Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

ระวัง! ลูกเล็กหูชั้นกลางอักเสบ

ระวัง! ลูกเล็กหูชั้นกลางอักเสบ





ระวัง! ลูกเล็กหูชั้นกลางอักเสบ (modernmom)โดย: พญ.ศิริเพ็ญ มุขบัณฑิตพงษ์ 
         


ช่องหูชั้นกลาง ซึ่งเป็นโพรงอากาศเล็ก ๆ ระหว่างเยื่อแก้วหูและช่องหูชั้นใน และท่อยูสเตเชี่ยน ท่อที่เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลางกับจมูก ทำหน้าที่ในการปรับความดันหูนั้น การอักเสบของหูชั้นกลางพบได้ในเด็กอายุระหว่าง 3 เดือนถึง 11 ปี และพบมากในเด็กอายุระหว่าง 6 ถึง 11 เดือน


 

ต้นตอหูชั้นกลางอักเสบ
         

การที่หูชั้นกลางจะอักเสบนั้นขึ้นอยู่กับ 3 สาเหตุด้วยกัน

         
1. การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ต่อมอดีนอยด์อักเสบ ไซนัสอักเสบ โดยเชื้อโรคจะผ่านจากคอหรือจมูกเข้าไปสู่หูชั้นกลาง ผ่านทางท่อยูสเตเชี่ยนซึ่งเชื่อมระหว่างโพรงหลังจมูกกับหูชั้นกลาง โดยท่อนี้จะเปิดเฉพาะเวลาหาว กลืน ไอ จามหรือสั่งน้ำมูก อาการที่เกิดจากเชื้อไวรัส มักจะไม่ค่อยมีอาการปวด สามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา ในขณะที่เชื้อแบคทีเรียมักจะทำให้มีไข้ ปวดหูมากและจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ

         
2. ท่อยูสเตเชี่ยนทำงานผิดปกติ บวม หรืออุดตัน

         
3. ภูมิแพ้ ทำให้เกิดการอุดตันของท่อยูสเตเชี่ยน




8 ปัจจัยเสี่ยงลูกเล็กหูชั้นกลางอักเสบ
         
มาดูกันค่ะว่า ปัจจัยชนิดใดบ้าง ที่ทำให้เด็กเสี่ยงต่อการเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบได้

         
1. อายุ เด็กที่อายุน้อยกว่า 7 ปี ท่อยูสเตเชี่ยนจะมีขนาดเล็ก สั้น และวางตัวในแนวราบกว่าผู้ใหญ่ จึงทำให้เกิดการติดเชื้อจากจมูกและคอได้ง่าย

         
2. เพศ มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

         
3. กรรมพันธุ์ หากมีพ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นหูอักเสบบ่อย ๆ พบว่าเด็กมีโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อนมากขึ้น

         
4. บุหรี่ หากมีคนในบ้านสูบบุหรี่จะทำให้เด็กมีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ และการติดเชื้อในหูชั้นกลางด้วย

         
5. การดูดขวดนม โดยเฉพาะการนอนดูดนม จะทำให้เกิดการอุดตันและสำลักนมเข้าท่อยูสเตเชี่ยน ดังนั้นหากจำเป็นต้องให้นม ควรให้ในท่าที่ศีรษะเด็กสูงกว่าลำตัว

         
6. เด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรืออ่อนแอ เช่น เด็กที่ไม่ได้กินนมแม่ เด็กที่ติดเชื้อ HIV เป็นต้น

         
7. เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูในสถานรับเลี้ยงเด็ก พบการเกิดหูชั้นกลางอักเสบมากขึ้น

         
8. เด็กที่มีโครงสร้างใบหน้าผิดปกติ เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ ดาวน์ซินโดรม เป็นต้น




หูชั้นกลางอักเสบชนิดต่าง ๆ
         
หูชั้นกลางอักเสบมีอยู่ 3 แบบ ซึ่งมีอาการแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด ดังนี้ค่ะ

         
1. หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน

         
มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสจากทางเดินหายใจส่วนบน แต่ในเด็กมักพบมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนมากกว่าผู้ใหญ่ เชื้อที่พบบ่อยคือเชื้อ เบตาสเตรปโตค็อกคัส สแตฟฟีโลค็อกคัส นิวโมค็อกคัส และฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา

         
เด็กที่หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน จากเชื่อเหล่านี้มักมีอาการปวดหูมาก ( อาการปวดจะลดลงเมื่อแก้วหูทะลุ มีหนองไหล ) ผู้ป่วยจะปวดลึก ๆ และปวดมากจนร้องหรือดิ้น มีไข้สูง ถ้าเป็นเด็กอาจชักได้ ร้องกวน งอแง โดยเฉพาะตอนกลางคืน มีน้ำหนองไหลจากหู มีปัญหาเรื่องการได้ยิน หูอื้อ หรือได้ยินเสียง "ป๊อป" ในหูเวลาเคี้ยว กลืนหรือหาว หากปล่อยทิ้งไว้หลายวันจะทำให้เยื่อแก้วหูทะลุได้

         
2. หูชั้นกลางอักเสบที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของท่อยูสเตเชี่ยน

         
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอย่างเดียว เป็นภาวะที่มีน้ำอยู่หลังแก้วหู โดยที่แก้วหูไม่ทะลุ พบได้บ่อยในเด็กที่นอนให้นม เด็กในสถานรับเลี้ยงเด็ก เด็กที่พ่อหรือแม่สูบบุหรี่ หรือเด็กที่ไม่ได้รับนมแม่ เด็ก ๆ ที่มีน้ำในหูชั้นกลาง ส่วนใหญ่จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ทำให้อาการไม่รุนแรง เช่น มีอาการหูอื้อ การได้ยินลดลง แต่มักไม่มีอาการปวด

         
3. หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง

         
ชื่อที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือ โรคหูน้ำหนวก เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากที่สุด ทำให้หูพิการได้มาก และเกิดอาการแทรกซ้อนทางสมองถึงแก่ความตายได้ โรคนี้เกิดตามหลังหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน ที่ไม่ได้รับการรักษาหรือรักษา ไม่เพียงพอ เกิดจากการติดเชื้อต่อเนื่องมาเป็นนานกว่า 12 สัปดาห์ เด็กในกลุ่มนี้มักพบมีเยื่อแก้วหูทะลุร่วมด้วย

         
เด็กจะมีอาการหูอื้อ บางรายอาจพบมีน้ำหนองไหลออกจากหูตลอดเวลา เชื้อจะเปลี่ยนไปเป็นเชื้อแบคทีเรียกรัมลบ และเชื้อก่อโรคที่ไม่ต้องการออกซิเจน ตรวจดูจะพบแก้วหูทะลุ มีหนองเหม็น อาจมองเห็นทะลุไปถึงกระดูกในหู การรักษา นอกจากยาปฏิชีวนะแล้วต้องดูดเอาหนองออก และอาจพิจารณาผ่าตัดในบางราย ที่ให้การรักษาแล้วไม่ดีขึ้น หรือเป็นรุนแรง



รักษาและป้องกัน

         
การรักษาหูชั้นกลางอักเสบ คือ การให้กินยาปฏิชีวนะ เช่น อะม็อกซีซิลลิน โคไตรม็อกซาโซล อีริโทรไมซิน เป็นต้น ซึ่งมักจะให้ติดต่อกันนานอย่างน้อย 10-14 วัน ร่วมกับยาแก้ปวด ลดบวม และรักษาโรคอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุของหูอักเสบร่วมไปด้วย เช่น จมูกหรือไซนัสอักเสบ หากรักษาแล้วไม่ดีขึ้น หรือมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ แพทย์อาจแนะนำให้รักษาโดยการผ่าตัดเจาะเยื่อแก้วหู ผ่านทางรูหู เพื่อดูดน้ำในหูชั้นกลางออกและใส่ท่อปรับความดันไว้ในแก้วหู


ส่วนการป้องกันไม่ให้ลูกเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบนั้นทำได้
โดย

         
1. ควบคุมภาวะภูมิแพ้ โดยการกำจักสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ขนสัตว์ ดอกไม้ เป็นต้น

         
2. ควรให้ทารกกินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน นักวิจัยพบว่า เด็กที่กินนมแม่ในช่วง 4 เดือนแรก จะมีภาวะการติดเชื้อของหูชั้นกลาง ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่ เพราะในนมแม่มีภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อได้

         
3. เวลาเด็กกินนมและอาหาร พยายามให้ลูกอยู่ในท่านั่งหรือศีรษะสูงกว่าลำตัว อย่าให้เด็กหลับขณะที่ขวดนมยังคาอยู่ในช่องปาก

         
4. งดสูบบุหรี่ภายในบ้านหรือสถานที่เลี้ยงเด็ก

         
5. เปลี่ยนสถานบริการรับเลี้ยงเด็กจากขนาดใหญ่ (หลายคน) มาเป็นขนาดเล็ก

         
6. การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมค็อกคัส ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคหูชั้นกลางอักเสบและปอดอักเสบ พบรายงานการลดลงของการเกิดหูชั้นกลางอักเสบได้ประมาณ 32%




สัญญาณที่ควรพบแพทย์

         

1. มีอาการปวดหู หูอื้อ และเป็นไข้ หรือสงสัยว่าเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ ควรไปพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง

         
2. มีอาการปวดหู หูอื้อ โดยไม่มีไข้ และไม่สงสัยว่าเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ ควรไปพบแพทย์ภายใน 2-3 วัน เพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด

         
เด็กจะไม่มีบาดแผลใด ๆ ในบริเวณใบหู ใบหน้าและศีรษะ หลังการผ่าตัดต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าหู อาบน้ำสระผมได้เป็นปกติด้วยความระมัดระวัง ไม่ควรเป่าลูกโป่ง ไม่เล่นเครื่องดนตรีชนิดเป่า ไม่ควรไอ เบ่ง หรือสั่งน้ำมูกแรง ๆ โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด เพราะจะทำให้ท่อหลุดก่อนเวลาได้

         
ควรมาพบแพทย์เป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจสภาพแก้วหู ตรวจดูท่อปรับความดัน และตรวจการได้ยิน ท่อปรับความดันจะหลุดออกมาได้เอง ซึ่งแตกต่างกันไปตามชนิดของท่อที่ใช้ แพทย์สามารถหยิบท่อจากช่องหูออกได้เลยโดยไม่ทำให้เจ็บปวด

         
ฟังดูชื่อโรคอาจน่ากลัว แต่การที่คุณมีข้อมูลและหมั่นสังเกตลูกอยู่เสมอ ก็ช่วยให้ลูกห่างไกลจากโรคนี้ได้ค่ะ




สังเกตอาการหูชั้นกลางอักเสบ
         
1. มีน้ำขังหลังแก้วหูเป็นเวลามากกว่า 12 สัปดาห์

         
2. รักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมแล้วน้ำไม่ลดลงภายใน 4 สัปดาห์

         
3. หูชั้นกลางอักเสบร่วมกับมีการแฟบลงของแก้วหู

         
4. การได้ยินลดลงมาก

         
5. หูชั้นกลางอักเสบที่เริ่มจะกลายเป็นชนิดร้ายแรง

         
6. ในกรณีที่พบในผู้ป่วยที่มีเพดานโหว่

         
7. ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้อในหูชั้นกลางบ่อยๆ




ที่มา   ::    modernmom        


วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

นอนกัดฟันทำยังไงดี ?

นอนกัดฟันทำยังไงดี ???



เด็กหรือผู้ใหญ่ที่นอนกัดฟัน
มักจะเกิดขณะที่เจ้าตัวนอนหลับไม่ลึกหรือหลับไม่สนิท

 

 

การนอนกัดฟัน..เกิดจากอะไร ควรทำอย่างไร ยังไงดี ??


อารมณ์เครียดกับอารมณ์สบายส่งผลต่อสุขภาพต่างกันอย่างไร ท่านผู้ชม DMC ที่ต้องเผชิญกับปัญหาอยู่บ่อยๆ คงทราบกันดีอยู่แล้วใช่ไหมคะ ปัญหาในการทำงานทำให้เรารู้สึกเครียด และความเครียดมีผลต่อสุขภาพช่องปากด้วย
การนอนกัดฟัน เป็นอาการหนึ่งของผู้ที่มีความผิดปกติด้านการบดเคี้ยว หรือมีปัญหาการทำงานของขากรรไกร นอกจากจะมีปัญหากับคนที่นอนข้างๆ หรือเพื่อนร่วมห้องแล้ว การนอนกัดฟัน ยังก่อให้เกิดปัญหากับตัวเองด้วย ปัญหาดังกล่าวได้แก่ อาการฟันสึก ในบางรายมีอาการฟันสึกจนถึงชั้นเนื้อฟัน เห็นเนื้อฟันสีเหลืองเข้ม และมีอาการเสียวฟันเวลาที่ดื่มน้ำร้อน หรือ น้ำเย็น

นอกจากอาการฟันสึกแล้วยังมีอาการปวดที่บริเวณข้อต่อกระดูกขากรรไกร ซึ่งอยู่หน้ารูหู ในเวลาที่ตื่นนอนตอนเช้าจะรู้สึกเจ็บปวดที่บริเวณข้อต่อขากรรไกร หรือเวลาที่บดเคี้ยวอาหารก็จะรู้สึกเจ็บปวดได้

สาเหตุของการนอนกัดฟัน (Bruxism)

 
น่าจะเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ

 
1. จากสภาพฟัน อาจมีจุดสูงที่อยู่บนตัวฟัน ที่อาจเกิดจากวัสดุอุดฟัน มีการเรียงกันของฟันที่ผิดปกติ ฟันซ้อนเก หรือเป็นโรคปริทันต์ หรือในคนไข้ที่สูญเสียฟันแท้ไป โดยที่ไม่ได้ใส่ฟันปลอมทดแทน ซึ่งถ้าว่าจุดสูงหรือจุดขัดขวางการบดเคี้ยว โดยธรรมชาติของคนเราจะพยายามกำจัดจุดสูงหรือจุดขัดขวางการบดเคี้ยว โดยพยายามบดเคี้ยวให้จุดสูงนั้นหมดไป มักจะเกิดในเวลาที่เรานอนหลับ ซึ่งเป็นเวลาที่เราไม่รู้สึกตัว

 
2. สภาพของจิตใจ การดำเนินชีวิตประจำวันอาจมีความเครียด เนื่องจากความเร่งรีบในการทำงานก็เป็นสาเหตุที่ให้เรานอนกัดฟันในเวลานอน โดยเราไม่รู้สึกตัวได้
 
วิธีการแก้ไขอาการนอนกัดฟัน

    
ไปพบทัตแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแก้ไขอาการนอนกัดฟัน ได้แก่ การกรอปรับสบฟันให้อยู่ในสภาวะปกติ โดยส่วนใหญ่แล้วทัตแพทย์จะแนะนำให้ใส่ Spint หรือเฝือกสบฟัน เพื่อลดการสึกของฟัน Spint นั้น มีลักษณะเป็น อะครีลิคใส แข็ง ใสในฟันบน หรือฟันล่าง ใส่เฉพาะในเวลานอนตอนกลางคืนเท่านั้น และในเวลาที่เราใส่ Spint หรือเฝือกสบฟันนั้น ทันตแพทย์จะนัดมาตรวจเป็นระยะๆ



 
ทำอย่างไรเมื่อพบว่าเรานอนกัดฟัน
 

วิธีแก้ปัญหาเด็กนอนกัดฟัน - อาการนอนกัดฟัน

 
การป้องกันอาการนอนกัดฟัน
 

1. หมั่นรักษาสภาพช่องให้อยู่ในสภาพปกติ โดยหมั่นไปพบมันตแพทย์เพื่อตรวจฟันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

2. ส่วนสภาพจิตใจนั้น ก่อนนอนให้หลับตานั่งสมาธิ(Meditation) แผ่เมตตาหลับในอู่ทะเลบุญ ทำตามการบ้าน 10 ข้อของคุณครูไม่ใหญ่ ในโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา เท่านี้เราก็จะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาการนอนกัดฟันได้

* การบ้าน 10 ข้อของคุณครูไม่ใหญ่
เฝือกฟัน

การใส่เฝือกครอบบนฟันทั้งขากรรไกรฟันบน หรือขากรรไกรฟันล่างขณะนอนหลับ
จะช่วยทำให้อาการนอนกัดฟันหายไปได้



 
ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำเฝือกสบฟัน (เฝือกฟัน)

    
การทำเฝือกฟันนั้นเพื่อป้องกันอาการนอนกัดฟันนั้นไม่ยาก เพียงไปพบทันตแพทย์ ทันตแพทย์จะพิมพ์แบบและทำเฝือกฟันเฉพาะบุคคล ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับยางกันฟันของนักมวยหรือนักกีฬา ราคาการทำเฝือกฟันโดยประมาณ 300-400 บาท หรืออาจมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเฝือกฟัน



การใส่เฝือกฟันบนหรือฟันล่าง หรือทั้งสอง ตามคำแนะนำของทันตแพทย์ ใส่นอนตอนกลางคืนชั่วระยะเวลาหนึ่งอาการจะดีขึ้น การทำเฝือกฟันไม่ยาก เพียงแค่ไปพบทันตแพทย์ ทันตแพทย์จะพิมพ์แบบ และทำเฝือกฟันเฉพาะบุคคลซึ่งมีลักษณะคล้ายกับยางกันฟันของนักมวยหรือนักกีฬานั่นเอง
 
ถ้าฟันสึกมากๆ อาจจะทำให้ใบหน้าสั้นกว่าปกติอีกด้วย
    
อาการ นอนกัดฟัน อาจมีสาเหตุมาจากยาที่รับประทานก็ได้ เช่น ยาที่เคยมีรายงานว่าทำให้เกิดอาการนอนกัดฟันได้  คือ  แอมเฟตามีนที่ใช้ร่วมกับ L-dopa , ยา fenfluramine ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของแอมเฟตามีน และมีรายงานว่า พบการนอนกัดฟันในผู้ป่วยที่เป็นโรค Tardive Dyskinesia  ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลมาจากการใช้ยา phenothiazine เป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ จะสามารถทำให้เกิดอาการนอนกัดฟันได้ ดังนั้น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่มีประโยชน์แล้วยังทำให้เป็นโรคกัดฟันและยังไปอบายด้วย (bangkokhealth.com)

หมั่นดูแลสุขภาพช่องปาก และหมั่นนั่งสมาธิทุกวันแก้ไขปัญหานอนกัดฟันได้
 



ที่มา   ::  http://health.dmc.tv





 
"นอนกัดฟัน" อันตรายกว่าที่คิดไว้




 

วิดีโอ YouTube


นอนกัดฟันคืออะไร? นอนกัดฟันเป็นความผิดปกติ เกิดขึ้นขณะกำลังหลับ โดยมีลักษณะขบเน้นฟันแน่นๆ หรือฟันบนล่างบดถูไถ ซ้ำๆ กัน คนนอนกัดฟันมักไม่รู้ตัวเอง และเสียงที่เกิดจากนอนกัดฟัน ทำให้เกิดความรำคาญแก่คนที่นอนร่วมห้อง ส่วนการนอนกัดฟันที่มีลักษณะขบฟันแน่นๆ มักไม่มีเสียงดังทำให้ไม่มีผู้ใดได้ยิน คนที่นอนกัดฟันแบบนี้จึงมักไม่รู้ตัวเลยว่าเป็นคนนอนกัดฟัน     



  
แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่านอนกัดฟัน เนื่องจากคนเราจะไม่รู้ตัวเอง ว่าทำอะไรบ้างในขณะนอนหลับ และอาการกัดฟันก็เกิดเป็นช่วงๆ ตลอดเวลา 7-8 ชั่วโมง ในขณะหลับ ดังนั้นการนอนกัดฟันจึงวินิจฉัยยาก เนื่องจากไม่มีใครจะมาสังเกตพฤติกรรมให้ท่านตลอดเวลาที่กำลังหลับ การวินิจฉัยที่ดีที่สุด คือการตรวจการนอนในห้องแลปการนอนหรือที่บ้าน ด้วยการวัดสัญญาณไฟฟ้าที่ขึ้นจากการทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวในขณะกัดฟัน ร่วมกับวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง ส่วนวิธีอื่นๆ คือการสังเกตอาการที่เป็นผลของนอนกัดฟัน เช่น ถ้าท่านรู้สึกตัวตื่นนอนพร้อมอาการเมื่อยตึงที่ขมับ ใบหน้า หรือต้นคอ หรือตึงๆ ชาๆ ที่ฟัน กัดฟันแล้วเจ็บหลายๆ ซี่ หรือเสียวฟันหลายซี่ หรือบางครั้งรู้สึกตัวเองตื่นสลึมสลือเหมือนกำลังกัดฟันอยู่ หรือสังเกตว่าฟันบิ่นแตก หรือหน้ากางออกใหญ่ขึ้นทั้งสองข้างเพราะกล้ามเนื้อข้างแก้มขยายใหญ่ หรือมีปุ่มกระดูกใหญ่ที่ค่อยๆโตขึ้นช้าๆ หรือทันตแพทย์ตรวจพบว่าท่านมีฟันสึกที่เกิดจากการบดกัด ถูไถฟัน อาการเหล่านี้ เป็นสัญญาณเตือนว่าท่านอาจนอนกัดฟัน


ผลเสียของการนอนกัดฟัน ทำให้ฟันสึก ฟันสั้นลง ฟันบาง คอฟันสึกเป็นร่อง มีอาการเสียวฟัน ซึ่งเสียวมากเมื่อดื่มน้ำเย็น หรือแปรงฟัน เมื่อทิ้งไว้นาน ฟันยิ่งสึกมาก ก็มีปัญหาเรื่องความสวยงาม นอกจากนี้จะทำให้ใบหน้าสั้นลงเพราะฟันเป็นอวัยวะสำคัญช่วยรักษารูปหน้าด้วย หากฟันบิ่น ฟันแตก ฟันร้าว หรือฟันสึกจนทะลุโพรงประสาทฟันจะทำให้ปวดฟัน และต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการรักษารากฟัน ทำครอบฟัน ถ้าโชคร้ายรักษาไม่ได้ก็ต้องถอนฟันซี่นั้นทิ้งไป ทั้งยังทำให้ปวดเมื่อยล้าบริเวณใบหน้า กล้ามเนื้อบดเคี้ยว และข้อต่อขากรรไกร ทำให้อ้าปากไม่ขึ้น เคี้ยวอาหารไม่ได้เพราะมีอาการปวด ส่งผลกระทบต่อการบดเคี้ยว และ อารมณ์จิตใจ ทำให้กระดูกกรามที่อยู่รอบรากขยายใหญ่ เป็นปุ่มกระดูกนูน ในบางคนกล้ามเนื้อบริเวณแก้มสองข้าง ขยายใหญ่ขึ้น ทำให้ใบหน้ากางออกเป็นเหลี่ยม นอกจากนี้มีผลให้ความสัมพันธ์ของคู่สามีภรรยาแย่ลง เนื่องจากเสียงดังที่เกิดจากนอนกัดฟันจะรบกวนคนที่นอนด้วยจนนอนไม่หลับ เพราะเสียงนอนกัดฟันจะดังมากและเป็นที่น่าหวาดเสียวแก่ผู้ที่ได้ยิน ชวนให้รู้สึกเสียวฟันตามไปด้วย


รักษาอาการนอนกัดฟันได้อย่างไร เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุของการนอนกัดฟัน ดังนั้นการรักษาเพื่อหยุดการนอนกัดฟัน จึงยังไม่ได้ผลเต็มร้อย ตัวกระตุ้นที่ทำให้นอนกัดฟัน เช่น ความเครียด เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (ได้แก่ ชา กาแฟ และน้ำอัดลมบางชนิด) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ สารเสพติด และยาที่ใช้รักษาโรคบางตัว เป็นต้น การนอนกัดฟันอาจพบร่วมกับความผิดปกติของการนอนอื่นๆ ได้แก่ การนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ


การรักษานอนกัดฟันมีดังนี้ คือ งดเครื่องดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอล์ บุหรี่ ก่อนนอนไม่ควรรับประทานมากเกินไป สภาพห้องนอนควรเงียบสงบสะอาด ไม่ควรมีแสงสว่างมากไป ไม่ควรทำกิจกรรมที่ทำให้ตื่นเต้นก่อนเข้านอน ให้ใส่เฝือกสบฟัน (occlusal splint) เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันสึก ในบางรายอาจหยุดอาการนอนกัดฟันได้บ้าง หรือการใช้ยาที่มีผลไปปรับการนอนเพื่อช่วยลดการนอนกัดฟัน เมื่อสงสัยว่านอนกัดฟัน ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอาการนอนกัดฟันเสียแต่เนิ่นๆ ก่อนที่อาการนอนกัดฟันจะไปทำลายฟัน ทำให้เกิดปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อขากรรไกร และทำให้ท่านต้องเสียค่ารักษาฟันอีกมาก







ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า 
 







วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

ทำอย่างไรดี เมื่อลูกขาโก่ง

ทำอย่างไรดี เมื่อลูกขาโก่ง

วิดีโอ YouTube







ทำอย่างไรดี เมื่อลูกขาโก่ง (Mother & Care)         


ทำไมเบบี๋จึงขาโก่ง?         

โดยทั่วไปแล้วเมื่อเบบี๋คลอดออกมา คุณแม่หลายท่านอาจสังเกตเห็นว่าขาและเข่าของลูกโก่งหรือโค้งงอเล็กน้อยทั้งสองข้างหรือข้างเดียว หรือปลายเท้าบิดเข้าด้านใน ซึ่งอาการนี้มักพบได้บ่อยในทารกแรกเกิด          

สาเหตุที่ทำให้ลูกขาโก่งอาจเกิดขึ้นเพราะตอนที่อยู่ในท้องแม่ในระยะสุดท้ายก่อนคลอด ตัวเด็กใหญ่ขึ้นจึงต้องเบียดตัวเองให้อยู่ในมดลูกที่มีเนื้อที่จำกัด ทารกส่วนใหญ่จึงมักจะอยู่ในท่าขัดสมาธิและงอสะโพกให้มากที่สุด         

นช่วงแรกเกิดถึงขวบปีแรก เบบี๋จะมีอาการขาโก่ง ซึ่งอาการนี้จะค่อยๆ คลายออกตามธรรมชาติและการเจริญเติบโต เมื่อลูกเริ่มใช้เข่าหัดคลานหรือหัดเดิน ก็จะทำให้ข้อสะโพกแข็งแรงขึ้นและกระดูกจะค่อยๆ ปรับตัวเองให้ตรงขึ้น ทำให้อาการขาโก่งหรือเข่าโค้งปรับเข้าสู่ปกติได้เองเมื่อลูกอายุ 18-24 เดือน ดังนั้น ถ้าลูกขาโก่งในช่วงทารกถือว่าเป็นภาวะปกติทางสรีระร่างกายค่ะ         



สังเกตขาของเบบี๋..ขาโก่งแบบนี้ปกติไหม?         

อาการขาโก่งของเบบี๋ คุณแม่สามารถสังเกตได้ง่ายๆ ค่ะ โดยถ้าเป็นอาการขาโก่งปกติมักจะเป็นตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งขาและเข่าจะโก่งหรือโค้งงอเท่าๆ กัน ทั้งขาซ้ายและขาขวา หากคุณแม่คอยสังเกตไปเรื่อยๆ จะเห็นว่าขาของลูกจะตรงขึ้นอย่างช้าๆ เมื่อเริ่มโตขึ้นค่ะ

ทั้งนี้ ถ้าเป็นอาการขาโก่งตั้งแต่แรกเกิดในลักษณะนี้คุณแม่ไม่จำเป็นต้องดัดขาเพื่อให้ขาของลูกตรง เพราะขาของลูกจะตรงเป็นปกติได้ตามวัยอยู่แล้ว
         

อีกสาเหตุหนึ่งของอาการขาโก่งของเบบี๋เกิดจากความผิดปกติหรือผิดรูปของกระดูก โดยคุณแม่สามารถสังเกตขาของลูกได้ ดังนี้          


- ขาทั้ง 2 ข้าง มีความโก่งไม่เท่ากัน          

- ขาโก่งหรือบิดมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ตรงขึ้นตามอายุ

- ขาโก่งมากในบางตำแหน่ง โดยมุมที่โก่งหักเป็นมุมแหลม

- ขาโก่งร่วมกับตัวเตี้ย (ต้องวัดส่วนสูงและเทียบกับเส้นค่าเฉลี่ยตามวัย)
นอกจากนี้ โรคกระดูกบางโรคอาจมีสาเหตุจากพันธุกรรม และถ้าลูกตัวอ้วนมากก็ทำให้มีโอกาสป่วยเป็นโรคกระดูกงอหรือขาโก่งได้ง่าย ซึ่งคุณแม่ต้องสังเกตสัดส่วนอื่นๆ ของร่างกายลูกประกอบด้วย

ดังนั้น หากลูกมีอาการขาโก่งไม่หายตามวัยและคุณแม่ไม่ทราบสาเหตุ ก็ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจดูให้แน่ใจ เพื่อจะได้รักษาอาการได้ง่าย เพราะหากพบว่าลูกมีอาการผิดปกติของกระดูกเมื่อลูกโตแล้ว การรักษาจะยากยิ่งขึ้นเพราะกระดูกของลูกเริ่มแข็งขึ้นแล้วค่ะ
         



ป้องกันไม่ให้เบบี๋ขาโก่งได้อย่างไร?         

หากลูกขาโก่งไปตามพัฒนาการของขา คุณแม่ก็ไม่ต้องเป็นกังวลและปล่อยไปตามธรรมชาติดีที่สุด แต่คุณแม่สามารถป้องกันไม่ให้ลูกน้อยขาโก่งมากขึ้นหรือกระดูกขาผิดรูปได้ ดังนี้

1. ให้ลูกได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอ
เพื่อให้ร่างกายสามารถรักษาภาวะสมดุลของระดับแคลเซียมในเลือดและในกระดูก ถ้าขาดวิตามินดีจะทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน ขาจะโก่งหรือถ่างเนื่องจากไม่สามารถรับน้ำหนักตัวได้ โดยวิตามินดีจะมีอยู่ในอาหาร เช่น นม ตับสัตว์ ไข่แดง เป็นต้น และคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปเดินเล่นนอกบ้านเพื่อรับวิตามินดีจากแสงแดดยามเช้าบ้าง ก็จะช่วยเสริมสร้างกระดูกของลูกน้อยให้แข็งแรง

2. การดัดหรือยืดขาทารกเบาๆ หลังอาบน้ำ อาจไม่เกี่ยวกับการโก่งหรือไม่โก่งของขา แต่การดัดหรือยืดขาของลูกเบาๆ จะช่วยให้ลูกได้ยืดเส้นยืดสาย ทั้งนี้ คุณแม่อาจใช้วิธีการนวดคลึงเบาๆ บริเวณขาของลูก ก็จะช่วยให้ขาของลูกแข็งแรงและลูกก็จะสบายตัวยิ่งขึ้นค่ะ

3. นอกจากการนวดหรือดัดขาของลูกแล้ว คุณแม่ต้องคอยจัดท่านั่งและท่านอนของเบบี๋ ให้อยู่ในท่าที่ถูกต้อง เพื่อจะไม่ทำให้เกิดการโค้งงอหรือการผิดรูปของกระดูก
         


Tips : การยืดและนวดขาให้ลูกน้อย คุณแม่สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้         


- นวดขาลูกทีละข้าง โดยจับขายกขึ้นแล้วใช้มืออีกข้างจับรอบขานวดคลึงเป็นวงกลม เริ่มจากต้นขาค่อยๆ ไล่ไปปลายเท้า แล้วใช้หัวแม่มือกดฝ่าเท้าลูกเบาๆ จากนั้นใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างคลึงขาลูกไปมาเบาๆโดยให้สองมือของคุณแม่สวนทางกัน เริ่มจากหัวเข่าไล่ไปจนถึงข้อเท้า คลึงไปมา 5-10 ครั้ง

- หากเบบี๋อยู่ในวัยที่สามารถคลานหรือเริ่มหัดเดินแล้ว คุณแม่สามารถทำท่าแยกขาให้ลูกได้ โดยคุณแม่นั่งด้านหลังลูก แล้วจับขาลูกทั้งสองข้างค่อยๆ แยกออกด้านข้าง จากนั้นให้ลูกโน้มตัวไปด้านหน้า โดยที่คุณแม่ยังจับขาไว้ ซึ่งท่านี้จะช่วยให้เด็กได้ยืดตัวมากขึ้นและช่วยดัดขาให้ตรงขึ้นด้วย

- ในขณะที่นวดหรือยืดขาของลูก หากลูกร้องหรือขาแดง แสดงว่าคุณแม่ออกแรงมากเกินไปจนทำให้ลูกเจ็บ ให้หยุดนวดหรือนวดให้เบาลงค่ะ










ที่มา   ::      (Mother & Care)
  


วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556

Baby massage

Baby massage




Massage is a lovely way for you to express your love and care for your baby. It can soothe your baby and help her to sleep. You and your partner may find it relaxing too!


What is baby massage?

 
Baby massage is gentle, rhythmic stroking of your baby's body with your hands. As part of your massage routine, you can also gently manipulate your baby's ankles, wrists and fingers.

The soothing strokes of your hands stimulate the production of the feel-good hormone oxytocin in you, your baby and even your partner if he's watching. Oxytocin is the hormone that gives you that
warm, loving feeling when you hold your baby close or breastfeed her.

 

 

What are the benefits of baby massage?

 
There are lots of ways baby massage can benefit not just your baby, but you and your partner as well. Massage can be particularly good for premature babies (Field et al 2010, Vickers et al 2004), helping them to grow and thrive. But massage is good for full-term babies too. In fact, all small children can benefit from massage.
Massage may help your baby to:

 



One study showed that massage may reduce the number of illnesses your baby has, cutting down on the need for trips to see the doctor or nurse. We need more studies to be done to confirm this, though (Underdown et al 2006).

There's also a theory that touch and skin-to-skin contact help to stimulate your baby's
brain development (Winkley 1999).


You may find giving your baby a massage lifts your mood and helps you to feel more empowered as a parent. The time you set aside for a massage can be your special time together.


As you massage your baby, it comes naturally to chat to her and make plenty of eye contact with her (Underdown et al 2006). This is one reason why massage can help mums with

postnatal depression (Field 2010). Find out about the other benefits of baby massage for mums with depression and their babies.

Baby massage can be great for dads, too. Some dads may miss out on a lot of the hands-on care of their babies, especially if they are at work and their baby is
breastfed. A regular massage with dad can become a routine, perhaps at bedtime, that helps to bring them closer (Magill-Evans et al 2006).

 

 

When is the best time to massage my baby?

 
Try to pick a time when your baby is between feeds. Then she won't be too hungry or too full. It's also best not to start just before her nap. A good time to massage your baby is when she is awake, but settled.

If your baby is sleeping and
feeding often you may wonder when this golden time for massage is going to come around! You'll get to know when your baby is most content to have a massage. You may like to make it part of your baby's bedtime routine, perhaps after a bath and before a bedtime feed.

A massage before bedtime will help your baby to wind down after the stimulations of the day and become calm, ready for sleep.


 

 

What do I need before I start a massage?

 
Make sure the room is warm, and there are no draughts. Then lay your baby down on a towel or folded sheet, perhaps with a changing mat underneath. You may prefer to keep your baby's vest on if it is a little cool. Or let her enjoy being completely naked for a change.

As this is a special time for you and your baby, make sure there aren't any distractions in the room. If you have a pet, put it in another room, and turn off your mobile phone. You may even like to play some relaxing music, turned low enough so that your baby can hear you talk to her.

Have everything that you'll need to hand, including:
 

  • massage oil
  • towels or muslin squares to mop up any accidents
  • clothes to dress your baby in afterwards
  • your usual nappy-changing kit


Using oil or cream will make it easier for your hands to glide over your baby's skin and may be more relaxing for your baby (Field et al 1996). It's up to you whether you use a baby moisturiser or vegetable oil or baby mineral oil for massage.


Whichever oil or cream you use, it's best to dab a little on your baby's skin first, just in case she has a reaction.


However, there are some oils or creams that it's definitely best not to use, because there's a chance they'll irritate your baby's skin. These are:

 

  • Mustard oil, because the way it's processed may mean it is contaminated with other seeds (Darmstadt et al 2002).

  • Peanut oil, because, unless it's refined, the proteins it contains may trigger an allergic reaction on your baby's skin. It's hard to find pure, refined peanut oil.

  • Aqueous cream, because it contains detergents that may irritate your baby's skin (DH 2009).

If your baby has eczema, you can use her prescribed cream during the massage.

 

 

How should I massage my baby?

 
You may like to follow a routine pattern, perhaps massaging your baby's legs before her arms, hands and body. Your baby will appreciate a routine, too. She'll find it comforting to know what's coming next. The first few times you may just want to do your baby's legs until she gets used to the sensation.


To learn a massage routine, you could ask your health visitor whether there is a clinic or children's centre near you that runs a baby massage course.

If you want to get started sooner, look at our
step-by-step guide or follow this routine:


  • Warm a tiny squirt of oil or cream in your hands by rubbing it between your palms.
  • Very gently rub it into your baby's skin, starting with her legs. It's a good place to start because your baby is used to having her legs touched during nappy changes.

  • Work your way up her legs, lightly squeezing her calves and thighs.


  • For your baby's chest and tummy, gently place both hands flat against the centre of her body. Spread your hands to the sides, as if flattening the pages of a book.


  • With your hands still flat, use your fingertips to stroke outward in small circles.


  • Keep going for as long as your baby seems to be enjoying it.

Reading your baby’s cues is the most important aspect of massage. Your baby will tell you when the massage needs to end and which strokes she's liking or disliking. If your baby starts to cry during the massage, she is telling you that she has had enough.

 
http://www.babycentre.co.uk/a1042915/baby-massage#ixzz2QROMTDBq





How to massage your baby


Getting to know you
 
These techniques are good for all babies who aren't yet crawling. For the best chance of success, don't try a massage just before or after a meal or when she needs a nap. When you think she's ready, set yourself up on the floor with a towel and a small bowl of oil suitable for massage. If your baby seems to be uncomfortable or starts crying before you have finished the massage, stop and give her a cuddle instead.


 



The legs

Her legs are a good place to begin, as they're less sensitive than some parts of her body. Using a little oil, wrap your hands around one of her thighs and pull down, one hand after the other, squeezing gently, as if you're "milking" her leg. Switch legs and repeat.





The feet

Take one foot and gently rotate it a few times in each direction, then stroke the top of her foot from the ankle down to the toes. Switch feet and repeat.




The soles

Use your thumbs to trace circles all over the bottom of each foot.





The toes

To finish off the feet, take each toe between your thumb and forefinger and gently pull until your fingers slip off the end. Repeat for all ten toes.



The arms

Take one of her arms in your hands and repeat the milking motion from her armpit all the way to her wrist. Then, take her hand and gently rotate her wrist a few times in each direction. Switch arms and repeat.




The hands


Trace tiny circles over the palm of each of her hands with your thumbs.





The fingers

Gently take a finger between your thumb and forefinger and pull, letting her finger slip through your grasp. Repeat for all her fingers and both thumbs.




The chest


Place your hands together in prayer position over her heart. Then, opening out your hands slowly, stroke outward and lightly flatten the palms over her chest. Repeat several times.




The chest (continued)

Place one hand flat across the top of her chest. Stroke it gently down to her thighs. Repeat the motion, alternating hands, several times.





The back

Roll your baby onto her tummy. Using your fingertips, trace tiny circles on either side of her spine from the neck down to the buttocks.





The back (continued)

 
Finish with some long, firm strokes from her shoulders all the way to her feet. When you have finished, put on her nappy and cuddle or breastfeed her. She'll probably doze off!





 
 
 

วิดีโอ YouTube


วิดีโอ YouTube


วิดีโอ YouTube


วิดีโอ YouTube


วิดีโอ YouTube


 

วิดีโอ YouTube














 


17 ท่านวดง่ายๆ' ช่วยลูกน้อย 'ผ่อนคลาย-สุขภาพดี





 
 
17 ท่านวดง่ายๆ' ช่วยลูกน้อย 'ผ่อนคลาย-สุขภาพดี




คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า "การนวด"คือศาสตร์ที่ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น แต่จะมีใครสักกี่คนที่ทราบว่า การนวดยังช่วยกระตุ้นระบบประสาทในสมองที่ควบคุมการดูดซึมอาหาร ส่งผลให้ทารกมีน้ำหนักเพิ่มตามพัฒนาการ ช่วยลดฮอร์โมนที่สร้างความตึงเครียดให้กับทารก

และสำหรับเด็กที่คลอดก่อนกำหนด หลับยาก หรือร้องกวน การนวดจะช่วยให้เด็กมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามพัฒนาการได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังช่วยให้เด็กหลับได้ง่ายขึ้น

ความมหัศจรรย์ของการนวดข้างต้น ทีมงานจะนำข้อมูลดีๆ จากแผนกเด็กแรกเกิด (nursey) โรงพยาบาลบีเอ็นเอช สาทร-คอนแวนต์ เกี่ยวกับท่าการนวดสัมผัสเด็กแรกเกิด ถึง 3 ปี มาฝากคุณพ่อคุณแม่กัน เพราะการนวดเป็นการบำบัดผ่านการสัมผัสที่ดีที่สุด ทำให้พ่อแม่ลูกมีการสื่อสารและปฏิกริยาตอบกลับระหว่างกันได้โดยสมบูรณ์ ซึ่งท่านวดสัมผัสที่พ่อแม่ทำได้ง่ายที่บ้านกับลูกนั้น มีด้วยกัน 17 ท่า สามารถอธิบายประโยชน์ และลักษณะของท่าต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้
 
*** ท่านวดบริเวณศีรษะ และหน้า


เป็นท่าที่ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า แบ่งออกเป็น 2 ท่าคือ ท่าที่คาดผม และท่ายิ้มแฉ่ง

 
ท่าที่ 1 ท่าที่คาดผม

ขั้นตอนง่ายๆ คือ จัดท่าให้เด็กนอนหงาย วางฝ่ามือทั้งสองบนศีรษะ ใช้นิ้วประสานกันเล็กน้อยตรงแนวกึ่งกลางของศีรษะจากนั้นลูบลงไปจนถึงปลายคาง

 
ท่าที่ 2 ท่ายิ้มแฉ่ง

ช่วยกระตุ้นการกิน การดูดกลืนของทารก และยังช่วยบรรเทาความเจ็บปวดในช่วงที่ฟันกำลังเริ่มขึ้น

- ใช้ปลายนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างวางตรงกลางเหนือริมฝีปากบน แล้วลากออกมาเป็นเส้นตรงจนสุดขอบปาก ทำ 5 ครั้ง ต่อจากนั้นนวดบริเวณริมฝีปากล่างในลักษณะเดียวกันอีก 5 ครั้ง

- ใช้ปลายนิ้วกลางลูบไล้ขอบปาก วนเป็นวงกลมอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากมุมปากข้างหนึ่งผ่านเหนือริมฝีปากบนไปยังมุมปากอีกข้างหนึ่ง และวนต่อไปยังใต้ริมฝีปากล่าง จนถึงมุมตำแหน่งที่เริ่มต้นแล้ววนกลับ นับเป็น 1 ครั้ง
 

 




 
*** ท่านวดบริเวณหน้าอก

ช่วยเสริมจังหวะการทำงานของปอดและหัวใจให้ดีขึ้น ช่วยให้เด็กหายใจได้อย่างปลอดโปร่ง ซึ่งมีท่าหลักคือ ท่าเปิดหนังสือ
 
ท่าที่ 3 ท่าเปิดหนังสือ

- ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างลูบไล้จากบริเวณกลางอก แยกมือออกจากกันไปทางด้านข้างของลำตัวตาแนวซี่โครง โค้งลงมาชนกันที่กลางท้องน้อย โดยให้ตำแหน่งการเคลื่อนไหวตั้งแต่ต้นจนจบเหมือนการวาดรูปหัวใจ

 
*** ท่านวดบริเวณแขนและมือ


ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดต่างๆบริเวณกล้ามเนื้อแขนและมือ และกระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิตจากปลายแขนกลับสู่หัวใจ มีท่าหลักคือ ท่าจอดป้ายรถเมล์
 
ท่าที่ 4 ท่าจอดป้ายรถเมล์

- จับข้อมือลูกยกขึ้นเหนือศีรษะ นวดบริเวณใต้รักแร้ ซึ่งเป็นบริเวณของต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้

- นวดแขนทีละข้าง โดยจับแขนลูกยกขึ้นแล้วใช้มีออีกข้างาจับรอบแขน นวดคลึงเป็นห่วงวงกลมจากต้นแขนค่อยๆ เลื่อนไปสู่ข้อมือ แล้วเลื่อนลงไปต้นแขน ขึ้น-ลง ต่อจากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือกดฝ่ามือลูกเบาๆ (ทำเหมือนกันทั้งสองข้าง)
 
*** ท่านวดท้อง

       

เป็นท่านวดกระตุ้นระบบทางเดินอาหาร เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของกล้ามเนื้อระบบทางเดินอาหาร แบ่งออกเป็น 5 ท่า คือ ซึ่งท่าที่ 5- 7 เรียกว่าท่า I LOVE YOU ขณะที่ท่าที่ 8 และ 9 เรียกว่า ท่าปูไต่พุง และท่าระหัดวิดน้ำตามลำดับ

 
เริ่มจากท่าที่ 5 ท่า I

ใช้ฝ่ามือลูบเป็นเส้นตรงจากใต้ราวนมด้านซ้ายถึงบริเวณท้องน้อยเป็นตัว I (ด้านขวาของผู้นวด)
 
ท่าที่ 6 ท่า LOVE

ใช้ฝ่ามือลูบเป็นตัว L กลับหัวบริเวณท้อง โดยเริ่มลากมือจากซ้ายไปขวาตามแนวนอนถึงใต้ชายโครงซ้าย แล้วลากลงตรงๆถึงบริเวณท้องน้อย

 
ท่าที่ 7 ท่า YOU

ใช้ฝ่ามือลูบบริเวณท้องเป็นรูปตัวยูคว่ำ โดยเริ่มจากขวาของเด็กไปซ้าย

 
ท่าที่ 8 ท่าปูไต่พุง

ใช้นิ้วมือข้างขวาเดินไต่บริเวณท้องน้อย โดยเริ่มจากขวาของเด็กเหมือนกับการเล่นปูไต่

 
และท่าที่ 9 ท่าระหัดวิดน้ำ

- วางฝ่ามือทั้ง 2 ข้างตั้งฉาก โดยเริ่มจากใต้คาวนมเคลื่อนมือจากด้านล่างถีงบริเวณท้องน้อยที่ละข้าง ทำเป็นจังหวะ เมื่อมือข้างหนี่งเคลื่อนลงจนสุด ก็เริ่มอีกข้างหนี่งเคลื่อนลงล่าง ทำสลับกัน (ทำ 5 ครั้ง) ต่อจากนั้นใช้มือข้างซ้ายจับ ข้อเท้าทั้งสองข้างรวบเข้าด้วยกัน ช่วยผ่อนคลายกระเพาะ โดยใช้มือขวาลูบจากชายโครงลงมาเหนือหัวเหน่า (ทำ 3 ครั้ง)






 
*** ท่านวดขาและเท้า


      

การนวดขา และเท้า ลักษณะของท่าจะคล้ายกับท่านวดแขนและมือ โดยในส่วนเท้า และข้อเท้าของเด็กมีความสำคัญ เพราะเป็นส่วนที่ใช้รองรับน้ำหนักตัว เมื่อเด็กหัดยืน และเดินการนวดเท้าจะเป็นการเตรียมพร้อมให้เด็กในการหัดยืน และเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อขาและเท้า แบ่งออกเป็น 3 ท่าหลักคือ ท่านวดขาให้หายเมื่อย ท่าคลึงฝ่าเท้า และท่าเดินหน้าถอยหลัง

 
ท่าที่ 10 ท่านวดขาให้หายเมื่อย


- นวดขาลูกทีละข้าง โดยจับขายกขึ้นใช้มืออีกข้างหนึ่งจับรอบขานวดคลึงเป็นวงกลม เริ่มจากต้นขาค่อยๆเลื่อนไปสู่ปลายเท้า แล้วเคลื่อนลงโดยทำขึ้น-ลงสลับกัน (ทำ 5 ครั้ง) ต่อจากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้คลึงรอบข้อเท้าเด็ก อย่างแผ่วเบา นุ่มนวล ให้รอบข้อเท้า คลีงรอบตาตุ่มและบริเวณเอ็นร้อยหวาย


ท่านวดฝ่าเท้าน้อยๆ

 
ท่าที่ 11 ท่าลูกกลิ้ง

ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างกลิ้งขาลูกไปมา โดยเริ่มจากหัวเข่าไปยังข้อเท้า แล้วกลิ้งลง (ทำ 5 ครั้ง) เสร็จแล้วทำอีกข้างเช่นเดียวกัน

 
ท่าที่ 12 ท่าคลึงฝ่าเท้า

ใช้นิ้วหัวแม่มือนวดฝ่าเท้าเด็กจากส้นเท้าขึ้นมาที่นิ้วเท้าเด็กทุกนิ้ว ทีละนิ้ว จากนั้นลูบบนฝ่าเท้าเด็กเข้าหาตัวคนนวด







*** ท่านวดหลัง


เป็นอีกท่วงท่าที่เด็กโปรดปราน เพราะเป็นการนวดที่ผ่อนคลาย แบ่งออกเป็น 2 ท่าหลักคือ ท่าเดินหน้าถอยหลัง และท่าขนนก

 
ท่าที่ 13 ท่าเดินหน้าถอยหลัง


- พ่อแม่จับเด็กนอนคว่ำ ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างลูบตามขวางไปตามแผ่นหลังของเด็ก โดยทำสลับมือซ้าย-ขวา พร้อมๆ กัน มือขวาลูบเข้ามือซ้ายลูบออก โดยลูบจากช่วงบนลงไปสิ้นสุดบริเวณก้นกบ เคลื่อนขึ้น-ลงสลับกัน

 
ท่าที่ 14 ท่าขนนก


- ลูบตามแนวกระดูกสันหลัง ใช้ฝ่ามือเริ่มลูบจากบริเวณท้ายทอยลงมาที่สะโพกแล้วเริ่มใหม่อีกที่บริเวณท้ายทอย

*** ท่าบริหารร่างกาย

ท่าบริหารร่างหายเป็นท่าที่ต้องทำด้วยความอ่อนโยน เพื่อยืดแขน ขา ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และช่วยให้ข้อต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งออกเป็น 3 ท่า คือ ท่าไขว้แขน ท่าไขว้ขา และท่าไขว้ทแยงแขน-ขา

 
ท่าที่ 15 ท่าไขว้แขน


- จับเด็กนอนหงายใช้มือทั้งสองข้าง จับข้อมือทั้งสองของเด็กเอามาไขว้กันที่บริเวณหน้าอก นับ 1-2-3 แล้วกางออก โดยยืดแขนของเด็กออกไปจนสุด นับเป็น 1 ครั้ง (ทำ 5 ครั้ง )
 
ท่าที่ 16 ท่าไขว้ขา

- จับข้อขาทั้งสองข้างของเด็กดึงมาไขว้กันที่บริเวณท้อง (คล้ายนั่งขัดสมาธิ) นับ 1-2-3 แล้วกางขาออกเหยียดตรง แล้วไขว้ขาทั้งสองข้างเข้าหากันอีกครั้ง

 
ท่าที่ 17 ท่าไขว้ทแยงแขน-ขา

- จับข้อมือ และข้อเท้าของเด็กที่อยู่ตรงข้ามกัน ไขว้มาเฉียงกันที่หน้าอก ทำสลับข้างกัน นับเป็น 1 ครั้ง

อย่างไรก็ดี ก่อนการนวดนั้น คุณพ่อคุณแม่ ต้องเข้าใจหลักเตรียมการนวดเสียก่อน เริ่มจาก ควรนวดในช่วงที่ลูกอารมณ์ดี ไม่หิว เช่น ภายหลังอาบน้ำ หรือหลังรับประทานนมแล้วอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อให้นมที่ได้รับเริ่มย่อย ป้องกันการอาเจียน แต่ท่านวดบางท่าสามารถทำได้ทุกเวลา

เช่น ท่าลูบแขนขา ลูบไล้ศีรษะ นอกจากนี้อุณหภูมิของห้องต้องพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป เพราะเวลานวดต้องถอดเสื้อผ้าลูกออกทั้งหมด ก่อนนวดล้างมือให้สะอาดและทาแป้งเด็ก ถ้ามือผู้นวดแห้งควรทา Baby Lotion หรือ Baby Oil เพื่อช่วยให้การสัมผัสผิวลูกให้ลื่นไม่ระคายเคือง และควรให้ลูกนอนบนเบาะนุ่มๆ เพื่อให้ลูกได้นอนอย่างสบายขณะนวด และควรเตรียมผ้าอ้อมไว้เปลี่ยนด้วย

ทั้งนี้ แต่ละท่าในการนวดให้ลูกน้อยนั้น ควรทำ 5-10 ครั้ง โดยใช้เวลาในการนวดประมาณ 15-30 นาที ที่สำคัญ การนวดในแต่ละครั้ง คือการถ่ายทอดความรักผ่านทุกสัมผัส พ่อแม่ควรสบตากับลูก พร้อมกับพูดคุยด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน เพื่อให้สายสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูกก่อตัวขึ้นที่ละน้อย




ที่มา    ::     Manager online / life & Family