ลิซ ทรัสส์ นายกรัฐมนตรีหญิงคนใหม่ของอังกฤษ
ลิซ ทรัสส์ ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมคนใหม่ จากผลการลงคะแนนของสมาชิกพรรคทั่วประเทศ และจะก้าวขี้นเป็นนายกรัฐมนตรีต่อจากบอริส จอห์นสัน
แฟ้มภาพ ลิซ ทรัสส์ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยม และจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ต่อจากบอริส จอห์นสัน ที่ประกาศลาออกไปตั้งแต่ต้นเดือนกรกฏาคม (Photo by Susannah Ireland / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2565 กล่าวว่า ลิซ ทรัสส์ ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมคนใหม่ รวมทั้งก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ หลังได้รับเลือกด้วยคะแนนเอกฉันท์จากสมาชิกพรรคฯทั่วประเทศ
ผลการลงคะแนนที่ปิดรับตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน ก่อนประกาศผลในวันจันทร์ แสดงให้เห็นว่าอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศหญิงรายนี้เอาชนะริชี ซูนัค คู่แข่งชิงตำแหน่งไปด้วยคะแนนเสียงโหวต 81,326 ต่อ 60,399
ลิซ ทรัสส์ จะดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยม ซึ่งหมายความว่าเธอจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอังกฤษ แทนที่บอริส จอห์นสันที่ประกาศลาออกจากเมื่อต้นเดือนกรกฏาคม.
รู้จัก “ลิซ ทรัสส์” นายกฯ คนใหม่ของอังกฤษ
ลอนดอน 5 ก.ย.- ลิซ ทรัสส์ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ ผู้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหญิงคนที่ 3 ของอังกฤษ หลังจากชนะเลือกตั้งหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมรอบสุดท้าย เป็นนักการเมืองที่เส้นทางชีวิตเต็มไปด้วยความพลิกผัน
นางแมรี เอลิซาเบธ ทรัสส์ วัย 47 ปี เกิดในครอบครัวที่เธอระบุว่า “เป็นฝ่ายซ้าย” มารดาเป็นพยาบาลและครู บิดาเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ เคยพาเธอไปเข้าร่วมการประท้วงต่อต้านนายกรัฐมนตรีมากาเร็ต แทตเชอร์ ของพรรคอนุรักษนิยม เธอเคยสวมบทเป็นแทตเชอร์ในการเลือกตั้งจำลองที่โรงเรียนจัดขึ้นพร้อมกับที่มีการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2526 ทรัสส์วัย 7 ขวบในขณะนั้นไม่ได้เลยแม้แต่คะแนนเดียว ขณะที่แทตเชอร์กวาดคะแนนอย่างถล่มทลาย เธอเล่าในภายหลังว่า ตั้งใจอย่างเต็มที่และปราศรัยหาเสียงอย่างจับใจ แต่ไม่ได้แม้แต่คะแนนเดียว เพราะไม่ได้ลงคะแนนให้ตัวเอง อย่างไรก็ดี เมื่อเข้าสู่เส้นทางทางการเมืองจริง ๆ ทรัสส์ได้ยกย่องให้แทตเชอร์เป็น “ต้นแบบทางการเมือง” และสามารถเดินตามรอยแทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศที่ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2522-2533 ด้วยการเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงของอังกฤษที่คนที่ 3 ต่อจากนายกรัฐมนตรีเทเรซา เมย์ ที่ดำรงตำแหน่งปี 2559-2562
ทรัสส์เคยวิพากษ์วิจารณ์ราชวงศ์ในช่วงที่เป็นสมาชิกพรรคเสรีประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เธอพูดในการประชุมพรรคในปี 2537 สนับสนุนให้ยกเลิกสถาบันกษัตริย์ว่า สมาชิกพรรคนี้เชื่อเรื่องโอกาสควรเป็นของทุกคน ไม่เชื่อเรื่องการเกิดมาเป็นผู้ปกครอง อย่างไรก็ดี เธอเปลี่ยนแนวทางไปเป็นสมาชิกพรรคอนุรักษนิยมเมื่อสำเร็จการศึกษาในปี 2539 เข้าสู่แวดวงการเมืองจนกระทั่งชนะเลือกตั้ง ส.ส. สมัยแรกในปี 2553 ดำรงตำแหน่งในรัฐบาลนายกรัฐมนตรีหลายคนตั้งแต่เดวิด คาเมรอน, เทเรซา เมย์ และบอริส จอห์นสัน โดยได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564
และเมื่อทรัสส์ตัดสินใจลงสมัครชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม เมื่อนายกรัฐมนตรีจอห์นสันประกาศลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม เธอเป็น 1 ใน ผู้สมัคร 2 คนที่ได้จากคะแนนจาก ส.ส.พรรคมากที่สุด จากผู้สมัครที่ได้รับการเสนอชื่อทั้งหมด 8 คน เธอมีคะแนนตามหลังนายริชี ซูนัก อดีตรัฐมนตรีคลังในการลงคะแนนทั้ง 5 รอบ แต่แล้วชีวิตก็พลิกผันอีกครั้งเมื่อผลการประกาศคะแนนในวันนี้ ( 5 กันยายน) ระบุว่า เธอคือหัวหน้าพรรครัฐบาลคนใหม่ ซึ่งจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดทางการเมือง หลังจากอยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศได้เกือบ 1 ปีเต็ม.-สำนักข่าวไทย
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นางทรัสส์ ว่าที่นายกฯ คนใหม่ ที่รอการประกาศอย่างเป็นทางการวันนี้ ระบุว่า เธอเข้าใจดีว่าวิกฤตค่าครองชีพส่งผลกระทบต่อทุกคนอย่างไร พร้อมยืนยันจะดำเนินการอย่างเด็ดขาดเพื่อรับประกันว่า ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจจะสามารถผ่านพ้นฤดูหนาวในปีนี้และปีหน้าไปได้
ทั้งนี้ นางทรัสส์ ผงาดในฐานะผู้ชนะหลังการลงคะแนนเลือกตั้งหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยม (หรือพรรคคอนเซอร์เวทีฟ) ได้ปิดฉากลง ทำให้เธอออกมาเปิดใจเรื่องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจรวมทั้งปัญหาราคาเชื้อเพลิงที่พุ่งสูง เป็นภารกิจเร่งด่วนหลังได้รับตำแหน่ง
ทั้งเธอและนายริชิ ซูแนค อดีตรัฐมนตรีคลังอังกฤษ เป็น 2 ผู้สมัครที่ฟันฝ่ากันมาจนถึงการแข่งขันในรอบสุดท้ายของแคมเปญการเลือกตั้ง (ที่มีผู้แข่งขันทั้งหมด 11 คน) เพื่อควานหาหัวหน้าพรรคคนใหม่แทนนายบอริส จอห์นสันที่ลาออกไป การตัดสินรอบสุดท้ายจะมาจากการลงคะแนนของสมาชิกพรรคจำนวน 160,000 คน และการประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจะมีขึ้นในเวลา 12.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ของวันนี้ (5 ก.ย.) หรือตรงกับเวลาไทย 18.30 น.
ผู้ชนะการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมจะขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษคนใหม่ต่อจาก บอริส จอห์นสันโดยอัตโนมัติ เนื่องจากทางพรรคครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร จากนั้น นายกฯคนใหม่จะได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรอังกฤษในวันอังคารนี้(6 ก.ย.)
ในระหว่างการหาเสียงนั้น นางทรัสส์ให้คำมั่นสัญญาว่า จะเสนอการปรับลดภาษีมูลค่าหลายพันล้านปอนด์ในงบประมาณฉุกเฉิน ขณะที่นายซูแนค อดีตรัฐมนตรีคลังที่เป็นคู่แข่ง ประกาศว่าเขาจะลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในราคาเชื้อเพลิงลงเป็นเวลา 1 ปี ส่วนการลดภาษีแบบถาวรอย่างที่นางทรัสส์เสนอนั้น เขาเห็นว่าสมควรต้องรอไปก่อนจนกว่าวิกฤตเงินเฟ้อของอังกฤษจะดีขึ้น
นอกจากนี้ เธอยังประกาศความมุ่งมั่นที่จะออกมาตรการปฏิบัติฉุกเฉินเพื่อแก้ปัญหาราคาเชื้อเพลิง และเพิ่มปริมาณสินค้าพลังงานให้มากขึ้น
“หากได้รับการเลือกตั้ง ดิฉันวางแผนว่า ภายในสัปดาห์แรกของรัฐบาลใหม่ ดิฉันจะออกมาตรการเชิงปฏิบัติฉุกเฉินด้านราคาน้ำมันและสินค้าพลังงาน” ทรัสส์กล่าวถึงแผนภารกิจเร่งด่วนที่จะลงมือจัดการเป็นเรื่องแรก
ที่กล่าวกันว่า ลิซ ทรัสส์ จะขึ้นเป็นนายกรัฐมตรีหญิงคนที่ 3 ของอังกฤษนั้น เนื่องจากก่อนหน้านี้อังกฤษมีนายกฯหญิงมาแล้ว 2 คน คือ นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ (ดำรงตำแหน่ง 4 พฤษภาคม 2522 – 28 พฤศจิกายน 2533) และนางเทเรซา เมย์ (ดำรงตำแหน่ง 13 กรกฎาคม 2559 – 24 กรกฎาคม 2562)
หากเธอได้รับการประกาศชื่อขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอังกฤษวันนี้ (5 ก.ย.) ลิซ ทรัสส์ ก็จะได้ครองตำแหน่งไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในเดือน ม.ค. ปี 2568
ทว่า เกมเริ่มพลิกหลังจากที่ทั้งสองคนเริ่มการรณรงค์หาเสียงเพื่อเรียกคะแนนจากบรรดาสมาชิกพรรคอนุรักษ์นิยมทั่วประเทศจำนวนราว 200,000 คน เริ่มเห็นแววว่าเทพีแห่งโชคและชัยชนะกำลังมาอยู่ฝั่งของทรัสส์ สาเหตุหลัก ๆก็คือ สมาชิกพรรคฝ่ายฝักใฝ่ขั้วการเมืองแบบอนุรักษนิยม นับตั้งแต่นายเดวิด คาเมรอน นางเทเรซา เมย์ รวมทั้งนายบอริส จอห์นสัน มีท่าทีไม่ปลื้มหากนายกรัฐมนตรีคนต่อไปจะมีเชื้อชาติอื่นที่ไม่ใช่อังกฤษ ทำให้คะแนนความนิยมของนายซูแนค ที่มีเชื้อสายอินเดีย ลดลงชัดเจน และแสงไฟก็สาดส่องมาที่นางลิซ ทรัสส์ แทน
แม้กระทั่ง YouGov ซึ่งเป็นบริษัทฯ ที่ทำการสำรวจความคิดเห็นผ่านระบบออนไลน์ ได้ทำการสำรวจเมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ก็พบว่า นายซูแนค อาจจะต้องพ่ายแพ้ต่อนางทรัสส์ แม้ว่าเขาจะมีคะแนนนำเป็นอันดับ 1 ในการลงคะแนนทุกรอบของ ส.ส. พรรคอนุรักษนิยมก็ตาม
YouGov เผยว่า จากการสำรวจสมาชิกพรรคอนุรักษ์นิยมทั่วอังกฤษ พบว่า นางทรัสส์จะได้รับคะแนนเหนือกว่านายซูแนค 54 ต่อ 35
อย่างไรก็ตาม เหตุผลไม่เกี่ยวกับเชื้อชาติของเขา แต่เป็นเพราะที่ผ่านมา นายซูแนคมีความเห็นคัดค้านการปรับลดอัตราภาษี โดยเขามองว่า ภารกิจสำคัญของรัฐบาลคือการสกัดการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อ นอกจากนี้ ซูแนคยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ผลงานระหว่างที่ครองตำแหน่งรัฐมนตรีคลังภายใต้การนำของนายกฯ บอริส จอห์นสันด้วย อีกทั้งประชาชนส่วนหนึ่ง ยังมีความไม่พอใจที่นายซูแนค เป็นผู้หนึ่งที่ไปเข้าร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ที่บ้านพักนายกรัฐมนตรี (บอริส จอห์นสัน) ขณะที่อังกฤษยังคงมีการประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของโควิด-19
การประกาศรายชื่อผู้ชนะการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมจะมีขึ้นในวันที่ 5 ก.ย.นี้ ผู้ชนะนอกจากจะได้เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่แล้ว ยังจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษคนใหม่ด้วย เนื่องจากพรรคอนุรักษนิยมครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร
เปิดประวัติ หญิงแกร่ง ‘ลิซ ทรัสส์’ ตัวเต็งเบอร์หนึ่ง ว่าที่หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมและนายกรัฐมนตรีอังกฤษคนใหม่ ซึ่งหากไม่พลิกโผ ที่จะมีการประกาศผลวันที่ 5 ก.ย. นี้ เธอก็จะเป็นนายกฯหญิง คนที่สามของประเทศอังกฤษ
เปิดประวัติ ว่าที่นายกฯคนใหม่ของอังกฤษ
ลิซ ทรัสส์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของอังกฤษมาตั้งแต่ปี 2021 โดยก่อนหน้านั้น เธอดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสตรีและความเท่าเทียมในปี 2019 เธอเป็นสมาชิกสภาจากนอร์โฟล์คตะวันตกเฉียงใต้มาตั้งแต่ปี 2010 และเคยร่วมงานคณะรัฐบาลมาตั้งแต่ยุคการบริหารประเทศของนายเดวิด คาเมรอน นางเทเรซา เมย์ และนายบอริส จอห์นสัน
ผู้หญิงเก่งมากความสามารถคนนี้ จบการศึกษาจากวิทยาลัยเมอร์ตัน ในออกซ์ฟอร์ด สมัยเรียนเธอเคยเป็นประธานของพรรคเสรีประชาธิปไตยของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เมื่อจบการศึกษาในปี 1996 เธอก็เข้าร่วมกับพรรคอนุรักษนิยม และในเวลาเดียวกันก็ทำงานประจำที่บริษัทเชลล์ เคเบิล แอนด์ ไวร์เลส ในตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายปรับโครงสร้างใหม่ของบริษัท
ลิซ ทรัสส์ ชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2010 ทำให้เธอกลายเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหน้าใหม่ แต่เธอก็ได้แสดงศักยภาพและมีบทบาทในการปฏิรูประบบสุขอนามัยเด็ก การศึกษาคณิตศาสตร์ รวมทั้งการปฏิรูปเศรษฐกิจ เธอก่อตั้งกลุ่ม สส. อิสระ ของพรรคอนุรักษนิยม และได้เขียนหนังสือออกมาหลายเล่ม อาทิ After the Coalition (2011) และ Britannia Unchained (2012)
เธอขยับขึ้นเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขเยาวชนและการศึกษา ในปี 2012-2014 จากนั้นก็เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมในสมัยของนายเดวิด คาเมรอน เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีการปรับเก้าอี้รัฐมนตรีในปี 2014
ในช่วงที่มีการถกประเด็นการแยกตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (อียู) หรือที่เรียกว่า ‘เบร็กซิท’ (Brexit) นั้น ตอนแรกเธอแสดงจุดยืนสนับสนุนกลุ่ม ‘บริเทน สตรองเกอร์’ ที่เห็นว่าอังกฤษควรจะอยู่ในอียูต่อไป ต่อเมื่อผลการโหวต(ประชามติ) ออกมาว่า ชาวอังกฤษต้องการจะเลือกแยกตัวออกจากอียู เธอก็ไม่ได้ต่อต้านแต่อย่างใด
หลังนายคาเมรอน ประกาศลาออกในปี 2016 และนางเทเรซา เมย์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ทรัสส์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งนับเป็นสตรีรายแรกที่ได้รับตำแหน่งนี้ของอังกฤษในรอบหนึ่งพันปี ต่อมาในปี 2017 เธอได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีคลังจนกระทั่งถึงเดือน ก.ค. 2019
หลังจากที่นางเทเรซา เมย์ ประกาศลาออกในปี 2019 ทรัสส์สนับสนุนให้นายบอริส จอห์นสันขึ้นมาเป็นผู้นำพรรคอนุรักษนิยม และเขาก็แต่งตั้งให้เธอเป็นรัฐมนตรีพาณิชย์ ก่อนจะย้ายมาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศแทนนายโดมินิก ร้าบ ในปี 2021 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ เธอยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะผู้เจรจาในเวทียุโรป-สหราชอาณาจักร อีกด้วย
เผยชีวิตส่วนตัว
ลิซ ทรัสส์ เธอเกิดเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 1975 (พ.ศ. 2518) ปัจจุบันอายุ 47 ปี เธอสมรสแล้วกับนายฮิวจ์ โอเลียรี และมีบุตร 2 คน
ที่มา :: www.thaipost.net/ , https://tna.mcot.net/ , www.nationtv.tv/
ประวัติว่าที่นายกฯคนใหม่ของอังกฤษกัน ลิซ ทรัสส์
ตอบลบลิซ ทรัสส์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของอังกฤษมาตั้งแต่ปี 2021 โดยก่อนหน้านั้น เธอดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสตรีและความเท่าเทียมในปี 2019 เธอเป็นสมาชิกสภาจากนอร์โฟล์คตะวันตกเฉียงใต้มาตั้งแต่ปี 2010 และเคยร่วมงานคณะรัฐบาลมาตั้งแต่ยุคการบริหารประเทศของนายเดวิด คาเมรอน นางเทเรซา เมย์ และนายบอริส จอห์นสัน
ผู้หญิงเก่งมากความสามารถคนนี้ จบการศึกษาจากวิทยาลัยเมอร์ตัน ในออกซ์ฟอร์ด สมัยเรียนเธอเคยเป็นประธานของพรรคเสรีประชาธิปไตยของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เมื่อจบการศึกษาในปี 1996 เธอก็เข้าร่วมกับพรรคอนุรักษนิยม และในเวลาเดียวกันก็ทำงานประจำที่บริษัทเชลล์ เคเบิล แอนด์ ไวร์เลส ในตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายปรับโครงสร้างใหม่ของบริษัท
ลิซ ทรัสส์ ชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2010 ทำให้เธอกลายเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหน้าใหม่ แต่เธอก็ได้แสดงศักยภาพและมีบทบาทในการปฏิรูประบบสุขอนามัยเด็ก การศึกษาคณิตศาสตร์ รวมทั้งการปฏิรูปเศรษฐกิจ เธอก่อตั้งกลุ่ม สส. อิสระ ของพรรคอนุรักษนิยม และได้เขียนหนังสือออกมาหลายเล่ม อาทิ After the Coalition (2011) และ Britannia Unchained (2012)
เธอขยับขึ้นเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขเยาวชนและการศึกษา ในปี 2012-2014 จากนั้นก็เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมในสมัยของนายเดวิด คาเมรอน เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีการปรับเก้าอี้รัฐมนตรีในปี 2014
ในช่วงที่มีการถกประเด็นการแยกตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (อียู) หรือที่เรียกว่า ‘เบร็กซิท’ (Brexit) นั้น ตอนแรกเธอแสดงจุดยืนสนับสนุนกลุ่ม ‘บริเทน สตรองเกอร์’ ที่เห็นว่าอังกฤษควรจะอยู่ในอียูต่อไป ต่อเมื่อผลการโหวต(ประชามติ) ออกมาว่า ชาวอังกฤษต้องการจะเลือกแยกตัวออกจากอียู เธอก็ไม่ได้ต่อต้านแต่อย่างใด
หลังนายคาเมรอน ประกาศลาออกในปี 2016 และนางเทเรซา เมย์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ทรัสส์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งนับเป็นสตรีรายแรกที่ได้รับตำแหน่งนี้ของอังกฤษในรอบหนึ่งพันปี ต่อมาในปี 2017 เธอได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีคลังจนกระทั่งถึงเดือน ก.ค. 2019
หลังจากที่นางเทเรซา เมย์ ประกาศลาออกในปี 2019 ทรัสส์สนับสนุนให้นายบอริส จอห์นสันขึ้นมาเป็นผู้นำพรรคอนุรักษนิยม และเขาก็แต่งตั้งให้เธอเป็นรัฐมนตรีพาณิชย์ ก่อนจะย้ายมาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศแทนนายโดมินิก ร้าบ ในปี 2021 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ เธอยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะผู้เจรจาในเวทียุโรป-สหราชอาณาจักร อีกด้วย
ชีวิตส่วนตัว ลิซ ทรัสส์ เกิดเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 1975 (พ.ศ. 2518) ปัจจุบันอายุ 47 ปี เธอสมรสแล้วกับนายฮิวจ์ โอเลียรี และมีบุตร 2 คน
ลิซ ทรัสส์ เตรียมนั่งเก้าอี้นายกฯ สหราชอาณาจักร
ตอบลบสมาชิกพรรคคอนเซอร์เวทีฟมีมติเลือกนางลิซ ทรัสส์ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทนนายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรี ที่ถูกสมาชิกพรรคกดดันให้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเมื่อวันที่ 7 ก.ค.2022
นางทรัสส์ เป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคอนเซอร์เวทีฟที่ผ่านด่านการลงคะแนนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคคอนเซอร์เวทีฟหลายรอบ จนเป็นตัวเก็งในการชิงตำแหน่งกับนายริชี สุนัค อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ในวันพรุ่งนี้ (6 ก.ย.) นางทรัสส์ จะขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากนายจอห์นสัน ซึ่งจะเดินทางไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธ ที่ 2 ที่พระตำหนักบัลมอรัล ในสกอตแลนด์ เพื่อกราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่ง
นางทรัสส์ จะเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนที่สามของสหราชอาณาจักร โดยสองคนแรกคือนางมาการ์เร็ต แทตเชอร์ (พรรคเลเบอร์) และนางเทรีซา เมย์ จากพรรคคอนเซอร์เวทีฟ
เร่งแก้ปัญหาพลังงาน
ภารกิจสำคัญที่รอนายกรัฐมนตรีคนใหม่มาเร่งแก้ไขคือเรื่องเศรษฐกิจปากท้องและราคาพลังงานที่แพงลิ่ว ขณะนี้สหราชอาณาจักรเผชิญภาวะเงินเฟ้อพุ่งสูง ตัวเลขล่าสุดเมื่อกลางเดือนสิงหาคม เงินเฟ้ออยู่ที่ 10.1% นั่นก็ผลักให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงสุดในรอบสี่สิบปี ขณะที่ผลพวงจากสงครามรัสเซียและยูเครนที่รัสเซียระงับการส่งแก๊สบางส่วนให้ยุโรป ส่งผลต่อราคาแก๊สและพลังงานในสหราชอาณาจักร ซ้ำเติมปัญหาสะสมของสหราชอาณาจักรในเรื่องการลงทุนไม่เพียงพอในด้านพลังงาน จึงทำให้เรื่องนี้เป็นประเด็นปัญหาสำคัญในขณะนี้
นับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ ครัวเรือนในสหราชอาณาจักรต้องเผชิญกับการปรับตัวสูงขึ้นของค่าใช้จ่ายด้านพลังงานโดยเฉลี่ยราว 80% ขณะนี้มีรายงานว่ารัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของนางทรัสส์ เตรียมจะประกาศนโยบายตรึงเพดานราคาค่าพลังงานเพื่อช่วยเหลือประชาชน
นายกรัฐมนตรีสายเหยี่ยว ?
ในแง่นโยบายต่างประเทศโดยเฉพาะรัสเซียนั้นนางทรัสส์ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีนโยบายชัดเจนว่าประชาคมระหว่างประเทศจะต้องคว่ำบาตรรัสเซียอยู่ต่อไปจนกว่ารัสเซียจะยอมถอนทหารออกจากยูเครน และชาติตะวันตกก็จะต้องสนับสนุนยูเครนให้มากและเร็วขึ้น เพื่อต้านทานการรุกรานของรัสเซีย และรัสเซียจะต้องไม่ชนะในสงครามครั้งนี้ เพื่อไม่ให้ต้องไปรุกรานชาติอื่นอีก ท่าทีเช่นนี้ทำให้นักวิเคราะห์หลายคนเกรงว่าจะทำให้การรอมชอมกับรัสเซียเป็นไปได้ยากขึ้น
ในแง่ความสัมพันธ์กับจีนนั้น นางทรัสส์ เปรียบเปรยว่าต้องป้องกันไม่ให้สิ่งที่รัสเซียทำกับยูเครนเกิดขึ้นกับไต้หวัน และชาติตะวันตกต้องทำให้แน่ใจว่าไต้หวันจะสามารถปกป้องตัวเองจากการรุกรานของจีน และชาติตะวันตกเองก็ต้องพยายามไม่ให้ตัวเองต้องพึ่งพิงจีนในทางเศรษฐกิจมากเกินไป
ลิซ ทรัสส์ คือใคร
ตอบลบแมรี เอลิซาเบธ ทรัสส์ เกิดเมื่อปี 1975 ที่เมืองอ็อกซ์ฟอร์ด เธอเคยพูดถึงพ่อของเธอซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ และแม่ของเธอซึ่งเป็นพยาบาลว่า เป็น "ฝ่ายซ้าย"
ตอนที่ยังเป็นเด็กสาว แม่ของเธอเข้าร่วมการเดินขบวนของกลุ่มเรียกร้องปลดอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นการต่อต้านการตัดสินใจของรัฐบาลแทตเชอร์ที่อนุญาตให้มีการติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ที่กรีนแฮม คอมมอนทางตะวันตกของกรุงลอนดอน ของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
ครอบครัวของเธอย้ายไปอยู่ที่เมืองเพสลีย์ ทางตะวันตกของเมืองกลาสโกว์ ตอนที่ทรัสส์อายุได้ 4 ขวบ ก่อนที่จะย้ายไปอยู่เมืองลีดส์ ซึ่งเธอได้เข้าโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นของรัฐที่นั่น
นางทรัสส์ได้เข้าเรียนด้านปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด และทำกิจกรรมด้านการเมืองของนักศึกษา และเคยเป็นสมาชิกพรรคลิเบอรัล เดโมแครต
ในการประชุมของพรรคลิเบอรัล เดโมแครต ปี 1994 เธอได้กล่าวสนับสนุนการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ โดยได้บอกแก่บรรดาผู้ร่วมประชุมในเมืองไบรตันว่า "เราชาวลิเบอรัล เดโมแครต เชื่อในโอกาสสำหรับทุกคน เราไม่เชื่อในคนที่เกิดมาเพื่อปกครอง"
ในช่วงที่อยู่ที่อ็อกซ์ฟอร์ด นางทรัสส์ได้ย้ายไปเข้าร่วมกับพรรคคอนเซอร์เวทีฟ
หลังจากจบการศึกษา เธอทำงานเป็นนักบัญชีที่บริษัทเชลล์ (Shell) และบริษัทเคเบิล แอนด์ ไวร์เลส (Cable & Wireless) เธอได้แต่งงานกับฮิว โอเลียรี ซึ่งเป็นนักบัญชีเช่นเดียวกันในปี 2000 ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 2 คน
นางทรัสส์เคยเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคคอนเซอร์เวทีฟในเมืองเฮมสเวิร์ธ ของเวสต์ ยอร์กเชียร์ ในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2001 แต่เธอแพ้การเลือกตั้ง นางทรัสส์ยังแพ้เลือกตั้งอีกครั้งเมื่อปี 2005 ในเมืองคาลเดอร์ วัลเลย์ ซึ่งอยู่ในเวสต์ ยอร์กเชียร์
แต่ความทะเยอทะยานทางการเมืองของเธอก็ยังไม่หมดไป เธอได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาของกรีนิช ทางตะวันออกเฉียงใต้ของลอนดอนในปี 2006 และตั้งแต่ปี 2008 เธอก็ได้ทำงานเป็นรองผู้อำนวยการของรีฟอร์ม (Reform) สถาบันวิจัยที่เอนเอียงมาทางฝ่ายขวา
นายเดวิด คาเมรอน หัวหน้าพรรคคอนเซอร์เวทีฟ ได้ให้นางทรัสส์อยู่ในบัญชีผู้สมัครที่มีความสำคัญลำดับแรก ๆ ในการเลือกตั้งปี 2010 และเธอก็ได้รับเลือกให้ลงเลือกตั้งในเขตที่เป็นฐานเสียงของพรรคคอนเซอร์เวทีฟอย่าง เซาท์ เวสต์ นอร์ฟอล์ก ซึ่งเธอได้คะแนนมากกว่า 13,000 เสียง
ตอบลบในปี 2012 สมาคมเขตเลือกตั้งของพรรคคอนเซอร์เวทีฟพยายามจะขับเธอออก หลังจากมีการเปิดเผยว่า เธอมีความสัมพันธ์ชู้สาวกับนายมาร์ก ฟีลด์ เพื่อน ส.ส. พรรคคอนเซอร์เวทีฟ เมื่อ 5 ปีก่อนหน้านั้น แต่สุดท้ายก็ไม่ประสบความสำเร็จ
เธอยังเคยร่วมเขียนหนังสือเรื่อง Britannia Unchained (อาจแปลเป็นไทยได้ว่า เกาะอังกฤษที่ไร้พันธนาการ) ซึ่งได้แนะนำให้ถอดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของรัฐออก เพื่อกระตุ้นบทบาทของสหราชอาณาจักรในระดับโลก ทำให้เธอเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญของฝ่ายนโยบายตลาดเสรีในพรรคคอนเซอร์เวทีฟ
ในเดือน ก.ย. 2012 เพียง 2 ปี หลักจากที่ได้เป็น ส.ส. เธอได้เข้าร่วมรัฐบาลในฐานะ รมช. ศึกษา เธอขัดแย้งกับนายนิก เคลกก์ รองนายกรัฐมนตรีจากพรรคลิเบอรัล เดโมแครต เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา แต่นายคาเมรอน นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เลื่อนตำแหน่งให้เธอเข้ามาร่วมในคณะรัฐมนตรีในปี 2014 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม
ในการลงประชามติเบร็กซิตในปี 2016 นางทรัสส์ อยู่ฝ่ายสนับสนุนให้สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต่อไป โดยเคยเขียนลงหนังสือพิมพ์เดอะซันว่า เบร็กซิตจะทำให้เกิด "โศกนาฏกรรม 3 อย่าง คือ กฎเกณฑ์มากขึ้น รูปแบบมากขึ้น และความล่าช้าที่มากขึ้น เมื่อต้องขายสินค้าให้สหภาพยุโรป" แต่เมื่อฝ่ายที่เธอสนับสนุนแพ้ เธอก็เปลี่ยนใจ โดยบอกว่า เบร็กซิต ให้โอกาสในการปรับเปลี่ยนการทำงานหลายด้านในสหราชอาณาจักร
ในปี 2016 เธอได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในสมัยของเทรีซา เมย์ ปีต่อมาเธอได้เป็น รมช. คลัง กำกับดูแลกรมสำคัญและโครงการเศรษฐกิจสำคัญของรัฐบาล
หลังจากที่นายบอริส จอห์นสัน เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2019 นางทรัสส์ถูกย้ายไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าระหว่างประเทศ งทำให้เธอต้องพบกับผู้นำทางธุรกิจและการเมืองระดับโลกจำนวนมากเพื่อส่งเสริมบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของสหราชอาณาจักร
ในปี 2021 ขณะอายุ 46 ปี เธอได้ย้ายไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในตำแหน่งที่อาวุโสที่สุดในรัฐบาล แทนนายโดมินิก ราบ ซึ่งถูกนายจอห์นสันย้ายไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
นอกจากนี้ เธอยังมีบทบาทในการช่วยเหลือผู้ถือสัญชาติอังกฤษและอิหร่าน 2 คน ที่ถูกอิหร่านควบคุมตัวไว้
ในตอนที่รัสเซียบุกยูเครนในเดือน ก.พ. เธอมีท่าทีที่แข็งกร้าว ยืนกรานว่า ควรผลักดันกองกำลังทั้งหมดของวลาดิเมียร์ ปูติน ออกไปจากยูเครน
แต่เธอเผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์ หลังจากแสดงการสนับสนุนคนจากสหราชอาณาจักรที่ต้องการไปร่วมรบในยูเครน
ในขณะที่เธอพยายามจะเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนที่ 3 ของสหราชอาณาจักร เธอก็ถูกคนมองว่า พยายามแต่งตัวคล้ายกับนางแทตเชอร์ด้วย ในการเดินทางเยือนรัสเซียและระหว่างการเข้าร่วมการดีเบตเพื่อชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคอนเซอร์เวทีฟที่มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ครั้งหนึ่ง
"มันค่อนข้างน่าหงุดหงิดที่นักการเมืองหญิงถูกเปรียบเทียบกับมาร์กาเรต แทตเชอร์ อยู่เสมอ ขณะที่นักการเมืองชายไม่ถูกเปรียบเทียบกับ เท็ด ฮีธ บ้างเลย" นางทรัสส์ กล่าวกับ จีบี นิวส์ (GB News)
ลิซ ทรัสส์: นายกฯ อังกฤษคนต่อไป จากนักศึกษาล้มเจ้า สู่ผู้นำฝ่ายขวา
ตอบลบThe MATTER ชวนย้อนดูประวัติของ ลิซ ทรัสส์ ว่าที่นายกฯ สหราชอาณาจักรคนใหม่ ผู้ได้รับขนานนามจากสื่อว่าเป็น ‘shapeshifter’ หรือผู้ที่กลายร่างได้เรื่อยๆ จากการ ‘เปลี่ยนใจ’ หลายๆ ครั้งบนเส้นทางการเมือง สะท้อนความไม่แน่นอนที่ต้องจับตาต่อไปในรัฐบาลชุดใหม่แห่งสหราชอาณาจักร
จากนักศึกษาล้มเจ้า สู่หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม
‘ลิซ ทรัสส์’ หรือชื่อเต็ม ‘แมรี เอลิซาเบธ ทรัสส์’ เกิดเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 1975 ในครอบครัวที่เธอพูดเองว่า เป็น ‘ฝ่ายซ้าย’ โดยมีพ่อเป็นศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยลีดส์ แม่เป็นพยาบาล และนักเคลื่อนไหวใหกับแคมเปญยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์
นั่นจึงอาจจะไม่แปลกประหลาดนัก หากบนเส้นทางการเมือง เธอจะเกิดอาการ ‘เปลี่ยนใจ’ หลายครั้ง เริ่มต้นจากปี 1994 ที่เธอในวัย 19 ปี เคยออกมาเรียกร้องให้ล้มล้างสถาบันกษัตริย์ เมื่อครั้งเป็นผู้นำฝ่ายนักศึกษาของพรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democrats) ที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด
“มีเพียงครอบครัวเดียวเท่านั้นที่มีสิทธิดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐได้ เราชาวเสรีประชาธิปไตยเชื่อในโอกาสที่เป็นของทุกคน เราไม่เชื่อในการที่จะมีใครเกิดมาเพื่อปกครอง” ทรัสส์กล่าวในการประชุมของพรรคครั้งนั้น
ต่อมาภายหลัง เธอเปิดใจถึงจุดยืนดังกล่าวว่า เธอแทบจะเปลี่ยนใจในทันทีหลังจากกล่าวสุนทรพจน์นั้นออกไป
ทรัสส์จบการศึกษาในสาขาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ จากอ็อกซ์ฟอร์ด ชีวิตการเมืองของเธอเกือบจะได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2001 จากการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.พรรคอนุรักษนิยม เขตเฮมส์เวิร์ต ในเมืองเวสต์ยอร์กเชียร์ แต่ก็พ่ายแพ้ ก่อนจะลงสมัครอีกครั้งในปี 2005 และพ่ายแพ้อีกครั้ง
จนมาถึงปี 2010 เธอจึงได้เข้าสภาฯ ในฐานะ ส.ส.พรรคอนุรักษนิยม เขตเซาธ์เวสต์นอร์ฟอล์ก ก่อนจะเริ่มก้าวกระโดดขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ถูกแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยด้านการศึกษาและดูแลเด็กเมื่อปี 2012 และได้ขึ้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม อาหารและชนบท เมื่อปี 2014
การ ‘เปลี่ยนใจ’ ทางการเมืองของทรัสส์ เกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อปี 2016 ในขณะที่สหราชอาณาจักรกำลังลงประชามติเพื่อออกจากสหภาพยุโรป (EU) ที่รู้จักกันในชื่อ ‘Brexit’
ครั้งนั้น ทรัสส์เป็นฝ่ายสนับสนุนให้สหราชอาณาจักร ‘อยู่ต่อ’ ใน EU เธอเคยบอกว่า การอยู่ต่อถือเป็น ‘ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ’ ของอังกฤษ และเป็นวิธีที่จะทำให้อังกฤษมุ่งหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมภายในบ้านตัวเองได้ – แต่เมื่อผลการลงประชามติออกมาเป็นอีกอย่าง ทรัสส์ก็ยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า เธอผิดพลาดไป
ต่อมา ภายใต้รัฐบาลของ เทเรซา เมย์ เธอดำรงตำแหน่งอยู่ 2 ตำแหน่ง คือ ประธานฝ่ายตุลาการและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เมื่อปี 2016-2017 และตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในปี 2017-2019
จนกระทั่ง บอริส จอห์นสัน ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำรัฐบาล ทรัสส์ก็ถูกแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าระหว่างประเทศ ในช่วงปี 2019-2021 จนสุดท้ายเมื่อปี 2021 ได้ไต่เต้าขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในที่สุด เป็นผู้หญิงคนที่ 2 ที่ดำรงตำแหน่งนี้ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในตำแหน่งที่อาวุโสที่สุดในรัฐบาล