โอนที่ดิน-โอนบ้าน 2567 มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง คำนวณภาษียังไง โอนที่ดิน โอนบ้าน ปี 2567 ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ใครกำลังจะโอนกรรมสิทธิ์ให้คนในครอบครัว หรือซื้อ-ขายบ้าน ต้องทำความเข้าใจเรื่องค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้ดี พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่ ที่มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 แทนการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน-ที่ดิน ที่ถูกยกเลิกไป ส่งผลให้ผู้ครอบครองที่ดินประเภทต่าง ๆ หรือเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง ทั้งบ้าน คอนโด อาคารพาณิชย์ ฯลฯ ที่มีมูลค่าเกินเกณฑ์ยกเว้นภาษี ต้องเสียภาษีตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตราที่กำหนด จึงทำให้คนที่มีบ้านหลายหลัง หรือที่ดินหลายแห่ง ใช้วิธีโอนที่ดิน โอนบ้าน ให้กับคนใกล้ชิด เพื่อกระจายการถือครอง ให้เสียภาษีที่ดิน น้อยลง
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการโอนให้กับญาติพี่น้อง คนในครอบครัว หรือซื้อ-ขายแบบโอนกรรมสิทธิ์ แต่ละกรณีต่างมีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไป เราจะพามาดูว่า หากต้องการโอนที่ดิน-โอนบ้านให้กับผู้อื่น มีค่าธรรมเนียมเท่าไหร่และมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
กรณีโอนโดยยกให้ญาติพี่น้อง หากต้องการโอนบ้านหรือที่ดินให้กับคนในครอบครัว ต้องดูก่อนว่าคนนั้นมีความสัมพันธ์อย่างไรกับเรา ซึ่งกฎหมายได้กำหนดค่าใช้จ่ายในการโอนให้แต่ละคนไม่เท่ากัน กล่าวคือ
1. กรณีโอนให้ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย
ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย คือ ลูกที่เกิดระหว่างพ่อแม่จดทะเบียนสมรส เมื่อพ่อแม่ต้องการโอนบ้าน โอนที่ดินให้ จะมีค่าใช้จ่ายหลัก ๆ อยู่ 2 ประการ คือ
- ค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% จากราคาประเมิน - ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ของราคาประเมิน
สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะได้รับการยกเว้น เมื่อพ่อแม่โอนบ้านหรือที่ดินให้ลูก ไม่ว่าจะคนเดียวหรือหลายคน แต่ละคนต้องมีมูลค่าไม่เกิน 20 ล้านบาท หากเกินที่กำหนด จะต้องเสียภาษี 5% ของมูลค่าอสังหาฯ เฉพาะส่วนที่เกินกว่า 20 ล้านบาทนั้น เช่น ถ้าพ่อแม่โอนบ้านหรือที่ดินมูลค่า 25 ล้านบาท ให้ลูก จะได้รับการยกเว้นการคิดภาษีในส่วน 20 ล้านบาท แต่จะถูกคิดภาษี 5% ในส่วน 5 ล้านบาท เป็นต้น
2. กรณีโอนให้ลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หากลูกคนนั้นเกิดระหว่างที่พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส หรือพ่อไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร เมื่อพ่อแม่ต้องการโอนบ้าน โอนที่ดินให้ จะมีค่าใช้จ่ายหลัก ๆ อยู่ 3 ประการ คือ
- ค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% จากราคาประเมิน
- ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายได้ 50%
3. กรณีโอนให้แก่สามี-ภรรยา
หากสามี-ภรรยาจดทะเบียนสมรส และต้องการโอนที่ดินให้แก่กัน โดยไม่ได้โอนในรูปแบบของมรดก จะเสียค่าใช้จ่ายดังนี้
- ค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% จากราคาประเมิน
- ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายได้ 50%
4. กรณีโอนให้ญาติพี่น้อง
ญาติพี่น้อง ไม่ว่าจะพี่ ป้า น้า อา รวมถึงลูกบุญธรรม ลูกสะใภ้ ลูกเขย หากไม่ได้รับการโอนในรูปแบบของมรดก จะเสียค่าใช้จ่ายในการรับโอนที่ดิน-บ้าน คือ
- ค่าธรรมเนียมการโอน 2% จากราคาประเมิน แต่หากปู่ ย่า ตา ยาย โอนที่ดินให้หลานผู้สืบสันดานแท้ ๆ จะเสียค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% จากราคาประเมิน
- ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายได้ 50%
นอกจากนี้ในการโอนทุกกรณียังมีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ อีก เช่น ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท, ค่าพยาน 20 บาท, ค่าอากรคู่ฉบับ 5 บาท
กรณีโอนมรดก ถ้าโอนบ้านหรือที่ดินในรูปแบบของมรดก จะเสียเพียงค่าธรรมเนียมจดทะเบียนโอนมรดกเท่านั้น ซึ่งหากผู้รับมรดกเป็นผู้สืบสันดาน (บุตร, หลาน, เหลน, ลื้อ) หรือระหว่างคู่สมรส จะเสีย 0.5% จากราคาประเมิน แต่หากเป็นญาติพี่น้อง ลูกบุญธรรม จะต้องเสียค่าธรรมเนียม 2% จากราคาประเมิน
ในส่วนของค่าอากรแสตมป์ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีเงินได้ฯ ไม่ต้องเสีย แต่จะมีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย เช่น กรณีโอนที่ดินมรดกจะมีค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท, ประกาศมรดก แปลงละ 10 บาท, ค่าจดทะเบียนผู้จัดการมรดก แปลงละ 50 บาท
อย่างไรก็ตาม กรณีโอนมรดก ผู้รับมรดกจะต้องเสียภาษีมรดกด้วย ตามอัตรานี้
- หากมีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีในอัตรา 10% เฉพาะส่วนที่เกินจากมูลค่า 100 ล้านบาทนั้น เช่น
หลานได้รับบ้านมรดกราคา 110 ล้านบาท จากป้าที่เสียชีวิตไปแล้ว จะต้องเสียภาษีมรดกส่วนที่เกินจากมูลค่า 100 ล้านบาท ซึ่งก็คือ 10 ล้านบาท x 10% = 1 ล้านบาท
- หากผู้รับมรดกเป็นพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ทวด หรือผู้สืบสันดาน คือ ลูก หลาน เหลน โหลน ลื้อ อัตราภาษีจะต่ำลงมาเหลือ 5% เช่น
ลูกได้รับมรดกที่ดินจากพ่อ มูลค่า 105 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีมรดกส่วนที่เกินมามูลค่า 5 ล้านบาท x 5% = 250,000 บาท
- ถ้าสามีหรือภรรยา คนใดคนหนึ่งเสียชีวิต แล้วอีกฝ่ายได้รับมรดกเป็นบ้านหรือที่ดิน หากสามี-ภรรยาจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ผู้รับมรดกจะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี
กรณีโอนสำหรับการซื้อ-ขาย การซื้อ-ขายบ้านและที่ดิน ไม่ว่ากับญาติพี่น้อง หรือบุคคลทั่วไป ต่างมีค่าใช้จ่ายในการโอน 5 อย่างเหมือนกันทั้งหมด คือ
ค่าธรรมเนียมการโอน ค่าจดจำนอง ค่าอากรแสตมป์ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1. ค่าธรรมเนียมการโอน
ปกติคิด 2% ของราคาประเมิน แต่ในปี 2567 รัฐบาลต้องการกระตุ้นให้มีการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น จึงได้ปรับลดค่าธรรมเนียมจาก 2% เป็น 1% โดยมีเงื่อนไขคือ
เฉพาะการซื้อ-ขายที่อยู่อาศัย ทั้งมือหนึ่งและมือสอง ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ ห้องชุด ราคาซื้อ-ขาย ราคาประเมินทุนทรัพย์ และวงเงินจำนองต้องไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อสัญญา ไม่รวมถึงกรณีการขายเฉพาะส่วน ต้องโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน จึงจะได้ลดค่าธรรมเนียมการจำนองด้วย ต้องโอนและจดจำนองภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ต้องเป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย ดังนั้น หากซื้อ-ขายบ้านราคา 2 ล้านบาท จากเดิมเสียค่าธรรมเนียมการโอน 40,000 บาท จะลดเหลือ 2,000,000 x 1% = เสียค่าธรรมเนียมการโอน 20,000 บาท
สำหรับการซื้อ-ขายบ้านพร้อมที่ดิน ที่มีมูลค่ามากกว่า 3 ล้านบาท หรือซื้อ-ขายเฉพาะที่ดิน ค่าธรรมเนียมการโอนยังคงคิด 2% ตามเดิม ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ส่วนใหญ่ผู้ซื้อและผู้ขายจะตกลงจ่ายกันคนละครึ่งหนึ่ง
2. ค่าจดจำนอง
กรณีซื้อ-ขายโดยจดจำนอง จะเสียค่าจดจำนองด้วย ซึ่งปกติคิด 1% ของมูลค่าจำนอง แต่ปี 2567 ได้ปรับลดลงเหลือ 0.01% ตามเงื่อนไขคือ
เฉพาะการซื้อ-ขายที่อยู่อาศัย ทั้งมือหนึ่งและมือสอง ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ ห้องชุด ราคาซื้อ-ขาย ราคาประเมินทุนทรัพย์ และวงเงินจำนองต้องไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อสัญญา ไม่รวมถึงกรณีการขายเฉพาะส่วน ต้องโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน จึงจะได้ลดค่าธรรมเนียมการจำนองด้วย ต้องโอนและจดจำนองภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ต้องเป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย หากมูลค่าการซื้อ-ขายมากกว่า 3 ล้านบาท ค่าจดจำนองยังคงคิด 1% ตามเดิม
ตัวอย่างการคิดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง ในปี 2567 กรณีซื้อบ้าน มูลค่า 3 ล้านบาท หากโอนและจดจำนองพร้อมกันภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 จะต้องเสียค่าใช้จ่ายดังนี้
อัตราปกติ : เสียค่าธรรมเนียมการโอน 60,000 บาท และค่าจดจำนอง 30,000 บาท รวมเสียค่าใช้จ่าย 90,000 บาทอัตราใหม่ในปี 2567 : เสียค่าธรรมเนียมการโอน 30,000 บาท และค่าจดจำนอง 300 บาท รวมเสียค่าใช้จ่าย 30,300 บาท ประหยัดไปได้ 59,700 บาท3. ค่าอากรแสตมป์
กรณีซื้อ-ขายบ้านพร้อมที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม ทาวน์เฮ้าส์ หากผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดา แล้วมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี หรือถือครองมาครบ 5 ปี จะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ โดยมีอัตราคิดเป็น 0.5% ของราคาซื้อ-ขาย หรือราคาประเมินทุนทรัพย์ก็ได้ แล้วแต่อย่างใดจะสูงกว่า
เช่น หากบ้านมีราคาประเมิน 1.8 ล้านบาท แต่ราคาซื้อ-ขายอยู่ที่ 2 ล้านบาท ให้ยึดราคาซื้อ-ขายเป็นเกณฑ์
2,000,000 x 0.5% = เสียค่าอากรแสตมป์ 10,000 บาท
โดยหากเสียค่าอากรแสตมป์แล้ว ไม่ต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะอีก
สำหรับกรณีซื้อ-ขายที่ดินอย่างเดียว ไม่ว่าผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคล ต้องถือครองครบ 5 ปี เท่านั้น ถึงจะเสียแต่ค่าอากรแสตมป์ ไม่ต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ
4. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ
เมื่อต้องการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยการซื้อ-ขาย ได้รับเป็นมรดก หรือถูกเวนคืนตามกฎหมาย จะต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยคิดเป็น 3.3% ของราคาขายหรือราคาประเมินทุนทรัพย์ แล้วแต่ราคาไหนที่สูงกว่า
เช่น หากบ้านมีราคาประเมิน 1.8 ล้านบาท แต่ราคาซื้อ-ขายอยู่ที่ 2 ล้านบาท ให้ยึดราคาซื้อ-ขายเป็นเกณฑ์
2,000,000 x 3.3% = เสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 66,000 บาท
ยกเว้น หากถือครองอสังหาริมทรัพย์เกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี จะไม่ต้องชำระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ แต่จะต้องจ่ายค่าอากรแสตมป์แทน
5. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย
เมื่อขายอสังหาริมทรัพย์ได้ ผู้ขายที่เป็นนิติบุคคลจะต้องเสียภาษีเงินได้ฯ 1% ของราคาประเมิน หรือราคาซื้อ-ขาย ขึ้นอยู่กับราคาใดสูงกว่า แต่หากผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดาต้องเสียภาษีเงินได้ โดยใช้ราคาประเมินรวมที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นตัวตั้ง แล้วนำมาคำนวณอัตราภาษีเงินได้ และหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยการให้-รับมรดก หรือซื้อ-ขายก็ตาม สามารถคำนวณเองได้จาก
โปรแกรมคำนวณภาษี หัก ณ ที่จ่าย หรือดูตัวอย่างด้านล่างนี้
จะเห็นว่าตัวเลขดังกล่าวเหมือนกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่สำหรับการคำนวณภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ จะไม่ได้รับยกเว้นสำหรับเงินได้สุทธิ 0-150,000 บาทแรก เหมือนกับการคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปกติ
ทั้งนี้ จำนวนปีที่ถือครองนั้นจะนับตามปีบัญชี คือ นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีเดียวกัน หากข้าม พ.ศ. ไปจะนับเป็น 2 ปี เช่น ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในเดือนกันยายน 2564 และขายไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เท่ากับถือครอง 2 ปี แต่หากถือครองเกิน 10 ปี ให้นับเพียง 10 ปี เท่านั้น
หากอสังหาริมทรัพย์นั้นได้มาโดยการรับมรดก หรือให้โดยเสน่หา ให้หักค่าใช้จ่ายได้เพียง 50% ไม่ว่าจะถือครองจริงกี่ปีก็ตาม
ตัวอย่างการคำนวณ 1
ขายบ้านที่ได้มาโดยการรับมรดก ราคา 4.8 ล้านบาท โดยที่บ้านมีราคาประเมิน 3 ล้าน และถือครองมาแล้ว 5 ปี
หากอสังหาริมทรัพย์นั้นได้มาโดยการซื้อ-ขาย ให้หักค่าใช้จ่ายตามจำนวนปีที่ถือครองตามความเป็นจริง
ตัวอย่างการคำนวณ 2
ขายบ้านที่ได้มาโดยการซื้อ ราคา 7.8 ล้านบาท โดยที่บ้านมีราคาประเมิน 5 ล้าน และถือครองมาแล้ว 2 ปี
สรุปค่าใช้จ่ายโอนที่ดิน-โอนบ้าน สำหรับผู้ที่ไม่ทราบราคาประเมินที่ดิน สามารถเช็กได้ที่เว็บไซต์ กรมธนารักษ์ และเมื่อทราบถึงค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการโอนบ้าน-โอนที่ดินแล้ว เราก็ลองคำนวณดูว่ากรณีของเราต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร เพื่อจะได้เตรียมเอกสารและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้พร้อม ซึ่งจะช่วยให้การโอนกรรมสิทธิ์ต่าง ๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
**ข้อควรรู้** ลองคำนวณให้ดีก่อนว่า ระหว่างการโอนที่ดิน-โอนบ้านให้คนอื่น กับยอมจ่ายภาษีที่ดินเอง แบบไหนจะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในระยะยาว เนื่องจากการโอนให้ผู้อื่นมีค่าธรรมเนียมสูงกว่าการจ่ายภาษีที่ดินพอสมควร จึงเหมาะกับกรณีที่ต้องการรักษาที่ดินหรือบ้านหลังนั้นไว้เป็นเวลานาน และยังไม่คิดจะขายในระยะเวลาอันใกล้นี้ แต่ถ้าต้องการขายบ้าน-ที่ดิน ในระยะเวลาไม่นานหลังจากนี้ เช่น ไม่เกิน 5 ปี บางทีการยอมเสียภาษีที่ดินตามปกติ น่าจะช่วยประหยัดได้มากกว่าการเสียค่าธรรมเนียมการโอน
****************************************** ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2567
ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน ตามภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นภาษีที่กำหนดให้เจ้าของที่ดินมูลค่ามากกว่า 50 ล้านบาทต้องเสียภาษี ค่าโอนที่ดิน หรือถือครองที่ดินมากกว่า 1 แปลง ก็ต้องเสียภาษีตั้งแต่บาทแรก ยิ่งถือครองที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ก็ยิ่งเสียภาษีสูงขึ้น ดังนั้น การเปลี่ยนไปเสียภาษี ค่าโอนที่ดิน ครั้งเดียว เพื่อยกให้ญาติพี่น้องช่วยกันถือครอง จึงเป็นทางออกที่ช่วยแบ่งเบาภาระภาษีได้
ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินให้ญาติแบบให้โดยเสน่หา ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินให้ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย ในกรณีพ่อแม่จดทะเบียนสมรสกัน และต้องการยกที่ดินให้แก่ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือฝ่ายแม่ต้องการยกที่ดินให้ลูก (ซึ่งลูกนั้นชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายแม่เสมอ) จะเสียภาษีโอนที่ดิน 2567 และมีค่าโอนที่ดินดังนี้
ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 0.5% จากราคาประเมิน ค่าอากรแสตมป์ 0.5% จากราคาประเมิน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 5% จากราคาประเมิน เฉพาะส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท แม้พ่อแม่จะถือครองที่ดินเพียงไม่กี่ปี แต่ก็ไม่เข้าข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ตามข้อยกเว้นของกรมสรรพากร กรณีนี้จึงมีอัตราภาษีโอนที่ดินที่ต่ำที่สุด
ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินให้ลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในกรณีพ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน หรือฝ่ายพ่อไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตรแต่กำเนิด แล้วฝ่ายพ่อต้องการยกที่ดินให้แก่ลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะเสียค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2567 และมีค่าโอนที่ดินดังนี้
ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 0.5% จากราคาประเมิน ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายได้ 50% กรณีนี้ยังได้เสียธรรมเนียมการโอนเพียง 0.5% แต่จะต้องเสียภาษีเงินได้ตามขั้นบันได และถ้าถือครองไม่เกิน 5 ปี หรือมีชื่อใน
ทะเบียนบ้าน ไม่เกิน 1 ปี ก็จะเข้าข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย
ค่าโอนที่ดินให้ญาติฝ่ายอื่นที่ไม่ใช่ลูก การยกที่ดินให้ญาติที่อยู่ในสายเลือด ไม่ว่าจะเป็นพี่น้อง พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย หลาน หรือแม้แต่ยกที่ดินให้ลูกบุญธรรม หากไม่ใช่มรดกตกทอด จะเสียค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2567 และมีค่าโอนที่ดินดังนี้
ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2.0% จากราคาประเมิน ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายได้ 50% หากไม่ใช่พ่อแม่ลูกกัน แม้จะเป็นญาติสนิทเพียงใด ก็ต้องเสียภาษีเหมือนการ
ซื้อขายที่ดิน ตามปกติ ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่หักค่าใช้จ่ายยืนพื้น 50% ไม่ว่าจะครอบครองมากี่ปีก็ตาม
ข้อควรระวังในการให้โดยเสน่หา ตามปกติแล้ว การให้โดยเสน่หาจะถอนคืนไม่ได้ แต่ก็มีกรณีที่ผู้ให้ฟ้องร้องขอถอนคืนได้ เช่น ผู้รับประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทร้ายแรง ประทุษร้าย หรือไม่สงเคราะห์เลี้ยงดูผู้ให้เมื่อยากไร้ แต่จะได้คืนหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศาล
ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินให้ญาติแบบซื้อขายตามปกติ การซื้อขายทุกกรณี ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินเมื่อซื้อขายทุกกรณี ไม่ว่าจะขายที่ดินให้ลูก หลาน พี่น้อง พ่อแม่ หรือปู่ย่าตายาย จะเสียค่าโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามการซื้อขายปกติ ดังนี้
ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2.0% จากราคาประเมิน ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมินหรือราคาขาย แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายตามปีที่ถือครอง อัตราภาษีโอนที่ดินจะใช้เกณฑ์เดียวกันทุกคน แต่ภาษีจะถูกหรือแพงจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ถือครอง และการตั้งราคาขายที่สูงกว่าราคาประเมิน ก็ส่งผลให้ค่าอากรแสตมป์หรือภาษีธุรกิจเฉพาะสูงขึ้นด้วย
0.5 หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3%
0.5 หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3%
0.5 หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3%
5% (เฉพาะที่เกิน 20 ล้าน)
ตามขั้นบันได หักค่าใช้จ่ายได้ 50%
ตามขั้นบันไดและปีที่ถือครอง
ข้อควรระวังในการซื้อขาย เมื่อการซื้อขายเสร็จสมบูรณ์ ผู้ซื้อสามารถนำที่ดินไปทำอะไรต่อก็ได้ทันที โดยที่ผู้ขายไม่มีสิทธิ์ใด ๆ ต่อที่ดินนั้นอีก เนื่องจากเป็นซื้อขายเสร็จเด็ดขาดตามกฎหมาย
ไม่ว่าจะยกที่ดินให้โดยเสน่หาหรือซื้อขายกันในราคาถูก จากข้อมูลข้างต้นก็สรุปได้แล้วว่า ทุกคนต่างต้องเสียภาษีโอนที่ดินด้วยกันทั้งหมด แต่การยกที่ดินให้ลูกเป็นวิธีเสียค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2567 และภาษีโอนที่ดินที่ถูกที่สุด และการให้โดยเสน่หายังขอถอนคืนได้ หากพ่อแม่เห็นว่าลูกประพฤติเนรคุณอย่างร้ายแรงต่อตนเองในภายหลัง
CR :: https://money.kapook.com/view220755.html , https://www.ddproperty.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น