สุนัขเป็นประจำเดือน (เป็นสัด) ต้องดูแลอย่างไร?
การเลี้ยงสุนัขคงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครหลาย ๆ คน จริงไหมคะ เพราะทาสหมาอย่างเรา ๆ ก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมในแต่ละเรื่องเพื่อดูแลน้องหมาให้ดีที่สุดอยู่เสมอ โดยเฉพาะคนที่เลี้ยงสุนัขเพศเมียที่น้องจะต้องเป็นประจำเดือน (เป็นสัด) หรือที่หลายคนเคยได้ยินว่า อาการฮีท ที่สุนัขจะมีของเหลวสีแดงไหลออกมาจากอวัยวะเพศคล้ายกับการมีประจำเดือนของผู้หญิง หากน้องหมามีอาการนี้ก็เตรียมตัวเตรียมใจไว้ได้เลยว่าน้องหมาของเราเริ่มโตเป็นสาวแล้ว หากน้องเป็นสัดแล้วไม่ได้รับการดูแลที่ดีแน่นอนว่าเสี่ยงต่อการท้องแน่นอน แล้วเจ้าของอย่างเราจะต้องดูแลน้องหมาอย่างไรเพื่อรับมือกับปัญหานี้ มาดูกัน
Meet the Alaskan Malamute
ช่วงเวลาการเป็นสัดของสุนัข
สุนัขจะมีเลือดหรือเป็นสัดครั้งแรกในช่วงอายุเฉลี่ย 7-12 เดือน เป็นสัดเร็วสุดอายุประมาณ 6 เดือน และช้าที่สุดอายุประมาณ 24 เดือน ซึ่งแต่ละปีน้องหมาจะเป็นสัดเฉลี่ยปีละ 2 ครั้ง ระยะห่างของวงรอบแต่ละครั้งประมาณ 5-7 เดือน และสุนัขพันธุ์เล็กมักจะเป็นสัดเร็วกว่าสุนัขพันธุ์ใหญ่ โดยสุนัขสามารถเป็นสัดได้ตลอดชีวิตไม่เหมือนคนที่มีระยะหมดประจำเดือน
วงจรการเป็นสัดของน้องหมาจะมี 4 ระยะ ดังนี้
1.โปรเอสตรัส (Proestrous) ระยะก่อนผสมพันธุ์
เจ้าของจะสังเกตเห็นว่าอวัยวะเพศของน้องหมาเพศเมียจะบวมเต่ง แดง มักจะมีเลือดไหลออกมาจากอวัยวะเพศ ระยะนี้น้องหมาเพศผู้จะแสดงท่าทีสนใจน้องหมาเพศเมีย แต่น้องหมาเพศเมียจะยังไม่ยอมให้ตัวผู้ผสมพันธุ์
2.เอสตรัส (Estrous) ระยะผสมพันธุ์
เป็นระยะที่ตัวเมียจะยอมให้ตัวผู้ผสมพันธุ์ จะเกิดการตกไข่และปฏิสนธิกับอสุจิเป็นตัวอ่อน (ถ้ามีการผสมพันธุ์) ในช่วงนี้อวัยวะเพศของน้องหมาเพศเมียจะยังบวมอยู่แต่จะเริ่มเหี่ยวลงเมื่อเทียบกับระยะโปรเอสตรัส อาจพบว่ามีเลือดออกจากอวัยวะเพศอยู่ได้บ้างแต่มักจะมีสีจางกว่าระยะแรก
3.ไดเอสตรัส (Diestrous) ระยะหลังผสมพันธุ์
เมื่อเข้าสู่ระยะนี้น้องหมาจะไม่ยอมให้ตัวผู้ผสมพันธุ์แล้ว ช่วงนี้จะเป็นระยะที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูง ฮอร์โมนนี้จะช่วยทำให้มดลูกของน้องหมาเหมาะสมสำหรับการตั้งท้อง ถ้าน้องหมาผสมพันธุ์มาก็จะตั้งท้อง โดยใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 60 วัน ส่วนในน้องหมาที่ไม่ได้ผสมพันธุ์ระยะนี้จะกินเวลาไม่แน่นอน โดยมากจะอยู่ที่ประมาณ 60-80 วัน
4.แอนเอสตรัส (Anestrous) ระยะพักของวงจรการเป็นสัด
เป็นช่วงที่สืบเนื่องต่อมาจากระยะไดเอสตรัส โดยจะเป็นระยะที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธุ์ในน้องหมาเพศเมีย อวัยวะเพศจะมีขนาดปกติ ไม่มีอาการบวมแดง
วิธีดูแลหากสุนัขมีประจำเดือน (เป็นสัด)
1.ดูแลเรื่องความสะอาดอยู่เสมอ
ช่วงที่น้องหมาเป็นสัดหากเราปล่อยไว้ไม่จัดการอะไรเลยอาจทำให้เลือดจากตัวน้องหมาเลอะตามสถานที่ต่าง ๆ ได้ เราจึงอาจซื้อผ้าอ้อมหรือผ้าอนามัยสำหรับสุนัขมาใส่ให้น้องและคอยเปลี่ยนให้น้องอยู่เสมอ ไม่ควรใส่ซ้ำข้ามวัน และตรงส่วนอวัยเพศของน้องหมาที่บอบบางก็ควรทำความสะอาดตามซอกต่าง ๆ ให้สะอาดหมดจด จะได้ไม่เกิดการหมักหมมของเลือดจนมีกลิ่นได้
2.คอยอยู่ใกล้ ๆ สุนัขเพื่อเฝ้าระวัง
ถ้าเรายังไม่อยากให้สุนัขท้อง สิ่งสำคัญคือต้องคอยดูแลและคอยเฝ้าน้องหมาเอาไว้เพื่อไม่ให้สุนัขตัวผู้มาเข้าใกล้ (หรือให้น้องหมาของเราวิ่งเข้าใส่ตัวผู้) ดังนั้นถ้าใครอยากพาน้องออกไปเดินเล่นข้างนอกก็ควรใช้สายจูงเพื่อป้องกันน้องวิ่งจนเราตามไม่ทัน และถ้าเป็นไปได้ควรกักบริเวณน้องหมาเอาไว้ เพราะช่วงเป็นสัดสุนัขเพศผู้จะได้กลิ่นสุนัขเพศเมียที่เป็นสัดและต้องการจะผสมพันธุ์ ซึ่งการผสมพันธุ์ในช่วงนี้มีโอกาสสูงมากที่จะทำให้สุนัขตั้งท้องได้
3.สังเกตและเลือกวิธีดูแลสุนัขอย่างถูกวิธี
สุนัขแต่ละตัวจะมีอาการฮีทที่แตกต่างกัน บางตัวอาจจะรู้สึกเหนื่อยทั้งวันแม้ไม่ได้ทำอะไร แต่บางตัวก็อะเลิร์ทจนออกนอกหน้า เพราะฉะนั้นเจ้าของอย่างเราจึงต้องคอยสังเกตว่าเวลาน้องหมาของเราเป็นสัดเขามีอาการอย่างไร หากสุนัขรู้สึกอ่อนแรงก็ให้เขาได้พัก แต่ถ้าน้องอยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้เลย กระตือรือร้นตลอดเวลา ก็อาจพาเขาไปวิ่งออกกำลังกายได้ (อย่าลืมใส่สายจูงด้วยนะ)
4.พาไปทำหมัน (หากไม่ต้องการให้สุนัขท้อง) อ่านบทความเกี่ยวกับการทำหมันสุนัข ทำหมันในสุนัขดีอย่างไร
สำหรับคนที่ไม่ต้องการให้สุนัขมีลูก การทำหมันเป็นอีกวิธีที่จะช่วยจัดการปัญหานี้ได้ การทำหมันให้สุนัขไม่ใช่แค่เป็นการควบคุมจำนวนสัตว์เลี้ยงเท่านั้น แต่ยังมีข้อดีอีกมากที่เป็นประโยชน์ต่อสุนัข เช่น ลดโอกาสการเกิดโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนของระบบสืบพันธุ์ เช่น มดลูกอักเสบ ช่วยลดอาการไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ในช่วงที่สุนัขเป็นสัด และหากทำหมันก่อนเป็นสัดครั้งแรกสามารถลดการเกิดเนื้องอกที่เต้านมได้ถึง 95 % !
6.ปรึกษาสัตวแพทย์
ถึงแม้การเป็นสัดจะไม่ใช่อาการป่วยที่จำเป็นต้องไปหาสัตวแพทย์ แต่การปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อวิธีการดูแลที่ถูกต้องก็เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเตรียมพร้อมหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดนะคะ
การเป็นสัดของสุนัขไม่ใช่เรื่องน่ากังวลหากเราดูแลเขาได้อย่างถูกต้องและคอยใส่ใจสุนัขอยู่เสมอ คอยสังเกตพฤติกรรมน้องหมาที่บ้านเพื่อเตรียมพร้อมรับมือการเป็นประจำเดือนของน้องหมากันนะคะ
Do Dogs Have Periods?
.
Before you get a dog, it’s important that you’re ready to be a responsible dog owner. From getting a properly-sized dog crate to setting up puppy vet visits, there’s a lot of preparation to do. And if you have a female dog, that includes getting ready for your dog’s “periods” — or more accurately, her estrus cycles. Dogs don’t menstruate in the same way human females do.
Here’s everything you need to know about how to take care of your dog during her estrus cycle, including when dogs go into heat, how often, and products you’ll need to help manage the physical signs.
When Do Dogs Get Their ‘Period’ and How Often?
Female dogs typically reach sexual maturity around six months old and that’s when have their first “heat” or estrus cycle. During this stage, there’s an increase in estrogen levels, then a sharp decrease, and then her ovaries release eggs. Their estrus cycles typically last three weeks but can range between two and four.
While six months is the average age of a dog’s first heat, it can vary between dogs. Some dogs may go into heat at four months, but bigger dogs may be as old as two years before their first heat. It’s considered best practice to wait until your dog’s third heat to breed her. However, your vet can perform genetic testing and tell you when your dog is ready.
Dogs typically go into heat on average every six months, but this varies especially in the beginning. It can take some dogs around 18 to 24 months to develop a regular cycle. Small dogs usually go into heat more often — as much as three to four times a year. Large breeds such as Great Danes and St. Bernard might only go into heat once a year.
Dogs will continue to have cycles, but the length of time between estrus will increase as she gets older.
How to Tell if Your Dog is in Heat?
When your dog is in heat, there are both physical and behavioral signs. For example, she’ll typically urinate more than usual, and there will be a blood-tinged discharge and swollen vulva.
Your dog may also seem nervous, distracted, and be receptive to male dogs. She may initiate sexual contact such as raising her rear and deflecting her tail to one side, which is called ‘flagging.’ Your dog will likely actively court males dogs until the cycle is over.
The heat cycle lasts about three weeks. The discharge starts as frank blood and then gradually lighten to pinkish in color. A bitch can usually become pregnant around the end of the first week until after the second week, sometimes longer.
How to Manage Your Dog’s ‘Period’
Now that you know more about your dog’s estrus cycle, here are some products that will help you manage it. Whether reusable or disposable, you’ll want to get some diapers before your dog goes into heat.
ขอบคุณที่มา :: www.talingchanpet.net , www.akc.org/
สุนัขติดสัด คืออะไร?
ตอบลบคำว่าสุนัขติดสัด หรือที่หลายคนคุ้นเคยกับคำว่า เป็นฮีท คำนี้ย่อมาจากภาวะ Estrus หรือ In Heat
สุนัขติดสัด คือการที่ สุนัขมีช่วงเวลาเข้าถึงช่วงผสมพันธุ์และพร้อมสำหรับการมีลูก ซึ่งสุนัขตัวเมียมีรายละเอียดของช่วงติดสัดดังนี้
ช่วงอายุที่เริ่มติดสัด
สุนัขตัวเมีย จะเริ่มติดสัดเมื่อมีอายุครบ 6 เดือน ขึ้นไป ทั้งนี้ทั้งนั้นงานวิจัยแนะนำว่าควรให้สุนัขตั้งท้องหลังจากอายุครบ 1 ปีขึ้นไป เพื่อให้ร่างกายเติบโตพร้อมสำหรับการอุ้มท้อง โดยทั่วไปสุนัขตัวเมียจะติดสัด ทุกๆ 6 เดือน
ความแตกต่างของสายพันธุ์สุนัข
สุนัขแต่ละสายพันธุ์จะมีการติดสัด ถี่บ่อย แตกต่างกันออกไป โดยสุนัขพันธุ์ใหญ่จะติดสัดประมาณ 2 ครั้งต่อปี ในขณะที่สุนัขพันธุ์เล็กจะมีการติดสัดถี่กว่าอาจจะปีละ 2-3 ครั้ง ขึ้นไป นอกจากนี้ สุนัขพันธุ์เล็กยังเริ่มติดสัดได้ไวกว่าอีกด้วย
ลักษณะอาการเมื่อติดสัด
เมื่อติดสัดอวัยวะเพศของสุนัขจะบวม แดง ขยายใหญ่ขึ้น และมีเลือด หรือ เมือกซึมออกตลอดเวลา ในช่วงนี้ สุนัขเพศเมียจะปล่อย ฟีโรโมน (Dog appeasing pheromone หรือ DAP) เพื่อดึงดูดสุนัขเพศผู้ให้เข้ามาผสมพันธุ์กับตนเอง
ช่วงระยะเวลาที่ติดสัด
หลังจากเริ่มเป็นสัดแล้ว สุนัขจะมีอาการติดสัดยาวนาน 7 – 11 วัน ขึ้นกับวัยและสายพันธุ์ ระหว่างนี้ สุนัขตัวเมียจะพร้อมผสมพันธุ์กับสุนัขตัวผู้ อาจจะมากกว่า 1 ตัวขึ้นไปด้วย โดยจะมีการเดินรอบๆ เพื่อปล่อยฟีโรโมนให้ตัวผู้เข้ามาผสมพันธุ์ ตลอดช่วงเวลาที่ติดสัด
การผสมพันธุ์
สุนัขมีการผสมพันธุ์ต่อครั้งประมาณ 15-20 นาที โดยเป็นการแนบอวัยวะเพศของตัวผู้และตัวเมียติดกัน ระหว่างนี้ต้องระวังไม่ให้มีการกระทบหรือรบกวน การแยกกันก่อนจะผสมพันธุ์เสร็จอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของสุนัขทั้ง 2 ตัวได้