าหญิงไดอาน่า ไม่ค่อยเก่ง ในเรื่องวิชาการ แต่เรื่องกีฬา และ ดนตรี พระองค์ทรงถนัดมาก โดยเฉพาะเปียโน
เจ้าหญิงไดอาน่า จับมือกับเดวิด โบวี่ นักร้องชื่อดัง ในคอนเสิร์ตการกุศล Live Aid
งานแต่งงานแห่งศตวรรษ
เจ้าหญิงไดอาน่า พบรักกับ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ตั้งแต่ปี 1977 ก่อนที่จะมี "งานแต่งงานแห่งศตวรรษ" ( The Wedding of the Century) เมื่อวันที่ 29 กรกฏาคม 1981 ณ เวลานั้น เจ้าหญิงไดอาน่า มีอายุ 20 พรรษา
มีการคาดการณ์กันว่า "งานแต่งงานแห่งศตวรรษ" ของเจ้าหญิงไดอาน่ากับ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ มีคนรับชมพิธีนี้ทั่วโลกกว่า 750 ล้านคน และช่วงเวลาต่อจากนั้นเจ้าหญิงไดอาน่า มีโอรส 2 พระองค์คือเจ้าชายวิลเลี่ยม (Prince William) และเจ้าชายแฮร์รี่ (Prince Harry)
อย่างไรก็ตาม แต่เจ้าชายชาร์ลส์และเจ้าหญิงไดอานาทรงแยกกันในปี 1992 (พ.ศ. 2535) และทรงหย่ากันในปี 1996 (พ.ศ.2539) เพียงปีเดียวก่อนที่เจ้าหญิงสิ้นพระชนม์จากอุบัติเหตุทางรถยนต์พระที่นั่งในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสในปี 1997 นั่นเอง
นอกจากนี้ มีการเปิดเผยอีกว่า หลังจาก เจ้าหญิงไดอาน่า หย่าร้างแล้ว...เจ้าหญิงไดอาน่าได้ออกเดทกับ ฮัสนัต ข่าน ศัลยแพทย์หนุ่มชาวปากีสถาน และได้แนะนำให้เขารู้จักกับเจ้าชายวิลเลี่ยมและเจ้าชายแฮร์รี่ด้วย
จากนั้นไม่นาน เจ้าหญิงก็เลิกรากับฮัสนัต คล้อยหลังเพียงไม่เกินเดือน เจ้าหญิงไดอาน่าพบรักใหม่อีกครั้งกับโดดี อัลฟาแยต โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ ลูกอภิมหาเศรษฐีชาวอียิปต์ ซึ่งเสียชีวิตในวันเดียวกันกับเจ้าหญิงไดอาน่า เพราะอยู่ในรถยนต์คันเดียวกัน
https://youtu.be/A0bmGTLrAhY
งานแต่งงานแห่งศตวรรษ" ( The Wedding of the Century) เมื่อวันที่ 29 กรกฏาคม 1981
1995 บทสัมภาษณ์สั่นพระราชวงค์
ย้อนเข็มนาฬิกากลับไปในปี 1995 ในช่วงที่ความสัมพันธ์ของเจ้าชายชาร์ลส์และเจ้าหญิงไดอาน่า กำลังระหองระแหง และอยู่ในจุดใกล้แตกหัก ณ เวลานั้น โดยทั้งสองได้แยกกันอยู่ แต่ยังไม่หย่าขาดจากกันอย่างเป็นทางการ
โดยในบทการสัมภาษณ์ของเจ้าหญิงไดอาน่า ในรายการพาโนรามาในปี 1995 วันนั้น ถือเป็นประโยคที่ สั่นคลอนราชวงศ์อังกฤษและยังมีการพูดถึงอยู่ จนถึงทุกวันนี้ โดย มาร์ติน บาเชียร์ ผู้สื่อข่าวบีบีซี ยิงคำถามว่า ทรงคิดว่านางคามิลลา พาร์กเกอร์-โบลส์ (ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ พระชายาองค์ปัจจุบันของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์) คือปัจจัยที่ทำให้ชีวิตคู่ของพระองค์กับพระสวามีต้องล้มเหลวหรือไม่ ? พระองค์ทรงตอบว่า
"มีเราสามคนอยู่ในชีวิตสมรสนี้ มันก็เลยแออัดไปหน่อย" หรือ "Well, there were three of us in this marriage, so it was a bit crowded."
อย่างไรก็ตาม ในภายหลัง มีการตั้งคำถาม ถึงจรรยาบรรณของบีบีซีและผู้ผลิตรายการ พาโนรามาในขณะนั้น เกี่ยวกับวิธีการที่ใช้โน้มน้าวใจให้เจ้าหญิงไดอาน่า ทรงยอมประทานสัมภาษณ์ถึงเรื่องราวส่วนพระองค์อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในหมู่สมาชิกราชวงศ์อังกฤษ เพราะมีการเปิดเผยว่า มาร์ติน บาเชียร์ ผู้สื่อข่าวบีบีซี นักข่าวที่สัมภาษณ์เจ้าหญิงไดอาน่าวันนั้น ได้กล่าวอ้างเรื่องเท็จและข้อความเชิงหมิ่นประมาทเกี่ยวกับสมาชิกราชวงศ์ระดับสูงหลายครั้งในระหว่างที่เข้าพบกับ เพื่อสร้างความไว้วางใจให้ได้เข้าถึงเจ้าหญิงไดอาน่าได้พูดประโยคนั้นออกมา.
คุณงามความดีที่มีความหมายต่อโลก
ช่วงเวลาที่ เจ้าหญิงไดอาน่า มีชีวิตอยู่ เจ้าหญิงไดอาน่าทรงงานการกุศลหลายอย่าง ทั้งเรื่องวิกฤตโรคเอดส์ พระองค์ทรงจับมือกับผู้ป่วยโรคเอดส์ และพยายามอย่างหนักในการเปลี่ยนภาพลักษณ์ผู้ป่วยโรคนี้ในสายตาของสังคม โดยในปี 1989 พระองค์เสด็จเดินทางไปเปิดศูนย์บริการเพื่อผู้ป่วยโรคเอดส์ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ พระองค์ไม่ทรงรังเกียจที่จะสัมผัสหรือแตะต้องผู้ติดเชื้อ คิดดูว่านั่นเป็นภาพที่น่าทึ่งขนาดไหน เพราะตอนนั้นการแพทย์ยังไม่สามารถยืนยันได้แน่ชัดว่า เชื้อจะไม่สามารถติดต่อทางการสัมผัส
นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน อาทิ ช่วยเหลือ การจัดการทุ่นระเบิดในแองโกลา การวางตัวที่ดูเป็นกันเองกับประชาชน โดยเฉพาะกับเด็กๆ การทรงงานอย่างจริงจัง นั่นทำให้เจ้าหญิงไดอาน่ากลายเป็นขวัญใจไม่เพียงแต่ในสหราชอาณาจักรเท่านั้น แต่ยังเป็นขวัญใจของคนทั้งโลกอีกด้วย
https://youtu.be/fFCXV4MEE4g
ลาก่อนดอกกุหลาบแห่งอังกฤษ
การจากไปอย่างไม่มีวันกลับของ เจ้าหญิงไดอาน่า สร้างรอยน้ำตาให้กับผู้คนทั้งโลก พิธีศพของเจ้าหญิงไดอาน่าจัดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 กันยายน 1997 (พ.ศ. 2540) ที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน พร้อมกับบทเพลงจากพระสหายอย่างเซอร์เอลตัน จอห์น ที่บรรเลงเพลง "Candle in the Wind 1997" หรือ อีกชื่อหนึ่งก็คือ Goodbye England's Rose"
บทเพลงนี้ เป็นบทเพลง ที่เซอร์ เอลตัน จอห์นประพันธ์ดนตรีขึ้น และประพันธ์เนื้อเพลงโดย เบอร์นีย์ ทอพีน เมื่อปีค.ศ. 1973 เพื่อเป็นการไว้อาลัยให้แก่มาริลิน มอนโร นักแสดงชั้นนำของโลก ก่อนที่จะมาใช้กล่าวแทนคำอำลา เจ้าหญิงไดอาน่าอีกครั้ง โดย ในงานพระราชพิธีพระศพนั้นไม่ใช่แต่เพียงเซอร์เอลตัน จอห์นเท่านั้นที่รู้สึกเศร้าโศก หากแต่คนรอบข้างและทั้งโลกที่เสียดายต่อการจากไปของเจ้าหญิงไดอาน่าด้วย
โดยเซอร์เอลตัน จอห์นได้เปลี่ยนเนื้อเพลงท่อนแรกเสียใหม่จาก "Goodbye Norma Jean" เป็น "Goodbye England's Rose" แม้ว่าทั้งคู่จะมีชีวิตที่แตกต่างกันมาก แต่ก็เหมือนกันในข้อที่ต้องทุกข์ทรมาน เพื่อ คนอื่นเช่นกัน
บทเพลง ท่อนหนึ่งของเนื้อเพลงที่กินใจ ผู้ชมมากที่สุดคือท่อนที่ว่า "Your candle's burned out long before...your legend ever will...."
เทียนของเธอดับสิ้นนานไป แต่ตำนานของเธอจะไม่เสื่อมคลาย...แด่ เจ้าหญิงไดอาน่า เจ้าหญิงอันเป็นที่กล่าวขานของคนทั้งโลก
ลาก่อนดอกกุหลาบแห่งอังกฤษ
การจากไปอย่างไม่มีวันกลับของ เจ้าหญิงไดอาน่า สร้างรอยน้ำตาให้กับผู้คนทั้งโลก พิธีศพของเจ้าหญิงไดอาน่าจัดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 กันยายน 1997 (พ.ศ. 2540) ที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน พร้อมกับบทเพลงจากพระสหายอย่างเซอร์เอลตัน จอห์น ที่บรรเลงเพลง "Candle in the Wind 1997" หรือ อีกชื่อหนึ่งก็คือ Goodbye England's Rose"
บทเพลงนี้ เป็นบทเพลง ที่เซอร์ เอลตัน จอห์นประพันธ์ดนตรีขึ้น และประพันธ์เนื้อเพลงโดย เบอร์นีย์ ทอพีน เมื่อปีค.ศ. 1973 เพื่อเป็นการไว้อาลัยให้แก่มาริลิน มอนโร นักแสดงชั้นนำของโลก ก่อนที่จะมาใช้กล่าวแทนคำอำลา เจ้าหญิงไดอาน่าอีกครั้ง โดย ในงานพระราชพิธีพระศพนั้นไม่ใช่แต่เพียงเซอร์เอลตัน จอห์นเท่านั้นที่รู้สึกเศร้าโศก หากแต่คนรอบข้างและทั้งโลกที่เสียดายต่อการจากไปของเจ้าหญิงไดอาน่าด้วย
โดยเซอร์เอลตัน จอห์นได้เปลี่ยนเนื้อเพลงท่อนแรกเสียใหม่จาก "Goodbye Norma Jean" เป็น "Goodbye England's Rose" แม้ว่าทั้งคู่จะมีชีวิตที่แตกต่างกันมาก แต่ก็เหมือนกันในข้อที่ต้องทุกข์ทรมาน เพื่อ คนอื่นเช่นกัน
บทเพลง ท่อนหนึ่งของเนื้อเพลงที่กินใจ ผู้ชมมากที่สุดคือท่อนที่ว่า "Your candle's burned out long before...your legend ever will...."
เทียนของเธอดับสิ้นนานไป แต่ตำนานของเธอจะไม่เสื่อมคลาย...แด่ เจ้าหญิงไดอาน่า เจ้าหญิงอันเป็นที่กล่าวขานของคนทั้งโลก
ชีวิตคู่ของชาร์ลส์กับไดอาน่า สรุปไทม์ไลน์ดังนี้
ตอบลบ2524/1981
– 24 กุมภาพันธ์ ประกาศหมั้น ไดอาน่าต้องย้ายเข้าไปอยู่ร่วมบ้านกับ “ควีนมัม” หรือก็คือ พระราชชนนี (แม่) ของควีนอลิซาเบธที่ 2 เพื่อเรียนรู้เรื่องระเบียบราชสำนักก่อนเข้าร่วมเป็นสมาชิกพระราชวงศ์
– มีนาคม ไดอาน่าเริ่มวิตกกังวล และเผชิญหน้ากับโรคบูลิเมียเป็นครั้งแรก
– กรกฎาคม ก่อนแต่งงาน ไดอาน่าเริ่มระแคะระคายเรื่องคู่รักเก่าของชาร์ลส์ และทะเลาะกัน
– 29 กรกฎาคม พิธีอภิเษกสมรส ณ โบสถ์เซนต์ปอล
– สิงหาคม ระหว่างฮันนีมูนกลางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ไดอาน่าพบรูปคามิลล่าตกออกมาจากไดอารีของชาร์ลส์
– ธันวาคม ไดอาน่าตั้งท้องเจ้าชายวิลเลียม และเริ่มบำบัดโรคบูลิเมีย
2525/1982
– มกราคม หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์แย่งชิงกันลงข่าวและภาพ “เจ้าหญิงไดอาน่า” ด้วยความหลงใหลในเสน่ห์รอยยิ้มแจ่มใสร่าเริง มากกว่ามาดเคร่งขรึมแบบผู้ดีทุกกระเบียดนิ้วของชาร์ลส์ ช่วงนี้ไดอาน่าเป็นทุกข์เรื่องคู่รักเก่าของชาร์ลส์มาก ถึงกับตัดสินใจกระโดดบันไดจะฆ่าตัวตายหลายหน
– 21 มิถุนายน วันประสูติเจ้าชายวิลเลียม แม้ชาร์ลส์จะตื่นเต้นมาก แต่ทั้งคู่ก็ขัดแย้งกันอีกในเรื่องตั้งชื่อพระโอรส
2526/1983
– มกราคม มีข่าวปรากฏซุบซิบตามหน้าหนังสือพิมพ์ว่า ไดอาน่าเป็นคนร้ายกาจ
– มีนาคม ก่อนออกเดินทางเยือนประเทศในเครือจักรภพครั้งแรกสู่ออสเตรเลีย ไดอาน่าขัดแย้งกับทางราชสำนัก เรื่องที่ต้องการนำเจ้าชายวิลเลียมในวัยแบเบาะร่วมเสด็จด้วย
– กันยายน ไดอาน่าตั้งท้องอีกครั้งแต่แท้ง และต่อมาก็ประสบความสำเร็จในการท้องเจ้าชายแฮรี่
2527/1984
ตอบลบ– ตลอดฤดูร้อนของปีนี้ ไดอาน่ายืนยันว่าเป็นช่วงที่เกิดความเข้าใจในครอบครัวมากขึ้น และเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขในชีวิตสมรสที่สุด
– 15 กันยายน วันประสูติเจ้าชายแฮรี่ มีข่าวว่าชาร์ลส์ผิดหวังที่ไม่ได้พระธิดา จึงเริ่มหมางเมินกับไดอาน่าอีกครั้ง และหันไปให้ความสนใจกับกีฬาโปโลมากกว่า
– พฤศจิกายน หนังสือพิมพ์เริ่มวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยของไดอาน่า โดยเฉพาะเสื้อผ้าหรูหราราคาแพงเต็มตู้
2528/1985
– มกราคม ไดอาน่าทุกข์ทรมานกับโรคบูลิเมียอย่างมาก อาเจียนวันละ 4 ครั้งเป็นอย่างน้อย
– หนังสือพิมพ์รายงานข่าวชีวิตสมรสที่เริ่มแตกร้าว และความขัดแย้งต่าง ๆ ระหว่างชาร์ลส์กับไดอาน่า ทั้งคู่แก้ข่าวด้วยการออกมาให้สัมภาษณ์ว่าใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างอบอุ่น
– ธันวาคม ทั้งคู่เดินทางเยือนสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการครั้งแรก
2529/1986
– ไดอาน่าอ่อนเพลียและงีบหลับระหว่างออกงานคู่กับชาร์ลส์ จึงถูกชาร์ลส์วิจารณ์อย่างรุนแรง
– กรกฎาคม เฟอร์กี้แต่งงานกับเจ้าชายแอนดรูว์ พระราชโอรสในควีนอลิซาเบธที่ 2 หนังสือพิมพ์วิพากษ์วิจารณ์ว่า ไดอาน่าได้คู่หูคนใหม่ในเรื่องความไม่เอาไหน และใช้จ่ายฟุ่มเฟือยแล้ว ช่วงนี้ไดอาน่าเริ่มมีความสัมพันธ์พิเศษกับเจมส์ เฮวิตต์
– พฤศจิกายน ชาร์ลส์กลับไปมีความสัมพันธ์กับคามิลล่า อดีตคู่รัก
2530/1987
– ไดอาน่าถูกหนังสือแท็บลอยด์วิจารณ์ว่า จุ้นจ้าน และไม่รู้จักหน้าที่เมื่อเธอขัดแย้งกับข้าราชบริพารในราชสำนัก และพระพี่เลี้ยงลาออก
– ฤดูใบไม้ผลิ มีภาพไดอาน่ากับกัปตันเดวิด วอเตอร์เฮาส์ เผยแพร่ออกไป
– มิถุนายน มีข่าวลือเรื่องไดอาน่านัดหมายกับเพื่อนชายนายแบงก์ ชื่อฟิลิป ดูน
– ตุลาคม ชาร์ลส์และไดอาน่าออกเยี่ยมประชาชนชาวเวลส์ที่ประสบอุทกภัยด้วยกัน แต่แทบจะไม่พูดกันเลย
2531/1988
ตอบลบ– มกราคม เพื่อนสนิทของไดอาน่า คือ คาโรลีน บาโธโลมิว ช่วยพาไดอาน่าไปบำบัดโรคบูลิเมีย ที่ศูนย์บำบัดทางจิตของ ดร. มอริช ลิปเสดจ์ ในกรุงลอนดอน อย่างจริงจัง
– มีนาคม ชาร์ลส์ประสบอุบัติเหตุหิมะถล่ม ระหว่างพักผ่อนเล่นสกีในยุโรป และฮิวจ์ ลินซีย์ เพื่อนสนิทเสียชีวิต ทำให้ชาร์ลส์ถูกกดดันมาก และคิดว่า เขาเป็นต้นเหตุการตายของเพื่อน
2532/1989
– กุมภาพันธ์ ทั้งคู่เริ่มแยกกันปฏิบัติภารกิจอย่างชัดเจน ไดอาน่าไปนิวยอร์ก ชาร์ลส์ไปเอดินเบอระ
– มีนาคม ชาร์ลส์และไดอาน่าเดินทางร่วมกันไปเยี่ยมหน่วยรบของอังกฤษที่ประจำการในสงครามอ่าวเปอร์เซีย
– พฤษภาคม ชาร์ลส์กับคามิลล่าเดินทางไปพักผ่อนด้วยกันที่ตุรกี และในงานปาร์ตี้แห่งหนึ่ง ไดอาน่าได้เผชิญหน้า และโต้เถียงกับคามิลล่า เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนทั้งคู่
2533/1990
– มิถุนายน ชาร์ลส์ประสบอุบัติเหตุแขนหักจากการเล่นโปโล ต้องเข้ารับการผ่าตัดในฤดูใบไม้ร่วง
– กันยายน ระหว่างพักรักษาตัวในโรงพยาบาล คามิลล่าแทบจะไม่ห่างจากเตียงชาร์ลส์ เธอรับหน้าที่ทุกอย่าง ทั้งป้อนอาหาร ยา รวมทั้งอ่านหนังสือให้ฟัง เหตุการณ์นี้ทำให้ไดอาน่าเสียหน้าอย่างรุนแรง และโกรธที่ชาร์ลส์ปล่อยให้คามิลล่าเจ้ากี้เจ้าการกับทุกเรื่องเกินไป
– ตุลาคม ไดอาน่าถูกตำรวจจับ เพราะขับรถเร็วเกินกำหนด ถูกปรับ 150 ปอนด์ และถูกห้ามขับรถนาน 1 เดือน
2534/1991
– มกราคม ไดอาน่าบอกเพื่อนสนิทให้ความร่วมมือกับแอนดรูว์ มอร์ตัน ที่กำลังรวบรวมเขียนชีวประวัติเธอ
– มีนาคม เจมส์ เฮวิตต์ กลับไปปฏิบัติราชการในสงครามอ่าวอีกครั้ง หลังจากนั้นไม่นาน ความสัมพันธ์ของเขากับไดอาน่าก็ปิดฉากลง
– มิถุนายน เจ้าชายวิลเลียมประสบอุบัติเหตุที่ศีรษะต้องรับการผ่าตัด หนังสือพิมพ์วิจารณ์ชาร์ลส์อย่างรุนแรงที่ไม่สนใจลูก แต่ไปดูโอเปร่าแทน
2535/1992
ตอบลบ– ชาร์ลส์กับไดอาน่าเข้าพบหารือกับควีนอลิซาเบธที่ 2 เพื่อหาลู่ทางหย่าขาดจากกัน แต่ทั้งคู่ถูกปฏิเสธ
– มิถุนายน หนังสือ “Diana : Her True Story” ออกวางตลาด ระบุเรื่องไดอาน่าพยายามฆ่าตัวตาย และป่วยด้วยโรคบูลิเมีย
– กรกฎาคม ชาร์ลส์และไดอาน่าปรึกษาทนายความเรื่องหนทางในการหย่า
– สิงหาคม มีการเอาเทปโทรศัพท์ที่ไดอาน่าคุยกับสหายหนุ่ม คือ เจมส์ กิลบี้ ตั้งแต่ปี 2533 ออกมาเผยแพร่
– พฤศจิกายน ทั้งคู่ประกาศแยกกันอยู่อย่างเป็นทางการ ชาร์ลส์จ้างพี่เลี้ยงคนใหม่ชื่อ “ทิกกี้” ไว้คอยดูแลเจ้าชายองค์น้อย ทำให้ไดอาน่าโกรธมาก
2536/1993
– มกราคม เทปโทรศัพท์บทสนทนาระหว่างชาร์ลส์กับคามิลล่าแพร่ออกมาสู่สาธารณะหลายครั้ง
– มิถุนายน มีการตกลงกันว่าใครจะได้อยู่กับลูกชายทั้งสองในช่วงคริสต์มาส
– พฤศจิกายน หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ตีพิมพ์ภาพไดอาน่ากำลังออกกำลังกายในยิมแห่งหนึ่ง และหมอดูประจำตัว ทำนายว่าชีวิตจะดีขึ้นหลังเดือนธันวาคม
– ธันวาคม ไดอาน่าแถลงข่าว กล่าวหาว่า เธอถูกคุกคามเสรีภาพจากสื่อมวลชนมากเกินไป โดยไม่แยกแยะว่าเรื่องใดเป็นส่วนรวมหรือส่วนตัว ช่วงคริสต์มาสเจ้าชายน้อยทั้งสองพระองค์ไปร่วมฉลองกับพระบิดา ส่วนไดอาน่าฉลองคริสต์มาสเพียงลำพังในตำหนักเคนชิงตัน
2537/1994
– มิถุนายน ชาร์ลส์ให้สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ ยอมรับว่ามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสตรีอื่นจริง
– สิงหาคม มีการดักฟังโทรศัพท์ของไดอาน่า จนเป็นข่าวครึกโครม
– ช่วงฤดูร้อน ไดอาน่า และที่ปรึกษา หารือเรื่องหย่าอีกครั้ง
– ตุลาคม หนังสือ “A Princess in Love” ออกสู่ตลาด แฉเรื่องราวสัมพันธ์สวาทของไดอาน่ากับเจมส์ เฮ วิตต์ ขณะเดียวกันหนังสืออีกเล่มคือ “The Prince of Wales” ของ โจนาธาน ดิมเบิลบี ก็ออกมาโต้ว่า ไดอาน่าคือภรรยาเจ้าปัญหา และชาร์ลส์คือเหยื่อในความสัมพันธ์นี้
2538/1995
– กันยายน ไดอาน่าถูกหนังสือแท็บลอยด์วิจารณ์ว่า เป็นตัวการทำให้ครอบครัวของวิล คาร์ลิง กัปตันทีมรักบี้ของอังกฤษแตกร้าว
– พฤศจิกายน ไดอาน่าไปพบเจ้าชายวิลเลียมที่โรงเรียนอีตันก่อน เพื่อแจ้งเรื่องที่จะให้สัมภาษณ์รายการโทรทัศน์ “พาโนรามา” ของบีบีซี สารภาพเรื่องความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับเจมส์ เฮวิตต์ พร้อมให้ทัศนะว่า ชาร์ลส์ไม่เหมาะที่จะเป็นกษัตริย์อังกฤษคนต่อไป
– ธันวาคม มีการสำรวจพบว่าชาวอังกฤษ 72% เห็นว่า ราชสำนักอังกฤษปฏิบัติไม่ถูกต้องกับไดอาน่า ควีนอลิซาเบธอที่ 2 แสดงความประสงค์ให้ทั้งสองคนหย่าขาดจากกันโดยเร็วที่สุด
2539/1996
ตอบลบ– กุมภาพันธ์ ไดอาน่าให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า การหย่าขาดได้เตรียมการเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นสำนักพระราชวังบักกิงแฮมก็ออกประกาศอย่างเป็นทางการ อนุญาตให้ทั้งสองหย่าขาดจากกันได้ สื่อมวลชนเสนอข่าวใหญ่ครึกโครม
– มีนาคม การเจรจาเรื่องหย่าร้างดำเนินในรายละเอียดต่อไป โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องทรัพย์สินและค่าเลี้ยงดูที่ไดอาน่าจะได้รับ
– สิงหาคม ชาร์ลส์และไดอาน่าลงนามในเอกสารหย่าขาดจากกัน ไดอาน่าต้องสูญเสียยศนำ หน้า H.R.H. แต่ยังเป็น “เจ้าหญิงแห่งเวลส์” เช่นเดิม ได้สิทธิ์พำนักในตำหนักเคนซิงตันต่อไป ได้เงินค่าเลี้ยงดูราว 800 ล้านบาท พร้อมมงกุฎพระราชินีแมรี่ที่เป็นของขวัญพระราชทานจากควีนอลิซาเบธที่ 2
2540/1997
– มกราคม ไดอาน่าเดินทางไปร่วมโครงการรณรงค์กู้กับระเบิดของกาชาดสากลที่ประเทศอังโกลา
– มิถุนายน ไดอาน่านำชุดที่สวมออกงานมาเปิดประมูลช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็ง และโรคเอดส์ ได้เงินราว 3.5 ล้านปอนด์
– 21 กรกฎาคม ไดอาน่าออกงานเป็นทางการครั้งสุดท้าย ไปเยี่ยมแผนกเด็กโรงพยาบาลเซนต์มาร์กในลอนดอน
– 31 ส.ค. ไดอาน่าประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตในรถยนต์ใต้อุโมงค์กลางกรุงปารีส พร้อมกับโดดี้ อัล ฟาเยด
การเสียชีวิตของ “เจ้าหญิงไดอาน่า” นับเป็นการปิดฉากสงครามรักหลังราชบัลลังก์อังกฤษที่ดำเนินมาอย่างยาวนานกว่า 16 ปี นี่เป็นฉากจบประเภท Tragedy หรือโศกนาฏกรรม ที่ละครแห่งชีวิตจริงลงท้ายด้วยความโศกเศร้า