ควินัว (Quinoa) คืออะไร
ควินัว (Quinoa) นิยมมากในกลุ่มคนรักสุขภาพ ควินัวมีโปรตีนสูง ไม่มีกลูเตน และเป็นธัญพืชหนึ่งในไม่กี่ชนิดที่มีกรดอะมิโนจำเป็นต่อร่างกายถึง 9 ชนิด ซึ่งกรดอะมิโนที่จำเป็นนี้จะได้จากอาหาร ร่างกายจะไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้นั่นเอง
นอกจากนี้ควินัวยังมีเส้นใยที่สูงมากถึงร้อยละ 12-18 อีกทั้งยังมีแมกนีเซียม, วิตามินบี, วิตามินอี, ธาตุเหล็ก, โพแทสเซียม, แคลเซียม, ฟอสฟอรัส และ สารต้านอนุมูลอิสระ ที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย เป็นอาหารให้พลังงานสูง เป็นซูเปอร์ฟู้ดที่ดีอย่างหนึ่งซึ่งองค์การสหประชาชาติประกาศให้ปี 2013 เป็น “ปีแห่งควินัว” เลยทีเดียว
ควินัว (Quinoa) คืออะไร
ควินัว (Quinoa) แม้ว่าจะมีหน้าตาเหมือนธัญพืช และใช้รับประทานเช่นเดียวกับข้าวโอ๊ต ข้าวไรย์ ข้าวสาลี หรือข้าวบาร์เลย์ แต่ทว่าควินัวจัดเป็นพืชชนิดที่ใกล้เคียงกับหัวบีทและผักปวยเล้ง ซึ่งควินัวจะมีทั้งหมด 3 ประเภทหลัก ได้แก่ สีขาว, สีแดงและ สีดำ
ควินัวเรียกได้ว่าเป็นสุดยอดอาหารของชาวอินคาโบราณ ซึ่งแหล่งปลูกดั้งเดิมมาจากกลุ่มประเทศในเขตเทือกเขาแอนดิส ในทวีปอเมริกาใต้ ชาวอินคาถือว่าเมล็ดควินัวนั้นเป็นเมล็ดพันธุ์ศักดิ์สิทธิ์ และเพาะปลูกมากว่า 3-4 พันปีแล้ว อีกทั้งในอเมริกาใต้ยังบริโภคควินัวมาเป็นเวลากว่าพันๆ ปี ถึงแม้ว่าควินัวจะมาเป็นที่นิยมเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ตาม
ประโยชน์ของควินัวมีอะไรบ้าง
1. ควินัวมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ซึ่งคุณค่าทางโภชนาการของควินัวในปริมาณสารอาหาร 1 ถ้วย ( 185 กรัม ) สามารถนำไปปรุงสุกบริโภคได้ 2 ครั้ง
🟣 ให้พลังงานเท่ากับ 222 กิโลแคลอรี่
🟣 คาร์โบไฮเดรต 39 กรัม
🟣 โปรตีน : 8 กรัม
🟣 ไขมัน : 4 กรัม นอกจากนี้ยังมีกรดไขมันโอเมกา 3 อีกเล็กน้อย
🟣 ไฟเบอร์ : 5 กรัม
🟣 แมงกานีส : 58 เปอร์เซ็น ของ ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวัน
🟣 แมกนีเซียม : 30 เปอร์เซ็น ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวัน
🟣 ฟอสฟอรัส : 28 เปอร์เซ็น ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวัน
🟣 โฟเลต : 19 เปอร์เซ็น ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวัน
🟣 ทองแดง : 18 เปอร์เซ็น ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวัน
🟣 ธาตุเหล็ก : 15 เปอร์เซ็น ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวัน
🟣 สังกะสี : 13 เปอร์เซ็น ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวัน
🟣 โพแทสเซียม : 9 เปอร์เซ็น ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวัน
🟣 วิตามิน บี1, บี2, บี3 ( ไนอาซิน ), บี 6, วิตามิน, แคลเซียม กว่า 10 เปอร์เซ็น ของ ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวัน
2. ควินัวมีเส้นใยอาหารสูง ซึ่งสูงกว่าธัญพืชอื่นๆ ถึง 2 เท่า มีงานวิจัยพบว่าควินัว 100 กรัม มีเส้นใยสูงถึง 10-16 กรัม และมีเส้นใยที่ละลายน้ำ อยู่ประมาณ 1.5 กรัมต่อ 100 กรัม ซึ่งเส้นใยที่ละลายน้ำได้สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอล ป้องกันอาการท้องผูก และช่วยลดน้ำหนักได้
3. ควินัวเหมาะสำหรับคนที่มีอาการแพ้กลูเตน กลูเตนเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบได้ในข้าวสาลี ข้าวไรย์ และข้าวบาร์เลย์ ซึ่งพบในผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งข้าวสาลี ได้แก่ เบเกอรี่ต่างๆ เช่น ขนมปัง พาย เค้ก ฯลฯ ซึ่งควินัวไม่มีกลูเตนสามารถนำมารับประทานทดแทนได้นั่นเอง
4. มีโปรตีนและกรดอะมิโนที่สำคัญต่อร่างกายสูง มีงานวิจัยกล่าวว่าธัญพืชบางชนิดก็มีกรดอะมิโมที่จำเป็นต่อร่างกายไม่ครบ บางชนิดก็ยังขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นบางอย่างไป เช่น ไลซีน แต่ไม่ใช่สำหรับควินัวเพราะควินัวมีโปรตีนที่ได้จากกรดอะมิโนจำเป็นต่อร่างกายถึง 9 ชนิด ซึ่งกรดอะมิโนชนิดนี้ร่างกายเราไม่สามารถผลิตเองได้ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้นและมีโปรตีนถึง 8 กรัมต่อ 185 กรัม เลยทีเดียว
5. มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เหมาะสำหรับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นที่ทราบกันดีว่าการกินอาหารที่มีดัชนี้น้ำตาลสูง จะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และส่งผลนำไปสู่โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและโรคต่างๆ ได้
6. สามารถใช้ทดแทนอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตได้เป็นอย่างดี ซึ่งควินัวจัดเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่ดีมากชนิดหนึ่ง
7. อุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ อาทิ ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม โพแทสเซียม สังกะสี เป็นต้น โดยเฉพาะแมกนีเซียมที่หนึ่งถ้วยมีถึง 30 เปอร์เซ็น ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวัน
8. ช่วยในการเผาผลาญและ ควบคุมระบบย่อยอาหาร
9. มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ซึ่งมีส่วนช่วยชะลอความแก่ชรา, บำรุงสายตา, ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งทุกชนิด, ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ, โรคเส้นเลือดโลหิตในสมองตีบ และโรคอื่นๆ
10. ง่ายต่อการนำไปปรุงเป็นอาหาร ซึ่งใช้เวลาเพียง 15-20 นาที เท่านั้น สามารถหุงโดยใช้เตาแก๊สหรือจะหุงในหม้อหุงข้าวก็ได้
วิธีหุงโดยใช้เตาแก๊ส
- ล้างควินัวให้สะอาด แช่ทิ้งไว้ 10 นาที
- เทควินัวลงหม้อ ใส่น้ำสะอาดลงไปให้ท่วมควินัว และนำไปต้ม
- ต้มไปเรื่อยๆ ควรหมั่นคนเป็นระยะใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที ให้ควินัวเริ่มพองตัว ชิมดูถ้าไม่แข็งก็เป็นอันใช้ได้
วิธีหุงในหม้อหุงข้าว
- ล้างควินัวให้สะอาด แช่ทิ้งไว้ 10 นาที
- นำไปหุง ในสัดส่วน 2:1 น้ำ 2 ถ้วยต่อ ควินัว 1 ถ้วย ใช้เวลาในการหุงนานประมาณ 20 นาที
- สังเกตุเมื่อเมล็ดควินัวสุกแล้ว จะมีลักษณะใสๆ คล้ายกับเม็ดสาคู เป็นอันว่ารับประทานได้ หรือจะนำไปประกอบเมนูอาหารคาว หวาน ได้หลากหลายเมนู เช่น ข้าวผัดควินัว, ซูชิควินัว, โรยสลัด, ใช้เป็นส่วนผสมในเบเกอรี่ต่างๆ และเมนูอื่นๆ อีกมากมาย
หมายเหตุ : สามารถหุงแล้วเก็บไว้ในตู้เย็นได้ประมาณ 1-2 วัน
CR :: https://mgronline.com/goodhealth/detail/9590000049962
ควินัว คือ อะไร ?
ตอบลบหลายคนอาจสับสนว่าควินัวจัดเป็นธัญพืชเต็มเมล็ดหรือไม่ ที่จริงแล้วควินัวเป็นเมล็ดพืชของต้น Chenopodium Quinoa ที่นิยมปลูกกันในประเทศเปรูและโบลิเวีย ซึ่งควินัวแตกต่างจากธัญพืชอื่น ๆ อย่างข้าวโอ๊ตหรือข้าวบาร์เลย์ที่เป็นเมล็ดพืชตระกูลหญ้า แต่ด้วยวิธีการบริโภคและคุณค่าทางสารอาหารของควินัวที่คล้ายคลึงกับธัญพืชทั่วไปมาก ควินัวจึงถูกจัดอยู่ในธัญพืชประเภทเทียม (Pseudo-Cereal) หรือพืชที่สามารถนำเมล็ดมารับประทานได้เหมือนธัญพืช แต่ไม่ได้จัดอยู่ในประเภทหญ้า
สารอาหารสำคัญในควินัว
ควินัวอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญหลากชนิด ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการเมื่อเปรียบเทียบกับธัญพืชที่ผ่านกระบวนการขัดสี และมีโปรตีนสูงแต่มีไขมันต่ำ โดยควินัวที่สุกแล้ว 1 ถ้วย จะให้พลังงาน 222 แคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 39 กรัม โปรตีน 8 กรัม ไขมัน 6 กรัม เส้นใยอาหาร 5 กรัม น้ำตาล 1 กรัม และมีสารอาหารสำคัญอื่น ๆ เช่น แมงกานีส แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โฟเลต ทองแดง และธาตุเหล็ก เป็นต้น นอกจากนี้ ควินัวยังปราศจากโปรตีนกลูเตน การเลือกรับประทานควินัวจึงดีต่อสุขภาพและยังเหมาะกับผู้ที่แพ้กลูเตนอีกด้วย
ควินัวกับประโยชน์ต่อสุขภาพ
นอกจากควินัวจะมีประโยชน์ในเชิงโภชนาการแล้ว การรับประทานควินัวอาจส่งผลดีต่อสุขภาพได้อีกด้วย โดยมีข้อมูลทางการแพทย์บางส่วนที่ศึกษาคุณประโยชน์ด้านต่าง ๆ ของควินัวไว้ ดังนี้
ควินัวอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
การรับประทานควินัวอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยมีงานวิจัยหนึ่งพบว่า การบริโภคเส้นใยอาหารจากควินัวปริมาณ 16 กรัมต่อวัน อาจช่วยลดความเสี่ยงโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ได้
นอกจากนั้น งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่ทดสอบคุณสมบัติด้านเดียวกันนี้ในหนูทดลองก็พบว่าควินัวอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและลดผลกระทบอื่น ๆ ที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงได้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยดังกล่าวเป็นเพียงการทดลองขนาดเล็ก จึงควรมีการค้นคว้าเพิ่มเติมกับกลุ่มคนจำนวนมากต่อไป เพื่อยืนยันประสิทธิผลดังกล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ควินัวอาจช่วยลดน้ำหนัก
ควินัวอาจมีคุณสมบัติช่วยลดน้ำหนักได้ เนื่องจากควินัวมีโปรตีนปริมาณมากเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารที่คล้ายคลึงกันอย่างข้าว ข้าวโพด และธัญพืชไม่ขัดสี ซึ่งงานวิจัยหนึ่งพบว่าโปรตีนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการลดน้ำหนัก โดยจะช่วยกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย ช่วยลดความหิว และอาจช่วยป้องกันการเกิดโรคอ้วนและโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ ควินัวยังมีเส้นใยอาหารสูง หากรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูงอย่างควินัวจะช่วยให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น ดีต่อสุขภาพลำไส้และการขับถ่ายอีกด้วย
ควินัวอาจช่วยลดระดับไขมันในเลือด
การรับประทานควินัวอาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่เผชิญภาวะไขมันในเลือดสูง โดยมีงานวิจัยที่พบว่าการรับประทานควินัววันละ 50 กรัมติดต่อกันนาน 6 สัปดาห์ อาจช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลรวม คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และไขมันไตรกลีเซอไรด์ด้วย อย่างไรก็ตาม ระดับไขมันต่าง ๆ ลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และการรับประทานควินัวอาจไปลดระดับของไขมันคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีอีกด้วย
ควินัวอาจช่วยต้านการอักเสบ
ตอบลบมีความเชื่อว่าอาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอาจช่วยต้านการอักเสบในร่างกายได้ ซึ่งควินัวก็ขึ้นชื่อว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระสูงเช่นกัน โดยงานวิจัยชิ้นหนึ่งกล่าวว่าสารซาโปนิน (Saponin) ในควินัวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และอาจช่วยยับยั้งการผลิตสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบของเซลล์ในร่างกายได้ถึง 25-90 เปอร์เซ็นต์
รับประทานควินัวอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ ?
ก่อนนำควินัวมาปรุงอาหารทุกครั้ง ควรล้างควินัวด้วยน้ำสะอาดเพื่อกำจัดสารตกค้างและสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออก จากนั้นนำควินัวใส่ลงในตะแกรงแล้วล้างโดยให้น้ำไหลผ่าน สะเด็ดน้ำออกแล้วนำควินัวลงไปคั่วในกระทะประมาณ 5 นาที ก่อนนำไปต้มหรืออบเพื่อรสชาติและกลิ่นหอมเหมาะแก่การรับประทาน
เคล็ดลับต่อไปนี้ อาจช่วยเพิ่มความอร่อยและเพิ่มคุณค่าทางสารอาหารในควินัวได้
ผัดควินัวกับผักต่าง ๆ เช่น พริกหวาน และใบโหระพา เป็นต้น
ใส่ควินัวลงในสลัดพร้อมกับเกรปฟรุต อัลมอนด์ และใบสะระแหน่
ทำของหวานที่มีควินัวเป็นส่วนประกอบ เช่น พุดดิ้ง และแพนเค้ก เป็นต้น
การรับประทานควินัวมีผลข้างเคียงหรือไม่ ?
ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ใด ๆ ที่พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการรับประทานควินัวอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานควินัวในปริมาณที่เหมาะสมเสมอ เพราะสารไฟเตต (Phytates) ในควินัวอาจยับยั้งการดูดซึมแร่ธาตุสำคัญบางชนิดอย่างธาตุเหล็กและสังกะสีได้ นอกจากนี้ การรับประทานควินัวอาจมีส่วนทำให้แร่ธาตุต่าง ๆ รวมตัวกันจนเกิดเป็นนิ่วในไตได้
ส่วนการรับประทานควินัวในหญิงตั้งครรภ์และหญิงที่ให้นมบุตรนั้น ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุถึงด้านความปลอดภัยต่อสุขภาพได้อย่างแน่ชัด ดังนั้น ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรก็ควรรับประทานธัญพืชชนิดนี้ด้วยความระมัดระวัง
ประโยชน์ของควินัว
ตอบลบ1. ควินัวมีโปรตีนสูง
สำหรับสายสุขภาพที่กินเจหรือกินมังสวิรัติ สามารถเลือกกินควินัวเพื่อเสริมโปรตีนให้กับร่างกายแทนเนื้อสัตว์ได้
2. ควินัวไม่มีกลูเตน
ในอาหารจำพวกแป้งหลายอย่างมักมีโปรตีนที่เรียก “กลูเตน” รวมอยู่ด้วย หลายคนมีอาการแพ้กลูเตน แต่สำหรับควินัว เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่แพ้กลูเตน เพราะเป็นโปรตีนที่ดีต่อร่างกายโดยปราศจากกลูเตนนั่นเอง
3. ควินัวอาจช่วยลดน้ำหนักได้
โปรตีนที่มีอยู่มากในควินัว เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการลดน้ำหนัก ช่วยกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย ลดความหิว เพราะกินแล้วอิ่ม อยู่ท้อง และอาจช่วยป้องกันการเกิดโรคอ้วนและโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย
4. ควินัวสามารถลดไขมันในเลือด
มีงานวิจัยพบว่าการรับประทานควินัววันละ 50 กรัมติดต่อกันนาน 6 สัปดาห์ อาจช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลรวม คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และไขมันไตรกลีเซอไรด์ด้วย อย่างไรก็ตาม ระดับไขมันต่างๆ ลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และการรับประทานควินัวอาจไปลดระดับของไขมันคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีอีกด้วย ดังนั้นควรจำกัดปริมาณกับกินไม่ให้มากเกินไป
5. ควินัวลดความเสี่ยงท้องผูก
ควินัวเป็นธัญพืชที่มีกากใยอาหารสูง ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบขับถ่ายให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดอาการท้องผูกได้
6. ควินัวควบคุมน้ำตาลในเลือด
มีงานวิจัยพบว่า ควินัวสามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 จากคุณสมบัติที่ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดได้
7. ควินัวต้านการอักเสบในร่างกาย
ควินัว ถือว่าเป็นอีกหนึ่งซูเปอร์ฟู้ดที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง จึงช่วยต่อต้านการอักเสบในร่างกายได้ งานวิจัยชิ้นหนึ่งกล่าวว่าสารซาโปนิน (Saponin) ในควินัวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และอาจช่วยยับยั้งการผลิตสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบของเซลล์ในร่างกายได้ถึง 25-90%
ผลข้างเคียงในการรับประทานควินัว
ในปัจจุบันแม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจนว่าควินัวส่งผลเสียต่อร่างกายบ้างหรือไม่ แต่การรับประทานในปริมาณมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อร่างกายในแง่ของการได้รับ สารไฟเตต (Phytates) มากเกินไป โดยสารไฟเตตในควินัวอาจยับยั้งการดูดซึมแร่ธาตุสำคัญบางชนิดอย่างธาตุเหล็กและสังกะสีได้ นอกจากนี้ การรับประทานควินัวอาจมีส่วนทำให้แร่ธาตุต่างๆ รวมตัวกันจนเกิดเป็นนิ่วในไตได้
สำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงที่ให้นมบุตร ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุถึงด้านความปลอดภัยต่อสุขภาพได้อย่างแน่ชัด ดังนั้น ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรก็ควรรับประทานธัญพืชชนิดนี้ด้วยความระมัดระวัง
คนที่มีอาการภูมิแพ้ หากกินแล้วมีอาการแพ้ เช่น ริมฝีปากบวม ลิ้นบวม ผื่นขึ้น ฯลฯ อาจมีความเป็นไปได้ว่าจะแพ้ควินัว หรือแพ้สารเคมีที่อาจตกค้างอยู่ในควินัว ดังนั้นจึงควรหยุดรับประทานแล้วปรึกษาแพทย์
ควินัวคืออะไร?
ตอบลบควินัว (Quinoa) คือ พืชหน้าตาคล้ายถั่วที่มีถิ่นกำเนิดยังบริเวณอยู่อาศัยของชาวอินคาในแถบอเมริกาใต้ โดยตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว ควินัวจะเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกับผักใบเขียวอย่าง ‘ผักโขม’ ‘สวิสชาร์ด’ รวมถึง ‘บีทรูท’ แต่ด้วยหน้าตาที่คล้ายกับธัญพืช จึงทำให้ได้รับการจัดหมวดหมู่ให้อยู่ในกลุ่มธัญพืชเทียม หรือ Pseudocereal นั่นเอง
ควินัวคืออะไร-มีประโยชน์จริงไหม
ควินัวมีกี่ประเภท?
จากการศึกษาพบว่า ควินัวที่วางจำหน่ายในท้องตลาดปัจจุบันนี้จะมีด้วยกัน 3 ประเภทหลัก โดยจะแบ่งคุณประโยชน์ตามสีที่แตกต่างกัน ดังนี้
ควินัวสีขาว (White Quinoa) เป็นสายพันธุ์ที่พบได้มากที่สุดในบรรดาควินัวทั้ง 3 ชนิด มีรสอ่อนและทานง่าย
ควินัวสีแดง (Red Quinoa) เป็นสายพันธุ์ที่มีรสชาติเข้มข้น ทั้งยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามินอี และโฟเลต
ควินัวสีดำ (Black Quinoa) เป็นสายพันธุ์ที่มีความกรุบกรอบสูง อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและสารแอนโทไซยานินที่ช่วยต้านการอักเสบของร่างกาย
ด้วยคุณประโยชน์และรสชาติที่แตกต่างกัน จึงทำให้ผู้รักสุขภาพหลายคนนิยมรับประทานควินัว 3 สีเพื่อรับประโยชน์และสารอาหารจากควินัวได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ผู้รักสุขภาพบางส่วนยังมองว่า การรับประทานควินัว 3 สีพร้อมกันยังช่วยทำให้รับประทานควินัวได้ง่ายขึ้นกว่าการเลือกทานสีใดสีหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลด้วยเช่นกัน
ควินัวมีสารอาหารอะไรบ้าง?
ควินัวเป็นพืชที่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญหลากหลายชนิด จึงทำให้ควินัวถูกยกให้เป็นหนึ่งใน Super Food หรือ สุดยอดอาหารที่ดีต่อสุขภาพนั่นเอง โดยควินัวหุงสุก 100 กรัมจะมาพร้อมกับสารอาหารสำคัญทั้งหมด ดังนี้
คาร์โบไฮเดรต 21.3 กรัม
ไขมันทั้งหมด 1.9 กรัม
โปรตีน 4.4 กรัม
ใยอาหาร 2.8 กรัม
โซเดียม 7 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 172 มิลลิกรัม
น้ำตาล 0.9 กรัม
นอกจากสารอาหารข้างต้นนี้แล้ว ควินัวหุงสุก 100 กรัมยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุสำคัญอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกายอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นฟอสฟอรัส เหล็ก แคลเซียม วิตามินบี 6 และ บี 12 แมกนีเซียม ไนอาซิน วิตามินอี ซิงค์ และ ไรโบพลาวิน
นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบกับคาร์โบไฮเดรตชนิดอื่น ๆ แล้ว ควินัวยังอุดมไปด้วยสารอาหารโปรตีนที่สูงกว่ามาก ทั้งยังเป็นโปรตีนที่ปราศจากกลูเตน ด้วยเหตุนี้ ควินัวจึงเป็นอีกหนึ่งอาหารทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุ ผู้แพ้กลูเตนจากคาร์โบไฮเดรต คนรักสุขภาพ รวมถึงบุคคลทั่วไปที่ต้องการสร้างและรักษามวลกล้ามเนื้อเอาไว้
ควินัวมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร
ควินัวมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร?
การรับประทานควินัวมาพร้อมกับประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การรับประทานควินัวสามารถช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคร้ายตามมาได้
ไม่เพียงเท่านั้น การรับประทานควินัวในปริมาณที่เหมาะสมเป็นประจำสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้มีส่วนช่วยสำคัญในการลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ซึ่งจัดเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน
นอกจากนี้ ควินัวยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์และโปรตีน ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยให้อิ่มเร็วและบำรุงระบบทางเดินอาหารเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยในการกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญในร่างกายให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ การรับประทานควินัวจึงมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักด้วยเช่นกัน
ที่สำคัญ ควินัวยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ทั้งสารแอนโทไซยานิน รวมไปถึงสารซาโปนินที่ช่วยต้านการอักเสบในร่างกายได้ ด้วยเหตุนี้ ผู้รักสุขภาพหลายคนจึงเชื่อว่า การรับประทานควินัวจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นสารพัดโรคร้ายได้เช่นกัน
ควินัวมีโทษต่อร่างกายหรือไม่?
แม้จะเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในหลายด้าน แต่การรับประทานควินัวเองก็มาพร้อมกับข้อเสียที่ต้องพิจารณาให้ดีเช่นกัน
อันดับแรก การรับประทานควินัวที่มากเกินพอดีอาจทำให้แร่ธาตุต่าง ๆ รวมตัวกันจนเกิดเป็นภาวะนิ่วในไตได้ นอกจากนี้ ควินัวยังมีสารอาหารที่เรียกว่า ‘สารไฟเตต’ ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กและสังกะสี ด้วยเหตุนี้ ผู้ป่วยด้วยโรคความผิดปกติเกี่ยวกับธาตุเหล็กและสังกะสีจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานควินัวทุกครั้ง
อันดับต่อมา จริงอยู่ว่าควินัวนั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายด้าน แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาถึงความปลอดภัยในการรับประทานควินัวอย่างแน่ชัด ดังนั้น ผู้ที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจรับประทานควินัวด้วยเช่นกัน
อันดับสุดท้าย ในปัจจุบันนี้ยังมีการรายงานถึงผู้รับประทานควินัวและเกิดอาการไม่พึงประสงค์ตามมา ไม่ว่าจะเป็นอาการแพ้ อาการบวมที่ลิ้นและริมฝีปาก ไปจนถึงผื่นขึ้นตามร่างกาย ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากสารที่อยู่ในควินัว หรือ สารเคมีตกค้าง ด้วยเหตุนี้ หากเกิดอาการไม่พึงประสงค์ใด ๆ ขอแนะนำให้หยุดทานและรีบไปพบแพทย์ในทันที