Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565

"โอบามา" เข้าเฝ้าฯ "ในหลวง" แล้ว ในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ

 

"โอบามา" เข้าเฝ้าฯ "ในหลวง" แล้ว ในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ

 

President Barack Obama’s audience with His Majesty the King during his 2012 visit to Thailand.


Meeting: Thai King Bhumibol Adulyadej talking to Obama along with the Secretary of State

Meeting: Thai King Bhumibol Adulyadej talking to Obama along with the Secretary of State


 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และคณะ ก่อนพระราชทานของขวัญแก่นายโอบามา จากนั้นนายโอบามา ทูลเกล้าฯ ถวายของขวัญแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช


https://youtu.be/iX5Z8Mxe1MM

เวลา16.53 น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออก ณ ห้องประชุมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราชทรงรับนายบารัค โอบามา (Mr.Barack Obama) ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา และคณะ ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาลไทย ระหว่างวันที่ 18-19 พ.ย.2555

ในการนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ นายชัยยงค์ สัจจิพานนท์ เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริการ่วมเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วย

นายบารัค โอบามา ปัจจุบันอายุ 51 ปีดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาลำดับที่ 44 ระหว่างปี 2552-2555 โดยเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งในตำแหน่งนี้ และ ชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 เมื่อวันที่ 6 พ.ย.2555 ที่ผ่านมา

นายบารัค โอบามา เดินทางถึงประเทศไทย ที่ท่าอากาศยานทหารกองบิน 6 กองทัพอากาศ เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา จากนั้นออกจากสนามบินเดินทางไปวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดโพธิ์ เพื่อเยี่ยมชมบริเวณพระอุโบสถ วิหารพระนอน พระมหาเจดีย์ และ ฤๅษีดัดตน และ ร่วมหารือกับ น.ส.ลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลก่อนจะแถลงข่าวร่วมกันในค่ำวันนี้


https://youtu.be/Bw8dyEyOq9A


https://youtu.be/H1VB3LjcvJE


ที่มา   ::  https://th.usembassy.gov/look-back-president-obamas-visit-thailand/   ,   เฟซบุ๊ก U.S. Embassy Bangkok  , https://news.thaipbs.or.th/content/126856   ,  

โอบามาร่วมแถลงทวิภาคี มุ่งขยายความร่วมมือด้านศก.-การค้าเสรี




โอบามาร่วมแถลงทวิภาคี มุ่งขยายความร่วมมือด้านศก.-การค้าเสรี

ในการแถลงหลังการหารือทวิภาคีไทย-สหรัฐ ปธน. โอบามา กล่าวถึงความมุ่งมั่นของสหรัฐในการขยายความร่วมมือด้านการค้าเสรีและการลงทุนในเอเชียแปซิฟิก รวมถึงด้านความมั่นคง-การพัฒนา พร้อมกล่าวชื่นชมผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบปชต.


18 พ.ย. 55 - เวลา 19.10 ที่ทำเนียบรัฐบาล มีการแถลงข่าวร่วมหลังการหารือทวิภาคีระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา บารัค โอบามา และนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในวาระที่ปธน. สหรัฐได้มาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ก่อนที่จะเดินทางไปเยือนประเทศพม่าและกัมพูชาต่อในวันที่ 19- 20 พ.ย. นี้ โดยการแถลงข่าวดังกล่าว ผู้นำทั้งสองประเทศได้กล่าวถึงความร่วมมือที่จะขยายต่อไปในอนาคต ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน โดยเฉพาะความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิค หรือ ทีพีพี รวมถึงด้านความมั่นคงในภูมิภาค เช่น ความมั่นคงทางทะเล การค้ามนุษย์ และการก่อการร้าย 


Why hello there: President Obama shakes hands with Thai Prime Minister Yingluck Shinawatra as he arrives at the Government House in Bangkok, Thailand


 

Glances: Obama enjoys a joke with Thai PM Yingluck Shinawatra during a state dinner in Thailand


Welcome tour: Thai Prime Minister Shinawatra, right, looks back at President Obama during a press conference in Bangkok



Foreign policy: The president and the prime minister could be seen laughing together and exchanging playful glances throughout a state dinner at the Government House in Bangkok


Friendly: Obama and Shinawatra burst into laughter during the press conference

Friendly: Obama and Shinawatra burst into laughter during the press conference


ประธานาธิบดีสหรัฐ บารัค โอบามา กล่าวว่า เนื่องจากสหรัฐมีนโยบายที่หันเข้าหาภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การเดินทางมาเยือนประเทศไทยในฐานะที่เป็นพันธมิตรเก่าแก่จึงมีความสำคัญมาก โดยในปีนี้นับเป็นปีที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตครบรอบ 180 ปีและความร่วมมือด้านการทหารเกือบ 60 ปี โดยเฉพาะการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะสร้างโอกาสและงานให้กับชาวอเมริกันและประชาชนในภูมิภาคนี้ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในโลก 
 
"เมื่อเร็วๆ นี้ ประชาชนไทยได้ร่วมแรงเพื่อฟื้นฟูประชาธิปไตย และเราชื่นชมกับความพยายามต่างๆ ที่ได้บรรลุขึ้น ก่อนหน้าในวันนี้ ผมได้เข้าพบกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้นำแห่งปัญญาและศักดิ์ศรีซึ่งเป็นศูนย์รวมของเอกลักษณ์และเอกภาพของชาติ และวันนี้ ผมยินดีที่ได้มายืนเคียงข้างผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งของประเทศไทย เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของการยึดถือในประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล นิติรัฐและหลักสิทธิมนุษยชนสากล ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมทราบว่าท่านนายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นอย่างลึกซึ้ง" ประธานาธิบดีสหรัฐกล่าว
 
ในด้านความร่วมมือระหว่างสองประเทศ โอบามากล่าวถึงการร่วมฝึกทหารระหว่างทหารไทยและสหรัฐ ซึ่งจะทำให้กองทัพของไทยมีความเข้มแข็งและมีความรับผิดชอบต่อกิจการต่างๆ ในภูมิภาคนี้มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องความมั่นคงทางทะเล การต่อต้านการก่อการร้าย การให้ความช่วยเหลือทางภัยพิบัติ การป้องกันอาวุธทำลายล้างขนาดใหญ่ (Weapon of Mass Destruction) และกล่าวชื่นชมที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมในความริเริ่มด้านความมั่นคงเกี่ยวกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (Proliferation Security Initiative) ซึ่งจะสามารถสร้างความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาพนี้ได้


Go East: Barack Obama and Thai Prime Minister Yingluck Shinawatra review an honor guard during a welcoming ceremony at Government House in Bangkok

Go East: Barack Obama and Thai Prime Minister Yingluck Shinawatra review an honor guard during a welcoming ceremony at Government House in Bangkok

Quick trip: Obama and Thai Prime Minister Yingluck Shinawatra arrive for a joint news conference during his three-day trip to Asia

Quick trip: Obama and Thai Prime Minister Yingluck Shinawatra arrive for a joint news conference during his three-day trip to Asia

Cheers! Clinton and the Thai PM toast at Government House in Bangkok

Cheers! Clinton and the Thai PM toast at Government House in Bangkok

Spiritual: Obama and Secretary of State Hillary Clinton tour the Viharn of the Reclining Buddha with Chaokun Suthee Thammanuwat

Spiritual: Obama and Secretary of State Hillary Clinton tour the Viharn of the Reclining Buddha with Chaokun Suthee Thammanuwat

Time for reflection: Obama and Clinton admire a shrine during their monastery visit

Time for reflection: Obama and Clinton admire a shrine during their monastery visit




On tour: Obama and Clinton at the Wat Pho Royal Monastery in Bangkok

On tour: Obama and Clinton at the Wat Pho Royal Monastery in Bangkok

Ceremony: Obama and Prime Minister Yingluck Shinawatra on the red carpet at Thai Government House in Bangkok

Ceremony: Obama and Prime Minister Yingluck Shinawatra on the red carpet at Thai Government House in Bangkok


ส่วนทางด้านเศรษฐกิจ เขากล่าวถึงการขยายช่องทางและโอกาสในการลงทุนและการค้า โดยเฉพาะช่องทางของความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปก (APEC) และความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิค หรือ ทีพีพี (TPP) ซึ่งมุ่งผลักดันการค้าเสรี ลดการกีดกันทางการค้า
 
ในด้านความร่วมมือด้านการพัฒนา และในวาระการครบรอบ 50 ปีของพีซคอร์ปในประเทศไทย ประธานาธิบดีสหรัฐกล่าวว่า จะมุ่งพัฒนาในประเด็นสุขภาพสาธารณะและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในบริเวณแถมลุ่มแม่น้ำโขง เช่น การพัฒนาวีคซีนต้านเอชไอวี/เอดส์ การลักลอบค้ามนุษย์ และการปกป้องสิทธิของแรงงานข้ามชาติที่อยู่ในประเทศไทยและชายแดนใกล้เคียง เขากล่าวต่อว่า ประเทศไทย ในฐานะการกลายเป็นประเทศผู้บริจาค จะสามารถทำงานร่วมกับสหรัฐอย่างใกล้ชิดในการแก้ปัญหาโรคมาลาเรียในบริเวณชายแดนไทย-พม่า รวมถึงการพัฒนาประชาธิปไตยและการปฏิรูปในพม่า การให้ความช่วยเหลือกับผู้ที่เห็นต่างกับรัฐบาลพม่า และผู้ลี้ภัยด้วย 
 
และประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศร่วมก่อตั้งอาเซียน โอบามากล่าวว่า หวังว่าประเทศไทยจะมีบทบาทสำคัญในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ประเทศกัมพูชา เพื่อพูดคุยถึงเรื่องประเด็นสำคัญๆ เช่นเรื่องความมั่นคงทางทะเล และขอขอบคุณประเทศไทยสำหรับการสนับสนุนสหรัฐในการะประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออกที่จะถึงนี้ด้วย 
 
ต่อคำถามของผู้สื่อข่าวเรื่องสถานการณ์ประชาธิปไตยในประเทศไทยที่ยังคงมีนักโทษการเมือง และการปราบปรามผู้ชุมนุมเมื่อปี 2553 ว่าพึงพอใจหรือไม่กับสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ตอบว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องยึดลักษณ์ความเสถียรภาพของประชาธิปไตย และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงหลักนิติรัฐและสันติวิธี ในขณะที่ประธานาธิบดีโอบามากล่าวว่า ประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่ง แต่มันเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา 
 
"สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก แต่เรา, ในฐานะพลเมือง, จำป็นต้องทำให้แน่ใจว่ามันครอบคลุมถึงทุกๆ คน และให้แน่ใจว่าเสรีภาพที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ รวมถึงเสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการนับถือศาสนาถูกยึดถือและนำไปปฏิบัติ ฉะนั้น งานของประชาธิปไตยไม่เคยจบสิ้น สำหรับประเทศไทย สิ่งที่คุณเห็นก็คือผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งตามประชาธิปไตย เชื่อมั่นต่อประชาธิปไตย หลักนิติรัฐ เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพสื่อและการชุมนุม" โอบามากล่าว
 
"แต่ก็ชัดว่า, ซึ่งก็จริงทั้งในไทยและในสหรัฐ, พลเมืองทุกคนต้องกระตือรือร้นและมันมักจะมีสิ่งที่ปรับปรุงได้เสมอๆ และกระผมขอแสดงความยินดีกับท่านนายกรัฐมนตรีต่อความตั้งใจของเธอที่มีต่อประชาธิปไตย และการปฏิรูปหลายๆ อย่างที่เธอจะทำให้ประชาธิปไตยเข้มแข็งยิ่งขึ้น" 
 
ต่อคำถามของผู้สื่อข่าวเรื่องความร่วมมือกับประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิค โอบามากล่าวว่า ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและลงทุนเป็นเรื่องที่สำคัญอันดับหนึ่งเนื่องจากเป็นการสร้างโอกาสและสร้างงานให้กับชาวสหรัฐและประชาชนในภูมิภาค รวมถึงการเชื่อมช่องทางในการลงทุนเพื่อเป็นโอกาสให้นักธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสที่จะเกิดขึ้น
 
เขายังกล่าวถึงความร่วมมือด้านความมั่นคง อาทิ การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในภูมิภาคนี้ ที่ซึ่งภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยเขาหวังว่าความร่วมมือระหว่างสองประเทศจะทำให้การให้ความช่วยเหลือเป็นไปอย่างทันท่วงทีมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ทางด้านการพัฒนา จะมุ่งเน้นด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ และทำงานร่วมกันในฐานะประเทศที่ให้บริจาค เพื่อพัฒนาบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงให้ดีและมั่นคงยิ่งขึ้น 
 
 
 
 




CR   ::  https://prachatai.com/journal/2012/11/43721   ,     https://www.dailymail.co.uk/news/article-2234978/President-Barack-Obama-schmoozes-Thai-PM-Yingluck-Shinawatra-stop-historic-Asia-visit.html  ,    เฟซบุ๊กทางการของนายกรัฐมนตรี Yingluck Shinawatra 


President Obama and Prime Minster Yingluck

 

https://youtu.be/vIolISROJgc


President Obama and Thai Prime Minister Yingluck Shinawatra speak before an official dinner honoring President Obama's visit to Thailand. November 18, 2012.

https://youtu.be/xeKAWhabIEM


President Obama and Prime Minister Shinawatra of Thailand hold a press conference in Bangkok, Thailand. November 18, 2012


https://youtu.be/34enMRDXN4w

'ยิ่งลักษณ์' เปิดทำเนียบฯ ถกทวิภาคี'โอบามา' พร้อมจัดเลี้ยงต้อนรับเชิญแขกร่วมงาน โอกาสเยือนไทย 


เมื่อเวลาประมาณ 18.00 น.วันที่ 18 พ.ย.255 นายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และคณะเดินทางมายังทำเนียบรัฐบาล โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย นำประธานาธิบดีสหรัฐเดินตรวจแถวกองทหารเกียรติยศ ที่สนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า จากนั้นประธานาธิบดีสหรัฐลงนามในสมุดเยี่ยม และหารือระดับทวิภาคีเสร็นจแล้วได้แถลงข่าวร่วมกัน

              นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า หลังจากได้หารือกับประธานาธิบดีโอบามา จะทำให้มีการกระชับความสัมพันธ์และพัฒนาในหลายมิติ ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน พร้อมคาดหวังว่าไทยจะเข้าร่วมข้อตกลงยุทธศาสตร์เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ทีพีพี) รวมถึงเรื่องของการค้ามนุษย์ ที่นายกรัฐมนตรีมีความกังวล ซึ่งประธานาธิบดีโอบามารับปากที่จะหาแนวทางแก้ไขในเรื่องนี้
           
              ขณะที่ประธานาธิบดีโอบามา กล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีของไทย และกล่าวชื่นชมไทยที่จะก้าวสู่การเป็นประชาธิปไตย และมีการพัฒนาในเรื่องของประชาธิปไตยมาอย่างยาวนาน พร้อมระบุว่า เอเชียเป็นทวีปแรกที่เดินทางมาเยือน หลังได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐสมัยที่ 2 ซึ่งให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเชีย เพราะถือว่าเป็นภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจที่เติบโต ขณะเดียวกันระบุว่า มีความยินดีที่ได้เดินทางมาเยือนไทยในครั้งนี้ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน และรู้สึกชื่นชอบกับอาหารไทยที่ได้ลิ้มรสในครั้งนี้ด้วย

หลังจบการแถลงข่าวร่วมกันแล้ว ได้เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนถามคำถามได้คนละ 2 คำถาม โดยสื่อไทยที่ได้รับอนุญาตให้ตั้งคำถามคือ ผู้สื่อข่าวจากมติชน และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส จากนั้นเป็นคิวของสื่อต่างประเทศอีก 2 คำถาม โดยคำถามทั้งหมดมีการสกรีนมาก่อนล่วงหน้าแล้ว

 



########


(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ) คำแถลงข่าวร่วมระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

๑. วันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้พบหารือกัน ณ ทำเนียบรัฐบาล ในโอกาสที่ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-สหรัฐฯ จะครบรอบ ๑๘๐ ปี เพื่อกำหนดทิศทางสำหรับความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน และเพิ่มพูนความร่วมมือระดับภูมิภาคในอนาคต


๒. ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้แสดงความปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้รับโปรดเกล้าให้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และในโอกาสดังกล่าวได้ถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ นอกจากนี้ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ยืนยันการสนับสนุนที่ยาวนานของสหรัฐฯ ต่อประชาธิปไตยในประเทศไทย และยินดีต่อความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของไทยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ย้ำด้วยว่า ไทยเป็นพันธมิตรตามสนธิสัญญาที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชีย ผู้นำประเทศทั้งสองเห็นพ้องร่วมกันว่า ความเป็นพันธมิตรนี้มีรากฐานมาจากความมุ่งมั่นร่วมกันในเรื่องประชาธิปไตย การดำเนินการตามกฎหมาย สิทธิมนุษยชนที่เป็นสากล การเป็นสังคมเปิด และการค้าเสรี ซึ่งได้ช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของสองประเทศให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น นายกรัฐมนตรีกล่าวเสริมว่า ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและสหรัฐฯ ที่ยาวนานถึง ๑๘๐ ปี จากการลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและการค้าในปี ๒๓๗๖ เป็นหุ้นส่วนที่ไม่เพียงแต่ยืนหยัดตามกาลเวลาและส่งผลประโยชน์แก่ทั้งสองประเทศ แต่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความมีเสถียรภาพ ความเจริญมั่งคั่งและการสร้างงานทั้งระหว่างหุ้นส่วนทั้งสองและกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยรวมด้วย

๓. ผู้นำประเทศทั้งสองยินดีที่มีการเจรจาหารือในระดับสูงระหว่างไทยและสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่องและครอบคลุมมิติที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงการหารือทางยุทธศาสตร์ไทย-สหรัฐฯ ครั้งที่ ๔ ในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๕ การเดินทางเยือนสหรัฐฯ ของนายกรัฐมนตรีในเดือนกันยายน ๒๕๕๕ เพื่อเข้าร่วมการประชุมสามัญสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ครั้งที่ ๖๗ การประชุมหารือยุทธศาสตร์ความมั่นคงไทย-สหรัฐฯ ครั้งที่ ๒ ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๕ และการเยือนประเทศไทยของนาย Leon Panetta รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕

๔. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันว่า การเจรจาหารือในระดับสูงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้การดำรงความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทย-สหรัฐฯ ในมิติต่าง ๆ ประสบความสำเร็จ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความลึกซึ้งและความหลากหลายของความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการเมือง ความมั่นคง

ด้านเศรษฐกิจ ด้านวิชาการ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการพัฒนา ผู้นำทั้งสองได้ย้ำเน้นว่าการหารือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างไทย-สหรัฐฯ เป็นกรอบการหารือที่สำคัญที่ช่วยกำหนดประเด็นภายใต้ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ และยินดีต่อผลการประชุมหารือยุทธศาสตร์ความมั่นคงไทย-สหรัฐฯ ครั้งที่ ๒ ซึ่งช่วยตอกย้ำว่าความร่วมมือด้านกลาโหมระหว่างไทย-สหรัฐฯ ช่วยเสริมความร่วมมือระหว่างกันที่มีอยู่แล้วในด้านการเมือง และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ในการนี้ ผู้นำทั้งสองยังเห็นพ้องด้วยว่า การเจรจาหารือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงกลาโหมของไทยและสหรัฐฯ จะเป็นเวทีที่ช่วยเพิ่มพูนความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศทั้งสอง

๕. ผู้นำทั้งสองได้เน้นถึงโครงการหุ้นส่วนเชิงสร้างสรรค์ไทย-สหรัฐฯ ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัย ธุรกิจต่าง ๆ และนวัตกรรมสาขาอื่น ๆ ในประเทศทั้งสองว่า เป็นตัวอย่างสำคัญของความร่วมมือที่มองไปข้างหน้าของทั้งสองชาติ และเป็นเวทีที่จะขยายความร่วมมือไปสู่สาขาใหม่ ๆ นายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่าไทยยินดีส่งเสริมและสนับสนุนการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาและการไปมาหาสู่ระหว่างประชาชนของทั้งสองอย่างต่อเนื่อง ผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ โครงการทุนการศึกษาฟูลไบรท์และหน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกาประเทศไทยซึ่งฉลองการดำเนินงานในประเทศไทยครบรอบ ๕๐ ปี ในปีนี้

๖. ผู้นำทั้งสองเห็นพ้องร่วมกันว่า การฉลองครบรอบ ๑๘๐ ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปีหน้าจะเป็นโอกาสอันดีที่จะยกระดับความเป็นหุ้นส่วนไทย-สหรัฐฯ ให้เป็นไปตามศักยภาพทางยุทธศาสตร์อย่างแท้จริง ประธานาธิบดีสหรัฐฯ แสดงความชื่นชมในความพยายามของไทยในการส่งเสริมสันติภาพและสร้างความเจริญมั่งคั่งในภูมิภาค โดยผ่านโครงการพัฒนาต่างๆ ในภูมิภาค ในขณะที่นายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีต่อบทบาทที่สร้างสรรค์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาค ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบว่าการเกี่ยวพันอย่างรอบด้านและในมิติที่หลากหลายของสหรัฐฯ กับภูมิภาค จะช่วยส่งเสริมสันติภาพ ความเจริญมั่งคั่ง การพัฒนาอย่างยั่งยืน และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนต่อประชาชน

๗. ในด้านความร่วมมือด้านกลาโหม ทั้งสองฝ่ายยินดีกับความสำเร็จที่เกิดจากการฝึกโคบร้าโกลด์ประจำปีซึ่งขณะนี้มีประเทศที่เข้าร่วมและประเทศที่สังเกตการณ์รวม ๒๗ ประเทศ การปฏิบัติการรักษาสันติภาพระหว่างประเทศของไทยในดาร์ฟู และการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยต่อต้านโจรสลัดของไทยในอ่าวเอเดน ประธานาธิบดีโอบามายินดีต่อการเป็นเจ้าภาพร่วมของไทยกับสาธารณรัฐเกาหลีในการฝึกซ้อมเตรียมรับภัยพิบัติภายใต้การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในปี ๒๕๕๖

๘. นายกรัฐมนตรียินดีต่อนโยบายของสหรัฐฯ ที่จะเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนกับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น และการสนับสนุนของสหรัฐฯ ต่อความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนใน บูรณาการและการพัฒนาของภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านการมีส่วนร่วมของสหรัฐฯ ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ และการประชุมสุดยอดภูมิภาคเอเชียตะวันออก ประธานาธิบดีโอบามาได้กล่าวถึงความสำคัญของการประชุมสุดยอดภูมิภาคเอเชียตะวันออกที่เพิ่มขึ้นในการเป็นเวทีระดับภูมิภาคของผู้นำในเอเชียแปซิฟิกที่จะหารือประเด็นทางการเมืองและยุทธศาสตร์ ผู้นำทั้งสองได้ยืนยันความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในภูมิภาครวมถึงเวทีพหุภาคีอื่นๆ ในภูมิภาค เช่น การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค และการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค)

๙. ผู้นำทั้งสองตระหนักถึงความความสำคัญของการสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคบนพื้นฐานของการเคารพซึ่งกันและกัน และการแก้ข้อพิพาทอย่างสันติและเป็นไปตามหลักสากลของกฎหมายระหว่างประเทศ ผู้นำทั้งสองรับทราบถึงความคืบหน้าในการเจรจาที่จะนำไปสู่แนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้ภายใต้การเป็นประเทศผู้ประสานงานของไทยในกรอบอาเซียน-จีน นายกรัฐมนตรีชื่นชมบทบาทที่สำคัญของสหรัฐฯ ในเรื่องข้อริเริ่มลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ในขณะที่ประธานาธิบดีย้ำถึงการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของสหรัฐฯ ต่อการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และเน้นย้ำการส่งเสริมบทบาทสตรีในฐานะเสาหลักหนึ่งของ ข้อริเริ่มลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ผู้นำทั้งสองยินดีที่มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจความร่วมมือสามฝ่ายระหว่างองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ และสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของไทย เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค

๑๐. ผู้นำทั้งสองเห็นร่วมกันว่า จำเป็นต้องมีความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างไทยและสหรัฐฯ ในการเผชิญหน้าต่อความท้าทายใหม่ ๆ อาทิ ความมั่นคงทางนิวเคลียร์ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การบรรเทาภัยพิบัติ การลักลอบค้าสัตว์ป่า ซึ่งกลายเป็นความห่วงกังวลของโลก ผู้นำทั้งสองยินดีกับผลการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยความมั่นคงทางนิวเคลียร์ที่กรุงโซล และให้คำมั่นว่าจะทำงานร่วมกันต่อไปในการจัดการกับภัยคุกคามจากนิวเคลียร์ รวมถึงการเข้าร่วมในความริเริ่มระดับโลกเพื่อการต่อต้านการก่อการร้ายที่ใช้นิวเคลียร์ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ประธานาธิบดีโอบามาแสดงความยินดีที่ประเทศไทยประกาศรับรองหลักการสกัดกั้นของความริเริ่มด้านความมั่นคงเกี่ยวกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

๑๑. ประธานาธิบดีโอบามาและนายกรัฐมนตรีเห็นพ้องที่จะเสริมสร้างความพยายามร่วมกันในการต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ อาทิ การต่อต้านการค้ามนุษย์ การต่อต้านยาเสพติด ตลอดจนความพยายามที่จะรักษาความปลอดภัยตามพรมแดน ท่าอากาศยาน และท่าเรือ ประธานาธิบดีโอบามาและนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความเป็นหุ้นส่วนร่วมกันด้านสาธารณสุข และงานที่ดำเนินอยู่เพื่อพัฒนาวัคซีนสำหรับโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องและไข้เลือดออก รวมทั้งการป้องกันภัยจากโรคระบาดเช่น ไข้หวัดนก และการปราบปรามมาลาเรียที่ดื้อยาหลายชนิด ผู้นำทั้งสองยังเห็นพ้องกันว่า การเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทย-สหรัฐฯ จะเอื้อประโยชน์ให้ความร่วมมือระหว่างกันสามารถเอาชนะอุปสรรคและความท้าทายข้ามพรมแดนทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกได้

๑๒. ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ตระหนักถึงบทบาทของไทยในการเป็นศูนย์กลางสำหรับการเชื่อมโยงอาเซียน และสนับสนุนบทบาทที่สำคัญของไทยในการสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผู้นำทั้งสองยินดีที่จะมีการประชุมคณะมนตรีภายใต้กรอบความตกลงการค้าและการลงทุน ซึ่งเป็นพื้นฐานของความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในความเป็นหุ้นส่วนนี้ ภายใต้บริบทนี้ ผู้นำทั้งสองเห็นพ้องร่วมกันที่จะส่งเสริมการค้าการลงทุนในภูมิภาค การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน โอกาสทางเศรษฐกิจของสตรี และความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนกับประชาชนร่วมกัน ผ่านแผนงาน ๕ ปีของสหรัฐฯ และอาเซียน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยินดีต่อความสนใจของไทยในการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกซึ่งจะขึ้นอยู่กับการดำเนินการตามกระบวนการภายในที่จำเป็นของไทย ผู้นำทั้งสองยินดีที่จะมีการประชุมคณะมนตรีร่วมภายใต้กรอบความตกลงการค้าและการลงทุนระหว่างกันอีก ซึ่งเป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่การส่งเสริมการค้าและปรึกษาหารือเกี่ยวกับข้อผูกพันสำหรับการเข้าร่วมของไทยในความตกลงที่มีมาตรฐานสูงซึ่งรวมถึงความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก

๑๓. นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีโอบามา เห็นพ้องร่วมกันที่จะคงการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงระหว่างไทยและสหรัฐฯ เพื่อดำรงไว้ซึ่งความต่อเนื่องและความคืบหน้าในความร่วมมือในมิติต่าง ๆ ระหว่างประเทศทั้งสองต่อไป

กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

https://youtu.be/7ko01ojc0As
https://youtu.be/fyofIAay5Dw


President Obama and Thai Prime Minister Yingluck Shinawatra speak before an official dinner honoring President Obama's visit to Thailand.
https://youtu.be/GzW3uMbEE34



ที่มา   ::   The Obama White House  ,   https://www.komchadluek.net/news/145096    ,  กระทรวงการต่างประเทศ

The Obama White House


วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565

การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 67

 

การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 67



ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บารัค โอบามา และสตรีหมายเลขหนึ่ง มิเชล โอบามา ต้อนรับนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่งานเลี้ยงรับรองการประชุมสมัชชาสหประชาชาติครั้งที่ 67 ที่โรงแรมวอลดอร์ฟ แอสโทเรีย ที่กรุงนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2555

(Official White House Photo by Sonya N. Hebert)


https://youtu.be/KcXjhikIz6o


เปิดฉากการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 67




         ในขณะนี้บรรดาผู้นำของประเทศสมาชิกสหประชาชาติทั่วโลกต่างมุ่งหน้าสู่มหานครนิวยอร์กของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสถานที่ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งที่ 67 (General Assembly of The United Nations) ซึ่งจัดขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 กันยายน - 1 ตุลาคม นี้

         โดยการเปิดประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 67 (UNGA) อย่างเป็นทางการ มีขึ้นในเวลา 09.00 น. วันนี้ (25 กันยายน) ซึ่งจะมีการกล่าวสุนทรพจน์โดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ UN และผู้นำของประเทศต่าง ๆ อาทิ เช่น วุค เจเรมิค (Vuk Jeremić) ประธานการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติชาวเซอร์เบีย, บัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ, บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เป็นต้น


เปิดฉากการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 67

         ทั้งนี้ ในระหว่างการประชุมทั่วไป ซึ่งถือว่าเป็นเวทีการประชุมโลกที่ใหญ่ที่สุด จะเปิดโอกาสให้ประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล หรือตัวแทนผู้นำของประเทศได้นำเสนอถึงมุมมองหรือวิสัยทัศน์เกี่ยวกับพัฒนาการที่สำคัญของโลก รวมทั้งประเด็นที่ประชาคมโลกให้ความสนใจ เป็นการแสดงบทบาทในเวทีระหว่างประเทศเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อสมาชิก UN

         สำหรับหัวข้อหลักในการประชุมครั้งนี้ เป็นการเลือกหัวข้อโดย ประธานการประชุมชาวเซอร์เบีย คือ "Bringing about adjustment or settlement of international dispute or situations by peaceful means" เพื่อย้ำบทบาทสำคัญของสหประชาชาติในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของโลก โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับสันติภาพและความมั่นคง ด้านนาย บัน คี มูน กล่าวว่า การประชุมของเราครั้งนี้จะเป็นการประชุมท่ามกลางความวุ่นวายที่เกิดขึ้นทั่วโลก นั่นแสดงว่า เราควรร่วมมือกันกันอย่างจริงจังเสียทีในการหาแนวทางแก้ไขให้กับสถานการณ์ความเป็นไปของโลกในขณะนี้

เปิดฉากการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 67

         โดยวาระสำคัญที่จะหารือในการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ การยุติปัญหาความขัดแย้งและสงครามกลางเมืองในซีเรียซึ่งมีมายาวนานถึง 18 เดือนแล้วและยังไม่มีทีท่าว่าจะสงบ, การแก้ปัญหาภัยแล้งและความอดอยากในทวีปแอฟริกา รวมถึงมาตรการกดดันรัฐบาลอิหร่านให้ยุติโครงการทดลองนิวเคลียร์ และการปฏิรูปการเมืองพม่า และในวันสุดท้ายของการประชุม คือ 1 ตุลาคม จะมีการประชุมในหัวข้อ "15 ปี ข้อตกลงในความสำเร็จในการพัฒนาอาวุธเคมี มุ่งสู่อนาคต" (Fifteen years of the Chemical Weapons Convention: Celebrating success. Committing to the future)



         อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติมีมติประชุมหารือเกี่ยวกับมาตรการลงโทษรัฐบาลซีเรียอยู่หลายครั้ง ทั้งได้ส่งนายโคฟี อันนัน เป็นผู้แทนจากสหประชาชาติและสันนิบาตอาหรับ เข้าไปเจรจาอยู่หลายครั้งแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ส่วนหนึ่งก็มาจากความคิดที่ไม่ตรงกันในการจัดการวิกฤติในซีเรียของสมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ โดยรัสเซีย จีน และปากีสถาน ยังไม่มีท่าทีที่ต้องการกดดันให้ให้รัฐบาลซีเรียชุดนี้สละตำแหน่ง แต่ทางสหรัฐฯ และประเทศตะวันตก รวมทั้งกลุ่มสันนิบาตชาติอาหรับ ยืนยันอย่างหนักแน่นว่า ต้องการให้ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อาซาซ (Bashar al-Assad) ลาออกจากตำแหน่งไป





         อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางประเด็นความวุ่นวายและวิกฤติการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ยังมีประเด็นอื่นที่เชื่อว่าจะได้รับความสนใจอย่างมากในการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาติปีนี้ นั่นก็คือ ความสำเร็จของการปฏิรูปการเมืองในพม่า โดยประธานาธิบดีเตง เส่ง (Thein Sein) ของพม่า มีกำหนดจะขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมครั้งนี้ด้วย

         นอกจากประเด็นหลักใหญ่เหล่านี้แล้ว ยังมีประเด็นอื่น ๆ อีกมากมาย ที่จะตามมาอย่างแน่นอน แต่คาดว่าจะมาในรูปแบบของการประชุมนอกรอบ หรือการหารือแบบทวิภาคีของบรรดาผู้นำประเทศสมาชิกสหประชาชาติ

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

         ในส่วนของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทยในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย มีกำหนดเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติในครั้งนี้ โดยมีภารกิจสำคัญ ทั้งในกรอบสหประชาชาติ และนอกกรอบสหประชาชาติเพื่อให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเยือน โดยเฉพาะการส่งเสริมผลประโยชน์ของภาคธุรกิจ การค้าและการลงทุนของไทย สร้างความเชื่อมั่นทางด้านเศรษฐกิจและการส่งเสริมผลประโยชน์ของภาคธุรกิจ และขยายช่องทางการค้าการลงทุนระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อมากที่สุด และเป็นคู่ค้าสำคัญลำดับ 3 ของไทย

         พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี จะใช้โอกาสนี้แสดงความพร้อมของรัฐบาลในการบริหารประเทศให้เจริญก้าวหน้าภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลและหลังเหตุการณ์อุทกภัยปี 2554 ตลอดจนความก้าวหน้าของไทยในเรื่องบทบาทและศักยภาพของสตรี และการกลับมามีบทบาทอันแข็งขันของไทยในเวทีระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นบทบาทในการสร้างสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
 

ที่มาภาพ : https://www.google.co.th
ที่มาภาพ: https://www.google.co.th




 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก








ยิ่งลักษณ์ เข้าเฝ้าฯ พระราชินีอลิซาเบธ ที่ 2 ณ พระราชวังบัคกิ้งแฮม ปี 2012

ยิ่งลักษณ์ เข้าเฝ้าฯ พระราชินีอลิซาเบธ ที่ 2 ณ พระราชวังบัคกิ้งแฮม ปี 2012







นายกฯเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ก่อนกล่าวสุนทรพจน์ ลุยสร้างความเชื่อมั่น แก่นักลงทุน ลั่นปัญหาการเมืองต้องแก้ในสภา


การเดินทางเยือนสหราชอาณาจักรของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและคณะ เมื่อวันที่ 13 พ.ย. นายกฯได้รับพระราชทาน พระราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ได้สอบถามพระอาการประชวรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีในระดับราชวงค์ นอกจากนี้ นายกฯยังเป็นตัวแทนประชาชนไทยแสดงความยินดี เนื่องในโอกาส สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงครองสิริราชครบ 60 ปี

วันเดียวกัน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได่ร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับนักธุรกิจสหราชอาณาจักรและนักธุรกิจไทยที่ร่วมคณะ จัดโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และ United Kingdom Trade and Investment รวมทั้งกล่าวสุนทรพจน์ตอนหนึ่งว่า ไทยและสหราชอาณาจักรต่างยึดมั่นในคุณค่าประชาธิปไตยและเคารพต่อสิทธิมนุษยชน อีกทั้ง รัฐบาลได้นำประชาธิปไตยกลับสู่ระบบแล้ว 

“ดิฉันยืนยันว่าจะสร้างความมั่นคงทางการเมืองและพื้นฐานประชาธิปไตยที่เข้มแข็งต่อไป โดยยึดหลักนิติรัฐและธรรมาภิบาล ประชาชนได้ให้อำนาจที่เป็นเอกฉันท์แก่รัฐบาลผ่านการเลือกตั้ง และด้วยการสนับสนุนจากประชาคมระหว่างประเทศ รัฐบาลจะดำเนินการกับอำนาจที่ต่อต้านประชาธิปไตยที่ยังมีอยู่ในประเทศไทย” นายกฯ กล่าว

นายกฯ กล่าวว่า  ความมั่นคงทางการเมืองเป็นฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการลงทุนและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี รัฐบาลจะเดินหน้าส่งเสริมการปรองดองบนพื้นฐานนิติรัฐ และการเจรจาระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ข้อขัดแย้งทางการเมืองจะต้องแก้ปัญหาในรัฐสภา ไม่ใช่การประท้วงบนถนนและความรุนแรง

ทั้งนี้ ประชาชนไทยและสหราชอาณาจักรต่างร่วมได้ประโยชน์จากการส่งเสริม ความมั่นคงและความรุ่งเรืองของโลก ซึ่งในการหารือกับนายกรัฐมนตรีอังกฤษ จะร่วมกันสร้าง ความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ใหม่ ซึ่งไม่เพียงแต่การขยายความร่วมมือในประเด็นระหว่างประเทศที่สำคัญ แต่ยังเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจโดยการส่งเสริมการเติบโตและการจ้างงานร่วมกัน ความร่วมมือจะครอบคลุมทุกด้านทั้ง เศรษฐกิจการศึกษา การท่องเที่ยว และความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมและสังคม

นายกฯได้กล่าวเน้นถึงความสำคัญเร่งด่วน ของประเทศไทยในปี 2556 คือ การดำเนินการตามวิสัยทัศน์ประเทศไทยเพื่อความมั่นคงและความมั่งคั่งที่ต่อเนื่อง รัฐบาลไทยจะเริ่มการลงทุนนสาธารณูปโภคและโครงการบริหารจัดการน้ำในปี 2556  ซึ่งจะช่วยให้ ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่ง และโลจิสติกส์ในภูมิภาคและสร้างห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคงในภูมิภาค และโครงการนี้ถือเป็นการเตรียมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่มีศักยภาพเพื่อการแข่งขันด้วยการเชื่อมโยงกัน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่เข้มแข็ง อาเซียนจะมีบทบาทนำสำคัญยิ่งขึนในเรื่องที่อาเซียนเป็นหลักในการดำเนินการเช่น การประชุมผู้นำเอเชียตะวันออก โดยจะเป็นประตูสู่ความมั่งคั่งในภูมิภาคร่วมกัน

ดังนั้น ปี 2556จึงเป็นปีที่สำคัญของไทยที่จะนำวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ สร้างความมั่นคงทางการเมือง และประชาธิปไตย การดำเนินการโครงการสาธารณูปโภค และเสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการข้าว ซึ่งถือเป็นปีแห่งโอกาสของนักลงทุนสหราชอาณาจักรเพื่อสร้างความมั่งคั่งและการเติบโตร่วมกันด้วย

 



ยิ่งลักษณ์ เข้าเฝ้าฯ พระราชินีอลิซาเบธ ที่ 2


ยิ่งลักษณ์ เข้าเฝ้าฯ พระราชินีอลิซาเบธ ที่ 2 ณ พระราชวังบัคกิ้งแฮม






           ยิ่งลักษณ์ เข้าเฝ้าฯ พระราชินีอลิซาเบธ ที่ 2 แล้ว เผยเป็นนายกฯ ไทยคนแรกที่ได้เข้าเฝ้าฯ ด้านเอกอัครราชทูตไทย ชี้เป็นเรื่องน่าภูมิใจที่ไทยสามารถกลับเข้าสู่เวทีประชาคมโลกได้อีกครั้ง

           วานนี้ (13 พฤศจิกายน) สำนักพระราชวังอังกฤษ รายงานว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย เข้าเฝ้าฯ สมเด็จของพระบรมราชินีนาถอลิซาเบธ ที่ 2 ณ พระราชวังบัคกิ้งแฮม เป็นที่เรียบร้อย ตามคำเชิญของ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เดวิด คาเมรอน เนื่องในวโอกาสที่อังกฤษได้เฉลิมฉลองการครองสิริราชของพระราชินีอลิซาเบธ ที่ 2 ครบ 60 ปี และเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ครบรอบ 400 ปีระหว่างไทยและอังกฤษ

           ทางด้าน สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน เปิดเผยว่า การมาเยือนของนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ ถือว่าเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย ที่สามารถเรียกคืนเกียรติและศักดิ์ศรีของประเทศกลับเข้าสู่เวทีประชาคมโลกได้ ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยจะต้องเผชิญถึงความขัดแย้งในด้านการเมือง แต่ขณะนี้ทางนานาชาติได้หันกลับมายอมรับประเทศไทยแล้ว


ที่มา   ::      https://www.posttoday.com/politic/news/187977  ,     กระปุกดอทคอม