Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

จับลูกเขย่า ระวัง! Shaken Baby Syndrome

จับลูกเขย่า ระวัง! Shaken Baby Syndrome





จับลูกเขย่า ระวัง! SHAKEN BABY SYNDROME (รักลูก) 



เขย่าลูกเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จะด้วยความโมโห หรือเล่นรุนแรงอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการ Shaken Baby Syndrome ส่งผลต่อสมอง และอันตรายถึงชีวิต!

"เธอ...ช่วยทำยังไงก็ได้ให้ลูกเงียบเสียงทีเถอะ" คุณพ่อบ้านผู้กำลังคร่ำเคร่งกับกองงานตรงหน้าบ่นอย่างหงุดหงิด หลังจากทนฟังเสียงลูกน้อยวัยแบเบาะร้องไห้เสียงลั่นแบบไม่รู้หยุด

"เงียบ...เงียบได้แล้ว ร้องอยู่ได้ บอกให้...เงียบๆๆๆ" คุณแม่ตะเบ็งเสียงอย่างสุดกลั้น พร้อมสองมือยกลูกสาวตัวน้อยลอยเหนือเบาะรองนอน และแล้ว ก็เขย่าลูกอย่างสุดแรง!!! สิ่งที่ตามมาคือลูกสาวเงียบเสียงลงโดยพลัน! คุณแม่จึงหันกลับไปทำงานบ้านต่อ

3 ชั่วโมงก็แล้ว 4 ชั่วโมงก็แล้ว ลูกน้อยยังคงนอนนิ่ง ไม่ร้อง ไม่หิว "หรือว่าเราจะเขย่าตัวลูกแรงเกินไป คุณแม่เริ่มวิตก "แต่ไม่มั้ง ลูกคงร้องจนเพลียเลยหลับยาว" เธอปลอบใจตัวเองเพื่อลดความรู้สึกผิด ส่วนคนเป็นพ่อก็ยังวุ่นอยู่กับงานที่กองสุมดั่งไม่รับรู้ใด ๆ ในบ้าน 

จนกระทั่งต้องอุ้มลูกไปโรงพยาบาล หลังจากที่คุณแม่หน้าซีดเผือดมาบอกว่าลูกรักนอนแน่นิ่งไปกว่า 6 ชั่วโมงแล้ว !
ทางโรงพยาบาลพบว่าเด็กมีอาการซึม ไม่สนองตอบต่อเสียง สนองตอบเล็กน้อยต่อความเจ็บ หายใจแค่ 14 ครั้งต่อนาที แถมชีพจรเต้นช้าเพียง 60 ครั้งต่อนาที

คุณหมอช่วยให้ออกซิเจนผ่านทางหน้ากากและถุงลม แต่เด็กอาการไม่ดีขึ้น จึงใส่ท่อเพื่อช่วยในการหายใจ คุณหมอตรวจตาพบว่าที่จอรับภาพนั้น มีเลือดออก เมื่อตรวจสมองด้วยเครื่อง MRI ก็พบว่ามีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง รวมทั้งระหว่างรอยแบ่งแยกของสมองด้วย

สิ่งที่น่าตกใจและน่าเสียใจเป็นอย่างยิ่งก็คือ อีกเพียง 3 วันถัดมา...ลูกน้อยเสียชีวิต สาเหตุเนื่องจากเด็กถูกเขย่าตัวอย่างรุนแรงจนเลือดออกในสมองการจับตัวเด็กเขย่าแรง ๆ ด้วยอารมณ์โกรธเพียงชั่ววูบ หรือด้วยการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้ทำให้คนเป็นพ่อเป็นแม่ต้องปวดร้าวใจไปชั่วชีวิตมานักต่อนักแล้ว


Shaken Baby Syndrome



ในทางการแพทย์เรียกการตายของเด็กจากกรณีข้างตันว่า Shaken Baby Syndrome หลายราย นอกจากโดนเขย่าอย่างรุนแรงแล้ว ยังโดนจับกระแทกกับที่นอนกับหมอนด้วย ซึ่งมีผลให้สมองได้รับแรงกระแทกเพิ่มขึ้นอีกถึง 50 เท่า โอกาสจะกลายเป็นเด็กพิการหรือเสียชีวิตก็ยิ่งมีมาก (บางรายแย่ยิ่งกว่านี้ นั่นคือโดนจับกระแทกกับของแข็ง เช่น ขอบเตียง เก้าอี้ ทำให้เด็กแบเบาะกระดูกแขน ขา ซี่โครง หรือกะโหลก ศีรษะแตก

เด็กที่โดนเขย่ารุนแรงหลาย ๆ ราย มักไม่เห็นร่องรอยการบาดเจ็บจากภายนอก ไม่ได้รีบส่งมารักษา ทั้งที่มีอาการของ Shaken Baby Syndrome จึงมีโอกาสเสียชีวิตสูง (เด็กที่ตกอยู่ในภาวะ Shaken Baby Syndrome จำนวน 1 ใน 3 คน มักจะเสียชีวิต) ที่เหลือรอดก็มีโอกาสตาบอด เป็นลมชัก หรือถ้ารอดก็มักมีปัญหาด้านการเรียนรู้ หรือสติปัญญาต่อไป

อย่าลืมเชียวนะครับ ลูกวัยแบเบาะกล้ามเนื้อคอยังไม่แข็งแรง ศีรษะก็ยังพยุงเองไม่ได้ ที่สำคัญคือสมองของสิ่งมีชีวิตนั้นเปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการทั้งร่างกายและจิตใจ สมองคือสิ่งมหัศจรรย์มีการพัฒนาเรื่อยมาตั้งแต่เด็กยังอยู่ในท้องแม่ และพัฒนาอย่างรวดเร็วหลังคลอดแล้ว แต่สมองของเด็กน้อยนั้นก็มีโอกาสได้รับการกระทบกระเทือนได้โดยง่าย เพราะศีรษะของเขามีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับสัดส่วนของลำตัว การพลัดตกหกล้ม ศีรษะจึงมักจะลงก่อน การกระเทือนถึงสมองจึงเป็นเรื่องน่าห่วงอย่างยิ่ง

นอกจากการพลัดตก ก็มีกรณีที่หลาย ๆ ท่านอาจนึกไม่ถึง ก็คือ การที่เด็กแบเบาะโดนเขย่าอย่างรุนแรงจนตาบอด พิการ หรือเสียชีวิต หลายสิบปีก่อน


การปฐมพยาบาล


เราไม่ควรเขย่าลูกนะคะ แต่ถ้าพบเห็นเด็กถูกเขย่าหรือพ่อแม่เองที่เผลอทำเสียเอง สิ่งที่ควรทำก็คือตั้งสติให้เยือกเย็นลง และรีบแก้ไขดังนี้

 1.พาเด็กไปรับการตรวจกับแพทย์ทันที

 2.อาการเริ่มแรกของผลกระทบจากการเขย่าเด็กรุนแรง ก็คือ อาเจียน หรือหายใจลำบาก ซึ่งคล้ายอาการของโรคที่ไม่รุนแรง เช่น ภาวะร้องไห้ 3 เดือน (โคลิก) กินนมมากเกินไป หรือให้นมไม่ถูกวิธี ดังนั้น จะต้องบอกคุณหมอว่าเด็กถูกเขย่าอย่างรุนแรง เพื่อแพทย์จะได้วินิจฉัยได้ถูกต้องและรักษาทันเวลา เพราะอาการ Shaken Baby Syndrome อาจมีผลให้สมองเด็กได้รับอันตราย หรือเลือดออกในสมองเพราะการเขย่ารุนแรง ซึ่งต้องรีบทำการรักษา 


มิฉะนั้นอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อเด็ก จนอาจไม่สามารถช่วยชีวิตเด็กได้ทัน



วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เตรียมสอบเข้า ป.1

             เตรียมสอบเข้า ป.1



การจำแนกประเภท






ความเข้าใจในการฟัง






ความเข้าใจในการอ่าน






















ความเหมือน






ความแตกต่าง






ความสัมพันธ์






ฝึกการเขียน-ลีลามือ






















ภาพซ้อน









รูปทรง






ลำดับเหตุการณ์ และสังเกตสิ่งผิดปกติ







ตัวอย่างข้อสอบ



ข้อสอบคณิตศาสตร์

















ข้อสอบภาษาไทย

















สติปัญญา คณิตศาสตร์ ภาษาไทย


























วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

เด็กเล็กกับการดูทีวี

          เด็กเล็กกับการดูทีวี  


        เด็กเล็กดูทีวีไม่เกิน 2 ชั่วโมง ช่วยเพิ่ม IQ กับ EQ





ทีวีก็ใช่ว่ามีแต่ของไม่ดี หากอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดยเมื่อเร็วๆ






นี้ศ.นพ. วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาการแพทย์ เปิดเผยจากผลงานวิจัยเรื่องการดูโทรทัศน์กับพัฒนาการทางภาษา สังคม และอารมณ์ของเด็กอายุ 1-3 ปี







พบว่าการให้เด็กเล็กดูทีวีไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง จะช่วยลดความเสี่ยงมิให้พัฒนาการทางภาษาล่าช้า หรือภาวะด้อยสมรรถนะทางสังคมและอารมณ์ ในขณะเดียวกัน จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางระดับสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น


โดยในปัจจุบัน ระดับไอคิวของเด็กไทยในปัจจุบันค่อนข้างต่ำ หากดูรายการที่ให้สาระความรู้ จะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางไอคิวดีขึ้น 23% ละมีระดับอีคิวดีขึ้น 37% นอกจากนี้ ยังพบว่าการเลี้ยงดูโดยให้แรงเสริมทาง บวก เช่น การชมเชยเมื่อเด็กทำสิ่งที่ถูกต้องและเสริมประสบการณ์
จะช่วยพัฒนาสมรรถนะทั้งสองด้านได้เช่นกัน












ที่มา : นิตยสาร Lisa

วิจัย-เด็กเล็กดูทีวีช่วยเพิ่มไอคิวอีคิว เสนอรัฐเพิ่มเวลารายการเด็ก ทั้งยังช่วยให้มีพัฒนาการ




แพทย์ไทยวิจัยพบ เด็กเล็กดูโทรทัศน์วันละ 1-2 ชั่วโมง ช่วยลดความเสี่ยงพัฒนาทางภาษาล่าช้า เพิ่มระดับไอคิว อีคิว เสนอรัฐบาลเพิ่มเวลารายการสำหรับเด็ก


ไทยโพสต์ * แพทย์ชี้เด็กเล็กดูทีวีวันละ 1-2 ชั่วโมง ช่วยลดความเสี่ยงพัฒนาการทางภาษาล่าช้า เพิ่มระดับไอคิวและอีคิวมากกว่าเด็กที่ไม่ดูโทรทัศน์ เน้นรายการให้สาระความรู้ เสนอรัฐบาลเพิ่มเวลารายการสำหรับเด็กมากขึ้น แต่ผู้ปกครองต้องควบคุมไม่ให้เด็กดูเกินวันละ 2 ชั่วโมง
ศ.นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ได้นำเสนอผลงานวิจัยเรื่องการดูโทรทัศน์กับพัฒนาการทางภาษา สังคมและอารมณ์ของเด็กอายุ 1-3 ปี โดยฝ่ายโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดประชุมวิชาการประจำปีเมื่อเร็วๆ นี้ ผลวิจัยพบว่า การให้เด็กเล็กดูโทรทัศน์ไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง จะช่วยลดความเสี่ยงต่อพัฒนาการทางภาษาล่าช้า และลดความเสี่ยงต่อภาวะด้อยสมรรถนะทางสังคมและอารมณ์ ในขณะเดียวกันจะส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการทางระดับสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น

ศ.นพ.วีระศักดิ์กล่าวว่า ระดับเชาวน์ปัญญาหรือไอคิวของเด็กไทยในปัจจุบันค่อนข้างต่ำ ซึ่งถือเป็นปัญหาทางด้านสุขภาวะของประชาชน ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา มีนักวิจัยไทยพยายามค้นหาเหตุปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กทารกอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป เป็นช่วงวัยที่สมองกำลังมีพัฒนาการทางด้านภาษาสูงสุด เด็กจะเริ่มหัดฟัง เรียนรู้ที่จะพูดและต้องการการตอบรับจากคนรอบข้างเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ทางด้านภาษา ในขณะที่ผลการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศแนะนำไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีดูโทรทัศน์ ซึ่งจะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า แต่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนถึงผลเสียข้อนี้ อีกทั้งงานวิจัยต่างประเทศไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับเด็กไทยได้ เพราะมีความแตกต่างกันในด้านโครงสร้างภาษา ค่านิยม แบบแผนการเลี้ยงดูและรายการโทรทัศน์ ทำให้ผลการศึกษามีความแตกต่างกัน

การทำงานวิจัยครั้งนี้ใช้เวลา 10 ปี เป็นการร่วมมือกันของนักวิจัยหลายสถาบัน เริ่มตั้งแต่ปี 2543-2553 เป็นโครงการระยะยาวที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเด็กและครอบครัวที่อาศัยในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ จ.น่าน 760 คน, อ.กระนวน จ.ขอนแก่น 852 คน, อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี 774 คน, อ.เทพา จ.สงขลา 1,061 คน และกรุงเทพฯ บริเวณพื้นที่รอบโรงพยาบาลรามาธิบดี 710 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 4,157 คน แบ่งเป็นชาย 2,074 และหญิง 2,083 คน
ศ.นพ.วีระศักดิ์กล่าวว่า การเก็บข้อมูลได้จากการสัมภาษณ์พ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูหลักเมื่อเด็กแต่ละคนมีอายุ 1 ปี, 2 ปี, 2.5 ปี และ 3 ปี สำรวจระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการดูโทรทัศน์ต่อวัน รายการที่เด็กดูประจำและประเมินพัฒนาการทางภาษา โดยใช้คำถามจากแบบคัดกรองพัฒนาการสำหรับเด็กอายุ 1-2 ปี แบบประเมินการพูดและภาษาของเด็กไทยที่อายุ 2.5-3 ปี ส่วนสมรรถนะด้านสังคมและอารมณ์ วัดสองครั้งโดยใช้เครื่องมือวัดพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม จริยธรรม เมื่ออายุ 1 ปี และ 3 ปี


"ผลการวิเคราะห์พบว่า การดูโทรทัศน์ 1-2 ชั่วโมงต่อวัน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้าได้ร้อยละ 21-31 และลดความเสี่ยงของการด้อยสมรรถนะทางสังคมและอารมณ์ได้ถึงร้อยละ 43 เมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่ได้ดูโทรทัศน์" นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติเผย
ศ.นพ.วีระศักดิ์กล่าวอีกว่า การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า เด็กที่ไม่ได้ดูโทรทัศน์จะมีพัฒนาการทางภาษา สังคมและอารมณ์ล่าช้ากว่าเด็กที่ดูโทรทัศน์ไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง โดยถ้าหากดูรายการที่ให้สาระความรู้ จะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางไอคิวดีขึ้น 23% และมีระดับความฉลาดทางอารมณ์หรืออีคิวเพิ่มขึ้น 37% เช่น สามารถรับฟังกติกาพ่อแม่ดีขึ้น แต่การดูโทรทัศน์มากกว่าวันละ 2 ชั่วโมงไม่ทำให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า การเลี้ยงดูโดยให้แรงเสริมทางบวก เช่น การชมเชยเมื่อเด็กทำสิ่งที่ถูกต้อง และการเสริมประสบการณ์นอกบ้าน ช่วยพัฒนาสมรรถนะทางสังคมและอารมณ์ได้ดีอีกด้วย


ด้าน ผศ.พญ.อัจฉรีย์ อินทุโสมา หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ นักวิจัยโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก กล่าวว่า ผลการวิจัยครั้งนี้ต่างกับคำแนะนำของผู้เชี่ยว ชาญต่างประเทศที่ไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีดูโทรทัศน์ เนื่องจากงานวิจัยในวิทยานิพนธ์นี้มีขนาดตัวอย่างจำนวนมาก ครอบคลุมทั่วประเทศ ติดตามเด็กอย่างละเอียดโดยผู้เชี่ยวชาญและต่อเนื่องระยะยาว ใช้สถิติในการวิเคราะห์ที่เหมาะสม ทำให้ผลวิจัยมีความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ดียังต้องติดตามผลระยะยาวในเด็กกลุ่มนี้ต่อไป ทั้งนี้มีข้อแนะนำว่า ปัจจุบันเด็กทารกและวัยเตาะแตะดูโทรทัศน์เป็นส่วนใหญ่ อาจไม่จำเป็นต้องส่งเสริมให้ดูมากขึ้น แต่สิ่งที่ต้องทำคือ รัฐบาลและสถานีโทรทัศน์จะต้องเพิ่มรายการที่เป็นประโยชน์สำหรับเด็กเล็ก และยังควรจำกัดการดูโทรทัศน์ไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง

ผศ.พญ.อัจฉรีย์กล่าวว่า การเก็บข้อมูลเด็กดูรายการโทรทัศน์แบ่งเป็น 7 ประเภทคือ การ์ตูน สารคดี รายการเด็ก ข่าว โฆษณา กีฬาและรายการเพื่อความบันเทิง โดยรายการโทรทัศน์ที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางไอคิวและอีคิวได้ดีที่สุดคือ รายการเด็กที่ให้ความรู้ เช่น เจ้าขุนทอง หนูดีมีเรื่องเล่า และสารคดีชีวิตสัตว์โลก ส่วนการ์ตูนและรายการประเภทอื่นๆ ไม่มีประโยชน์สำหรับเด็ก ส่วนค่าเฉลี่ยระยะเวลาในการดูโทรทัศน์จะเพิ่มขึ้นตามวัยคือ เด็กอายุ 1 ปีดูวันละ 10 นาที, อายุ 2 ปีดูวันละ 40 นาที และอายุ 3 ปีดูวันละ 1 ชั่วโมง โดยเด็กเล็ก 11-15% ที่ดูรายการให้ความรู้และมีพัฒนาการทางภาษา สังคมและอารมณ์ดีกว่าเด็กที่ดูรายการประเภทอื่น.








ที่มา : ไทยโพสต์




ดนตรี เพื่อลูกน้อย

                    ดนตรี เพื่อลูกน้อย







ดนตรี เพื่อลูกน้อย




นับตั้งแต่สัปดาห์ที่ 16 ทารกในครรภ์เริ่มพัฒนาประสาทสัมผัสทางด้านการฟัง เมื่อคลอดออกมาแล้วพัฒนาการด้านการฟังของลูกยังคงดำเนินต่อไป คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้เสียงเพลงและเสียงดนตรี ช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกให้ก้าวหน้าได้ค่ะ

ฉบับนี้ รศ.ดร.ณรุทธ์ สุทธิจิตต์ สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีสำหรับเด็ก ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเพลงสำหรับลูกน้อยในขวบปีแรกดังนี้ค่ะ




ดนตรีสำหรับทารก

ดนตรีและเสียงเพลง มีประโยชน์มหาศาลสำหรับพัฒนาการของลูกน้อย จากการวิจัยเสียงเพลงที่เหมาะสำหรับทารก คือ ดนตรีและเสียงที่มีระเบียบแบบแผน หมายถึง การใช้ท่วงทำนองจังหวะ เมโลดี้ ที่เป็นระเบียบ ฟังสบาย เช่น เพลงคลาสสิก โมสาร์ท เสียงดนตรีเป็นคลื่นเสียงชนิดหนึ่ง ซึ่งมีผลกับสมองและอารมณ์โดยตรงของทารก ดังนั้นการเลือกดนตรีหรือเพลงที่มีคลื่นเสียงที่เป็นระเบียบ จะส่งผลให้คลื่นสมองทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบช่วยสร้างสมาธิ ส่งผลต่อการพัฒนาคลื่นสมอง และระบบการคิดที่ดี ตรงกันข้ามเสียงเพลงที่มีลักษณะท่วงทำนองรุนแรง ไม่เป็นจังหวะ หรือเสียงเพลงที่มีเสียงร้องสูงต่ำ หรือตะโกนโหวกเหวกจะเป็นคลื่นเสียงที่ไม่เป็นระเบียบ





เพลงคลาสสิก ดีต่อทารก


การกระตุ้นโดยดนตรี และเสียงเพลงที่มีระเบียบแบบแผน อย่างเพลงคลาสสิกของโมสาร์ท มีผลให้สมองและการฟังของทารกมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะเพลงคลาสสิก คือ เสียงเพลงผ่านการแต่งทำนอง และเมโลดี้อย่างพิถีพิถันและมีคลื่นเสียงที่เป็นระเบียบ สร้างความรู้สึกผ่อนคลายและสุขสงบ ส่งผลให้ทารกเกิดความพึงพอใจและพัฒนาความสามารถในการรับฟังของทารก




งานวิจัยเสียงดนตรีคลาสสิก


งานวิจัยเกี่ยวกับ การฟังเพลงของโมสาร์ท โดยคุณหมอที่ศูนย์การแพทย์ Tel Aviv ในอิสราเอล เปิดให้เด็กทารก 20 คน ที่คลอดก่อนกำหนดและอยู่ในการดูแลของแพทย์ฟังวันละครั้ง ครั้งละ 30 นาที พบว่าหลังจากฟังดนตรีแล้ว เด็กทารกที่เกิดก่อนกำหนดกลุ่มนั้น จะสงบลงและใช้พลังงานน้อยลงกว่าเด็กทารกกลุ่มที่ไม่ได้ฟังดนตรี นักวิจัยบอกว่า เมื่อเด็กทารกใช้พลังงานน้อยลง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้แคลอรี่ จำนวนมากในการเจริญเติบโต เด็กที่เกิดก่อนกำหนดเหล่านั้น จึงมีน้ำหนักตัวมากขึ้นและแข็งแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว



เด็กทารกที่ได้ฟัง ดนตรีเป็นประจำ จะรู้สึกสบายและช่วยลดความเครียดลดอัตราการเต้นของหัวใจ และช่วยให้เด็กทารกสงบลงได้ เสียงเพลงหรือเสียงดนตรีจะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองซีกขวา และส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอ่านได้รับการกระตุ้นไปด้วย





ประโยชน์ของเพลงคลาสสิก



เด็กทารกที่ได้ฟัง ดนตรีเป็นประจำ จะรู้สึกสบายและช่วยลดความเครียดลดอัตราการเต้นของหัวใจ และช่วยให้เด็กทารกสงบลงได้ เสียงเพลงหรือเสียงดนตรีจะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองซีกขวา และส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอ่านได้รับการกระตุ้นไปด้วย ตัวโน้ตและจังหวะเคาะที่คล้ายกับการอ่านหนังสือแต่ละตัว ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองซีกซ้ายที่เกี่ยวกับเหตุผลและภาษา เสียงเพลงจังหวะสนุกๆ ที่ฟังแล้วชวนให้ขยับตัวไปมา แล้วการที่หนูน้อยโยกตัวไปมาตาม หรือเต้นตามจังหวะตามเพลงนั้นๆ ก็เป็นการออกกำลังกายอย่างดีที่ช่วยให้กล้ามเนื้อของเจ้าหนูแข็งแรง






หลังการเลือกเพลง สำหรับลูกน้อยวัยขวบปีแรก


เสียงดนตรีที่ลูกน้อยควรได้รับฟังนั้น ควรเลือกให้เหมาะสมกับพัฒนาการด้านการฟังในแต่ละช่วงวัยดังนี้




1-3 เดือน


เลือกเพลงสบาย ๆ ช้า ๆ จังหวะคงที่ ซึ่งควรเป็นเสียงดนตรี บรรเลงที่มีความนุ่มนวล อ่อนโยน จะทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่นและสบายใจ



4-6 เดือน


เลือกเสียงเพลง ทุ้ม ๆ นุ่มนวล ในช่วงวัยนี้ลูกสามารถเรียนรู้จังหวะได้มากขึ้น ตอบสนองต่อจังหวะและทำนอง เมื่อได้ยินจังหวะที่ชื่นชอบจะแสดงความพึงพอใจ เช่น ผงกศีรษะ หรือโน้มตัวลงตอบสนองต่อเสียงดนตรี



7-9 เดือน


เลือกเพลงที่มี จังหวะสนุกสนานสลับกับเพลงสบาย ๆ ช้า ๆ ที่เปิดในช่วงแรก เพราะช่วงนี้ลูกจะมีพัฒนาการทางร่างกายเพิ่มขึ้น เช่น เริ่มส่ายหัวขยับแขนและมือตามจังหวะเพลง เริ่มจำทำนองเพลงได้ ซึ่งต้องสังเกตอารมณ์และความต้องการของลูกด้วย



10-12 เดือน


เลือกเพลงที่เป็น คำคล้องจองที่มีเนื้อร้องสั้น ๆ ง่าย ๆ ในวัยนี้ลูกมีพัฒนาการทางภาษามากขึ้น และเริ่มออกเสียงเป็นพยางค์ได้บ้างแล้ว ลูกจะพยายามส่งเสียงเลียนแบบเสียงที่ได้ยินและแสดงท่าทางต่าง ๆ ตามเพลงได้มากขึ้น



ข้อควรระวัง ในการเปิดเพลงให้ลูกฟัง




หลีกเลี่ยงการเปิดเพลงที่เสียงดังเกินไป เพราะประสาทการรับเสียงของลูกจะถูกทำลาย

ทารกในช่วงวัน 1-3 เดือนนั้น ยังไม่ควรเปิดเพลงที่มีเสียงร้อง เพราะเสียงร้องอาจรบกวนสมาธิและการนอน







Music tip



สำหรับ คุณพ่อคุณแม่ที่ไม่ถนัดฟังเพลงคลาสสิก สามารถเลือกใช้เพลงที่มีจังหวะและทำนองเบา ๆ ฟังสบาย ๆ ได้ เช่น เพลงพื้นบ้าน ไทยเดิม หรือเพลงสากล เพลงกล่อมเด็กก็ล้วนมีประโยชน์ ดังนั้นควรให้ลูกน้อยได้รับฟังดนตรีหลากหลายประเภท แล้วสังเกตว่าลูกชอบฟังดนตรีแบบไหนมากที่สุด คุณพ่อคุณแม่อาจร้องเพลงนั้นให้ฟังบ่อย ๆ หรือจะเปลี่ยนเนื้อเพลงไปบ้างเพื่อให้ลูกรู้สึกแปลกใหม่อยู่เสมอ นอกจากนี้ยังเป็นการปลูกฝังให้ลูกมีเสียงดนตรีในหัวใจอีกด้วย














ที่มา : Mother & Care


วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

โรคดิสเล็กเซีย Dyslexia คืออะไร

    โรคดิสเล็กเซีย Dyslexia คืออะไร



 
ดิสเล็กเซียคือโรคที่มีความบกพร่องทางทักษะและบ่อยครั้งเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ การอ่านและทักษะการคำนวณ อย่างไรก็ตามเด็กที่เป็นโรคนี้อาจเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์และมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เพียงแต่ต้องการการดูแลเอาใจใส่หรือกระบวนการการเรียนรู้ที่แตกต่างไปจากเด็กคนอื่นๆ บ่อยครั้งอาจนำไปสู่ความล่าช้าของพัฒนาการทำให้ส่งผลกระทบต่อเรื่องการเรียนของเด็ก เช่น เรียนไม่ทันเพื่อน

 
โรคดิสเล็กเซีย เป็นโรคความบกพร่องที่ค่อนข้างซับซ้อน สืบเนื่องมาจากมีปัจจัยหลายอย่างเกี่ยวข้องกันและแพทย์ยังคงหาสาเหตุที่แท้จริงไม่พบว่าเกิดจากสาเหตุใด

 
  • ภาวะบกพร่องด้านการสะกดคำ
  • ภาวะบกพร่องด้านการตีความ
  • ภาวะบกพร่องด้านการเรียงลำดับความสำคัญของคำที่อ่าน รวมถึงไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน
  • ภาวะบกพร่องด้านความจำ อ่านแล้วมักลืมสิ่งที่เคยอ่าน
  • ขาดทักษะด้านการอ่านออกเสียง อ่านไม่คล่อง ตะกุกตะกัก
  • มักสับสนด้านซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย
  • ไม่สามารถจับใจความเนื้อหาที่อ่านไปแล้วได้
  • ภาวะบกพร่องทางทักษะการคำนวณ
  • ภาวะบกพร่องด้านการแยกแยะโทนเสียงดนตรี
  • มักสับสนเวลาเขียน ลายมือไม่เป็นระเบียบ
  • ภาวะบกพร่องด้านการสื่อสารในสิ่งที่คิด ไม่สามารถอธิบายใจความสำคัญได้

 
โดยส่วนใหญ่แล้วยากที่จะพบเด็กที่มีความบกพร่องทั้งหมดที่กล่าวมานี้ในบุคคลเดียวกัน เนื่องจากภาวะความบกพร่องบางอย่างอาจขึ้นอยู่กับความรุนแรง ชนิด ของแต่ละบุคคลเอง
จากภาวะบกพร่องดังที่กล่าวไว้ด้านบนนั้นมักเป็นความบกพร่องขั้นพื้นฐานของโรคดิสเล็กเซียซึ่งบ่อยครั้งสามารถส่งผลไปในทางที่รุนแรงกว่าเดิมได้ เช่น ทำให้เด็กที่เป็นหมดความมั่นใจในตัวเอง มีความกระวนกระวายและส่งผลให้เด็กที่เป็นโรคดิสเล็กเซียเป็นคนเจ้าอารมณ์ หรือแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ขาดความมั่นใจในการเข้าสังคมกับเพื่อนๆ
ผู้ปกครองจะทราบได้อย่างไรว่าเด็กเป็นโรคดิสเล็กเซีย
เนื่องจากธรรมชาติที่ซับซ้อนของโรค จึงมีความจำเป็นที่นักจิตวิทยาการศึกษาต้องทำการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มขึ้น เพื่อที่นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญสามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวภาวะบกพร่องด้านการศึกษาได้

สาเหตุของการเกิดโรคดิสเล็กเซียนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด ทั้งนี้เป็นโรคที่สามารถพบได้ทั่วไปในทุกช่วงอายุและเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ประมาณ 10 % ของจำนวนประชากรเป็นโรคนี้และมีจำนวน 4 % ที่อยู่ในขั้นรุนแรง



สัญญาณต่อไปนี้บ่งบอกว่าเด็กอยู่ภาวะเสี่ยงที่จะเป็นโรคดิสเล็กเซีย

 
  • มักอ่านคำผิดพลาดหรือมีความยากลำบากในการอ่านตัวอักษร
  • ใช้เวลานานในการอ่านและหลังอ่านเสร็จไม่สามารถจับใจความสิ่งที่อ่านได้
  • สะกดคำไม่คล่อง
  • ไม่สามารถเขียนได้อย่างถูกต้องหรือมองคำที่คุณครูเขียนบนกระดานแล้วไม่สามารถเขียนตามตัวอย่างได้
  • สามารถทำงานบางอย่างได้ดีแต่ในขณะเดียวกันไม่สามารถทำอีกอย่างหนึ่งได้
  • ไม่สามารถเรียนรู้หรือจดจำตาราง วัน เวลา หรือแม้กระทั่งปีได้
  • มักมีปัญหาในการจดจำตัวเลขหลายหลัก มักสับสน เช่น เบอร์โทรศัพท์
  • มีปัญหาในการเรียงลำดับความสำคัญของประโยคคำสั่งรวมถึงสิ่งที่อ่านไป
  • มักสับสนด้านขวาหรือซ้าย การมองเห็นมักจะกลับด้าน และการเขียนตัวอักษรและตัวเลขมักจะกลับด้านเสมอ
  • ไม่สามารถเขียนเพื่อสื่อความหมายได้ โดยสะกดคำผิด หรือใช้สรรพนามผิด รวมถึงไม่สามารถเอาตัวอักษรใส่ตามเสียงที่ได้ยินได้ และไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างคำต่าง ๆ ได้
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการแยกแยะโทนเสียง ไม่สามารถแยกเสียงโน้ตดนตรีได้
  • ทำตามคำสั่งผิดพลาด โดยเด็กไม่สามารถแยกแยะสิ่งที่ถูกบอกให้ทำได้ จับใจความไม่ได้ เรียงลำดับความสำคัญไม่ได้
โดยส่วนใหญ่แล้วโรคดิสเล็กเซียนั้นมักมีแนวโน้มที่จะแสดงอาการเมื่อเด็กที่มีอายุ 5 ขวบขึ้นไปในขณะที่คนส่วนใหญ่มักคิดว่าโรคดิสเล็กเซียนั้นมักแสดงอาการตั้งแต่กำเนิด หากพ่อแม่สงสัยว่าบุตรของตัวเองมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้สามารถติดต่อปรึกษาไปยังหน่วยงานหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะสามารถให้คำแนะนำและหาทางรักษาอาการของโรคของแต่ละช่วงวัยได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเด็กแต่ละคนอาจมีอาการของโรคไม่เหมือนกัน


 
การรักษา 

 

โรคนี้มีทางรักษาได้เพราะถ้าพ่อแม่สังเกตเห็นความผิดปกติได้เร็ว ก็จะทำให้ช่วยเหลือเด็กได้เร็วขึ้น และสามารถมีพัฒนาการปกติตามวัยได้

พ่อแม่ควรเรียนรู้ และทำความเข้าใจว่าโรคดิสเล็กเซียคืออะไร มีลักษณะชนิดของโรคแตกต่างกันอย่างไรบ้างและอยู่ในช่วงวัยใด เพื่อจะได้สามารถดูแลบุตรได้อย่างถูกต้อง
โรคดิสเล็กเซียนั้นไม่ถือเป็นโรค ดังนั้นจึงไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยยา แต่แพทย์และพ่อแม่ควรดูแลให้บุตรอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ดี เอาใจใส่และสอนให้เด็กรู้จักปรับตัว เพื่อให้มีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้น
สถาบันทางการแพทย์ของโรคดิสเล็กเซียได้ทำการค้นคว้าว่าเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางนั้นๆ ซึ่งจะเป็นการรักษาที่ดีกว่า เพราะเด็กแต่ละคนนั้นมีการบกพร่องแตกต่างกัน
สถาบันทางการแพทย์ของโรคดิสเล็กเซียได้จัดทำคู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อศึกษาและดูแลเด็กเมื่ออยู่ที่บ้านได้อย่างถูกต้องมีชื่อเรียกว่า DIY Readers Support Pack for Parents โดยสามารถติดต่อขอซื้อได้ที่โทรศัพท์หมายเลข 01784 222300 หรือผ่านทางเว็บไซ ต์ http://212.42.166.15/dysinst/index.htm



คำแนะนำอื่นๆ เกี่ยวกับโรคดิสเล็กเซีย

พ่อแม่ไม่ควรแสดงอาการหงุดหงิดหรือโกรธใส่เด็ก เพราะนอกจากจะทำให้เด็กเกิดความเครียดแล้วยังอาจทำให้เด็กขาดความมั่นใจในการเรียนรู้มากขึ้น เมื่อเด็กอ่านหรือสะกดคำผิดควรแนะนำและสอนให้อ่านอย่างถูกต้องและค่อยเป็นค่อยไป บ่อยครั้งเด็กอาจอ่านคำศัพท์คำเดียวกันในครั้งแรกถูกต้องแต่ครั้งหลังอาจอ่านไม่ได้หรือแสดงอาการท้อแท้ ดังนั้นพ่อแม่จึงต้องมีความใจเย็นค่อยเป็นค่อยไป
การที่พ่อแม่ให้ความสำคัญกับการสะกดคำหรือการอ่านมากจนเกินไปจนทำให้เด็กขาดโอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพในด้านอื่นๆ ที่พวกเขาเหล่านั้นอาจมีอยู่ บ่อยครั้งเด็กที่เป็นโรคดิสเล็กเซียนั้นมักเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์ เป็นตัวของตัวเองสูง มักมีความคิดนอกกรอบและสร้างสรรค์ มักมีแนวโน้มที่จะบุกเบิกรังสรรค์แนวคิดแปลกใหม่ (Lateral Thinking) เพื่อสร้างแนวทางใหม่ๆ สู่ความสำเร็จ ดังนั้นพ่อแม่จึงมีความสำคัญมากที่จะต้องดูแลเอาใจใส่และคอยเป็นกำลังใจแก่พวกเขา
บ่อยครั้งที่พ่อแม่บางคนแสดงอาการวิตกกังวลจนเกินไปเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ หรือการมีพัฒนาการที่ช้าของเด็กจนบางครั้งอาจมองข้ามสิ่งสำคัญไป หรืออาจคิดว่าเด็กไม่น่าจะเป็นโรคนี้ได้ จงอย่ามองข้ามสัญญาณสำคัญแม้เพียงเล็กน้อย หากเด็กมีแนวโน้มว่าเป็นเด็กฉลาดมีพรสวรรค์แต่กลับมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันทีเพื่อทำการทดสอบแต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะรักษาได้อย่างทันท่วงที
พ่อแม่บางคนไม่อยากยอมรับว่าบุตรของตัวเองเป็นเด็กที่มีความบกพร่องหรือผิดปกติเพราะอาจทำให้เด็กรู้สึกมีปมด้อย โรคดิสเล็กเซียนั้นไม่ใช่โรคอย่างแท้จริง เพราะความจริงแล้วดิสเล็กเซียนั้นเป็นเพียงคำนิยามจำกัดความของอาการที่มีความบกพร่องทางทักษะเท่านั้นและเด็กสามารถมีอาการดีขึ้นได้
พ่อแม่หลายคนมักโทษตัวเองและแสดงความผิดหวังหรือเสียใจที่บุตรของตัวเองมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ บ่อยครั้งมักโทษตัวเองที่ไม่สามารถดูแลบุตรได้ดีพอหรือขาดคุณสมบัติของการเป็นพ่อแม่ที่ดี ซึ่งแท้จริงแล้วไม่ได้เป็นความผิดของพ่อแม่ เพราะไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเด็กคนไหนอาจมีโอกาสเป็น แต่เป็นโรคที่มีทางที่จะทำให้อาการทุเลาลงได้และเด็กสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ








โรค Dyslexia





baby

หนูน้อย Dyslexia  (รักลูก)
  โดย: เมธาวี



อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ไม่เข้าใจการเรียน ลูกอาจเป็น Dyslexia



Dyslexia หรือที่บางคนรู้จักในชื่อสั้น ๆ ว่า LD คือโรคที่มีความบกพร่องทางทักษะการเรียนรู้ ซึ่งมีสถิติพบการเป็นโรคประมาณ 5% ของเด็กไทย โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน


1. ความบกพร่องทางทักษะการอ่าน (Reading Disorder) คือการที่เด็กอ่านได้น้อยกว่าปกติ และมีความยากลำบากในการอ่านตัวอักษร รวมทั้งสะกดคำไม่คล่อง อ่านตะกุกตะกัก อ่านช้า หรือบางคนอ่านได้คล่อง แต่เมื่ออ่านเสร็จกลับจับใจความสิ่งที่อ่านไม่ได้เลย ไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร หรือไม่รู้ว่าตัวเองกำลังอ่านอะไรอยู่ ทำให้ส่งผลกระทบต่อเรื่องการเรียนของเด็ก เช่น เรียนไม่ทันเพื่อน ทำข้อสอบไม่ได้ ต้องเรียนซ้ำชั้น เป็นต้น โดยพบว่าเด็กมีความบกพร่องทางด้านนี้มากที่สุด


2. ความบกพร่องทางทักษะการเขียน การสะกดคำ การสร้างคำ หรือการสร้างประโยค (Spelling หรือ Written expression disorder) คือการที่เด็กไม่สามารถเขียนเพื่อสื่อความหมายได้ โดยสะกดคำผิด หรือใช้สรรพนามผิด ทำให้เขียนแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง เช่น เด็กต้องการจะเขียนเรียงความ แต่ไม่เข้าใจเรื่องโครงสร้างประโยคว่าต้องมีประธาน กริยา กรรม ส่งผลให้อ่านไม่รู้เรื่อง และไม่เข้าใจความหมายที่เด็กเขียนขึ้นมา


3. ความบกพร่องทางทักษะการคำนวณ (Mathematics หรือ Calculation disorder) คือเด็กกลุ่มนี้จะขาดทักษะด้านการคำนวณ ไม่เข้าใจกระบวนการของการบวกเลข ลบเลข เช่น การบวกคือการเพิ่มจำนวนขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งเด็กจะไม่เข้าใจว่าเพิ่มอย่างไร บวกกันแล้วได้เท่าไหร่ ส่วนเรื่องการลบ คือการหักออกไปเรื่อยๆ ซึ่งเด็กก็จะไม่เข้าใจว่าต้องหักออกอย่างไร หรือลบออกแล้วเหลือเท่าไหร่


นอกจากนี้ยังมีเด็กบางคนที่ไม่เข้าใจกระบวนการ การทดเลข รวมไปถึงการแปลโจทย์ปัญหาด้วย เช่น เมื่อให้โจทย์เลข 5+7 เท่ากับเท่าไหร่ เด็กสามารถตอบได้ว่าเท่ากับ 12 แต่ถ้าบอกว่า มีเงิน 5 บาท แม่ให้มาอีก 7 บาท รวมแล้วมีเงินเท่าไหร่ เด็กจะแปลโจทย์ไม่ออกว่าต้องทำอะไรบ้าง



สาเหตุ


สาเหตุของการเกิดโรค Dyslexia หรือ LD ยังไม่ทราบแน่ชัด รู้แต่เพียงว่าเกิดจากความผิดปกติของการทำงานที่เซลล์สมองซีกซ้าย ด้านหน้า เรียกว่า Parietal lobe ซึ่งเป็นความบกพร่องของการทำงานของระบบประสาทในเรื่องของการตีความ เรื่องของความจำระยะสั้น


นอกจากนี้มีงานวิจัยระบุว่า โรคนี้มีการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ โดยมีโครโมโซมบางตัวที่ผิดปกติ ซึ่งโครโมโซมตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกตินี้ คือโครโมโซมตัวที่ 7 แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดค่ะ


อย่างไรก็ตามโรค Dyslexia สามารถเชื่อมโยงกับโรคทางพันธุกรรมอย่างอื่นได้ เช่น โรคสมาธิสั้น โรคออทิสติก หรือแม้กระทั่งโรคสติปัญญาบกพร่อง ซึ่งอาจจะเกิดร่วมกันและสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ด้วย


และอีกสาเหตุหนึ่งที่อาจส่งผลให้เกิดโรคนี้ได้ คือการใช้ชีวิตในแต่ละบ้าน ที่บรรยากาศในบ้านไม่มีการส่งเสริมให้อ่านหนังสือเลย หรือเด็กที่มีโอกาสน้อยทางการศึกษา ทำให้การกระตุ้นเซลล์สมองไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้เกิดความบกพร่องทางการเรียนรู้ขึ้นได้




สังเกตอาการของ Dyslexia



คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการของลูกน้อยได้ ตั้งแต่วัยขวบปีแรก หรือก่อนเข้าเรียนอนุบาลได้ โดยสังเกตจากการพูด หากมีปัญหาเรื่องการพูดช้าตั้งแต่เด็ก หรือมีพัฒนาการทางด้านภาษาที่บกพร่อง เช่น


อายุ 1 ขวบ ยังพูดเป็นคำไม่ได้ เรียกพ่อแม่ไม่ได้


อายุ 2-3 ขวบ ยังพูดได้น้อยกว่าปกติ เมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน


อายุ 3 ขวบ ยังไม่สามารถเล่าเรื่องราวได้ หรือเล่าไม่รู้เรื่อง พูดติดอ่างวนไปวนมา


อายุ 5-6 ขวบ ไม่เข้าใจคำว่า ซ้าย-ขวา หรือเรียกว่า Mirroring effect คือการมองเห็นของเด็กจะกลับด้าน เช่น ใส่รองเท้าผิดข้างตลอด และยังเขียนกลับด้านตลอดด้วย เช่น ม เป็น น ถ เป็น ภ d เป็น b หรืออ่านหนังสือจากขวาไปซ้าย รวมไปถึงการเขียนตัวอักษรและตัวเลขจะกลับด้านกันหมด ต้องส่องกระจกถึงจะอ่านตามปกติได้


ดังนั้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกมีพัฒนาการช้า หรือถ้าเทียบเท่ากับเพื่อนในวัยเดียวกันแล้วยังดูว่าช้าผิดปกติ ควรพามาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด เพราะบางครั้งเด็กยังไม่ได้เข้าข่ายถึงกับเป็นโรค แต่เป็นแค่ความล่าช้าของพัฒนาการ ที่อาจเกิดจากการที่พ่อแม่ไม่ได้กระตุ้น หรือฝึกฝนเท่าที่ควร เพราะปล่อยให้ลูกอยู่กับโทรทัศน์ทั้งวัน เพราะถ้าสังเกตเห็นความผิดปกติเร็ว ก็จะทำให้ช่วยเหลือเด็กได้เร็วขึ้น และสามารถมีพัฒนาการปกติตามวัยได้


โรคนี้มีทางรักษาค่ะ อยู่ที่คุณพ่อคุณม่เป็นสำคัญ ถ้ามีความเข้าใจแล้วล่ะก็ เราจะช่วยลูกให้มีอาการดีขึ้นได้แน่นอนค่ะ







 
วิธีช่วยเหลือเด็ก Dyslexia และ Dyspraxia


ที่มา : หนังสือบันทึกคุณ คอลัมน์ kids 6-9 เด็กพิเศษ หน้าที่ 154 ฉบับที่ 110 ปีที่ 9 กันยายน 2545
โดย : พริกไท
รวบรวมโดย : สถาบันเด็ก มูลนิธิเด็ก



มีเคล็ดลับในการดูแลเด็กพิเศษกลุ่มอาการต่าง ๆ มานำเสนอ เนื้อหาก็จะเป็น How to ง่าย ๆ เกี่ยวกับการดูแล การฝึกฝนและการกระตุ้นทักษะด้านต่าง ๆ ในแต่ละอาการ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น How to ของเราเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น หากต้องการข้อมูลที่ละเอียดลึกซึ้งมากกว่านี้ ก็อยากแนะนำให้ปรึกษาแพทย์สาขาจิตเวชเด็กจะดีที่สุดค่ะ
 

กลุ่มอาการ Dyrpraxia


เด็กกลุ่มนี้จะมีปัญหาเรื่องของการแต่งตัว เช่น การใส่กระดุม การผูกเชือกรองเท้า, การหยิบของชิ้นเล็ก ๆ, มีปัญหาเรื่องทิศทาง ซ้าย/ขวา/หน้า/หลัง/บน/ล่าง, การขี่จักรยาน หรือเล่นฟุตบอล, การจับดินสอ, การต่อจิ๊กซอว์ หรือการแบ่งกลุ่มสิ่งของ หรืออาจจะมีปัญหาเรื่องการพูดและภาษาด้วย
 

ช่วยเหลือได้อย่างไร?


เลือกใช้รองเท้าที่ไม่ต้องใช้เชือกผูก
ให้เด็กสวมเสื้อผ้าหลวม ๆ
หลีกเลี้ยงอะไรที่ต้องผูก เช่น เนคไท เชือกรองเท้า
สำหรับกระดุมเสื้อเชิ้ตให้ใช้กระดุมเม็ดใหญ่ และรังดุมก็ต้องใหญ่ด้วยเช่นกัน
ถุงเท้า ถ้าเป็นไปได้เอาแบบสั้น ๆ เพราะว่าถุงเท้าเป็นอะไรที่จับและดึงยากสำหรับเด็กกลุ่มนี้
เลือกเสื้อที่เห็นความแตกต่างของด้านหน้าและด้านหลังอย่างชัดเจน เช่น เสื้อยืดคอวี
ควรช่วยให้เด็กฝึกทักษะเกี่ยวกับการมอง การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น นิ้วมือด้วยการจับดินสอ และเขียนหนังสือ และช่วยเรื่องกล้ามเนื้อมัดใหญ่ด้วยการออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อ
พาเด็กไปหานักฝึกพูด จะช่วยให้เด็กออกเสียงดได้ง่ายขึ้น (ในกรณีที่เด็กมีปัญหาเรื่องการออกเสียงลำบาก) และให้เด็กเรียนโปรแกรมสำหรับเด็กพิเศษโดยเฉพาะสำหรับที่โรงเรียน คุณแม่ควรจะขอความช่วยเหลือจากครูในเรื่องต่อไปนี้ การชมเชยเด็กในสิ่งที่เขาทำ แต่ควรจะแน่ใจว่าไม่ทำให้เด็กคนอื่นรู้สึกว่าไม่ยุติธรรมและพยายามหาข้อดีจากงานของเด็กเสมอ ๆ รวมทั้งขอให้เพื่อ ๆ ชมเชยความพยายามของเขาด้วย
ควรให้เขารับผิดชอบหรือมีหน้าที่บางอย่างที่มีการข้องเกี่ยวกับผู้อื่น ส่งเสริมให้เด็กทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งขอให้เพื่อน ๆ ช่วยดึงเด็กเข้ากลุ่มและหลีกเลี่ยงการทำให้เด็กแยกตัวออกจากกลุ่ม
สำหรับเรื่องสายตา คุณแม่และครูควรช่วยกันดูอย่างใกล้ชิด และช่วยกันประเมินผล ดูว่าเด็กเขียนตัวเลขหรือตัวหนังสือกลับด้านหรือเปล่า ซึ่งการดูแลใกล้ชนิดก็สังเกตได้ง่ายขึ้นและช่วยให้การประเมินผลแน่นอนกว่าการคาดเดา

กลุ่มอาการ Dyslexia


เด็กกลุ่มนี้มีสติปัญญาปกติ และมีหลายคนที่มีความคิดสร้างสรรค์มาก แต่พวกเขาจะมีปัญหาในเรื่องของการอ่าน การเขียนและการสะกด การแปล และการคำนวณทางคณิตศาสตร์

 
ช่วยเหลือได้อย่างไร?


สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อรู้ว่าลูกมีอาการ Dyslexia ก็คือการพูดคุยกับครู เพื่อไม่ให้ครูว่าเด็กโง่ (เด็กกลุ่มนี้เจอปัญหานี้บ่อยมาก) เพราะจะทำให้เด็กมีปัญหาด้านจิตใจตามมา  การอ่าน, การเขียน, การสะกด, การคำนวณ เป็นทักษะที่ควรได้รับการฝึกฝนอย่างตั้งใจและมีเป้าหมายที่แน่นอน  อ่านหนังสือให้ลูกฟังทุก ๆ วัน และให้ลูกหัดอ่านตาม  จัดเตรียมให้เด็กเขียนและอ่านสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเขาในชีวิตประจำวัน  การสอนคำศัพท์และความหมาย ให้อธิบายคำที่เกี่ยวข้องไปในตัวด้วย จะดีกว่าการสอนแบบเป็นคำ ๆ  ส่งเสริมและกระตุ้นให้เด็กรู้สึกว่าการอ่านเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น
ลองหาสถานที่ที่ช่วยทำให้การอ่านมีความเพลิดเพลิน หรือผ่อนคลาย และทำให้เด็กเห็นคุณค่าและมีความจำเป็น ชมเชยเด็กมาก ๆ เมื่อเห็นพัฒนาการ หรือเมื่อมีทักษะใหม่ ๆ เกิดขึ้น
สอนเทคนิคการออกเสียงให้เด็กรู้ และสอนการสร้างคำใหม่ (คำซ้อน, คำผสม) รวมทั้งการสร้างประโยคใหม่  ควรเลือกแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์อย่างรอบคอบ เพื่อให้แน่ใจว่ามันเป็นเรื่องที่เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของเด็ก  หัดให้เด็กได้ฝึกใช้ประสาทสัมผัสหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน เช่น ตาดูหูฟัง มือจด  ปรับปรุงและทบทวนว่าแบบฝึกหัดแต่ละอย่างเหมาะสมกับเด็กหรือไม่ ความถี่และระยะเวลาในการสอนแต่ละเรื่องเหมาะสมหรือไม่















วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ใบบัวบก

                       ใบบัวบก



บัวบก เป็นพืชสมุนไพรที่อยู่ในแถบเอเชีย



สรรพคุณของใบบัวบก




วิดีโอ YouTube


ใบบัวบกสามารถช่วยรักษาแผลให้หายได้เร็วขึ้นและยังช่วยลดอาการอักเสบของแผลได้ดี เพราะมีกรดมาเดคาสสิก กรดอะเซียติก และสารอะเซียติโคไซด์ ยืนยันได้เพราะยาแผนปัจจุบันทำเป็นรูปครีมผงโรยแผล ยาเม็ดรับประทาน เพื่อใช้รักษาแผลสดและแผลผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นแผลไฟไหม้ หรือแผลฝีหนองหรือแผลสด บัวบกจัดการได้หมด โดยใช้ใบและต้นสดตำละเอียดคั้นน้ำทานวันละ 3 - 4 ครั้ง หรืออาจใช้กากพอกบริเวณแผลด้วยก็ดี



อ้างอิง



http://www.sistersandcompany.com สรรพคุณของใบบัวบก




บัวบก (Asiatic Pennywort)
บัวบก ชื่อพื้นเมือง บัวบก ผักหนอก ผักแว่น เตียกำเช้า บัวบกเป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี ขึ้นรวมกันเป็นกอติดติดเลื้อยไปตามดินเรียกว่า "ไหล" มีใบรากออกตามข้อ ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปร่างกล้ายไตหรือกลม ขอบใบหยักมีรอยเว้าลึกที่ฐานใบ ผิวใบด้านนอกเรียบ ด้านล่างมีขนสั้นๆ ก้านใบยาว ดอกเป็นช่อคล้ายร่ม ออกครั้งละ 2-3 ช่อ แต่ละดอกมีกลีบดอกสีม่วงเข้ม 5 กลีบ ผลมีเปลือกแข็งยาว 2-2.5 มิลลิเมตร สีเขียวหรือม่วง การปลูกบัวบกเป็นพืชเขตร้อน พบขึ้นทั่วไปตามที่ลุ่มแฉะ ตามคันนาและริมหนองน้ำ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเห็ด ปักชำไหล ปลูกง่าย ชอบที่ชื้นแฉะและมีแสงแดดส่องถึง


ประโยชน์ทางยา

ส่วนที่ใช้เป็นยา ทั้งต้นสด ใบและเมล้ด ช่วงเวลาที่เก็บยาเก็บตอนที่ใบสมบูรณ์เต็มที่ สรรพคุณทางยารวมทั้งต้นสามารถแก้เจ็บคอได้ ทำให้มีความสดชื่น ชุ่มคอ แก้ช้ำในก็ดีมาก สามารถแก้ความดันโลหิตสูงได้อย่างดีทีเดียว ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง เมื่อดื่มน้ำบัวบกทุกๆวันเป็นประจำเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้นก็จะทราบได้ทันทีว่าความดันโลหิตลดลงอย่างน่าพิศวงโดยไม่ต้องไปรับประทานยา ทั้งยังใช้บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ รักษาบาดแผล แก้โรคปวดเมื่อย แก้โรคเรื้อน แก้กามโรค ตับอักเสบ ส่วนเมล็ดมีรสขมเย็น แก้บิด แก้ไข้ ปวดศรีษะ


ขนาดและวิธีใช้รักษา
- แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้บัวบกทั้งต้นสด 1 กำมือ ล้างแล้วตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็น ผสมกับน้ำมันมะพร้าวทาวันละ 3-4 ครั้งจนหาย
- รักษาแผลเก่าแผลเป็นให้หายได้ รักษาโรคเรื้อนกวาง นำบัวบกมาดองเหล้า 7 วัน เอายามาทาผิวหนังวันละ 3 ครั้ง
- ผู้ที่เป็นโรคตับ ตับโต ตับอักเสบ ใช้ต้นสด 240-550 กรัม ต้มคั้นเอาน้ำขนาดชามใหญ่ดื่มทุกวัน
- อาการร้อนในกระหายน้ำ อ่อนเพลีย ใช้น้ำคั้นจากใบสด ทำให้เจือจาง ปรุงรสด้วยน้ำตาลใส่น้ำแข็ง ดื่มเป็นเครื่องดื่มอาการดังกล่าวจะค่อยหายไป

การทดลองและวิจัยมีรายงานพอน่าเชื่อถือได้ ว่าแก้ปวดเมื่อย เจ็บหน้าอก เจ็บหลัง เอว ใช้ต้นแห้งบดเป็นผงรับประทานวันละ3-4 กรัม แบ่งรับประทานเป็น 3 ครั้ง แก้ตับอักเสบใช้ต้นสด 120 กรัม ผสมน้ำ 500 มิลลิลิตร นำไปต้มให้เหลือ 250 มิลลิลิตร ใส่น้ำตาลกรวดลงไป 60 กรัม ขณะที่ยังร้อน แบ่งรับประทาน 2 ครั้ง ตอนท้องว่างติดต่อกัน 7 วัน เป็น 1 รอบของการรักษา นอกจากนี้ใช้ใบบัวบกรักษาแผลเรื้อรัง แผลอักเสบได้ผลดี
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่ใช้ใบและเถา รสกรอบมัน รับประทานเป็นผัก ปรุงเป็นเครื่องดื่มได้ ใบบัวบกเอาไปรับประทานกับก๋วยเตี๋ยวผัดไทยได้อย่างเอร็ดอร่อยเข้ากันได้ดีมาก เคี้ยวก๋วยเตี๋ยวผัดไทยไปพลางแกล้มด้วยใบบัวบกได้รสชาติที่ดีจริงๆหรือใช้เป็นผักแกล้มกับแกงเผ็ดทางใต้ หรือนำมาหั่นแกงกะทิกับกุ้งก็อร่อยเช่นกัน ที่นิยมกันมากคือน้ำใบบัวบกมีผู้ไปทำขายเป็นเครื่องดื่มมีกลิ่มหอมรสดี บวกกับความหวาน ความเย็นแสนจะชื่นใจ ราคาก็ไม่แพงอย่างที่คิด มีประโยชน์คับแก้ว แต่ไม่ควรนำสีมาผสม เพราะไม่ใช่สีธรรมชาติ อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เราควรทำน้ำใบบัวบกดื่มเองจะดีกว่า ง่าย สะดวกไม่ยุ่งยากซับซ้อน
คุณค่าทางโภชนาการ ใบบัวบก 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 44 กิโลแคลอรี
ประกอบด้วยน้ำ 86.0 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 7.1 กรัม
โปรตีน 1.8 กรัม
ไขมัน 0.9 กรัม
กาก 2.6 กรัม
แคลเซียม 146 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม
เหล็ก 3.9 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 10,962 IU
วิตามินบี 1 0.24 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.09 มิลลิกรัม
ไนอาซีน 0.8 มิลลิกรัม
วิตามินซี 4 มิลลิกรัม

จะเห็นว่าบัวบกเป็นสมุนไพรที่น่าสนใจมาก มีสารสำคัญที่มีประโยชน์ในทางยา ทั้งยังมีคุณค่าทางอาหารสูง การใช้ใบบัวบกเป็นอาหารและเป็นเครื่องดื่มจึงดีกว่าซื้อยาบำรุงกำลังดื่มเสียอีก โดยเฉพาะมีวิตามินเอสูงมาก ควรรับประทานบ่อยๆเป็นประจำ




บัวบก บำรุงสมอง เพิ่มความเยาว์วัย





บัวบก บำรุงสมอง เพิ่มความเยาว์วัยมารดา (ไทยโพสต์)
เมื่อกล่าวถึงบัวบก หลายคนคงจะถึงบางอ้อกันเลยทันที เพราะเป็นสมุนไพรที่รู้กันดีว่ามีสรรพคุณแก้ร้อนใน ช้ำใน หรือใครที่กระหายน้ำสามารถดื่มน้ำใบบัวบกที่มีวางขายอยู่ทั่วไปให้ชื่นใจ หมดความกระหายได้เลยทันที น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักสมุนไพรที่เรียกว่า บัวบก
ในขณะที่อีกมุมหนึ่งของบัวบกที่น้อยคนนักจะรู้จัก นั่นคือ สรรพคุณในการบำรุงสมองไม่แพ้แปะก๊วย อันเป็นที่นิยมในกระแสโลก และมีการรณรงค์ให้ปลูกแปะก๊วยกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่รวมทั้งหมอยาในทุกภาคของไทยได้สืบทอดความรู้เรื่องบัวบกจากรุ่นสู่รุ่น และนำมาใช้ในการบำรุงร่างกาย บำรุงประสาท บำรุงความจำ บำรุงสายตา บำรุงผม บำรุงเอ็น เป็นยาอายุวัฒนะ ใช้ได้ทุกเพศทุกวัยทั้งเด็ก ผู้ใหญ่และคนชรา นอกจากนี้ยังเป็นที่รู้กันดีอีกว่า ชนิดของบัวบกที่มีสรรพคุณที่ดีที่สุดคือ ผักหนอกขม ซึ่งขึ้นตามธรรมชาติ พบเห็นโดยทั่วไป

ในตำราไทยกล่าวว่า บัวบกมีรสเฝื่อน ขม เย็น เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ท้องเสียหรือบิด แก้ลม แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า เป็นยาบำรุงกำลัง ยาอายุวัฒนะ นอกจากนี้ยังมีผู้รจนาสรรพคุณของบัวบกว่า
"กิน 1 เดือน โรคร้ายหายสิ้นมีปัญญา กิน 2 เดือน บริบูรณ์น่ารักมีเสน่ห์ กิน 3 เดือน ริดสีดวงสิบจำพวกหายสิ้น กิน 4 เดือน ลมสิบจำพวกหายสิ้น กิน 5 เดือน โรคร้ายในกายทุเลา กิน 6 เดือน ไม่รู้จักเมื่อยขบ กิน 7 เดือน ผิวกายจะสวยงาม กิน 8 เดือน ร่างกายสมบูรณ์เสียงเพราะ.."
จากงานศึกษาวิจัยพบว่า บัวบกมีฤทธิ์เช่นเดียวกับแปะก๊วยในการบำรุงสมอง กล่าวคือเพิ่มความสามารถความจำและการเรียนรู้ มีการจดสิทธิบัตรสารสกัดในบัวบกด้านคุณสมบัติช่วยเพิ่มความสามารถในการจำ นอกจากนี้ยังมีการทดลองในสัตว์ด้วย ซึ่งพบว่าบัวบกทำให้ลูกหนูมีความจำและความสามารถในการเรียนรู้ดีขึ้น ทำให้เซลล์สมองของหนูแรกเกิดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความฉลาด ส่วน hippocampal CA3 และแขนงนำสัญญาณประสาทของสมองส่วนที่เรียกว่า อมิกดาลา (amygdala) ซึ่งทำหน้าที่สำคัญในการควบคุมเหตุผลและอารมณ์ มีการพัฒนาการที่ดีกว่าหนูในกลุ่มควบคุม ทำให้ปฏิภาณไหวพริบในการหลบหลีกสิ่งกีดขวางของหนูดีขึ้น ตลอดจนยังเพิ่มสมาธิและความสามารถในการตัดสินใจเฉพาะหน้าในหนูได้อีกด้วย

ส่วนการศึกษาในมนุษย์พบว่า เด็กปัญญาอ่อนที่กินบัวบกวันละ 500 มิลลิกรัมติดต่อกันสามเดือน มีความสามารถเรียนรู้ได้ดีกว่ากลุ่มควบคุม ส่วนการศึกษาในระดับเซลล์ถึงกลไกการออกฤทธิ์บำรุงสมอง พบว่า บัวบกทำให้การหายใจในระดับเซลล์ของสมองดีขึ้น ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการเสื่อมของเซลล์สมอง คงสภาพปริมาณของสารสื่อประสาท acetylcholine ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของสมอง เสริมฤทธิ์การทำงานของสาร GABA ซึ่งเป็นสารสื่อประสาททำหน้าที่รักษาสมดุลของจิตใจ ทำให้ผ่อนคลายและหลับได้ง่าย นอกจากนี้บัวบกยังทำให้หลอดเลือดมีความแข็งแรง และสามารถนำเลือดไปเลี้ยงในอวัยวะต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เป็นต้น
จากผลการศึกษาวิจัยดังกล่าว ทำให้บัวบกมีแนวโน้มจะใช้เป็นอาหารเพิ่มไอคิว เพิ่มความฉลาด เพิ่มความสามารถในการจำและการเรียนรู้ในเด็ก โดยเฉพาะในเด็กปัญญาอ่อนรวมไปถึงการใช้ในเด็กสมาธิสั้น เนื่องจากบัวบกทำให้สารในสมองมีความสมดุล คือ มีความสงบผ่อนคลาย และการเพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมองทำให้เกิดความสามารถในเรียนรู้ได้ดีขึ้น ส่วนในคนทั่วไปบัวบกจะช่วยชะลออาการของโรคสมองเสื่อมในวัยชรา หรืออัลไซเมอร์ รวมทั้งช่วยคลายเครียด ทำให้มีสมาธิในการทำงานอีกด้วย

ประโยชน์ของใบบัวบก





ใครที่ชอบทานใบบัวบกกันบ้าง รู้หรือไม่ว่า ใบบัวบกนั้นมีประโยชน์อะไรบ้าง วันนี้เกร็ดความรู้มีเรื่องนี้มาฝากกัน...

ใบบัวบกมีคุณค่าทางอาหาร มีวิตามินเอสูงมาก ช่วยบำรุงสายตาและมีสารแคลเซี่ยมมากเช่นกัน นอกจากนั้นยังมีวิตามินบี 1 สูงกว่าผักหลาย ๆ ชนิด

ใบบัวบกมีสรรพคุณทางยา ในการแก้ช้ำใน ทำให้หายฟกช้ำได้ดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ ลดอาการปวดศรีษะข้างเดียว บำรุงสมอง แก้ความดันโลหิตสูง แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ และขับปัสสาวะ
นอกจากนี้

ในการศึกษาทางเภสัชวิทยาเพื่อค้นหาสารสำคัญ หรือหาสารออกฤทธิ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในใบบัวบก พบว่า ใบบัวบกจะให้สารไกลโคไซด์ (Glycosides) หลายชนิดที่ให้ผลต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Antioxidation) ซึ่งส่งผลให้การลดความเสื่อมของเซลล์ อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้

นอกจากนี้ยังพบว่า

สารไกลโคไซด์ที่ได้จากใบบัวบกยังส่งผลในการช่วยเร่งการสร้างสารคอลลาเจน (Collagen) ที่เป็นโครงสร้างของผิวจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการกระตุ้นให้แผลสมานตัวได้เร็ว
ผู้ที่ควรทานใบบัวบก ได้แก่

1. ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความจำเสื่อม อาทิ ผู้สูงอายุ สตรีวัยทอง
2. ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานที่ต้องใช้สมองอย่างมาก และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความทรงจำ
3. ผู้ที่มีความเครียดสูงจากการทำงานหนัก
4. ผู้ที่มีความผิดปกติทางผิวหนัง และกล้ามเนื้อโดยมีอาการฟกช้ำ และผิวหนังอักเสบ
5. ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด เพราะช่วยเร่งการสมานแผลให้เร็วยิ่งขึ้น

รู้ถึงประโยชน์ของใบบัวบกแล้ว ก็อย่าลืมหันมาหาทานกันได้ เพื่อสุขภาพที่ดี.

ขอขอบคุณหนังสือพิมพ์เดลินิวส์








๑. บำรุงสมอง
นำใบบัวบกมาล้างน้ำให้สะอาด โขลกให้แหลกนำไปต้มกรองเอาแต่น้ำ มาดื่ม หรือจะคั้นสด ผสมกับน้ำดื่มก็ได้ อาจเติมน้ำตาลทราย และ เกลือ นิดหน่อย ให้ชวนดื่ม ดื่มไปทุกวันๆละ ๑ แก้ว

๒. บำรุงหัวใจ
ต้มดื่ม เช้า-เย็น ครั้งละ ๑ แก้ว


๓. แก้ร้อนในกระหายน้ำ
จะต้มหรือคั้นสดก็ได้ ดื่ม ๑ แก้ว เวลากระหายน้ำ


๔. แก้ช้ำใน
นำใบบัวบกสะอาดสดมาโขลก แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม เช้า-เย็น ครั้งละ ๑ ถ้วยตะไล ไม่นานอาการช้ำในก็จะทุเลาลงไปเรื่อยๆ


๕. ความดันโลหิตสูง
ต้มน้ำใบบัวบกต้ม เช้า-เย็น ครั้งละ ๑ แก้ว เป็นเวลา ๕-๖ วัน แล้วลองวัดความดันโลหิตดู จะลดลงมาปกติ อาการของโรคจะหายได้ จากนั้น ควรควบคุมเรื่องอาหาร กับการออกกำลังกายและอารมณ์


๖. ลดอาการแพ้
ผื่นคัน ปวดแสบ ปวดร้อน อักเสบได้ นำใบบกสะอาดมาตำให้ละเอียด พอกบริเวณที่แพ้ อักเสบ อาการที่เป็นจะค่อยๆทุเลาลง



๗. รักษาบาดแผลสด
ใช้ตำและพอกที่แผล สามารถทำลายเชื้อโรคได้
๘. ดับพิษไข้
คั้นเอาน้ำสด ดื่ม ๑ ถ้วยตะไล ไม่ต้องผสมน้ำเลย ดื่ม ๓ เวลา เช้า- กลางวัน - เย็น

๙. แก้ปวดท้อง
มวนในท้อง ท้องเสียได้ โดยคั้นเอาน้ำสดๆเข้มข้นดื่มช่วยให้ทุเลาได้

๑๐. แก้บิด
ใช้ใบบัวบกสอเข้มข้น ดื่มสดๆ เพื่อทำลายเชื้อบิด ดื่มเช้า - กลางวัน - เย็น ประมาณ ครั้งละ ๑ ถ้วยตะไล

๑๑. แก้ดีซ่าน
เอาบัวบกมาคั้นน้ำดื่มสดๆ ๓ เวลา เช้า-กลางวัน-เย็น

๑๒. แก้อาเจียนเป็นเลือด
คั้นเอาน้ำสดๆ ดื่ม ๓ เวลา เช้า - กลางวัน -เย็น

๑๓. รักษาอาการตาแดง
ตำใบบัวบกสดๆหลับตาแล้วพอกที่ตาเป็นเวลานานๆ แล้วเปลี่ยนยา บ่อยๆ หายได้ในที่สุด

๑๔. สร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง


๑๕. แก้เจ็บคอ
เอาบัวบกสดเข้มข้น ใส่เกลือเล็กน้อย แล้วจิบเอา แก้อาการเจ็บคอดี มาก จิบได้เรื่อยๆ

๑๖. ขับปัสสาวะ
นำใบบัวบกสดคั้นน้ำ ดื่มกันสดๆ อาจเติมความหวานเล็กน้อยก็ได้

๑๗. แก้กามโรค
เป็นน้ำกระสายยา ในการรักษากามโรค กินร่วมกับยาอื่นได้

๑๘. แก้โรคเรื้อน
ใช้ใบบัวบกคั้นน้ำดื่มทุกๆวัน เช้า-เย็น และตำพอกแผลด้วย

๑๙. ป้องกันมะเร็ง
ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ ดื่มบ่อยๆ

๒๐. แก้อาการอ่อนเพลีย







วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เคล็ดลับแนะลูกให้กินผัก

                     เคล็ดลับแนะลูกให้กินผัก

ต้องปลูกฝังแต่วัยเยาว์


ผักเป็นอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยเด็กจำเป็นต้องได้รับสารอาหารครบ5 หมู่ ทว่าเป็นเรื่องชวนปวดหัวของพ่อแม่ผู้ปกครอง เพราะเด็กๆ มักไม่ชอบรับประทานผัก ซึ่งจากผลการสำรวจพบว่ามีเพียง 41% ของเด็กเท่านั้นที่รับประทานผักเป็นประจำ




ขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้รับประทานผักครึ่งกิโลกรัม/วัน ขณะที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ในบ้านเราทุกวันนี้มีค่าเฉลี่ยการรับประทานผักต่ำกว่าที่ WHO แนะนำไว้มาก
สุจิตต์ สาลีพันธ์ นักโภชนาการกลุ่มพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหาร กรมอนามัย แนะนำผู้ปกครองที่กำลังประสบปัญหานี้อยู่ว่า วิธีการจะสอนให้เด็กมีนิสัยชอบรับประทานผักนั้นเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกันตั้งแต่วัยเยาว์กันเลย โดยหลังจาก 6 เดือนแรกของลูกที่ดื่มแต่น้ำนมอย่างเดียวและเมื่อเริ่มรับประทานข้าว พ่อแม่ควรแทรกอาหารประเภทผักให้ลูกด้วย เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย โดยต้องเป็นผักที่ไม่มีกลิ่นฉุน เช่น ผักกาดขาว ผักกะหล่ำปลี ฟักทอง ตำลึง ผักบุ้ง เป็นต้น

วิธีการคือ หั่นผักให้เป็นคำเล็กๆ หรือบดละเอียดผสม

ในอาหารให้ลูกรับประทานโดยช่วงแรกๆ ที่ฝึกไม่ต้องใส่ผักในปริมาณมากก็ได้ แต่ให้ใช้แค่ใบเท่านั้น ไม่ควรมีก้านเพราะทำให้เด็กเคี้ยวยาก
“เมื่อเด็กโตจนเริ่มมีฟันก็ควรแนะให้เด็กถือผักเล่น หรือกัดแทะเล่นก็ได้ หรือให้กินประเภทแกงจืดต่างๆ พอเขาโตขึ้นมาอีกหน่อยก็ให้แทรกเข้าไปในอาหารประเภทข้าวผัดหรือน้ำซุปต่างๆ สลัด หรือแม้แต่ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน” สุจิตต์ แนะนำ
สำหรับเด็กที่ไม่ได้ถูกฝึกให้รับประทานผักตั้งแต่เล็กๆ พ่อแม่ ผู้ปกครองก็จะต้องพยายามหาวิธีการทำให้หันมารับประทานผัก โดยต้องชี้ชวนให้ลูกทราบถึงประโยชน์ของการรับประทานผัก จากนั้นให้เริ่มผสมผักลงในอาหารทีละน้อยๆ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ให้ลูกลองรับประทานดู แต่ถ้าเด็กไม่ยอมรับประทานอีกก็ไม่ควรไปบังคับ

“พ่อแม่ต้องใช้ความอดทนและพยายามอีกหน่อย อย่าไปบังคับ แต่ให้เขาลองชิมดูบางคนชิมแล้วติดใจรับประทานบ่อยๆ ก็มีหรือพวกผลไม้ก็ให้รับประทานชดเชยผักได้ เพราะมีวิตามินเช่นกัน แต่ต้องระวังผลไม้ที่มีรสหวาน เพราะจะทำให้ลูกอ้วน” นักโภชนาการ กล่าว

สุจิตต์ ย้ำว่า วัยเด็กเป็นวัยที่ต้องได้รับสารอาหารที่หลากหลายและครบถ้วน ในผักมีทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร ไม่ว่าจะเป็นวิตามินเอ ที่จะช่วยในเรื่องการมองเห็นวิตามินซีช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง วิตามินเคทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดและสร้างแคลเซียม การที่เด็กไม่ยอมรับประทานผัก ก็จะได้สารอาหารไม่ครบถ้วนที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอเมื่อเติบโตขึ้น
ที่สำคัญคืออาจจะเป็นโรคอ้วน เพราะเมื่อลูกไม่รับประทานผักก็จะหันไปรับประทานขนมขบเคี้ยวอื่นๆ ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน แต่หากหันมารับประทานผักจะทำให้อิ่มท้อง เด็กจะลดการรับประทานของขบเคี้ยวลงและปลอดภัยจากโรคอ้วนอีกด้วย
รู้เช่นนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายอย่าลืมนำเคล็ดลับดีๆ เหล่านี้ไปใช้เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างมีสุขภาพแข็งแรง และเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บในอนาคตอีกด้วย


ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
เทคนิคสอนน้องหนู กินผัก
คุณแม่ที่ทำงานนอกบ้านสามารถสร้างทัศนคติ ส่งเสริมลูกน้อยกินผักได้ตั้งแต่ยังเล็กๆ ได้นะคะ

เพราะแค่นำเทคนิคง่ายๆ ต่อไปนี้ ไปสอนบอกต่อพี่เลี้ยงคนเก่งของลูก ก็สามารถเป็น ผู้ช่วยให้กับคุณแม่ได้แล้วค่ะ


เลือกผัก
- เปลี่ยนรูปร่างหรือนำผักไปเป็นส่วนผสมในอาหารแบบอื่น เช่น หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ทำเป็นวุ้นน้ำผลไม้ หรือเมนูจานโปรด เช่น หั่น แครอทเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมปนอยู่กับน้ำซุป หมูปั้นผสมแครอททอด
- ที่สำคัญ บนโต๊ะอาหารของครอบครัวควรมีเมนูผัก อย่างน้อย 1 เมนูอยู่ด้วย เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการกินผักให้กับลูก


เทคนิคจูงใจ



- ตั้งชื่อผักให้น่ากินมากขึ้น เช่น ฟักทองจอมพลัง นางฟ้าผักกาด อาจทำให้ลูกรู้สึกสนใจนึกอยากกิน

- ให้พี่เลี้ยงชักชวนลูกสนุกกับการกินผัก ด้วยการใช้นิ้วมือหยิบผักเข้าปากเอง เช่นแครอทต้ม ถั่วฝักยาวต้มหั่นเป็นท่อน ในที่สุดลูกก็จะกินผักเองได้

- เมื่อลูกกินผักได้ ควรชมเชย เป็นกำลังใจ เพื่อให้ลูกอยากเรียนรู้อาหารชนิดใหม่ๆ ครั้งต่อไป

- การให้พี่เลี้ยงสังเกต บันทึก หรือสอบถามว่าลูกชื่นชอบ พอใจ หรือปฏิเสธกับผักชนิดใดบ้าง
ก็สามารถช่วยให้คุณแม่รู้จักนิสัยการกินผักของลูกได้ค่ะ



ซ่อนผักเทคนิคเบบี๋กินผักง่าย



อาหารเด็ก

ซ่อนผักเทคนิคเบบี๋กินผักง่าย
(modernmom)


เพราะผักเป็นอาหารสารพัดประโยชน์ โดยเฉพาะบทบาทหน้าที่สำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการ และเสริมความแข็งแรงให้กับอวัยวะส่วนต่าง ๆ ผักจึงเป็นอาหารที่แม่ ๆ ควรเริ่มปลูกฝังให้กับลูกเล็ก โดยเพาะตอนที่เริ่มอาหารเสริมนี่แหละค่ะ เพราะเป็นการปูพื้นการกินผักได้ดีทีเดียว แต่การเริ่มอาหารเสริมให้ลูกรักด้วยผักมีสิ่งที่แม่ ๆ ควรทำความเข้าใจในเบื้องต้น 3 เรื่องดังนี้



1. กลิ่น ผักที่เลือกมาใช้ ไม่ควรมีกลิ่นฉุน หรือกลิ่นเหม็นเขียว เพราะเด็ก ๆ เขาจมูกไวและจะยี้เอาได้ง่าย ๆ

2.รสชาติของผัก โดยเฉพาะผักที่มีรสขมหรือเผ็ดร้อน อาจทำให้เจ้าตัวเล็กไม่ประทับใจ จนขยาดผักอื่น ๆ ตามไปด้วย

3.เนื้อสัมผัส ผักแต่ละชนิดมีลักษณะเนื้อสัมผัสที่ไม่เหมือนกัน รวมถึงใยอาหารที่มีในผักก็ต่างกันด้วย สำหรับผักที่แนะนำให้เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารเสริมเจ้าตัวเล็ก ได้แก่ มะเขือเทศ แครอต ปวยเล้ง ฟักทอง บร็อกโคลี และใบตำลึง ค่ะ



ผัก...วัตถุดิบที่คุ้นเคยกันดีว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ก็มักตั้งตัวเป็นศัตรูกับผักทั้งหลาย ปัญหานี้แก้ไขได้ง่ายนิดเดียว เพียงแม่ ๆ อาศัยเคล็ดวิชาแปลงกายสักนิด ด้วยเทคนิคง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน แต่รับรองว่าได้ผลเกินคาด


นอกจากผักต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้นยังมีผักใบที่ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส และไม่มีสี เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ที่สามารถนำมาปรุงอาหารได้นะคะ นอกจากสารอาหารต่าง ๆ แล้วข้อดีของผักที่มีหลายสี คือจะช่วยให้อาหารน่ากินมากขึ้น อาหารที่วางตรงหน้าถ้ามีสีสันที่สวยงามชวนกินแล้ว ก็ย่อมมีชัยไปกว่าครึ่งนะคะ



3 เทคนิคซ่อนผัก




1.ซ่อนกลิ่น ผักที่มีกลิ่น เช่น หอมหัวใหญ่เป็นผักที่มีกลิ่นฉุนและรสเผ็ดร้อน แต่เมื่อนำมาปรุงโดยผ่านความร้อนจะต้มหรือลวก ก็หมดกลิ่นฉุน แถมยังได้รสหวานเพิ่มมาอีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถใช้อาหารอย่างอื่นแต่งกลิ่นได้ เช่น การใช้ไข่แดง เป็นต้น

2.ซ่อนรส ผักที่มีรสแต่แก้ได้ไม่ยาก เพราะบ้านเรามีผักหลายชนิดที่เมื่อนำมาปรุงอาหารแล้วให้รสหวาน ได้แก่ กลุ่มของผักที่มีแป้งมาก มีรสหวาน เช่น ปวยเล้ง ฟักทอง แครอต หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ ลูกท้อ กะหล่ำปลี บร็อกโคลี ใบตำลึง ฟักเขียว หัวผักกาด ผักหวาน ข้าวโพดอ่อน ถั่วฝักยาว บวบ ฯลฯ

3.ซ่อนรูป ผักที่มีสีเขียวเข้มหรือผักที่เด็กมักจำได้ว่าเป็นใบ วิธีง่ายๆ ที่ใช้กัน คือการหั่น แต่เด็กก็ยังเขี่ยออกหรือคายทิ้งได้ จะให้ดีควรสับ บด หรือปั่นให้ละเอียด แล้วนำไปผสมกับอาหารอื่น ๆ เวิร์กกว่าค่ะ เช่น เนื้อสัตว์ ข้าว แป้งชนิดต่าง ๆ ที่เรียกว่าเป็นการดัดแปลงไม่ให้เด็กเห็นภาพของผัก




เลือกผักดีมีประโยชน์






การเลือกผัก เป็นการเริ่มต้นมอบสิ่งดี ๆ ให้กับลูก ที่สำคัญ หากเลือกอย่างถูกต้อง รับรองว่าลูกของคุณจะได้ประโยชน์มากกว่าที่คิดเสียอีกค่ะ

การเลือกผัก ควรเลือกซื้อโดยดูจากสีของผัก ขนาด รูปร่าง ความอ่อนแก่ ความสดใหม่และไม่ช้ำ และเลือกซื้อตามฤดูกาล

เนื่องจากผักมีอยู่หลากหลายประเภท เราจึงมีหลักการเลือกที่ต่างกันไปในแต่ละชนิด เรารวบรวมหลักการเลือกผักแต่ละแบบ มาเป็นความรู้ก่อนจ่ายตลาดครั้งต่อไปให้แม่ ๆ ได้ประหยัดเวลา

เลือกซื้อผักหัว ควรจะมีน้ำหนักมาก เนื้อแน่น ผิวเรียบไม่มีรูแมลง เช่น ฟักทอง ผลหนักแน่น เนื้อเหลืองอมเขียว ผิวเปลือกแข็งขรุขระ เป็นต้น

เลือกซื้อผักฝัก เช่น ผักประเภทถั่วต่าง ๆ ควรเลือกฝักอ่อน สีเขียว แน่น ไม่พอง และไม่คดงอ

เลือกซื้อผักใบ ดูจากใบสีเขียวสด ไม่เหี่ยว ไม่มีรอยช้ำ และไม่มีหนอน ต้นใหญ่อวบ และใบแน่นติดกับโคน

เลือกซื้อผักผล เลือกที่ขั้วติดแน่น สด มีน้ำหนักมาก ไม่เหี่ยว ผิวนวลและไม่มีรอยช้ำ




ล้างผักให้สะอาดปลอดสารเคมี






1. ลอกหรือปอกเปลือกแล้วแช่น้ำสะอาดนาน 5-10 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 27-72

2.ล้างด้วยน้ำไหลจากก๊อกนาน 2 นาที ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 25-39

3.การใช้ความร้อน ได้แก่ วิธีการลวก ต้ม สามารถลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 48-50

4.แช่น้ำส้มสายชูหรือเกลือป่น (น้ำส้มสายชูหรือเกลือใน 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29-38

5.แช่น้ำซาวข้าวนาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29-38

6.แช่น้ำด่างทับทิมนาน 10 นาที ด่างทับทิม 10-20 เกล็ด ผสมน้ำ 4 ลิตร ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 25-43

7.แช่น้ำปูนใสนาน 10 นาที จากนั้น ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 34-52


5 วิธี สงวนคุณค่าสารอาหารใบผัก

1. เมื่อซื้อผักมาแล้ว ควรเด็ดใบที่เน่าเสียทิ้งก่อน

2.ควรล้างผักด้วยน้ำที่ไหลผ่าน การแช่ผักในน้ำจะทำให้สูญเสียวิตามินที่ละลายน้ำได้ คือ วิตามินบีและซี

3.การต้มผักด้วยน้ำน้อยหรืออบในเตาไมโครเวฟ ช่วยให้สารอาหารต่าง ๆ ไม่สูญเสียไปกับน้ำ วิธีที่ดีที่สุดคือการนึ่ง

4.การผัดผักที่ดีที่สุดคือ การผัดผักด้วยไฟร้อนใช้เวลาน้อย

5.น้ำซุปผักที่ต้มไว้แล้สามารถเก็บไว้ได้นาน โดยการแบ่งเป็นถุงเล็กแล้วแช่แข็ง

มีเทคนิคซ่อนผักดี ๆ แบบนี้แล้ว คุณแม่ไม่ต้องกังวลว่าเบบี๋จะยี้ผักอีกต่อไปแล้วนะคะ หากลองเอาเทคนิคเหล่านี้ไปใช้แล้วได้ผลอย่างไร หรือปิ๊งเทคนิคดี ๆ เฉพาะตัวก็อย่ามัวเก็บเอาไว้เขียนมาเล่าสู่ Modern Mom ฟังด้วยนะคะ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก



วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube





วิดีโอ YouTube