Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565

การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 67

 

การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 67



ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บารัค โอบามา และสตรีหมายเลขหนึ่ง มิเชล โอบามา ต้อนรับนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่งานเลี้ยงรับรองการประชุมสมัชชาสหประชาชาติครั้งที่ 67 ที่โรงแรมวอลดอร์ฟ แอสโทเรีย ที่กรุงนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2555

(Official White House Photo by Sonya N. Hebert)


https://youtu.be/KcXjhikIz6o


เปิดฉากการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 67




         ในขณะนี้บรรดาผู้นำของประเทศสมาชิกสหประชาชาติทั่วโลกต่างมุ่งหน้าสู่มหานครนิวยอร์กของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสถานที่ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งที่ 67 (General Assembly of The United Nations) ซึ่งจัดขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 กันยายน - 1 ตุลาคม นี้

         โดยการเปิดประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 67 (UNGA) อย่างเป็นทางการ มีขึ้นในเวลา 09.00 น. วันนี้ (25 กันยายน) ซึ่งจะมีการกล่าวสุนทรพจน์โดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ UN และผู้นำของประเทศต่าง ๆ อาทิ เช่น วุค เจเรมิค (Vuk Jeremić) ประธานการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติชาวเซอร์เบีย, บัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ, บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เป็นต้น


เปิดฉากการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 67

         ทั้งนี้ ในระหว่างการประชุมทั่วไป ซึ่งถือว่าเป็นเวทีการประชุมโลกที่ใหญ่ที่สุด จะเปิดโอกาสให้ประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล หรือตัวแทนผู้นำของประเทศได้นำเสนอถึงมุมมองหรือวิสัยทัศน์เกี่ยวกับพัฒนาการที่สำคัญของโลก รวมทั้งประเด็นที่ประชาคมโลกให้ความสนใจ เป็นการแสดงบทบาทในเวทีระหว่างประเทศเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อสมาชิก UN

         สำหรับหัวข้อหลักในการประชุมครั้งนี้ เป็นการเลือกหัวข้อโดย ประธานการประชุมชาวเซอร์เบีย คือ "Bringing about adjustment or settlement of international dispute or situations by peaceful means" เพื่อย้ำบทบาทสำคัญของสหประชาชาติในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของโลก โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับสันติภาพและความมั่นคง ด้านนาย บัน คี มูน กล่าวว่า การประชุมของเราครั้งนี้จะเป็นการประชุมท่ามกลางความวุ่นวายที่เกิดขึ้นทั่วโลก นั่นแสดงว่า เราควรร่วมมือกันกันอย่างจริงจังเสียทีในการหาแนวทางแก้ไขให้กับสถานการณ์ความเป็นไปของโลกในขณะนี้

เปิดฉากการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 67

         โดยวาระสำคัญที่จะหารือในการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ การยุติปัญหาความขัดแย้งและสงครามกลางเมืองในซีเรียซึ่งมีมายาวนานถึง 18 เดือนแล้วและยังไม่มีทีท่าว่าจะสงบ, การแก้ปัญหาภัยแล้งและความอดอยากในทวีปแอฟริกา รวมถึงมาตรการกดดันรัฐบาลอิหร่านให้ยุติโครงการทดลองนิวเคลียร์ และการปฏิรูปการเมืองพม่า และในวันสุดท้ายของการประชุม คือ 1 ตุลาคม จะมีการประชุมในหัวข้อ "15 ปี ข้อตกลงในความสำเร็จในการพัฒนาอาวุธเคมี มุ่งสู่อนาคต" (Fifteen years of the Chemical Weapons Convention: Celebrating success. Committing to the future)



         อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติมีมติประชุมหารือเกี่ยวกับมาตรการลงโทษรัฐบาลซีเรียอยู่หลายครั้ง ทั้งได้ส่งนายโคฟี อันนัน เป็นผู้แทนจากสหประชาชาติและสันนิบาตอาหรับ เข้าไปเจรจาอยู่หลายครั้งแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ส่วนหนึ่งก็มาจากความคิดที่ไม่ตรงกันในการจัดการวิกฤติในซีเรียของสมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ โดยรัสเซีย จีน และปากีสถาน ยังไม่มีท่าทีที่ต้องการกดดันให้ให้รัฐบาลซีเรียชุดนี้สละตำแหน่ง แต่ทางสหรัฐฯ และประเทศตะวันตก รวมทั้งกลุ่มสันนิบาตชาติอาหรับ ยืนยันอย่างหนักแน่นว่า ต้องการให้ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อาซาซ (Bashar al-Assad) ลาออกจากตำแหน่งไป





         อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางประเด็นความวุ่นวายและวิกฤติการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ยังมีประเด็นอื่นที่เชื่อว่าจะได้รับความสนใจอย่างมากในการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาติปีนี้ นั่นก็คือ ความสำเร็จของการปฏิรูปการเมืองในพม่า โดยประธานาธิบดีเตง เส่ง (Thein Sein) ของพม่า มีกำหนดจะขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมครั้งนี้ด้วย

         นอกจากประเด็นหลักใหญ่เหล่านี้แล้ว ยังมีประเด็นอื่น ๆ อีกมากมาย ที่จะตามมาอย่างแน่นอน แต่คาดว่าจะมาในรูปแบบของการประชุมนอกรอบ หรือการหารือแบบทวิภาคีของบรรดาผู้นำประเทศสมาชิกสหประชาชาติ

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

         ในส่วนของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทยในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย มีกำหนดเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติในครั้งนี้ โดยมีภารกิจสำคัญ ทั้งในกรอบสหประชาชาติ และนอกกรอบสหประชาชาติเพื่อให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเยือน โดยเฉพาะการส่งเสริมผลประโยชน์ของภาคธุรกิจ การค้าและการลงทุนของไทย สร้างความเชื่อมั่นทางด้านเศรษฐกิจและการส่งเสริมผลประโยชน์ของภาคธุรกิจ และขยายช่องทางการค้าการลงทุนระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อมากที่สุด และเป็นคู่ค้าสำคัญลำดับ 3 ของไทย

         พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี จะใช้โอกาสนี้แสดงความพร้อมของรัฐบาลในการบริหารประเทศให้เจริญก้าวหน้าภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลและหลังเหตุการณ์อุทกภัยปี 2554 ตลอดจนความก้าวหน้าของไทยในเรื่องบทบาทและศักยภาพของสตรี และการกลับมามีบทบาทอันแข็งขันของไทยในเวทีระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นบทบาทในการสร้างสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
 

ที่มาภาพ : https://www.google.co.th
ที่มาภาพ: https://www.google.co.th




 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น