Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2567

ค่าธรรมเนียมการโอนบ้าน 2567

 ค่าธรรมเนียมการโอนบ้าน 2567



คำนวณค่าธรรมเนียมโอนบ้าน 

คำนวณค่าธรรมเนียมโอนบ้าน [ก่อนซื้อบ้านต้องรู้]


ในวันทำการโอนบ้านที่สำนักงานที่ดิน จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นนั่นคือ ค่าธรรมเนียมโอนบ้าน หรือค่าโอนกรรมสิทธิ์ ที่จะมีอัตราเรียกเก็บตามราคาประเมินที่ดินที่กำหนดเอาไว้

โดยในปี 2567 มีกำหนดค่าธรรมเนียมการโอนอยู่ที่ 1% ของราคาประเมิน (จากปกติ 2%) โดยอัตรานี้เป็นมาตรการปรับลดเพื่อกระตุ้นให้มีการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ และสนับสนุนให้คนไทยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง


จะได้ปรับลดค่าธรรมเนียมการโอน มีข้อกำหนดอะไรบ้าง?


  • เป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย
  • ซื้อขายที่อยู่อาศัยไม่ว่าจะเป็นมือหนึ่งหรือมือสอง ได้ทั้งบ้านเดี่ยว ห้องชุด บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์
  • ราคาซื้อขาย ราคาประเมิน และวงเงินจำนองต้องไม่เกิน 3 ล้านบาท
  • การได้ลดอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าว จะต้องทำการโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน


วิธีการคำนวณค่าธรรมเนียมโอนบ้าน

วิธีการคำนวณค่าธรรมเนียมโอนบ้าน


จะคำนวณโดยคิด 1% ของราคาประเมิน 

เช่น ซื้อบ้านราคา 3 ล้านบาท แต่มีราคาประเมิน 2 ล้านบาท มีค่าธรรมเนียมการโอน 1% จะต้องเตรียมค่าธรรมเนียมในการโอนจำนวน 20,000 บาท 

ซึ่งโดยปกติแล้วจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาประเมิน จำนวน 40,000 บาท

จากการคำนวณ จะเห็นได้ว่ามาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนนี้ ทำให้เราเสียค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ลดลงได้ครึ่งหนึ่ง ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น



ค่าธรรมเนียมโอนประเภทจดทะเบียนให้ ในกรณีที่เป็นเครือญาติ


สำหรับการโอนบ้านหรืออสังหาต่างๆ ถ้าหากเป็นการโอนให้กันในเครือญาติ จะมีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างจากปกติ และมีการคิดที่ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ด้วย โดยแบ่งออกเป็น

โอนให้บุคคลในครอบครัว จะมีการคิดค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% ของราคาประเมิน ได้แก่

  • โอนให้บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย บิดา-มารดาจดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
    *หมายเหตุ ชำระอากรแสตมป์ โดยไม่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • โอนให้บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย บิดา-มารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
    แยกเป็น 2 กรณีดังนี้
    1. มารดาโอนให้บุตร
    2. บิดาโอนให้บุตร ต้องจดทะเบียนรับรองบุตรพร้อมแสดงเอกสารประกอบการโอน
    *หมายเหตุ ชำระอากรแสตมป์ โดยไม่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • โอนให้คู่สมรสตามกฎหมาย โดยเป็นการโอนระหว่างสามี-ภรรยา ที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย
    *หมายเหตุ ชำระอากรแสตมป์ และเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

การโอนให้ญาติพี่น้องนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น คิดค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาประเมิน พร้อมชำระอากรแสตมป์ และเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา



เอกสารที่ต้องใช้ในการโอนบ้าน ที่ดิน หรือที่อยู่อาศัยอื่นๆ


สำหรับบุคลธรรมดา ให้เตรียมเอกสารสำหรับการโอนบ้าน ดังนี้

  • บัตรประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา และเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
  • ทะเบียนบ้านตัวจริง พร้อมสำเนา และเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
  • กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน ต้องใช้หนังสือมอบอำนาจที่ดิน (ทด.21) หรือ หนังสือมอบอำนาจห้องชุด (อช.21) แล้วแต่กรณี พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ
  • หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลตัวจริง
  • เอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือรับรองปลอดภาระหนี้จากนิติบุคคลอาคารชุด ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า คำสั่งศาล ฯลฯ (ถ้ามี) ตัวจริง


ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่ต้องรู้


นอกจากค่าธรรมเนียมการโอนบ้านที่ต้องจ่ายแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ต้องเตรียมจ่ายในวันเดียวกันด้วย ซึ่งได้แก่


ค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์


ค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ หรือ ค่าจดจำนอง จะเรียกเก็บเมื่อ ผู้ซื้อมีการซื้อบ้านหรืออสังหาอื่นๆ ด้วยการขอสินเชื่อจากธนาคาร (สำหรับผู้ที่ซื้อด้วยเงินสดจะไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมนี้) โดยปกติจะคิดอัตรา 1% ของมูลค่าจำนอง แต่ในปี 2567 มีการปรับลดเป็น 0.01% ตามเงื่อนไข

โดยอัตราที่ปรับลดนี้ จะมีเงื่อนไข คือ

  • เป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย
  • ขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นมือหนึ่งหรือมือสอง ได้ทั้งบ้านเดี่ยว ห้องชุด บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์
  • วงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท
  • ต้องทำการโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน

เช่น ได้รับอนุมัติสินเชื่อบ้านวงเงิน 2 ล้านบาท เสียค่าจดจำนอง 200 บาท (คิดอัตราปรับลด 0.01% ของวงเงินอนุมัติสินเชื่อ) ซึ่งโดยปกติแล้วจะต้องเสียค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินอนุมัติสินเชื่อ จำนวน 20,000 บาท


ค่าอากรแสตมป์


ร้อยละ 0.5% ของราคาซื้อ-ขายหรือราคาประเมิน (คิดจากราคาที่สูงกว่า) ในกรณีที่ผู้ขายต้องชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ต้องชำระค่าอากรแสตมป์อีก

ตัวอย่างการคำนวณ ค่าอากรแสตมป์ 

บ้านมีราคาประเมิน 2.5 ล้านบาท แต่ราคาขาย 3.5 ล้านบาท จะยึดจากราคาขาย เพราะราคาสูงกว่า ค่าอากรแสตมป์ ที่ต้องจ่ายจะมียอด 3,500,000 x 0.5% = 17,500 บาท


ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 


จะเรียกเก็บเมื่อผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดาที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านต่อเนื่องไม่เกิน 1 ปี หรือถือครองอสังหาริมทรัพย์ไม่เกิน 5 ปี เสียในอัตรา 3.3% ของราคาซื้อ-ขายหรือราคาประเมิน (คิดจากราคาที่สูงกว่า)

ตัวอย่างการคำนวณ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ

บ้านมีราคาประเมิน 2.5 ล้านบาท แต่ขายได้ 3.5 ล้านบาท จะยึดจากราคาขาย เพราะราคาสูงกว่า ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ที่ต้องจ่ายจะมียอด 3,500,000 x 3.3% = 115,500 บาท


ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


เรียกเก็บตามหลักเกณฑ์ของกรมที่ดิน ขึ้นอยู่กับการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นและจำนวนปีที่ถือครอง




ที่มา    ::       https://blog.ghbank.co.th/how-to-calculate-house-fees/

4 ความคิดเห็น:

  1. ค่าโอนบ้าน 2567 และค่าจดจำนอง อัปเดต ล่าสุด

    ค่าโอนบ้าน 2567 และค่าจดจำนอง โดย มติครม.ล่าสุด เห็นชอบต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย


    ค่าโอนบ้าน 2567 คิดยังไง


    โดยมติดังกล่าวมีผลเป็นการลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับการโอนและการจำนองจากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และ ห้องชุด ทั้งส่วนของการซื้อขายที่อยู่อาศัยมือหนึ่ง และมือสอง ซึ่งมีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในปี 2567

    มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์ บ้าน-คอนโดราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท มีอัตราที่กำหนดดังนี้

    1. ลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ จากอัตราปกติ 2% เหลือ 1% ของราคาประเมินหรือราคาขาย

    2. ลดค่าธรรมเนียมการจำนอง จากอัตราปกติ 1% เหลือ 0.01% จากยอดเงินกู้

    เฉพาะการโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว หรืออาคารพาณิชย์ และห้องชุด (ทั้งบ้านมือหนึ่งและบ้านมือสอง) เฉพาะที่มีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท ต่อสัญญา โดยไม่รวมถึงกรณีการขายเฉพาะส่วน

    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับ ประกอบด้วย

    1)กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับการโอนและการจำนองจากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง พ.ศ. 2567

    2) กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับการโอนและการจำนองของการซื้อห้องชุด เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง พ.ศ. 2567

    ซึ่งได้ผ่านการเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้วเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 66 ที่ผ่านมา โดยภายหลัง รมว.มหาดไทยลงนามแล้ว กรมที่ดินจะได้นำเสนอให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศถึงวันที่ 31 ธ.ค. 67

    ล่าสุด ค่าโอนและค่าจดจำนอง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม ถึง 31 ธ.ค. 67

    ลดค่าโอน ค่าจดจำนอง ดีอย่างไร
    ข้อดีคือ เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ส่งเสริมการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ รวมถึงช่วยรักษาระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคอสังหาริมทรัพย์

    โอนสำหรับการซื้อ-ขาย บ้าน เสียอะไรบ้าง 2567
    การซื้อ-ขายบ้านและที่ดิน ไม่ว่ากับญาติพี่น้อง หรือบุคคลทั่วไป ต่างมีค่าใช้จ่ายในการโอน 5 อย่างเหมือนกันทั้งหมด คือ

    1.ค่าธรรมเนียมการโอน

    ปกติคิด 2% ของราคาประเมิน แต่ในปี 2566 รัฐบาลต้องการกระตุ้นให้มีการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น จึงได้ปรับลดค่าธรรมเนียมจาก 2% เป็น 1% โดยมีเงื่อนไขคือ

    เฉพาะการซื้อ-ขายที่อยู่อาศัย ทั้งมือหนึ่งและมือสอง ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ ห้องชุด
    ราคาซื้อ-ขาย ราคาประเมินทุนทรัพย์ และวงเงินจำนองต้องไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อสัญญา ไม่รวมถึงกรณีการขายเฉพาะส่วน
    ต้องโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน จึงจะได้ลดค่าธรรมเนียมการจำนองด้วย
    ต้องโอนและจดจำนองภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566
    ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ต้องเป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย
    2.ค่าจดจำนอง

    กรณีซื้อ-ขายโดยจดจำนอง จะเสียค่าจดจำนองด้วย ซึ่งปกติคิด 1% ของมูลค่าจำนอง แต่ปี 2566 ได้ปรับลดลงเหลือ 0.01% ตามเงื่อนไขคือ

    เฉพาะการซื้อ-ขายที่อยู่อาศัย ทั้งมือหนึ่งและมือสอง ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ ห้องชุด
    ราคาซื้อ-ขาย ราคาประเมินทุนทรัพย์ และวงเงินจำนองต้องไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อสัญญา ไม่รวมถึงกรณีการขายเฉพาะส่วน
    ต้องโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน จึงจะได้ลดค่าธรรมเนียมการจำนองด้วย
    ต้องโอนและจดจำนองภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566
    ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ต้องเป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย
    หากมูลค่าการซื้อ-ขายมากกว่า 3 ล้านบาท ค่าจดจำนองยังคงคิด 1% ตามเดิม

    ตอบลบ
  2. 3.ค่าอากรแสตมป์

    กรณีซื้อ-ขายบ้านพร้อมที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม ทาวน์เฮ้าส์ หากผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดา แล้วมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี หรือถือครองมาครบ 5 ปี จะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ โดยมีอัตราคิดเป็น 0.5% ของราคาซื้อ-ขาย หรือราคาประเมินทุนทรัพย์ก็ได้ แล้วแต่อย่างใดจะสูงกว่า

    เช่น หากบ้านมีราคาประเมิน 1.8 ล้านบาท แต่ราคาซื้อ-ขายอยู่ที่ 2 ล้านบาท ให้ยึดราคาซื้อ-ขายเป็นเกณฑ์

    2,000,000 x 0.5% = เสียค่าอากรแสตมป์ 10,000 บาท

    โดยหากเสียค่าอากรแสตมป์แล้ว ไม่ต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะอีก

    4. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ

    เมื่อต้องการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยการซื้อ-ขาย ได้รับเป็นมรดก หรือถูกเวนคืนตามกฎหมาย จะต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยคิดเป็น 3.3% ของราคาขายหรือราคาประเมินทุนทรัพย์ แล้วแต่ราคาไหนที่สูงกว่า เช่น หากบ้านมีราคาประเมิน 1.8 ล้านบาท แต่ราคาซื้อ-ขายอยู่ที่ 2 ล้านบาท ให้ยึดราคาซื้อ-ขายเป็นเกณฑ์

    2,000,000 x 3.3% = เสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 66,000 บาท

    ยกเว้น หากถือครองอสังหาริมทรัพย์เกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี จะไม่ต้องชำระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ แต่จะต้องจ่ายค่าอากรแสตมป์แทน

    5. ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

    เมื่อขายอสังหาริมทรัพย์ได้ ผู้ขายที่เป็นนิติบุคคลจะต้องเสียภาษีเงินได้ฯ 1% ของราคาประเมิน หรือราคาซื้อ-ขาย ขึ้นอยู่กับราคาใดสูงกว่า แต่หากผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดาต้องเสียภาษีเงินได้ โดยใช้ราคาประเมินรวมที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นตัวตั้ง แล้วนำมาคำนวณอัตราภาษีเงินได้ และหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยการให้-รับมรดก หรือซื้อ-ขายก็ตาม สามารถคำนวณเองได้จาก โปรแกรมคำนวณภาษี




    ตอบลบ
  3. ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน ตามภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่

    ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นภาษีที่กำหนดให้เจ้าของที่ดินมูลค่ามากกว่า 50 ล้านบาทต้องเสียภาษีค่าโอนที่ดิน หรือถือครองที่ดินมากกว่า 1 แปลง ก็ต้องเสียภาษีตั้งแต่บาทแรก ยิ่งถือครองที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ก็ยิ่งเสียภาษีสูงขึ้น ดังนั้น การเปลี่ยนไปเสียภาษีค่าโอนที่ดินครั้งเดียว เพื่อยกให้ญาติพี่น้องช่วยกันถือครอง จึงเป็นทางออกที่ช่วยแบ่งเบาภาระภาษีได้

    ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินให้ญาติแบบให้โดยเสน่หา
    ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินให้ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย
    ในกรณีพ่อแม่จดทะเบียนสมรสกัน และต้องการยกที่ดินให้แก่ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือฝ่ายแม่ต้องการยกที่ดินให้ลูก (ซึ่งลูกนั้นชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายแม่เสมอ) จะเสียภาษีโอนที่ดิน 2567 และมีค่าโอนที่ดินดังนี้
    ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 0.5% จากราคาประเมิน
    ค่าอากรแสตมป์ 0.5% จากราคาประเมิน
    ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 5% จากราคาประเมิน เฉพาะส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท
    แม้พ่อแม่จะถือครองที่ดินเพียงไม่กี่ปี แต่ก็ไม่เข้าข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ตามข้อยกเว้นของกรมสรรพากร กรณีนี้จึงมีอัตราภาษีโอนที่ดินที่ต่ำที่สุด
    ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินให้ลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
    ในกรณีพ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน หรือฝ่ายพ่อไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตรแต่กำเนิด แล้วฝ่ายพ่อต้องการยกที่ดินให้แก่ลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะเสียค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2567 และมีค่าโอนที่ดินดังนี้
    ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 0.5% จากราคาประเมิน
    ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน
    ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายได้ 50%
    กรณีนี้ยังได้เสียธรรมเนียมการโอนเพียง 0.5% แต่จะต้องเสียภาษีเงินได้ตามขั้นบันได และถ้าถือครองไม่เกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านไม่เกิน 1 ปี ก็จะเข้าข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย

    ตอบลบ
  4. ค่าโอนที่ดินให้ญาติฝ่ายอื่นที่ไม่ใช่ลูก
    การยกที่ดินให้ญาติที่อยู่ในสายเลือด ไม่ว่าจะเป็นพี่น้อง พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย หลาน หรือแม้แต่ยกที่ดินให้ลูกบุญธรรม หากไม่ใช่มรดกตกทอด จะเสียค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2567 และมีค่าโอนที่ดินดังนี้
    ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2.0% จากราคาประเมิน
    ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน
    ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายได้ 50%
    หากไม่ใช่พ่อแม่ลูกกัน แม้จะเป็นญาติสนิทเพียงใด ก็ต้องเสียภาษีเหมือนการซื้อขายที่ดินตามปกติ ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่หักค่าใช้จ่ายยืนพื้น 50% ไม่ว่าจะครอบครองมากี่ปีก็ตาม
    ข้อควรระวังในการให้โดยเสน่หา
    ตามปกติแล้ว การให้โดยเสน่หาจะถอนคืนไม่ได้ แต่ก็มีกรณีที่ผู้ให้ฟ้องร้องขอถอนคืนได้ เช่น ผู้รับประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทร้ายแรง ประทุษร้าย หรือไม่สงเคราะห์เลี้ยงดูผู้ให้เมื่อยากไร้ แต่จะได้คืนหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศาล
    ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินให้ญาติแบบซื้อขายตามปกติ
    การซื้อขายทุกกรณี
    ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินเมื่อซื้อขายทุกกรณี ไม่ว่าจะขายที่ดินให้ลูก หลาน พี่น้อง พ่อแม่ หรือปู่ย่าตายาย จะเสียค่าโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามการซื้อขายปกติ ดังนี้
    ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2.0% จากราคาประเมิน
    ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมินหรือราคาขาย แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า
    ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายตามปีที่ถือครอง
    อัตราภาษีโอนที่ดินจะใช้เกณฑ์เดียวกันทุกคน แต่ภาษีจะถูกหรือแพงจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ถือครอง และการตั้งราคาขายที่สูงกว่าราคาประเมิน ก็ส่งผลให้ค่าอากรแสตมป์หรือภาษีธุรกิจเฉพาะสูงขึ้นด้วย

    ตอบลบ