ประวัติประเทศสวิสเซอร์แลนด์
ประวัติและความเป็นมาของประเทศ
สวิตเซอร์แลนด์ประเทศที่พรั่งพร้อมไปด้วยภูมิประเทศอันสวยงาม ยอดเขาสูงและทะเลสาบ จนนักท่องเที่ยวหลายๆคน ใฝ่ฝันที่จะไปเยือนดินแดนแห่งนี้ให้ได้สักครั้งในชีวิต แต่ถ้าจะให้เข้าถึงประเทศสวิตเซอร์แลนด์อย่างถ่องแท้แล้ว คงต้องเริ่มตั้งแต่การถือกำเนิดเกิดมาประเทศสวิตเซอร์แลนด์กันเลย ซึ่งตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า บริเวณที่เป็นประเทศสวิตเซอร์แลนด์นี้เคยเป็นที่อยู่ของชนเผ่ากลุ่มเร่ร่อนมาตั้งแต่สมัย 10000 ปีก่อนคริสตกาล จนกระทั่งเมื่อเข้าสู่ยุคโรมัน ชนเผ่าชาวโรมันก็ย้ายเข้ามาตั้งรกรากอยู่ และเมื่ออาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เจริญอำนาจขึ้นมา ผินดินที่เป็นสวิตเซอร์แลนด์ในปัจจุบันก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักนี้ ต่อมาก็ได้มีการรวบรวมแคว้นต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อต่อต้านความกดดันจากราชวงศ์ฮับส์บวร์กส์ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ในสมัยนั้น จนกระทั่งได้เริ่มมีการก่อร่างสร้างตัวเป็นประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี 1291 หลังจากนั้นก็ยังมีสงครามระหว่างชนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์หลายครั้ง จนกระทั่งได้กลายมาเป็นประเทศที่ถือได้ว่าเป็นประเทศที่สงบสุขที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้ ถึงแม้ว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะไม่ได้มีกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง มีอำนาจมากมายเป็นที่รู้จักในหน้าประวัติศาสตร์ของโลกอย่างกษัตริย์ของประเทศฝรั่งเศสหรือประเทศเยอรมัน แต่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ผ่านอะไรต่อมิอะไรมาไม่น้อยเหมือนกัน ก่อนที่จะไปท่องเที่ยวในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เราลองมาทำความรู้จักกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์กันซักหน่อยว่า ตั้งแต่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์จวบจนกระทั่งมาเป็นประเทศสวิตเซอร์แลนด์เข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 21 มีอะไรเกิดขึ้นบ้างในผืนแผ่นดินแห่งนี้
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
เมื่อ 10000 ปีก่อนคริตสกาล พวกกลุ่มนักล่าสัตว์และกลุ่มคนเร่ร่อนได้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่อาศัยในเขตทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ (Alp) ซึ่งในปัจจุบันก็คือพื้นที่บริเวณ Graubünden ใจกลางประเทศสวิสเซอร์แลนด์เป็นครั้งแรก ต่อมาก็ได้มีการขยายอาณาเขตออกไปเรื่อยๆ ตามพื้นที่บริเวณลุ่มทะเลสาบต่างๆ จนกระมั่งเมื่อประมาณ 400 ปีก่อนคริสตกาลชนเผ่าเซลท์ (Celt คือกลุ่มชนชาติที่พูดภาษาเซลติก) ได้เริ่มย้ายถิ่นฐานจากทางเยอรมันตอนใต้ เข้าไปสู่พื้นที่ลุ่มทะเลสาบในตอนกลางของประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพิ่มมากขึ้น โดยทางด้านตะวันออกของสวิตเซอร์แลนด์เป็นที่อยู่อาศัยของพวก Raetia ส่วนทางด้านตะวันตกถูกครอบครองโดยชาว Helvetii นอกจากนั้นก็ยังมีชนเผ่าอื่นๆ ที่กระจัดกระจายไปตามส่วนต่างๆ ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์อีกเป็นจำนวนมาก คือ ชนเผ่า Lepontier ทางแคว้น Tessin ชนเผ่า Seduner ในเขต Wallis และทะเลสาบเจนีวา
ต่อมาเมื่อเข้าสู่ยุครุ่งเรืองของอาณาจักรโรมันในประมาณ 58 ปีก่อนคริสตกาล ชนเผ่าโรมันภายใต้การนำของ จูเลีส ซีซาร์ (Julius Caesar) ได้เข้าโจมตีและยึดดินแดนของชนเผ่า Helvetii และดินแดนส่วนอื่นๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน ช่วงนี้เองที่ได้เริ่มที่การก่อสร้างถนนหนทางและระบบผังเมืองขึ้นในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ขึ้นเป็นครั้งแรก เช่น ในบริเวณเมือง Basel, Chur, Geneve, Zurich ในปัจจุบัน โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง Avenches
ในช่วงปลายของยุคสมัยโรมัน ประมาณปีคริตศตวรรษที่ 4 ถึง 6 ศาสนาคริสต์ได้เผยแผ่เข้ามาในเขตประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทำให้ได้มีการตั้งตำแหน่ง Bishop ขึ้นตามเมืองต่างๆ และเชื่อกันว่าอาณาจักรโรมันก็ล่มสลายลงในช่วงนี้เอง
หลังจากที่อาณาจักรโรมันค่อยๆเริ่มเสื่อมลง พวกชาวเยอรมันเผ่าต่างๆ ก็อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเข้ามาในเขตนี้แทน โดยชนเผ่า Burgundian เข้ามายึดครองบริเวณทางแถบ Jura ทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ บริเวณแม่น้ำ Rhðne และทะเลสาบเจนีวา ส่วนพวก Alamannic ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไรน์ (Rhein) ส่วนการเผยแผ่ศาสนาก็ยังคงมีอยู่เรื่อยๆ โดยพระนักสอนศาสนาเข้ามามีบทบาทสำคัญในเขตเมืองต่างๆ รวมทั้งยังมีการสร้างวัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่เมือง St. Gallen และ Zurich
เมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire ซึ่งอาณาจักรนี้เป็นอาณาจักรของจักรรรดิชาร์ลมาญแห่งเยอรมันหรือเรียกว่าเป็นอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งชนชาติเยอรมัน ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาณาจักรโรมันในสมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์แต่อย่างใด) ก็ได้มีการนำระบบกฏหมายต่างๆ เข้ามาใช้ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีการร่างสนธิสัญญา Verdun ขึ้นในปี ค.ศ. 834 โดยพื้นที่บริเวณตะวันตกของสวิตเซอร์แลนด์ (Burgundain) ตกอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ Lothair ที่ 1 และทางด้านตะวันออก (Alamannic) อยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ Louis the German
ในศตวรรษที่ 10 เมื่อระบบการปกครองแบบใช้กฏหมายเสื่อมลง พวกชนเผ่าแมกยาร์ (Magyar) ก็เข้ามาทำลายเมืองใหญ่ต่างๆ ของเผ่า Burgundian และ Alamannic แต่ต่อมาเมื่อกษัตริย์ Otto ที่ 1 ทำสงครามชนะพวกชนเผ่าแมกยาร์ในปี ค.ศ. 955 ก็มีการรวมพื้นที่บริเวณของ 2 ชนเผ่าเข้าด้วยกันเป็นส่วนหนึ่งของ Holy Roman Empire อีกครั้ง และยังได้มีการรวบรวมแคว้นต่างๆเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อาณาจักรนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับสบวร์ก (Habsburg dynasty) ไปจนกระทั่งกษัตริย์ Rudolph ที่ 1 แห่งราชวงศ์ฮับสบวร์กสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 1291
ยุคของอดีตสมารัฐสวิส (Old Swiss Confederation)
ช่วงที่ถือได้ว่าเป็นช่วงของการก่อตั้งประเทศสวิตเซอร์แลด์หรือประเทศสมาพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์อย่างเป็นทางการเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1291 เมื่อมณฑล 3 มณฑลในเขตเทือกเขาแอลป์ คือ Uri, Schwyz และ Unterwalden ได้รวมตัวกันขึ้นเป็นอดีตสมาพันธรัฐสวิส (Old Swiss Conferderation หรือที่เรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า Alte Eidgenossenschaft) ซึ่งการรวมกลุ่มนี้ไม่ได้เพื่อต้องการแยกออกเป็นประเทศ แต่เพียงเพื่อต้องการจะต่อต้านอำนาจของราชวงศ์ฮับส์บวร์ก ซึ่งการรวมกลุ่มครั้งนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากราชวงศ์ฮับส์บวร์กและมีการทำสงครามกันเรื่อยมา ในปี1315 กลุ่มของชาวบ้านที่เป็นทหารของสวิสในสมัยนั้นก็ทำสงครามชนะทหารของราชวงศ์ฮับส์บวร์กในสงคราม Morgaten หลังจากนั้นเมือง Zürich, Lucerne, Glarus, Zug และ Bern ก็ได้เข้าร่วมเป็นอดีตสมาพันธรัฐสวิส และได้มีการเรัยกชื่อกลุ่มการรวมตัวของมณฑล 8 มณฑลนี้ว่า Schwyz ภายหลังจากการรวมตัวนี้แล้ว ก็ยังคงมีการรวมตัวของมณฑลต่างๆ อยู่เรื่อยๆ จนเมื่อสิ้นสุดปี ค.ศ. 1513 ก็มีมณฑลเข้าร่วมทั้งหมด 13 มณฑล
ภายหลังจากที่มีการรวมตัวกันในปี 1513 แล้ว ก็ยังคงมีการทำสงครามกันภายในพื้นที่ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปุจจับันอยู่เรื่อยๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นสงครมทางศาสนา แต่สงครามที่ยาวนานที่สุด คือ สงคราม 30 ปี (Thirty Years´War ค.ศ. 1618-1648) ซึ่งในช่วงแรกของสงครามนี้เป็นสงครามระหว่างศาสนาคริสต์นิกายคาธอลิกกับโปรแตสแตนท์ แต่ต่อมาสงครามได้ขยายวงกว้างไปเป็นสงครามการขยายอำนาจภายในทวีปยุโรป สงคราม 30 ปีสิ้นสุดลงเมื่อมีการประกาศสันติภาพ Peace of Westphalia และสืบเนื่องมาจาก Peace of Westphalia นี้เอง ประเทศสมาพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์ประกาศแยกตัวออกจากอาณาจักริ์โรมันอันศักดิ์สิทธิ์อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1648
ในยุคที่ราชวงศ์ของฝรั่งเศสเริ่มเข้ามามีบทบาทในประวัติศาสตร์ยุโรป กองทัพของนโปเลียน (Napolean Bonaparte) ก็เข้าครอบครองสวิตเซอร์แลนด์และสถาปนาเป็น Helvetic Republic ในปี ค.ศ. 1798 ทำให้ดินแดนของสวิตเซอร์แลนด์ถูกรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส
ต่อมาในปี 1803 ภายใต้การปกครองของนโปเลียนได้มีการรวบรวมมณฑลต่างๆ ในสมาพันธรัฐสวิสอีกครั้งนอกจากนั้นยังได้สถาปนาเขต 6 เขต คือ ขึ้นเป็นมณฑลใหม่ ในปี 1815 ได้มีการสถาปนาสมาพันธรัฐสวิสขึ้นมาใหม่ ที่คองเกรสแห่งเวียนนา (Congress of Vienna) ขึ้น โดยมีการเพิ่มจำนวนมณฑลเข้าไปอีก 3 มณฑล ในคองเกรสนี้เองได้มีการลงนามให้ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่เป็นกลางทางการเมือง คือเป็นการประกาศว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะเป็นเส้นแบ่งเขตแดนไม่ให้มีการทำสงครามกันระหว่างฝรั่งเศส เยอรมัน และออสเตรีย และได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญในปี 1848 (Fereral Constitution) ซึ่งในรัฐธรรมนูญระบุให้เมือง Bern เป็นเมืองหลวงของสมาพันธรัฐ โดยมีภาษาที่ใช้เป็นภาษาราชการ 3 ภาษา คือ ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอิตาลี
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้วางตัวเป็นกลางทางด้านการทหาร บทบาทสำคัญเพียงอย่างเดียวของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็คือการส่งสภากาชาดเข้ามาช่วยเหลือ เมื่อสงครามโลกผ่านพ้นไป กลิ่นอายแห่งสงครามกลับทำให้เศรษฐกิจของสวิตเซอร์แลนด์ตกต่ำลง และเริ่มฟื้นฟูขึ้นใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1930 ยุคนี้ยังเป็นยุคแห่งการถือกำเนิดของศิลปินชื่อดังอีกด้วย
ถึงแม้ว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะวางตัวเป็นกลางในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่สวิตเซอร์แลนด์กลับมีบทบาทสำคัญในทางด้านเศรษฐกิจ คือธนาคารของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้กลายเป็นสถานที่เพื่อใช้แลกเปลี่ยนเงินผิดกฏหมายของพวกเหล่านาซี
ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศหลายประเทศได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาติแต่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเปรียบเสมือนประเทศเจ้าบ้านกลับไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในสมัยแรก โดยองค์การสากลแห่งแรกที่สวิสเข้าร่วมเป็นสมาชิกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 องค์การ UNESCO ซึ่งเข้าร่วมในปี 1948 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ. 2002 ต่อมาในปี 2005 ประชาชนชาวสวิตเซอร์แลนด์ได้ทำการลงประชามติเพื่อให้ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เข้าร่วมเป็นประเทศในสนธิสัญญา เชงเก้น (Schengen Treaty)
Hint: ตามข้อกำหนดในสนธิสัญญาเชงเก้น หรือ Schengen Treaty นักท่องเที่ยวที่มีวีซ่าแบบมัลติเพิลของประเทศใดประเทศหนึ่งซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่ม Schengen สามารถเดินทางเข้าออกประเทศอื่นๆ ในกลุ่ม Schengen ได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าของประเทศนั้นๆ ปัจจุบันประเทศในกลุ่ม Schengen มีทั้งหมด 15 ประเทศ คือ ออสเตรีย, เบลเยี่ยม, เดนมาร์ก, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, ไอซ์แลนด์, อิตาลี, กรีซ, ลักเซมเบริ์ก, เนเธอร์แลนด์, นอร์เวย์, โปรตุเกส, สเปน และ สวีเดน
The Animated History of Switzerland
CR :: https://youtu.be/snFjkU85EqI
.
#switzerland #history #ประวัติประเทศสวิสเซอร์แลนด์
#ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ #สวิตเซอร์แลนด์
#วันชาติประเทศสวิสเซอร์แลนด์
ทุกๆ วันที่ 1 สิงหาคมของทุกปี ถือเป็นวันชาติของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และในปี 2021จะเป็นปีครบรอบ 730 ปี ของ SWITZERLAND มีการจัดงานเฉลิมฉลองวันชาติสวิตเซอร์แลนด์อย่างยิ่งใหญ่ ทั่วทั้งประเทศมีการจัดงานเลี้ยง จุดพลุ และก่อกองไฟเฉลิมฉลองวันชาติที่เป็นกิจกรรมทำกันทุกปี
.
The first day of August each year is the National Day of Switzerland and in 2021 it will be the 730th anniversary of Switzerland. There will be grand celebration for this National Switzerland Day all over the country with gala banquet, fireworks and bonfires to commemorate the National Day as the activities practiced every year.
#เพลงชาติสวิสเซอร์แลนด์ #SchweizerPsalm #Switzerland #SwitzerlandNationalDay #1สิงหาคมวันชาติสวิตเซอร์แลนด์
#AllesGuteZumGeburtstag #วันชาติประเทศสวิสเซอร์แลนด์
#ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ #สวิตเซอร์แลนด์ #BeautifulSwitzerland
#ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ #สวิตเซอร์แลนด์ #DavosSwitzerland #DieSchweiz #SwissConfederation
ที่มา :: https://loveswitzerland.blogspot.com/2021/07/blog-post.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น