Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563

วิจัยกระชายขาวต้านโควิด-19 หลังพบมีฤทธิ์ต้านไวรัส 100%


วิจัยกระชายขาวต้านโควิด-19 หลังพบมีฤทธิ์ต้านไวรัส 100%


 




ทีเซลส์ ผนึกกำลังร่วมกับ มหิดล ต่อยอดผลกระชายขาวต้านโควิด-19 หลังพบมีฤทธิ์ต้านไวรัส 100% พร้อมเปิดช่องรับบริจาคสนับสนุนงานวิจัย

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ผนึกกำลังร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานแถลงข่าว “ประสิทธิภาพของกระชายขาวต้าน COVID-19” ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ นพ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดย ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ เป็นประธานแถลงข่าว “ความสำเร็จการคิดค้นสารออกฤทธิ์ต้าน COVID-19 จากสมุนไพร” ณ ห้องประชุม K102 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท วันที่ 1 มิถุนายน 2563



ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิชาการ ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล, รศ.พญ.อรุณี ธิติธัญญานนท์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และดร.ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา ร่วมสวนาหัวข้อ “ประสิทธิภาพของกระชายขาวต้าน COVID-19” และดำเนินรายการโดย ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

รศ.นพ.ธันย์ สุภัทรพันธ์ รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ด้วยสถานการณ์การระบาด COVID-19 ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของประชากร และระบบเศรษฐกิจทั่วโลก แม้ในปัจจุบันหลายๆประเทศทั่วโลกเริ่มคลายสถานการณ์ล็อคดาวน์ ทั้งนี้ ทั่วโลกยังคงเร่งพัฒนายาต้านไวรัสและวัคซีนสำหรับการป้องกัน รวมถึงมหาวิทยาลัยมหิดลได้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์การระบาดมาตั้งแต่ต้นและระดมทีมนักวิจัยร่วมกันระหว่างคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี และคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จัดเป็น COVID-19 Research Cluster

ทั่งนี้ แบ่งเป็น 5 กลุ่มงานวิจัยหลัก ซึ่ง 1 ใน 5 กลุ่มงานวิจัยคือ Drug Discovery หรือ การค้นหาพัฒนายาใหม่ ร่วมกับกลุ่มงานวิจัยด้าน Serology and Plasma Therapy ซึ่งเป็นการรวมพลังด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องหลักๆ ในการสร้าง platform การตรวจวิเคราะห์หาสารออกฤทธิ์จากสารสกัดธรรมชาติ รวมถึงสมุนไพรไทยที่ใช้เป็นอาหารในชีวิตประจำวัน ที่มีฤทธิ์ต่อ SARS-CoV-2 ได้แก่ ห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยา ตามมาตรฐานความปลอดภัยระดับที่ 3 (Bio Safety Level 3; BSL-3) ในการคัดแยกและเพาะเลี้ยงไวรัส SARS-CoV-2 นำทีมโดย รศ.พญ.อรุณี ธิติธัญญานนท์ และ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา หรือ ECDD ซึ่งเป็นแหล่งคลังจัดเก็บสารสกัด และดำเนินการด้วยเทคโนโลยี High-Throughput Screening (HTS) นำทีมโดย ดร.ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ ในการสร้าง Platform เพื่อตรวจวิเคราะห์ดังกล่าว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิรามาธิบดีฯ และ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่มีเป้าหมายร่วมกันในการสร้างโอกาสต่อยอดความเข้มแข็งของประเทศที่มีอยู่ในช่วงสถานการณ์วิกฤตการระบาด COVID-19 เพื่อค้นหาสารออกฤทธิ์ทางยาและนำเข้าสู่กระบวนการพัฒนายาในขั้นต่อไป

จากการผนึกกำลังร่วมกันครั้งนี้ พบว่าจากการตรวจคัดกรองสารสกัดในคลังจำนวนกว่า 120 ตัวอย่าง พบว่า สารสกัดจากกระชายขาว และขิง มีความโดดเด่นจากสารจำนวน 6 ชนิดที่มีศักยภาพในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของ SARS-CoV-2 ที่ยับยั้งการติดเชื้อของไวรัสได้ 100% ในปริมาณความเข้มข้นของยาระดับน้อยๆ และไม่เป็นพิษต่อเซลล์ ซึ่งผลดังกล่าวได้ผ่านการทดสอบเทียบเคียงกับผลการยับยั้งของ FDA approved drugs ได้แก่ ยา Niclosamide และยา Hydroxychloroquine แล้ว โดยมีแผนการตรวจวิเคราะห์ในเชิงลึกถึงกลไกระดับเซลล์ต่อ

พร้อมทั้งขยายผลการศึกษาประสิทธิภาพของ “กระชายขาว” ซึ่งให้ผลการยับยั้งดีที่สุดมาพัฒนาต่อให้สามารถเข้าสู่ clinical trial โดยในส่วนของ early phase clinical trial จะทำในโรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นหลัก และขยายความร่วมมือออกไปในส่วนของ phase II และ III ในลักษณะของ multicenter study ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถผลิตยาที่เป็น Modernized Thai Traditional Medicine ได้”

ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กล่าวถึงจุดตั้งต้นความร่วมมือระหว่าง ทีเซลส์ (TCELS) ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี “ในการจัดตั้งและร่วมบริหารจัดการ “ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา” หรือ ECDD ตั้งแต่ปี 2557 ถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานรองรับงานวิจัยด้านการศึกษากลไกการเกิดโรคในระดับโมเลกุลภายในเซลล์และการค้นหาสารออกฤทธิ์ทางยาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ตลอดจนสร้างเครือข่ายและมีคลังจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพโดยมีการรวบรวมสารสังเคราะห์และสารสกัดจากธรรมชาติจากทั่วประเทศไทย ภายใต้มาตรฐานสากลคือ ISO9001:2015 และอยู่ระหว่างเตรียมขอรับรองมาตรฐาน ISO17025 และ OECD GLP ในลำดับถัดไป นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายร่วมกันในการสร้างโอกาสให้ประเทศไทยสามารถค้นหาสารสำคัญทางยา และนำเข้าสู่กระบวนการพัฒนายาในขั้นต่อไป

"ในช่วงที่เริ่มมีการระบาดของโควิด-19 เข้ามาในประเทศไทย ทีเซลส์ (TCELS) เล็งเห็นถึงความจำเป็นและโอกาสในการใช้เทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่มีอยู่ มาใช้ประโยชน์ในการศึกษาฤทธิ์ของสมุนไพรไทยต่อไวรัส SAR-CoV-2 โดยผลการคัดกรองสารออกฤทธิ์ที่ได้นี้ จะทำให้ประเทศมีโอกาสต่อยอดสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นทางเลือกใช้ในการรักษา และเตรียมความพร้อมรองรับการระบาดต่อไป" ดร.นเรศกล่าว

ดร.นเรศระบุอีกว่า ทีเซลส์ (TCELS) มีนโยบายสนับสนุนการค้นหาสารออกฤทธิ์ทางยาจากสารสกัดจากธรรมชาติ หรือสารชีวภาพและสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนาสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติกับ Japan Pharmaceutical Manufacturers Association (JPMA) ประเทศญี่ปุ่น และBiotechnology and Pharmaceutical Industries Promotion Office (BPIPO) ไต้หวัน “International Network Agreement of the Natural Products Drug Discovery Consortium under Asia Partnership Conferenced of Pharmaceutical Associations (APAC NPDD)” โดยมีส่วนหนึ่งของข้อตกลงคือ การสร้างขีดความสามารถด้านกำลังคน นักวิจัยของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน โดยทำงานวิจัยในประเทศญี่ปุ่นร่วมกับนักวิจัยในบริษัทผู้ผลิตยาของประเทศญี่ปุ่น และกลับมาทำงานภายใต้กรอบความร่วมมือวิจัยร่วมกับหน่วย ECDD ให้มีองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญด้าน drug discovery และให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี จากการที่มีเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน และผนึกกำลังในการผลักดันของทั้ง 2 หน่วยงาน ในด้านการวางโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ และสนับสนุนงานวิจัยในการค้นหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากสารธรรมชาติ เพื่อพัฒนาไปเป็นยา มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เห็นว่าเป็นการวางรากฐานสำคัญในการรองรับสภาวการณ์ฉุกเฉิน ที่มีการระบาดโรคโรค COVID-19 สามารถค้นหาสารออกฤทธิ์ทางยาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

พร้อมกันนี้ ยังเปิดช่องทางบริจาคเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเพื่อสร้างยารักษาและป้องกันโควิด-19 ผ่าน

•มูลนิธิรามาธิบดีฯ เพื่อโครงการป้องกันและช่วยเหลือสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19
•ธนาคารไทยพาณิชย์ / บัญชีกระแสรายวัน / เลขที่บัญชี 026-3-05216-3
•บริจาคออนไลน์ www.ramafoundation.or.th
•โทรศัพท์ : 0 2201 1111









ที่มา   ::    ผู้จัดการออนไลน์


วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2563

14 เหตุผลดีๆ ที่ทำให้ “ระบบการศึกษาฟินแลนด์” ได้รับยกย่องว่าดีที่สุดในโลก

14 เหตุผลดีๆ ที่ทำให้ “ระบบการศึกษาฟินแลนด์” ได้รับยกย่องว่าดีที่สุดในโลก






7 เหตุผลที่ฟินแลนด์มีการศึกษาดีที่สุดในโลก

7 เหตุผลที่ฟินแลนด์มีการศึกษาดีที่สุดในโลก



ในขณะที่การศึกษาไทยยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาและค้นหาตัวตน ลองไปดูว่าระบบการศึกษาที่ได้รับการยกย่องว่าดีที่สุดในโลก แม้แต่สหรัฐฯก็ยังต้องศึกษาเป็นต้นแบบ อย่างฟินแลนด์ มีการเรียนการสอนกันอย่างไร และเราจะทำตามได้หรือไม่
ในขณะที่การศึกษาไทยยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาและค้นหาตัวตน ลองไปดูว่าระบบการศึกษาที่ได้รับการยกย่องว่าดีที่สุดในโลก แม้แต่สหรัฐฯก็ยังต้องศึกษาเป็นต้นแบบ อย่างฟินแลนด์ มีการเรียนการสอนกันอย่างไร และเราจะทำตามได้หรือไม่
World Economic Forum รวบรวม 7 เหตุผลที่ทำให้การศึกษาของฟินแลนด์ ประเทศเล็กๆในสแกนดิเนเวียที่ไม่ได้มีชื่อเสียงโดดเด่นในด้านใดมากเป็นพิเศษในเวทีโลก กลับเป็นประเทศที่ได้รับการยกย่องว่ามีการศึกษาดีที่สุดในโลกจนสามารถเป็นต้นแบบของการพัฒนาการศึกษาในทุกประเทศได้ และระบบการศึกษาสหรัฐฯไม่สามารถเทียบได้เลย โดยหัวใจสำคัญของความสำเร็จของฟินแลนด์ ก็คือการให้ความสำคัญกับการศึกษาของเด็กตั้งแต่วัยก่อนอนุบาล แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งเสริมคุณภาพการศึกษาให้เข้าขั้นสมบูรณ์แบบ
1. แข่งขันไม่สำคัญเท่าร่วมมือ
โรงเรียนในฟินแลนด์ไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันสร้างชื่อเสียงเพื่อแย่งนักเรียน เพราะไม่มีโรงเรียนเอกชนในประเทศเลย ทุกสถาบันการศึกษาดำเนินการโดยงบประมาณจากภาครัฐ การร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนและมหาวิทยาลัยจึงเป็นไปอย่างราบรื่น แต่การไร้การแข่งขัน ไม่ทำให้ครูสอนเด็กอย่างเฉื่อยชาหรือโรงเรียนจัดการเรียนการสอนอย่างด้อยคุณภาพ ในทางตรงกันข้าม โรงเรียนและครูต่างมีพันธสัญญาในการทำหน้าที่อย่างดีที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องมีการทดสอบมาตรฐานด้วยซ้ำ
2. ครูเป็นอาชีพมีศักดิ์ศรีและรายได้สูง
เหตุที่ครูในฟินแลนด์ไม่จำเป็นต้องถูกตรวจสอบมาตรฐานและมีการแข่งขันกันเพื่อให้ทำงานได้มาตรฐาน ก็เป็นเพราะอาชีพครูในฟินแลนด์เป็นอาชีพที่ได้รับความเคารพ และเงินเดือนสูง ทำให้มีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น โดยอัตราผู้สอบเข้าบรรจุครูได้ อยู่ที่ร้อยละ 7 เท่านั้น ผลก็คือผู้ที่จะเป็นครู ต้องเป็นบุคลากรระดับหัวกะทิของประเทศ ในฐานะที่ฟินแลนด์ให้ความสำคัญกับการลงทุนพัฒนาทรัพยากรบุคคล ผู้ที่จะเข้ามาเป็นครูได้ต้องจบการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป และนักศึกษาครูจะต้องผ่านการฝึกสอนกับโรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยของตนเองก่อน เช่นเดียวกับระบบการเรียนของคณะแพทยศาสตร์ที่ต้องให้นักศึกษาแพทย์ฝึกรักษาจริงก่อนจบการศึกษา และแม้ฟินแลนด์จะกำลังเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจหนักหน่วง แต่ก็ไม่มีการประนีประนอมมาตรฐานในด้านการคัดเลือกและฝึกอบรมครู
3. การศึกษาอยู่บนรากฐานของงานวิจัย
ในสหรัฐฯ รวมถึงอีกหลายๆประเทศ งานวิจัยที่ว่าทฤษฎีใดจะสามารถพัฒนาการเรียนการสอนได้ มักไม่ถูกนำมาใช้จริง เนื่องจากการเมืองภายในของสถาบันการศึกษาต่างๆ แต่ในฟินแลนด์ งานวิจัยเหล่านี้ถูกนำมาปรับใช้อย่างจริงจัง กระทรวงศึกษาธิการฟินแลนด์ตัดสินใจออกนโยบายโดยอิงกับงานวิจัยเหล่านี้แทบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ หากงานวิจัยใดพิสูจน์ได้อย่างเป็นรูปธรรมว่าการเรียนการสอนแบบใดมีประสิทธิภาพ ก็จะถูกนำมาปรับเป็นนโยบายทันที หรือเรียกง่ายๆว่านโยบายการศึกษาในฟินแลนด์ขับเคลื่อนไปอย่างมืออาชีพ ไม่ใช่ขับเคลื่อนโดยการเมือง
4. ฟินแลนด์ไม่กลัวที่จะทดลอง
ครูฟินแลนด์ได้รับการสนับสนุนให้ถือห้องเรียนเป็นห้องทดลอง ไม่ว่าจะเป็นการสอนหรือกิจกรรมแบบไหน ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในห้องเรียนหากครูและนักเรียนเห็นว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจ อะไรที่ไม่ได้ผลก็จะถูกยกเลิก และเปลี่ยนไปสู่การทดลองใหม่ๆทันที แต่การเรียนการสอนก็ยังดำเนินต่อไปได้ โดยมีงานวิจัยหลักๆและนโยบายของรัฐบาลเป็นแกนกลาง ทั้งหมดนี้ทำให้ห้องเรียนฟินแลนด์สร้างสรรค์ ไม่น่าเบื่อ และทันสมัยอยู่เสมอ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนเอง
5. เวลาเล่นศักดิ์สิทธิ์เท่าเวลาเรียน
ครูฟินแลนด์ทุกคนต้องทำตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ ที่ระบุว่าใน 1 ชั่วโมงเรียน ต้องแบ่งเป็นการสอนจากครู 45 นาที และการเล่น 15 นาที อันเนื่องมาจากทฤษฎีรากฐานของการศึกษาฟินแลนด์ที่ว่าเด็กควรต้องรักษาความเป็นเด็กไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ไม่จำเป็นต้องรีบโตขึ้นมาเป็นนักท่องจำหรือนักทำข้อสอบ แนวคิดเรื่องการให้เด็กมีเวลาเล่นในระหว่างวัน ได้รับการพิสูจน์จากงานวิจัยจำนวนมากที่พบว่าเด็กที่ได้พักเล่นระหว่างเรียน จะมีความประพฤติและผลการเรียนดีกว่าเด็กที่ไม่มีเวลาเล่น
6. เด็กมีการบ้านน้อยมาก
โรงเรียนฟินแลนด์ให้ทุกอย่างกับเด็ก ยกเว้นการบ้าน แนวปฏิบัตินี้มาจากรากฐานของความเชื่อมั่นและเคารพซึ่งกันและกันระหว่างครู ผู้ปกครอง และโรงเรียน พ่อแม่และโรงเรียนเชื่อมั่นว่าครูได้ใช้เวลาในห้องเรียนอย่างเต็มประสิทธิภาพเพียงพอแล้วในการสั่งสอนความรู้ การทำการบ้านนอกเวลาเรียนจึงถูกมองว่าไม่จำเป็น และเวลาที่เด็กอยู่บ้าน ควรมีไว้เพื่อการเรียนรู้ถึงการใช้ชีวิตและอยู่กับครอบครัว ซึ่งสำคัญไม่แพ้การเรียน
7. อนุบาลเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน
การศึกษาที่ดีควรเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็กที่สุด และฟินแลนด์เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่มีการศึกษาฟรีที่ได้มาตรฐานสูงตั้งแต่ระดับเดย์แคร์ เนิร์สเซอรี และอนุบาล และเด็กอายุ 3-6 ปีของฟินแลนด์กว่าร้อยละ 97 ก็ได้ใช้สวัสดิการโรงเรียนอนุบาล ที่สำคัญ โรงเรียนอนุบาลและเนิร์สเซอรีทั่วประเทศยังดำเนินการใต้มาตรฐานเดียวกันของรัฐ เตรียมความพร้อมเด็กไปสู่โรงเรียนประถมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะในเมืองหลวงหรือชนบท


ปรัชญาระบบการศึกษาที่ “ดีที่สุดในโลก” จากฟินแลนด์

ปรัชญาระบบการศึกษาที่ “ดีที่สุดในโลก” จากฟินแลนด์



























แม้จริงๆ แล้ว เป็นเรื่องยากที่จะชี้ชัดว่าระบบการศึกษาของประเทศใด “ดีที่สุด” แต่เมื่อนำเด็กอายุ 15 ปี จากหลากหลายประเทศ (เลือกโดยวิธีสุ่ม) มาสอบวัดผลด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน ในการทดสอบระดับนานาชาติชื่อ Programme for International Student Assessment (PISA) ปรากฎว่า ประเทศเล็กๆ ที่มีประชากรเพียงไม่ถึง 6 ล้านคนอย่างฟินแลนด์ กลับนำหน้าประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และจีน เป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน ทำให้นักการศึกษาทั่วโลก ต่างต้องหันมาดูวิธีทำงานของครู และผู้มีบทบาทในแวดวงการศึกษาของฟินแลนด์แดนซานตาคลอส
©independent.co.uk
 
รัฐบาลใส่ใจการหล่อหลอมเด็กฟินแลนด์ตั้งแต่เพิ่งคลอด คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทุกคนจะได้รับ “baby box” จากรัฐบาล ในกล่องมีเสื้อผ้า ของใช้เด็กอ่อน และหนังสือสำหรับเด็กที่คัดเลือกโดยผู้เชี่ยวชาญ ข้อมูลจากสถาบันสมิธโซเนียน ระบุว่าคุณแม่ชาวฟินแลนด์ลาคลอดได้นานสูงสุดถึงสามปี รัฐบาลให้เงินอุดหนุนพ่อแม่ในการส่งลูกไป Daycare หรือสถานเลี้ยงเด็กอ่อน และจ่ายเงิน 150 ยูโรสำหรับเด็กแต่ละคนทุกเดือนจนอายุครบ 17 ปีเต็ม เด็กๆ ไม่ต้องเริ่มเข้าโรงเรียนจนกว่าจะอายุครบเจ็ดขวบ แต่ก่อนหน้านั้น หากพ่อแม่ต้องการส่งไป Preschool ก็ทำได้ (ประมาณ 97% ของเด็กฟินแลนด์วัย 6 ขวบเข้าเรียน Preschool) โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสักยูโร เพราะรัฐอุดหนุนอีกเช่นเคย
เมื่ออายุครบเจ็ดขวบและต้องเข้าโรงเรียน เด็กๆ ฟินแลนด์จะอยู่ในมือของครูที่เป็นคนกลุ่ม “หัวกะทิ” ของประเทศ เทียบเท่าอาชีพแพทย์หรือทนายความ คุณครูเหล่านี้ต้องจบปริญญาโทจากหลักสูตรเฉพาะ (หลักสูตรนี้สนับสนุนเงินทุนเต็มจำนวนโดยรัฐบาลฟินแลนด์) แต่เมื่อเข้าสอนแล้ว คุณครูทั้งหลายสามารถออกไอเดียการสอนตามแบบของตัวเองได้เต็มที่ และอาจสอนเด็กนักเรียนชุดเดิมไปอีก 5 ปี (แล้วแต่จำนวนบุคลากรของโรงเรียน) เพื่อให้ครูคนเดิมมีโอกาสพัฒนานักเรียนของตนได้เต็มศักยภาพมากที่สุด หากใครมีวิธีการสอนใหม่ๆ ก็แลกเปลี่ยนหรือปรึกษาเพื่อนครูด้วยกันเพื่อให้ได้วิธีที่ดีที่สุดสำหรับไปสอนเด็ก
©theatlantic.com
 
นักเรียนฟินแลนด์มีการบ้านน้อยมาก ใช้เวลา “เล่น” นอกห้องเรียนโดยเฉลี่ยมากกว่าประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ กรณีศึกษาอันหนึ่งจากคุณครูชื่อ Aleksi Gustafsson ก็คือวิธีสอน “คณิตศาสตร์นอกห้องเรียน” สำหรับนักเรียนเกรดหนึ่ง เด็กๆ ได้รับแจกการ์ดที่ระบุคำสั่งต่างๆ เช่น “ไปหาท่อนไม้ที่ใหญ่เท่าเท้าของตัวเอง” หรือ “เก็บหินและลูกสนมา 50 ชิ้น แล้วแบ่งเป็นกลุ่มละ 10 ชิ้น” เด็กๆ อายุ 7 และ 8 ขวบ ทำงานเป็นทีมและแข่งกันอย่างสนุกสนาน Gustafsson กล่าวว่า เขาทำวิจัยว่ากิจกรรมเหล่านี้มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร เมื่อเด็กๆ สนุก นั่นแหละคือช่วงเวลาเรียนรู้
แม้เด็กฟินแลนด์จะมีผลสอบ “ดีที่สุด” ในโลกเมื่อไปสอบแข่งขันกับเด็กประเทศอื่น แต่ในฟินแลนด์ เด็กๆ ไม่ต้องเจอกับข้อสอบ เพราะนักการศึกษาที่นั่นไม่เชื่อในระบบการสอบที่เป็นมาตรฐาน (Standardized Test) นักเรียนจะเจอ “ข้อสอบ” ของจริงเพียงครั้งเดียว คือในปีสุดท้ายของระดับชั้นมัธยม ชีวิตในโรงเรียนก่อนหน้านั้นแม้จะมีการวัดผลในรูปแบบต่างๆ บ้าง แต่จะไม่มีใครรู้ผลคะแนนของเพื่อน และครู พ่อแม่ รวมทั้งสื่อต่างๆ ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับผลสอบแต่อย่างใด
©panoramical.eu
 
อีกข้อที่น่าสังเกตก็คือ ในฟินแลนด์มีโรงเรียนเอกชนน้อยมาก เด็กๆ แทบ 100% เข้าเรียนโรงเรียนรัฐบาล ไม่มีคำว่า “โรงเรียนชั้นนำ” เพราะทุกโรงเรียนดีเท่ากัน มีคำกล่าวว่า ในสหรัฐอเมริกา โรงเรียนเป็นเหมือนร้านค้า พ่อแม่จะ “ช้อปปิ้ง” เพื่อเลือกโรงเรียนที่ดีที่สุดเท่าที่ตัวเองจะจ่ายไหวให้ลูก ในฟินแลนด์ พ่อแม่ก็มีทางเลือกเหมือนกัน แต่ทุกทางเลือก (คือทุกโรงเรียน) เหมือนกันหมด ในชั้นเรียนจะไม่มี “เด็กโง่” หรือ “เด็กเก่ง” เพราะหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของครูชาวฟินแลนด์ก็คือ “ทำทุกอย่างที่ต้องทำ” (Do whatever it takes) เพื่อช่วยเด็กที่อ่อนที่สุดในชั้น
แม้มีผู้กล่าวว่า ที่ฟินแลนด์ทำมาตรฐานการเรียนการสอนทุกโรงเรียนให้ใกล้เคียงกันได้ เป็นเพราะประชากรฟินแลนด์มีลักษณะคล้ายกันมาก (Homogenous) ในหลายแง่ ทั้งเชื้อชาติและฐานะ เด็กๆ ฟินแลนด์ส่วนใหญ่ได้รับอาหาร ที่พักอาศัย และการดูแลด้านสุขภาพที่ดีเยี่ยมเสมอกันแทบทุกคน แต่แท้จริงแล้ว น่าจะเป็นเรื่องการเลือกใช้นโยบายการศึกษามากกว่า เพราะประเทศเพื่อนบ้านของฟินแลนด์อย่างนอร์เวย์ก็มีลักษณะของประชากรใกล้เคียงกัน แต่กลับเลือกใช้นโยบายการศึกษาคล้ายสหรัฐอเมริกา (คือมีการสอบแบบเอาเป็นเอาตาย และมีมาตรฐานโรงเรียนที่เหลื่อมล้ำต่ำสูงกัน) ทำให้ผลทดสอบ PISA ของเด็กนอร์เวย์ออกมากลางๆ ระดับเดียวกับสหรัฐอเมริกา ไม่พุ่งสูงติดอันดับต้นๆ อย่างฟินแลนด์
©uk.businessinsider.com
ที่มา:
บทความ Why Are Finland’s Schools Successful? โดย LynNell Hancock จาก https://www.smithsonianmag.com/innovation/why-are-finlands-schools-successful-49859555/
บทความ No grammar schools, lots of play: the secrets of Europe’s top education system โดย Patrick Butler จาก https://www.theguardian.com/education/2016/sep/20/grammar-schools-play-europe-top-education-system-finland-daycare
บทความ How we teach our children: The methods and myths behind Finland’s education success โดย Pasi Sahlberg จาก https://www.irishexaminer.com/viewpoints/analysis/how-we-teach-our-children-the-methods-and-myths-behind-finlands-education-success-451840.html
บทความ 10 Reasons Finland Has the World’s Best School System โดย KRISTINE ALEXANDER จาก http://www.toptenz.net/10-reasons-finland-worlds-best-school-system.php
 
https://web.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C

ฟินแลนด์ แชมป์ระบบการศึกษาดีที่สุดในโลก

ฟินแลนด์ แชมป์ระบบการศึกษาดีที่สุดในโลก






































ผลการจัดอันดับขององค์กรอิสระ NJ MED (New Jersey Minority Educational Development) ในไตรมาสแรก ของปี ค.ศ. 2019 พบว่าประเทศฟินแลนด์เป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาดีที่สุดในโลก ด้วยสถิติประชากรที่อ่านหนังสือไม่ออก 0% และประชากรส่วนใหญ่พูดได้มากกว่า 1 ภาษา สอดคล้องกับข้อมูลจากโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติหรือ PISA (Programme for International Student Assessment) ที่ระบุว่าเด็กนักเรียนในฟินแลนด์มีผลการเรียนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่านโดยเฉลี่ยดีกว่าเด็กจากประเทศที่พัฒนาแล้วในกลุ่มองค์การเพื่อความร่วมมือและการ พัฒนาทางเศรษฐกิจหรือ OECD (Organisation for Economic Co-operation and Development)



เบื้องหลังความสำเร็จที่ออกมาในรูปแบบสถิติข้างต้นนี้ คือ การปฏิรูปการศึกษากว่า 30 ปีที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนารากฐานของประเทศ นั่นคือทรัพยากรมนุษย์ ระบบการศึกษาของฟินแลนด์เรียกได้ว่าเป็นการศึกษาที่แทบจะสวนทางกับประเทศอื่น ๆ เลยทีเดียว ทั้งการกำหนดอายุเริ่มต้นการศึกษาของเด็กที่อายุ 7 ปี การลดชั่วโมงเรียน การขยับเวลา เริ่มเรียนมาเป็นช่วงสาย หรือแม้กระทั่งการยกเลิกการสอบประเมินผล สิ่งเหล่านี้ทำให้คนส่วนใหญ่ตั้งคำถามว่า เพราะอะไรระบบการศึกษาเช่นนี้จึงทำให้นักเรียนมีผลการเรียนเฉลี่ยที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ


Previous
Next
 ปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จ


ปัจจัยแรก คือ สังคมที่มีความเสมอภาคและเท่าเทียมซึ่งเอื้อต่อความก้าวหน้าของชีวิต จากการศึกษาพบว่าเด็ก นักเรียนจะมีผลการเรียนที่ดีในสังคมที่มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ฟินแลนด์สร้างสังคมที่มีความเท่าเทียมนี้ด้วยโครงสร้างพื้นฐานของสวัสดิการรัฐที่ทำให้เด็กทุกคนเท่าเทียมกันเมื่อเริ่มต้นเส้นทางการศึกษาตั้งแต่ 7 ขวบ เมื่อเริ่มชั้นเรียนในห้องเรียนจะผสมผสานเด็กที่มีที่มาต่างกัน ไม่ว่าจะด้านฐานะหรือพื้นฐานความรู้ความสามารถ ทำให้เด็กอยู่ร่วมกันได้บนพื้นฐานของความเข้าใจและเคารพในความแตกต่าง เด็กทุกคนจะมีสิทธิ์เข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน โดยรัฐฯจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทางการศึกษา ค่าอาหารกลางวัน ค่านวัตกรรมและค่าดูแลสุขภาพ รวมทั้งจะมีนักจิตวิทยาและครูที่จะคอยส่งเสริมด้านพัฒนาการอีกด้วย



ความเท่าเทียมในสังคมยังหมายความรวมถึงการเป็นมาตรฐานเดียวกันของทุกโรงเรียนในประเทศฟินแลนด์ จะไม่มีการจัดลำดับโรงเรียน เด็ก ๆ ไม่จำเป็นต้องเดินทางไกลเพื่อไปเรียนโรงเรียนที่ดีที่สุดสำหรับตัวเองเพราะทุกโรงเรียนเป็นโรงเรียนที่ดีที่สุด เด็กสามารถเลือกเรียนใกล้บ้านได้เพื่อลดเวลาเดินทางลงและมีเวลาเรียนรู้นอกห้องเรียนเพิ่มมากขึ้น

 โรงเรียนเป็นความสุขของเด็ก ๆ


ปัจจัยต่อมา คือ การทำให้โรงเรียนเป็นความสุขของเด็ก ๆ โดยเด็กจะได้เรียนรู้อย่างผ่อนคลาย สนุกสนาน และได้รู้จักตัวเอง ในโรงเรียนจะไม่มีการสอบประเมินผลในช่วง 5 ปีแรก เพราะการสอบทำให้เด็กไม่สามารถใช้ความคิดได้อย่างอิสระ และสิ่งสำคัญของการเรียนไม่ใช่การสอบผ่าน แต่เป็นการพัฒนาความสงสัยใคร่รู้โดยธรรมชาติของเด็ก ฟินแลนด์กำหนดเวลาเริ่มเรียนที่ 9 โมงเช้า เพื่อให้เด็กอยู่ในสภาวะที่พร้อมต่อการเรียนรู้ โดยเด็กทุกคนจะมีเวลาพัก 15 นาทีทุก ๆ 45 นาทีเพื่อให้เด็กได้ผ่อนคลายและจะเลิกเรียนไม่เกินบ่าย 3 โมงจากข้อมูลของ OECD พบว่าเด็กนักเรียนในฟินแลนด์มีการบ้านหรืองานที่ได้รับมอบหมายจากโรงเรียนน้อยที่สุดในโลกและไม่มีการเรียนเสริมนอกห้องเรียน นอกจากนั้นฟินแลนด์ยังยอมรับเด็กที่เรียนต่อสายสามัญและสายอาชีพอย่างเท่าเทียมกันอีกด้วยทำให้เด็กกล้าเป็นตัวเอง และกล้าเลือกเรียนในด้านที่สนใจอย่างเต็มที่ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีส่วนช่วยสร้างบรรยากาศให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข สนกุสนาน และไร้ซึ่งความกดดัน



ปัจจัยสำคัญที่ทำให้โรงเรียนกลายเป็นความสุขของเด็ก ๆ ได้ คือ ครูผู้สอนที่มีประสิทธิภาพ อาชีพครูที่ฟินแลนด์ เป็นอาชีพที่มีค่าตอบแทนสูงและเป็นอาชีพในฝันของคนจำนวนมาก ครูทุกคนต้องจบการศึกษาระดับปริญญาโทและต้องผ่านการคัดเลือกที่เคร่งครัด ครูจะต้องดูแลเด็กบนพื้นฐานที่ว่า “เด็กทุกคนมีศักยภาพในการเรียนรู้หากได้รับการสนับสนุนและโอกาส” และเพื่อให้สอดคล้องกับการเสริมสร้างสังคมที่เท่าเทียมกันตั้งแต่ในระดับห้องเรียน ครูที่ฟินแลนด์จะต้องเข้าใจความแตกต่าง มีความรู้ด้านจิตวิทยาเด็กและสามารถรับมือกับห้องเรียนที่มีความหลากหลายได้ 

ความสำเร็จจากความร่วมมือจากทุกฝ่าย


การปฏิรูปทางการศึกษาของฟินแลนด์จะไม่สำเร็จและเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมเช่นนี้หากขาดปัจจัยที่สำคัญอีก ประการนั่นคือความร่วมมือจากทุกฝ่าย สิ่งที่ทำให้แต่ละภาคส่วนนำระบบนี้ไปปรับใช้อย่างจริงจัง คือ ความรู้สึกมีส่วนร่วม หลายประเทศล้มเหลวในการพยายามปฏิรูปการศึกษา เพราะใช้การบังคับใช้ระบบแบบการส่งให้ทำ ซึ่งจะทำให้เกิด การตั้งค่าถามโต้แย้งมากกว่าการปฏิบัติตาม แต่ฟินแลนด์ใช้การสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมให้คนในประเทศผ่านการสอบถามความคิดเห็นก่อนนำระบบมาปรับใช้ วิธีนี้จะทำให้ผู้ตอบคำถามเกิดความรู้สึกในทางบวกพร้อมเปิดใจ นำไปสู่การนำไปปรับใช้และเกิดการเปลี่ยนแปลงในที่สุด



อีกปัจจัยที่ทำให้ฟินแลนด์ปฏิรูปการศึกษาได้สำเร็จ คือ การเชื่อใจและไว้วางใจคนในประเทศ อาจฟังดูเป็นนามธรรมและจับต้องไม่ได้ แต่ที่ฟินแลนด์ภาครัฐจะมั่นใจว่าครูจะทำงานตามมาตรฐานและบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ครอบครัวของนักเรียนจะเชื่อใจว่าครูจะทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและในขณะเดียวกันครูก็จะเชื่อมั่นในการพัฒนาระบบการศึกษาของภาครัฐและวางใจว่าครอบครัวจะเป็นสถาบันที่ดีในการส่งเสริมให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดี สิ่งเหล่านี้เกิดจากความตระหนักรู้ในหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง และกลายมาเป็นความเชื่อมั่นต่อคนในประเทศว่าจะทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดเช่นกัน 

 ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา


ปัจจัยเหล่านี้เป็นกลไกที่คอยขับเคลื่อนวงล้อแห่งการพัฒนาประเทศ  ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษากว่า 30 ปีของฟินแลนด์ไม่ใช่ตัวเลขคะแนนสอบหรือเกรดของนักเรียน แต่เป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจ สิทธิและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชากร ซึ่งตัวชี้วัดเหล่านี้ชี้ให้เห็นแล้วว่าฟินแลนด์ก้าวหน้าอย่างมากและกลายเป็นต้นแบบด้านการเรียนการสอน รวมทั้งสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนารากฐานของประเทศอย่างประชาชนให้กับหลาย ๆ ประเทศได้เช่นกัน

.
แหล่งอ้างอิง

https://www.bbc.com/thai/features-45698818 

https://thestandard.co/finland-education-lessons-learned/

https://bigthink.com/mike-colagrossi/no-standardized-tests-no-private-schools-no-stress-10-reasons-whyfinlands-education-system-in-the-best-in-the-world

https://worldtop20.org/worldbesteducationsystem

https://worldtop20.org/finland

https://teen.mthai.com/education/108419.html

https://www.nia.or.th/FinlandEducationSystem

13 เหตุผลที่ฟินแลนด์ ประสบความสำเร็จทางการศึกษา

13 เหตุผลที่ฟินแลนด์ ประสบความสำเร็จทางการศึกษา


วันนี้ทีนเอ็มไทยจะพาน้องๆ มาติดตาม 13 เหตุผลที่ฟินแลนด์ ประสบความสำเร็จทางการศึกษา ด้วยระบบการศึกษาฟินแลนด์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ๆ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุด ล่าสุด สำนักข่าวต่างประเทศได้ระบุว่า ฟินแลนด์ยังเตรียมที่จะปรับการเรียนการสอนจากเรียนเป็นวิชา ไปเป็นเรียนตามหัวข้อด้วย

13 เหตุผลที่ฟินแลนด์
ประสบความสำเร็จทางการศึกษา

โดยนักเรียนที่นั่นจะไม่ต้องเรียน สังคม คณิตศาสตร์อย่างละชั่วโมง แต่จะเป็นการเรียนรู้เช่น ชั่วโมงนี้เรียนด้านการบริการในร้านอาหาร เด็ก ๆ ก็จะได้ใช้ความสามารถแบบผสมผสาน ทั้งใช้การคิดเงิน การสื่อสารกับลูกค้า และการจัดการอารมณ์ด้วย
Sophia Faridi นักการศึกษาจากสหรัฐฯ ได้เข้าไปดูระบบการศึกษาของฟินแลนด์ และพบเหตุผลดังนี้
finland-education
1. การเรียนที่ฟินแลนด์เน้นไปที่การเล่น เพราะคิดว่าเด็กสามารถเรียนรู้ได้ดีผ่านการเล่นและการค้นพบด้วยตนเอง ครูจึงไม่เพียงแต่อนุญาตให้เล่นได้แต่ยัง สนับสนุนให้เด็กๆ เล่นด้วย จึงไม่แปลกที่แม้จะอยู่ระดับมัธยมศึกษาแล้ว ยังจะเห็นเด็กโตนั่งเล่นวิดีโอเกมส์ที่ student center
2. การสอบไม่ได้เป็นไปแบบเอาเป็นเอาตาย โรงเรียนที่นั่นเชื่อว่า หากต้องเตรียมตัวอ่านหนังสือจนไม่มีเวลา จะทำให้ไม่เวลาคิดอย่างอิสระ แต่จะมีการประเมินความรับผิดชอบของเด็กตลอดการเรียนการสอนแทน
3. ความเชื่อใจ เป็นสิ่งที่ Faridi เห็นว่าแตกต่างที่สุดจากประเทศอื่น ๆ เพราะรัฐบาลของฟินแลนด์เชื่อมั่นในเขตการปกครองย่อย ๆ ของตนเอง และหน่วยปกครองย่อยก็เชื่อมันในโรงเรียน ลงไปถึงครู ครูก็ไว้ใจนักเรียนตัวเอง ในทางกลับกัน ผู้ปกครองจะก็เชื่อมั่นในครูมาก เทียบเท่ากับอาชีพแพทย์เลย
4.แต่ละโรงเรียนไม่แข่งกันเอง ไม่มีการจัดลำดับโรงเรียน เพราะเชื่อว่าทุกโรงเรียนนั้นดีเท่ากัน
5. การคัดเลือกก่อนที่จะเป็นครูนั้นเข้มงวด เหตุผลหนึ่งที่ครูได้รับความไว้วางใจมากเพราะการคัดเลือกนั้นเข้มงวดมาก ต้องเป็นระดับหัวกะทิเท่านั้นถึงจะได้เป็นครู และไม่ใช่ว่าแค่ได้คะแนนทดสอบสูงเท่านั้น ต้องผ่านการสัมภาษณ์ด้านศีลธรรมรวมถึงถามถึงแรงบันดาลใจในการเป็นครูด้วยและจะต้องจบปริญญาโทเท่านั้น
6.เวลาส่วนตัวของเด็กนั้นสำคัญ เพราะทุก ๆ 45 นาที เด็กจะมีสิทธิ์พักส่วนตัว 15 นาทีตามกฎหมาย เพราะเชื่อว่าการเรียนรู้นั้น จะสำเร็จได้หากผู้เรียนได้รับการผ่อนคลายเป็นช่วงเวลา
image
7.น้อยแต่ดี เด็กจะไม่ต้องเข้าโรงเรียนจนถึงอายุ 7 ขวบ และระยะเวลาเรียนระหว่างวันยังสั้นอีกด้วย เช่นเรียนประมาณ 4-5 ชั่วโมงต่อวัน ในระดับประถมศึกษา
8.เน้นที่คุณภาพชีวิต ระบบการศึกษาฟินแลนด์เชื่อว่า ครูที่มีความสุขคือครูที่ดีและครูที่ทำงานหนักเกืนไปจะไม่ใช่ครูของพวกเขา ซึ่งจะมีชั่วโมงสอนประมาณ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
9.เรียนสายไหนก็ได้รับการยอมรับ เมื่อหลังจากอายุ 16 ปีเด็กสามารถเลือกได้ว่าจะเรียนสายสามัญหรืออาชีพ แต่ทั้งสองสายได้รับการยอมรับสูงในสังคมฟินแลนด์ และสามารถต่อมหาวิทยาลัยได้
10.ระบบการศึกษามีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนตามหลักสูตร โดยแล้วแต่ครูจะสร้างสรรค์ แต่ยังอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ
11.จะไม่มีการตัดสินเกรดจนถึง ป.4 เพราะเน้นการเรียนรู้มากกว่า
12.จริยธรรมจะถูกสอนตั้งแต่ยังเล็ก แม้เด็กเล็กจะเรียนจริยธรรมจากห้องเรียนสอนศาสนาอยู่แล้ว แต่ก็จะมีนักเรียนบางส่วนที่ไม่ได้นับถือศาสนา ก็จะต้องเข้าเรียนวิชาจริยธรรม
13. มีสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนความร่วมมือกัน โดยแต่ละห้องเรียนนั้นอาจมารวมกันในพื้นที่หนึ่งๆ เพื่อที่จะให้เด็กต่างระดับชั้นได้เรียนร่วมและแลกเปลี่ยนกันโดยไม่แบ่งแยก รวมถึงครูยังได้ร่วมกันช่วยเป็นที่ปรึกษาให้เด็กเหล่านี้ด้วย
ข้อมูลจาก krobkruakao  ,  https://teen.mthai.com/education/108419.html

ทำไม? ฟินแลนด์ จึงเป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาดีที่สุดในโลก

ทำไม? ฟินแลนด์ จึงเป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาดีที่สุดในโลก



เพื่อนๆ เคยสงสัยไหมว่า ทำไมประเทศที่มีขนาดไม่ต่างจากไทยมากนัก อย่างประเทศฟินแลนด์ถึงได้มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก โดยในขณะที่ประเทศไทยนั้นมีคุณภาพทางการศึกษาที่ตกอันดับลงมาอยู่ท้ายๆ ตลอด


ฟินแลนด์ ประเทศที่มีระบบการศึกษาดีที่สุดในโลก

ฟินแลนด์เป็นประเทศเล็กๆ ในทวีปยุโรปตอนบน ที่มีประชากรประมาณ 5 ล้านคน นับว่ามีประชากรที่เบาบาง แต่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ตามสถิติของสหประชาชาติ เมื่อ พ.ศ. 2549 อยู่ในลำดับที่ 11 ของโลก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากพื้นฐานด้านชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีความเหลื่อมล้ำทางเศรฐกิจน้อยมาก มีการพัฒนาการศึกษาอย่างจริงจัง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่จะทำให้ประเทศฟินแลนด์เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีระบบการศึกษาดีที่สุดในโลก และนี่คือสิ่งที่ทำให้ระบบการศึกษาในประเทศฟินแลนด์แตกต่างจากประเทศอื่นๆ มีอะไรบ้าง มาดูกันเลย

1. โรงเรียนอนุบาล ไม่ได้สำคัญมากเท่ากับการได้ใช้เวลากับครอบครัว

ประเทศฟินแลนด์ เขาจะไม่เน้นให้เด็กนักเรียนอายุ 6-7 ขวบ ใช้เวลาในการเรียนอนุบาลมากจนเกินไป แต่เขาจะให้ความสำคัญการที่เด็กๆ ได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวมากกว่า เพราะเขาเชื่อว่าครอบครัวจะมอบความรัก ความรู้ สร้างสิ่งที่ดีงาม และถ่ายทอดวัฒนธรรม ประเพณีให้กับเด็กๆ ได้ดีกว่าโรงเรียนอนุบาล ซึ่งถ้าเป็นในบ้านเรานั้นเด็กอายุ 6-7 ขวบก็จะเข้าชั้นเรียนในวัยประถมแล้ว จากนั้นก็จะเริ่มแข่งขันในการเรียน ทั้งเรียนพิเศษ ติวเพิ่มเติมกันอย่างเต็มที่
นอกจากนี้ฟินแลนด์ก็มีการเปิดรับนักเรียนตั้งแต่วัยเด็ก 8 เดือน – 5 ปีด้วยเช่นกัน แต่จะเรียกว่า “Daycare” ซึ่งโรงเรียนที่จะสามารถรับนักเรียนกลุ่มนี้ได้ต้องมีสนามเด็กเล่น ให้เด็กๆ ได้เอาไว้วิ่งเล่นกัน พร้อมทั้งนี้ผู้ปกครองก็สามารถเข้าไปเล่นกับเด็กๆ ได้ แต่ผู้ปกครองคนไหนที่ไม่อยากส่งลูกไปที่ Daycare ก็สามารถที่จะจัดบ้านตัวเองให้เป็น Daycare ได้และทางเทศบาลเมืองจะมีการจ่ายเงินสนับสนุนให้อีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ปกครองเลี้ยงดูลูกๆ ได้ด้วยตัวเองนั่นเอง และก็ไม่ใช่ว่าผู้ปกครองรับเงินมาแล้ว จะสามารถเลี้ยงดูลูกแบบทิ้งๆ ขวางๆ ได้ เพราะทางเทศบาลจะมีการสุ่มตรวจอยู่เสมอว่าผู้ปกครองดูแลเด็กๆ ได้อย่างเหมาะสมหรือไม่

2. เรียนเยอะไปก็ไม่ดี ควรแบ่งเวลาให้เด็กๆ ได้ทำในสิ่งที่สนใจด้วย

เด็กในวัยประถมศึษาที่ฟินแลนด์ จะเรียนไม่เกินวันละ 5 ชั่วโมง เพราะเขาเชื่อว่าเด็กในวัยนี้ควรที่จะมีเวลาในการทำกิจกรรมที่ตัวเองสนใจมากกว่าการมาเรียนอยู่เฉยๆ ทั้งวัน ซึ่งในขณะที่เด็กไทยต้องเรียนตั้งแต่เช้าจนถึงตอนเย็น แล้วบางคนยังต้องไปเรียนพิเศษต่ออีกด้วย (อาจจะทำให้เด็กเกิดเป็นความเครียดสะสมได้และเกิดความรู้สึกต่อต้านการเรียนในที่สุด)

3. จำนวนเด็กในชั้นเรียนน้อย เพื่อสะดวกในการดูแลอย่างทั่วถึง

สำหรับห้องเรียนของประเทศฟินแลนด์ จะมีการกำหนดให้มีนักเรียนห้องละ 12 คน สูงสุดไม่เกิน 20 คน ง่ายต่อการดูแล พูดคุยกันได้อย่างใกล้ชิดระหว่างคุณครูและนักเรียน เพราะด้วยที่นี่จะเน้นการพัฒนาความสามารถของเด็กๆ ให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่และดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ซึ่งมีความแตกต่างจากบ้านเราค่อนข้างมากเลยทีเดียว ที่จะมีนักเรียนห้องละ 40-50 คน และมีการเรียนการสอนที่ปลูกฝังให้นักเรียนมีค่านิยมเดียวกันหมด เช่น ต้องเป็นหมอ เป็นวิศวกร โดยที่ไม่พยายามพัฒนาและสนับสุนศักยภาพที่เหมาะสมกับบุคคล

4. การศึกษาไม่ใช่เรื่องของการแข่งขัน ที่นี่จึงไม่เน้นเกรดเฉลี่ย

ด้วยความที่ประเทศฟินแลนด์เห็นว่าเกรดเฉลี่ยไม่ใช่การแข่งขัน หรือเป็นตัวแบ่งแยกความภาคภูมิใจ หรือสร้างความอับอายให้แก่นักเรียน เขาจึงเน้นการเรียนที่เป็นการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้มากกว่าเกรดเฉลี่ย ทำให้เด็กๆ เกิดความสนใจในการเรียนรู้มากกว่า และสามารถทำให้พวกแสดงตัวตนออกมาได้อย่างชัดเจนว่าชอบอะไร ไม่ชอบอะไร แต่ถ้าเป็นในบ้านเรานั้นจะเห็นได้ว่าเด็กๆ ต้องแข่งขันกันมากเพียงใด ถึงจะสามารถทำเกรดเฉลี่ยออกมาได้ตามเกณฑ์ที่ได้วางเอาไว้
ทำไม ระบบการศึกษาประเทศฟินแลนด์ ถึงดีที่สุดในโลก

5. ไม่มีข้อสอบกลางในวัดระดับ

เพราะเขาเชื่อว่าแต่ละโรงเรียนมีจุดประสงค์และเป้าหมายในการมอบความรู้ หรือการศึกษาให้กับเด็กๆ แตกต่างกันออกไป จึงไม่สามารถที่จะใช้ข้อสอบมาตรฐานมาเป็นตัวชี้วัดผลคะแนนได้ ซึ่งแตกต่างจากบ้านเราที่ต้องใช้ข้อสอบกลางในการวัดผลทางการเรียนของนักเรียนจากทั่วประเทศ

6. บริหารโรงเรียนอย่างมีคุณภาพ มีประโยชน์แก่นักเรียนมากที่สุด

ที่นี่เขาจะจ้างผู้อำนวยการจากภายนอกโรงเรียนมาบริหารงาน และให้กรรมการโรงเรียนดูแล ซึ่งถ้าผู้อำนวยการมีผลงานที่ไม่ดีก็ต้องเชิญออกได้ เขาจะไม่ใช้ระบบราชการ หรืออายุราชการในการคัดเลือกคนเข้ามาบริหารโรงเรียน และจะไม่ใช้อาจารย์ในสถาบันมาเป็นผู้บริหาร ด้วยความที่เขาเชื่อว่าจะต้องคัดเลือกบุคคลที่มีความสามารถในการบริหารจริงๆ เพราะการที่สอนเก่ง ก็ไม่ได้แปลว่าเขาจะเก่งในเรื่องการบริหารด้วย

7. ครูเป็นอาชีพที่ได้รับการยอมรับและมีเกียรติ

ที่ฟินแลนด์ ครูของเขาทุกคนตั้งใจอยากเป็นครู คนที่เก่งที่สุดของประเทศจะแข่งกันเป็นครู เพราะครูเป็นอาชีพที่ได้รับการยอมรับ ไม่ต่างจากแพทย์หรือทนายความ ระบบการศึกษาในฟินแลนด์กำหนดให้อาจารย์ประจำชั้นต้องจบการศึกษาระดับปริญญาโท จากคณะศึกษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ
ส่วนอาจารย์ประจำวิชาจะต้องจบการศึกษาในคณะวิชาที่สอนก่อน และจึงมาศึกษาต่อจนจบระดับปริญญาโทในคณะศึกษาศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดพิเศษสำหรับครูการศึกษาพิเศษและครูแนะแนว ที่ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทด้านการศึกษาพิเศษและการแนะแนวอีกด้วย

ข้อควรรู้เพิ่มเติม

โดยกฎหมายฟินแลนด์ กำหนดให้เด็กทุกคนเรียนภาคบังคับถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (เกรด 9) ซึ่งรัฐบาลสนับสนุนงบ 85% และพอจบมัธยมต้นแล้ว ใครไม่อยากเรียนต่อก็ได้ ส่วนใครที่อยากเรียนต่อ รัฐจะเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณให้ผู้เรียนเกือบทั้งหมด ยกเว้นค่าใช้จ่ายเรื่องอุปกรณ์การเรียน สามารถแบ่งไปได้ 2 ทาง ได้แก่
โรงเรียนมัธยมปลาย คือ เรียนต่อไปตั้งแต่เกรด 10-12 เหมาะสำหรับนักเรียนที่ต้องการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยในสายวิชาการ เช่น แพทยศาสตร์ ครุศาสตร์ นิติศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น
โรงเรียนสายอาชีพ จะคล้ายๆ การเรียน ปวช. ของบ้านเรา เหมาะสำหรับนักเรียนที่ต้องการฝึกทักษะวิชาชีพเฉพาะทาง
เมื่อเรียนจบจากโรงเรียนมัธยมปลายหรือโรงเรียนสายอาชีพแล้ว ก็จะแยกไปได้อีก 2 ทางคือ มหาวิทยาลัย และโพลีเทคนิค ซึ่งระบบมหาวิทยาลัยของฟินแลนด์จะไม่ต่างจากในบ้านเรา พอเรียนจบปริญญาตรี ก็สามารถเรียนต่อปริญญาโทและเอกได้ ส่วนโพลีเทคนิคนั้น จะคล้ายๆ ปวส. ของเมืองไทยแต่จะใช้เวลาในการเรียน 3-4 ปี ปัจจุบันฟินแลนด์มีจำนวนมหาวิทยาลัยทั้งหมดที่เป็นของรัฐประมาณ 20 แห่ง และมีจำนวนโพลีเทคนิคประมาณ 30 แห่ง ที่ดำเนินการโดยรัฐบาล เทศบาลและเอกชน
นอกจากนี้ ฟินแลนด์ยังเป็นประเทศหนึ่งที่ผลิตหนังสือสำหรับเด็กมากที่สุดในโลก รายการต่างประเทศที่เข้ามาฉายในช่องทีวีของฟินแลนด์ มักไม่ค่อยมีการพากย์เสียงภาษาฟินแลนด์ จะยังคงพูดภาษาเดิมนั้นๆ แต่จะขึ้นซับไตเติ้ลด้านล่างให้อ่านแทน และยังเป็นประเทศที่มีคอรัปชั่นน้อยมากถึงมากที่สุด


ที่มา   ::  https://campus.campus-star.com/education/35723.html

การศึกษาฟินแลนด์ : "ยิ่งประเทศมีความเสมอภาคมากเท่าใด ประชากรก็ยิ่งมีการศึกษา และสุขภาพจิตดีมากขึ้น"

การศึกษาฟินแลนด์ : "ยิ่งประเทศมีความเสมอภาคมากเท่าใด ประชากรก็ยิ่งมีการศึกษา และสุขภาพจิตดีมากขึ้น"





Less pressure, focused teaching and a holistic approach to development - just some of the lessons we could learn from FinlandImage copyrightAFP
คำบรรยายภาพการที่เด็กมีแรงกดดันในการเรียนน้อย, การมุ่งเน้นที่การสอน และการพัฒนาแบบองค์รวม คือสิ่งที่เราเรียนรู้ได้จากฟินแลนด์
นี่อาจฟังดูขัดแย้งกัน แต่ฟินแลนด์ได้ปฏิรูประบบการศึกษาของตนจนผงาดขึ้นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบการศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์สูงที่สุดในโลก ด้วยการขอให้เด็กนักเรียนใช้เวลาที่โรงเรียนน้อยลง และให้ทำการบ้านและสอบน้อยลง
ข้อมูลโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme for International Student Assessment) หรือ PISA ระบุว่า เด็กนักเรียนในฟินแลนด์มีผลการเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการอ่าน โดยเฉลี่ยดีกว่าเด็กจากประเทศที่พัฒนาแล้วในกลุ่มองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD)
ความสำเร็จนี้มีขึ้นทั้งที่ช่วงก่อนสิ้นสุดยุคทศวรรษที่ 1960 ฟินแลนด์เคยมีอัตราเด็กที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาเพียง 10% เท่านั้น

การปฏิรูปแบบก้าวหน้า

The welfare state provides the basic structure for children of all economic backgrounds to develop their potential according to educator Pasi SahlbergImage copyrightAFP
คำบรรยายภาพสวัสดิการรัฐในฟินแลนด์มีบทบาทสำคัญในการให้โอกาสเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมในการเริ่มต้นเส้นทางการศึกษาที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุ 7 ขวบ
เรื่องราวความสำเร็จของระบบการศึกษาภาคบังคับในฟินแลนด์ หรือที่เรียกว่า peruskoulu เริ่มขึ้นช่วงทศวรรษที่ 1970 และได้รับการผลักดันอย่างจริงจังในช่วงทศวรรษที่ 1990 ด้วยการดำเนินโครงการปฏิรูปที่ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบัน เวลาที่มีคณะผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาต่างชาติเดินทางไปดูงานเรื่องระบบการศึกษาที่ "มหัศจรรย์" ของฟินแลนด์ พวกเขาจะได้รับการบอกกล่าวว่า ระบบการศึกษาคุณภาพสูงที่ภาครัฐจัดให้ประชาชนนั้นไม่เพียงจะเป็นผลมาจากนโยบายด้านการศึกษาเพียงอย่างเดียว ทว่ามาจากนโยบายด้านสังคมที่มีประสิทธิภาพด้วย
นายพาซี ซัห์ลเบิร์ก นักการศึกษาชาวฟินแลนด์ ที่เคยทำงานเป็นครู, ผู้ฝึกสอนครู, นักวิจัย และที่ปรึกษาด้านนโยบายการศึกษา ระบุว่า "ระบบการศึกษาที่มีความเสมอภาคสูงของฟินแลนด์ไม่ได้มาจากปัจจัยด้านการศึกษาเพียงอย่างเดียว"
"โครงสร้างพื้นฐานของสวัสดิการรัฐในฟินแลนด์มีบทบาทสำคัญในการให้โอกาสเด็กทุกคน รวมทั้งครอบครัวของพวกเขามีสถานะที่เท่าเทียมกันในการเริ่มต้นเส้นทางการศึกษาที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุ 7 ขวบ"

ความเสมอภาคและการศึกษา

Shoes are left outside the classroom - in Finland as in other Scandinavian countries, pupils attend lessons in their socks or barefootImage copyrightAFP
คำบรรยายภาพโรงเรียนในฟินแลนด์มีบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ที่นี่ไม่มีเครื่องแบบนักเรียน เด็ก ๆ เดินไปไหนมาไหนโดยสวมถุงเท้า ตามธรรมเนียมของประเทศในแถบสแกนดิเนเวียที่เด็ก ๆ จะไม่สวมรองเท้าในชั้นเรียน
ในหนังสือเรื่อง Finnish Lessons 2.0 ของนายซัห์ลเบิร์ก ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2014 เขาระบุว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมเป็นอุปสรรคที่ขวางกั้นความก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ของชีวิตคนเรา
หากเป็นเช่นนั้น ระบบการศึกษาในสังคมที่มีความเสมอภาคกว่า จะมีประสิทธิภาพดีกว่าที่อื่นหรือไม่ ?
นายซัห์ลเบิร์ก เปรียบเทียบข้อมูลรายได้ประชากรในประเทศกลุ่ม OECD กับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของ PISA แล้วได้ข้อสรุปว่า "มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระจายรายได้ของประชากรกับผลการเรียนของเด็ก ซึ่งแม้จะไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่โดดเด่นชัดเจนแต่ก็ยอมรับได้ที่แสดงให้เห็นว่า ยิ่งสังคมมีความเสมอภาคมากเท่าไหร่ เด็กนักเรียนก็ดูจะมีผลการเรียนดีขึ้นเท่านั้น"
นายซัห์ลเบิร์ก ระบุว่า ยิ่งประเทศมีความเสมอภาคมากเท่าใด (วัดจากข้อมูลเชิงสถิติ) ประชากรก็ยิ่งมีการศึกษา และสุขภาพจิตดีมากขึ้นเท่านั้น อีกทั้งยังมีอัตราเด็กเลิกเรียนกลางคัน, มีปัญหาโรคอ้วน และการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นน้อยกว่าเมื่อเทียบกับประเทศที่มีปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนและคนรวยมากกว่า ซึ่งความไม่เสมอภาคเหล่านี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการเรียนการสอนในโรงเรียน
Education is free in Finland from pre-school to post-graduationImage copyrightAFP
คำบรรยายภาพการศึกษาของฟินแลนด์ฟรีตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปถึงปริญญาโท-เอก

ความเสมอภาคและความเป็นธรรมในสังคม

ที่โรงเรียน Viikki ในกรุงเฮลซิงกิ เด็กนักเรียนที่มาจากครอบครัวร่ำรวยและครอบครัวชนชั้นแรงงานนั่งเรียนรวมกันในห้องเรียน
ที่นี่ไม่มีค่าเทอม และไม่มีค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์การเรียน
ที่โรงอาหารอันกว้างขวาง มีการเสิร์ฟอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแก่เด็กนักเรียน 940 คนของโรงเรียน ซึ่งมีตั้งแต่ชั้นประถมไปถึงมัธยมศึกษา
เด็ก ๆ ยังได้รับบริการดูแลสุขภาพและทันตกรรมฟรี อีกทั้งมีนักจิตวิทยาและครูคอยส่งเสริมด้านพัฒนาการของพวกเขา
"มันเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่า ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ความยากจนในเด็ก และการที่โรงเรียนไม่มีสวัสดิการที่เหมาะสมให้แก่เด็กนักเรียน มีส่วนสำคัญต่อการปรับปรุงคุณภาพระบบการศึกษา" นายซัห์ลเบิร์กกล่าว
เด็ก ๆ ในฟินแลนด์จะได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายฟรีที่โรงเรียนImage copyrightGETTY IMAGES
คำบรรยายภาพเด็ก ๆ ในฟินแลนด์จะได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายฟรีที่โรงเรียน
เขาชี้ว่า ความสำเร็จด้านการศึกษาของฟินแลนด์ส่วนใหญ่มาจากรูปแบบเศรษฐกิจที่ส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมและความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งเริ่มใช้หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง
รูปแบบนี้เป็นการที่รัฐจัดบริการด้านสาธารณสุขและการศึกษาฟรีให้แก่ประชาชน จัดที่พักอาศัยในราคาที่คนส่วนใหญ่สามารถซื้อได้ ให้พ่อแม่ได้สิทธิ์เลี้ยงลูกหลังคลอดเป็นเวลานานเพื่อส่งเสริมให้ผู้ชายรับผิดชอบในการดูแลลูกมากขึ้น ให้มีบริการรับเลี้ยงเด็กเล็กในราคาที่รัฐบาลอุดหนุนหรือฟรี รวมทั้งจัดสวัสดิการสังคมที่เพียงพอให้แก่ประชาชน
Policies that value teachers have made teaching one of the country's most prized careersImage copyrightEPA
คำบรรยายภาพครูในฟินแลนด์ใช้เวลาในการสอนหนังสือวันละ 4 ชั่วโมง ทำให้พวกเขาได้มีเวลาเตรียมการสอน และมีเวลาใส่ใจเด็กนักเรียนมากขึ้น

คุณค่าของครู

ปรัชญาของระบบการศึกษาฟินแลนด์ ยังสะท้อนออกมาในห้องเรียนด้วย
ในโรงเรียนทั่วไป ครูใช้เวลาในการสอนหนังสือวันละ 4 ชั่วโมง ทำให้พวกเขาได้มีเวลาเตรียมการสอน นำความรู้ที่มีอยู่กลับมาใช้ใหม่ และมีเวลาใส่ใจเด็กนักเรียนมากขึ้น
วิชาชีพครูมีรายได้ดีพอสมควร และเงื่อนไขการทำงานก็ดีด้วย
ด้วยเหตุนี้ ครุศาสตร์ จึงกลายเป็นหนึ่งในอาชีพที่เยาวชนในฟินแลนด์นิยมเรียนมากที่สุดแซงหน้าการเรียนเป็นแพทย์ นักกฎหมาย และสถาปนิก
นอกจากนี้ ชั่วโมงการเรียนของโรงเรียนในฟินแลนด์ยังสั้นกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนในประเทศกลุ่ม OECD อื่น ๆ หรือ ราว 670 ชั่วโมงต่อปีสำหรับโรงเรียนระดับประถมศึกษา เป็นต้น
ขณะที่คอสตาริกา มีชั่วโมงการเรียนมากกว่านี้เกือบสองเท่า ส่วนเด็กนักเรียนประถมในสหรัฐฯ และโคลอมเบีย มีชั่วโมงเรียนกว่า 1,000 ชั่วโมงต่อปี
Finnish children spend less time doing homework than any in other countriesImage copyrightEPA
คำบรรยายภาพเด็กฟินแลนด์ใช้เวลาทำการบ้านน้อยกว่าเด็กประเทศอื่น ๆ
เอียร์ยา ชัค ครูที่โรงเรียน Viikki บอกว่า "มันเป็นเรื่องสำคัญที่เด็กจะมีเวลาได้เป็นเด็ก"
"สิ่งสำคัญที่สุดคือคุณภาพ ไม่ใช่ปริมาณของเวลาที่ใช้ในห้องเรียน" เธอกล่าว
เด็กนักเรียนที่ฟินแลนด์ยังมีการบ้านน้อยกว่าด้วย
ข้อมูลจาก OECD ระบุว่า เด็กอายุ 15 ปีในฟินแลนด์ใช้เวลาทำการบ้านเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2.8 ชั่วโมง ตามด้วยเด็กในเกาหลีใต้ที่ใช้เวลา 2.9 ชั่วโมง
ขณะที่เวลาทำการบ้านโดยเฉลี่ยของนักเรียนในกลุ่ม OECD คือ 4.9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และเพิ่มขึ้นเป็น 13.8 ชั่วโมงสำหรับจีน
"เด็กได้เรียนสิ่งที่พวกเขาต้องเรียนรู้ในชั้นเรียน พวกเขามีเวลามากขึ้นในการอยู่กับเพื่อนและทำอย่างอื่นที่พวกเขาชอบ ซึ่งก็สำคัญเช่นกัน" มาร์ตตี เมรี ครูอีกคนกล่าว

บรรยากาศที่ผ่อนคลาย

บรรยากาศที่โรงเรียน Viikki เต็มไปด้วยความสงบและไม่เป็นทางการ ที่นี่ไม่มีเครื่องแบบนักเรียน เด็ก ๆ เดินไปไหนมาไหนโดยสวมถุงเท้า ตามธรรมเนียมของประเทศในแถบสแกนดิเนเวียที่เด็ก ๆ จะไม่สวมรองเท้าในห้องเรียน
The school curriculum for younger Finnish students is designed to help them develop their natural curiosity and develop their learning
คำบรรยายภาพหลักสูตรการเรียนในฟินแลนด์ออกแบบให้ช่วยพัฒนาความสงสัยใคร่รู้ตามธรรมชาติและการเรียนรู้ของเด็ก
นอกจากนี้ เด็ก ๆ ในฟินแลนด์ยังไม่ต้องวิตกกังวลกับการสอบด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่มีในการศึกษาช่วง 5 ปีแรกของเด็ก และในปีต่อจากนั้น นักเรียนจะถูกประเมินจากความสามารถในชั้นเรียน
หลักการของระบบการศึกษานี้คือการมองว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพในการเรียนรู้หากพวกเขาได้รับการสนับสนุนและโอกาส
ส่วนครูอาจารย์ต่างเชื่อว่าหน้าที่ของพวกเขาคือการช่วยนักเรียนให้เรียนรู้โดยปราศจากความกังวล และพัฒนาความสงสัยใคร่รู้ตามธรรมชาติของพวกเขา ไม่ใช่การสอบผ่าน
ข้อมูลจาก PISA ระบุว่า มีนักเรียนในฟินแลนด์เพียง 7% เท่านั้นมีความวิตกกังวลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ขณะที่ญี่ปุ่นซึ่งมีระบบที่เข้มงวดและมีผลการเรียนเป็นเลิศ แต่ต้องแลกมาด้วยสุขภาพจิตของเด็ก โดยตัวเลขดังกล่าวสูงถึง 52%

บริการสาธารณะ (Public Goods)

ความก้าวหน้าในนโยบายการศึกษาของฟินแลนด์มาพร้อมกับสวัสดิการรัฐชั้นยอด ซึ่งเป็นผลมาจากการเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราภาษีสูงที่สุดในโลกคือ 51.6%
แม้ประชาชนจะมีภาระทางภาษีที่หนักหน่วง แต่ฟินแลนด์ยังถูกจัดให้เป็นประเทศที่ประชากรมีความสุขที่สุดในโลก ตามรายงานความสุขโลกขององค์การสหประชาชาติประจำปี 2018
The reforms that shaped the current Finnish system took it from mediocre results in the 1970s to some of the world's best in just 30 years
คำบรรยายภาพการปฏิรูปการศึกษาช่วยพลิกโฉมฟินแลนด์จากประเทศที่เด็กมีผลการเรียนธรรมดาช่วงทศวรรษที่ 1970 มามีผลการเรียนเป็นเลิศภายในเวลาเพียง 30 ปี
นายซัห์ลเบิร์ก บอกว่า การที่ฟินแลนด์เป็นประเทศขนาดเล็กที่มีประชากรราว 5.5 ล้านคน และสังคมค่อนข้างมีเอกภาพนั้น ก็ทำให้การวางนโยบายด้านการศึกษาและการดำเนินนโยบายเพื่อปฏิรูปเป็นไปได้ง่ายกว่าอย่างไม่ต้องสงสัย เมื่อเทียบกับประเทศที่มีขนาดใหญ่กว่าและมีเขตการปกครองที่หลากหลาย
"อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเหล่านี้ไม่ได้อธิบายถึงความสำเร็จทั้งหมดของระบบการศึกษาฟินแลนด์" นายซัห์ลเบิร์กระบุ
"ความยุติธรรม ความซื่อสัตย์ และความเป็นธรรมทางสังคมซึ่งหยั่งรากลึกในวิถีชีวิตของคนฟินแลนด์ ผู้คนมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม ไม่ได้คิดถึงแค่ชีวิตของตัวเอง แต่ยังคิดถึงผู้อื่นด้วย"
"การฟูมฟักสุขภาวะของเด็กเริ่มตั้งแต่ก่อนที่พวกเขาจะเกิด แล้วดำเนินต่อไปก่อนที่พวกเขาจะเข้าโรงเรียนตอน 7 ขวบ และเด็กทุกคนยังสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้โดยง่าย"
เขาเสริมว่า "คนส่วนใหญ่มองว่าระบบการศึกษาของรัฐเป็นบริการสาธารณะ"



ที่มา   ::   https://www.bbc.com/thai/features-45698818