นายกรัฐมนตรีอังกฤษ : ทำความรู้จัก ริชี สุนัค และ ลิซ ทรัสส์ และนโยบายสำคัญ
หลังจากที่นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษคนปัจจุบัน ถูกสมาชิกพรรคคอนเซอร์เวทีฟของเขากดดันจนต้องลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเมื่อ 7 ก.ค. ที่ผ่านมา ทำให้ทางพรรคต้องคัดเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ ซึ่งผู้ชนะจะได้ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนนายจอห์นสันในวาระการดำรงตำแหน่งที่เหลืออยู่ไปโดยปริยาย
ผู้สมัครชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคอนเซอร์เวทีฟที่ผ่านด่านการลงคะแนนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคคอนเซอร์เวทีฟหลายรอบจนเหลือ 2 คน สุดท้ายได้แก่ นายริชี สุนัค อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หนึ่งในรัฐมนตรีที่ระบุว่าไม่ไว้วางใจนายจอห์นสันและได้ลาออกไป และนางลิซ ทรัสส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนปัจจุบัน
แต่ผู้ที่จะชี้ชะตาของพวกเขาทั้ง 2 คนในการลงคะแนนรอบสุดท้าย คือสมาชิกพรรคคอนเซอร์เวทีฟทั่วประเทศ ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 160,000 คน หรือคิดเป็น 0.3% ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมดในสหราชอาณาจักร โดยจะมีการประกาศผลวันที่ 5 ก.ย. นี้
อดีตรัฐมนตรีคลังวัย 42 ปีได้รับการสนับสนุนจากรัฐมนตรีหลายคนในคณะรัฐมนตรี และเขาก็ยืนกรานว่า จะไม่ลดภาษีจนกว่าจะควบคุมเงินเฟ้อได้ ต่างจากบรรดาคู่แข่งของเขา ส่วนรัฐมนตรีต่างประเทศวัย 47 ปี ผ่านการเป็นรัฐมนตรีมาแล้วหลายกระทรวง และมีนโยบายหลายข้อที่ตรงข้ามกับนายสุนัคอย่างสิ้นเชิง
นโยบายของลิซ ทรัสส์
- ประกาศว่า จะยกเลิกการปรับขึ้นเงินนำส่งกองทุนประกันสังคม (National Insurance) ของสหราชอาณาจักร หลังจากมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่เดือน เม.ย.
- รับปากว่า จะยกเลิกแผนการปรับขึ้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่มีแผนจะปรับขึ้นจาก 19% เป็น 25% ในปี 2023
- จะระงับสิ่งที่คนรู้จักกันในชื่อ "อากรสีเขียว" (green levy) ซึ่งหมายถึงภาษีสิ่งแวดล้อม ที่เป็นส่วนหนึ่งของค่าพลังงานที่ประชาชนต้องจ่าย เงินส่วนนี้จะถูกนำไปใช้ในโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
- ระบุว่า จะตัดลดค่าใช้จ่ายลงด้วยการขยายระยะเวลาการชำระ "หนี้โควิด" ของสหราชอาณาจักรให้นานขึ้น
- สัญญาว่า จะแก้ไขการจัดเก็บภาษีเพื่อช่วยเหลือคนที่ต้องอยู่บ้านเพื่อดูแลลูกหรือญาติที่สูงอายุ
- ต้องการสร้าง "เขตที่เก็บภาษีต่ำและมีกฎเกณฑ์น้อยลง" ตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อสร้างศูนย์กลางวิสาหกิจและนวัตกรรม
- ระบุว่า จะไม่ตัดลดการใช้จ่ายภาครัฐลง ถ้ายังไม่มีหนทางที่จะทำเช่นนั้นได้ เพื่อที่จะไม่นำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ในอนาคต
- จะตั้งเป้าการใช้งบกลาโหมที่ 2.5% ของจีดีพีในปี 2026 และจะตั้งเป้าการใช้งบกลาโหมใหม่เป็น 3% ในปี 2030
นโยบายของ ริชี สุนัค
- รับปากว่า จะลดภาษี "เมื่อเราควบคุมเงินเฟ้อได้แล้ว" แต่ไม่บอกว่าเมื่อไร
- รับปากว่า จะตัดลดภาษีเงินได้ลงก่อนสิ้นสุดการประชุมรัฐสภาครั้งต่อไป
- เขารับปากด้วยว่า จะยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บอยู่ 5% ในค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในครัวเรือนเป็นเวลา 1 ปี สำหรับครัวเรือนทั่วไปหากค่าใช้จ่ายส่วนนี้สูงเกิน 3,000 ปอนด์
- ระบุว่า การตกลงการจ่ายค่าตอบแทนในหน่วยงานของภาครัฐควรจะเป็นการตัดสินใจขององค์กรตรวจสอบการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นอิสระ
- เขาปรับขึ้นเงินนำกองทุนส่งประกันสังคม1.25 เพนนีต่อปอนด์ เพื่อใช้จ่ายในการดูแลสังคมและสาธารณสุข แต่ก็มีการปรับขึ้นระดับเงินได้ของผู้ต้องที่ต้องเริ่มจ่ายเงินนำส่งนี้เป็น 12,570 ปอนด์ต่อปีด้วย
- ประกาศแผนการขึ้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 19% เป็น 25% ในเดือน เม.ย. ปี 2023
- สัญญาว่า จะรักษาการใช้งบประมาณกลาโหม และบอกว่า เราควรจะมองการใช้จ่ายขั้นต่ำ 2% ของจีดีพีในปัจจุบัน "เป็นพื้นไม่ใช่เพดาน"
สิ้นสุด YouTube โพสต์, 1
ริชี สุนัค คือใคร
นายสุนัค รับตำแหน่งรัฐมนตรีคลังเมื่อ ก.พ. 2020 และหลังจากนั้นไม่กี่สัปดาห์ก็ต้องบริหารเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรในช่วงที่เริ่มมีการล็อกดาวน์และการระบาดใหญ่ของโควิด-19 โดยเขาได้มีโครงการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิดมูลค่ารวม 350,000 ล้านปอนด์ (ประมาณ 15.5 ล้านล้านบาท) ทำให้คะแนนนิยมในตัวเขาพุ่งสูงขึ้น
นายสุนัค เคยถูกตำรวจปรับจากการละเมิดกฎล็อกดาวน์ที่ทำเนียบนายกรัฐมนตรีเมื่อ มิ.ย. 2020
เดือน เม.ย. ที่ผ่านมา มีผู้ไม่เห็นด้วยกับพรรคคอนเซอร์เวทีฟบางส่วนตั้งคำถามว่า นักการเมืองมหาเศรษฐีผู้นี้มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงปัญหาค่าครองชีพที่ประชาชนกำลังเผชิญอยู่หรือไม่
ในเดือนเดียวกันนั้นเองที่นายสุนัคและครอบครัวของเขาเผชิญกับการตรวจสอบทางการเงินอย่างเข้มข้น ทำให้เรื่องภาษีของอัคชาตา มูรตี ทายาทมหาเศรษฐี ซึ่งเป็นภรรยาของเขา ถูกเปิดเผย
ในเวลาต่อมา เธอประกาศว่า เธอจะเริ่มจ่ายภาษีให้แก่สหราชอาณาจักรจากรายได้ที่มาจากต่างประเทศ เพื่อบรรเทาแรงกดดันที่มีต่อสามีของเธอ
ทางพรรคเลเบอร์ได้ตั้งคำถามหลายข้อเกี่ยวกับฐานะทางการเงินของเขา รวมถึง นายสุนัคเคยได้รับประโยชน์จากการใช้ประเทศหรือดินแดนที่ไม่มีการเก็บภาษีหรือเก็บภาษีต่ำหรือไม่
หนังสือพิมพ์ ดิ อินดิเพนเดนต์ ระบุว่า เขาได้รับประโยชน์ โดยมีรายงานที่อ้างว่า เขาเป็นผู้รับผลประโยชน์จากทรัสต์ที่อยู่ในหมู่เกาะบริติชเวอร์จินและหมู่เกาะเคย์แมน ในปี 2020 โฆษกของนายสุนัค ระบุว่า พวกเขา "ไม่ยอมรับ" ข้อกล่าวอ้างเหล่านี้
พ่อแม่ของนายสุนัค อพยพมาจากแอฟริกาตะวันออก ทั้งคู่เป็นคนเชื้อสายอินเดีย ตัวเขาเกิดที่เมืองเซาแธมป์ตันในปี 1980 ซึ่งพ่อของเขาเป็นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (General Practitioner - GP) และแม่ของเขามีร้านขายยาของตัวเอง
เขาเข้าเรียนที่วิทยาลัยวินเชสเตอร์ (Winchester College) โรงเรียนเอกชน และทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟอาหารที่ร้านอาหารในเมืองเซาแธมป์ตันช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน จากนั้นเขาก็ได้เข้าเรียนด้านปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด
ในช่วงที่เขาเรียนต่อปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) เขาได้พบกับอัคชาตา มูรตี ภรรยาของเขา ซึ่งเป็นบุตรสาวของนารายณ์ มูรตี เศรษฐีพันล้านชาวอินเดียและผู้ร่วมก่อตั้ง Infosys บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านให้บริการไอที ทั้งคู่มีบุตรสาวด้วยกัน 2 คน
ปี 2001-2004 นายสุนัค เป็นนักวิเคราะห์ที่โกลด์แมนแซคส์ และต่อมาได้เป็นหุ้นส่วนในเฮดจ์ฟันด์ 2 แห่ง
คาดกันว่า เขาเป็นหนึ่งใน ส.ส. ที่รวยที่สุด แต่เขาไม่เคยพูดถึงความมั่งคั่งของตัวเองอย่างเปิดเผย
ตั้งแต่ปี 2015 เขาเป็น ส.ส. ของพรรคคอนเซอร์เวทีฟในเมืองริชมอนด์ มณฑลยอร์กเชียร์ และได้เป็นรัฐมนตรีช่วยในรัฐบาลของนางเทรีซา เมย์ ก่อนที่นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีคนต่อมา จะแต่งตั้งให้เขาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในเดือน ก.ค. 2019 เป็นการตอบแทนที่เขาให้สนับสนุนนายจอห์นสันอย่างแข็งขัน
จากนั้นเขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในเดือน ก.พ. 2020 หลังจากที่นายซาจิด จาวิด ลาออกจากตำแหน่งดังกล่าวเพราะปัญหาภายในทำเนียบรัฐบาล แต่เมื่อไม่นานนี้ นายสุนัคก็ได้ลาออกและบอกว่า เขารู้สึกว่า แนวทางการบริหารเศรษฐกิจของตัวเองแตกต่างจากของนายกรัฐมนตรีจอห์นสัน มากเกินไป
นายสุนัค รณรงค์ให้ประชาชนลงมติออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป และลงมติสนับสนุนข้อตกลงเบร็กซิตของนางเมย์ทั้ง 3 ครั้งที่ถูกนำเข้าสภา
เขาเคยให้สัมภาษณ์บีบีซีในปี 2019 เกี่ยวกับภูมิหลังของเขาว่า "พ่อแม่ของผมอพยพมาที่นี่ คุณมีคนรุ่นที่เกิดที่นี่ พ่อแม่ของพวกเขาไม่ได้เกิดที่นี่ พวกเขามาประเทศนี้เพื่อมาสร้างชีวิต"
นายสุนัค นับถือศาสนาฮินดู ไม่ดื่มเหล้า และไปวัดทุกสุดสัปดาห์ เขาเคยให้สัมภาษณ์กับบีบีซีในปี 2019 ว่า เขาโชคดีที่ไม่ได้เผชิญกับการเหยียดเชื้อชาติมากนักในช่วงที่เติบโต แต่มีเหตุการณ์หนึ่งที่เขาจำได้ไม่เคยลืม
"ผมออกไปข้างนอกกับน้องสาวและน้องชาย ผมน่าจะอยู่ในช่วงวัยรุ่นกลาง ๆ เราไปที่ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดแห่งหนึ่ง และผมก็กำลังดูแลน้อง ๆ อยู่ มีคนที่นั่งอยู่ไม่ไกลพูดคำที่หยาบคายออกมาคือ คำที่ขึ้นต้นด้วยตัวพี (ตัว P มาจากครับว่า Paki ซึ่งในอังกฤษเป็นคำที่ใช้เหยียดคนที่มาจากเอเชียใต้) นี่เป็นครั้งแรกที่ผมเจอเหตุการณ์เช่นนี้" นายสุนัค กล่าว
ลิซ ทรัสส์ คือใคร
ตอนอายุ 9 ขวบ ลิซเคยสวมบทเป็นมาร์กาเรต แทตเชอร์ ในละครของโรงเรียน แต่ที่ต่างไปจากนายกรัฐมนตรีของคอนเซอร์เวทีฟที่ชนะได้ครองเสียงข้างมากในการเลือกตั้งทั่วไปในปีต่อมาผู้นี้คือ ลิซไม่ประสบความเสร็จเช่นนั้น
ละครที่เธอเล่นมีฉากที่ต้องเลือกตั้งด้วย และในปี 2018 นางทรัสส์ เล่าว่า "ฉันคว้าโอกาสนั้นไว้ และได้กล่าวสุนทรพจน์อย่างจริงใจที่การปราศรัย แต่สุดท้ายไม่มีใครลงคะแนนให้เลย แม้แต่ฉันก็ไม่ลงคะแนนให้ตัวเอง"
39 ปีต่อมา เธอกำลังคว้าโอกาสและดำเนินรอยตามสตรีเหล็กผู้นี้ในชีวิตจริง ในการเป็นหัวหน้าพรรคคอนเซอร์เวทีฟ และนายกรัฐมนตรี โดยรัฐมนตรีต่างประเทศผู้นี้ต้องแข่งขันกับอดีตรัฐมนตรีคลังตลอดช่วงฤดูร้อนนี้
บรรดาบริษัทรับพนันต่างให้นางทรัสส์เป็นต่อในการชนะการแข่งขันนี้ โดยเธอได้ใช้เวลานานหลายปีในการสร้างความสัมพันธ์กับสมาคมเขตเลือกตั้งต่าง ๆ และยังคงภักดีต่อนายบอริส จอห์นสัน ในวันที่มืดหม่นที่สุดในช่วงการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเขา แต่เธอก็ไม่ใช่คนในแบบเดียวกับสมาชิกพรรคคอนเซอร์เวทีฟทั่วไปในหลาย ๆ ด้าน
แมรี เอลิซาเบธ ทรัสส์ เกิดในเมืองอ็อกซ์ฟอร์ดในปี 1975 เธอเคยพูดถึงพ่อของเธอซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ และแม่ของเธอซึ่งเป็นพยาบาลว่า เป็น "ฝ่ายซ้าย"
ตอนที่ยังเป็นเด็กสาว แม่ของเธอเข้าร่วมการเดินขบวนของกลุ่มเรียกร้องปลดอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นการต่อต้านการตัดสินใจของรัฐบาลแทตเชอร์ที่อนุญาตให้มีการติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ที่กรีนแฮม คอมมอนทางตะวันตกของกรุงลอนดอน ของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
ครอบครัวของเธอย้ายไปอยู่ที่เมืองเพสลีย์ ทางตะวันตกของเมืองกลาสโกว์ ตอนที่นางทรัสส์อายุ 4 ขวบ ก่อนที่จะย้ายไปอยู่เมืองลีดส์ ซึ่งเธอได้เข้าโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นของรัฐที่นั่น
นางทรัสส์ได้เข้าเรียนด้านปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด และทำกิจกรรมด้านการเมืองของนักศึกษา โดยตอนแรกเธออยู่ฝ่ายลิเบอรัล เดโมแครต
ในการประชุมของพรรคลิเบอรัล เดโมแครต ปี 1994 เธอได้กล่าวสนับสนุนการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ โดยได้บอกแก่บรรดาผู้ร่วมประชุมในเมืองไบรตันว่า "เราชาวลิเบอรัล เดโมแครต เชื่อในโอกาสสำหรับทุกคน เราไม่เชื่อในคนที่เกิดมาเพื่อปกครอง"
ในช่วงที่อยู่ที่อ็อกซ์ฟอร์ด นางทรัสส์ได้ย้ายจากฝ่ายลิเบอรัล เดโมแครต มาอยู่ฝ่ายคอนเซอร์เวทีฟ
หลังจากจบการศึกษา เธอทำงานเป็นนักบัญชีที่บริษัทเชลล์ (Shell) และบริษัทเคเบิล แอนด์ ไวร์เลส (Cable & Wireless) เธอได้แต่งงานกับฮิว โอเลียรี ซึ่งเป็นนักบัญชีเช่นเดียวกันในปี 2000 ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 2 คน
นางทรัสส์เคยเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคคอนเซอร์เวทีฟในเมืองเฮมสเวิร์ธ ของเวสต์ ยอร์กเชียร์ ในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2001 แต่เธอแพ้การเลือกตั้ง นางทรัสส์ยังแพ้เลือกตั้งอีกครั้งในเมืองคาลเดอร์ วัลเลย์ ซึ่งอยู่ในเวสต์ ยอร์กเชียร์ เช่นเดียวกันในการเลือกตั้งปี 2005
แต่ความทะเยอทะยานทางการเมืองของเธอก็ยังไม่หมดไป เธอได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาของกรีนิช ทางตะวันออกเฉียงใต้ของลอนดอนในปี 2006 และตั้งแต่ปี 2008 เธอก็ได้ทำงานเป็นรองผู้อำนวยการของรีฟอร์ม (Reform) สถาบันวิจัยที่เอนเอียงมาทางฝ่ายขวา
นายเดวิด คาเมรอน หัวหน้าพรรคคอนเซอร์เวทีฟ ได้ให้นางทรัสส์อยู่ในบัญชีผู้สมัครที่มีความสำคัญลำดับแรก ๆ ในการเลือกตั้งปี 2010 และเธอก็ได้รับเลือกให้ลงเลือกตั้งในเขตที่เป็นฐานเสียงของพรรคคอนเซอร์เวทีฟอย่าง เซาท์ เวสต์ นอร์ฟอล์ก ซึ่งเธอได้คะแนนมากกว่า 13,000 เสียง
ในปี 2012 สมาคมเขตเลือกตั้งของพรรคคอนเซอร์เวทีฟพยายามจะขับเธอออก หลังจากมีการเปิดเผยว่า เธอมีความสัมพันธ์ชู้สาวกับนายมาร์ก ฟีลด์ เพื่อน ส.ส. พรรคคอนเซอร์เวทีฟ เมื่อ 5 ปีก่อนหน้านั้น แต่สุดท้ายก็ไม่ประสบความสำเร็จ
เธอยังเคยร่วมเขียนหนังสือเรื่อง Britannia Unchained (อาจแปลเป็นไทยได้ว่า เกาะอังกฤษที่ไร้พันธนาการ) ซึ่งได้แนะนำให้ถอดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของรัฐออก เพื่อกระตุ้นบทบาทของสหราชอาณาจักรในระดับโลก ทำให้เธอเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญของฝ่ายนโยบายตลาดเสรีในพรรคคอนเซอร์เวทีฟ
ในเดือน ก.ย. 2012 เพียง 2 ปี หลักจากที่ได้เป็น ส.ส. เธอได้เข้าร่วมรัฐบาลในฐานะ รมช. ศึกษา เธอขัดแย้งกับนายนิก เคลกก์ รองนายกรัฐมนตรีจากพรรคลิเบอรัล เดโมแครต เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา แต่นายคาเมรอน นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เลื่อนตำแหน่งให้เธอเข้ามาร่วมในคณะรัฐมนตรีในปี 2014 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม
ในการลงประชามติเบร็กซิตในปี 2016 นางทรัสส์ อยู่ฝ่ายสนับสนุนให้สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต่อไป โดยเคยเขียนลงหนังสือพิมพ์เดอะซันว่า เบร็กซิตจะทำให้เกิด "โศกนาฏกรรม 3 อย่าง คือ กฎเกณฑ์มากขึ้น รูปแบบมากขึ้น และความล่าช้าที่มากขึ้น เมื่อต้องขายสินค้าให้สหภาพยุโรป" แต่เมื่อฝ่ายที่เธอสนับสนุนแพ้ เธอก็เปลี่ยนใจ โดยบอกว่า เบร็กซิต ให้โอกาสในการปรับเปลี่ยนการทำงานของสิ่งต่าง ๆ ในสหราชอาณาจักร
ในปี 2016 เธอได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในสมัยของเทรีซา เมย์ ปีต่อมาเธอได้เป็น รมช. คลัง กำกับดูแลกรมสำคัญและโครงการเศรษฐกิจสำคัญของรัฐบาล
หลังจากที่นายบอริส จอห์นสัน เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2019 นางทรัสส์ถูกย้ายไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้เธอต้องพบกับผู้นำทางธุรกิจและการเมืองระดับโลกจำนวนมากเพื่อส่งเสริมบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของสหราชอาณาจักร
ในปี 2021 ขณะอายุ 46 ปี เธอได้ย้ายไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในตำแหน่งที่อาวุโสที่สุดในรัฐบาล แทนนายโดมินิก ราบ ซึ่งถูกนายจอห์นสันย้ายไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
นอกจากนี้ เธอยังมีบทบาทในการช่วยเหลือผู้ถือสัญชาติอังกฤษและอิหร่าน 2 คน ที่ถูกอิหร่านควบคุมตัวไว้
ในตอนที่รัสเซียบุกยูเครนในเดือน ก.พ. เธอมีท่าทีที่แข็งกร้าว ยืนกรานว่า ควรผลักดันกองกำลังทั้งหมดของวลาดิเมียร์ ปูติน ออกไปจากยูเครน
แต่เธอเผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์ หลังจากแสดงการสนับสนุนคนจากสหราชอาณาจักรที่ต้องการไปร่วมรบในยูเครน
ในขณะที่เธอพยายามจะเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนที่ 3 ของสหราชอาณาจักร เธอก็ถูกคนมองว่า พยายามแต่งตัวคล้ายกับนางแทตเชอร์ด้วย ในการเดินทางเยือนรัสเซียและระหว่างการเข้าร่วมการดีเบตเพื่อชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคอนเซอร์เวทีฟที่มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ครั้งหนึ่ง
"มันค่อนข้างน่าหงุดหงิดที่นักการเมืองหญิงถูกเปรียบเทียบกับมาร์กาเรต แทตเชอร์ อยู่เสมอ ขณะที่นักการเมืองชายไม่ถูกเปรียบเทียบกับ เท็ด ฮีธ บ้างเลย" นางทรัสส์ กล่าวกับ จีบี นิวส์ (GB News)
ใครคือ ผู้ชี้ชะตา
ผู้สมัครที่เหลืออยู่ 2 คนสุดท้ายจะต้องพยายามโน้มน้าวให้สมาชิกพรรคสนับสนุนตัวเองในการปราศรัยต่าง ๆ ที่จัดขึ้นทั่วประเทศระหว่าง 28 ก.ค. - 31 ส.ค. โดยจะปิดรับบัตรลงคะแนนที่เวลา 17.00 น. ของวันที่ 2 ก.ย. และจะมีการประกาศชื่อผู้ชนะในวันที่ 5 ก.ย. นี้
พรรคคอนเซอร์เวทีฟ ไม่เปิดเผยจำนวนที่แน่นอนของคนที่มีสิทธิ์ลงคะแนนในรอบสุดท้าย แต่มีจำนวนมากกว่า 160,000 คน หรือราว 0.3% ของผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งของสหราชอาณาจักร
งานวิจัยระบุว่า สมาชิกพรรคคอนเซอร์เวทีฟไม่ต่างจากสมาชิกพรรคการเมืองขนาดใหญ่อื่น ๆ ที่มักจะมีผู้สูงอายุ, ชนชั้นกลาง และคนขาวในสัดส่วนที่มากกว่าประชากรกลุ่มอื่น ๆ
ที่มา :: www.bbc.com/
Rishi Sunak และ Liz Truss เป็นผู้สมัครคนสุดท้ายเพื่อชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษต่อจาก Boris Johnson
ตอบลบจอห์นสันลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเมื่อต้นเดือนนี้หลังจากเรื่องอื้อฉาวหลายครั้งนำไปสู่การลาออกของรัฐมนตรีหลายสิบคน พรรคอนุรักษ์นิยมสิบคนเข้าร่วมการแข่งขันเพื่อแทนที่เขา และการลงคะแนนเสียงห้ารอบ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ลดจำนวนคนเหล่านั้นเหลือเพียงสองคน
Sunak ชนะ 137 โหวตและ Truss ได้ 113 โหวตในรอบสุดท้ายขณะที่ Penny Mordaunt ด้วยคะแนน 105 แพ้
ผู้สมัครสองคนสุดท้ายพาไปที่ Twitter เพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลลัพธ์
“ขอบคุณที่เพื่อนร่วมงานไว้วางใจฉันในวันนี้ ฉันจะทำงานทั้งวันทั้งคืนเพื่อส่งข้อความไปทั่วประเทศ” สุนักทวีต
สำหรับส่วนของเธอ Truss ทวีตว่า: “ขอบคุณที่ไว้วางใจในตัวฉัน ฉันพร้อมที่จะเริ่มการทำงานตั้งแต่วันแรก”
ในตอนนี้ สมาชิกระดับสูงของพรรคราว 160,000 คนจะได้รับการเสนอชื่อ และในเดือนกันยายนจะมีการประกาศผู้ชนะและนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
ผู้สมัครทั้งสองที่ผ่านเข้ารอบ 2 คนสุดท้ายในการประกวดผู้นำพรรคอนุรักษ์นิยมทำหน้าที่ในรัฐบาลของจอห์นสัน และด้วยเหตุนี้จึงอาจทำให้จอห์นสันต้องผิดหวังกับเรื่องอื้อฉาว
อย่างแรกคือจอห์นสันเฆี่ยนตีสมาชิกรัฐสภาเพื่อปกป้องพันธมิตรทางการเมืองที่พบว่าละเมิดกฎการวิ่งเต้น และจบลงด้วยการเปิดเผยที่จอห์นสันแต่งตั้งให้เป็นรองหัวหน้าเฆี่ยนคริส พินเชอร์ ชายผู้ถูกกล่าวหาว่าล่วงละเมิดทางเพศหลายครั้ง
เรื่องอื้อฉาวที่รู้จักกันดีที่สุดคือ “ปาร์ตี้เกต” ซึ่งจอห์นสันและพันธมิตรทางการเมืองหลายคน รวมทั้งสุนัก ถูกตำรวจปรับโทษฐานละเมิดข้อจำกัดด้านโควิด-19 ของรัฐบาล สิ่งนี้ทำให้จอห์นสันเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานฝ่าฝืนกฎหมายในตำแหน่ง
ภารกิจที่ผู้สมัครสองคนสุดท้ายต้องเผชิญนั้นยิ่งใหญ่เพียงพอ โดยที่สหราชอาณาจักรประสบปัญหาวิกฤตค่าครองชีพ และพรรคอนุรักษ์นิยมก็ไม่เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากดำรงตำแหน่ง 12 ปี และทันทีที่ผู้นำคนใหม่เข้ารับตำแหน่ง พรรคแรงงานฝ่ายค้านก็เต็มใจเกินไปที่จะเตือนใครก็ตามที่ประสบความสำเร็จในจอห์นสันว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลนั้น
อากาศร้อนจัดทำให้ประเทศไม่พร้อมรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา จอห์นสันได้เข้าร่วมเซสชันคำถามของนายกรัฐมนตรีในสภา เขาโอ้อวดเกี่ยวกับการตอบสนองของรัฐบาลต่อการระบาดใหญ่และการสนับสนุนยูเครนในการป้องกันรัสเซีย
“เราได้ช่วย ฉันได้ช่วย ทำให้ประเทศนี้ผ่านการระบาดใหญ่ และช่วยประเทศอื่นให้พ้นจากความป่าเถื่อน และพูดตามตรง แค่นั้นก็เพียงพอแล้ว ภารกิจส่วนใหญ่สำเร็จแล้ว” จอห์นสันกล่าว “ฉันอยากจะขอบคุณทุกคนที่นี่และขอด่วน ลาวิสต้า ที่รัก”
รอบสุดท้ายของการแข่งขันความเป็นผู้นำเกิดขึ้นท่ามกลางคลื่นความร้อนที่ทำลายสถิติ ซึ่งจุดชนวนให้เกิดไฟป่าและเน้นย้ำถึงความพร้อมที่ไม่เพียงพอของสหราชอาณาจักรสำหรับภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศ รวมถึงความจำเป็นในการดำเนินมาตรการเร่งด่วนในการควบคุมการปล่อยคาร์บอน
นี่คือสิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับผู้สมัครสองคนสุดท้าย:
Sunak ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 2020-2022
ฤๅษี สุนัก
Sunak ได้รับการพิจารณาเป็น frontrunner มาเป็นเวลานาน เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของกระทรวงการคลังของจอห์นสัน (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง) ตั้งแต่ปี 2020-2022 และได้รับข้อมูลสาธารณะในเชิงบวกอย่างมากมายหลังจากแนะนำมาตรการที่ได้รับความนิยมในช่วงการระบาดของโรคโคโรนาไวรัส เช่น โครงการพักงานและส่วนลดสำหรับการรับประทานอาหารในร้านอาหาร
เมื่อเร็วๆ นี้เขาถูกกดดันจากคำถามเกี่ยวกับสถานะทางภาษีของ Akshata Murthy ภรรยาของเขา เศรษฐีหลายล้านคนซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในอินเดีย
พรรคอนุรักษ์นิยมบางคนกังวลว่าสุนักพบว่ามีการตรวจสอบในระดับนี้อย่างหนัก และกังวลว่าเขาจะหลุดพ้นจากแรงกดดันจากการเป็นนายกรัฐมนตรี
อย่างไรก็ตาม เขาได้นำกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคอนุรักษ์นิยมมาอย่างต่อเนื่องในการลงคะแนนเสียงรอบแรก
บอริส จอห์นสัน ระเบิดครั้งใหญ่ หลังรัฐมนตรีระดับสูงของรัฐบาลอังกฤษ 2 คนลาออก
ตอบลบการเลือกตั้งสมาชิกพรรคอนุรักษ์นิยมอาจเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่วุ่นวายเช่นนี้ แต่ในการเลือกตั้ง สุนัก กลับเป็นรอง Truss ในหมู่สมาชิกพรรคเสมอมา
แม้ว่าเขาจะขึ้นสู่อำนาจ เขาจะต้องเอาชนะคำวิจารณ์จากศัตรูทางการเมืองของทุกแนว ผู้นำฝ่ายค้านจะรีบเตือน Sunak ว่าเขาถูกปรับที่งาน Partygate เดียวกันกับ Johnson
พวกเขายังจะถามอีกว่าเหตุใด Sunak ยังคงจงรักภักดีต่อ Johnson เป็นเวลานาน เพียงลาออกหลังจากเรื่องอื้อฉาวที่เกี่ยวข้องกับ Chris Pincher หัวหน้าแส้ของ Johnson
สถานการณ์เลวร้ายลงเมื่อคุณคำนึงถึงผู้ภักดีต่อจอห์นสัน ซึ่งเชื่อว่าการลาออกของสุนักเป็นช่วงเวลาที่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอห์นสันเริ่มพังทลาย
ดังนั้นในขณะที่สุนักอาจเป็นแนวหน้า เขาจะถูกห้อมล้อมด้วยศัตรูจากทุกทิศทุกทาง
ปัจจุบัน Truss เป็นเลขานุการต่างประเทศของสหราชอาณาจักร
Liz Truss
ตอบลบทรัสยังมีปัญหาสมาคมจอห์นสัน เธอยังคงดำรงตำแหน่งเลขานุการต่างประเทศของจอห์นสัน และจะทำเช่นนั้นจนกว่าเขาจะออกจากตำแหน่งในเดือนกันยายน เธอยืนหยัดเคียงข้างผู้นำของเธอตลอดเรื่องอื้อฉาวทั้งหมดของเขา โดยให้เหตุผลว่าเธอไม่ได้ลาออกเพราะเรื่องอื้อฉาว Pincher เพราะเธอกำลังประสานงานการตอบสนองของสหราชอาณาจักรต่อการรุกรานยูเครนของรัสเซีย
คำอธิบายดังกล่าวอาจล้างออกด้วยบางส่วน อย่างไรก็ตาม Truss ส่วนใหญ่คิดโดยพรรคอนุรักษ์นิยมในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้งต่อเนื่องของ Johnson ในบรรดาผู้สนับสนุนหลักของเธอคือพันธมิตรที่ภักดีที่สุดของจอห์นสัน ซึ่งอาจทำให้การแยกตัวจากนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเป็นเรื่องยุ่งยาก
การทำตัวให้ห่างเหินจากนโยบายของจอห์นสันก็เป็นเรื่องยากเช่นกัน Truss ซึ่งโหวตให้สหราชอาณาจักรยังคงอยู่ในสหภาพยุโรป ได้กลายเป็นผู้นำ Brexiteer นับตั้งแต่การลงประชามติปี 2559
Liz Truss รมว.ต่างประเทศอังกฤษ เปิดประมูลนายกฯ
เนื่องจากจอห์นสันเข้ารับตำแหน่ง เธอเป็นเลขานุการการค้าและเลขานุการต่างประเทศของเขา ในอดีต เธอรู้สึกแย่พอๆ กับที่จอห์นสันลงนามในข้อตกลงการค้าทุกฉบับ แม้กระทั่งข้อตกลงแบบโรลโอเวอร์จากสหราชอาณาจักรในสหภาพยุโรป
นอกจากนี้ เธอยังเป็นผู้สนับสนุนแผนของจอห์นสันอย่างกระตือรือร้นที่จะเขียนส่วนที่ขัดแย้งของข้อตกลง Brexit ขึ้นใหม่ นั่นคือพิธีสารไอร์แลนด์เหนือ
ทรัสใช้เวลาส่วนใหญ่ในการสร้างฐานอำนาจและเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกลุ่มอนุรักษ์นิยมระดับรากหญ้า
Sunak และ Truss จะใช้เวลาช่วงฤดูร้อนในการรณรงค์ให้กับสมาชิกระดับรากหญ้าหัวโบราณก่อนที่พรรคจะประกาศผู้ชนะในวันที่ 5 กันยายน
หลังจากนั้นจอห์นสันจะลาออกจากราชินีซึ่งผู้สืบทอดของเขาจะไปเยี่ยมและได้รับเชิญให้จัดตั้งรัฐบาล