Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2565

อันตรายจากการผสมเลือดชิดในสุนัข

 

อันตรายจากการผสมเลือดชิดในสุนัข


Dogilike.com :: อันตรายจากการผสมเลือดชิดในสุนัข

       การผสมพันธุ์สุนัขนั้น ไม่ได้เพียงอาศัยความรู้เรื่องการเลือกวันผสมที่เหมาะสมแค่อย่างเดียว จำเป็นต้องอาศัยความรู้เรื่องวิธีการผสมพันธุ์สัตว์ที่ถูกต้องด้วย เพื่อจะได้ลูกสุนัขที่มีสุขภาพกายและสุขภาพทางใจ (อารมณ์) แข็งแรงตลอดไป
 
     ระบบการผสมพันธุ์สัตว์ (Mating system) ทุกชนิดรวมไปถึงสุนัขนั้น มีมากมายหลายวิธี หากเราแบ่งแยกตามความสัมพันธ์ทางเครือญาติ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ก็คือ การผสมต่างสายเลือด (Outbreeding) กับ การผสมแบบเลือดชิด (Inbreeding) ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน สำหรับวันนี้ มุมหมอหมา จะขอเสนอความรู้เกี่ยวกับ อันตรายจากการผสมเลือดชิด ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้ผสมพันธุ์สุนัขควรต้องรู้ ... ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับการผสมเลือดชิดกันก่อน 

Dogilike.com :: อันตรายจากการผสมเลือดชิดในสุนัข

     การผสมเลือดชิด (Inbreeding) เป็นการการจับคู่ผสมพันธุ์ระหว่างสัตว์ที่มีสายเลือดเดียวกันและมีความสัมพันธ์กันแบบเครือญาติ ไม่ว่าจะเป็น ญาติสายตรง (พ่อ แม่ ลูก ปู่ ยา ตา ยาย) หรือญาติข้างเคียง (ลุง ป้า น้า อา ) เช่น พ่อผสมกับลูก แม่ผสมกับลูก พี่ผสมกับน้องท้องเดียวกัน เป็นต้น เหตุการณ์เช่นนี้สามารถเกิดได้เองในธรรมชาติ หรือเกิดขึ้นได้จากการกระทำของมนุษย์  
 
     ในโลกของสุนัขเราสามารถพบเห็นการผสมเลือดชิดได้ในหลายกรณี เช่น สุนัขป่าที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง จึงผสมกันเองในฝูง หรือในสุนัขบ้านที่เจ้าของไม่ได้ป้องกัน จึงเกิดการผสมกันเองในหมู่เครือญาติภายในบ้าน หรือในฟาร์มเพาะสุนัขที่เลือกวิธีการผสมแบบเลือดชิด เพื่อให้ได้ลักษณะตามที่ตนต้องการ 

Dogilike.com :: อันตรายจากการผสมเลือดชิดในสุนัข

ทำไมต้องผสมเลือดชิด

 
     การผสมเลือดชิด ทำให้ความแปรปรวนทางพันธุกรรมภายในกลุ่มของสัตว์หรือครอบครัวเดียวกันลดลง เป็นประโยชน์มากสำหรับการสร้างสายพันธุ์แท้ใหม่ๆ หรือต้องการที่จะให้คงลักษณะของสายพันธุ์นั้นให้เหมือนเดิมไปตลอด เพราะการผสมเลือดชิดจะทำให้เกิดความสม่ำเสมอทางพันธุกรรม คล้ายกับการทำสำเนา ลูกสุนัขที่เกิดจากการผสมเลือดชิดจะมีลักษณะไม่ต่างจากพ่อและแม่  
 
     การผสมเลือดชิดเป็นการเพิ่มโอกาสที่ยีนจะอยู่ในสภาพที่เหมือนกัน (homozygosity) มากขึ้น ซึ่งหากเป็นการเข้าคู่กันในลักษณะของยีนที่เป็นคู่เหมือนที่ดีก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะเป็นลักษณะที่เราต้องการ แต่ในโลกของความเป็นจริง มันไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะก็มีโอกาสเช่นกัน ที่ยีนไม่ดีจะมาจับคู่กัน ซึ่งทำให้เกิดผลเสียและอันตรายต่างๆ ตามมา  

Dogilike.com :: อันตรายจากการผสมเลือดชิดในสุนัข

อันตรายของการผสมเลือดชิด

 
     การผสมเลือดชิด จะเพิ่มโอกาสในการแสดงลักษณะของยีนด้อยในประชากรมากขึ้น เนื่องจากเกิดความเสื่อมจากการเข้าคู่กันของยีนคู่เหมือนที่เป็นยีนด้อยดังกล่าว ลูกสุนัขที่เกิดมา อาจมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางแย่ลง คล้ายการทำสำเนาต่อไปเรื่อยๆ ความคมชัดก็จะไม่เหมือนกับต้นฉบับ ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อน้องหมาในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
 
     อันตรายต่อร่างกาย
 
     สุนัขที่เกิดจากการผสมเลือดชิด อาจมีลักษณะโครงสร้างร่างกายที่ผิดปกติแต่กำเนิด พบว่าอัตราการเจริญเติบโตจะลดลง (โตช้า) แคระแกร็น มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ เกิดความพิการต่างๆ เช่น ขายาวไม่เท่ากัน หูยาวไม่เท่ากัน หางกุด ปากแหว่ง เพดานโหว่ ตาทั้งสองข้างอาจมีขนาดไม่เท่ากันหรืออยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม มีหัวใจพิการแต่กำเนิด ฯลฯ ลูกสุนัขจะมีโอกาสเสียชีวิตได้ตั้งแต่แรกเกิด หรืออาจแท้งไปตั้งแต่อยู่ในท้อง

Dogilike.com :: อันตรายจากการผสมเลือดชิดในสุนัข

     อันตรายต่อสุขภาพ
 
     ปัญหาทางสุขภาพเป็นผลมาจากร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ สุนัขที่เกิดจากการผสมเลือดชิดมักจะไม่แข็งแรง เจ็บไข้ได้ป่วยได้ง่าย มีภูมิต้านทานโรคต่ำ ติดโรคง่าย และรักษาให้หายขาดยาก เป็นโรคประจำพันธุ์ตั้งแต่อายุยังน้อย โรคที่มักพบในสุนัขที่เกิดจากการผสมเลือดชิด ได้แก่ โรคข้อสะโพกเสื่อม โรคหัวใจ โรคภูมิแพ้ โรคลมชัก โรคที่มีปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง ฯลฯ ผู้เพาะพันธุ์ที่ขาดความเข้าใจบางราย นิยมที่จะให้สุนัขผสมเลือดชิดเพื่อต้องการรักษามาตรฐานสายพันธุ์และคงลักษณะที่ดีภายนอกของพ่อแม่เอาไว้ แต่กลับทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพภายในร่างกายตามมา อย่างเช่น เกิดปัญหาเรืองตา ข้อสะโพก กระดูกสันหลัง และการหายใจในสุนัขพันธุ์ปั๊ก เกิดปัญหาหัวกะโหลกโต ทำให้ไม่สามารถคลอดได้เองตามธรรมชาติ ต้องช่วยผ่าคลอดในสุนัขพันธุ์บลูด็อก หรือเกิดโรคข้อสะโพกเสื่อมในสุนัขพันธุ์ลาบราดอร์ เป็นต้น 

Dogilike.com :: อันตรายจากการผสมเลือดชิดในสุนัข

     อันตรายต่อพฤติกรรม
 
     อิทธิพลที่มีผลต่อพฤติกรรมของน้องหมาประกอบขึ้นจาก 3 ปัจจัย ได้แก่ สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ และพันธุกรรม ปฏิเสธไม่ได้ว่าการผสมเลือดชิดส่งผลโดยตรงต่อพันธุกรรม และอาจมีส่วนก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้ เช่น ก้าวร้าว ชอบไล่งับ ชอบวิ่งไล่รถหรือสัตว์ตัวอื่นๆ ชอบเล่นแรงๆ และเป็นสุนัขที่ไม่ฉลาดฝึกให้เข้าใจคำสั่งได้ยาก การเพาะพันธุ์สุนัขที่ประสบความสำเร็จ นอกจากจะได้ลูกสุนัขที่มีลักษณะร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงแล้ว เราควรต้องใส่ใจเรื่องสุขภาพของจิตใจหรืออารมณ์ ด้วย

Dogilike.com :: อันตรายจากการผสมเลือดชิดในสุนัข

     ปัจจุบันผู้เพาะพันธุ์สุนัขส่วนใหญ่จึงหลีกเลี่ยงการผสมเลือดชิด เพราะว่าได้ไม่คุ้มเสีย จึงหันไปผสมแบบในสายเลือด (Line breeding) แทน ซึ่งเป็นการผสมสุนัขสายพันธุ์เดียวกัน แต่เป็นคนละเครือญาติกัน หรือเลือกที่จะผสมแบบต่างสายเลือดกันไปเลย เพื่อให้ได้มั่นใจว่าได้สุนัขที่มีสุขภาพแข็งแรง 
 
     แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังมีผู้เพาะพันธุ์บางราย ที่ขาดความเข้าใจหวังผลทางลัด เลือกที่จะผสมพันธุ์แบบเลือดชิดอยู่ ซึ่งอาจได้ผลดีในช่วงแรกๆ เพราะลูกสุนัขที่เกิดมาจะมีลักษณะเด่นที่เหมือนพ่อหรือแม่ที่มีสายเลือดเดียวกัน แต่เนื่องจากขาดความหลายหลายทางพันธุกรรม ในอนาคตจึงทำให้ลูกสุนัขรุ่นถัดไปอ่อนแอลง

Dogilike.com :: อันตรายจากการผสมเลือดชิดในสุนัข

     ดังนั้น หากต้องการจะซื้อหรือรับสุนัขมาเลี้ยง เราควรศึกษาใบเพ็ดดีกรี ดูประวัติการผสมให้ดี ว่าสุนัขตัวนั้นเป็นลูกที่เกิดจากการผสมเลือดชิดในเครือญาติเดียวกันหรือไม่  เพื่อลดความเสี่ยงในการได้สุนัขที่ไม่แข็งแรง ซึ่งอาจเกิดปัญหาตามมาภายหลัง และที่สำคัญหากเพื่อนๆ เลี้ยงสุนัขรวมกันไว้หลายตัว แล้วแต่ละตัวมีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตเดียวกัน แบบนี้เราต้องไม่ปล่อยให้เค้ามีอะไรกันเอง ควรแยกเลี้ยงในระยะที่สุนัขเพศเมียกำลังเป็นสัด หรือพาสุนัขไปผ่าตัดทำหมัน เพื่อป้องกันการผสมพันธุ์ไปเลยจะเป็นการดีที่สุด

 
 


ที่มา   ::     หมอต้น ด็อกไอไลค์  ,  น.สพ.ธีรภาพ มุสิกานนท์  ,  www.dogilike.com

6 ความคิดเห็น:

  1. การเลือกที่จะผสมพันธ์
    สุนัขบางสายพันธ์ที่มีปํญหาจากสายพันธ์ของพวกมันเองทางธรรมชาิติ เช่น บูลด๊อก
    เยอรมันเชทเพรอที่มีปํญหาเรื่องข้อสะโพก การผสมแบบเลือดชิดจะคงไว้ซึ่งปัญหา
    เหล่านี้ ฉะนั้นทางแก้ไขคือต้องผสมข้ามสาย ซึ่งการผสมข้ามสายจะช่วยให้สุนัขมี
    พันธุกรรมที่แข็งแรงขึ้น หรืออาจจะแก้ไขปัญหาอาการผิดพลาดทางสายพันธ์เลย
    ก็เป็นได้ ปัญหาการผสมแบบเลือดชิด นอกจากจะเกิดกับสัตว์ป่าในฝูงที่ไม่ยอม
    ให้สัตว์นอกฝูงเข้ามาใกล้แล้ว ปัญหาเหล่านี้เราสามารถพบได้ในสวนสัตว์ด้วย
    เนื่องจากสวนสัตว์เองมีสัตว์ในสวนที่จำกัด ดังนั่นการขยายพันธ์ สวนสัตว์ต้องยืม
    สัตว์จากสวนสัตว์อื่นมาผสมหรือหาซื้อน้ำเชื้อของสัตว์ที่อื่นมาทำการผสมเทียม
    เพื่อไม่ให้สัตว์มีพันธุกรรมด้อย

    การผสมแบบเลือดชิดนั่นสร้างปัญหาให้มากมายให้กับคนที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ว่าจะเป็น
    สัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ในฟาร์มก็ตาม อีกหนึ่งตัวอย่างที่อยากจะชี้ให้เห็นคือ สุนัข
    สายพันธ์ "ปั๊ก" เนื่องจากรูปร่างหัวที่กลมแบนเพื่อให้รับกับรูปร่างของมันเป็นสิ่งที่
    ต้องการของตลาด ซึ่งผิดธรรมชาติของสุนัข ทำให้พวกมันไม่สามารถคลอดเอง
    ได้โดยปราศจากการช่วยเหลือของมนุษย์

    ในโลกของสุนัขก็เช่นกัน ในปัจจุบันพวกเรากำลังทำลายกลไกทางธรรมชาิติ
    ของพวกมัน ด้วยความต้องการสายเลือดที่แน่น ๆ บริสุทธิ โดยให้พวกมันผสม
    กันเองในเครือญาติ ทำให้พวกมันมีปัญหาอายุสั้น ร่างกายไม่แข็งแรง โง้ดื้อ
    ฝึกยาก ซึ่งต่างจากสุนัขในอดีตที่คนเลี้ยงต้องการเลี้ยงเพื่อนำมาใช้งาน พวก
    เค้าได้ผสมข้ามสายพันธ์ไปมาเพื่อให้สุนัขของพวกเค่าสามารถช่วยแบ่งเบางาน
    ของมนุษย์ได้ ทำให้พวกมัน

    ในโลกของผู้พัฒนาพันธ์หรือผู้ที่ผสมพันธ์สุนัข
    ส่วนใหญ่ผู้ผสมพันธ์พันธุ์สุนัขจะตระหนักถึงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นที่เกี่ยวกับ
    การผสมแบบเลือดชิด แต่ก็ยังมีพวกมือใหม่ที่ต้องการทางลัด เพื่อที่จะรักษาหรือ
    คงไว้ซึ่งลักษณะภายนอกที่ตนเองชื่นชอบ

    การปรับปรุงพันธุ์หรือพัฒนาสายพันธ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกันของสายพันธุ์เดียวกันสามารถ
    มั่นใจได้ว่าลูกสุนัขที่ได้จะแข็งแรง แม้จะมีความเสี่ยงของการแสดงให้เห็นถึงลักษณะ
    ที่ไม่พึงประสงค์ แต่เราก็ช่วยให้สุนัขมีความแข็งแรง

    คุณรู้ได้อย่างไรว่าสุนัขมีที่มาที่ไปหรือสายพันธ์เลือดชิดหรือไม่
    1. ดูจากใบเพดเป็นอันดับแรก
    2. การลดจำนวนลงของการตกลูก
    3. สุนัขเพศผู้ให้น้ำเชื้อที่น้อยลง
    4. อัตราการตายของลูกสุนัขสูง
    5. ลูกสุนัขที่เกิดมามีขนาดตัวเล็กลง
    6. ติดเชื้อง่าย ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ
    7. ไม่นิ่ง ฝึกยาก ดื้อ ปากแหว่ง เพดานโหว่

    การผสมแบบเลือดชิดเป็นดาบสองคม ในด้านหนึ่งกาีผสมแบบเลือดชิด
    จะคงไว้ซึ่งลักษณะที่เด่นทางภายนอกของลัตว์เอาไว้ แต่ในอีกด้านหนึ่ง
    การผสมแบบเลือดชิดก่อให้เกิดปัญหาบกพร่องทางพันธุกรรมในร่างกาย
    ทำให้อ่อนแออ การผสมในช่วงแรก ๆ อาจจะให้ผลสัพท์เป็นที่น่าพอใจ
    แต่สุดท้ายแล้วต้องแก้โดยการผสมข้ามสายพันธ์เพื่อรักษาสุขภาพโดย
    รวมของสุนัขเอาไว้ และสร้างความสมดุลคืนให้กับสุนัขในรุ่นต่อไป


    ตอบลบ
  2. ต้องถามก่อนครับว่าสัตว์ที่ว่าคือสัตว์ชนิดใด :) อย่างวัวของฟาร์มJ.D.HUDGINSฟาร์มวัวอเมริกันบราห์มันอันดับ1ของโลกทุกวันนี้เป็นลูก-หลาน-เหลน-ลืบ-ลืดของ MANSO ด้วยกันทั้งนั้นคือแม่วัวเป็น100ตัวที่พ่อพันธุ์MANSOคุมฝูงอยู่ทางฟาร์มก็จับมาผสมกันเองแต่คัดทิ้งอย่างเข้มข้นคัดแต่ตัวที่ดีไว้ ;Dเลือดชิดแบบไลน์บรีดทุกวันนี้วงการวัวนิยมมากเพราะคงรักษาพันธุกรรมรุ่นพ่อ-แม่ไว้ได้ดีแต่ถ้าชิดแบบอินบรีดอย่างนี้ไม่แนะนำเพราะออกมาจะแย่มากกว่าดี

    notecmu :
    In Breeding เป็นการผสมในเครือญาติกัน เท่าที่จำได้มี 2 แบบ
    1. Close Breeding เป็นการผสมแบบเลือดชิดมากๆ เช่น พ่อลูก แม่ลูก พี่น้อง
    2. Line Breeding เป็นการผสมเลือดชิดแบบห่างๆหรือญาติห่างๆ เช่น ทวดกับหลาน อากับหลาน ปู่กะหลาน

    ซึ่งผสมเลือดชิด
    -ข้อดีคือ ทำให้รักษาลักษณะเดิมๆที่เราต้องการของสัตว์ไว้ แล้วก็เอาไว้คัดสัตว์ด้อยๆหรือลักษณะที่เราไม่ต้องการออกจากฝูงประมาณนี้ครับ
    -ข้อเสีย สัตว์ผลผลิตลด ไม่แข็งแรง มีผลเรื่องการสืบพันธุ์ด้วยครับ
    รู้สึกว่าLine ในส่วนข้อเสียจะเกิดน้อยกว่าในCloseด้วยนะครับ

    ส่วนอันนี้แถมให้ครับ Out Breeding เป็นการผสมพันธุ์ที่ไม่เป็นเครือญาติกัน มี2แบบครับ
    1.ผสมในพันธุ์เดียวกัน (Pure Breeding) เช่นหมู Larqe White x Larqe White เพื่อต้องการรักษาพันธุ์แท้ไว้ครับ
    2.ผสมนอกสายพันธุ์ (Cross Breeding) เช่นแม่หมู Landrace x พ่อDuroc เพื่อเพิ่มผลผลิตครับ เป็นสุกรขุน ปัจจุบันนิยมในทางการค้ามากครับ




    QooBall Chihuahuas:
    ในวงการสุนัข นิยมผสมแบบ line breed ครับ เพื่อรักษามาตรฐาน ความสวยงามของต้นตระกูลไว้ได้มากที่สุด
    แต่ีมีข้อแม้ว่า ตัวที่เราจะทำ line breed นั้นต้องเป็นหมาที่สวย ถ่ายทอดความสวยงามทางพันธุกรรมได้มากที่สุด
    แต่หลังจากที่ไลน์บรีด จนสายเลือดแน่นแล้ว เรียกว่าเพดดีกรีทั้งสายบนและสายล่างมีหมาซ้ำกันหลายๆ ตัว ต้อง out breed ออกไปเอาสายข้างนอกบ้างครับ เพื่อแก้ปัญหาโรคทางพันธุกรรม
    แต่การผสม out breed นั้น คาดการณ์เรื่องความสวยงามไม่ได้เลยครับ
    อย่างบ้านผม คอก QooBall Chihuahuas เน้นชิวาวาสายพันธุ์ญี่ปุ่นเป็นหลัก วันนึง สายชนกัน ก็ต้อง out breed ออกไป
    ผมก็เลือก พ่อพันธุ์ american champions ผสมกับตัวเมีย thailand champion สายญี่ปุ่นของผม ผลปรากฎว่า ลูกหมาสามครอกที่ผสมมา รวมราคาค่าผสมก็หลายหมื่น ลูกหมาเข้าป่าหมดเลยครับ ไม่มีตัวไหนประกวดได้ซักตัว ต้องอาศัยเอามาตีกลับญี่ปุ่นเหมือนเดิม ในรุ่นหลานถึงจะพอกลับมาสวยได้

    เรื่องการผสมต้องอยู่ที่ว่า จะผสมเพื่ออะไรครับ ถ้าต้องการความแข็งแรง ลดข้อบกพร่องทางพันธุกรรม การผสมแบบ out breed น่าจะดีที่สุึดคัรบ
    แต่ถ้าต้องการผสมเพื่อความสวยงาม ดึงเอาจุดด้อย ที่เป็นที่ชื่นชอบของคน เอามาใช้ ผมคิดว่า line breed น่าจะโอเค
    แต่การผสมแบบ in breed ผมไม่เคยผสมครับ แล้วก็ไม่คิดว่าจะผสมด้วยครับ




    ตอบลบ
  3. 1. การผสมแบบเลือดชิด (INBREEDING)
    คือการผสมกันระหว่างญาติที่ใกล้ชิดกันมากที่สุด หรือสายเลือด เดียวกัน เช่นพ่อกับลูก แม่กับลูก พี่กับน้อง เป็นต้น วิธีการนี้ ถือว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่มีปฏิบัติกันในการเพาะพันธุ์สุนัขตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อวัตถุประสงค์ให้ได้มาซึ่งลูกสุนัขที่น่าจะมีโอกาสมีคุณลักษณะที่เหมือนกับพ่อหรือแม่ตัวใดตัวหนึ่งมากที่สุด ตามที่ตั้งความหวังเอาไว้ แต่มีข้อแม้ว่าต้องไม่มีข้อบกพร่องร้ายแรงทั้งสองฝ่าย และยังคงสมควรอย่างยิ่งที่ จะต้องมีจุดเด่นที่ถูกต้องและเป็นที่ต้องการสำหรับมาตรฐานพันธุ์จริง ๆ อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีพ่อพันธุ์ สุนัขที่ยอดเยี่ยมทั้งด้านผลการประกวดและผลการให้ลูกที่ดีเลิศโดย ลูก ๆ ของมันสามารถได้ตำแหน่งแชมป์เปี้ยน เกือบทุกตัว และแต่ละตัวยังสร้างผลงานได้อย่างพ่อ ซึ่งทำให้เกิดความคิดที่อยากจะได้ลูกสักตัวหนึ่งที่สุดยอด เหมือนกับพ่อเก่งตัวนั้น และวิธีที่จะให้ได้มาก็จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากการคัดลูกสาวของมันเอง แต่มีข้อ แม้ว่าตัวแม่ของลูกตัวนี้ต้องเป็นแม่พันธุ์ที่เรียกว่าสุด ๆ ไม่แพ้พ่อของมันทีเดียว พอได้ลูกสาวตัวนี้มาเมื่อมา ผสมแบบเลือดชิดกับพ่อของมันแล้ว ทีนี้ก็มาตั้งความหวังกันได้แล้วว่า ลูกสุนัขที่จะเกิดมาจะมีโอกาสเหมือนกับ ผู้ที่เป็นทั้งปู่และพ่อของพวกมันหรือไม่ ซึ่งต้องอาศัยโชคร่วมด้วยเพราะการวางแผนที่ดีเลิศเพียงใดก็ไม่อาจ สำเร็จได้หากไม่มีเทพีแห่งโชคร่วมทางไปด้วย อาจกล่าวได้ว่า วิธีนี้เป็นการเพิ่มสิ่งที่ดีที่สุดยอดให้เพิ่มเป็นทวีคูณ แต่มันก็เป็นเสมือนดาบสองคม วิธีการดังกล่าวอาจจะกลายเป็นการเพิ่มสิ่งที่แย่ที่สุดได้เพิ่มเป็นทวีคูณก็ได้ หาก ผู้ปฎิบัติไม่มีความรู้ความชำนาญดีพอและผลร้ายที่จะเกิดจากการผสมแบบเลือดชิดที่ปรากฏให้เห็นในลูกสุนัข คือเพดานโหว่ โลหิตจาง แคระแกร็น โรคฮิป ฯลฯ ดังนั้นวิธีการนี้จึงไม่สมควรที่พวกมือใหม่จะเลือกใช้ ควร ปล่อยให้เป็นงานของผู้ที่มีประสบการณ์ และมีความรับผิดชอบสูงจะดีกว่า และก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องประ สบความสำเร็จเสมอไปด้วย ดังจะเห็นว่า บรรดาพ่อพันธุ์ดัง ๆ ในปัจจุบันก็ไม่ได้เกิดจากวิธีนี้


    2. การผสมแบบข้ามสายเลือด (OUTCROSSING)
    คือการผสมกันระหว่างสัตว์สองตัวที่มีสายพันธุ์เดียวกัน แต่ไม่ผูกพันกันเลยในสายเลือด คือ ย้อนกลับไปสี่รุ่นของบรรพบุรุษของทั้งคู่ไม่มีความเกี่ยวข้องทางเครือญาติ กันเลย

    ที่เลือกปฎิบัติกันก็เพราะ ความต้องการที่จะนำเอาส่วนที่ดีของอีกสายเลือดหนึ่งมาเสริมให้กับอีก สายเลือดดีอีกสายหนึ่งที่ยังขาดอยู่ในส่วนนั้นเท่านั้น เช่น ถ้าหากสุนัขของเรามีคุณภาพได้มาตรฐานดีอยู่แล้ว และเกิดจากการ LINEBREED มาตลอด แต่หากเราเห็นว่าสุนัขในอีกสายเลือดหนึ่งมีลักษณะโครงสร้างที่เรา ชอบ เช่น การมีโครงกระดูกที่ใหญ่กว่า หัวกะโหลกที่มีสัดส่วนจัดว่าดีเลิศตามมาตรฐานสายพันธุ์ที่เราชอบมาก กว่าในสุนัขของเราอีก หรือแม้แต่สีที่เราพอใจกว่า เราก็สามารถจะจับมา CROSS กับสายของเราก็ได้ แต่สุนัข ตัวดังกล่าวต้องมาจากการผสมแบบ LINEBREED หรือแม้แต่ INBREED อย่างมีคุณภาพเหมือนกับของ เรา อย่างนี้จึงจะพอตั้งความหวังว่าอาจมีโอกาสได้ในสิ่งที่ปรารถนาได้ แต่จะให้ได้ผลดีจริงต้องสืบถึงเทือกเขา เหล่ากอให้รู้แจ้งก่อน เพราะโอกาสที่เราอาจจะไปรับเอาจุดด้อยแฝง





    ตอบลบ
  4. ใครเลี้ยงหมาสองตัว ผู้ เมีย ควรอ่าน


    จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อสัตว์ผสมพันธ์กันเองในเครือญาติ
    ด้านดี ได้สายพันธ์ที่นิ่ง ตรงตามที่ผู้ผสม ( บรีดเดอร์ ) ต้องการ
    ด้านลบ จะเกิดการแสดงปมด้อยของสายพันธ์ออกมา ทำให้มีภูมิต้านทานโรคต่ำ สภาวะจิตใจแปรปรวนง่าย ความฉลาดลดลง แถมขึ้นร้ายแรงอาจถึงพิการแบบหูหนวกตาบอด และอาจเป็นโรคฮีโมฟีเลีย ( Hemophilia ) อีกด้วย
    โรคฮีโมฟีเลีย ( Hemophilia ) คืออะไร
    ภาวะเลือดออกง่าย หรือออกแล้วหยุดยาก อาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหลอดเลือด เกล็ดเลือด หรือระบบการแข็งตัวของเลือด
    ลักษณะของเลือกออกตามผิวหนัง อาจเป็นจุดแดงขนาด หนึ่งมิลฯ หรือเป็นจ้ำเขียว หรือเป็นก้อนนูน โยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรม สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม โครโมโซม X จึงพบว่ามีแต่เพศผู้เท่านั้นที่เป็นโรคนี้ โดยเพศเมียจะไม่แสดงอาการแต่จะอยู่ในสภาพของพาหนะ
    หากเกิดอาการเลือดออกในกล้ามเนื้อก็จะเป็นพังผืด หากเกิดบริเวณข้อต่อ ก็อาจทำให้ข้อยึด ยืดหดไม่สะดวก ถ้าเกิดบริเวณคอ ก็อาจอุดตันหลอดลม ทำให้หายใจไม่สะดวก ถ้าออกในสมองก็ ………… ( นู๋ก็อาจไปเกิดใหม่เร็วขึ้นสิครับ)





    ฮีท

    เมื่อสุนัขก้าวเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ จะแสดงความพร้อมออกมา ซึ่งหนึ่งในนั้นได้แก่ "ฮีท" นั้นเอง ในสุนัขเพศเมีย จะเริ่มมี ฮีท ตั้งแต่ อายุประมาณ 6 เดือน หากสุนัขมีสภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแล้ว จะเป็นฮีทปีละ 2 ครั้ง ซึ่งเราจะสามารถทำการผสมได้ในช่วงนี้ แต่โดยปกติแล้ว ฮีทแรกจะไม่นิยมผสม นัยว่ายังเร็วเกินไปนั่นเอง เพราะสุนัขยังมีความเป็นเด็กอยู่มาก ยังเป็นวัยรุ่น หากผสมแล้วลูกที่ได้จะไม่แข็งแรง ได้ลูกน้อย และอาจถึงขั้นไม่ดีต่อสุขภาพของแม่สุนัขเองด้วย การเตรียมพร้อมก่อนการผสมนั้น ควรเริ่มตั้งแต่การเสาะหาพ่อพันธุ์ที่ดีในกรณีที่เรามีแม่พันธุ์อยู่แล้ว การผสมควรคำนึงถึงลักษณะสายพันธุ์ โครงสร้างต่างๆ ต้องถูกต้องตามมาตรฐานสายพันธุ์

    ตอบลบ
  5. วงจรการเป็นสัด

    ธรรมชาติการสืบพันธุ์ของหมา
    หมาตัวเมียตามปกติเป็นสัด ปีละ 2 ครั้ง ซึ่งเดิมทีเชื่อว่าเฉพาะเดือน 12 แต่ปัจจุบันพัฒนามาเป็น 2 ครั้งต่อปี คือ ทุก 6 เดือน โดยเป็นสัดครั้งแรกในช่วงอายุ 8 เดือน ถึง 1 ขวบ บางตัวเป็นเร็ว บางตัวเป็นช้า ขึ้นกับความสมบูรณ์ของตัวหมาเอง

    วงจรการเป็นสัด (Estrus cycle)
    วงจรการเป็นสัดของหมา กินเวลาทั้งสิ้น 6 เดือน โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ

    1.ระยะเริ่มเป็นสัด (Proestrus period) กินเวลาประมาณ 4 -15 วัน แต่เฉลี่ยแล้ว 9 วัน เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงบนอวัยวะเพศเมียคือ เริ่มบวมขึ้นเรื่อย ๆ มีเมือกขาวใสในระยะต้นและเปลี่ยนเป็นขุ่นจนมีเลือดปนออกมาเมื่อนานวันขึ้น ระยะนี้หมาตัวผู้เริ่มสนใจมาดมก้นตัว
    เมีย แต่หมาตัวเมียยังไม่ยอมให้ผสมคงบ่ายเบี่ยงหลีกหนีและใช้หางปิดอวัยวะเพศไว้ ไม่ให้ถูกกล้ำกราย ศึกหน้านางหรือศึกชิงนางมักเกิดขึ้นพร้อม ๆ ไปด้วย

    2.ระยะสัด (Extrus period) ช่วงนี้กินเวลา 4-8 วัน นับจากวันที่หมดระยะเริ่มสัด หรือเลือดที่ไหลหยุดไปนั่นแหละ คราวนี้หมาตัวเมียจะคลอเคลียตัวผู้และบิดหางไปด้านข้างเปิดทางให้ การผสมพันธุ์จึงเริ่มขึ้น โอกาสผสมได้ลูกดีที่สุดคือช่วง 12-72 ชั่วโมงภายหลังเริ่มสัดไปได้ 3-5 วัน หากมีเจ้าบ่าวมากกว่าหนึ่ง มาร่วมลงแขกในช่วงเวลาห่างกันระหว่าง 24-48 ชั่วโมง แล้วไซร้รับรองได้ว่าลูกที่ออกมาหน้าตาต่าง ๆ กันไปแน่นอน

    3.ระยะหลังสัด (Anestrus period) ถ้าหมาไม่ท้อง (ซึ่งกินเวลาประมาณ 2 เดือน) ก็จะเข้าสู่ระยะหลังสัดเป็นระยะเวลา 2 เดือน เช่นกัน โดยไม่มีความเปลี่ยนแปลงภายนอกให้เห็นอวัยวะเพศยังมีลักษณะเหมือนปกติปราศจากน้ำเมือกหรือเลือด

    4.ระยะพัก (Anestrus period) ช่วงนี้กิจกรรมของระบบสืบพันธุ์ในหมาตัวเมียจะหยุดลงชั่วคราวเป็นเวลาประมาณ 90-120 วัน ลักษณะภายนอกเช่นเดียวกับระยะหลังสัด เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของมดลูกในการเข้าสู่ระยะก่อนสัดตามวงจรต่อไป

    ย้ายมาจาก board เก่าโดยคุณ Pecan

    การดูแลและข้อควรระวังเมื่อสุนัขมีฮีท

    การดูแล
    ถ้าเป็นหมาขนาดเล็ก ก็จะไม่เลอะเทอะมาก สมัยนี้มีกางเกงอนามัยจำหน่าย มีรูสำหรับใส่หาง มีพื้นที่วางผ้าอนามัยแผ่น ๆ

    บางคนก็ชอบ บางคนก็ไม่ชอบ (แต่หมาคงไม่ชอบ อิอิ)

    ข้อควรระวัง

    1. หมาตัวเมีย ฮีทแรกไม่ควรผสม

    2. ถ้าเลี้ยงหลายตัว แล้วมีตัวผู้ ควรระวัง กระพริบตาเดียวได้เลี้ยงหลานแน่

    3. จับแยก ตัวผู้จะน่าสงสารมากๆ เวลาได้กลิ่น

    4. รักษาความสะอาด


    ตอบลบ
  6. โรคแท้งติดต่อ

    โรคแท้งติดต่อถูกค้นพบในปี ค.ศ.1966 ที่สหรัฐอเมริกา เกิดจากแบททีเรียที่มีชื่อว่า บรูเซลล่า เคนีส หรือเรียกอีกชื่อว่า บลูเซลโลซีส เชื้อนี้เป็นสาเหตุการแท้ง เกิดความไม่สมบูรณ์ในพันธ์ที่ฟาร์สุนัขแห่งหนึ่ง ต่อมาก็พบว่าระบาดไปเกือบทั่วโลก
    ในประเทศไทยค้นพบในปี 2540 -2541 ช่วงก่อนยุค SAMF ไทยเศรษฐกิจดีมาก ทำให้มีคนสั่งสุนัขจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก บางคนไม่ได้ตรวจหาเชื้อแท้งติดต่อ ดูแค่ว่า ฉีดวัคซีน รูปร่างดี ตรงตามสายพันธ์ ข้อเสียของโรคแท้งติดต่อ

    1. เกิดการแท้งในสุนัขเพศเมีย

    2. เกิดการผสมไม่ติดในพ่อพันธ์ที่นำมาผสมด้วย และยังติดยังสุนัขตัวอื่นในฟาร์มเดียวกัน

    3. ติดต่อไปสู่คนเลี้ยงที่ดูแลใกล้ชิด

    อาการ
    1.แม่พันธ์ไม่มีอาการใดๆ ไม่มีไข้ ปกติเหมือนสุนัขทั่วไป มีปัญหาเรื่องผสมติดหรือไม่ติด แต่มีการตายของลูกในท้อง ถ้าแม่สุนัขตั้งท้องก็จะทำให้แท้งออกมา ช่วงการตั้งท้อง 40 - 45 วันขึ้นไป

    2.พ่อพันธ์ไม่มีอาการใดๆ ไม่มีไข้ ปกติเหมือนสุนัขทั่วไป มีปัญหาเรื่องผสมไม่ติด คุณภาพน้ำเชื้อไม่ดี การอักเสบของถุงอัณฑะ ท่อน้ำเชื้ออักเสบ บางตัวอาจทำให้อัณฑะฝ่อ

    การติดต่อจากสุนัขไปสู่สุนัข คือ การเลีย การกิน รก น้ำคร่ำ น้ำอสุจิ น้ำปัสสาวะจากตัวผู้ เป็นการติดต่อที่สำคัญมากในการเลี้ยงรวมกันในบ้าน

    การติดต่อจากสุนัขสู่คน เกิดในต่างประเทศ แต่ไม่พบการแท้งในคน อาการปวดศีรษะ เป็นไข้อ่อนๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ ต่อมน้ำเหลืองโตบางทีก็หายโดยไม่ทราบสาเหตุ สามารถรักษาอาการให้หายโดย ใช้ยาปฏิชีวะนะกลุ่มเตร้า ไดไฮโรสเตรบโตมัยซิน

    วิธีการตรวจ

    1.เจาะเลือด ต้องใช้เวลานาน บางฟาร์มหากจะควบคุมจริงๆ ต้องนำสุนัขทุกตัวมาเจาะเลือดตรวจ

    การควบคุมและวิธีป้องกัน

    1. การทำหมัน

    2. กำจัดทิ้ง ในต่างประเทศนิยมทำกัน ฉีดยาให้หลับ แต่ประเทศไทยไม่นิยมเป็นการฆ่าสัตว์

    ในปัจจุบันตรวจหาโรคยังไม่พบในประเทศไทยมากนัก แต่ก็บอกไม่ได้ว่ามีการระบาดมากน้อยเพียงใด วิธีที่ดีที่สุดของคนเลี้ยงคือ ต้องตรวจโรคนี้สม่ำเสมอไม่เฉพาะพ่อพันธ์แม่พันธ์ แต่ต้องทุกตัว ถ้าพบสิ่งปกติถ้ามีของไหลทางช่องคลอด ต้องคำนึงถึงโรคเหล่นี้ไว้

    สำหรับโดยความเห็นส่วนตัวพี่ ในประเทศไทยมีโรคแท้งติดต่อเกิดขึ้นค่ะ จะมีผู้ที่รู้เรื่องนี้ซึ่งเขาได้ทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงซึ่งได้มีการรักษายอร์คตัวผู้ดังกล่าว น่าสงสารมากค่ะ ได้บอกกับพี่ว่า ถ้าหนุ่มยอร์คที่บ้านพี่จะให้ใครผสมด้วย ต้องดูให้ดีเพราะตอนนี้มีโรคแท้งติดต่อเกิดขึ้น ควรจะมีใบเจาะเลือดมาให้ดูด้วย เพราะถ้าเกิดโรคนี้กับยอร์คที่บ้านพี่จะเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่ว่าผุ้ที่พาสุนัขมาผสมจะเลี้ยงไม่ดี แต่มันน่ากลัวตรงที่อาการปกติมาก ซึ่งพี่ก็กลัวเหมือนกัน เพราะอาการจะมีแสดงออก เหมือนสุนัขปกติทั่วไป นอกจากจะเกิดการอักเสบที่อัณฑะ การที่เรื่องพวกนี้ไม่เป็นที่แพร่หลายเพราะว่า จะมีผลกระทบการผู้ที่เพาะสุนัขค่ะ อีกอย่างยอร์คที่บ้านผสมกับตัวนอกบ้านแค่ครั้งเดียว พี่จะไม่ค่อยให้ผสมนอกจากคนที่รู้จักหรือได้พูดคุยกันมาก่อนค่ะ


    ตอบลบ