ตำนานสงกรานต์ สืบสานวัฒนธรรมไทยสี่ภาค
สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่มีความงดงาม อ่อนโยน เอื้ออาทร และเต็มไปด้วยบรรยากาศของความกตัญญู ความสนุกสนาน ความอบอุ่น และการให้เกียรติเคารพซึ่งกัน โดยใช้ “น้ำ” เป็นสื่อในการสร้างสัมพันธไมตรี
ตามคติโบราณที่สืบทอดกันมาแต่เดิมจนถึงปัจจุบัน ถือว่าวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย โดยปกติกำหนดวันสงกรานต์ไว้ ๓ วัน วันแรกเรียกว่า วันมหาสงกรานต์ คือวันที่พระอาทิตย์ เคลื่อนจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ วันที่ ๒ เป็นวันเนา และวันที่ ๓ เป็นวันเถลิงศก (วันขึ้นปีใหม่เปลี่ยนจุลศักราช)
ปฏิทินหลวงในปัจจุบันกำหนดให้วันที่ ๑๓ – ๑๕ เมษายน เป็นวันเทศกาลสงกรานต์ แต่วันเถลิงศกยังอาศัยการคำนวณอยู่ บางปีจึงเป็นวันที่ ๑๕ เมษายน และบางปีเป็นวันที่ ๑๖ เมษายน
"ประกาศสงกรานต์" |
ถือเป็นประกาศของทางราชการอย่างหนึ่ง กล่าวคือ เมื่อสิ้นสุดปีหนึ่ง ๆ จะเปลี่ยนปีนักษัตรเริ่มศักราชใหม่ ทางราชการจะประกาศสงกรานต์ให้ราษฎรได้ทราบ เกี่ยวกับวัน เดือน ข้างขึ้น ข้างแรมในปีต่อไป
"เปิดตำนานวันสงกรานต์"
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสงกรานต์มาแต่สมัยโบราณว่า ท้าวกบิลพรหมซึ่งเป็นเทพชั้นพรหมแพ้พนัน ธรรมบาลกุมาร เด็กอายุ ๗ ขวบ ที่เรียนจบพระคัมภีร์ไตรเพท ด้วยปัญหา ๓ ข้อ คือ ในเวลาเช้า เวลาเที่ยง และเวลาค่ำ มนุษย์นั้นมีราศีอยู่ที่ใดบ้าง จึงต้องตัดเศียรตัวเองบูชาธรรมบาลกุมารตามสัญญาที่ตกลงกัน แต่เศียรของท้าวกบิลพรหมนี้ร้อนแรง หากวางบนแผ่นดินจะเกิดไฟไหม้โลก ถ้าโยนขึ้นบนอากาศฝนจะแล้ง หากทิ้งลงในมหาสมุทรน้ำจะแห้ง จึงมอบหน้าที่ให้ธิดาทั้ง ๗ นาง ผลัดเปลี่ยนกันอัญเชิญเศียรท้าวกบิลพรหมเวียนประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเช่นนี้ประจำทุกปี ธิดาทั้ง ๗ นางนั้น มีชื่อต่าง ๆ กัน แต่รวมเรียกว่า นางสงกรานต์ทั้งสิ้น คือ |
๑. นางสงกรานต์ทุงษะเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์ ทรงพาหุรัด ทัดดอกทับทิม ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วปัทมราช (แก้วทับทิม) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหารคืออุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ
๒. นางสงกรานต์โคราคะเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันจันทร์ ทรงพาหุรัด ทัดดอกปีบ ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วมุกดาเป็นเครื่องประดับ ภักษาหารคือเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ)
๓. นางสงกรานต์รากษสเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันอังคาร ทรงพาหุรัด ทัดดอกบัวหลวง ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วโมรา ภักษาหารคือโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังวราหะ (สุกร)
๔. นางสงกรานต์มณฑาเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันพุธ ทรงพาหุรัด ทัดดอกจำปา ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วไพฑูรย์ ภักษาหารคือนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเข็ม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา)
๕. นางสงกรานต์กิริณีเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดี ทรงพาหุรัด ทัดดอกมณฑา (ยี่หุบ) ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วมรกต ภักษาหารคือถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังคชสาร (ช้าง)
๖. นางสงกรานต์กิมิทาเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันศุกร์ ทรงพาหุรัด ทัดดอกจงกลนี ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วบุษราคัม ภักษาหารคือกล้วยและน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (กระบือ)
๗. นางสงกรานต์มโหธรเทวี เป็นนางสงกรานต์ประจำวันเสาร์ ทรงพาหุรัด ทัดดอกสามหาว (ผักตบชวา) ทรงอาภรณ์ด้วยแก้วนิลรัตน์ ภักษาหารคือเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง)
นอกจากนี้ ตามตำนานยังมีความเชื่อว่าหากในปีใดนางสงกรานต์ยืนมา จะเกิดความเดือดร้อนเจ็บไข้ ถ้านางสงกรานต์นั่งมา จะเกิดความเจ็บไข้ ผู้คนล้มตายและเกิดเหตุเภทภัยต่าง ๆ หากนางสงกรานต์นอนลืมตา ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข และถ้าในปีใดนางสงกรานต์นอนหลับตา พระมหากษัตริย์จะเจริญรุ่งเรืองดี
ที่มาภาพนางสงกรานต์ : https://today.line.me/th/v2/article/3qOJJW
"สืบสานวัฒนธรรมไทยสี่ภาค"
คนไทยในแต่ละภูมิภาคจะมีรูปแบบ พิธีกรรม จารีต ความเชื่อ เอกลักษณ์ และการจัดกิจกรรมที่แตกต่างกันไปตามคติความเชื่อและการดำเนินชีวิต แต่กิจกรรมหลัก คือ การทำบุญถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ การอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว การรดน้ำดำหัวขอพรผู้อาวุโส การสรงน้ำพระ การก่อพระเจดีย์ทราย การเล่นน้ำ การละเล่นพื้นบ้าน การแสดงมหรสพ และการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อสร้างความรื่นเริงและความสามัคคีกันในครอบครัวและในชุมชน ซึ่งแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน |
ภาคเหนือ
ประเพณีสงกรานต์ภาคเหนือ เรียกว่า “ปเวณีปีใหม่” หรือ “ปาเวณีปีใหม่” อ่านว่า “ป๋า-เว-นี-ปี๋-ใหม่” จัดขึ้นอย่างน้อย 3 – 5 วัน เรียกวันที่ 13 เมษายนว่า วันสังกรานต์ล่อง (อ่านว่า สังขานล่อง) หมายถึง วันที่ปีเก่าผ่านไป หรือวันที่สังขารร่างกายแก่ไปอีกปี
วันแรก คือ วันสังกรานต์ล่อง ชาวล้านนามีความเชื่อว่า ตอนเช้ามืดจะมีปู่สังกรานต์หรือย่าสังกรานต์ สวมใส่เสื้อผ้าสีแดงล่องแพไปตามลำน้ำนำสิ่งชั่วร้ายมาด้วย ดังนั้นชาวบ้านจะทำการยิงปืนหรือจุดปะทัดเพื่อเป็นการปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกไป อีกทั้งยังนำพระพุทธรูปมาชำระและสรงน้ำอบโดยใช้น้ำขมิ้นส้มป่อย และทำความสะอาดบ้านเรือน
วันที่สอง คือ วันเนา หรือ วันเน่า หรือ วันดา ชาวล้านนามีความเชื่อว่า ห้ามผู้ใดทะเลาะเบาะแว้งกัน พิธีกรรมของวันเนานี้จะตระเตรียมสิ่งของและอาหารเพื่อนำไปทำบุญในวันพญาวัน ช่วงบ่ายจะขนทรายเข้าวัดและตัดกระดาษเป็นธงสีต่าง ๆ เรียกว่า “ตุง” สำหรับปักที่เจดีย์ทราย
วันที่สาม คือ วันพญาวัน เป็นวันเริ่มศักราชใหม่ มีการทำบุญตักบาตร ทำทานขันข้าว (ตาน-ขัน-เข้า) เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว มีการไปคารวะผู้ใหญ่ เรียกว่า “ดำหัว”
วันที่สี่ คือ วันเล่นสาดน้ำ เรียกว่า วันปากปี๋ หมายถึง การรดน้ำดำหัวเจ้าอาวาสวัดอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง
วันที่ห้า คือ วันปากเดือน ถือเป็นวันเริ่มเดือนใหม่ มีการดำหัวผู้ใหญ่และการเล่นสาดน้ำ
ประเพณีสงกรานต์ภาคเหนือ
ภาคอีสาน
ประเพณีสงกรานต์ภาคอีสาน เรียกว่า “บุญสงกรานต์” หรือ “บุญเดือนห้า” หรือ “สังขานต์”
วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า “มื้อสงกรานต์ล่อง” หรือ “มื้อสงกรานต์พ่าย”
วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า “มื้อเนา” ชาวบ้านจะแต่งกายสวยงาม นำอาหารไปตักบาตรที่วัด ขอพรจากพระภิกษุผู้ใหญ่ และสรงน้ำพระพุทธรูปรดไปตามรางริน หนุ่มสาวมักรวมกลุ่มไปรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ มีการจัดทำบายศรีสู่ขวัญผู้ใหญ่ หลังจากนั้นจึงเล่นรดน้ำกันเอง และช่วงกลางคืนมีการร่วมกันสวดมนต์เย็นและฟังธรรม
วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า “มื้อสงกรานต์ขึ้น” นิยมฉลองสงกรานต์ต่อเนื่อง 7 – 15 วัน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์คนที่ไปทำงานยังต่างถิ่นจะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อเป็นการรวมญาติและทำบุญอัฐิบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เรียกว่า “สักอนิจจา”
การรดน้ำสงกรานต์ (https://www.admissionpremium.com/content/2482) | สงกรานต์วัดไชยศรีบ้านสาวะถี (https://travel.mthai.com/region/208816.html) |
การละเล่นมหรสพพื้นบ้านในเทศกาลสงกรานต์ ภาคกลาง (https://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=35&chap=2&page=t35-2-infodetail04.html) | ภาพจิตรกรรมฝาผนังพิธีอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถาณมงคล (https://bit.ly/3EGzwN9) |
พิธีอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ในเทศกาลสงกรานต์ (https://www.facebook.com/chiangmaicityheritagecentre/) . | พระพุทธสิหิงค์องค์จำลอง เปิดให้ประชาชนร่วมสรงน้ำ และสักการะบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลในช่วงสงกรานต์ (https://mgronline.com/local/detail/9650000031314) |
สงกรานต์พระประแดงในอดีต (https://bit.ly/39cvccK) | ขบวนแห่รถบุปผาชาติ สงกรานต์พระประแดง (https://bit.ly/3OAu8iT) |
เทศกาลสงกรานต์พระประแดง (https://travel.mthai.com/news/209549.html) | สงกรานต์พระประแดงสมัยปัจจุบัน (https://travel.mthai.com/news/209549.html) |
การประกวดเทพีวิสุทธิกษัตริย์ จัดขึ้นในงานประเพณีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ (https://www.facebook.com/451895001672098/posts/624312141097049/) | การประกวดเทพีวิสุทธิกษัตริย์ จัดขึ้นในงานประเพณีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ (https://www.matichon.co.th/publicize/news_2671748) |
“การละเล่นครื้นเครง”
ภาคกลาง
การละเล่นสะบ้า (http://article.culture.go.th/index.php/) |
ภาพการละเล่นภาคเหนือ – ฟ้อนรำ (https://www.artscouncilofsnoco.org/culture-thailand-2/) |
การละเล่นภาคอีสาน - รำตรุษ หรือ เรือมตรด (https://www.m-culture.go.th/sisaket/ewt_news.php?nid=1015&filename=index) |
อุปกรณ์การละเล่นภาคอีสาน - รำตรุษ หรือ เรือมตรด (https://www.m-culture.go.th/sisaket/ewt_news.php?nid=984&filename=index) |
"รื่นรมย์บรรเลงเพลงไทย" |
เพลงและดนตรีเป็นสิ่งที่คู่กับวัฒนธรรมและประเพณีของไทย เนื่องจากวิถีชีวิตคนไทยเป็นชนชาติที่ชอบความสนุกสนานรื่นเริง คนไทยมีความคิดว่าหากชีวิตมีความสนุกชีวิตนั้นก็จะเป็นชีวิตที่ดีและสมบูรณ์ เมื่อมีประเพณีไทยสิ่งที่ขาดเสียไม่ได้จึงเป็นเพลงและดนตรี ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและความรื่นเริงจึงมักมีการเล่นเพลงและดนตรีไทยเพื่อให้ความบันเทิง
๒. เพลงพวงมาลัย เป็นเพลงร้องโต้ตอบในประเพณีสงกรานต์ของภาคกลาง เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี้ยวพาราสี มีทั้งร้องแบบเร็ว โดยใช้กลอนสั้น และร้องแบบช้า โดยใช้กลอนยาว มักขึ้นต้นเพลงด้วยคำว่า “เอ้อระเหยลอยมา...” เวลาเล่นจะตั้งวงกันตามลานบ้าน ลานวัด ตีวงเป็นวงกลมชายครึ่งหญิงครึ่ง มีพ่อเพลงแม่เพลงรำโต้ตอบกัน นิยมเล่นกันในวันสงกรานต์ประกอบการเล่นลูกช่วง (ช่วงชัย) เมื่อฝ่ายใดแพ้ก็ต้องออกมารำ เป็นเพลงที่ร้องง่ายและให้ความสนุกสนาน
๔. เพลงฮินเลเล เป็นเพลงร้องโต้ตอบกันด้วยเรื่องเกี้ยวพาราสี ขึ้นต้นเพลงว่า “ฮินเลเล ฮินเลเล” มีจังหวะกระชั้นและเนื้อร้องสั้นมาก เพียงบทละ ๒ วรรค คำลงท้ายสะกดด้วยสระเอเสมอ มักตั้งวงเล่นตามบ้านและลานวัดในช่วงประเพณีสงกรานต์ของภาคกลาง
๖. เจรียงตรษ หรือ เจรียงตรุษ เป็นเพลงพื้นบ้านที่นิยมเล่นในเทศกาลสงกรานต์ภาคอีสาน ส่วนใหญ่พบมากในเขตอีสานใต้ ผู้เล่นจะรวมกลุ่มกันเป็นคณะ เที่ยวร้องอวยพรปีใหม่ตามบ้านต่าง ๆ เหมือนกับเพลงบอกทางภาคใต้ เครื่องมือที่นำไปด้วยมีกลองกันตรึม ๑ คู่ หรืออาจจะเพิ่มอย่างอื่นเข้าไปอีกตามความสนุก กับไม้จองกรอง ซึ่งเป็นไม้ใช้ถือกระทุ้งกับพื้น เวลากระทุ้งจะมีเสียงลูกสะบ้า ลูกกระพรวนที่ผูกอยู่ดังเป็นจังหวะ เมื่อร้องอวยพรแล้ว เจ้าของบ้านจะบริจาคเงินทองข้าวของไปทำบุญหรือร่วมสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์
เครื่องดนตรีที่นิยมใช้ในการเจรียง
กลองกันตรึม หรือ “สโกล” เจ้าของเสียง “โจ๊ะกันตรึม โจ๊ะ ตรึม ตรึม” กลองประกอบจังหวะ ที่เป็นที่มาของคำ “กันตรึม” | ซอกันตรึม หรือ “ตรัว” . . | ปี่อ้อ หรือ ‘แป็ยออ’ เครื่องดำเนินทำนองสำคัญ อีกชิ้นในวงกันตรึม เลาปี่สร้างจากไผ่ลำเล็ก ลิ้นปี่ใช้ไม้อ้อเหลาปลาย |
ที่มา : KOTAVAREE : http://kotavaree.com/?p=495 |
https://www.youtube.com/watch?v=M6B8KOZGkk8 |
เพลงเจรียงตร๊ษ (สงกรานต์) เจรียงโดย ภาณุวัฒน์ สวัสดิ์รัมย์ ณรงค์เดช เชื้อเมืองพาน : ตรัว พิทยา นิลสุข : กลองกันตรึม |
https://www.youtube.com/watch?v=3JoDOaFs-FQ |
เพลงบอก ตอน ความเป็นมาเพลงบอก (วันสงกรานต์) โดย เพลงบอกสร้อย เสียงเสนาะ หรือ นายสร้อย ดำแจ่ม ศิลปินเพลงบอกชาวใต้ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-เพลงบอก) พ.ศ. ๒๕๓๘ |
สงกรานต์ในดนตรีร่วมสมัยของสุนทราภรณ์
เพลงรำวงวันสงกรานต์ โดยวงสุนทราภรณ์ | |
ที่มา : Thai PBS : https://twitter.com/thaipbs/status/1207307264320606209?lang=fi |
รวมเพลงเทศกาลวันสงกรานต์ ขับร้องประสานเสียงโดย วงสุนทราภรณ์
สงกรานต์ในเพลงไทยลูกทุ่ง
ชุดสงกรานต์บ้านนา ของศิลปิน รุ่งเพชร แหลมสิงห์
“ถนนแห่งสายน้ำชุ่มฉ่ำ” |
ถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร (https://travel.trueid.net/detail/6xajyprVkdwq, https://bit.ly/3rLh2Ws) |
จังหวัดแรกที่นำแนวคิดการจัดงานสงกรานต์แบบถนนข้าวสารมา คือ จังหวัดขอนแก่น โดยใน พ.ศ. 2545 จังหวัดขอนแก่นกำหนดให้ถนนศรีจันทร์ตั้งแต่แยกถนนหน้าเมืองไปจนถึงบริเวณศาลหลักเมืองเป็นถนนสำหรับเล่นน้ำสงกรานต์ ปัจจุบันขยายไปจนถึงประตูเมือง จังหวัดขอนแก่นกำหนดชื่อเรียกเฉพาะงานนี้ว่า “ถนนข้าวเหนียว”
ภาคกลาง | |
ถนนข้าวแช่ (ปทุมธานี) https://bit.ly/3xJYTw1 | ถนนข้าวตอก(สุโขทัย) https://www.banmuang.co.th/news/region/147727 |
ถนนข้าวหลาม (ชลบุรี) https://www.facebook.com/Teeneechonburi1/posts/_rdr | ถนนข้าวคลุกกะปิ (ระยอง) https://bit.ly/3y47x8T |
ภาคอีสาน | |
ถนนข้าวปุ้น(นครพนม) https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/605544 | ถนนข้าวก่ำ (กาฬสินธุ์) http://www.yaikintiew.com/blogs/316 |
ภาคเหนือ | |
ถนนข้าวแต๋น (น่าน) https://mgronline.com/travel/detail/9600000036334 | ถนนข้าวโพด (เพชรบูรณ์) https://bit.ly/3kbuIpf |
ภาคใต้ | |
ถนนข้าวยำ (ปัตตานี) https://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/ | ถนนข้าวดอกข่า (พังงา) https://www.matichon.co.th/region/news_1450004 |
“อาหารไทยสี่ภาคเลิศล้ำ” |
หากกล่าวถึงประเพณีสงกรานต์ นอกจากเรื่องการสรงน้ำพระและรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่เพื่อเป็นสิริมงคลในวันปีใหม่ไทยแล้วนั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกเรื่องคือ อาหารการกินในวันสงกรานต์ ที่มีรายละเอียดความสำคัญในด้านความประณีตในการทำ ความหมายที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตในแต่ละภูมิภาค ซึ่งมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไปตามประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย
(https://www.gourmetandcuisine.com/news/detail/1644) | ข้าวแช่ เป็นอาหารชาวมอญ นิยมทำในช่วงวันสงกรานต์เพื่อถวายพระ ต่อมาคนไทยรับวัฒนธรรมนี้เข้ามาในสมัยรัชกาลที่ ๔ เดิมทีเป็นอาหารชาววัง ต่อมาจึงได้แพร่หลายในหมู่ชาวบ้านทั่วไป |
แกงฮังเล เป็นอาหารที่ชาวเหนือนิยมนำไปทำบุญในประเพณีต่าง ๆ เช่น ทำบุญ ตานขันข้าว และเป็นอาหารที่นำไปไหว้และรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ | (https://goodlifeupdate.com/healthy-food/223122.html) |
(https://www.xn--12cg3cq6bmlr1hc3fujdh.com/2994) | ขนมจีนน้ำเงี้ยว คนเมืองเรียกว่า เข้าหนมเส้นน้ำเงี้ยว เป็นอาหารที่นิยมทำในวันสงกรานต์ของภาคเหนือช่วงเวลาที่ลูกหลานกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ |
แกงขนุน เป็นอาหารชื่อมงคล เชื่อว่าจะช่วยหนุนให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง มีคนค้ำจุนไปตลอดทั้งปี นิยมทำรับประทานกันช่วงวันสงกรานต์ของภาคใต้ในวันปากปี | (https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/960642/) |
(https://kasineeaor187.wordpress.com/) | ขนมจ๊อก หรือ เข้าหนมจ็อก หรือ ขนมนมสาว มีความหมายว่าขนมที่มีลักษณะเป็นจุก ภาคกลางเรียกว่าขนมเทียน เดิมชาวเหนือนิยมทำขนมจ๊อกเฉพาะไส้หวาน ปัจจุบันบางบ้านก็จะมีการทำไส้เค็มด้วย เป็นขนมที่ชาวเหนือนิยมทำกันในช่วงวันสงกรานต์ และนำไปถวายพระในวันเนา |
เข้าหนมปาด หรือ ขนมปาด เป็นขนมพื้นบ้านของชาวไทลื้อ ภาคกลางเรียกว่าศิลาอ่อน ปัจจุบันยังพอหาชิมได้ในพื้นที่อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และตำบลเมืองลี จังหวัดน่าน | (https://www.lannapost.net/2021/09/blog-post_15.html) |
ข้าวแตน (อ่านว่า เข้าแต๋น) นิยมเรียกในภาคเหนือ ส่วนภาคกลางเรียกว่า ขนมนางเล็ด, เข้าฅวบ หรือ ข้าวเกรียบว่าว และ เข้าแคบ หรือ ข้าวแคบ ทั้งสามอย่างเป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียวที่มีความกรอบ นิยมกันใน | ||
ข้าวแตน (https://bit.ly/3rHgCjR) | เข้าฅวบ (https://fat2562.blogspot.com/blog-post.html) | เข้าแคบ (https://bit.ly/38ia447) |
(https://sistacafe.com/summaries/46898) | เข้าพอง (อ่านว่า ข้าวปอง) ภาคกลางเรียกว่า ข้าวพอง ในอดีตมักนำไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพาหนะใช้ในการเดินทาง |
เข้าหนมเกลือ (อ่านว่า เข้าหนมเกื๋อ) หรือ ขนมเกลือ เป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าผสมน้ำเกลือ ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วจึงนำมาห่อใบตองให้มีลักษณะแบน เนื้อขนมที่สุกจะมีสีขาว รสเค็มเล็กน้อย ปัจจุบันมีการเติมกะทิและงาดำ หรือน้ำตาลปี๊บเพื่อเพิ่มรสชาติ | (https://www.lannafood.com/blog/) |
(https://bit.ly/3ka4ZNW) | ข้าวเหนียวแดง หรือชาวล้านนาเรียกว่า ข้าววิตู หรือ เข้าอี่ทู หรือ เข้าวิทู เป็นขนมที่นิยมทำในช่วงสงกรานต์ เพราะเป็นช่วงที่ลูกหลานกลับภูมิลำเนาและร่วมแรงร่วมใจกันทำขนมเพื่อนำไปทำบุญถวายพระ แจกจ่ายแก่เพื่อนบ้านและญาติมิตร รวมทั้งรับประทานกันในครอบครัว |
กาละแม เป็นขนมหวาน นิยมกันในหมู่ชาวมอญ และมีชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบัน | (https://www.agoda.com/th-th/travel-guides/thailand/songkran-festival-2019) |
“ความสำคัญของประเพณี” |
คุณค่าต่อศาสนา วันสงกรานต์เป็นวันทำบุญครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของพุทธศาสนิกชน โดยการทำบุญตักบาตร เลี้ยงพระ ฟังเทศน์ฟังธรรม สรงน้ำพระภิกษุสงฆ์และพระพุทธรูปเพื่อความเป็นสิริมงคลและแสดงความเคารพต่อปูชนียบุคคลที่ดำรงสืบทอดพระพุทธศาสนา การทำบุญทำทาน และการถือศีลปฏิบัติธรรม ล้วนเป็นเหตุแห่งความเจริญรุ่งเรืองของชีวิต และเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนามาจนถึงปัจจุบัน
ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีที่งดงามทรงคุณค่า เป็นช่วงเวลาแห่งการรักษาความสะอาดทั้งกาย ใจ และสิ่งแวดล้อม คุณค่าในการแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและการแสดงความรักความปรารถนาดีและความเอื้ออาทรแก่ญาติมิตร นับเป็นประเพณีแห่งความสมัครสมานสามัคคีในครอบครัว ชุมชน และสังคมไทย ในฐานะประชาชนคนไทยควรตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญ และแก่นแท้ของประเพณีสงกรานต์ที่งดงามและช่วยกันสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามด้วยการยึดถือปฏิบัติกันสืบไป
“สงกรานต์ปีนี้ ๒๕๖๕” |
ในเดือนเมษายน ๒๕๖๕ ที่จะเข้าสู่ช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย กรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้เผยแพร่ประกาศสงกรานต์ พร้อมคำทำนายดวงเมืองประจำปี ของฝ่ายโหรพราหมณ์ กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง ดังนี้
นางกิริณีเทวี | _______________________________________________________________________________ วันที่ ๑๖ เมษายน เวลา ๑๓ นาฬิกา ๔๙ นาที ๔๘ วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่เป็น ๑๓๘๔ ปีนี้ วันพุธเป็นธงชัย วันอังคาร เป็นอธิบดี วันอังคาร เป็นอุบาทว์ วันพฤหัสบดี เป็นโลกาวินาศ ปีนี้วันอาทิตย์ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก ๔๐๐ ห่า ตกในโลกมนุษย์ ๔๐ ห่า ตกในมหาสมุทร ๘๐ ห่า ตกในป่าหิมพานต์ ๑๒๐ ห่า ตกในเขาจักรวาล ๑๖๐ ห่า นาคให้น้ำ ๔ ตัว เกณฑ์ธัญญาหาร ได้เศษ ๒ ชื่อ วิบัติ ข้าวกล้าในภูมินาจะเกิดกิมิขาติ (ด้วงและแมลง) จะได้ผลกึ่งเสียกึ่ง เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีเตโช (ไฟ) น้ำน้อย ____________________________________________________________________________ |
#Songkran2567 #Songkran #SongkranFestival #ThaiNewYear #SongkranThailand #กำเนิดวันสงกรานต์ #ตำนานสงกรานต์ #สงกรานต์ #Thailand'sWaterFestival #Songkran2024 #CelebratingSongkran #TheWaterFestival
ที่มา :: https://prinkotakoon.blogspot.com/2024/04/songkran_12.html , หอสมุดแห่งชาติ , https://www.nlt.go.th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น