Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562

ตัวอย่างการเขียนพินัยกรรม

ตัวอย่างการเขียนพินัยกรรม






































การทำพินัยกรรมตามกฏหมายไทย


วิธีทำพินัยกรรมแบบธรรมดา



ต้องทำเป็นหนังสือ จะเขียนหรือพิมพ์ โดยจะให้ใครเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ ต้องลงวันที่ เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม ต้องมีข้อความแสดงว่าเป็นพินัยกรรม คือ มีข้อความระบุว่าจะยกทรัพย์สินหรือกิจการใดให้แก่ใคร เท่าใด ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยาน จะใช้ตราประทับ หรือเครื่องหมายอย่างอื่นแทนการลงลายมือชื่อไม่ได้ ถ้าลงลายมือชื่อไม่ได้ จะพิมพ์ลายนิ้วมือก็ได้ แต่ต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ 2 คนในขณะนั้น พยานรับรองข้อความในพินัยกรรมต้องมี 2 คน พยานรับรองข้อความในพินัยกรรมทั้ง 2 คน ต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ผู้เขียนพินัยกรรม (ผู้พิมพ์พินัยกรรมถือว่าเป็นผู้เขียน) ถ้าเป็นพยานรับรองข้อความในพินัยกรรมด้วยก็ต้องระบุให้รู้ว่าเป็นทั้งผู้เขียนและพยาน ถ้ามีการขูดลบตก เติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงในพินัยกรรม จะต้องลงวัน เดือน ปี และลายมือชื่อกำกับต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน พยานต้องลงลายมือชื่อด้วย ถ้าผู้อื่นเขียน ก็ให้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย (ป.พ.พ. มาตรา 1656)

วิธีทำพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ

ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนข้อความในพินัยกรรมด้วยตนเองตลอด จะให้ผู้อื่นเขียนหรือพิมพ์แทนไม่ได้ ต้องลงวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรม ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อ จะใช้ตราประทับหรือใช้เครื่องหมายแทนการลงลายมือชื่อไม่ได้ จะมีพยานด้วยหรือไม่ก็ได้ ถ้ามีการขูด ลบ ตก เติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างไร ต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ [ป.พ.พ. มาตรา 1657]


ตัวอย่างพินัยกรรม

































































































ข้อสังเกตในการทำพินัยกรรมแบบธรรมดา


1. การทำพินัยกรรมแบบนี้ จะทำโดยใช้วิธีเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ หากใช้วิธีเขียนก็ต้องเขียนทั้งฉบับ หากใช้วิธีพิมพ์ก็ต้องพิมพ์ทั้งฉบับ
2. ผู้เขียนหรือผู้พิมพ์พินัยกรรม ใครจะเป็นผู้เขียน หรือผู้พิมพ์ก็ได้ แต่ในการเขียนต้องใช้คนๆ เดียวเขียนพินัยกรรมทั้งฉบับ และในการพิมพ์ก็ต้องใช้เครื่องพิมพ์เครื่องเดียวกันทั้งฉบับ เพื่อมิให้เกิดปัญหาแก่ทายาทเมื่อเจ้ามรดกตายแล้ว
3. ต้องลงวันเดือนปีขณะที่ทำพินัยกรรม ถ้าไม่ลงวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมแล้วย่อมไม่ถือว่าเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย
4. ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน
5. พยานทั้งสองคนตามข้อ 4 ต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมต่อหน้าผู้ทำพินัยกรรมและต่อหน้าพยานด้วยกันในขณะนั้นด้วย
6. พยานในพินัยกรรม จะต้องบรรลุนิติภาวะแล้วคืออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์หรือกรณีสมรสกันเมื่ออายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ กฎหมายก็ถือว่าบรรลุนิติภาวะแล้ว แม้อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ และพยานดังกล่าวต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ทั้งต้องไม่เป็นคนหูหนวก เป็นใบ้หรือตาบอดทั้งสองข้าง
7. ผู้เขียนและพยานในพินัยกรรม รวมทั้งคู่สมรสของผู้เขียนและพยานในพินัยกรรม จะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้

ทำพินัยกรรมทำเองได้เลยค่ะ



จะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ ร่างให้แล้วไปดัดแปลงเอาเอง



















































สามารถทำให้หลานได้เลย หรือทำยกให้ (คนนอก) ก็ยังได้

*****สำคัญมาก***** 

ผู้เขียน/ผู้พิมพ์ หรือพยาน ตลอดจนคู่สมรสของบุคคลดังกล่าว จะเป็นผู้รับพินัยกรรมตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้
พยาน 2 คน ต้องรู้เห็นรายละเอียดของพินัยกรรม และลงลายมือชื่อพร้อมกันต่อหน้า ผู้ทำพินัยกรรม

ถ้าจะให้ดี อัดวีดีโอ ขณะทำพินัยกรรมไว้ด้วย เผื่อมีปัญหาภายหลัง


*************************************************************************

พินัยกรรม


1. พินัยกรรมแบบธรรมดาต้องทำเป็นหนังสือ โดยจะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ ต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำ ต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน โดยจะลงลายมือชื่อหรือพิมพ์นิ้วมือก็ได้

2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ต้องเขียนด้วยลายมือของตนเองทั้งฉบับ ใช้พิมพ์ไม่ได้จะมีพยานหรือไม่มีก็ได้ ต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำ ต้องลงลายมือชื่อ จะใช้ลายพิมพ์นิ้วมือ หรือเครื่องหมายอื่นไม่ได้

3. พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง ยื่นคำร้องขอให้นายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต ณ อำเภอ หรือเขตใดก็ได้ ดำเนินการให้อย่างเป็นทางการ

4 .พินัยกรรมทำแบบเอกสารลับ ยื่นคำร้องขอให้นายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต ณ อำเภอ หรือเขตใดก็ได้ โดยปฏิบัติดังนี้

⚖ต้องมีข้อความเป็นพินัยกรรมและลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม
⚖ผู้ทำพินัยกรรมต้องผนึกพินัยกรรม แล้วลงลายมือชื่อบนคาบรอยผนึก
⚖ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้น ไปแสดงต่อนายอำเภอและพยานอย่างน้อย 2 คน
⚖เมื่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขตจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม และวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมมาแสดงไว้ในซองพับและประทับตราประจำตำแหน่งแล้วนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต ผู้ทำพินัยกรรม และพยานลงลายมือชื่อบนซองนั้น

5.พินัยกรรมทำด้วยวาจา ใช้เฉพาะกรณีที่เกิดเหตุการณ์พิเศษ ไม่สามารถทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่ได้ เช่น ตกอยู่ในอันตราย ใกล้เสียชีวิต เกิดโรคระบาด หรือสงคราม ทั้งนี้พินัยกรรมจะหมดอายุภายใน 1 เดือนนับจากผู้ทำพินัยกรรมกลับมาทำพินัยกรรมแบบอื่นได้ แสดงเจตนาต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน ซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น พยานทั้งหมดต้องไปแสดงตน และแจ้งให้นายอำเภอทราบถึงข้อความพินัยกรรม และสาเหตุที่ต้องทำพินัยกรรมด้วยวาจา

นอกจากนี้ ควรระวังเรื่องการทำพินัยกรรมแบบที่ต้องมีพยานและแบบที่ให้คนอื่นเขียน เพราะพยานและคนเขียน (รวมทั้งคู่สมรสตามกฎหมายของทั้งคนเขียนและพยาน) จะไม่มีสิทธิได้รับมรดก เพราะฉะนั้นถ้าจะยกมรดกให้ใครก็อย่าให้เขามาเป็นคนเขียนหรือพยาน และถ้าไม่อยากให้คนรับมรดก ต้องเสียภาษีมรดก ก็ควรทำพินัยกรรมโดยกระจายมรดกให้คนละไม่เกิน 100 ล้านบาท เพราะไม่อย่างนั้นคนรับมรดกจะต้องเสียภาษีอัตรา 5% ของส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท สำหรับบุพการีและผู้สืบสันดาน นอกนั้นจะเสียในอัตรา 10% ของส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท
ถ้ากลัวว่าให้มรดกไปแล้วลูกหลานจะไม่ดูแล ก็สามารถไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินบนอสังหาริมทรัพย์ที่เรายกให้ลูกหลานได้ที่สำนักงานที่ดิน (ทำต่อจากการจดทะเบียนยกให้ได้ทันที) เพื่อให้เรายังมีสิทธิอยู่อาศัยและใช้ประโยชน์ต่อไปได้ตลอดชีวิตในมรดกนั้น



ที่มา  :: https://pantip.com/topic/30216720

2 ความคิดเห็น:

  1. การทำพินัยกรรมมีหลายแบบลองพิจารณาดูว่าจะทำแบบไหน แล้วค่อยตัดสินใจว่าจะจ้างหรือทำเองได้ค่ะ
    1.พินัยกรรมและมรดก
    หลักเกณฑ์ /เงื่อนไข
    -ต้องทำเป็นหนังสือ โดยจะเขียนหรือพิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศก็ได้
    -ลงวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม เพื่อพิสูจน์ความสามารถของผู้ทำพินัยกรรม
    -ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน ซึ่งจะลงชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือก็ได้
    -ห้ามใช้ตราประทับหรือ เครื่องหมายกากบาทหรือขีดเขียน แทนการลงชื่อในพินัยกรรม
    -พยานจะต้องลงชื่ออย่างเดียวเท่านั้น ห้ามพิมพ์ลายนิ้วมือ และห้ามใช้ตราประทับหรือเครื่องหมายอย่างอื่น
    -ในกรณีที่มีการพิมพ์ลายนิ้วมือ ถ้าเกิดเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของผู้เป็นโรคเรื้อน (ซึ่งจะไม่มีลายนิ้วมือ) โดยมีพยานลงชื่อรับรองความถูกต้องก็ไม่ถือว่ามีการลงลายมือชื่อ
    -การทำพินัยกรรมแบบธรรมดาไม่ต้องไปดำเนินการที่อำเภอ หรือสำนักงานเขต
    2.พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
    หลักเกณฑ์ / เงื่อนไข
    -ต้องทำเป็นหนังสือ โดยจะใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศก็ได้
    -ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยลายมือของตนเองทั้งฉบับจะพิมพ์ไม่ได้
    -การทำพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับจะมีพยานหรือไม่มีก็ได้
    -ต้องลงวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม เพื่อพิสูจน์ความสามารถของผู้ทำ
    -ผู้ทำต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ห้ามพิมพ์ลายนิ้วมือหรือเครื่องหมายอื่นแทนการลงชื่อ
    -ผู้ทำพินัยกรรมสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการอื่นๆ ในพินัยกรรมได้เพียงคนเดียวและต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกครั้ง
    -การทำพินัยกรรมแบบธรรมดาไม่ต้องไปดำเนินการที่อำเภอ หรือสำนักงานเขต
    3.พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง
    ขั้นตอนการดำเนินการ
    -ผู้ทำพินัยกรรม แจ้งข้อความที่จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมแก่นายอำเภอและต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน
    -นายอำเภอจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้ง และอ่านข้อความ ให้แก่ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง
    -ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
    -ข้อความที่นายอำเภอจดไว้ ให้นายอำเภอลงลายมือชื่อ และวัน เดือน ปีที่ทำ แล้วประทับตราตำแหน่งไว้
    อัตราค่าธรรมเนียม
    กรณีทำในที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต
    - เสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 50 บาท ถ้าต้องการทำสำเนาเพิ่ม (คู่ฉบับ) เสียค่าธรรมเนียม ฉบับละ 10 บาท
    - ค่าพยานและล่ามเฉพาะที่ทางอำเภอจัดหาให้ โดยพิจารณาจ่ายตามรายได้และฐานะของพยานและล่าม เสียค่าธรรมเนียมไม่เกินฉบับละ 50 บาท
    กรณีทำนอกที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต
    - กรณีทำนอกที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต เสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 50 บาท ถ้าต้องการทำสำเนาเพิ่ม (คู่ฉบับ) เสียค่าธรรมเนียม ฉบับละ 20 บาท
    - ค่าพยานและล่ามเฉพาะที่ทางอำเภอจัดหาให้ โดยพิจารณาจ่ายตามรายได้และฐานะของพยานและล่าม เสียค่าธรรมเนียมไม่เกินฉบับละ 50 บาท
    หลักเกณฑ์ / เงื่อนไข
    -การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง สามารถทำได้ทั้งในและนอกว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ และสำนักงานเขต
    -ผู้ทำพินัยกรรมสามารถให้นายอำเภอจัดเก็บรักษาพินัยกรรมนั้นไว้ ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอและสำนักงานเขตได้
    -เมื่อผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิตผู้มีสิทธิรับมรดกสามารถยื่นเอกสารหลักฐานต่อนายอำเภอเพื่อขอรับพินัยกรรม

    ตอบลบ
  2. 4.พินัยกรรมทำแบบเอกสารลับ
    ขั้นตอนการดำเนินการ
    -ข้อความต้องมีลักษณะเป็นพินัยกรรม เช่น “ได้ยกทรัพย์สมบัติให้แก่ นาย ก.” เป็นต้น พร้อมทั้งลงชื่อของผู้ทำพินัยกรรม
    -ปิดผนึกพินัยกรรม และลงชื่อทับบริเวณที่ปิดผนึก
    -นำพินัยกรรมไปแสดงต่อนายอำเภอและพยานอย่างน้อย 2 คน พร้อมทั้งแจ้งว่าเป็นผู้ทำพินัยกรรมเอง จากนั้นแจ้งชื่อและภูมิลำเนาของผู้ทำพินัยกรรมเอง
    -นายอำเภอจดคำพูดของผู้ทำพินัยกรรม และวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมมาแสดงไว้ในซองพับและประทับตราประจำตำแหน่ง จากนั้นนายอำเภอผู้ทำพินัยกรรม และพยานลงชื่อบนซอง
    หลักเกณฑ์ / เงื่อนไข
    -กรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมเป็นใบ้ และหูหนวก หรือพูดไม่ได้ สามารถทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับ ได้โดยให้ผู้ทำพินัยกรรมเขียนข้อความด้วยตนเองบนซองพินัยกรรม ต่อหน้านายอำเภอและพยานอย่างน้อย 2 คน
    -กรณีผู้ทำพินัยกรรมมีความต้องการขอรับพินัยกรรมแบบเอกสารลับกลับไปทันที ให้ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อในสมุดทะเบียน
    อัตราค่าธรรมเนียม
    -การทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับ เสียอัตราค่าธรรมเนียม ฉบับละ 20 บาท
    5.พินัยกรรมทำด้วยวาจา
    หลักเกณฑ์ /เงื่อนไข
    -การทำพินัยกรรมที่ใช้วาจา จะสามารถทำได้เฉพาะในเหตุคับขัน ที่ทำให้ไม่สามารถทำพินัยกรรมเป็นลายลักษณ์อักษรได้
    ขั้นตอนการดำเนินการ
    -ผู้ทำพินัยกรรมต้องทำพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน
    -พยานต้องไปแสดงตนต่อนายอำเภอ และแจ้งให้นายอำเภอทราบถึงข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมสั่งไว้, วัน เดือน ปี ของสถานที่ที่ทำพินัยกรรม รวมถึงเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้ทำพินัยกรรมต้องทำพินัยกรรมด้วยวาจา
    -ให้นายอำเภอจดข้อความที่พยานแจ้งไว้ และพยานต้องลงลายมือชื่อ หรือ พิมพ์ลายนิ้วมือ (กรณีไม่สามารถลงลายมือชื่อได้) และมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คน
    ระยะเวลา / อายุของพินัยกรรม

    -การทำพินัยกรรมด้วยวาจามีระยะเวลา 1 เดือน โดยนับหลังจากที่ผู้ทำพินัยกรรมสามารถกลับมาทำพินัยกรรมแบบอื่นตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว

    ตอบลบ