ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
สวิตเซอร์แลนด์ (อังกฤษ: Switzerland, เยอรมัน: die Schweiz, ฝรั่งเศส: la Suisse, อิตาลี: Svizzera, โรมานช์: Svizra) หรือชื่อทางการคือ สมาพันธรัฐสวิส (Swiss Confederation) เป็นประเทศเล็ก ๆ ที่ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ปกครองแบบสหพันธ์ และตั้งอยู่ทวีปยุโรปกลาง โดยมีพรมแดนติดกับประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรีย และประเทศลิกเตนสไตน์ นอกจากจะมีความเป็นกลางทางการเมืองแล้ว สวิตเซอร์แลนด์นับว่ามีการร่วมมือกันระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ตั้งขององค์กรนานาชาติหลายแห่ง
Confoederatio Helvetica เป็นชื่อทางการของประเทศในภาษาละติน และหลีกเลี่ยงการใช้หนึ่งใน 4 ภาษาทางการ ซึ่งคำย่อ คือ CH ใช้เป็น โดเมนระดับบนสุดสำหรับอินเทอร์เน็ต (top level domain) เป็นต้น
ประวัติศาสตร์
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
เมื่อ 10,000 ปีก่อนคริตสกาล พวกกลุ่มนักล่าสัตว์และกลุ่มคนเร่ร่อนได้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่อาศัยในเขตทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ (Alp) ซึ่งในปัจจุบันก็คือพื้นที่บริเวณ Graubünden ใจกลางประเทศสวิสเซอร์แลนด์เป็นครั้งแรก ต่อมาก็ได้มีการขยายอาณาเขตออกไปเรื่อยๆ ตามพื้นที่บริเวณลุ่มทะเลสาบต่างๆ จนกระมั่งเมื่อประมาณ 400 ปีก่อนคริสตกาลชนเผ่าเซลท์ (Celt คือกลุ่มชนชาติที่พูดภาษาเซลติก) ได้เริ่มย้ายถิ่นฐานจากทางเยอรมันตอนใต้ เข้าไปสู่พื้นที่ลุ่มทะเลสาบในตอนกลางของประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพิ่มมากขึ้น โดยทางด้านตะวันออกของสวิตเซอร์แลนด์เป็นที่อยู่อาศัยของพวก Raetia ส่วนทางด้านตะวันตกถูกครอบครองโดยชาว Helvetii นอกจากนั้นก็ยังมีชนเผ่าอื่นๆ ที่กระจัดกระจายไปตามส่วนต่างๆ ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์อีกเป็นจำนวนมาก คือ ชนเผ่า Lepontier ทางแคว้น Tessin ชนเผ่า Seduner ในเขต Wallis และทะเลสาบเจนีวา
ต่อมาเมื่อเข้าสู่ยุครุ่งเรืองของอาณาจักรโรมันในประมาณ 58 ปีก่อนคริสตกาล ชนเผ่าโรมันภายใต้การนำของจูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ได้เข้าโจมตีและยึดดินแดนของชนเผ่า Helvetii และดินแดนส่วนอื่นๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน ช่วงนี้เองที่ได้เริ่มที่การก่อสร้างถนนหนทางและระบบผังเมืองขึ้นในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ขึ้นเป็นครั้งแรก เช่น ในบริเวณเมือง Basel, Chur, Geneve, Zurich ในปัจจุบัน โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง Avenches
ในช่วงปลายของยุคสมัยโรมัน ประมาณปีคริตศตวรรษที่ 4 ถึง 6 ศาสนาคริสต์ได้เผยแผ่เข้ามาในเขตประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทำให้ได้มีการตั้งตำแหน่ง Bishop ขึ้นตามเมืองต่างๆ และเชื่อกันว่าอาณาจักรโรมันก็ล่มสลายลงในช่วงนี้เอง
หลังจากที่อาณาจักรโรมันค่อยๆเริ่มเสื่อมลง พวกชาวเยอรมันเผ่าต่างๆ ก็อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเข้ามาในเขตนี้แทน โดยชนเผ่า Burgundian เข้ามายึดครองบริเวณทางแถบ Jura ทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ บริเวณแม่น้ำ Rhðne และทะเลสาบเจนีวา ส่วนพวก Alamannic ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไรน์ (Rhein) ส่วนการเผยแผ่ศาสนาก็ยังคงมีอยู่เรื่อยๆ โดยพระนักสอนศาสนาเข้ามามีบทบาทสำคัญในเขตเมืองต่างๆ รวมทั้งยังมีการสร้างวัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่เมือง St. Gallen และ Zurich เมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire ซึ่งอาณาจักรนี้เป็นอาณาจักรของจักรรรดิชาร์ลมาญแห่งเยอรมันหรือเรียกว่าเป็นอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งชนชาติเยอรมัน ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาณาจักรโรมันในสมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์แต่อย่างใด) ก็ได้มีการนำระบบกฎหมายต่างๆ เข้ามาใช้ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีการร่างสนธิสัญญา Verdun ขึ้นในปี ค.ศ. 834 โดยพื้นที่บริเวณตะวันตกของสวิตเซอร์แลนด์ (Burgundain) ตกอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ Lothair ที่ 1 และทางด้านตะวันออก (Alamannic) อยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ Louis the German ในศตวรรษที่ 10 เมื่อระบบการปกครองแบบใช้กฎหมายเสื่อมลง พวกชนเผ่าแมกยาร์ (Magyar) ก็เข้ามาทำลายเมืองใหญ่ต่างๆ ของเผ่า Burgundian และ Alamannic แต่ต่อมาเมื่อกษัตริย์ Otto ที่ 1 ทำสงครามชนะพวกชนเผ่าแมกยาร์ในปี ค.ศ. 955 ก็มีการรวมพื้นที่บริเวณของ 2 ชนเผ่าเข้าด้วยกันเป็นส่วนหนึ่งของ Holy Roman Empire อีกครั้ง และยังได้มีการรวบรวมแคว้นต่างๆเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อาณาจักรนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับสบวร์ก (Habsburg dynasty) ไปจนกระทั่งกษัตริย์ Rudolph ที่ 1 แห่งราชวงศ์ฮับสบวร์กสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 1291
ยุคของอดีตสมาพันธรัฐสวิส
ช่วงที่ถือได้ว่าเป็นช่วงของการก่อตั้งประเทศสวิตเซอร์แลด์หรือประเทศสมาพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์อย่างเป็นทางการเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1291 เมื่อมณฑล 3 มณฑลในเขตเทือกเขาแอลป์ คือ Uri, Schwyz และ Unterwalden ได้รวมตัวกันขึ้นเป็นอดีตสมาพันธรัฐสวิส (Old Swiss Conferderation หรือที่เรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า Alte Eidgenossenschaft) ซึ่งการรวมกลุ่มนี้ไม่ได้เพื่อต้องการแยกออกเป็นประเทศ แต่เพียงเพื่อต้องการจะต่อต้านอำนาจของราชวงศ์ฮับส์บวร์ก ซึ่งการรวมกลุ่มครั้งนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากราชวงศ์ฮับส์บวร์กและมีการทำสงครามกันเรื่อยมา ในปี1315 กลุ่มของชาวบ้านที่เป็นทหารของสวิสในสมัยนั้นก็ทำสงครามชนะทหารของราชวงศ์ฮับส์บวร์กในสงคราม Morgaten หลังจากนั้นเมือง Zürich, Lucerne, Glarus, Zug และ Bern ก็ได้เข้าร่วมเป็นอดีตสมาพันธรัฐสวิส และได้มีการเรัยกชื่อกลุ่มการรวมตัวของมณฑล 8 มณฑลนี้ว่า Schwyz ภายหลังจากการรวมตัวนี้แล้ว ก็ยังคงมีการรวมตัวของมณฑลต่างๆ อยู่เรื่อยๆ จนเมื่อสิ้นสุดปี ค.ศ. 1513 ก็มีมณฑลเข้าร่วมทั้งหมด 13 มณฑล
ภายหลังจากที่มีการรวมตัวกันในปี 1513 แล้ว ก็ยังคงมีการทำสงครามกันภายในพื้นที่ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปัจุจบันอยู่เรื่อยๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นสงครามทางศาสนา แต่สงครามที่ยาวนานที่สุด คือ สงคราม 30 ปี (Thirty Years´War ค.ศ. 1618-1648) ซึ่งในช่วงแรกของสงครามนี้เป็นสงครามระหว่างศาสนาคริสต์นิกายคาธอลิกกับโปรแตสแตนท์ แต่ต่อมาสงครามได้ขยายวงกว้างไปเป็นสงครามการขยายอำนาจภายในทวีปยุโรป สงคราม 30 ปีสิ้นสุดลงเมื่อมีการประกาศสันติภาพ Peace of Westphalia และสืบเนื่องมาจาก Peace of Westphalia นี้เอง ประเทศสมาพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์ประกาศแยกตัวออกจากอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1648
ในยุคที่ราชวงศ์ของฝรั่งเศสเริ่มเข้ามามีบทบาทในประวัติศาสตร์ยุโรป กองทัพของนโปเลียน (Napolean Bonaparte) ก็เข้าครอบครองสวิตเซอร์แลนด์และสถาปนาเป็น Helvetic Republic ในปี ค.ศ. 1798 ทำให้ดินแดนของสวิตเซอร์แลนด์ถูกรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ต่อมาในปี 1803 ภายใต้การปกครองของนโปเลียนได้มีการรวบรวมมณฑลต่างๆ ในสมาพันธรัฐสวิสอีกครั้งนอกจากนั้นยังได้สถาปนาเขต 6 เขต คือ ขึ้นเป็นมณฑลใหม่ ในปี 1815 ได้มีการสถาปนาสมาพันธรัฐสวิสขึ้นมาใหม่ ที่คองเกรสแห่งเวียนนา (Congress of Vienna) ขึ้น โดยมีการเพิ่มจำนวนมณฑลเข้าไปอีก 3 มณฑล ในคองเกรสนี้เองได้มีการลงนามให้ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่เป็นกลางทางการเมือง คือเป็นการประกาศว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะเป็นเส้นแบ่งเขตแดนไม่ให้มีการทำสงครามกันระหว่างฝรั่งเศส เยอรมัน และออสเตรีย และได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญในปี 1848 (Fereral Constitution) ซึ่งในรัฐธรรมนูญระบุให้เมือง Bern เป็นเมืองหลวงของสมาพันธรัฐ โดยมีภาษาที่ใช้เป็นภาษาทางการ 3 ภาษา คือ ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอิตาลี
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้วางตัวเป็นกลางทางด้านการทหาร บทบาทสำคัญเพียงอย่างเดียวของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็คือการส่งสภากาชาดเข้ามาช่วยเหลือ เมื่อสงครามโลกผ่านพ้นไป กลิ่นอายแห่งสงครามกลับทำให้เศรษฐกิจของสวิตเซอร์แลนด์ตกต่ำลง และเริ่มฟื้นฟูขึ้นใหม่ในช่วงปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) ยุคนี้ยังเป็นยุคแห่งการถือกำเนิดของศิลปินชื่อดังอีกด้วย
ถึงแม้ว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะวางตัวเป็นกลางในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่สวิตเซอร์แลนด์กลับมีบทบาทสำคัญในทางด้านเศรษฐกิจ คือธนาคารของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้กลายเป็นสถานที่เพื่อใช้แลกเปลี่ยนเงินผิดกฎหมายของพวกนาซีเยอรมัน
ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ได้มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศหลายประเทศได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาติแต่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเจ้าบ้านกลับไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในสมัยแรก โดยองค์การสากลแห่งแรกที่สวิสเข้าร่วมเป็นสมาชิกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือองค์การ UNESCO ซึ่งเข้าร่วมในปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเมื่อปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) ต่อมาในปี 2548 ประชาชนชาวสวิตเซอร์แลนด์ได้ทำการลงประชามติเพื่อให้ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เข้าร่วมเป็นประเทศในสนธิสัญญาเช็งเก็น (Schengen Agreement)
ตามข้อกำหนดในสนธิสัญญาเช็งเก็น นักท่องเที่ยวที่มีใบอนุญาตเช็งเก็น (Schengen Visa) แบบมัลติเพิลของประเทศใดประเทศหนึ่งซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มเช็งเก็นสามารถเดินทางเข้าออกประเทศอื่นๆ ในกลุ่มเช็งเก็นได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าของประเทศนั้นๆ ปัจจุบันประเทศในกลุ่มเช็งเก็นมีด้วยกันทั้งหมด 26 ประเทศรวมทั้ง ประเทศเบลเยียม, ประเทศฝรั่งเศส, ประเทศอิตาลี, ประเทศลักเซมเบิร์ก, ประเทศเนเธอร์แลนด์, ประเทศเดนมาร์ก, ประเทศกรีซ, ประเทศโปรตุเกส, ประเทศสเปน, ประเทศเยอรมนี, ประเทศออสเตรีย, ประเทศฟินแลนด์, ประเทศสวีเดน, ประเทศนอร์เวย์, ประเทศไอซ์แลนด์, ประเทศมอลตา, สาธารณรัฐเช็ก, ประเทศเอสโตเนีย, ประเทศฮังการี, ประเทศโปแลนด์, ประเทศสโลวาเกีย, ประเทศสโลวีเนีย, ประเทศลัตเวีย, ประเทศลิทัวเนีย และ ประเทศโมนาโก
การเมือง
แต่ละ Canton มีรัฐธรรมนูญและ Cantonal Government ของตนเองโดยมีอิสระจากการบริหารราชการของส่วนกลาง อำนาจนิติบัญญัติของสมาพันธ์ฯ อยู่ที่รัฐสภาแห่งสมาพันธ์ (Federal Assembly) ซึ่งประกอบด้วยสภาแห่งชาติ (National Council) และสภาแห่งรัฐ (Council of States) ทั้งสองสภามีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกัน National Council ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรงมีจำนวน 200 คน แต่ละ Canton จะมีจำนวน ผู้แทนของตนมากน้อยตามจำนวนประชากร (1:34,000) แต่อย่างน้อยที่สุด แต่ละ Canton จะมีผู้แทน 1 คน Council of States มีจำนวนสมาชิก 46 คน โดยแต่ละ Canton มีผู้แทน 2 คน การดำเนินงานที่สำคัญของรัฐสภาแห่งสมาพันธ์ กระทำผ่าน standing committees ด้าน ต่าง ๆ อาทิ การคลัง การต่างประเทศ เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และการวิจัย การทหาร สุขภาพและสิ่งแวดล้อม การคมนาคม พลังงาน ฯลฯ ในการบริหารราชการส่วนกลาง อำนาจบริหารจะอยู่ที่คณะรัฐมนตรีเรียกว่า the Federal Council ซึ่งมีสมาชิกเรียกว่า Federal Councillor (มนตรีแห่งสมาพันธ์) มีทั้งหมด 7 คน ทำหน้าที่ควบคุมบริหารงานในหน่วยงานระดับกระทรวง 7 แห่ง รัฐสภาแห่งสมาพันธ์เป็นผู้เลือกมนตรีแห่งสมาพันธ์ มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี และในจำนวนมนตรีแห่งสมาพันธ์ทั้ง 7 คน จะได้รับเลือกจากรัฐสภาแห่งสมาพันธ์ผลัดเปลี่ยนกันครั้งละหนึ่งคน เพื่อดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่ง 1 ปี โดยมีสถานะเป็น “the first among equals” ดังนั้น ประธานาธิบดีสวิสจึงไม่มีการเยือนต่างประเทศในฐานะ State Visit นับตั้งแต่ ค.ศ. 1959 เป็นต้นมา สวิตเซอร์แลนด์ได้ปกครองและบริหารโดยพรรคการเมืองหลัก 4 พรรค ได้แก่ พรรค Radical Democratic (RDP) พรรค Social Democratic Party (SDP) พรรค Christian Democratic People’s Party (CDP) และพรรค Swiss People’s Party (SVP) ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่า แต่ละพรรคจะได้รับจัดสรรตำแหน่งมนตรีของสมาพันธ์พรรคละ 2 คน ยกเว้น Swiss People’s Party ได้ 1 คน นอกจากนั้น ผู้จะดำรงตำแหน่งมนตรีแห่งสมาพันธ์จะมาจาก Canton เดียวกันเกิน 1 คนไม่ได้ และเป็น ธรรมเนียมว่าจะต้องมีผู้แทนจาก 3 Canton หลัก ได้แก่ Zurich, Berne และ Vaud แห่งละ 1 คน ลักษณะพิเศษของระบบประชาธิปไตยแบบสวิสคือ อำนาจสูงสุดในทางนิติบัญญัติมิได้อยู่ที่สภาแต่อยู่ที่ประชาชนโดยตรง เพราะตามรัฐธรรมนูญประชาชนมีสิทธิในการออกเสียงประชามติ (referendum) และการริเริ่ม (initiative) กล่าวคือ กฎหมายทุกฉบับที่ผ่านสภาแห่งสมาพันธ์แล้ว จะยังไม่มีผลบังคับใช้ เป็นกฎหมาย จะต้องรอให้ครบ 90 วันเสียก่อน ในระหว่างนั้นประชาชนจะมีสิทธิคัดค้านโดยจะต้องเข้าชื่อร่วมกัน ไม่น้อยกว่า 50,000 คน เพื่อให้มีการจัด referendum ส่วนอำนาจในการริเริ่มของประชาชนจะสามารถใช้ในการ แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยประชาชนต้องเข้าชื่อร่วมกันไม่น้อยกว่า 100,000 คน เพื่อให้ประชาชนทั้งประเทศลงประชามติ ด้านอำนาจตุลาการ ศาลชั้นต้นและศาลชั้นกลางจะเป็นศาลของมณฑล โดยใช้กฎหมาย สมาพันธ์ร่วมด้วย และประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งผู้พิพากษาโดยตรง แม้แต่ผู้พิพากษาสมทบก็อาจเป็นบุคคลที่ประกอบอาชีพอื่น ๆ ที่ได้รับเลือกจากคนในท้องถิ่น ส่วนศาลฎีกาแห่งสมาพันธ์ (Federal Supreme Court) มี ที่ตั้งอยู่ที่เมืองโลซานน์ เพื่อเน้นการแบ่งแยกอำนาจจากรัฐบาลกลางที่กรุงเบิร์น ศาลฎีกาเป็นทั้งศาลแพ่งและศาลอาญา ประกอบด้วยผู้พิพากษาประมาณ 30 คน ที่ได้รับเลือกตั้งจากรัฐสภาแห่งสมาพันธ์
การแบ่งเขตการปกครอง
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2391 (ค.ศ. 1848) สวิตเซอร์แลนด์ได้เริ่มใช้ระบบการปกครองประชาธิปไตยแบบรัฐสภา แต่มีลักษณะการรวมตัวของรัฐต่าง ๆ อยู่ภายใต้รัฐบาลกลาง เรียกว่า สมาพันธรัฐ
สมาพันธรัฐสวิสประกอบด้วย 26 รัฐ (cantons) ได้แก่
|
|
รัฐเหล่านี้มีประชากรเป็นจำนวนระหว่าง 15,000 คน (รัฐอัพเพนเซลล์อินเนอร์-โรเดิน) และ 1,253,500 คน (รัฐซือริค) และมีขนาดพื้นที่ระหว่าง 37 ตารางกิโลเมตร (รัฐบาเซิล-ชตัดท์) และ 7,105 ตารางกิโลเมตร (รัฐเกราบึนเดิน) รัฐแต่ละแห่งจะมี เทศบาล (municipalities) รวมทั้งหมด 2,889 เขตเทศบาล
ชื่อต่อไปนี้เป็นเขตปกครองที่มีดินแดนของสวิตเซอร์แลนด์โอบล้อมอยู่: บือซิงเงิน (Büsingen) เป็นดินแดนของประเทศเยอรมนี และกัมปีโอเนดีตาเลีย (Campione d'Italia) เป็นดินแดนของประเทศอิตาลี
ภูมิศาสตร์
พื้นที่มากกว่า 70% เป็นเขตภูเขา คือ เทือกเขาแอลป์ มีแม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำไรน์ แม่น้ำโรน แม่น้ำทิซิโน และแม่น้ำอิน ทรัพยกรธรรมชาติที่สำคัญมีเพียง หินแกรนิต หินปูน และหินที่ใช้ในการก่อสร้างเท่านั้น
เศรษฐกิจ
ภาวะเศรษฐกิจสวิตเซอร์แลนด์
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 - 20 ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของสวิตเซอร์แลนด์ การจ้างงานในภาคเกษตรกรรมลดลงจากร้อยละ 60 ของปี พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) เหลือเพียงร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) เป็นต้นมา มีแรงงานเพียงร้อยละ 5 ที่อยู่ในภาคเกษตรกรรม
ภาคอุตสาหกรรมเริ่มมีบทบาทตั้งแต่ปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) และภาคบริการเริ่มเข้ามาตั้งแต่ช่วงทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงปี พ.ศ. 2534 - 2539 (ค.ศ. 1991 - 1996) เป็นผลจากมาตรการทางการเงินที่เข้มงวด ของสวิตเซอร์แลนด์เองแ ละการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของสวิตเซอร์แลนด์
ในช่วงปี พ.ศ. 2540 - 2542 (ค.ศ. 1997 - 1999) สภาวะเศรษฐกิจสวิตเริ่มฟื้นตัวต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 1.8 ต่อปี มาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ธนาคารชาติสวิสนำมาใช้ทำให้ค่าของเงินฟรังก์สวิตลดลงเกือบร้อยละ 10 รวมทั้งสภาวะการเติบโตของเศรษฐกิจโลก เป็นปัจจัยที่เอื้อให้การส่งออกของสวิตเซอร์แลนด์เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันภาวะการจ้างงานภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นก็ช่วยให้การบริโภคภายในประเทศสูงขึ้นด้วย
แม้ว่าสวิตเซอร์แลนด์จะมีค่าจ้างแรงงานสูงเป็นอันดับสามของประเทศอุตสาหกรรมรองจากเดนมาร์กและนอร์เวย์ แต่เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อที่ค่อนข้างต่ำ แรงงานที่มีคุณภาพสูง บวกกับต้นทุนทางสังคมที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้สวิตเซอร์แลนด์ได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศที่มีความสามารถทางการแข่งขันสูงสุดเป็นอันดับที่ 9 ของโลก ในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)
ภาคบริการของสวิตเซอร์แลนด์มีการจ้างงานกว่าสองในสามของการจ้างงานทั้งหมด รายได้ประชาชาติกว่าสองในสามมาจากภาคบริการ ที่สำคัญได้แก่ ภาคบริการผู้ผลิต อาทิ บริการด้านการเงิน การประกันภัย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งทำรายได้ถึงหนึ่งในสาม
- ภาคบริการการจำหน่าย เช่น การค้า การขนส่ง การสื่อสารโทรคมนาคม
- ภาคบริการสังคม เช่น สุขภาพ การศึกษา ภาคราชการ บริการด้านวัฒนธรรม และการพักผ่อน และ
- ภาคบริการบุคคล (personal services) อาทิ การท่องเที่ยว บริการต่าง ๆ สำหรับครัวเรือน และบริการรายบุคคลอื่น ๆ
ภาคอุตสาหกรรมของสวิตเซอร์แลนด์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง แม้ประเทศจะมีขนาดเล็กแต่มีบริษัทข้ามชาติมากมายที่ตั้งอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ อาทิ ด้านอาหาร (Nestle) เวชภัณฑ์ (Novartis, Roche) วิศวกรรม (ABB) อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ และเวชภัณฑ์ ทำรายได้จากการส่งออกสูงสุดของสวิตเซอร์แลนด์ การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในภาคการผลิตสินค้าพวกเครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้าและเครื่องเหล็ก การแข็งค่าของเงินฟรังก์ทำให้ภาคอุตสาหกรรมพยายามลดค่าใช้จ่ายโดยการพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพสูงมากขึ้น อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลของสวิตเซอร์แลนด์เป็นอุตสาหกรรมที่ดีที่สุดในโลก ปัจจุบันสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มั่งคั่งที่สุดประเทศหนึ่ง ในปี 2543 GDP ต่อหัว สูงถึง 33,464 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงเป็นที่สามของโลกรองจากญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา การเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.5 ในปีก่อน เป็นร้อยละ 3.4 ใน2 543 ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบสิบปี
ปี พ.ศ. 2543 เศรษฐกิจสวิสเติบโตสูงสุดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) เป็นต้นมาเนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ และการอ่อนค่าเงินฟรังก์สวิส GDP ในปี 2543 มีอัตราร้อยละ 3.4 การส่งออกเพิ่มเป็นสองเท่าในขณะที่การนำเข้าก็เพิ่มสูงขึ้น การลงทุนเพิ่มเป็นร้อยละ 10.3 (เทียบกับร้อยละ 9 ของปี 2542) ส่วนอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 2.7 เป็นร้อยละ 2 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 1.6
กระทรวงการคลังรายงานว่า ในช่วงแปดเดือนแรกของปี ค.ศ. 2001 การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 คิดเป็นมูลค่า 88,533 ล้านฟรังก์ และนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 คิดเป็นมูลค่า 88,719 ฟรังก์ ขาดดุลการค้า 90.5 ล้านฟรังก์ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา5 5 5
การคาดการณ์สภาวะเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2543
ธนาคาร UBS ประเมินว่า เศรษฐกิจสวิสจะเติบโตร้อยละ 1 ในปี ค.ศ. 2002 แต่สมาพันธรัฐสวิสจะไม่ตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยเหมือนช่วงครึ่งแรกของปี ค.ศ. 2001 ทั้งนี้ เป็นผลจากนโยบายและการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและทันการณ์ของธนาคารชาติสวิสและเนื่องจากตลาดแรงงานมีความยืดหยุ่นสูง ในไตรมาสที่สองของปี ค.ศ. 2001 GDP ของสมาพันธรัฐสวิสเติบโตร้อยละ 1.7 โดยเฉลี่ยการเติบโตในแต่ละไตรมาสอยู่ประมาณร้อยละ1.5 – 2 ซึ่งสูงกว่าเยอรมนี (-0.1) ฝรั่งเศส (1) และอิตาลี (0.1) แต่ตัวเลขการ เติบโตในครึ่งแรกของปี ค.ศ. 2001 และดัชนีต่างๆ ชี้ว่าการเติบโตเริ่มช้าลง ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มลดลงในไตรมาสที่สองเนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ค่าเงินฟรังก์สวิสสูงขึ้นและกำลังซื้อของผู้บริโภคภายในประเทศเพิ่มในอัตราที่ต่ำ UBS คาดว่าปี ค.ศ. 2002 การเติบโตทางเศรษฐกิจจะเหลือเพียงร้อยละ 1 และอัตราเงินเฟ้อปี ค.ศ. 2002 จะเท่ากับร้อยละ 1 เพราะปัจจัยต่างๆ อาทิ ราคาสินค้าจะไม่สูงขึ้นมาก อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง อัตราการเพิ่มค่าจ้างแรงงานก็จะช้าลง และเงินฟรังก์สวิสที่แข็งค่าขึ้นจะช่วยลดผลกระทบจากราคาสินค้าเข้าที่เพิ่มขึ้น
การค้าระหว่างประเทศและการลงทุน สวิตเซอร์แลนด์ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ 2 ใน 3 ของประเทศเป็นภูเขา เพียง 1 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมดเท่านั้น ที่สามารถทำการเพาะปลูก ซึ่งผลิตผลการเกษตรสามารถรองรับความต้องการด้านอาหารของประเทศได้เกินกว่าครึ่งหนึ่ง แต่สวิสขาดแคลนวัตถุดิบ จึงต้องนำเข้าวัตถุดิบและส่งออกกลับไปในรูปของผลิตภัณฑ์คุณภาพ จึงต้องนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบ คู่ค้าสำคัญของสวิตเซอร์แลนด์ได้แก่สมาชิกองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development – OECD) เศรษฐกิจสวิสผูกพันกับเศรษฐกิจ ยุโรปอย่างมากโดยเฉพาะเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์นำเข้าจากสหภาพยุโรปร้อยละ 63 (เยอรมนีร้อยละ 23) และส่งออกไปสหภาพยุโรปกว่าร้อยละ 80 (เยอรมนีร้อยละ 33) สวิตเซอร์แลนด์ขาดดุลการค้าตลอดมาเว้นแต่ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวช่วงทศวรรษ 1960 ซึ่งส่งผลให้การนำเข้าลดลง แม้ว่าสวิตเซอร์แลนด์จะขาดดุลการค้ากับประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของยุโรป (ยกเว้นอังกฤษ) แต่สวิตเซอร์แลนด์ได้ดุลการค้าจากประเทศที่พัฒนาน้อยกว่าเช่น สเปน โปรตุเกส และประเทศกำลังพัฒนา เครื่องจักรกล อุปกรณ์ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ทางเวชกรรม นาฬิกา และอัญมณี เป็น สินค้าส่งออกหลักของสวิตเซอร์แลนด์ สินค้านำเข้าหลักได้แก่เครื่องจักรกล อุปกรณ์ไฟฟ้า นาฬิกา เคมีภัณฑ์ ผลผลิตทางการเกษตร โลหะ สิ่งทอ และเครื่องแต่งกาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่นำเข้าวัตถุดิบโดยใช้แรงงานที่มีคุณภาพสูงของตนแปรรูปให้เป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง การส่งออกภาคบริการของสวิตเซอร์แลนด์ในช่วงปี 1996-1999 เพิ่มประมาณร้อยละ 6.5 ต่อปี โดยมีสัดส่วนร้อยละ 20 ของการส่งออกทั้งหมด การท่องเที่ยวก็เป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมบริการ สวิตเซอร์แลนด์ได้ดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นสัดส่วนต่อรายได้ประชาชาติสูงสุดของโลก การ ได้ดุลจำนวนมากนี้เป็นผลจากการทำธุรกรรมด้านบริการ โดยเฉพาะภาคการเงิน บริษัทสวิสลงทุนในต่างประเทศมากกว่าบริษัทต่างประเทศมาลงทุนในสวิตเซอร์แลนด์ประมาณ 2.5 เท่า การลงทุนทางตรงของสวิตเซอร์แลนด์ในต่างประเทศส่วนใหญ่อยู่ในสหภาพยุโรปและ สหรัฐอเมริกา ในขณะที่สหภาพยุโรปมีสัดส่วนการลงทุนในสวิตเซอร์แลนด์เป็นสองในสามของการลงทุน ต่างประเทศในสวิตเซอร์แลนด์
นโยบายต่างประเทศของสวิตเซอร์แลนด์
ก่อนปี ค.ศ. 1980 นโยบายต่างประเทศของสวิตเซอร์แลนด์ยึดหลักการ 4 ประการ คือ ความ เป็นกลาง (neutrality) ความมีน้ำหนึ่งใจเดียว (solidarity) ความเป็นสากล (universality) และความเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม (availability) ต่อมาเมื่อกิจการต่างประเทศเริ่มมีส่วนเกี่ยวพันกับกิจการสาขาอื่น ๆ โดยเฉพาะเศรษฐกิจ การเงิน สิ่งแวดล้อม และกฎหมาย และการที่โลกเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์และหน่วยงานหรือ องค์กรต่าง ๆ ได้เริ่มมีบทบาทในกิจการต่างประเทศมากขึ้น ทำให้สวิตเซอร์แลนด์ต้องปรับเปลี่ยนนโยบายการต่างประเทศ และได้จัดทำสมุดปกขาวว่าด้วยนโยบายต่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในศตวรรษที่ 90 ซึ่งได้รับ ความเห็นชอบจากรัฐบาลในปี ค.ศ. 1993 นโยบายต่างประเทศของสวิตเซอร์แลนด์สำหรับปี 2545 สรุปได้ดังนี้
การเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ
สวิตเซอร์แลนด์ให้ความสำคัญลำดับแรกต่อการเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ขณะนี้รัฐบาลได้เร่งรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญขององค์การสหประชาชาติ ในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลทั้งสี่พรรค ได้ให้ความเห็นชอบต่อการเข้าเป็นสมาชิกดังกล่าว และได้จัดการลงประชามติทั่วประเทศในวันที่ 3 มีนาคม 2545 โดยก่อนหน้านั้นเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1986 รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้จัดการลงประชามติการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ แต่ประชาชนสวิสส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยเนื่องจากเกรงจะเสียความเป็นกลางซึ่งเป็นนโยบายหลักของประเทศตลอดมา แต่ในการลงประชามติเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2002เสียงส่วนใหญ่ของประชาชนสวิสและเสียงส่วนใหญ่ของรัฐ (Canton) ได้ลงมติให้ความเห็นชอบการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติของสมาพันธรัฐสวิส โดยผู้ลงมติเห็นด้วยคิดเป็นร้อยละ 54.61 ผู้ลงมติไม่เห็นด้วยร้อยละ 45.39 และรัฐ (Canton) ที่เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยมีจำนวน 12 รัฐ จากจำนวนรัฐ ทั้งหมด 23 รัฐ การลง ประชามติครั้งนี้มีประชาชนออกมาใช้สิทธิร้อยละ 57.7 ทั้งนี้ สมาพันธรัฐสวิสได้ยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิก สหประชาชาติอย่างเป็นทางการและได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติในช่วงการประชุมสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 57 ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2002
การเจรจาทวิภาคีกับสหภาพยุโรป
รัฐบาลสวิสชุดปัจจุบันได้ประกาศเป็นนโยบายแน่ชัดที่จะเข้าไปมีบทบาทในเวทีการเมืองระหว่างประเทศให้มากขึ้น อาทิ การจะเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ และการพยายามจะสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เนื่องจากเห็นว่า สวิตเซอร์แลนด์จะไม่สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้อีกต่อไป ในปี ค.ศ. 1992 สวิตเซอร์แลนด์ได้จัดการลงประชามติเกี่ยวกับการเข้าเป็นสมาชิกเขตการค้าเสรียุโรป (European Economic Area) แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบ รัฐบาลจึงหาทางออกโดยการเปิดการเจรจากับสหภาพยุโรปตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1994 เพื่อทำความตกลงทวิภาคีใน 7 สาขา คือ การเคลื่อนย้ายบุคคลและแรงงานเสรี การวิจัย การขนส่งทางบก การบิน การเปิดเสรีทางการค้า การให้สิทธิภาคเอกชนของประเทศสหภาพยุโรปและ
สวิตเซอร์แลนด์เข้าไปประมูลหรือดำเนินกิจกรรมที่เป็นการจัดซื้อโดยรัฐในอีกประเทศหนึ่งได้เท่าเทียมคนชาติ การลดอุปสรรคการค้าระหว่างกัน และเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1999 สวิตเซอร์แลนด์และสหภาพยุโรปได้ ลงนามความตกลงดังกล่าวซึ่งสภาแห่งชาติของสวิตเซอร์แลนด์ได้ให้สัตยาบันความตกลงฯ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1999 และผ่านการลงประชามติจากประชาชนร้อยละ 62.7 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 รวมทั้งได้ผ่านการให้สัตยาบันจากรัฐสภาเบลเยี่ยมเป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประเทศสุดท้ายแล้วเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001 ซึ่งหลังจากนั้น รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้เริ่มการเจรจาทวิภาคีกับสหภาพยุโรปอีก 10 สาขา คือ การบริการ การจ่ายเงินบำนาญ การแปรรูปสินค้าเกษตร สิ่งแวดล้อม สถิติ การศึกษา กิจการเยาวชน บัญชีเงินฝากธนาคาร ความร่วมมือเพื่อต่อต้านการฉ้อโกง และความร่วมมือด้านการศาสนา กิจการตำรวจและการอพยพย้ายถิ่นฐาน อย่างไรก็ตาม มีกระแสเรียกร้องให้เปิดการเจรจากับสหภาพยุโรปโดยทันทีเพื่อเร่งรัดการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งรัฐบาลสวิสไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องนี้ เนื่องจากเห็นว่า สวิตเซอร์แลนด์จะพร้อมเปิดการเจรจากับสหภาพยุโรปในช่วงระหว่างปี 2004-2007 และอาจพร้อมที่จะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปหลังปี 2010 แต่เมื่อมีประชาชน 100,000 คน เข้าชื่อเรียกร้องให้จัดการลงประชามติ รัฐบาลสวิสก็ได้จัดการลงประชามติขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2001 ผลปรากฏว่าประชาชนกว่าร้อยละ 76.7 ลงคะแนนไม่เห็นด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้สนับสนุนการเปิดการเจรจากับสหภาพยุโรป จะเป็นชาวสวิสในเขตสวิส ฝรั่งเศส ในขณะที่ชาวสวิสเยอรมันเกินร้อยละ 85 ลงคะแนนไม่เห็นด้วย
ความสัมพันธ์ทวิภาคีสวิตเซอร์แลนด์กับประเทศเอเชีย-แปซิฟิก
รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเอเชียแปซิฟิก ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และได้เริ่มมิติใหม่ต่อการพัฒนาความร่วมมือด้านเทคโนโลยี แต่ นาย Deiss ได้ยอมรับว่ารัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์มีบทบาทแข็งขันในการช่วยเหลือพัฒนาประเทศเอเชียใต้ เช่น ปากีสถาน เนปาล ภูฐาน อินเดีย บังคลาเทศ และเอเชียกลาง เช่น คีร์กิซสถาน ซึ่งความช่วยเหลือส่วนใหญ่จะทำในกรอบความร่วมมือพหุภาคีภายใต้องค์การระหว่างประเทศ และมีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ (pool of experts) กว่า 600 คน ซึ่งพร้อมจะเดินทางไปให้ความร่วมมือช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี สำหรับอัฟกานิสถานนั้น สวิตเซอร์แลนด์เข้าไปมีบทบาททั้งในการเจรจาด้านการเมืองและได้มอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมผ่านสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) และองค์การกาชาดสากล (ICRC) เป็นมูลค่ากว่า 17 ล้านฟรังค์สวิสในปี ค.ศ. 2001 โดยให้ความสำคัญกับการ ช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศและการยกระดับความเป็นอยู่ของสตรี แต่จะไม่เข้าร่วมในกองกำลังรักษาสันติภาพ และในครึ่งแรกของปี ค.ศ. 2002 สวิตเซอร์แลนด์กำหนดจะเปิดสำนักงานติดต่อ (coordination Office) ที่กรุงคาบูล แต่ในขณะนี้ยังใช้ช่องทางการติดต่อผ่านสถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจำปากีสถาน
ประชากร
ประชากร 7.5 ล้านคน (ปี 2549) เป็นชาวสวิส เยอรมันร้อยละ 65 สวิสฝรั่งเศสร้อยละ 18 สวิสอิตาเลียน ร้อยละ 10 โรมานช์ ร้อยละ 1 อื่น ๆ ร้อยละ 6
วัฒนธรรม
ประชาชนร้อยละ 48 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก ร้อยละ 44 นับถือนิกายโปรเตสแตนท์ ร้อยละ 8 นับถือศาสนาอื่นๆหรือมิได้นับถือศาสนา
สถานทูตสวิสเซอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย
ตั้งอยู่เลขที่ 35 ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์. 02-2530156 โทรสาร. 02-2554481 Email : vertretung@ban.rep.admin.ch
Embassy of Switzerland
35 North Wireless Road
Bangkok 10330, Thailand
Postal address
Embassy of Switzerland
P.O. Box 821
Bangkok 10501, Thailand
Tel. : +66 2 674 69 00
Fax : +66 2 674 69 01
+66 2 674 69 02 (visa)
Opening hours for public
Monday-Friday 09:00-11:30
Saturday and Sunday closed
สถานทูตไทยในสวิตเซอร์แลนด์ ณ กรุงเบิร์น:
ที่อยู่ Kirchstrasse 56, 3097 Bern-iebefeld, Switzerland
โทร: (41-31) 970 3030-4, 970 3038-9
แฟกซ์: (41-31) 970 3035
เวลาทำงาน 09.00 - 12.00 น. (จันทร์ - ศุกร์)
การขอวีซ่าเข้าประเทศสวิตเซอร์แลนด์ประเภทเยี่ยมเยือน visitor
การขอวีซ่าเข้าประเทศสวิตเซอร์แลนด์ประเภทเยี่ยมเยือน กรณีผู้เชิญพำนักในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ผู้ยื่นขอวีซ่าทุกคนต้องโทรนัดทางโทรศัพท์เพื่อขอยื่นวีซ่า ที่หมายเลข 1900-222-340 (นาทีละ 9 บาท และโทรได้เฉพาะภายในประเทศ)
ห้ามยื่นล่วงหน้าก่อนวันออกเดินทาง 3 เดือน
อนุญาตให้พำนักได้ไม่เกิน 3 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่วันแรกที่เดินทางเข้าประเทศ
ผู้ยื่นคำร้อง (เด็กอายุต่ำกว่า18 ปี : ได้รับการยินยอมจากบิดามารดา โดยมีใบเซ็นยินยอมจากอำเภอ)
ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่อนุญาตให้ส่งเอกสารไปยังสถานเอกอัครราชทูตฯ
เอกสารของผู้เชิญที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
* จดหมายเชิญที่ลงลายมือชื่อโดยผู้เชิญ พร้อมคำยืนยันว่าผู้เชิญกำลังรอการเยือนของผู้ยื่นคำร้องอยู่ หากผู้เชิญไม่ใช่เจ้าบ้าน กรุณาระบุเหตุผล ไม่มีรูปแบบบังคับสำหรับจดหมายเชิญ
และจดหมายเชิญนี้ต้องส่งไปยังผู้ยื่นคำร้องซึ่งต้องนำมายื่นพร้อมกับเอกสารอื่นๆ
ท่านสามารถดาวน์โหลดตัวอย่างจดหมายเชิญได้จากเว็บไซต์ของสถานทูตฯ:
www.eda.admin.ch/bangkok
* หลักฐานการประกันสุขภาพและอุบัติเหตุระหว่างการเดินทางจากบริษัทประกันภัยที่ตั้งหรือมีสาขาอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์หรือประเทศ
อื่นๆในกลุ่มเชงเก็น ซึ่งมีวงเงินประกันไม่ต่ำกว่า 30,000 เหรียญยูโร (หรือจำนวนบาทที่เทียบเท่ากัน )
กรมธรรม์ต้องครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดช่วยชีวิต การเดินทางกลับด้วยสาเหตุทางการแพทย์
ความช่วยเหลือทางการแพทย์ในกรณีฉุกเฉิน หรือ ค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉินในกรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยกะทันหัน
ข้อควรระวัง : ประกันที่ซื้อมาจะต้องเรียกเงินคืนได้ ในกรณีที่ไม่ได้รับวีซ่า
เอกสารของผู้ยื่นคำร้องวีซ่า (ผู้ยื่นคำขอวีซ่าที่มีถิ่นพำนักในประเทศไทย กัมพูชา พม่าหรือลาว โดยถูกต้องตามกฎหมาย)
* แบบคำร้องขอวีซ่าที่กรอกโดยสมบรูณ์ ลงวันที่และลายมือชื่อโดยผู้ยื่นคำร้องกรุณาระบุชื่อ สกุล ชื่อต้น
และที่อยู่ที่ชัดเจนของผู้เชิญ (และเจ้าบ้านหากไม่ใช่คนเดียวกัน) ซึ่งพำนักในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
* รูปถ่ายสี ปัจจุบัน จำนวน 2 ใบ (มีขนาด 3.5 x 4 เซนติเมตร คมชัดพื้นหลังเป็นสีขาว เห็นเฉพาะใบหน้าและลำคอ)
* หนังสือเดินทาง ที่มีอายุใช้งานอย่างน้อยอีก 3 เดือนหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาที่ต้องการจะพำนักในประเทศสวิตเซอร์แลนด์แล้ว
* สำเนาหนังสือเดินทาง รวมถึงการต่ออายุ การเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี) จำนวน 1 ฉบับ
* หลักฐานการสำรองเที่ยวบินไปและกลับ ประเทศไทย-กลุ่มประเทศเชงเก็น-ประเทศไทย ที่ยืนยันที่นั่งแน่นอน
*ข้อควรระวัง ห้ามซื้อตั๋วเดินทางก่อนจะได้รับวีซ่าสถานเอกอัครราชฑูตฯไม่สามารถรับผิดชอบใดๆ ได้ หากเกิดการล่าช้าหรือวีซ่าได้รับการปฎิเสธ
* หนังสือรับรองการทำงานฉบับจริง (สำหรับนักเรียน/นักศึกษา: หลักฐานแสดงวุฒิการศึกษา หนังสือรับรองสถานภาพนักศึกษาหรือนักเรียน)
* เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องแสดงหลักฐานสูติบัตร และทั้งบิดาและมารดาต้องลงลายมือชื่อในแบบคำร้อง ในกรณีที่บิดา-มารดาไม่ได้เดินทางพร้อมเด็ก จะต้องมีใบยินยอมให้เด็กเดินทางไปต่างประเทศได้ ซึ่งออกจากอำเภอ
* กรณีที่เจ้าบ้านและผู้ยื่นคำร้องเป็นญาติกัน ให้ยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่ายโดยการแสดงเอกสารอ้างอิงของทางราชการ (เช่น ทะเบียนสมรส (คร.2), สำเนาทะเบียนบ้าน ฯลฯ)
ต้องยื่นต้นฉบับเอกสารทั้งหมดพร้อมสำเนา
สถานเอกอัครราชทูตฯจะรับคำร้องขอวีซ่า พร้อมเอกสารประกอบที่ครบสมบรูณ์เท่านั้น
ค่าธรรมเนียม
สถานทูตฯจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมยื่นขอวีซ่า ราคา 60 เหรียญยูโร ชำระเป็นเงินสด ณ วันที่ยื่นขอวีซ่า อัตราค่าธรรมเนียมที่เป็นเงินสกุลบาท
ให้ตรวจสอบทางเว็บไซต์ของสถานทูตฯ หรือ call center (1900-222-340) เตรียมเงินมาให้พอดี
และจะไม่มีการคืนค่าธรรมเนียมนี้ให้หากคำร้องได้รับการปฏิเสธ
Embassy of Switzerland
35 North Wireless Road, (Thanon Witthayu)
Bangkok 10330
G.P.O. Box 821, Bangkok 10501
Phone: 02 253 01 56-60, Fax: 02 255 44 81
www.eda.admin.ch/bangkok
การดำเนินการ
สถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์จะใช้เวลาพิจารณา 3 วันทำการ หลังจากที่ได้รับคำร้อง หากสถานเอกอัครราชทูตฯ พิจารณาแล้วเห็นสมควร ผู้ยื่นคำร้องจะได้รับ
“หนังสือให้การรับรอง” (Verpflichtungserklärung) ซึ่งผู้ยื่นคำร้องต้องส่งต่อไปยังผู้เชิญ/เจ้าบ้านที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ด้วยตนเอง
เมื่อการตรวจสอบโดยหน่วยงานราชการที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เสร็จสิ้นลงแล้วเจ้าบ้านจะต้องแจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ยื่นคำร้องที่ประเทศไทยทราบโดยตรง
เมื่อได้รับแจ้งแล้ว อีกประมาณ 10 วัน ให้ผู้ยื่นคำร้องยื่นหลักฐานการสำรองเที่ยวบินระบุวันไป-กลับใบใหม่และหนังสือเดินทางที่สถานทูตฯ
สถานเอกอัครราชทูตฯจะไม่ให้ข้อมูลใดๆเรื่องวีซ่าทางโทรศัพท์
สามารถรับผลการตัดสินได้ 3 วันทำการ หลังจากวันที่ได้ยื่นคำร้อง
สถานเอกอัครราชทูตฯไม่มีบริการจัดส่งหนังสือเดินทางทางไปรษณีย์
สถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์สงวนสิทธิที่จะขอเอกสารและ/หรือข้อมูลอื่นใดเพิ่มเติมหากจำเป็น โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า
ท่านสามารถค้นหาข้อมูลล่าสุดได้ที่เว็บไซต์ของสถานเอกอัครราชทูตฯ
เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 09.04.2009
http://www.eda.admin.ch/etc/medialib/downloads/edactr/tha.Par.0307.File.tmp/visitor_th.pdf
ข้อมูลภาษาเยอรมัน
Besuchervisum, Garant in der Schweiz wohnhaft
Besuchervisum, Garant ist bei der Botschaft angemeldet
http://www.eda.admin.ch/etc/medialib/downloads/edactr/tha.Par.0275.File.tmp/visitor_141_de%20Schengen.pdf
BESUCHERVISUM, Musterbrief für die Einladung
-> ist durch die eingeladene Person zusammen mit dem Visumantrag bei der Botschaft abzugeben
http://www.eda.admin.ch/etc/medialib/downloads/edactr/tha.Par.0036.File.tmp/Musterbrief%20Einladung%20Schengen.pdf
VISA DE VISITE, lettre-type d'invitation
(doit être remise par l'invité(e) qui la joindra à son dossier de demande de visa)
#ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ #สวิตเซอร์แลนด์ #DavosSwitzerland #DieSchweiz #SwissConfederation
ที่มา :: ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ - เว็บไซต์การเรียนรู้ประภัสรา โคตะขุน (google.com)
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ - เว็บไซต์การเรียนรู้ประภัสรา โคตะขุน (google.com)
https://loveswitzerland.blogspot.com/2021/05/switzerland.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น